อาคันตุกะ มทร.เยือน มข.แลกเปลี่ยนงานวิจัย


การศึกษาดูงาน แลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านการวิจัย เพื่อการพัฒนางานที่ดียิ่งขึ้นต่อไป

เมื่อคราว เดือน พฤษภาคม 2551 มีอาคันตุกะ มาเยี่ยมเยือนเช่นกัน ตามไปดูที่นี่ค่ะ

http://gotoknow.org/blog/resaerch/180373

และ เมื่อวันที่ 18 สิงหาคม 2551  เวลา 13.30 น.

 

คณะศึกษาดูงาน มาเยี่ยมพบปะ แลกเปลี่ยน งานด้านการวิจัย ของมหาวิทยาลัยขอนแก่น

 

ประกอบด้วย

1.    ผศ.สมศักดิ์  ระยัน         มทร.อีสาน วิทยาเขตสกลนคร

2.    นายอภิชาต  พรหมโชติ  มทร.สุวรรณภูมิ วิทยาเขตอยุธยา

3.    นายสุรชาติ  นาชัยสิทธิ์   มทร.อีสาน วิทยาเขตขอนแก่น

4.    ผศ.อนุสรณ์  ศิริอนันต์    มทร.อีสาน (นครราชสีมา)

 

ในนาม ฝ่ายวิจัยและการถ่ายทอดเทคโนโลยี และ สำนักบริหารการวิจัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น ใครร่ขอต้อนรับคณะศึกษาดูงาน ทุกท่นา ในครั้งนี้

 

Dd4

 

Dd5

 

 รศ.ดร.กิตติชัย  ไตรรัตนศิริชัย

        รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและการถ่ายทอดเทคโนโลยี

ผศ.ดร.ดารณี   หอมดี

        ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายวิจัยและการถ่ายทอดเทคโนโลยี

 

Dd1

 

Dd2

 

 สำนักบริหารการวิจัย โดย

นายภูมิภักดิ์  พิทักษ์เขื่อนขันธ์

        ผู้อำนวยการสำนักบริหารการวิจัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น

 

และเจ้าหน้าที่สำนักบริหารการวิจัย ทุกคน เข้าต้อนรับและแลกเปลี่ยน

งานที่เกี่ยวข้องด้านการวิจัยของมหาวิทยาลัย

 

 Dd3

 

ผลการศึกษา และแลกเปลี่ยน งานด้านการวิจัยของมหาวิทยาลัย ในครั้งนี้ คงได้รับประโยชน์ทั้งผู้มาเยือนและผู้ต้อนรับ พอสรุปได้ดังนี้

 

มหาวิทยาลัยขอนแก่น โดย รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยฯ และผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายวิจัยฯ ได้นำเสนอภารกิจของมหาวิทยาลัยด้านการวิจัย ดังนี้

·        ระบบบริหารการงานวิจัย ครอบคลุมการดำเนินงานหน่วยงาน

o       สถาบันวิจัยและพัฒนา

o       ศูนย์วิจัยเฉพาะทาง

o       วิทยาเขตหนองคาย

o       สำนักงานอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ

o       สำนักบริหารการวิจัย

·        การถ่ายทอดเทคโนโลยี ประกอบด้วย

o       การถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านการวิจัย

o       การให้บริการแก่สังคม โดยมีศูนย์บริการวิชาการ จัดฝึกอบรมต่างๆ

o       สำนักงานอุทยานวิทยาศาสตร์

o       คณะ/ศูนย์เฉพาะทาง ดำเนินการถ่ายทอดองค์ความรู้

o       โรงพยาบาล จัดอบรม เช่น ปัญหาภาคใต้ฯ นำผู้เข้าอบรมบำบัด เป็นรุ่นๆๆ

·        ทิศทางของมหาวิทยาลัย กำหนดไว้ 6 ด้าน ตามกลยุทธ์

·        กำหนดมาตรการสอดคล้อง/เชื่อมโยง อย่างชัดเจน

·        มีศูนย์สัตว์ทดลอง, คณะกรรมการจรรยาบรรณในการใช้สัตว์ทดลอง

·        มีคณะกรรมการจริยธรรมในมนุษย์

·        มีระบบฐานข้อมูล ที่ให้บริการสืบค้นและรวดเร็ว

·        เงินสนับสนุนด้านการวิจัย จากสำนักงบประมาณ เงินอุดหนุนจาก วช.  แหล่งทุนภายนอกทั้งในและต่างประเทศ และกองทุน 40 ปี มข. รวมทั้งเงินรายได้ของ มข.

·        เงินกองทุนวิจัย 40 ปี มข. สนับสนุน ในด้าน

o   การพัฒนาศักยภาพนักวิจัย เช่น นักวิจัยใหม่ นักวิจัยสถาบัน  เมธีวิจัย

o       โครงการวิจัยเพื่อการพัฒนาตามยุทธศาสตร์ของประเทศ

o       โครงการวิจัยเพื่อการพัฒนานวัตกรรม

o       สนับสนุนผลงานตีพิมพ์ เผยแพร่

·        มีเครือข่ายการวิจัย ที่เชื่อมโยงเป็นเครือข่าย ได้แก่

o       เครือข่ายบริหารการวิจัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (สกอ.)

o       เครือข่ายวิจัยด้านเคมีและเภสัช

o       เครือข่ายวิจัยด้านสุขภาพ

o       เครือข่ายวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (สวทช.) 

 

จุดแข็งที่มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้ดำเนินการด้านการวิจัย

·    สร้างและพัฒนา ส่งเสริม ให้บุคลากรทำวิจัย

·    สนับสนุนการนำเสนอผลงานเพื่อตีพิมพ์และเผยแพร่

·    สร้างกลุ่มวิจัยให้เข้มแข็ง เพื่อผลิตผลงานที่ดี

·    สนับสนุนและเชิดชูเกียรติผลงานดีเด่น เพื่อเป็นแบบอย่างที่ดีในการทำวิจัย

·   กำหนดกลไกการติดตามงานวิจัย การรวบรวมผลงานวิจัย และการพัฒนางานวิจัยให้ชัดเจน ต่อเนื่อง และเชื่อมโยงทุกส่วน เพื่อเป้าหมายในการเผยแพร่ผลงานสู่มาตรฐานสากล

·   กำหนดระเบียบ หลักเกณฑ์ ที่คลองตัวและเอื้อต่อการทำวิจัย

·   จัดประชุมวิชาการ เพื่อเป็นเวทีให้นักวิจัยทุกระดับได้นำเสนอผลงาน วิจัยในรูปแบบต่างๆ เพื่อพัฒนาและส่งเสริมให้เกิดผลงานวิจัยเพิ่มขึ้น

·   ฯลฯ

 

สำนักบริหารการวิจัย โดย ผู้อำนวยการสำนักบริหารการวิจัย ได้นำเสนอบทบาทหน้าที่ของสำนักบริหารการวิจัย ภารกิจ วิสัยทัศน์ พันธกิจของหน่วยงาน รวมทั้งการดำเนินงานตามฝ่ายต่างๆ ซึ่งมีผู้รับผิดชอบตามฝ่ายต่างๆ คอยให้ข้อมูลเพิ่มเติม ในกรณี ที่มีการซักถาม เป็นการแลกเปลี่ยน และซักถาม ดำเนินไปด้วยดี

Dd6

มหาวิทยาลัยขอนแก่น ในฐานะ เป็นหน่วยงานค่อนข้างเก่าแก่อีกหน่วยงานหนึ่ง คงพอจะให้ความรู้และเป็นประโยชน์ในการศึกษาดูงานครั้งนี้ ซึ่งคณะผู้ศึกษา ดูงาน คงจะนำข้อแลกเปลี่ยน และความรู้ที่ได้จากการบริหารงานด้านการวิจัยของมหาวิทยาลัยขอนแก่น ไปประยุกต์ใช้ในหน่วยงานของทุกท่าน ได้เป็นอย่างดี อย่างน้อย ก็คงเป็นแนวทางในการนำไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ เท่าที่จะนำไปปรับใช้ได้

 

ขอขอบพระคุณ คณะผู้ศึกษาดูงาน ในครั้งนี้ และหวังเป็นอย่างยิ่งว่า คงได้รับเกียรติจากทุกท่าน มาเยี่ยมชม การดำเนินงานของเรา เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ในโอกาสต่อไป

 

(((เกร็ดความรู้ เล็ก ๆ น้อย ๆ ในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับอาคันตุกะ มาฝาก)))

ขอบคุณค่ะ

หมายเลขบันทึก: 203187เขียนเมื่อ 24 สิงหาคม 2008 17:33 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 19:28 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท