LiBraRianCSR!!!
นาย รัชชานนท์ เจริญเกียรติสถานนท์

บันทึกวันวานกับ ไปรษณีย์ไทย


บันทึกวันวานกับ ไปรษณีย์ไทย 125 ปีที่ผ่านไป มีอะไรเกิดขึ้นบ้าง

 

พ.ศ. 2548

 - ปณท ร่วมมือกับสำนักงานประกันสังคมในการเป็นตัวแทน รับชำระเงินสมทบจากนายจ้าง /ประกันตน  - ปณท
   และบริษัทไทยทิคเก็ตมาสเตอร์.คอม จำกัด (มหาชน) ร่วมมือเปิดบริการจองตั๋วคอนเสิร์ตผ่านที่ทำการไปรษณีย์
 - ปณท รับเป็นศูนย์กลางจัดส่งเอกสารและพัสดุภัณฑ์ของหน่วยราชการและรัฐวิสาหกิจ โดยเปิดบริการรับฝากเอกสาร
   และสิ่งของ ณ สถานที่ตั้งของหน่วยราชการ (Messenger Post)
 - ปณท เปิดบริการส่งหนังสือด่วนวันเดียวถึงในงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ ครั้งที่ 33 (Book Fair 2005)
 - ปณท ร่วมมือกับโครงการส่งเสริมการพัฒนาการเรียนรู้เด็กแรกเกิดเป็นผู้รับส่งถุงรับขวัญเด็กแรกเกิดไปยัง
   โรงพยาบาล ต่างๆ ทั่วประเทศ

พ.ศ. 2547
 - จัดสร้างตราไปรษณียากรที่ระลึกเพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติ เนื่องในวโกาสมหามงคล
   เฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ และเผยแพร่พระเกียรติคุณในสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถขึ้นเป็นพิเศษ    เป็นภาพพระบรมฉายาลักษณ์ในฉลองพระองค์ ชุดไทยบรมพิมาน ประทับบนพระราชอาสน์ พิมพ์ดุนนูนด้วย
   ทองคำ เงิน และนาก อยู่ภายในดวงเดียวกันด้วยระบบลิโธกราฟี
พ.ศ. 2546
 - เปิดบริการคลีนอินเทอร์เน็ต
 - ร่วมกับกรมศุลกากรและธนาคารและธนาคารพาณิชย์ให้บริการชำระค่าภาษีอากรแก่กรมศุลกากรทางระบบ EDI
 - ร่วมโครงการจำหน่ายสลากแบบเลขท้าย 3 ตัว และ 2 ตัว ของสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล
 - ร่วมโครงการคอมพิวเตอร์ไอซีทีเพื่อคนไทยของของรัฐบาล
พ.ศ. 2545
 - เปิดบริการ Cat SpeedCast
 - จัดพิมพ์และจำหน่ายตราไปรษณีย์ยากรชุดดอกกุหลาบ ซึ่งเป็นตราไปรษณียากรชุดแรกของไทยที่มีกลิ่นหอม
 - เปิดบริการ Phone Net (บริการโทรศัพท์ระหว่างประเทศผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต)
พ.ศ. 2544
 - การสื่อสารแห่งประเทศไทย เริ่มแปรรูปองค์กรเพื่อเตรียมพร้อมสู่ยุคแข่งขันเสรีธุรกิจสื่อสาร
 - ได้รับรองระบบคุณภาพมาตรฐาน ISO 9002 สำหรับบริการข้อมูลความเร็วสูงและบริการถ่ายทอด
   สัญญาณโทรทัศน์ ผ่านดาวเทียมของสถานีดาวเทียมนนทบุรี
 - เปิดให้บริการธนาณัติเวสเทิร์นยูเนียน
 - เปิดให้บริการ Acadia IP VPN
 - เปิดให้บริการ eFONE
 - เปิดใช้อาคารศูนย์บริการลูกค้า
พ.ศ. 2543

 - พัฒนาระบบงานไปรษณีย์เป็นระบบ CA POS (เคาน์เตอร์ไปรษณีย์อัตโนมัติ )
 - เปิดให้บริการเครือข่ายอินเทอร์เน็ตสาธารณะเฉลิมพระเกียรติฯ
 - จัดพิมพ์และจำหน่ายแสตมป์ภาพต่อเนื่องดวงแรกในชุด "ท่องเที่ยวทั่วไทย" เป็นภาพทะเลบัว ทะเลน้อย
   จังหวัดพัทลุง
 - จัดงานแสตมป์เยาวชนโลก กรุงเทพฯ 2000 งานแสดง ตราไปรษณีย์ยากรเยาวชนโลก และงานแสดง
   ตราไปรษณียากร แห่งเอเซียครั้งที่13 และมีการจัดทำแสตมป์ส่วนตัวครั้งแรก
 - นำระบบเคาน์เตอร์ไปรษณีย์อัตโนมัติ (CA POS ) มาใช้ ณ ที่ทำการไปรษณีย์
 - เปิดให้บริการโครงข่ายอินเตอร์เน็ตในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก (AIN)
 - เปิดให้บริการโครงข่ายอัจฉริยะ ATM เป็นรายแรกในอาเซียน
 - เปิดให้บริการโทรศัพธ์ระหว่างประเทศเก็บเงินปลายทางจากตู้โทรศัพธ์สาธารณะในประเทศ โดยเริ่มเปิด
   ให้บริการ กับประเทศสิงคโปร์ และไต้หวัน
 - บริการ EMS ในประเทศได้รับการรับรองระบบคุณภาพมาตรฐาน ISO 9002 เป็นแห่งแรกในภูมิภาคเอเชีย
 - เปิดให้บริการ THIRD COUNTRY CALLING กับประเทศสหรัฐอเมริกา สวิสเซอร์แลนด์ ญี่ปุ่น
   และนิวซีแลนด์
 - เปิดให้บริการอินเทอร์เน็ตสาธารณะเฉลิมพระเกียติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเนื่องในโอกาส
   พระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนม พรรษา 6 รอบ

พ.ศ. 2542
 - เปิดบริการรับชำระค่าขอวีซ่าเข้าประเทศสหรัฐอเมริกา
 - เปิดบริการ PAT AT POST (บริการชำระเงินผ่านไปรษณีย์ )
 - เปิดบริการ Phone Net (บริการโทรศัพท์ระหว่างประเทศผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต)
พ.ศ. 2541
 - เปิดบริการ CAT400 EDI
 - เปิดบริการ CATNET (บริการอินเทอร์เน็ตสาธารณะ)
 - เปิดบริการวิทยุคมนาคมระบบ Digtal CDMA
พ.ศ. 2540
 - รณรงค์ใช้ซองมาตรฐาน
 - เปิดใช้บัตรโทรศัพท์ระหว่างประเทศ THAICARD
พ.ศ. 2539
 - เปิดใช้ศูนย์ไปรษณีย์หลักสี่และเริ่มใช้เครื่องคัดแยกจดหมายอัตโนมัติ
 - เปิดใช้ระบบเคเบิลใต้น้ำใยแก้วไทย - เวียดนาม - ฮ่องกง (T-V-H)
 - เปิดบริการสื่อสารข้อมูลระบบ Frame Relay ครั้งแรกกับประเทศญี่ปุ่น
 - เปิดให้บริการสื่อสารดาวเทียม INMARHAT-C ผ่านสถานีดาวเทียมนนทบุรี
พ.ศ. 2538
 - ขยายบริการรับชำระภาษีรถประจำปีทางไปรษณีย์ออกไปทั่วประเทศ
พ.ศ. 2537
 - เปิดบริการจัดส่งงบดุลและบัญชีกำไรขาดทุนประจำปีทางไปรษณีย์
 - เปิดให้บริการประชุมทางจอภาพระหว่างประเทศ (Video Conference Service)
 - เปิดใช้ระบบใต้น้ำใยแก้วมาเลเซีย - ไทย (M-T)
พ.ศ. 2536
 - เปิดให้บริการรับชำระค่าเบี้ยประกันภัย คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถทางไปรษณีย์
 พ.ศ. 2535
 - จัดสร้างระบบเคเบิลใต้น้ำใยแก้วระยะที่1 (มาเลเซีย - ไทย)
พ.ศ. 2534
 - เปิดบริการรับชำระค่าบริการโทรคมนาคมโดยหักบัญชีเงินฝากธนาคาร
 - เปิดให้บริการวงจรความเร็วสูงให้เช่า (High Speed Leased Circuit) กับญี่ปุ่น ฮ่องกง สิงคโปร์
   สหรัฐอเมริกา และเยอรมนี
 พ.ศ. 2533
 - เปิดให้บริการหักบัญชีเงินฝากธนาคารเพื่อชำระค่าโทรศัพธ์ระหว่างประเทศ
 พ.ศ. 2532
 - เปิดให้บริการรับชำระภาษีรถประจำปีทางไปรษณีย์ในเขต กทม. นนทบุรี ปทุมธานี และสมุทรปราการ
 - เปิดให้บริการรับฝากส่งไปรษณีย์ด่วนพิเศษระหว่างประเทศนอกที่ทำการ
 - เปิดบริการสื่อสารข้อมูล THAIPAK
 - เปิดบริการโทรสารระหว่างประเทศผ่านชุมสายโทรสาร FAXCOM
พ.ศ. 2531
 - ให้บริการถ่ายทอดโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมภายในประเทศกับสถานีโทรทัศน์ช่อง 3และ 9 อ.ส.ม.ท.
 - เปิดให้บริการฐานข้อมูลทางเทเล็กซ์ (Telex Database)
พ.ศ. 2530
 - เปิดบริการวิทยุคมนาคมระบบเซลลูล่า (Cellular Radio Communication Service) เมื่อวันที่
   25 กุมภาพันธ์ 2530
 - เปิดบริการโทรศัพท์ระหว่างประเทศ IODC (International Operator Direct Connection)
   กับประเทศญี่ปุ่นเป็นประเทศแรก เมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2530
 - เปิดบริการจ่ายเงิน Postcheque กับประเทศเบลเยี่ยมเป็นประเทศแรกเมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม 2530
 - จัดพิมพ์และจำหน่ายแสตมป์ทองคำดวงแรกของไทยอันเป็นพระบรมสาทิสลักษณ์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
   ภูมิพลอดุลยเดช เนื่องในวโรกาสพระราชพิธีมหามงคลพระชนมพรรษา 5 รอบ เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม 2530
พ.ศ. 2529
 - เปิดบริการไปรษณีย์ด่วนพิศษในประเทศ EMS (Domestic Express Mail Service) เมื่อวันท ี่
   15 เมษายน 2529
พ.ศ. 2528
 - เปิดที่ทำการศูนย์ไปรษณีย์กรุงเทพฯ หรือ ศป. กท. (Bangkok Mail Center : BMC) เมื่อวันที่
   25 กุมภาพันธ์ 2528
 - เปิดบริการไปษณีย์ภาคพื้นขนส่งทางอากาศระหว่างประเทศ (Surface Airlifted Service : SAL) เมื่อวันที่
   1 กรกฎาคม 2528
 - เปิดทำการศูนย์ไปรษณีย์นครราชสีมา หรือ ศป. นม. ซึ่งเป็นศูนย์ไปรษณีย์ภูมิภาคแห่งแรกเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม
   2528
 - เปิดบริการรับฝากไปรษณีย์จำนวนมาก (Bulk Posting Service) ณ ที่ทำการศูนย์ไปรษณีย์กรุงเทพฯ
   เป็นแห่งแรกเมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2528
พ.ศ. 2527
 - เปิดบริการโทรเลขธนาณัติระหว่างประเทศ (International Telegraph Money Order) กับสหพันธ์
   สาธารณรัฐเยอรมัน เมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2527
 - เปิดบริการโทรศัพท์ระหว่างประเทศระบบเรียกอัตโนมัติ (International Subscriber Dialling : ISD)
   ผ่านชุมสายโทรศัพท์ระหว่างประเทศระบบ SPC (Stored Program Control) เมื่อวันที่ 22 ธันวาคม 2527
พ.ศ. 2526
 - เปิดบริการไปรษณีย์ด่วนพิเศษระหว่างประเทศ EMS (International Express Mail Service)
   เมื่อวันที่ 1 มกราคม 2526
 - เปิดบริการติดต่อศูนย์รวบรวมข้อมูลและศูนย์ประมวลผลระหว่างประเทศ (International Database
   Access and Remote Computing Service : IDAR) เมื่อวันที่ 1 เมษายน 2526
 - เปิดบริการโทรสารผ่านชุมสายโทรศัพท์ทั้งในและระหว่างประเทศ (International Telefax Service :
   ITS) เมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม 2526
 - จัด "งานแสดงตราไปรษณียากรระหว่างประเทศ (International Stamp Exhibition)" ระหว่างวันที่
   4-13 สิงหาคม 2526 เนื่องในโอกาสครบรอบ 100 ปี การกำเนิดไปรษณีย์และโทรคมนาคมและ ตราไปรษณียากร
   ดวงแรกของไทย
 - ระบบเคเบิลใต้น้ำอาเซียนเสร็จสมบูรณ์ตามโครงการ ปี 2521-2526 และเปิดดำเนินการเมื่อวันที่ 27 กันยายน
   2526
 - เปิดบริการสื่อสารภายในประเทศผ่านดาวเทียมเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2526
พ.ศ. 2525
 - ประกาศใช้รหัสไปรษณีย์ (Postcode) ทั่วประเทศและเปิดบริการไปรษณีย์รับประกันในประเทศ (Domestic
   Insurance Service) เมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2525
 - เปิดบริการรับฝากส่งชีววัตถุเน่าเปื่อยง่ายทางไปรษณีย์ระหว่างประเทศ (Posting Of Perishable
   Biological Substances by International Postal Services) เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2525
พ.ศ. 2524
 - เปิดบริ การสื่อสารข้อมูลทางโทรศัพท์ระหว่างประเทศ (International Detal Service) เมื่อวันที่
  15 ตุลาคม 2524
พ.ศ. 2523
 - เปิดบริการวิทยุติดตามตัวระบบสัญญาณเรียก (Radio Paging Service/Tone Only) เมื่อวันที่
   20 เมษายน 2523
 - เปิดบริการรับฝากส่งไปรษณียภัณฑ์ไม่มีจ่าหน้า (Householder Postal Articles Delivery Service)
   เมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2523
 - ปิดบริการวิทยุโทรคมนาคมเฉพาะกิจแบบมือถือ (Handheld Radio Communication Service)
   เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2523
พ.ศ. 2522
 - เปิดดำเนินการชุมสายเทเล็กซ์อัตโนมัติ (Computer Telex Exchange : CTE) เมื่อวันที่
   28 พฤษภาคม 2522
 - เปิดบริการวงจรเสียงสลับข้อมูลระหว่างประเทศ (International Alternative Voice And
   Data Service) เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม 2522
 - เปิดบริการโทรสารสาธารณะระหว่างประเทศ ( Bureaufax Service) เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2522
พ.ศ. 2521
 - เปิดดำเนินการศูนย์ถ่ายทอดโทรเลขอัตโนมัติ (Automatic Message Switching Center : MSC)
   เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน 2521
พ.ศ. 2520
 - จัดตั้งการสื่อสารแห่งประเทศไทยและรับโอนงานจากกรมไปรษณีย์โทรเลขมาดำเนินงานเมื่อวันที่
   25 กุมภาพันธ์ 2520
 - เปิดดำเนินการชุมสายโทรศัพท์ระหว่างประเทศระบบ Cross Bar เมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม 2520
พ.ศ. 2519
 - ประกาศใช้ พระราชบัญญัติการสื่อสารแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2519 เมื่อวันที่ 28 กันยายน 2519
   กำหนดให้จัดตั้ง การสื่อสารแห่งประเทศไทยเพื่อรับผิดชอบงานการให้บริการและการปฏิบัติการ
   ด้านไปรษณีย์และโทรคมนาคม
พ.ศ. 2516
 - เปิดบริการไปรษณีย์รับรอง
 - เปิดบริการวิทยุโทรศัพท์ติดต่อเรือเดินทะเลในอ่าวไทย เมื่อวันที่ 15 มกราคม 2516
พ.ศ. 2515
 - เปิดบริการวิทยุโทรศัพท์ส่วนบุคคลหรือที่เรียกว่าวิทยุติดรถยนต์เป็นครั้งแรก เมื่อวันที่ 11 มีนาคม 2515
 - เปิดบริการขนส่งถุงไปรษณีย์รัศมี 100 กิโลเมตร รอบกรุงเทพมหานคร (Royal Mail) ตั้งแต่วันที่
   1 กรกฎาคม 2515
พ.ศ. 2514
 - ติดตั้งชุมสายโทรศัพท์ต่างประเทศระบบ Cross Bar Switch รุ่น XK2 ของ NEC ประเทศญี่ปุ่น
   เพื่อเพิ่มวงจรโทรศัพท์สำหรับติดต่อไปต่างประเทศได้สะดวกขึ้น
 - ปิดบริการวิทยุติดตามตัวเป็นครั้งแรก โดยบริษัทโทรคมนาคม เพื่อสื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทย จำกัด (ทมท.)
   เมื่อวันที่ 15 กันยายน 2514
พ.ศ. 2513
 - เปิดใช้งานสถานีคมนาคมภาคพื้นดินผ่านดาวเทียมศรีราชา 2 (SR-2) เมื่อวันที่ 1 เมษายน 2513
   โดยติดต่อกับดาวเทียม INTELSAT II-F3 เหนือมหาสมุทรอินเดีย ทำการติดต่อกับประเทศเยอรมนี อังกฤษ
   ฝรั่งเศส อินเดีย ฯลฯ
พ.ศ. 2511
 - เปิดดำเนินการสถานีคมนาคมภาคพื้นดินผ่านดาวเทียมขนาดมาตรฐานที่ตำบลทุ่งศุขลา อำเภอศรีราชา
   จังหวัดชลบุรี เรียกชื่อว่าถนนศรีราชา 1 (SR-1) โดยติดต่อกับดาวเทียม INTELSAT II-F2
   ทางด้านมหาสมุทรแปซิฟิก ทำการติดต่อกับ ประเทศต่างๆ เช่น สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น ฮ่องกง สิงคโปร์
   ไต้หวัน ฯลฯ เมื่อวันที่ 8 เมษายน 2511
พ.ศ. 2510
 - ประเทศไทยเปิดการติดต่อผ่านดาวเทียม INTELSAT II-F2 กับฮาวายเป็นครั้งแรก เมื่อวันที่ 1 เมษายน 2510
   โดยใช้สถานีเคลื่อนที่ซึ่งเช่าจากบริษัท RCA
พ.ศ. 2507
 - จัดให้มีที่ทำการไปรษณีย์โทรเลขรถยนต์เคลื่อนที่ (ปทค.) เมื่อวันที่ 18 เมษายน 2507
พ.ศ. 2506
 - เปิดบริการเทเล็กซ์กับต่างประเทศเป็นครั้งแรก เมื่อวันที่ 1 เมษายน 2506โดยติดต่อกับเมืองโอซากาประเทศญี่ปุ่น
   (ต่อมาเปลี่ยนเป็นที่โตเกียว) ซึ่งผู้เช่าบริการเทเล็กซ์ในกรุงเทพฯ สามารถติดต่อกับผู้เช่าในประเทศญี่ปุ่น และ
   ประเทศอื่นๆ ในเอเชีย ยุโรปและอเมริกาผ่านกรุงโตเกียว
 - เปิดบริการวิทยุโทรภาพระหว่างกรุงเทพฯกับโตเกียวเป็นสายแรก เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2506
พ.ศ. 2503
 - เปิดบริการโทรพิมพ์สายตรง (Leased Telegraph Circuit Service)
พ.ศ. 2499
 - วิทยุระบบ FM กระจายเสียงเป็นครั้งแรก
พ.ศ. 2498
 - ประกาศใช้ "พระราชบัญญัติวิทยุคมนาคม พ.ศ. 2498" เมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2498 โดยยกเลิกพระราชบัญญัติ
   วิทยุสื่อสาร พ.ศ. 2478
 - แพร่ภาพโทรทัศน์สู่สาธารณชนเป็นครั้งแรกจากวังบางขุนพรม เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2498
พ.ศ. 2497
 - ประกาศใช้ "พระราชบัญญัติองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย พ.ศ. 2497" ตามพระราชบัญญัติดังกล่าว
   มีการโอนงานกิจการโทรศัพท์นครหลวงไปให้องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยเป็นผู้ดำเนินงาน
พ.ศ. 2496
 - นายสมาน บุณยรัตพันธุ์ ช่างโทรเลขของกรมไปรษณีย์โทรเลขคิดค้นเครื่องโทรพิมพ์ภาษาไทยสำเร็จ
 - กรมประชาสัมพันธ์ จัดซื้อเครื่องส่งโทรทัศน์ จำนวน 1 ชุด จากบริษัทมาร์โคนี่และทำการถ่ายทอดมวย
   จากเวทีราชดำเนินระหว่างจำเริญ ทรงกิตรัตน์ กับจิมมี่ เปียต รองแชมป์โลกรุ่นแบนตัมเวตให้ประชาชนได้ชม
   ที่กรมประชาสัมพันธ์และโรงภาพยนตร์ศาลาเฉลิมไทย
พ.ศ. 2484
 - เปิดบริการเช็คไปรษณีย์ ตั้งแต่วันที่ 6 พฤษภาคม 2484
พ.ศ. 2483
 - เปิดบริการรับฝากส่งไปรษณียภัณฑ์และพัสดุไปรษณีย์สนามชายแดน เดิมเรียกบริการนี้ว่า ไปรษณีย์สนาม
พ.ศ. 2481
 - เปิดบริการรับฝากปรษณียภัณฑ์ประเภทพัสดุย่อยกับต่างประเทศ
พ.ศ. 2480
 - เปิดให้สาธารณชนได้ใช้บริการวิทยุโทรศัพท์ได้ภายในประเทศเป็นครั้งแรก
พ.ศ. 2479
 - เปิดบริการวิทยุโทรศัพท์เป็นครั้งแรกกับประเทศญี่ปุ่น
 - เปิดบริการซองและบัตรตอบรับ ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2479
พ.ศ. 2478
 - ประกาศใช้ "พระราชบัญญัติวิทยุสื่อสาร พ.ศ. 2478" เมื่อวันที่ 31 มกราคม 2478
พ.ศ. 2477
 - ประกาศใช้ "พระราชบัญญัติไปรษณีย์ พ.ศ. 2477" เมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2477
 - ประกาศใช้ "พระราชบัญญัติโทรเลขและโทรศัพท์ พ.ศ. 2477" เมื่อวันที่ 28 ตุลาคม 2477
พ.ศ. 2476
 - เริ่มเปิดบริการพัสดุไปรษณีย์เก็บเงินในประเทศเป็นครั้งแรก
พ.ศ. 2475
 - เปิดบริการรับส่งวิทยุโทรภาพกับประเทศเยอรมนี และผ่านประเทศเยอรมนีไปยังประเทศต่าง ๆ ตั้งแต่วันที่
   1 กุมภาพันธ์ 2475
พ.ศ. 2474
 - ทดลองเปิดบริการวิทยุโทรศัพท์ระหว่างกรุงเทพฯ กับกรุงเบอร์ลิน เพื่อให้พ่อค้าประชาชนได้พูดไปต่างประเทศ
   ในยุโร เป็นครั้งแรก เมื่อวันที่ 15 เมษายน 2474
 - ทดลองเปิดการติดต่อวิทยุโทรภาพ (Radio Photo หรือ Phototelegraph ) กับกรุงเบอร์ลิน ประเทศเยอรมนี
   เมื่อวันที่ 10 สิงหาคม 2474 ใช้เวลา 15 นาที ภาพตัวอย่างคือ ภาพกรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน
พ.ศ. 2473
 - เปลี่ยนชื่อเรียกของ "สำนักงานไปรษณีย์โทรเลขกลาง" เป็น "ที่ทำการไปรษณีย์กลาง" ซึ่งเรียกกันอยู่ทุกวันนี้
พ.ศ. 2472
 - เริ่มมีการใช้เครื่องโทรพิมพ์ (ภาษาอังกฤษระบบ 5 ยูนิต) ระหว่างสำนักงานไปรษณีย์โทรเลขกลางกับโฮเต็ลพญาไท
   (โรงพยาบาลพระมงกุฏในขณะนี้) และห้างร้าน ตลอดจนที่ทำการไปรษณีย์โทรเลขย่อยหลายแห่ง
พ.ศ. 2471
 - เปิดการสื่อสารทางวิทยุโทรเลขกับต่างประเทศเป็นครั้งแรก โดยติดต่อกับ กรุงเบอร์ลิน ประเทศ เยอรมนี เมื่อวันที่
   15 มกราคม 2471
 - โทรศัพท์ได้แพร่หลายไปทั่วกรุงเทพฯ และสามารถติดต่อกับต่างจังหวัดใกล้เคียง
  พ.ศ. 2469
 - ย้ายที่ทำการไปรษณีย์โทรเลขจากที่ทำการไปรษณีย์ที่ 1 (ไปรษณียาคาร) มาตั้งรวมอยู่ในสถานที่เดียวกับ
   ที่ทำการไปรษณีย์ที่ 2 ที่สถานทูตอังกฤษเดิม ที่ตำบลสี่พระยา โดยเรียกชื่อว่า "สำนักงานไปรษณีย์โทรเลขกลาง"
   ตั้งแต่วันที่ 10 พฤศจิกายน 2469
 - จัดตั้งที่ทำการไปรษณีย์ อนุญาตเอกชนเป็นครั้งแรก โดยพระดำริของกรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน
   เรียกกันในขณะนั้นว่า "ที่ทำการไปรษณีย์ประเภทให้ส่วนลด"
 - กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน ทรงตั้งเครื่องส่งวิทยุกระจายเสียงขนาดเล็กขึ้นที่วังบ้านดอกไม้ เพื่อ เป็นการค้นคว้า
   ส่วนพระองค์ ฉะนั้นอาจกล่าวได้ว่า พระองค์เป็นผู้ริเริ่มให้มีการส่งวิทยุกระจายเสียงขึ้นในประเทศไทยเป็นครั้งแรก
พ.ศ. 2465
 - เปิดบริการตู้ไปรษณีย์เช่าและถุงไปรษณีย์เช่า ณ ที่ทำการไปษณีย์โทรเลขทั่วไป
พ.ศ. 2462
 - มีการทดลองขนส่งถุงไปรษณีย์ทางอากาศระหว่างกรุงเทพฯ (สนามบินดอนเมือง) กับจันทบุรี เมื่อวันที่
   17 กุมภาพันธ์ 2462
 - กรมไปรษณีย์โทรเลขทำความตกลงกับกระทรวงทหารเรือ ให้สาธารณชนใช้บริการวิทยุโทรเลขในจังหวัด
   พระนคร และสงขลาเนครั้งแรกเมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2462
พ.ศ. 2461
 - จัดตั้ง "ไปรษณีย์อำเภอ" เป็นครั้งแรก
พ.ศ. 2457
 - ประกาศใช้พระราชบัญญัติวิทยุโทรเลข พ.ศ. 2457 เป็นฉบับแรก
 - เปิดบริการจำหน่ายและรับแลกวิมัยบัตรระหว่างประเทศ (International Reply Coupons) เป็นครั้งแรก
พ.ศ. 2456
 - กระทรวงทหารเรือตั้งสถานีวิทยุโทรเลขถาวรแห่งแรกที่ศาลาแดงและสงขลา เมื่อวันที่ 13 มกราคม 2456
พ.ศ. 2450
 - มีการนำเครื่องวิทยุโทรเลขมาใช้เป็นครั้งแรกในราชการทหารเรือ และทหารบก
พ.ศ. 2449
 - เริ่มจัดตั้ง "ที่ทำการไปรษณีย์รถไฟ" หรือ "ที่ทำการไปรษณีย์อนุญาติสถานีรถไฟ"
 - เริ่มให้แต่ละจังหวัดส่งเงินทางธนาณัติระหว่างกันได้
พ.ศ. 2444
 - กรมไปรษณีย์โทรเลขได้นำไปรษณีย์บรรณ (Letter Card) ลักษณะเป็นกระดาษพับเป็นซอง
   มีตราไปรษณียากรติดอยู่บนกระดาษออกจำหน่าย เพื่อให้ประชาชนใช้เขียนหนังสือส่งทางไปรษณีย์ เมื่อวันที่
   1 พฤษภาคม 2444
พ.ศ. 2441
 - ประกาศให้รวมกรมไปรษณีย์และกรมโทรเลขเป็นกรมเดียวกัน เรียกว่า "กรมไปรษณีย์โทรเลข" ตั้งแต่วันที่
   19 กรกฎาคม 2441 เป็นต้นไป
 - เปิดบริการส่งเงินทางโทรเลขธนาณัติ และบริการนำจ่ายด่วนสำหรับไปรษณีย์ภัณฑ์ระหว่างประเทศ
พ.ศ. 2440
 - ประกาศใช้ "พระราชกำหนดไปรษณีย์ รัตนโกสินทร์ศก 116" (พ.ศ. 2440)
 - เปิดบริการไปรษณีย์ธนาณัติในประเทศ โดยฝากส่งจากกรุงเทพฯ ไปยังพิษณุโลกเป็นแห่งแรก
 - สายโทรเลขส่วนใหญ่จะสร้างตั้งแต่ พ.ศ. 2440 เป็นต้นไป
พ.ศ. 2433
 - กรมไปรษณีย์ได้จัดทำซองจดหมายมาตรฐานจำหน่ายแก่ประชาชนทั่วไป
พ.ศ. 2432
 - จัดตั้งโรงเรียนไปรษณีย์และโทรเลขขึ้น เมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2432
พ.ศ. 2431
 - เปิดบริการพัสดุไปรษณีย์ระหว่างประเทศเป็นครั้งแรกกับประเทศสิงคโปร์ มาลายู ตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน 2431
พ.ศ. 2430
 - เปิดบริการไปรษณีย์ธนาณัติระหว่างประเทศเป็นครั้งแรกกับประเทศสิงคโปร์ มาลายู และฮ่องกง ตั้งแต่วันที่
   1 พฤษภาคม2430
พ.ศ. 2429
 - จัดตั้งชุมสายโทรศัพท์แห่งแรกขึ้น มีขนาด 100 หมายเลข และเปิดโอกาสให้ประชาชนได้เช่าเครื่องโทรศัพท์
   เฉพาะภายในเขตกรุงเทพฯ โดยใช้เครื่องแบบ แมคนิโต
พ.ศ. 2428
 - ประกาศใช้ "พระราชบัญญัติกรมไปรษณีย์สยาม จุลศักราช 1247 (พ.ศ. 2428) เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2428"
 - เริ่มจัดตั้งที่ทำการไปรษณีย์ตามหัวเมืองภูมิภาคที่เมืองสมุทรปราการ และนครเขื่อนขันธ์ (พระประแดง)
   เมื่อวันที่ 26 สิงหาคม 2428 เป็นแห่งแรก และต่อมาได้ขยายไปยังหัวเมืองตามภูมิภาคเป็นลำดับทั่วประเทศ
พ.ศ. 2426
 - วันที่ 4 สิงหาคม 2426 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสถาปนากิจการ ไปรษณีย์และโทรเลข
   อย่างเป็นทางการ มีการทดลองการไปรษณีย์ในเขตพระนครเป็นครั้งแรก เปิด "ไปรสะณียาคาร" เป็นที่ทำการ
   ไปรษณีย์แห่งแรก ออกจำหน่ายตราไปรษณียากรชุด "โสฬส" เป็นครั้งแรก ทรงตั้งกรมไปรษณีย์และกรมโทรเลข
   ดำเนินงาน กรมไปรษณีย์มีสำนักงานเป็นปฐมอยู่ที่ตึก "ไปรษณียาคาร" ใกล้แม่น้ำเจ้าพระยา ปากคลองโอ่งอ่าง
   ส่วนกรมโทรเลขรับช่วงงานมาจากกรมกลาโหม และมีสำนักงานเป็นปฐมอยู่ที่มุมพระราชอุทยานสราญรมณ์
   โดยมีสมเด็จเจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์เป็นผู้สำเร็จราชการกรมไปรษณีย์และกรมโทรเลข เป็นพระองค์แรก
หมายเลขบันทึก: 199121เขียนเมื่อ 6 สิงหาคม 2008 16:12 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 19:23 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
แมลงปอ(สันติสุข10113)

ขอบคุณนะค่ะสำหรับข้อมูลพอดีหนูจะเอาไปทำรายงานเกี่ยวกับ การพัฒนาองค์การ พอดีเลย ขี้เกียจพิมพ์ ขอก๊อบปี้หน่อยนะค่ะ

แล้วพี่อยู่ ปณ.ไหนเนี่ย ดูๆแล้วมีคนเข้ามาดูข้อมูลเยอะเหมือนกันเนอะ แต่ไม่มีใครแอดขอบคุณพี่บ้างเลยเนอะ งั้นหนูขอบคุณพี่อีกครั้งแล้วกันนะ ยังก็เมล์คุยกันได้นะ บายค่ะ

จาก แมลงปอ

(ปณ.สันติสุข10113) ปน(ต)

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท