สร้างแรงจูงใจให้กับผู้อื่น


สร้างแรงจูงใจให้กับผู้อื่น

ปัจจัยที่จะส่งผลต่อความสำเร็จของงานคือการรู้วิธีจูงใจคนให้ทำงานอย่างมุ่งมั่น ทุ่มเท เสียสละ
ศิลปะในการจูงใจขึ้นอยู่กับความสามารถของผู้นำ และผู้บริหาร การรู้ถึงจุดแข็งจุดอ่อนของลูกน้อง ก็เป็นเรื่องสำคัญที่ต้องนำ มาพิจารณาเสมอก่อนมอบหมายให้ไปทำงาน หากมอบหมายผิดคนย่อมส่งผลให้งานล้มเหลว เมื่อเลือกคนได้แล้ว จะทำอย่างไรที่เขาจะทุ่มเทศักยภาพของเขาให้กับการทำงานได้เต็มที่เป็นเรื่องท้าทายความสามารถของผู้บริหารอย่างยิ่ง ผู้บริหารจึงจำเป็นต้องเรียนรู้ปัจจัยอะไรที่จะสามารถจูงใจคนประเภทไหนจึงจะได้ผล

โดยทั่วไปความต้องการของมนุษย์ตามความหมายของMaslow The hiarichy of need  มีลำดับขั้นคือ ขั้นต้น คือ การยังชีพเพื่อความอยู่รอด(Survive) ต่อมาคือความปลอดภัยและมั่นคง  (Secure) ต่อมาคือการเป็นที่ยอมรับของสังคม(Social Acceptance) ต่อมาคือชื่อเสียงเกียรติยศ  (Honor,Dignity) และขั้นสุดท้ายคือการเป็นตัวตนของตัวเอง(Self Actualization)

นิสัยแต่ละคนมีความแตกต่างในความต้องการ ดังนั้นผู้บริหารต้องเลือกใช้ให้เหมาะสมกับแต่ละคน และถูกกาลเทศะจึงจะได้ผล การสร้างอิทธิพล(Influence)ต่อคนเพื่อผลของงาน สามารถใช้ทั้งด้านบวก(Positive  Reinforcement) และด้านลบ(Negative Reinforcement) ขึ้นกับลักษณะของบุคคลนั้น

      • คนมักได้ ต้องใช้ ผลประโยชน์ตอบแทน
      • คนรับผิดชอบ ต้องใช้ หน้าที่ และให้ความอิสระ
      • คนปลิ้นปล้อน ต้องใช้กฎระเบียบ
      • คนเก่ง ต้องใช้การให้ความสำคัญ
      • คนขยัน ต้องใช้ การชมเชย
      • คนโง่ ต้องใช้ การให้ สิ่งยึดติด
      • คนชอบนำ ต้องใช้ความเป็นเป็นทีม
      • คนอยากได้หน้า ต้องใช้ การยอมรับ
      • คนอาภัพ ต้องใช้ ความสงสาร
      • คนเกียจคร้าน ต้องใช้ การลงโทษ
      • คนตรง ต้องใช้ เหตุผลและความยุติธรรม
      • คนโลเล ต้องใช้ คำสั่งที่ชัดเจน
      • คนนอกคอก ต้องใช้ การติดตาม
      • คนค้าความ ดีแต่พูด ต้องถามหาข้อสรุป
      • คนแข็งกร้าว ต้องใช้ ความนิ่ง สุขุมนุ่มนวลสยบ
      • คนสับปรับ ต้องรีบ จับให้ทันก่อนหันไปเรื่องอื่น
      • คนอ่อนแอ ต้องใช้ ความเข้มแข็งปกป้อง
      • คนอ่อนไหวง่ายต้องทำใจถ้อยทีถ้อยอาศัย
      • คนจัญไร ต้องไล่ออกประการเดียว

      ผู้นำที่พยายามสร้างแรงจูงใจให้กับผู้อื่น อย่าลืมที่จะสร้างแรงจูงใจให้กับตนเองด้วย หาไม่แล้วการมุ่งแต่จูงใจผู้อื่นจะเป็นไปด้วยความเฉื่อยชา ไม่มีประสิทธิภาพ เปรียบได้กับเครื่องจักรที่ไม่ดีจะผลิตสินค้าคุณภาพ ดีได้อย่างไร

หมายเลขบันทึก: 199472เขียนเมื่อ 8 สิงหาคม 2008 01:11 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 มิถุนายน 2012 15:36 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
  • อรุณสวัสดิ์ครับ
  • พอเข้ามา ใจถูกคุณครู
  • จูงมาเลย....

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท