ธนาคารออมคำ


Best    Practice

นวัตกรรม  ธนาคารออมคำ

นางกุญช์ชญา  ลิ่มมณีธร

โรงเรียนบ้านกำแพงเพชร

อำเภอรัตภูมิ สพท.สงขลา เขต ๒

................................................................................................................................................................

หลักการและเหตุผล

           ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนภาษาไทยนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒/๑  พบว่านักเรียนส่วนใหญ่ยังด้อยในทักษะด้านการอ่านและเขียน  โดยเฉพาะในด้านการอ่านพบว่าเด็กไทยยังขาดนิสัยรักการอ่าน  ใช้เวลาในการอ่านหนังสือน้อยมาก  ดังนั้นข้าพเจ้าจึงได้คิดจัดทำโครงการธนาคารออมคำขึ้น เป็นกิจกรรมที่พัฒนาทักษะด้านการอ่านช่วยส่งเสริมให้นักเรียนมีนิสัยรักการอ่าน  อ่านคล่องจนเกิดแรงบันดาลใจอยากอ่านด้วยตนเองและเห็นคุณค่าในการพัฒนาทักษะด้านการอ่านของตนเองอย่างชัดเจน

ภาพความสำเร็จและความภาคภูมิใจ

            นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒/๑  ทุกคนสามารถพัฒนาทักษะด้านการอ่าน สามารถอ่านคำศัพท์และรู้ความหมายของคำที่อ่านได้ด้วยตนเอง  อ่านคล่องและส่งผลให้มีนิสัยรักการอ่านเพิ่มขึ้นร้อยละ 85.76

กิจกรรมและการดำเนินการ

๑.       นำบัตรคำจากคำพื้นฐานในบทเรียนจำนวน ๑๐๐ คำโดยมีหมายเลขกำกับคำ   มีคำอ่านอยู่ด้านหน้า  ด้านหลังเป็นความหมายของคำที่อ่านใส่กล่องไว้ที่มุมอ่านหนังสือในชั้นเรียน

๒.     ครูชี้แจงนักเรียนเกี่ยวกับวิธีการอ่านเก็บคำ  โดยนักเรียนทุกคนจะใช้เวลาช่วงใดก็ได้ในวันหนึ่งๆไปฝึกอ่านบัตรคำ โดยหยิบบัตรคำศัพท์มาอ่านให้ครูฟังพร้อมอ่านความหมายของคำนั้นๆด้วย  ถ้านักเรียนอ่านได้ถูกต้องครูจะมอบดาวให้นักเรียนคำละ ๑ ดวง  ถ้ายังอ่านไม่ถูกต้องให้ไปฝึกอ่านกับเพื่อนคนเก่งหรือจะเลือกคำใหม่ที่อ่านได้มาอ่านก่อนก็ได้

๓.     นักเรียนนำดาวที่เก็บได้จากการอ่านคำไปติดที่แผนภูมิธนาคารออมคำของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒/๑  ( แสดงสถิติการอ่านของนักเรียนแต่ละคน)

๔.     เมื่อครบเวลา ๓๐ วัน ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปจำนวนคำที่อ่านได้โดยนับจำนวนดาวจากตารางออมคำครูให้แรงเสริมกล่าวคำชมเชยมอบรางวัลแก่นักเรียนที่สามารถอ่านเก็บคำได้ตามเกณฑ์ที่ครูกำหนด     (ไม่น้อยกว่า ๘๐ คำ) 

๕.     จัดกิจกรรมซ่อมเสริมให้คนเก่งช่วยคนอ่อน (นักเรียนที่อ่านไม่ถึงเกณฑ์ที่กำหนด)จนสามารถอ่านเก็บคำได้ครบทุกคน

ปัจจัยเกื้อหนุน / แรงบันดาลใจ

         พัฒนาทักษะด้านการอ่านช่วยส่งเสริมให้นักเรียนมีนิสัยรักการอ่าน 

แผนงานในอนาคต

         พัฒนานวัตกรรมเพื่อส่งเสริมการอ่านของนักเรียนให้หลากหลายรูปแบบ

คำสำคัญ (Tags): #kmobec#kmska2#kumpangphet
หมายเลขบันทึก: 200134เขียนเมื่อ 11 สิงหาคม 2008 10:57 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 มิถุนายน 2012 11:23 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท