SNA เครื่องมือใหม่ในการสร้างความรู้


SNA,Social Network Analysis

"ในบรรดาผู้ที่เป็นเครือข่าย KM (Knowledge Management) คงไม่มีใครไม่รู้จัก SNA ( Social Network Analysis) แต่การนำมาใช้ในธุรกิจเพื่อสร้างองค์ความรู้ใหม่ได้กลายเป็นสิ่งที่น่าสนใจอย่างยิ่ง"

Dr.Danai Thieanphut

เมื่อราว ๆเดือน ต.ค ปีที่ผ่านมาผู้เขียนได้รับ email จาก นศ.ปริญญาเอกท่านหนึ่งเป็นชาวญี่ปุ่น ซึ่งกำลังศึกษาและอยู่ระหว่างจัดทำ Dissertation ที่ Hertford College, Oxford University ประเทศอังกฤษ ข้อความใน email สรุปใจความหลัก ๆได้ว่า
-> เป็น นศ.ปริญญาเอกเรียนทางด้านบัญชีมีความสนใจทางกลยุทธ จึงทำดุษฎีนิพนธ์ (Dissertation) เกี่ยวกับ Balanced Scorecard (BSC) ในลักษณะของการประยุกต์ใช้
-> เผอิญในช่วงนั้นมาเป็น Guest Speaker ด้านบัญชีให้ที่ ม.ธรรมศาสตร์ รังสิตและจะกลับไปที่อังกฤษประมาณต้นเดือน พ.ย.50
-> สาเหตุที่ต้องการอยากพูดกคุยกับผู้เขียนมาด้วยเหตุผล
(1) ผู้เขียนลงทะเบียนเป็นสมาชิกเครือข่ายทางกลยุทธในชุมชนออนไลน์แห่งหนึ่งในโลกไซเบอร์
(2) นศ.ท่านนี้ได้ค้นข้อมูลในเครือข่ายดังกล่าวพบชื่อผู้เขียนว่าอยู่ประเทศไทยและศึกษาด้าน Balanced Scorecard เมื่อเขามาถึงเมืองไทยจึงอยากจะพบเพราะคิดว่าผู้เขียนจะช่วยเกี่ยวกับงานที่ทำอยู่และ Dissertation ของ นศ.ท่านนี้ได้
ผู้เขียนจึงได้นัดพูดคุยกัน (เกือบ 3 สัปดาห์กว่าจะได้พบกัน) ภายหลังจากที่เสร็จภารกิจการบรรยายพิเศษในเรื่อง แนวคิด นวัตกรรม การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ให้กับโครงการดุษฎีบัณฑิตด้านบริหารการศึกษาฯ (ภาคพิเศษ) ของคณะศึกษาศาสตร์ ม.เกษตรศาสตร์

ประเด็นที่ควรพูดถึงการสร้างความรู้

ความจริงคงไม่ใช่การสนทนาแต่เป็นการสัมภาษณ์ผสมการแลกเปลี่ยนทรรศนะระหว่างผู้เขียน กับนศ.ปริญญาเอก (Mr.Taka Fujioka)
Mr.Taka ได้นำเสนอโครงการวิจัยแบบเดิมกับการวิจัยแนวใหม่ของเขา ซึ่งมีพลวัตมากกว่า ไม่ยึดติดกรอบคิดในการวิจัยเชิงปริมาณแบบเดิม การตั้งสมมติฐานในการวิจัย มีความยืดหยุ่น วิธีการวิจัยใช้เทคนิค SNA (Social Network Analysis) และอีกหลายๆ ประเด็นในประโยชน์ของวิธีการใหม่นี้
-> ความจริงแล้ว “การวิเคราะห์เครือข่ายทางสังคม” (SNA) นี้ไม่ใช่สิ่งที่ใหม่มากนักเพราะในต่างประเทศมีพัฒนาการมาเกินกว่า 10 ปีแล้ว (ซึ่งผู้เขียนจะขอพูดในตอนท้าย)
สรุปแล้ว ผู้เขียนเป็นคนหนึ่งที่อยู่ใน SNA จึงถูกเลือกมาเป็นตัวอย่าง (Sample) ของการวิจัย
-> สิ่งที่เราได้แลกเปลี่ยนความรู้ในเรื่อง BSC คือ
(1) การที่ผู้เขียนนำ BSC มาใช้ในเมืองไทยนั้นมีการปรับโมเดลเพื่อให้สอดคล้องกับบริบทของธุรกิจในประเทศไทยหรือไม่เพราะได้พบเช่นนี้ทุกประเทศที่ Mr.Taka ได้สัมภาษณ์มา
(2) ปัญหาหลักๆ ที่ Mr.Taka สนใจคือ “Strategic Comminication Gap” ว่ามีในระดับใดของธุรกิจและมีวิธีการในการแก้ปัญหานั้นอย่างไร โดยเฉพาะอย่างยิ่งในฐานะที่ผู้เขียนเป็นที่ปรึกษาด้านนี้
(3) การใช้ SNA ที่ว่านี้ Mr,Taka ใช้ตัวอย่าง 3 บริษัทและสัมภาษณ์ผู้ที่เชี่ยวชาญหรือทำงานในด้าน BSC 11 ท่าน
ผู้เขียนจึงสนใจแลกเปลี่ยนความรู้ในเรื่อง SNA เพื่อจะหารูปแบบนำมาประยุกต์ใช้กับการศึกษาหรือวิจัยทางด้าน “วิธีวิทยาการการจัดการธุรกิจ-ความรู้” (Knowledge-Business Methodology)
(4) Mr.Taka นี้เป็นคนญี่ปุ่นที่สุภาพและน่าทึ่งมากครับ เพราะว่า
- อายุเพียง 30 ปีเท่านั้น ได้ข้ามน้ำข้ามทะเลไปเรียนที่ Oxford University ในฐานะนักเรียนทุนของ BCG (Boston Consulting Group)
- มีผลงานหนังสือภาษาอังกฤษ 3 เล่มด้านบัญชี 2 เล่มและด้านกลุยทธ 1 เล่ม
- ปัจจุบันเป็นผู้ช่วยสอนด้านบัญชีที่มหา’ลัยอยู่ด้วย

สิ่งที่ Mr.Taka บอกผมคือ ....บริษัทญี่ปุ่นไม่สนใจที่จะทำ BSC เพราะว่า
- บริษัทญี่ปุ่นเขามุ่งที่ การควบคุมกระบวนการ (Process Control)
- บริษัทส่วนใหญ่มีความเป็น Family Owner จึงไม่มีวามจำเป็นอะไรที่จะดู
ด้านการเงิน เช่น ROE. ROI, EVA หรือตัวเลขทางการเงินเหมือนบรรดาบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์
- เขาบอกว่า Porter สรุปว่า บริษัทญี่ปุ่นส่วนใหญ่แล้วไม่มีกลยุทธ เป็นการทำใน
เรื่อง Policy Deployment
นี่คือ ! ความรู้ที่ผู้เขียนได้รับจาก “เครือข่ายทางสังคม”

SNA : Social Network Analysis คืออะไร?

SNA หรือการวิเคราะห์เครือข่ายทางสังคม คงไม่ใช่เป็นเพียง
- การที่คนมาลงทะเบียนในชมรม สมาคม หรือชุมชนออนไลน์แล้วจะเป็นเครือข่ายทางสังคม
- คงไม่ใช่เพียงการทำกราฟเชื่อมโยงความสัมพันธ์ของคนในชุมชน
- ชุมชนนั้นมีกฎกติกาที่เข้มทีเดียวประเภท สวัสดียามเช้า มาเยี่อมชม แวะมาทักทาย ขอบคุณครับเป็นความรู้ที่ดีมาก ให้กำลังใจนะจ๊ะจะบอกให้ สนใจแวะมาเยี่ยมชมบ้านเราบ้าง (Blog ของผู้โพสต์) แบบที่ว่านี้ดูจะเกลื่อนเต็ม Blog ในเครือข่ายชุมชนออนไลน์บ้านเรา-ดีในแง่กำลังใจแต่ไม่ได้สร้างองค์ความรู้
SNA คือ กระบวนการวางผังและการวัดความสัมพันธ์และการไหล (Flow) ของสารสนเทศ/ความรู้อื่นๆ ที่จัดกระทำให้เกิดขึ้นระหว่างบุคคล กลุ่มคน องค์กร สัตว์ คอมพิวเตอร์ ฯลฯ ในระหว่างโนด (Node)

*http://www.semanticstudios.com/publications/semantics/0000006.php

คุณค่าของ SNA (Social Network Analysis)

Moreno, J. (1934) ได้เสนอวิธีการเริ่มต้น การวิเคราะห์อย่างเป็น
ทางการของเครือข่ายทางสังคม ซึ่งเป็นเครื่องมือทางสังคมมิติ (Sociometry)
SNA กลายเป็นเครื่องมือที่โด่งดังสำหรับนักวิจัยในต้นปี 1970 เมื่อคอม-
พิวเตอร์พัฒนามากขึ้นจนมีความเป็นไปได้ที่จะศึกษากลุ่มที่ใหญ่ขึ้น
ภายในระยะเวลา 10 ปี SNA ได้รับการยอมรับมากขึ้นในหลายๆ สาขาวิชา
อาทิ พฤติกรรมองค์กร มนุษยวิทยา สังคมวิทยาและทางการแพทย์
ในธุรกิจ SNA ได้กลายเป็นเครื่องมือสำคัญขององค์กรเพื่อศึกษาความเข้า ใจของการเชื่อมโยงระหว่างรูปแบบของปฏิสัมพันธ์และผลลัพธ์ธุรกิจ เช่น ผลการ ปฏิบัติงานความพึงพอใจในงาน การปรับใช้จากแนวคิดใหม่หรือเทคโนโลยี ขอบเขต
ของสารสนเทศที่จะแบ่งปันและการสร้างไอเดียใหม่
ผลได้ของ SNA ช่วยให้เราเห็นว่า ทำไมความร่วมมือจึงไม่เกิดขึ้น ที่ไหน
ซึ่งคนเก่งและคนที่เชี่ยวชาญจะเปล่งประกายได้ดีที่สุด ทำไมการตัดสินใจจึงไม่
ไหลลื่นลงไปสู่การปฏิบัติ เราสูญเสียโอกาสในการแพร่กระจายนวัตกรรมเพราะอะไร

* (อ้างจาก http://www.domino.watson.ibm.com/cambridge/research.hsf/...IR_2005-10.pdf.)

ซึ่ง SNA จัดทำได้ทั้งในแบบรูปภาพและการวิเคราะห์ทางคณิตศาสตร์ด้านความสัมพันธ์ของคน ( thttp://webopedia.com)
ไม่เสียเที่ยวที่ได้รู้จัก นศ.ปริญญาเอกท่านนี้และได้เครื่องมือการวิจัยที่น่าสนใจเพื่อสร้างความรู้อีกเครื่องมือครับ!

ดร.ดนัย เทียนพุฒ
Dr.Danai Thieanphut
Managing Director
DNT Consultants

คำสำคัญ (Tags): #km#sna#social network analysis
หมายเลขบันทึก: 200251เขียนเมื่อ 11 สิงหาคม 2008 18:46 น. ()แก้ไขเมื่อ 26 มีนาคม 2016 09:05 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

ไม่อนุญาตให้แสดงความเห็น
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท