การสอนคิด เพื่อพัฒนาทักษะการคิด


การสอนคิด จะช่วยสร้างเด็กไทยให้เป็นนักคิด

การสอนคิด เพื่อพัฒนาทักษะการคิด

ธนสาร  บัลลังก์ปัทมา

 

            การสอนคิด มีแนวคิดที่หลากหลาย เช่น การตั้งโจทย์จากการอ่านบทเรียน ข่าว บทความ การเรียนรู้แบบเพิ่มพลังสมอง (Brain Based Learning : BBL) การพัฒนาการคิดแบบอริยสัจจ 4 ที่ให้ผู้เรียนศึกษาจากบทอ่าน ข่าว บทความ แล้ว ให้ผู้เรียน

ระบุปัญหา

หาสาเหตุของปัญหา

นำมากำหนดแนวทางการแก้ที่ดี

ผลที่เกิดจากการแก้ปัญหา

โดยนำเสนอในรูปแผนภาพ แผนภูมิ

รูปแบบ แนวทางการสอนคิด

      การจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาการคิด กลุ่มสาระภาษาไทยโดยใช้กิจกรรมพัฒนาการคิด ๖ กิจกรรม

      ๑. วิเคราะห์โครงเรื่อง(แผนภาพโครงเรื่อง) การอ่านแล้วทำแผนภาพโครงเรื่องจะช่วยพัฒนาทักษะการคิดได้

      ๒. คำถามฝึกคิด (เผยแพร่ในรายงานปฏิรูปการศึกษาไทย) การพัฒนากระบวนการคิดโดยการตั้งคำถามจากการอ่าน  บทอ่าน บทความ ข่าว นิทาน เรื่องสั้น ๆ โดยยึดหลัก 5W1H ใคร Who ทำอะไร What  ที่ไหน Where เมื่อไร When ทำไม Why อย่างไรHow พร้อมตอบคำตอบ และวาดภาพประกอบให้สวยงาม เพื่อให้นักเรียนเกิดการพัฒนาด้านกระบวนการคิด ผลจากการจัดกิจกรรมด้านกระบวนการคิด

      ๓. แต่งประโยคจากคำที่เขียนตามคำบอก การแต่งประโยคจากคำที่เขียนตามคำบอก แม้จะดูเป็นเรื่องง่าย แต่ช่วยให้ทราบว่าผู้เรียนเข้าใจความหมายของคำหรือไม่ ลองพิจารณาการแต่งประโยค ๒ แบบ ข้างล่างนี้

                  ก. บรรจุ-แต่งประโยค คุณพ่อบรรจุน้ำลงขวด

                  ข. บรรจุ แต่งประโยค- ฉันพูดว่าบรรจุ หรือ ฉันหาคำว่าบรรจุ หรือ น้าฉันชื่อบรรจุ

                  แบบไหนดูดีกว่ากัน ?

      ๔. นิทานแผ่นเดียว (การเขียนเชิงสร้างสรรค์) เป็นการเขียนเรื่องใหม่ตามแนวคิดของบทเรียน โดยปรับรูปแบบกระดาษ เอ๔ แนวนอน ด้านหนึ่งเป็นนิทานมีภาพประกอบ ๒ กรอบ และด้านหลังอีกด้านของกระดาษ เป็นปกนิทาน สามารถพัฒนาเป็นเรียงความ หรือพจนานุกรมคำศัพท์ประกอบภาพได้

      ๕. การอ่านบทร้อยกรองประกอบท่าทาง (เผยแพร่ในรายงานปฏิรูปการศึกษาไทย) โดยการทำท่าทางประกอบการอ่านบทร้อยกรองแต่ละวรรค วรรคละ ๑-๒ ท่าทาง เริ่มจากทำท่าตามครู และขยายผลให้ผู้เรียนคิดท่าทางเอง  เพื่อให้นักเรียนเกิดนิสัยรักการอ่าน ช่วยให้สามารถอ่านบทร้อยกรองได้ถูกต้องตามจังหวะการอ่าน  มีความสุขในการเรียนรู้

               ๖. การจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน จะช่วยพัฒนาให้นักเรียนศึกษาหาความรู้ด้วยตนเอง โดยครูเป็นผู้แนะนำ ในระยะแรก ชั้น ป.๑-๒ ครูอาจช่วยวางหัวเรื่องโครงงาน แนะนำวิธีทำโครงงานได้

 

การสอนคิดกับมาตรฐานการประเมินคุณภาพการศึกษา สมศ. ที่เกี่ยวกับการคิด

ข้อ ๔ ผู้เรียนมีความสามารถในการคิดวิเคราะห์ คิดสังเคราะห์ มีวิจารณญาณ ได้ระดับคุณภาพ ระดับดีมาก

ข้อ ๕ ผู้เรียนมีความรู้และทักษะที่จำเป็นตามหลักสูตร ได้ระดับคุณภาพ ระดับดีมาก

                ข้อ ๖ ผู้เรียนมีทักษะในการแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง รักการเรียนรู้ และพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง

หมายเลขบันทึก: 200616เขียนเมื่อ 13 สิงหาคม 2008 14:06 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 10:55 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท