ตำนาน...คน ....เขาปู่


 

               

วันก่อนมีโอกาสได้เข้าร่วมกิจกรรมเข้าค่ายเยาวชนของกลุ่มแกนนำของตำบลเขาปู่ ทำให้นึกถึงช่วงแรก ๆ ที่ได้เข้าไปสัมผัสกับพี่น้อง สหาย ที่นั่น เลยเอาความรู้สึกที่ได้รับวันนั้นมาถ่ายทอดเพื่อแลกเปลี่ยนกับอีกหลาย ๆ ความคิดเห็นที่ได้สัมผัสกับที่นั่น ว่ารู้สึกอย่างไร แต่วันั้นสนุกมาก น้องที่นั่นโชคดีที่ได้สัมผักับคนเก่งที่ทีมงานได้เชิญมาให้ความรู้ทั้งอาจารย์สถาพร ศิลปินแห่งชาติ คุณจีรนันท์ พิตรปรีชา กวีซีไรซ์ในใจของข้าพเจ้า และนักร้องเพื่อชีวิตตตัวจริงอย่าง หงา คาราวาน หว่อง มงคล อุทก... สนุกและได้ความรู้เพิ่มมากที่เดียว ขอบคุณค่ะ 

ตำนาน...คน ....เขาปู่

                เขาปู่ ที่แห่งนี้มีตำนานเล่าว่า เหตุที่มีเขาอยู่ทั้งหมด  3  ลูก คือ  เขาปู่  เขาย่า  และเขาป้าแร่  ตาปู่ดั่งเดิมเป็นคนบ้านปู่เลเป็นคนชอบเที่ยวมาก  และได้ออกเดินทางท่องเที่ยวไปเรื่อย ๆ จนเจอกับย่าและได้แต่งงานอยู่กินกัน  จนวันหนึ่งปู่ทะเลาะย่าและเลิกกัน  ต่อมาปู่ก็ได้แต่งงานใหม่กับป้าแร่ใช้ชีวิตที่เหลืออยู่กับป้าแร่ที่นี่จนตาย

 

ตาปู่  เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่คนทั้งตำบลนับถือ  และเป็นที่ยึดเหนียวจิตใจ  โดยใครที่มีความเดือดร้อนก็จะบนบาน  ร้องขอต่อ  ตาปู่  ให้ช่วยหากได้ดังที่ตัวเองขอก็จะให้สิ่งที่ได้สัญญาเอาไว้ ในแง่การจัดระเบียบสังคมที่เขาปู่มีกุศโลบายที่จะควบคุมคนในชุมชนโดยใช้  ผี  เป็นเครื่องมือให้คนอยู่ในข้อตกลงร่วมกันของชุมชนโดยอาศัย  สิ่งศักดิ์สิทธ์  ที่มีชื่อว่าตาปู่ มาบังคับ  เช่นใครทำผิดข้อตกลงก็ถือว่าผิดต่อ ตาปู่และจะต้องถูกลงโทษจากตาปู่  โดยอาเพสใดๆที่ เหนือธรรมชาติเพื่อแสดงให้เห็นว่าคนๆนั้นทำผิด  ดังนั้น คนในชุมชนส่วนใหญ่จึงเกิดความเกรงกลัวและไม่กล้าที่จะทำผิดต่อสิ่งนั้นคนในชุมชนจะรวมตัวกันเพื่อทำบุญให้กับตาปู่  และ ผู้ที่ล่วงลับไปแล้วใน  เดือน 5 ชื่อว่า วันว่าง  และเดือน 10 ชื่อว่า วันชิงเปรต  ทุกคนจะรวมตัวกันที่วัดเพื่อทำกิจกรรมประเพณี ที่มีมาตั่งแต่โบราณ  

 

คนแถบน้ำเป็นกลุ่มคนที่ดำรงชีวิตแบบเรียบง่ายอยู่และหากินกับป่า เพราะว่าตำบลเขาปู่ตั้งอยู่ในแถบเทือกเขาบรรทัด  ซึ่งเป็นป่าต้นน้ำในฐานะที่คนเขาปู่อยู่กับป่าใช้ชีวิตที่เรียบง่าย  ชอบความสันติ และไม่สุงสิงกับคนภายนอก ในยุคหนึ่งคนเขาปู่ถูกมองว่าเป็น คอมมิวนิสต์ หรือ พวกคอมฯเก่า แต่ในขณะเดียวกันคนเขาปู่เองกลับไม่ได้คิดว่าตัวเองเป็น คนเขาปู่เองยังเคยตั้งคำถามว่าคอมฯมันเป็นอย่างไร อาจจะด้วยเหตุนี้เลยทำให้คนในชุมชนมีความรักความสามัคคีกันคอยช่วยเหลือกันมาตลอด คนที่นั้นยังมีความเป็นกันเอง ใจเย็น หากใครได้เข้าไปสัมผัสแล้วจะพบกับความอบอุ่น ความสุข ที่คนเขาปู่มอบให้ 

 

หลายคนหลายหน่วยงานมองเข้ามาว่ากลุ่มคอมมิวนิสต์เป็นพวกชอบความรุนแรง  ใช้กำลังแต่จริงๆแล้วไม่ได้เป็นอย่างนั้นเลย  สิ่งที่ทุกคนคิด มันแค่ไม่เหมือนที่คุณคิดเท่านั้น แค่ว่าแนวคิดที่ไม่เหมือน  หรือไม่ตรงกับรัฐเท่านั้นเอง  แล้วทุกคนหรือรัฐก็มองว่าพวกนี้เป็น คนร้ายและพยายามกำจัดหากไม่กำจัดพวกนี้แล้ว รัฐเองก็ไมสามารถเป็นผู้จัดการทุกอย่างได้เพราะรัฐมองว่าชาวบ้านโง่ไม่สามารถจัดการอะไรได้ เลยต้องจัดการให้ โดยการแปลงทรัพยากรให้เป็นทุนแล้วได้เงินมา นี่คือสิ่งที่คิดว่าประสบความสำเร็จแล้วในการพัฒนา (จากสิ่งที่กล่าวมาทำให้เหมือนเป็นการโดนรังแกและโดนเอาเปรียบของรัฐ...เลยทำให้คนเหล่านั้นต่อต้านก็เท่านั้นเอง)

       คนในชุมชนเขาปู่มีความสุขกับชีวิตที่อยู่กับธรรมชาติ ทำมาหากินกับป่าที่อยู่กันมาแต่ปู่ย่าตายาย ..จนวันหนึ่งมีป้ายมาปักไว้ห้ามทุกคนไปทำมาหากินในที่แห่งนี้เหมือนเป็นการตอกย้ำความเจ็บปวดให้กับคนที่นี่อีกครั้ง  หลังจากเคยถูกกล่าวหาว่าเป็นคอมมิวนิสต์มาแล้ว  คนที่นี่มองว่าชาวบ้านถูกรังแก จากที่ดินตนเองกลายเป็นที่ดินอนุรักษ์โดยมิได้ส่งสัญญาณใด ๆ ทั้งสิ้น  ไม่มีแม้แต่เหตุผลที่จะมาอธิบายให้ชาวบ้านเข้าใจ

 

       น้ำตาบวกกับความคับแค้นใจของคนเขาปู่จึงเกิดขึ้น ด้วยความรู้ที่มีอยู่อย่างน้อยนิดเลยไม่สามารถที่จะเรียกร้องสิทธิให้กับตัวเองได้เลย สิ่งที่ทำได้ก็คือก้มหน้ารับกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเท่านั้น       คนที่นี้เลยได้แต่ภาวนาให้ฟ้าเห็นใจและช่วยเหลือเท่านั้นเอง  แต่อีกมุมหนึ่งของชุมชนที่น้อยนิดได้พยายามต่อสู้  เพื่อเรียกร้องสิทธิของตัวเองกลับมาให้กับคนเขาปู่ คนกลุ่มนี้ได้ถ่ายทอดความคิดสำนึกรักให้กับคนเขาปู่ แต่มันยังไม่มีพลังพอ เหตุเพราะคนกลุ่มน้อยย่อมแพ้คนหมู่มาก  น้ำน้อยย่อมแพ้ไฟ สงสัยคำนี้ยังใช้ได้อยู่ สิ่งที่ทำได้แค่ประกาศบอกว่าคนที่นี่ได้รับผลกระทบและความเดือดร้อนเท่านั้น จากการเดินเครื่องของกลุ่มคนนี้ถูกมองว่าเป็น พวกหัวรุนแรง แต่สิ่งที่เขาทำมันเป็นแค่ความแปลกแยกที่ต่างจากคนอื่น มันมิใช่ความแตกแยกโปรดเข้าใจ มิฉะนั้น คอมมิวนิสต์ คำนี้อาจกลับมา......            

สิ่งเหล่านี้คือสิ่งที่ได้ยินได้ฟังจากคนเฒ่าคนแก่ที่นั่นเล่าทำให้เด็กเล็ก ๆ ในหมู่บ้านฟังเพื่อไม่ให้พวกเขาลืมรากเหง้าของตัวเองที่ว่า มาจากรากเดียวกัน และการต่อสู้ที่ยาวนานของบรรพบุรุษ

นี่เป็นเพียงความรู้สึกที่ได้รับหากผิดพลาดประการใดในประวัติศาสตร์ขอแลกเปลี่ยนสิ่งที่ถูกต้องด้วยค่ะ

 

หมายเลขบันทึก: 198483เขียนเมื่อ 3 สิงหาคม 2008 20:46 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 มิถุนายน 2012 18:17 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

หากสหายท่านใดมีข้อมูลของเขาปู่สามารถแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันได้นะค่ะ นี่เป็นเพียงความรู้ที่ได้รับคนเดียวหากได้หลายคนมาร่วมแลกเปลี่ยนยิ่งได้เรียนรู้ค่ะ

สวัสดี คุณน้อง

/คุณชำนิ ชาวค่ายต้นน้ำ จัดอบรมมาหลายครั้ง และชวนชาวลุ่มน้ำเข้าร่วมด้วยทุกครั้ง

/แต่พลาดโอกาสดีๆทุกที

/มาครั้งนี้ก็พลาดโอกาสดี ที่ไปไม่ทันการร่วมวงเสวนาของท่าน กวี ซีไรซ์ และศิลปินแห่งชาติ ใบไม้ที่หายไปและคลื่นหัวเดิ่ง

/แต่ก็ยังโชคดีที่ได้ไป และทันรับฟังการร่ายบทกวี และฟังดนดตรีจากศิลปินต้นฉบับ

/ขอบคุณชาวค่ายต้นน้ำ

/ขอบคุณ คุณ น้อง ที่นำบันทึกดีๆมาให้ความรู้

ขอบคุณค่ะบังหีม

ขอบคุณที่เข้ามาร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็น แม้ว่าบังหีมจะพลาดเวทีเสวนา แต่ไม่หีมไม่ได้พลาดการเรียนรู้เลย แม้ไม่มีเวทีแต่มีคนให้ได้เรียนรู้เท่านี้กับว่า แม้ไม่มีห้องเรียนแต่เราก็สามารถเรียนรู้นอกห้องได้

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท