แลกเปลี่ยนเรียนรู้ เหลียวหลัง ... แลหน้า การจัดการความรู้กรมอนามัย (7) เหลียวหลัง เรื่องเล่า ศูนย์ฯ 2 สระบุรี


... พี่ก็บอกว่า เริ่มเลยน้อง แบบ Learning by doing OK เริ่มเลย ก็เลยทำไปเลย ...

 

คุณเพ็ชรา ศูนย์ฯ 2 สระบุรี ... เราเจอกันเมื่องานประชุม CKO ปีที่แล้ว เธอมาแบบมือใหม่หัดขับจริงๆ ค่ะ มาครั้งนี้เลยมามาดใหม่ แบบประสบการณ์เพียบ (อิอิ ทั้งบวก ทั้งลบ) เธอเล่าให้ฟังว่า

มารับงาน KM ตอนย้ายมากรมอนามัย ตอนนั้นไม่มีความรู้อะไรเลย มีความรู้สึกยากลำบาก ไปถามใคร ก็ไม่ได้ข้อมูลอะไร ได้ข้อมูลเชิงลบมากว่า ... ทำไม่ได้ มีปัญหาเยอะ ... ก็เลยตัดสินใจไปหาความรู้โดยการเปิดตำรา อ่าน ค้นจาก net ซื้อหนังสือมาอ่าน ... ก็พอมีความรู้นิดหน่อย และได้รับหนังสือจากกรมฯ ให้ส่ง KM Action Plan ก็ทำไม่เป็น ไม่รู้ทำยังไง ก็ไปเปิดตำรา กพร. เรียกประชุมคณะกรรมการทำกัน ด้วยความไม่รู้ และต้องทำให้เสร็จตามกำหนด

หลังจากนั้น ผอ.ส่งไปประชุมกับ สสส. ครั้งหนึ่ง เลยรู้สึกว่า แผนที่เราเขียนไม่ค่อยตรงกับ concept ก็เลยปรับแผน ... พอดีกับปีที่แล้วมีการเชิญ CKO มาประชุม ก็เลยเข้าใจกระบวนการมากขึ้น หลังจากนั้นก็โทรปรึกษาพี่ฉัตรลดา ว่จะทำยังไง เพราะว่าไม่เคยทำ Fa ก็ไม่เคยทำ Note ก็ไม่เคยเป็น จะทำยังไงดี ... พี่ก็บอกว่า เริ่มเลยน้อง แบบ Learning by doing OK เริ่มเลย ก็เลยทำไปเลย ...

ทำครั้งแรกเป็นการจัดเวทีแลกเปลี่ยน ซึ่งหัวปลาที่จะคุยก็ต้องเอาเรื่องที่ง่ายๆ เพราะว่า เราไม่สามารถที่จะกระตุ้นคนในองค์กรได้ เป็นเรื่องของการมี Service mind ครั้งนั้น พอทำ AAR ทุกคน success มาก มีความสุข ... เพราะเขาคิดว่า จะเหมือนการประชุมทุกครั้งที่จะมาพูดคุย และมีการ blame กัน แต่วิธีการมันไม่ใช่ มันสำเร็จก็ OK

อันนี้เรียกว่า เป็น Microsuccess ครั้งแรกของการทำเวทีแลกเปลี่ยน ซึ่งเป็นปัจจัยที่ทำให้รู้สึกว่า ถ้าเราได้เริ่มทำแล้ว success และคนมีความสุขแล้ว เราก็ควรจะทำต่อ ... ก็มีการจัดเวทีเดือนละครั้ง อย่างน้อย

หลังจากนั้น เราก็รู้ว่า คนในองค์กรไม่มีความรู้เรื่อง KM แต่ก็ไม่รู้จะทำยังไง เรียกประชุมไม่ได้ ทำยังไงก็ไม่ได้ จัดบอร์ดให้ก็ไม่อ่าน ... เลยมาคิดว่า ทำยังไงดี ประชุมคณะกรรมการก็บอกว่า เราต้องออกเสียงตามสาย เราก็ออกเสียงตามสาย ฟังไม่ฟังก็ไม่เป็นไร ประเมินแล้วคนก็ไม่สนใจ ... ทำยังไงดี ก็เลยให้ตอบคำถามชิงรางวัล คำถามแรกขึ้นไปไม่มีใครตอบอีก สุดยอด ... ตอนแรกยังไม่มีรางวัลให้ตอบก่อน ก็ไม่มีใครตอบ ... ต่อมาก็ให้ชิงรางวัล รางวัลเป็นพัดลม เตารีด คนก็เริ่มสนใจ แต่ก็ยังไม่ตอบ ครั้งแรกตอบมา 1 คน (คงสงสัยว่าจะแจกรางวัลจริงหรือเปล่ามั๊ง) ... ซึ่งเข้าเค้า แจกรางวัลเลย เพื่อให้เห็นว่าแจกจริง

หลังจากนั้น คนก็ถามอยู่เรื่อยว่า เมื่อไรจะมีคำถาม KM อีกล่ะ คนก็เริ่มสนใจ หลังจากนั้กน็มีคำถามขึ้นไปอีก และคนก็ตอบเยอะขึ้น เราก็จัดเวทีต่อเนื่อง แต่จัดไป 2 ครั้งก็หมดปีงบประมาณ แต่ที่ผ่านมาปี 2550 เราทำแค่ในศูนย์ฯ ยังไม่ได้ขยายออกไปที่ภาคี

พอปี 2551 เราก็คิดว่า เราจะขยายไปสู่ภาคี คณะกรรมการ KM เป็นกรรมการที่เลือกเองเลย เพราะว่าเลือกที่คุยกันรู้เรื่อง คุยภาษาเดียวกัน ในทีมจึงจะพอเข้าใจเรื่องของการ ลปรร. เขาก็เลยนำวิธีการไปทำกับภาคี ... พอปี 2551 ก็จะเริ่มมี รพ.สายใยรักไปทำกับภาคี และเรื่องทันตฯ ก็เริ่มไปใช้ โดยเชิญผู้มีประสบการณ์มาเล่า แต่ยังไม่สามารถทำให้ทุกคนอยากจะทำของตัวเอง ให้เป็นเหมือนงานประจำ

ในการประชุมศูนย์ฯ ก็บอกว่า อยากให้ใช้ KM ไปในการทำงานประจำ แต่ละประเด็นยุทธศาสตร์ก็เลยพยายามจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เขาก็ดำเนินการไปเอง แลกเปลี่ยนกับภาคีไปเลย

จริงๆ แล้วในทีมก็ไม่ได้มั่นใจในความรู้ที่มี ก็บอกว่า ทำยังไงที่จะต้องหาวิธีการพัฒนาทีมในเวลาอันจำกัด ... เราก็คุยกันว่า จะทำยังไงดี ในทีมก็บอกว่า เราต้องมีการพัฒนาองค์ความรู้ในทีม โดยเอาทีมมาคุยกันสัปดาห์ละ 2 ครั้ง อังคาร กับพฤหัส ตอนเช้า 8.30-9 โมง ทุกคนต้องไปค้นความรู้เรื่อง KM มาแลกเปลี่ยน และจะมีการบันทึก และสรุปว่า ที่เราคุยนี้จะมาเขียนขึ้นบล็อกด้วย ซึ่งเริ่มไปแล้ว 3 ครั้ง กรรมการก็บอกว่าดีมาก เพราะอย่างน้อยๆ ในทีมก็ได้พัฒนาตน ต้องยอมรับว่า ถึงแม้เรายังไม่สามารถกระตุ้นคนในองค์กร มีความกระตือรือร้นใน KM ได้ แต่อย่างน้อยทีมเราเก่งขึ้น

ศูนย์ฯ สนับสนุนงบประมาณให้ KM ทุกปี ปี 2550 ไปดูงานกันที่โรงปูนท่าลาน ที่ท่าลานเขาบอกว่า เขาเพิ่งเริ่มทำ แต่ก็มีความโดดเด่น และชัดเจนมาก เขาทำเรื่องของหลักสูตรการอบรม เหมือนกับว่า จะมีขั้นตอนว่า เจ้าหน้าที่ของเขา ประสบการณ์เท่านี้ต้องอบรมสิ่งนี้ ระดับนี้ต้องเข้าคอร์สอันนี้ และผู้บริหารระดับสูงจะอ่านหนังสือที่เป็นทันสมัย ภาษาอังกฤษ และมาคุยกันว่า เขาได้องค์ความรู้อะไรจากหนังสือ และเอามาแลกเปลี่ยน ก็เป็นตัวอย่างที่ดีมาก ... เสร็จจากการดูงานแล้ว เราก็มาจัดเวที มีการจัดบอร์ด เสียงตามสาย และอื่นๆ และปี 2551 ไปดูศูนย์ฯ 11 ของกรมอนามัยเอง

ถ้าจะมองความสำเร็จของ KM ของศูนย์ฯ 2 ต้องบอกว่า ไม่ใช่ตัว CKO เก่ง แต่ว่าเราได้ทีมดี เวลาที่ขอข้อมูลอะไร หรือข้อคิดเห็น ข้อเสนอแนะ ทีมจะให้ข้อคิดเห็นที่มีประโยชน์มากมาก ... ทีมของที่นี่น่ารักจริงๆ ด้วยละค่ะ

รวมเรื่อง แลกเปลี่ยนเรียนรู้ เหลียวหลัง ... แลหน้า การจัดการความรู้กรมอนามัย

 

หมายเลขบันทึก: 198133เขียนเมื่อ 1 สิงหาคม 2008 19:52 น. ()แก้ไขเมื่อ 25 พฤษภาคม 2012 18:06 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

อ่านดูแล้วน่าชื่นชมทีมงานมีความกระตือรือร้นมาก ดีใจด้วยครับ ขอให้เก่ง ๆ มีความสามัคคีกันมาก ๆ จะได้ช่วยกันทำงานเพื่อสังคมต่อไป สมพงษ์/ผู้ส่ง

    คงเหมือนตัวเองตอนเริ่มทำใหม่ๆ   ไม่รู้เรื่องเลยก็อาศัยศึกษาเองเองจาก internet  ลองทำเล็กๆในหน่วยงานตัวเองก่อน  โดยฝึกเองเป็นทั้ง FA และ  Note taker จะเห็นว่ายันทึกของที่คลินิกจะมีแต่ข้าพเจ้าที่เป็นคุณลิขิต  ( ก็คนอื่นเขาบอกยังไม่รู้เรื่อง  ) เลยต้องเสียสละตนเองก่อน   จนสุดท้ายก็เข้าใจและคิดว่าทำได้   แต๋ต้องยึกหลักประจำใจที่ว่า " ทำง่ายๆสบายๆ.....ทำบ่อยๆ...และต้องบันทึกร่องรอยทุกครั้ง...จ้า"

  • เห็นม๊า ทำไปนานๆ แล้วก็ติดใจ ... อิอิ
  • "ทำง่ายๆ สบายๆ ... ทำบ่อยๆ ... และต้องบันทึกร่องรอยทุกครั้ง ... จ้า" ... เจ๋ง

เป็นจริง ดัง อ. วิจารณ์ ว่า ไม่ทำไม่รู้ นะจะบ อกให้

น้องเพชราเป็นCKOที่อายุน้อยที่สุดของกรม แต่เป็นนักเรียนรู้จริงๆ หลังจากทีมกรมไปempowerment visit น้องก็มาเล่าให้ฟังว่าจะเมีการพบปะพูดคุยของคณะทำงานให้มีความเข้มข้น เป็นรูปธรรมมากขึ้น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท