ความเหมือนที่รู้สึกได้


การศึกษาไทยที่ไล่ตามเทคโนโลยี

เมื่อ 20 ปีที่แล้ว ฉันยังเรียนอยู่ในโรงเรียน โรงเรียนเราได้ห้อง Sound Lap มาใหม่ ๆ ฉันเป็นนักเรียน พวกเราในห้องอยากเข้าไปใช้มาก สุดท้าย 3 ปีที่อยู่ที่นั่น เราได้เข้าใช้ไม่เกิน 15 ครั้งได้มั่ง พวกเราก็สงสัยว่าทำไม พอเข้าเรียนระดับอุดมศึกษา ก็เหมือนกันห้องที่มีเทคโนโลยีที่พวกเราต้องการใช้ จะถูกพาเข้าใช้ไม่เกิน 10 ครั้งในระยะเวลา 4 ปีที่เรียนที่นั่น ฉันรู้สึกทนไม่ได้จึงต้องดิ้นรนหาความรู้ด้านเทคโนโลยีเอง โอกาสที่เอื้อ จำนวนทรัพย์ที่อำนวยฉันพยายามได้เท่านี้ พอฉันเป็นครู เราได้คอมพิวเตอร์รุ่นที่เราเรียกว่ารูสุขวิทย์ เราใช้และพาเด็กเข้าเท่าที่เราทำได้ แต่ก็น้อยมาก และมีข้อจำกัดมาก ครูเท่านั้นที่รู้ว่าเพราะอะไร ค่ะ แล้วสิ่งที่ฉันสงสัยต้งแต่เด็กก็รู้แล้ว และมีคำพูดหนึ่งงอยากบอกต่อ "ช่วยกันพัฒนาครูที" เหตุผลที่เทคโนโลยีล่าช้าสำหรับการศึกษา มีอยู่ 3 จุด

1. ผู้บริหาร ไม่เข้าใจ รักษาสุดชีวิต อย่าให้มันพัง???

2. ครูผู้ใช้ ใช้ไม่เป็นกลัวพังต้องซ่อมเอง????

3. งบประมาณสนับสนุน  ของได้มาพังแล้วซ่อมเอง แพง ????

จาก 3 ข้อ ผลคือ เก็บเป็นพิพิธภัณฑ์ นักเรียนอด การศึกษาก็เป็นได้เท่าที่เป็นอยู่

วิธีแก้ แก้ข้อ 1 ปรับทัศนคติใหม่

แก้ข้อ 2 ฝึกให้ครูเป็นในระดับที่คุมทุน??? และเลือกที่สนใจ เจาะจงไปเลย

แก้ข้อ 3 ให้มีบ้างในงานซ่อม

ทุกข้อมีทางแก้แต่ แก้ยาก จุดเล็ก ๆ ที่ละจุดที่แก้ได้ ก็จะช่วยได้ เพิ่มจุด ๆ ๆ ให้มาก ๆ น่ะค่ะ

หมายเลขบันทึก: 203145เขียนเมื่อ 24 สิงหาคม 2008 15:03 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 01:44 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
  • ตามมาทักทายและยินดีต้อนรับครับ
  • คอมฯซ่อมง่าย
  • แต่ใจคนซ่อมยากกว่าครับ
  • ฮ่าๆๆๆๆๆๆๆ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท