@..พิธีศพอย่างพุทธ...@


                                                    

       สัตว์ทุกหมู่เหล่า 
                        จักทอดทิ้งร่างกายไว้ในโลก
             พระตถาคตผู้ศาสดา
                         ผู้หาบุคคลเปรียบมิได้ในโลก
                    ถึงแล้วซึ่งกำลังพระญาณ
         เป็นพระสัมมาสัมพุทธะ..เช่นนี้ ยังปรินิพพานแล้ว..."

                 (พุทธพจน์ ปรินิพพานสูตร เล่มที่๔๕ )
                   ต้นไม้ล้มก็เอาไปเป็นฟืน
ถ้วยชามแตกก็เอาไปทิ้งถังขยะ
                 หมา-แมวถูกรถทับตายก็เอาไปฝัง
                     หากคนเราตายควรรีบเอาไปเผา

                  

   ชาวพุทธทุกวันนี้ส่วนใหญ่ที่ถึงแก่
ความตายกันไปแล้วก็ยังต้องเป็นเหตุให้เสียทรัพย์มาก เสียเวลาเยอะ ต้องมาคอยดูแลสภาพอันน่าสมเพชของศพอีกนานวัน บางคนก็เก็บศพไว้นานเดือน-นานปีทีเดียว
   ซากศพแม้จะพยายามรักษาไว้ให้ดูดียังไง ก็คงบวมอืดน่าเกลียด ส่งกลิ่นเหม็น สีสันน่าขยะแขยงและเขย่าขัวญ แก่คนที่ถูกหลอกให้งมงายเชื่อเรื่องผีสาง ซึ่งรังแต่จะเก็บไว้สร้างบรรยากาศให้น่ากลัว หรือเป็นบรรยากาศที่แสนห่วย สุดเศร้าเคล้าน้ำตา ระคนเสียงสะอื้นไห้จากหมู่ญาติมิตร ที่ต้องพลัดพรากจากของที่รักของตนไป อย่างไม่มีวันได้กลับคืนมาอีกแล้ว ที่พอจะมองเห็นประโยชน์อยู่บ้างเล็กน้อย ท่ามกลางกองทุกข์ของการเก็บศพไว้นานวัน  ก็คือ ..ได้มีโอกาสเป็นทุกข์นานๆหลายๆวัน เผื่อจะมองเห็นความทุกข์ของชีวิตได้ว่า ไม่มีของรักของหวงสิ่งไหนเลยที่จะไม่ถูกพรากจากเราไปเเม้สิ่งเดียว ใครยิ่งมีของรักมากๆคนนั้นก็ยิ่งจะต้องถูกพรากจากของรักนั้นมากๆบ่อยๆต้องพบทุกข์อยู่มากๆบ่อยๆตามไปด้วย ส่วนที่หอบหวงน้อย มีความรักใคร่อะไรไว้น้อย จึงพบทุกข์

                    

       กุลบุตรชื่อ พาหิยะทารุจีริยะ เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ซึ่งกำลังเสด็จบิณฑบาตรอยู่ในละแวกบ้าน พระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรมให้ฟังโดยย่อ ไม่กี่คำความเท่านั้น แล้วเสด็จต่อไปบัดนั้นเอง จิตของพระพาหิยกุลบุตร ก็หลุดพ้นแล้วจากกิเลสทั้งปวง
    ครั้นพระผู้มีพระเจ้าภาค เสด็จกลับจากบิณฑบาตพร้อมพระภิกษุเป็นอันมาก ได้ทอดพระเนตรเห็นพาหิยะกุลบุตรถึงแก่ความตายไปเสียแล้ว ด้วยเหตุถูกวัวแม่ลูกอ่อนขวิด จึงตรัสกับภิกษุทั้งหลายว่า "ท่านทั้งหลาย จงช่วยกันเอาร่างของพาหิยะทารุจีริยะ ยกขึ้นสู่เตียงแล้วจงนำไปเผาเสีย"นี่เป็นตัวอย่างที่พระพุทธองค์ทรงชี้นำ"การทำพิธีศพอย่างพุทธ" เอาไว้ซึ่งขนาดพาหิยกุลบุตรนี้ได้บรรลุธรรมจนเป็นพระอรหันต์แล้ว พระผู้มีพระภาคก็ยังให้เผาศพอย่างรวดเร็ว จึงนับประสาอะไรกับคนธรรมดากิเลสทุกข์หนาหนักจะปล่อยให้ศพถูกเผาชักช้า ทำให้ผู้คนต้องจมปลัก ทุกข์ยากลำบากอยู่นานวันไปใยกัน  อีกอย่างพระพุทธองค์ก็ทรงกระทำให้เห็น พิธีศพอย่างประหยัด เรียบง่าย ไม่ฟุ้งเฟ้อ เห่อเหิม น้อยภาระ

 

 

                  

มีความสิ้นเปลืองทางเศรษฐกิจน้อยมาก ไม่ต้องเสียเงินค่าสวดศพ,ไม่ต้องเสียเงินค่าโฆษณาในหนังสือพิมพ์,ไม่ต้องเสียค่าดอกไม้ธูปเทียน -พวงหรีด ไม่ต้องเสียค่าเครื่องดื่มและอาหาร,ไม่ต้องเสียเงินตัดเสื้อผ้าใหม่เพื่อ"ไว้ทุกข์ "ไม่ต้องเสียเวลาเสียงานอื่นมากนัก,ไม่ต้องรดน้ำศพ,ไม่ต้องเก็บศพไว้ให้เปลืองพื้นที่และค่าฮวงจุ้ย,ไม่ต้องทุกข์ ลำบากตรากตรำเสียอกเสียใจกันเกินไป และโดยเฉพาะอย่างยิ่งไม่ทำให้พิธีศพของพุทธแท้ๆต้องเลอะเทอะเสียไปจนเพี้ยนเป็นพิธีหลอกหากินของคน"ฉลาดโกง"ที่แอบอ้างอาศัยพิธีกรรมซึ่งไม่ใช่ของพุทธมาบังหน้าหากิน


                

    ดังนั้นจึงต้องรีบจัดการงานศพโดยเร็ว แล้วหากยังอยากทำบุญเพื่อระลึกถึงผู้ตาย ก็ควรทำตามคำสอนของพระพุทธองค์ที่ตรัสไว้ใน"อากังขสูตร"เอาไว้ว่า

   "ถ้าพึงหวังว่า มีจิตเลื่อมใสญาติสายโลหิตคนใด ตายไปแล้ว ย่อมตามระลึกถึง การระลึกถึงแห่งญาตินั้น พึงมีผลประโยชน์มาก ก็ต้องทำบุญให้บริสุทธิ์ในศีลทั้งหลาย

 อันประกอบด้วยความสงบใจในภายใน

 ไม่เหินห่างจากการทำใจให้สงบ

  อันประกอบด้วยการพิจารณา ให้เห็นแจ้งความจริง
  ตามความเป็นจริง"

 
    พระสูตรนี้ พระพุทธองค์ทรงเน้นให้เห็นชัดเจนว่า หากระลึกถึงผู้ตายอันเป็นที่รักเคารพคนใดแล้ว ก็ต้องถือศีล ๕ หรือศีล๘(กินเจ,มังสวิรัติ)หรือศีลอื่นๆให้บริสุทธ์บริบูรณ์จะได้เกิดผลบุญผลประโยชน์แก่ตนอย่างมากมาย
       การทำบุญคิดถึงผู้ตาย แล้วจะให้เกิดบุญ(การชำระใจ)เกิดกุศล(ความรู้-ความฉลาดที่ถูกธรรม)มากที่สุดจึงคือ การถือศีลปฏิบัติธรรมให้บริสุทธิ์นั่นเอง
        เพราะการถือศีลการกระทำที่ดีนี่แหละ คนที่อยู่ใกล้ชิดเราก็พลอยได้รู้ได้เห็น ได้ระลึกถึงความสุขเย็นของธรรมะไปด้วย ได้รับตั้งแต่ตอนมีชีวิตอยู่เป็นๆอยู่นี้เลยทีเดียว ไม่ใช่ไปมัวระลึกถึงกันต่อเมื่อสายไปเสียแล้ว
    "พิธีกรรมอย่างพุทธ"จึงมุ่งสร้าง "บุญ"อย่างเห็นๆอย่างเป็นๆอย่างไม่สายเกินตาย  
                     

 ดังนั้นถ้าพิธีกรรม


  

ใดทำแล้ว มีแต่เพิ่มกิเลสให้ผู้คนมากขึ้น ทำผิดศีล๕ พาเสพอบายมุข กันในงาน เช่นเล่นการพนัน ,กินเหล้าเมายา,ฆ่าไก่-หมู วัว-ควายฯลฯการเลี้ยงกันด้วยความตายของผู้อื่น พิธีกรรมนั้นย่อมเป็น"บาป"(ความไม่เจริญ)นั่นมิใช่พิธีกรรมของชาวพุทธ ที่จะพึงควรกระทำหรือให้การสนับสนุนด้วย ประการใดๆเลย
  เรามาช่วยกันเป็นชาวพุทธแท้ๆที่พยายามทำพิธีกรรมอย่างพุทธ ให้ถูกต้องกันดีกว่า
                       กุสะโล ชะหาติ ปาปะกัง
                       คนฉลาดย่อมละบาป  
 
                        อนัตถัง  ปริวัชเชติ
                        อัตถัง คัณหาติ  ปัณฑิโต
                        บัณฑิตย่อมเว้นสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์

                        ถือเอาแต่สิ่งที่เป็นประโยชน์
                        (พุทธวจน)    
           ขอความสุขอันยิ่งใหญ่และยั่งยืนจงมีแด่มวลมนุษยชาติ

             

                               

หมายเลขบันทึก: 199582เขียนเมื่อ 8 สิงหาคม 2008 15:51 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 19:24 น. ()สัญญาอนุญาต: ไม่สงวนสิทธิ์ใดๆจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

นมัสการครับ

       พิธีศพ อย่าง "พุทธ"  ก็อย่างที่ท่านเสนอมานั่นแหละครับ

       แต่ที่นี้บางที่ข้อจำกัดของวิธีคิดในสังคมไทย ยังมีความเชื่อแบบ พราหมณ์ ฮินดู  และ ขงจื๊อ  อยู่   ดังนั้น เรื่อง รูปแบบ เรื่องวิธีการ  เรื่องความกตัญญู   ก็เลยต้องจัดหลายวัน  และ  มีเปลือกมากมาย

       คงต้องผสมๆกันไปนะครับ  เพราะพุทธเพียวๆ ก็อาจจะได้รับการปฏิเสธ   ขณะเดียวกัน ก็อย่าให้มันฟุ่มเฟือยมากไปจนเป็นหนี้เป็นสิน หรือตกเป็นเหยื่อของคนฉลาดโกง

       ผมคิดแบบทางโลกนะครับ

                       ขอบคุณครับ

ใช่อย่างที่โยมบอกนั่นแหละสังคม วิธีคิด วิถีชีวิต

ที่หลากหลายทำให้เกิดข้อแปลกแยกออกไปมากในปัจจุบัน

หากเราลดสิ่งที่ไม่จำเป็นออกไปบ้างก็จะเป็นสิ่งที่ดี

อนุโมทนาสาธุ 

พึงสำรวมกาย วาจา ใจ

พึงสำรวมในการเขียน พูด คิด

ประเพณีและวัฒนธรรมค่อยๆเกิด ค่อยๆเปลี่ยนแปลง

บางสิ่งบางอย่าง บางสถานะ บางฐานะ ย่อมมีข้อยกเว้น

ผู้มีปัญญาย่อมทราบดีว่ามีเบื้องสูงตั้งแต่ฝ่าเท้าขึ้นไป มีเบื้องต่ำตั้งแต่ปลายผมลงมา และมีเบื้องขวางสถานกลาง

เพียงเขามีความเห็นที่แตกต่างก็หาว่าเขาผิด

เพียงเขาไม่มาเป็นพวกก็หาว่าเขาชั่ว...เช่นนั้นหรือ

กราบขออภัยหากทำให้เกิดโสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส

ขอจงโปรดอโหสิกรรมให้ข้าพเจ้าด้วยเถิด...สาธุ

ไม่มีรูป

 

 

พึงสำรวมกาย วาจา ใจ

พึงสำรวมในการเขียน พูด คิด

อนุโมทนาสาธุกับกัลยาณมิตร

ที่ติงเตือนน้อมรับด้วยความยินดี

อนุโมทนาสาธุ..

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท