เสียงในภาษาไทย


เสียงในภาษาไทย

 

สียงในภาษา หมายถึง เสียงที่มนุษย์เปล่งออกมาเพื่อสื่อความหมายระหว่างกัน ซึ่งการที่เสียงในภาษาจะเกิดขึ้นได้นั้น ก็ต้องอาศัยอวัยวะต่าง ๆ ที่ทำให้เกิดเสียง สำหรับอวัยวะที่ทำให้เกิดเสียง ได้แก่ ริมฝีปาก ปุ่มเหงือก ฟัน ลิ้น เพดานปาก ลิ้นไก่ กล่องเสียง หลอดลม และปอด

เสียงในภาษาไทย มี ๓ ชนิด คือ
๑.) เสียงสระ หรือเสียงแท้
๒.) เสียงพยัญชนะ หรือเสียงแปร และ
๓.) เสียงวรรณยุกต์ หรือเสียงดนตรี
๑.) เสียงสระ หรือเสียงแท้ คือ เสียงที่เปล่งออกมาจากลำคอโดยตรง ไม่ถูกสกัดกั้นด้วยอวัยวะส่วนใดในปาก แล้วเกิดเสียงก้องกังวาน และออกเสียงได้ยาวนาน ซึ่งเสียงสระในภาษาไทยแบ่งออกเป็น

 - สระเดี่ยว มีจำนวน ๑๘ เสียง โดยสระเดี่ยว แบ่งออกเป็น
สระเสียงสั้น (รัสสระ) ได้แก่ อะ อิ อึ อุ เอะ แอะ โอะ เอาะ เออะ
สระเสียงยาว (ทีฆสระ) ได้แก่ อา อี อื อู เอ แอ โอ ออ เออ
- สระประสม มีจำนวน ๖ เสียง โดยสระประสม แบ่งออกเป็น
สระเสียงสั้น (รัสสระ) ได้แก่
เอียะ เกิดจากการประสมของ สระอิ + สระอะ
เอือะ เกิดจากการประสมของ สระอึ + สระอะ
อัวะ เกิดจากการประสมของ สระอุ + สระอะ
สระเสียงยาว (ทีฆสระ) ได้แก่
เอีย เกิดจากการประสมของ สระอี + สระอา
เอือ เกิดจากการประสมของ สระอื + สระอา
อัว เกิดจากการประสมของ สระอู + สระอา

นอกจากเสียงสระทั้ง ๒๔ เสียงนี้แล้ว ยังมีรูปสระอีก ๘ รูป ที่ไม่รวมอยู่ในเสียงข้างต้น ซึ่งสาเหตุที่มันไม่ถูกรวมอยู่ด้วยก็เพราะ สระเหล่านี้มีเสียงซ้ำกับเสียงแท้นั่นเอง แถมยังมีเสียงพยัญชนะประสมอยู่ด้วย สำหรับสระ ๘ รูปจำพวกนี้เรียกว่า “สระเกิน” ได้แก่ “อำ ไอ ใอ เอา ฤ ฤๅ ฦ ฦๅ”
          สระเกินทั้ง ๘ รูปนี้ ครูนำมาแจกแจงให้ดูว่าเกิดจากเสียงสระอะไร ประสมกับเสียงพยัญชนะอะไรบ้าง ลองมาดูกันค่ะ
อำ = อะ + ม (เกิดจากเสียงสระอะ ผสมกับเสียงพยัญชนะ ม.ม้า)
ไอ = อะ + ย (เกิดจากเสียงสระไอ ผสมกับเสียงพยัญชนะ ย.ยักษ์)
ใอ = อะ + ย (เกิดจากเสียงสระใอ ผสมกับเสียงพยัญชนะ ย.ยักษ์)
เอา = อะ + ว (เกิดจากเสียงสระเอา ผสมกับเสียงพยัญชนะ ว.แหวน)
ฤ = ร + อึ (เกิดจากเสียงพยัญชนะ ร.เรือ ผสมกับเสียงสระอึ)
ฤๅ = ร + อื (เกิดจากเสียงพยัญชนะ ร.เรือ ผสมกับเสียงสระอี)
ฦ = ล + อึ (เกิดจากเสียงพยัญชนะ ล.ลิง ผสมกับเสียงสระอึ)
ฦๅ = ล + อื (เกิดจากเสียงพยัญชนะ ล.ลิง ผสมกับเสียงสระอี)
 ๒.) เสียงพยัญชนะ หรือเสียงแปร คือ เสียงที่เปล่งออกมาจากลำคอ แล้วกระทบกับอวัยวะส่วนใดส่วนหนึ่งในปาก เช่น คอ ปุ่มเหงือก ฟัน ริมฝีปาก ซึ่งทำให้เกิดเป็นเสียงต่าง ๆ กัน โดยพยัญชนะไทยมี ๒๑ เสียง ๔๔ รูป
 ๓.) เสียงวรรณยุกต์ หรือเสียงดนตรี ก็คือ เสียงสระ หรือเสียงพยัญชนะ ซึ่งเวลาเปล่งเสียงแล้วเสียงจะมีระดับสูง ต่ำ เหมือนกับเสียงดนตรี สำหรับเสียงวรรณยุกต์ที่ใช้ในภาษาไทยมี ๕ เสียง

ที่มา

http://www.thaicadet.org/thai/
หมายเลขบันทึก: 200628เขียนเมื่อ 13 สิงหาคม 2008 14:44 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 19:25 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

ไม่อนุญาตให้แสดงความเห็น
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท