การบริหารแบบมีส่วนร่วม


ร่วมในการตัดสินใจ ร่วมรับผิดชอบ และร่วมมือในการพัฒนา

การบริหารงานในยุคปัจจุบันของผู้บริหารสถานศึกษานั้นจะต้องหมั่นศึกษาหาความรู้เพื่อพัฒนาตนเอง       ให้ก้าวทันโลกยุคโลกาภิวัฒน์ และสิ่งหนึ่งที่สำคัญเป็นอย่างยิ่งสำหรับผู้บริหารสถานศึกษาคือการศึกษาหลัก แนวคิดทฤษฎีต่างๆที่จะได้นำไปประยุกต์ใช้กับสภาวะจริงในการบริหารงานของตนเพื่อให้สามารถ       ขับเคลื่อนองค์กรไปสู่จุดมุ่งหมายได้สำเร็จอย่างมีประสิทธิภาพ...และในวันนี้จะได้หยิบยกแนวคิด                             ในการบริหารที่ชื่นชอบมานำเสนอ ดังนี้                                                                               คริส อากีริส (Chris Argyris)  กับแนวคิดของการบริหารแบบมีส่วนร่วม

คริสอากีริสเป็นนักทฤษฎีองค์การคนต่อมาที่มีผลงานวิจัยที่ได้ข้อสรุปคล้ายคลึงกันเขามีความเห็นเช่นเดียว                 กันกับแมคเกรเกอร์ที่ว่า  โครงสร้างขององค์การมิได้เป็นสิ่งที่ออกแบบมาเพื่อความสำเร็จขององค์การ  โดยปราศจากพฤติกรรมของผู้ปฏิบัติ  แต่โครงสร้างขององค์การเป็นเพียงพาหนะที่นำ แรงจูงใจที่เพิ่มขึ้นและการควบคุมตนเองไปสู่ผู้ปฏิบัติ

การบริหารแบบมีส่วนร่วม (Participation Management)                                                          คริส อากีริสกล่าวว่าการบริหารแบบมีส่วนร่วมเป็นการจูงใจให้ผู้ร่วมปฏิบัติงานในองค์การได้มีส่วนร่วม       ในการตัดสินใจ ร่วมรับผิดขอบและร่วมมือในการพัฒนา  องค์การที่ปฏิบัติอยู่ด้วยความเต็มใจการมีส่วนร่วมในการปฏิบัติงานขององค์การควรประกอบด้วยสาระสำคัญ              อย่างน้อย 3 ประการ คือ

1.  การมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็น  สมาชิกขององค์การย่อมมีความผูกพันกับองค์การที่ตนเองปฏิบัติงานอยู่ และมีความปรารถนาที่จะได้มีส่วนร่วมในกาบริหารงานขององค์การแม้เพียงได้รับฟังความคิดเห็น ก็ทำให้รู้สึกว่่าได้มีส่วนร่วมในการบริหารงานขององค์การ

2.  การมีส่วนร่วมช่วยให้เกิดการยอมรับในเป้าหมาย  เพราะนอกจากจะช่วยกระตุ้นให้สมาชิกแสดงความคิดเห็นแล้ว ยังช่วยให้เกิดความช่วยเหลือเกื้อกูลซึ่งกันและกันระหว่างกลุ่มสมาชิกและความร่วมมือนั้นจะแพร่   ขยายไปทั้งองค์การ  ทำให้สมาชิกทั้งองค์การมีเป้าหมายเดียวกัน  การมีส่วนร่วมเป็นการยินยอมและพร้อมที่จะปฏิบัติหน้าที่ด้วยความเต็มใจ  ซึ่งจะมีผลทั้งทางใจ การยอมรับ การสนับสนุน และผลต่อการปฏิบัติงานอย่างเต็มที่

3. การมีส่วนร่วมช่วยให้เกิดความสำนึกในหน้าีที่ความรับผิดชอบ  การที่บุคคลได้แสดงความคิดเห็นและยอมรับในเป้าหมายเดียวกัน  จะช่วยกระตุ้นให้บุคคลเกิดความสำนึกในหน้าที่ความรับผิดชอบต่อการปฏิบัติงานขององค์การ

ข้อดีของการบริหารแบบมีส่วนร่วม

1.  ก่อให้เกิดความสามัคคีระหว่างผู้บริหารและผู้ร่วมงานทุกระดับในองค์การ

2.  ลดความขัดแย้งในการทำงานและเพิ่มความไว้วางใจซึ่งกันและกันมากขึ้น

3.  สร้างบรรยากาศที่ดีในการทำงาน

4.  ช่วยให้ผู้ร่วมงานมีสุขภาพจิตดี ทุกคนมีงานทำ

5.  สร้างความเป็นประชาธิปไตยในองค์การ

6.  ลดค่าใช้จ่ายและใช้ทรัพยากรอย่างทนุถนอม

7.  ช่วยให้การใช้งบประมาณเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

8.  ช่วยให้พนักงานเกิดความรู้สึกว่าเขาเป็นส่วนหนึ่งขององค์การ

 

แหล่งที่มา

หลักการ แนวคิด ทฤษฎีทางการบริหารการศึกษา  ของ ผศ.ดร.ภารดี อนันต์นาวี  ภาควิชาบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์  มหาวิทยาลัยบูรพา

หมายเลขบันทึก: 201771เขียนเมื่อ 18 สิงหาคม 2008 01:18 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 มิถุนายน 2012 17:30 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)
  • มารับอาหารสมอง แต่เช้าค่ะ
  • ขอบคุณ ความรู้ ที่มาแบ่งปัน
  • ได้ประโยชน์มาก ๆ ค่ะ
  • ขอบคุณค่ะ

ขอบคุณบัวปริ่มน้ำและคนพลัดถิ่นค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท