เรียนรู้หลักสูตรเพื่อนบ้าน


การพัฒนาหลักสูตรและการเรียนการสอน

เรียนรู้เรื่อง หลักสูตรจากเพื่อนบ้าน  

สาระสำคัญ

จากการที่ดร.รุ่งนภา นุตราวงศ์ นักวิชาการศึกษา สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา

 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้เป็นตัวแทนประเทศไทยเข้าร่วมประชุมคณะผู้เชี่ยวชาญหลักสูตรที่ยูเนสโกเป็นการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อวิเคราะห์แนวโน้มการปฏิรูปการเปลี่ยนแปลงหลักสูตร ได้ศึกษาว่าขณะที่ประเทศไทยกำลังมีการเปลี่ยนแปลงด้านหลักสูตรอย่างยิ่งใหญ่ ประเทศเพื่อนบ้านในแถบภูมิภาคมีการเคลื่อนไหวอย่างไรบ้าง มีปัญหาอุปสรรคอย่างไร โดยสรุปการเปลี่ยนแปลงด้านหลักสูตรของแต่ละประเทศดังนี้

สิ่งที่ได้จากการเรียนรู้

                กัมพูชา เปิดโอกาสให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการพัฒนาหลักสูตร โดยมีจุดมุ่งหมายหลักเพื่อสร้างความเป็นปึกแผ่น และรักษาเอกลักษณ์ของชาติและการพัฒนาเศรษฐกิจ

จีน หลักสูตรส่วนใหญ่ถูกกำหนดจากส่วนกลาง สถานศึกษาเริ่มมีส่วนร่วมในการพัฒนาหลักสูตรบางส่วนให้สอดคล้องกับสภาพ และความต้องการขอวงตนเอง มีการกระจายอำนาจไปสู่ท้องถิ่นประมาณ

 20 %

ลาว ศูนย์กลางอำนาจการตัดสินใจอยู่ที่ส่วนกลาง ให้ความสำคัญกับสถานศึกษาในการพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นประมาณ 20% เน้นหลักสูตรบูรณาการเพื่อลดปัญหาเนื้อหาสาระแน่น

ญี่ปุ่น กระจายอำนาจให้ท้องถิ่นจัดทำหลักสูตรได้แต่ไม่มากนัก กระทรวงศึกษาธิการยังกำหนดมาตรฐานและตรวจสอบควบคุมคุณภาพการศึกษา

เกาหลี เปิดโอกาสให้ท้องถิ่นและสถานศึกษามีส่วนร่วม ภายใต้การกำหนดกรอบ โครงสร้าง เนื้อหา เพื่อควบคุมให้ได้มาตรฐาน

มาเลเซีย อำนาจการตัดสินใจเรื่องหลักสูตรอยู่ที่ส่วนกลาง เน้นการเปลี่ยนแปลงเรื่องเทคโน ฯเพื่อพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้ทันโลกที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว

เวียดนาม ท้องถิ่นเริ่มเพิ่มและปรับเนื้อหาการสอนให้สอดคล้องกับสภาพท้องถิ่นประมาณ 15 %

มองโกเลีย ส่วนกลางกำหนดกรอบมาตรฐานแต่เปิดโอกาสให้สถานศึกษามีบทบาทในการพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นบ้าง

อินโดนีเซีย มีการกระจายอำนาจจากส่วนกลางให้ท้องถิ่นและสถานศึกษา โรงเรียนมีอำนาจตัดสินใจเต็มที่ในการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา

สรุป การพัฒนาหลักสูตรของประเทศต่าง ๆ ในเอเชียมีแนวโน้มเปลี่ยนแปลงซึ่งได้รับอิทธิพลมาจากแนวความคิดทางตะวันตกในเรื่องการกระจายอำนาจให้ท้องถิ่นและสถานศึกษามีส่วนร่วม และมีบทบาทในการจัดทำหลักสูตรประมาณ 15 – 20 % จาการศึกษาปัญหาและอุปสรรคของประเทศเพื่อนบ้านในเรื่องการเปลี่ยนแปลงด้านหลักสูตรสามารถนำมาปรับใช้กับประเทศไทยได้มากเช่นกัน

 

ที่มา :วารสารวิชาการ ปีที่  8    ฉบับที่ 2   เมษายน มิถุนายน 2548

หมายเลขบันทึก: 202088เขียนเมื่อ 19 สิงหาคม 2008 20:53 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 01:39 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

*เจริญพรครูหญิง

*เข้ามาอ่านแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน

*ได้ความรู้...ขอเจริญพร

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท