วิจัยหน้าเดียว


ชื่อเรื่อง         การเขียนคำคล้องจอง

ผู้วิจัย            นาง กุญช์ชญา       ลิ่มมณีธร

ปัญหา         จะช่วยให้ น.. สามารถเขียนคำคล้องจองอย่างง่าย ๆ    ให้ถูกต้องได้อย่างไร

สภาพปัญหา 

                      จากการสอนภาษาไทย ชั้น ป. 2 / 1   ในบทเรียนหน่วยที่ 8   หลักการใช้ภาษาได้กำหนดให้นักเรียนฝึกเขียนคำคล้องจองง่าย ๆ    จากการตรวจแบบฝึกและชิ้นงานขียนคำคล้องจองของนักเรียนทำให้พบประเด็นสำคัญที่เป็นปัญหาคือ .. ไม่สามารเขียนคำคล้องจองง่ายๆ  ให้ถูกต้องได้       จากนักเรียนทั้งหมด  33 คน    สามารถจัดกลุ่มตามความสามารถของนักเรียน  ได้  3  กลุ่ม  คือ

        กลุ่มที่ 1     สามารถเขียนคำคล้องจองได้ถูกต้อง                   13   คน

        กลุ่มที่ 2      สามารถเขียนคำคล้องจองได้ถูกต้องผิดบ้าง        15     คน                                                                       

        กลุ่มที่ 3     เขียนคำคล้องจองไม่ถูกต้องเลย                            5   คน 

ระยะเวลา        20    สิงหาคม     2550   ถึง    31    สิงหาคม   2550

จุดประสงค์

                  เพื่อพัฒนาทักษะการเขียนคำคล้องจองอย่างง่าย ๆ  ให้ถูกต้องแก่นักเรียนชั้น ป. 2 / 1

วิธีดำเนินการ

1. ครูจัดทำแบบฝึกการเขียนคำคล้องจอง   ซึ่งมี  4   กิจกรรมด้วยกันคือ

      1.1 กิจกรรมที่ 1  ให้ น.. ขีดเส้นใต้คำที่มีเสียงคล้องจองกับคำข้างหน้า

     1.2 กิจกรรมที่ 2 ให้ น.ร. นำคำที่กำหนดให้    ต่อคำให้คล้องจองกัน

     1.3 กิจกรรมที่ 3 ให้ น.. หาคำคล้องจองของคำที่กำหนดให้    แล้วเขียนลงในช่องว่างที่กำหนดให้

1.4 กิจกรรมที่ 4 ให้ น.ร. หาคำคล้องจองของคำที่กำหนดให้     อ่านและเขียนให้ถูกต้อง

ผลการแก้ปัญหา

                    เมื่อนักเรียนได้ฝึกทำกิจกรรมเกี่ยวกับการเขียนคำคล้องจองครบทั้ง 4  กิจกรรมไปตามลำดับขั้นตอน  ซึ่งผลก็สามารถช่วยพัฒนาทักษะการเขียนคำคล้องจองของนักเรียนกลุ่มที่ 2 และกลุ่มที่ 3    สามารถพัฒนาขึ้นได้ดังนี้

                  กลุ่มที่ 1     สามารถเขียนคำคล้องจองได้ถูกต้อง                  26     คน

                  กลุ่มที่ 2      สามารถเขียนคำคล้องจองได้ถูกบ้างผิดบ้าง        7     คน                                                                

                  กลุ่มที่ 3     เขียนคำคล้องจองไม่ถูกต้องเลย                           -     คน 

             นักเรียนสามารถเขียนคำคล้องจองได้ถูกต้อง มีระดับพัฒนาดีขึ้นจาก   13  คน  เป็น  26  คน  ( + 13  )  และกลุ่มที่สามารถเขียนคำคล้องจองได้ถูกบ้างผิดบ้างลดน้อยลงจาก   15    คนเหลือ   7   คน ( -  8  )         และพัฒนานักเรียนในกลุ่มที่ 3  ได้หมดทั้ง 2 คน

88888888888888888888888

คำสำคัญ (Tags): #kmobec#kmska2#kumpangphet
หมายเลขบันทึก: 200138เขียนเมื่อ 11 สิงหาคม 2008 11:08 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:47 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (12)

มีเรื่องอื่นอีกไหมคะ สังคมศึกษาก็น่าสนใจ แล้วเอามาลงอีนะคะ ขอบคุณที่ให้ความรู้

ดีมากค่ะ อ่านแล้วเข้าใจจะขอนำวิธีการไปใช้พัฒนาเด็ก ปี52 มีวิจัยเรื่องอื่นๆส่งให้อ่านอีกนะคะ ขอบคุณมากค่ะ

ขอบคุณมากครับ จะนำไปใช้ เพราะช่วยผ่าน สมศ. ได้แยอะมาก

ดีมากอ่านแล้วเข้าใจ วิธีการไม่ซับซ้อน และเป็นตัวอย่างได้อย่างดี

ขอบคุณหวังว่าคงมีงานมาให้อ่านอีกนะคะ

ตัวอย่าง.....การเขียนรายงานอ่านแล้วเข้าใจง่ายดีไม่ซับช้อนคะ....ช่วยเหลือเพื่อนครูอื่นๆได้เยอะคะ

สอน ป. 2 เหมือนกันเป็นตัวอย่างได้ดีมากๆค่ะ

เป็นวิธีแก้ปัญหาที่ดีมาก ขออนุญาตนำวิธีการไปใช้กับเด็กบ้างนะคะ

ขอบคุณเข้าใจง่ายค่ะ

ขอบคุณสำหรับสิ่งดี ๆ ค่ะ

มาเชียร์งานวิจัยหน้าเดียวค่ะ....

เขียนอีกนะคะจะรออ่าน

ขอบคุณค่ะ แล้วจะติดตามตอนต่อไปนะคะ

ขอบคุณสำหรับแนวการสอนคำคล้องจองที่ง่ายและเข้าใจได้รวดเร็ว

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท