ครูเมี้ยว
นางจินตนา ครูเมี้ยว ท้วมพงษ์

BRAIN BASED LEARNING


BBL

หลักการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิด Brain-Based Learning

Caine., and Caine., 1997

1. สมองทำงานเป็นองค์รวมและมีการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง (Body mind and brain are one dynamic system) ตามการรับรู้เรียนรู้โดยมีอารมณ์ ความรู้สึกและความทรงจำที่มีอิทธิพลสูงกว่าปัจจัยอื่น การทำหน้าที่ของสมองมีหลากหลายและจัดลำดับความสำคัญผันแปรตามวัย อาทิ ในวัยทารกสมองทำหน้าที่สำคัญในการปกป้องการมีชีวิตรอด สิ่งที่มีความหมายในวัยนี้จึงเป็นอาหารสำหรับสมองร่างกายและจิตใจ ความสุขสบายและได้รับการดูแลปกป้อง ระบบการเรียนรู้ของสมอง พัฒนาและปรับตัวตามสภาพแวดล้อมที่เป็นอยู่ในขณะนั้น

2. สมองและจิตใจของมนุษย์เปลี่ยนแปลงและมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม (The Brain and mind is social) โดยเฉพาะสิ่งแวดล้อมที่เป็นบุคคล กลุ่มคนในชุมชนและสังคมที่อาศัยหรือที่ติดต่อสื่อสารกัน โดยเฉพาะในขวบปีแรก สมองจะถูกจัดรูปแบบและโครงสร้างเพื่อการเรียนรู้จากสิ่งแวดล้อมที่ได้สัมผัสในเบื้องต้นซึ่งส่วนใหญ่เป็นที่บ้าน ละแวกบ้าน และความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับบุคคลแรกของชีวิต คือ แม่ เด็กในครรภ์จะรับรู้และจดจำเสียงของแม่และเสียงเต้นของหัวใจแม่ ทารกเมื่อแรกเกิดจึงสามารถจดจำและแยกเสียงแม่ได้จากเสียงผู้หญิงคนอื่นๆ และพร้อมจะเรียนรู้บุคคลอื่นในครอบครัวที่สัมพันธ์ใกล้ชิดเป็นลำดับถัดมา ซึ่งการศึกษาทางประสาทวิทยายืนยันว่าความเปลี่ยนแปลงและเชื่อมต่อของเซลล์สมองทารกเกิดขึ้นจากการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างทารกกับผู้ใหญ่ (Diamond, & Hopson.,1998)

3. สมองมนุษย์เลือกรับรู้ เรียนรู้และจดจำในสิ่งที่มีความสำคัญหรือความหมายต่อตน         (The Search for meaning is innate) ซึ่งการให้ความหมายของทารกและเด็กปฐมวัยขึ้นอยู่กับประสบการณ์เดิม การรับรู้ เรียนรู้ในเรื่องปัจจุบัน และหากไม่เคยรับรู้มาก่อนแต่สิ่งเร้าใหม่มีผลต่ออารมณ์ก่อให้เกิดความประทับใจ ชอบใจ นับว่าเกิดความหมายใหม่ ก็เกิดการเรียนรู้จดจำขึ้นได้เช่นกัน ค่านิยม ความเชื่อของพ่อแม่ บุคคลผู้ใกล้ชิด หรือบุคคลที่มีอิทธิพลต่อเด็ก มีผลต่อการให้ความหมายของสิ่งต่างๆ ที่เด็กจะเลือกหรือไม่เลือกรับรู้ เรียนรู้ และจดจำ ซึ่งส่งผลต่อการเรียนรู้ของเด็กทั้งปัจจุบันและอาจต่อเนื่องในระยะยาว การตั้งคำถาม อะไร ทำไม อย่างไร มาจากไหน จึงเป็นไปเพื่อค้นหาความหมายที่แท้จริงของสรรพสิ่ง โดยวิธีอันสั้นผ่านผู้ใหญ่ การตอบสนองของผู้ใหญ่ต่อการค้นหาความหมายที่แท้จริงของสรรพสิ่ง จึงต้องเป็นไปอย่างมีความรู้ มีข้อมูล มีสติและระมัดระวังอคติหรือการให้ความหมายตามความเชื่อหรือค่านิยมเฉพาะตน และควรมุ่งส่งเสริมการเรียนรู้ของเด็ก ผ่านการชี้แนะวิธีการหาข้อมูลจากแหล่งอื่น เช่น จากเอกสาร หนังสือ หรือบุคคลที่หลากหลาย ร่วมกับการค้นหาความหมายที่แท้จริงของสรรพสิ่ง ผ่านการสัมผัสของประสาททั้งห้าร่วมกันอย่างเหมาะสม ทั้งการได้ยิน รับฟัง สัมผัสจับต้อง มองเห็น ได้กลิ่น และลิ้มรสในแต่ละกรณีที่สามารถทำได้ กระบวนการเหล่านี้เป็นการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมศักยภาพสูงสุดของเด็กแต่ละคน

4. กระบวนการค้นหาความหมายเกิดขึ้นอย่างมีรูปแบบเฉพาะของแต่ละบุคคล ยืดหยุ่นและพัฒนาปรับเปลี่ยนไปอย่างต่อเนื่อง (The search for meaning occurs through patterning) โดยหัวใจของรูปแบบ คือ การจำแนกประเภทหมวดหมู่ การค้นหาความแตกต่างและความคล้ายคลึง การเปรียบเทียบ โดยใช้เทคนิคการสังเกตเพื่อค้นหาและอธิบายลักษณะรูปทรง คุณสมบัติ การจัดระดับ และการแปลความหมาย

การเรียนรู้อย่างมีรูปแบบนับเป็นการพัฒนาโครงสร้างสมองและจิตใจของมนุษย์ที่สามารถพัฒนาจากการเรียนรู้สู่การสร้างองค์ความรู้ และทฤษฎี

5. อารมณ์และความรู้สึกเป็นจุดเปลี่ยนแปลงของรูปแบบในการเรียนรู้ของบุคคล(Emotion are critical to patterning) งานวิจัยหลายงานสรุปว่า วงจรในสมองมนุษย์ที่เกี่ยวเนื่องกับอารมณ์มีหลายลักษณะ เช่น วงจรเกี่ยวกับความรู้สึกกลัว มีผลต่อการรับรู้และเรียนรู้ของมนุษย์ และพบว่ารูปแบบการรับรู้ เรียนรู้ของบุคคลในบางเรื่องเปลี่ยนแปลงได้ยากถ้ามีความรู้สึกชอบ หรือไม่ชอบเข้ามาเกี่ยวข้อง นอกจากนี้ ถ้าความรู้สึกลึกถึงระดับความเชื่อ หรือตั้งสมมุติฐานบางอย่างของตนเองไว้แล้วในเรื่องนั้นๆ การเรียนรู้ยิ่งเกิดขึ้นได้ยาก

 ที่มา:http://www.sahaunion.com/hrm5/Webboard/images_upload/20068221738461.doc

 

คำสำคัญ (Tags): #bbl
หมายเลขบันทึก: 200723เขียนเมื่อ 13 สิงหาคม 2008 21:44 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 มิถุนายน 2012 10:50 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

*มาเยี่ยมค่ะ

*ขอบคุณที่ให้หลักการเรียนรู้

*จะมาอีกนะคะ

สวัสดีตอนกลางคืน แวะมาเยี่ยมค่ะ

  • เรื่องนี้ดีมาก
  • แต่ทำไงจะให้ไปสู่การปฏิบัติได้จริงๆ
  • ขอบคุณพี่ณฐมน และรองขวัญเรือนที่มาเยี่ยมให้กำลัวใจกันค่ะ
  • ขอบคุณ ผอ.ประจักษ์ที่แวะมาให้กำลังใจค่ะ

เรื่องนี้ดีมากค่ะ

อยากให้ครูของเราได้พัฒนาไปพร้อมๆกัน

ขอบคุณ คุณวันเพ็ญที่ให้กำลังใจค่ะ

ขอบคุณ คุณpoowanat ที่แนะนำค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท