LiBraRianCSR!!!
นาย รัชชานนท์ เจริญเกียรติสถานนท์

สยามสมัย 125 ปี ไปรษณีย์ไทย


กิจการไปรษณีย์มีจุดเริ่มต้นและเปิดให้บริการเป็นครั้งแรกในวันที่ 4 สิงหาคม พุทธศักราช 2426 จวบจนถึงปีนี้ พุทธศักราช 2551 จึงเป็นปีที่บรรจบครบรอบ 125 ปีของกิจการ “ไปรษณีย์ไทย”

กิจการไปรษณีย์มีจุดเริ่มต้นและเปิดให้บริการเป็นครั้งแรกในวันที่ 4 สิงหาคม พุทธศักราช 2426 จวบจนถึงปีนี้ พุทธศักราช 2551 จึงเป็นปีที่บรรจบครบรอบ 125 ปีของกิจการ “ไปรษณีย์ไทย”


     ตลอดระยะเวลาอันยาวนานเกินกว่าศตวรรษของกิจการไปรษณีย์ของประเทศไทย ได้เผชิญความเปลี่ยนแปลงในแต่ละยุคสมัย จากรัฐพาณิชย์สู่รัฐวิสาหกิจ จนมาเป็นบริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด ที่ยังคงสถานภาพเป็นรัฐวิสาหกิจวันนี้ กิจการไปรษณีย์ไทยได้ปรับตัวและปรับปรุงการดำเนินงานตลอดมา จนสามารถสร้างความเติบใหญ่ ขยายกิจการออกไปสู่ภูมิภาคทั่วถึงในทุกพื้นที่ของประเทศไทย และมีเครือข่ายเชื่อมโยงกับการไปรษณีย์ทั่วโลก

     นับจากการจัดตั้งกิจการไปรษณีย์ในประเทศไทยในปี 2426 ก็ได้มีการนำกิจการไปรษณีย์สู่สากล ด้วยการเป็นสมาชิกสหภาพสากลไปรษณีย์ หรือยูพียู ในวันที่ 1 ก.ค. 2428 นับเป็นลำดับต้น ๆ และยังเป็นกลุ่มประเทศแรกๆของประเทศในทวีปเอเชีย

     ดังนั้นการจัดงานในโอกาสเฉลิมฉลองวาระครบรอบ 125 ปี ไปรษณีย์ไทยในครั้งนี้ จึงนับเป็นวาระที่มีความสำคัญและเป็นพิเศษยิ่ง เพื่อให้ประชาชนคนไทยได้เห็นคุณค่าขององค์กรที่อยู่มานาน พิสูจน์คุณค่าผ่านกาลเวลา และวันนี้ไปรษณีย์ไทยก็เป็นหนึ่งในวิถีชีวิตเชื่อมโยงใกล้ชิดคนไทย

     นอกจากจะเป็นการเฉลิมฉลองโอกาสครบรอบ 125 ปี ของกิจการและดวงตราไปรษณียากรดวงแรกของไทยแล้ว ยังเป็นการเฉลิมพระเกียรติเพื่อแสดงสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณแด่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ทรงพระราชทานกำเนิดกิจการไปรษณีย์ในประเทศไทย และเฉลิมฉลองวาระครบรอบ 150 ปี สมเด็จพระราชปิตุลา บรมพงศาภิมุข เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ พระบิดาแห่งการไปรษณีย์ไทย ผู้สำเร็จราชการกรมไปรษณีย์และอธิบดีกรมโทรเลขคนแรก

     ในโอกาสเดียวกันนี้ ยังเป็นการสร้างพันธมิตรองค์กรที่มีประวัติศาสตร์แห่งพัฒนาการยาวนานเช่นเดียวกับการไปรษณีย์

     ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ เป็นสถานที่จัดงานในครั้งนี้ ระหว่างวันที่ 1 – 10 สิงหาคม 2551 โดยจะมีรูปแแบบและบรรยากาศของการจัดงานในลักษณะ “สยามย้อนยุค” เพื่อสร้างกลิ่นอายให้ผู้ร่วมชมงานได้มีมุมมองถึงวิถีชีวิตในอดีตหลากหลายรูปแบบ โดยเฉพาะบรรยากาศของถนนเจริญกรุง ที่ตั้งของกรมไปรษณีย์โทรเลข ไปรษณียาคารจำลอง ที่ทำการไปรษณีย์ที่เปิดให้บริการเป็นครั้งแรกในปี 2426

     ผู้ร่วมชมงานจะได้รับทราบเรื่องราวอันยาวนานผ่านนิทรรศการ “บนเส้นทาง 125 ปีไปรษณีย์ไทย” นิทรรศการเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 พระมหากษัตริย์ผู้ทรงคุณูปการในการวางรากฐานกิจการไปรษณีย์ โดยมีการอัญเชิญ “พระราชหัตถเลขาที่เกี่ยวข้องกับกิจการไปรษณีย์” มาจัดแสดง พร้อมๆ กับตราไปรษณียากรชุดแรกของประเทศไทย

     นิทรรศการเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระราชปิตุลา บรมพงศาภิมุข เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์บอกเล่าเรื่องราวไปรษณีย์ในยุคก่อตั้ง ไปรษณียาคาร โปสต์แมน และของใช้ส่วนพระองค์

     นิทรรศการเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพล อดุลยเดช ผ่านดวงแสตมป์ โดยเฉพาะชุดสำคัญ เช่น ชุดแสตมป์ชุดแรกในรัชสมัยของรัชกาลที่ 9

     นิทรรศการเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี โดยจะอัญเชิญสิ่งสะสมส่วนพระองค์เกี่ยวกับไปรษณียบัตร ซองที่ระลึก และแสตมป์นำมาจัดแสดงเป็นครั้งแรก

     นิทรรศการเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ เกี่ยวกับความสนพระทัยในการสะสมโปสการ์ด แสตมป์ และพระราชนิพนธ์ “ไปรษณียบัตรเจ้าฟ้าฯ”

     นอกจากนี้จะมีสิ่งแสดงที่มีความสำคัญเกี่ยวเนื่องกับการไปรษณีย์ไทย และแสตมป์ดวงแรกที่มีมูลค่าของประเทศที่สำคัญๆ ในแต่ละทวีปมาจัดแสดงเป็นพิเศษ โดยได้รับความเอื้อเฟื้อจากสมาคมนักสะสมตราไปรษณียากรแห่งประเทศไทย

     การจัดงานในแนวคิด “สยามสมัย 125 ปี ไปรษณีย์ไทย” ครั้งนี้ บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด ได้เชิญองค์กรพันธมิตรร่วมสมัยเข้ามามีส่วนร่วมด้วย เช่น องค์กรที่เคยอยู่ภายใต้กรมไปรษณีย์โทรเลขในยุคก่อตั้ง เช่น ธนาคารออมสิน กรมประชาสัมพันธ์ บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) บริษัทวิทยุการบินแห่งประเทศไทย สำนักงานคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ กทช. รวมถึงกิจการที่ถือกำเนิดในสมัยรัชกาลที่ 5 และห้างร้านที่อยู่คู่สังคมไทยมายาวนาน เช่น ธนาคารไทยพาณิชย์ โอสถสภา ห้างเซ็นทรัล เป็นต้น

     งานนี้น่าจะเรียกได้ว่าเป็นงานย้อนยุคที่มีความครบถ้วนสมบูรณ์ เพราะได้ตกแต่งสถานที่ให้มีโซนจำหน่ายสินค้าต่าง ๆ เพื่อการสะสมทุกประเภท เช่น ร้านแสตมป์ โปสการ์ด ร้านถ่ายรูป ร้านขายยา ร้านหนังสือ แผ่นเสียง และร้านขายของเพื่อการสะสม

 

 



ความเห็น (1)

ดิฉันอยากทราบว่า ทำไมสมัยก่อนบ้านเลขที่ต้องเป็นชื่อผู้หญิงค่ะ สมัยรัชกาลที่ 5 ค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท