jaja
นางสาว จารุวรรณ อ้น บุญชลาลัย

สตอร์ม เซิร์จ


คลื่นพายุหมุนแรงเท่านาร์กีส

หลังจากที่ ดร.สมิทธ ธรรมสโรช ประธานกรรมการอำนวยการเตือนภัยพิบัติแห่งชาติ ออกมากล่าวเตือน แนวชายฝั่งอ่าวไทย 3 จังหวัด คือ สมุทรปราการ สมุทรสาคร และสมุทรสงคราม รวมถึงบริเวณชายฝั่งทะเลในเขตกรุงเทพมหานคร ให้ระวังวิบัติภัยจากสตอร์ม เซิร์จ (Storm Surge)  ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นได้ในช่วงเดือนสิงหาคม-กันยายน โดยปรากฏการณ์ดังกล่าวถือเป็นช่วงอันตรายอย่างยิ่ง จากความเร็วของแรงลมที่ 118 กิโลเมตรต่อชั่วโมง จะส่งผลให้คลื่นสูงเฉลี่ย 2.2-4.5 เมตร ซึ่งหากเกิดขึ้นจริงๆ ความรุนแรงอาจเท่าพายุนาร์กีสเลยทีเดียว อย่างไรก็ตามข่าวดังกล่าวได้สร้างความแตกตื่นกันไม่น้อย กับปรากฎการณ์ สตอร์ม เซิร์จ (Storm Surge)  หรือ พายุหมุน หรือ คลื่นซัดเข้าชายฝั่ง 

         เชื่อหรือไม่ว่า ปรากฎการณ์ Storm Surge เคยเกิดขึ้นในประเทศไทยมาแล้ว! และเคยเกิดบ่อยครั้งด้วย ซึ่งแต่ละครั้งก็นำมาซึ่งความสูญเสียอย่างใหญ่หลวง....

         ย้อนกลับไปเมื่อปี 2532 เกิดพายุไต้ฝุ่น เกย์ (คุ้นๆ ใช่ไหมล่ะ) พัดถล่ม จังหวัดชุมพร มีผู้เสียชีวิตหลายร้อยคน ต่อมาปี 2540 พายุลินดา ก็พัดซ้ำรอยเดิม ใน จังหวัดชุมพร จังหวัดประจวบคีรีขันธ์  และจังหวัดเพชรบุรี ครั้งนี้มีผู้เสียชีวิตน้อยกว่า ทว่าก็สร้างความเสียหายมากครั้งหนึ่งเช่นกัน และครั้งสำคัญในปี 2505 พายุที่แหลมตะลุมพุก อันเกิดจากพายุโซนร้อนแฮเรียต ได้กลายเป็นประวัติศาสตร์อันน่าโศกเศร้า ยังมาซึ่งความเสียหายต่อชีวิต และภูมิประเทศ โดยในครั้งนั้นมีผู้เสียชีวิตกว่าพันคน!!!

         หันมาดูในฝั่งกรุงเทพฯ กันบ้าง เมื่อปี 2504  Storm Surge ก็เคยมีปรากฏการณ์เกิดพายุใหญ่ซัดเข้ามาในอ่าวไทย จนเกิดน้ำท่วมกรุงเทพฯ เช่นกัน และในปี 2526 ก็เกิดปรากฏการณ์ที่เรียกว่าฝนพันปี มีน้ำท่วมและขังในพื้นที่นาน ที่สำคัญ การเกิดขึ้นของพายุได้สร้างความเสียหายต่อการกัดเซาะชายฝั่งของกรุงเทพฯ จนเป็นพื้นที่ที่เรียกว่าทะเลตรม และไม่สามารถป้องกันน้ำทะเลได้ในหลายจุด 

         อ่านมาถึงตรงนี้แล้วเริ่มรู้สึกว่า Storm Surge เป็นเรื่องใกล้ตัวกันบ้างแล้วใช่ไหมหล่ะคะ . . . แล้ว Storm Surge เกิดขึ้นได้อย่างไรกัน??? …เรื่องนี้ นาวาเอก กตัญญู ศรีตังนันท์ ผู้บังคับหมวดเรืออุทกศาสตร์ กองทัพเรือ ให้คำอธิบายว่า

         Storm surge คือ ปรากฏการณ์คลื่นที่เกิดขึ้นพร้อมกับพายุหมุนโซนร้อน ที่ยกระดับน้ำทะเลให้สูงขึ้นกว่าปกติ อันเนื่องมาจากความกดอากาศต่ำที่ปกคลุม ณ บริเวณนั้น ซึ่งเวลาที่หย่อมความกดอากาศต่ำเคลื่อนตัวผ่านไปพร้อมกับศูนย์กลางของพายุ ทำให้แรงกดนั้นยกระดับน้ำจนกลายเป็นโดมน้ำขึ้นมา โดยเคลื่อนตัวจากทะเลซัดเข้าหาชายฝั่ง

         ที่สำคัญยิ่งความกดอากาศต่ำเท่าไร ก็จะทำให้เกิดปรากฏการณ์คลื่นพายุหมุนมากเท่านั้น หากจะวัดเป็นตัวเลข ก็มีความหมายว่า ความกดอากาศต่ำที่ลดลง 1 มิลลิบาร์ จะทำให้น้ำทะเลสูงขึ้น 1 เซนติเมตร

หมายเลขบันทึก: 202525เขียนเมื่อ 21 สิงหาคม 2008 19:48 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 01:41 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

บ้านอยู่สมุทรปราการ น่ากลัวจังเลยค่ะ อย่าเกิดเลย สาธุ

อรุณสวัสดิ์ครับ

  • น่ากลัวจัง
  • หวังว่าถ้าเกิดจริง คงไม่ถึงสุพรรณ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท