ศูนย์การเรียนรู้ไอซีทีชุมชน จากเวที e-INDIA 2008


ศูนย์การเรียนรู้ไอซีทีชุมชน

ไกลก้ิอง ไวทยการ
มูลนิธิกองทุนไทย
บทความนี้ถอดความมาจากบทสัมภาษณ์คุณเกศรา อมรวุฒิวร ในรายการ Dot4D

เมื่อวันที่ 29 -31 กรกฎาคมที่ผ่านมา มีงานสัมมนาใหญ่ด้านไอซีทีเพื่องานพัฒนาที่ชื่อว่า e-INDIA 2008 ณ กรุงนิวเดลี ประเทศอินเดีย

งาน  e-INDIA 2008 เป็นกิจกรรมที่จัดขึ้นเพื่อหาความร่วมมือ ระหว่างผู้ที่มีส่วนในการ   ผลักดัน การใช้ไอซีทีเพื่อพัฒนาสังคม ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน สถาบันการศึกษาและองค์กรพัฒนาเอกชน รวมทั้งแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ในประสบการณ์และกรณีศึกษาในการใช้ไอซีที โดยมีหัวข้อหลัก ๆ ในการสัมมนา คือ eGov, digitalLEARNING, eHEALTH, mServe, Telecentre Forum, eAgriculture และ Municipal IT หรือไอซีทีกับการปกครองส่วนถ้องถิ่น

โดยงานนี้มีผู้ที่มาให้ความรู้ทั้งจกาภาครัฐคือ กระทรวงไอซีทีของอินเดีย และจาก
ภาคเอกชนที่มีบทบาทหลักในการพัฒนาเรื่องไอซีทีในประเทศอินเดีย คือ บริษัทไมโครซอฟต์ และ บริษัทอินเทล

คุณเกศรา อมรวุฒิวร ผู้จัดการฝ่ายพัฒนาความสามารถทรัพยากรมนุษย์ สถาบันคีนันแห่งเอเชีย ได้ให้ข้อสังเกตว่าการที่อินเดีย มีความก้าวหน้าด้านการใช้ไอซีทีเพื่อการพัฒนาสังคมหรือ ICT4D นั้น เนื่องจากทางภาครัฐของอินเดียได้เป็นหัวหอกในการขับเคลื่อน รวมทั้งได้รับความร่วมมือจากภาคเอกชน ซึ่งไม่ได้มีเฉพาะแต่ผู้ทำธุรกิจไอซีทีรายใหญ่เท่านั้น แต่มีรายใหญ่ที่เห็นความสำคัญ เช่นบริษัท ITC ซึ่งเป็นบริษัทที่ประกอบธุรกิจด้านเกษตร ได้ริเริ่มโครงการที่โด่งดังไปทั่วโลกชื่อ e-choupal ก็เข้ามาให้ความสำคัญเรื่องไอซีที ในระดับชุมชนเพราะภาคเอกชนต่างก็มองว่า การสนับสนุนชุมชนให้มีพัฒนาการด้านไอซีทีนั้น จะเป็นส่วนหนึ่งในการส่งเสริมห่วงโซ่ทางธุรกิจ หรือ supply chain

ในเวทีส่วนของการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ด้าน Telecentre หรือศูนย์การเรียนรู้    ไอซีทีชุมชนที่คุณเกศรา และดร.กมลรัฐ อินทรทัศน์ ผู้อำนวยการ ศูนย์วิจัยการจัดการความรู้การสื่อสารและการพัฒนา มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชไปร่วมนั้น ได้มีการนำเสนอกรณีศึกษาทั้งในประเทศอินเดียและประเทศอื่น ๆ ในภูมิภาคเอเชีย

โดยทางประเทศอินเดียมีแผนที่จะขยาย Telecentre ลงในระดับหมู่บ้านกว่า 1 แสนแห่ง จากหมู่บ้านทั้งหมด 6 แสนหมู่บ้านโดยเรียกศูนย์เหล่านี้ว่า Common Service Centre (CSC) ซึ่งจะทำเป็นรูปแบบเฟรนชาย โดยผ่าน Master Service Provider (MSP) ซึ่งทำให้การบริหาร Telecentre เป็นรูปแบบเดียวกันและมีการให้บริการต่างๆ เช่น เรื่องของการสื่อสาร ธนาคาร การประกันภัย การรับชำระเงิน และ บริการ e-government ของภาครัฐ โดยคิดค่าใช้จ่ายเพื่อให้สามารถเลี้ยงตัวเองได้แต่บางแห่งรัฐอาจจะยังต้องช่วยสนับสนุนอยู่ นอกจากนี้ยังมีความร่วมมือจากสถาบันการศึกษาคือ India Open University มาทำเรื่องการจัดการองค์ความรู้ของ Telecentre เพื่อจัดทำเป็นหลักศูนย์ Telecentre สำหรับผู้ประกอบการด้าน Telecentre ในอนาคต ที่สำคัญก็คือการดำเนินการ telecentre หรือศูนย์การเรียนรู้ไอซีทีชุมชน ชุมชนต้องเข้ามามีส่วนร่วมและ รัฐบาลท้องถิ่นเองต้องเข้ามาให้การสนับสนุนเช่นกัน

สิ่งที่น่าสนใจคือมีการหาวิธีที่เป็นทางเลือกในการเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร ในพื้นที่ที่อินเทอร์เน็ตยังเข้าไม่ถึง หรือผู้ใช้งานไม่มีความรู้ในการใช้งานอินเทอร์เน็ต นั่นก็คือบริการสอบถามข้อมูลอัตโนมัติด้านการเกษตร ผ่านระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่ เรียกว่า Lifeline โดยจัดตั้งเป็น call centre ด้านการเกษตร มีผู้รับสายและคีย์คำถามจากนั้นออกรหัสเพื่อให้ผู้ถามโทรกลับมาใหม่ใน 24 ชั่วโมงเพื่อฟังคำตอบ และเชื่อมโยงระบบกับผู้เชี่ยวชาญ และเชื่อมโยงกับฐานข้อมูลความรู้เพื่อตอบคำถาม ที่ถูกถามบ่อยเป็นต้น

สำหรับการขับเคลื่อนเรื่องศูนย์การเรียนรู้ไอซีทีชุมชนในประเทศไทย คุณเกศรา กล่าวว่า ทางสถาบันคีนันแห่งเอเชีย ได้ร่วมกับวิทยาลัยชุมชน และไมโครซอฟต์ จะทำอย่างไรให้เกิดการขยายตัวของ telecentre ต่อไป ส่วนกระทรวงไอซีทีมีแผนงานที่จะขยายศูนย์การเรียนรู้ไอซีทีชุมชน อีกประมาณ 1000 แห่ง แต่กระทรวงไอซีทีมีงบประมาณเรื่องของการจัดตั้งศูนย์ฯ แต่เรื่องของการดำเนินการศูนย์ฯ ในระยะยาวยังขาดงบประมาณอยู่ และในส่วนกรมการพัฒนาชุมชนมีแผนที่จะตั้งศูนย์การเรียนรู้ไอซีทีชุมชน อีก 1000 แห่งเช่นกัน โดยจะเน้นเรื่องการจัดการองค์ความรู้ ทั้งนี้คิดว่าการทำศูนย์การเรียนรู้ไอซีทีชุมชนควรบูรณาการเข้ากับแผนจังหวัด โดยควรจะหาเวทีที่จังหวัดหรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเข้ามามีร่วมร่วมในการวางแผน การพัฒนาศูนย์การเรียนรู้ไอซีทีชุมชน

สำหรับแนวทางการขับเคลื่อนกระบวนการจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้ ฯ คือการดึงชุมชนเข้ามามีส่วนร่วม และประสานงานในระดับนโยบายทั้งจากกรมการพัฒนาชุมชน และกระทรวงไอซีที สิ่งที่สำคัญคือต้องเร่งประชาสัมพันธ์ในชุมชนทราบถึงประโยชน์ของการใช้งานไอซีทีในการพัฒนาท้องถิ่น และประโยชน์ของการมีศูนย์การเรียนรู้ ICT ในชุมชน

เว็บไซต์ที่เกี่ยวข้อง : http://www.eindia.net.in/2008/
ฟังเสียงสัมภาษณ์คุณเกศราในรายการ Dot4D ตอนที่ 8 คลิกที่นี่

รูปจากงาน e-INDIA 2008

 

รูปแรก: เป็นพิธีเปิดงาน แขก VIP ที่มาร่วมเปิดงานได้แก่

1.      Mr. Narayanan, President, CSDMS, India, the organizer
2.      Mr. R. Chandrashekhar, Additional Secretary, Department of IT, Ministry of Communication and Information Technology, Government of India –Co-organizer
3.      Mr. Michael, Rawding, Vice President, Unlimited Potential Group, Microsoft Corporation, Diamond Sponsor
4.      Mr. Praveen Vishakantaiah, President Intel India, Platinum Sponsor
5.      Ms. D. Purandeswari, Minister of State for Higher Education, Ministry of Human Resource Development, Government of India, Co-organizer
6.      Mr. Basheerhamad Shadrach, Senior Program officer, Telecentre.org, Supporting partner

รูปที่สอง : เป็นการสาธิตการให้บริการของ Lifelines India ที่ให้เกษตรกรโทรเข้า Call Center เพื่อขอคำปรึกษาด้านการเกษตรผ่านทางโทรศัพท์มือถือและโทรกลับมารับคำตอบภายใน 24 ชั่วโมงถัดมา  ข้อมูลเพิ่มเติมดูได้จาก http://tinyurl.com/5tu5po
 
 รูปที่สาม : ผู้บริหารของบริษัท Sahaj หนึ่งในบริษัทที่เป็น MSP (Master Service Provider) ด้าน การจัดตั้ง CSC (Common Service Center) อีกรูปแบบหนึ่งของ Telecenter ที่ รัฐบาลอินเดียให้การสนับสนุน และจะจัดตั้งให้ได้ถึง 100,000 ศูนย์ทั่วอินเดีย MSP เหล่านี้มีหน้าที่เหมือนเป็น Master Franchisor ที่ขาย Franchise service ด้านการจัดตั้ง Telecenter ให้แก่ผู้ประกอบการในชุมชน โดยถ่ายทอดรูปแบบการบริหารจัดการ Telecenter ให้มีประสิทธิภาพที่สุด อีกทั้งยังเป็นผู้ติดต่อกับผู้ให้บริการด้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น Bank, Insurance สาธารณูปโภค หรืออื่นๆ ที่สร้างรายได้ให้กับศูนย์ได้ เพื่อเสนอทางเลือกให้สมาชิกในชุมชนได้ใช้ประโยชน์จาก Telecenter ในการทำธุรกรรมทั้งจากภาครัฐ (e-Government) และเอกชน เหมือนไป 7-Eleven เพื่อชำระค่าโทรศัพท์ น้ำไฟ ประกัน  แรูปแบบของ Franchise แบบนี้ ผู้ซื้อ Franchise ไม่ต้องเสียเวลาไปติดต่อกับบริษัทฯต่างๆเหล่านั้นเอง Franchisor หรือ MSP เหล่านี้จะทำหน้าที่จัดการให้เสร็จสรรพ อีกทั้งผู้ซื้อ Franchise จะได้รับการอบรมเรื่องการบริหารจัดการ รูปแบบการจัดศูนย์ เมนูการให้บริการ และอื่นๆ จาก MSP อีกด้วย
รูปที่สี่ : เวทีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างผู้ทำงานด้าน Telecenter จากประเทศต่างๆ ได้แก่ Egypt, India, Sudan, Philippines, Nepal, Bangladesh และ ประเทศไทย โดย ดร.กมลรัฐ อินทรทัศน์ ผู้อำนวยการ ศูนย์วิจัยการจัดการความรู้การสื่อสารและการพัฒนา มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ที่ปรึกษากระทรวง ICT
หมายเลขบันทึก: 202264เขียนเมื่อ 20 สิงหาคม 2008 16:38 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 01:40 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้าจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท