Planning Division KKU
กองแผนงาน สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยขอนแก่น

การจัดการความรู้ กองแผนงาน มหาวิทยาลัยขอนแก่น ปี 2551 เรื่องที่ 5


การวิเคราะห์นักศึกษาสอนเต็มเวลา

การจัดการความรู้ กองแผนงาน มหาวิทยาลัยขอนแก่น ปี 2551 เรื่องที่ 5

การวิเคราะห์นักศึกษาสอนเต็มเวลา (FTES)

โดยอภัยวรรณ  ดำขำ  และนายสิทธิชัย  สอนสุภี

นักวิเคราะห์นโยบายและแผน 6 ระดับ  6

วัตถุประสงค์ของการศึกษา

  • เพื่อศึกษาจำนวนหน่วยกิตนักศึกษา(SCH)  จำแนกตามระดับการศึกษา    คณะ/ภาควิชาที่ให้บริการงานสอน และคณะที่นักศึกษาลงทะเบียนสังกัด
  • เพื่อวิเคราะห์ภาระงานด้านการจัดการเรียนการสอน ของแต่ละคณะ/ภาควิชา/สายวิชา ทั้งในระบบการจัดการเรียนการสอนภาคปกติ และภาคพิเศษ ในระดับปริญญาตรี และระดับบัณฑิตศึกษา
  •  เพื่อวิเคราะห์เปรียบเทียบ อัตราส่วนจำนวนอาจารย์ประจำต่อจำนวนนักศึกษาเต็มเวลาของแต่ละคณะ/ภาควิชา/สายวิชา เทียบกับเกณฑ์มาตรฐานภาระงานสอนต่อจำนวนอาจารย์ ของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

       ได้จำนวนหน่วยกิตนักศึกษา และจำนวนนักศึกษาเต็มเวลา  ที่ใช้เป็นข้อมูลเบื้องต้นประกอบการวิเคราะห์และวางแผนงานด้านการจัดการศึกษาของมหาวิทยาลัย

       เป็นข้อมูลเบื้องต้นการวิเคราะห์ภาระงาน  การวิเคราะห์และจัดสรรอัตรากำลัง การวิเคราะห์จัดสรรงบประมาณรายจ่ายหมวดงบดำเนินงานในภารกิจด้านการผลิตบัณฑิต

       เป็นข้อมูลประกอบการวิเคราะห์ค่าใช้จ่ายต่อผลผลิต ตามภารกิจด้านการผลิตบัณฑิต

ข้อจำกัดการวิเคราะห์และข้อตกลงเบื้องต้น

       ข้อมูลการลงทะเบียนเรียนของนักศึกษา ที่ได้จากระบบฐานข้อมูลนักศึกษาลงทะเบียนเรียน ของสำนักบริหารและพัฒนาวิชาการ ถือว่าถูกต้อง ครบถ้วนสมบูรณ์  

       จำนวนหน่วยกิตที่นำมาคูณกับจำนวนนักศึกษาที่ลงทะเบียน ใช้หน่วยกิตที่นักศึกษาลงทะเบียนเรียนจริงในแต่ละภาคการศึกษา ไม่ใช่หน่วยกิตของรายวิชา เช่น วิชาวิทยานิพนธ์ หรือวิชาการศึกษาอิสระ ที่นักศึกษาไม่จำเป็นต้องลงทะเบียนเรียนเต็มหน่วยกิตรายวิชาในภาคการศึกษาเดียว 

 

นิยามศัพท์เฉพาะในการวิเคราะห์

  • นักศึกษาหัวจริง  (Student by Head Count)

  หมายถึง   จำนวนนักศึกษาที่ขึ้นทะเบียนรักษาสภาพความเป็นนักศึกษาของมหาวิทยาลัยขอนแก่น ในภาคการศึกษานั้น ๆ 

  • นักศึกษาลงทะเบียน  (Student by Subject Count)

  หมายถึง จำนวนนักศึกษาที่ลงทะเบียนเรียนในแต่ละรายวิชาที่เปิดสอน(นักศึกษา 1คน ลงทะเบียนเรียนได้มากกว่า 1 รายวิชา) ในคณะหรือภาควิชา  ในภาคการศึกษานั้น ๆ

  • หน่วยกิตนักศึกษา (Student Credit Hours: SCH)

   หมายถึง ผลรวมของผลคูณระหว่างจำนวนนักศึกษาที่ลงทะเบียนเรียนกับจำนวน

                  หน่วยกิตของแต่ละรายวิชาที่ภาควิชาหรือคณะนั้นเปิดสอน

  • นักศึกษาเต็มเวลา (Full – time Equivalent Student: FTES)

  หมายถึง   จำนวนนักศึกษาที่ลงทะเบียนเต็มเวลา ตามเกณฑ์มาตรฐาน      

                   คณะกรรมการการอุดมศึกษากำหนด  โดยกำหนดให้

   - นักศึกษาเต็มเวลาระดับปริญญาตรี  1  คน  ต้องลงทะเบียนเรียนปีละ  36  หน่วยกิต

   -  นักศึกษาเต็มเวลาระดับบัณฑิตศึกษา  1  คน  ต้องลงทะเบียนเรียนปีละ  24  หน่วยกิต

  • นักศึกษาเต็มเวลาสุทธิ (Full – time Equivalent Student: FTES*)

   หมายถึง จำนวนนักศึกษาเต็มเวลาระดับปริญญาตรี รวมกับจำนวนนักศึกษาเต็มเวลาระดับบัณฑิตศึกษาที่ปรับค่าเป็นระดับปริญญาตรีแล้ว ตามเกณฑ์มาตรฐานของคณะกรรมการการอุดมศึกษา

  • นักศึกษาภาคปกติ หมายถึง นักศึกษาที่ลงทะเบียนเรียนในหลักสูตรภาคปกติที่รัฐ  สนับสนุนค่าใช้จ่ายในการจัดการศึกษาเป็นส่วนมาก  
  • นักศึกษาภาคพิเศษ (Full Fee) หมายถึง นักศึกษาที่ลงทะเบียนเรียนใน

  หลักสูตรที่ผู้เรียนรับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการจัดการศึกษาเป็นส่วนมาก ได้แก่  หลักสูตรภาคพิเศษ โครงการพิเศษ ภาคสมทบ หรือภาคต่อเนื่องที่เก็บค่าธรรมเนียมพิเศษเพิ่มจากค่าหน่วยกิตปกติ หรือค่าธรรมเนียมเหมาจ่ายที่รวมค่าธรรมเนียมพิเศษด้วย

  • กลุ่มสาขาวิชา ISCED หมายถึง การจัดกลุ่มสาขาตามมาตรฐานของ

   International Standard Classification of Education ที่สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ใช้ในการจัดกลุ่มสาขาวิชาในการกำหนดชื่อปริญญาของสถาบันอุดมศึกษาตามระบบสากล

 

วิธีดำเนินการวิเคราะห์

ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง

                ประชากรที่ใช้ คือ จำนวนนักศึกษาที่ลงทะเบียนเรียน ในรายวิชาต่าง ๆ ที่เปิดสอน ทั้งในระดับปริญญาตรีและระดับบัณฑิตศึกษา ทั้งภาคต้นและภาคปลาย  ของทุกชั้นปีที่ศึกษา  ทั้งนักศึกษาภาคปกติ และนักศึกษาภาคพิเศษ   ตามระบบฐานข้อมูลนักศึกษาลงทะเบียน ของสำนักบริหารและพัฒนาวิชาการ

แหล่งข้อมูลและวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล

                1. การเก็บรวบรวมข้อมูลการลงทะเบียนเรียน ของนักศึกษาที่ลงทะเบียนเรียนในรายวิชาต่าง ๆ ที่เปิดสอนโดยคณะ/ภาควิชาที่ให้บริการงานสอนใน จากระบบทะเบียนนักศึกษาของสำนักบริหารและพัฒนาวิชาการ ดังนี้

§           จำแนกตามระดับการศึกษาเป็นปริญญาตรีและบัณฑิตศึกษา

§           จำแนกตามภาคการศึกษา

§           จำแนกตามคณะ/ภาควิชาต่าง ๆ ที่เปิดบริการงานสอนและคณะที่นักศึกษาสังกัด

§           จำแนกตามรายวิชาที่เปิดสอน

§           จำแนกตามหน่วยกิตที่นักศึกษาลงทะเบียนเรียน

2. การตรวจสอบความสมบูรณ์ ความถูกต้องของข้อมูล ดังนี้

§          ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล และลงรหัสข้อมูลโดยใช้โปรแกรม  Microsoft Excel for Windows

§          จากนั้นนำไปวิเคราะห์และประมวลผล ค่าหน่วยกิตนักศึกษา(SCH) และนักศึกษาเต็มเวลา(FTES) ด้วยโปรแกรม Microsoft  Access for Windows ตามสมการที่ใช้ในการวิเคราะห์

 

 การวิเคราะห์จำนวนหน่วยกิตนักศึกษา (SCH)

                การศึกษาวิเคราะห์จำนวนหน่วยกิตนักศึกษา วิเคราะห์จากนักศึกษาที่ลงทะเบียนเรียนในแต่ละรายวิชา ทั้งนักศึกษาที่ลงทะเบียนตามหลักสูตรภาคปกติ และนักศึกษาหลักสูตรภาคพิเศษ ตามแนวทางของสำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา โดยใช้สมการคำนวณ ดังนี้

 

                SCH      =             åCi Si

                                เมื่อ

                                Ci    =   จำนวนหน่วยกิตที่นักศึกษาลงทะเบียนในแต่ละรายวิชา

                                Si    =   จำนวนนักศึกษาที่ลงทะเบียนเรียนในแต่ละรายวิชา

                                i    =   รายวิชาที่ i…………. n

 

การวิเคราะห์จำนวนนักศึกษาเต็มเวลา (FTES)

วิเคราะห์จากจำนวนหน่วยกิตนักศึกษาในแต่ละรายวิชา หารด้วยค่าคงที่ ในแต่ละภาคการศึกษา ปีการศึกษา และระดับการศึกษา โดยใช้สมการคำนวณ ดังนี้

 

                             FTES    =  SCH / c

    เมื่อ    :    SCH  =    จำนวนหน่วยกิตในปีการศึกษา

                      c        =    จำนวนหน่วยกิตคงที่ตามเกณฑ์มาตรฐานของ สกอ.

              

โดยกำหนด ให้

                                ระดับปริญญาตรี                  ทั้งปีการศึกษา มีค่าเท่ากับ 36

                                                                                ภาคการศึกษา มีค่าเท่ากับ 18

                                ระดับบัณฑิตศึกษา              ทั้งปีการศึกษา มีค่าเท่ากับ 24

                                                                                 ภาคการศึกษา มีค่าเท่ากับ 12

 

การคำนวณนักศึกษาเต็มเวลาสุทธิ โดยการปรับค่านักศึกษาเต็มเวลาในระดับบัณฑิตศึกษา เป็นระดับปริญญาตรี

Ø    กลุ่มสาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  

คำนวณนักศึกษาเต็มเวลาสุทธิ โดยการปรับค่านักศึกษาเต็มเวลาระดับบัณฑิตศึกษา เป็น 2 เท่า  ของนักศึกษาเต็มเวลาระดับปริญญาตรี ตามสมการ ดังนี้

 

  นักศึกษาเต็มเวลาสุทธิ (FTES*)   = FTES1 + ( FTES2 x 2 )

  โดยที่            FTES1 = นักศึกษาเต็มเวลาระดับปริญญาตรี

                       FTES2 = นักศึกษาเต็มเวลาระดับบัณฑิตศึกษา

 

   * ยกเว้นคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์   ให้ปรับค่านักศึกษาเต็มเวลาระดับบัณฑิตศึกษา เป็น เท่ากับ  นักศึกษาเต็มเวลาระดับปริญญาตรี

Ø      กลุ่มสาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ    

คำนวณนักศึกษาเต็มเวลาสุทธิ โดยการปรับค่านักศึกษาเต็มเวลาระดับบัณฑิตศึกษา เท่ากับ นักศึกษาเต็มเวลาระดับปริญญาตรี ตามสมการ ดังนี้

 

นักศึกษาเต็มเวลาสุทธิ (FTES*) = FTES1 + ( FTES2 x 1 )

                โดยที่      FTES1 = นักศึกษาเต็มเวลาระดับปริญญาตรี

                                FTES2 = นักศึกษาเต็มเวลาระดับบัณฑิตศึกษา

Ø    กลุ่มสาขาวิชามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์

คำนวณนักศึกษาเต็มเวลาสุทธิ โดยการปรับค่านักศึกษาเต็มเวลาระดับบัณฑิตศึกษา  1.8 เท่า  ของนักศึกษาเต็มเวลาระดับปริญญาตรี ตามสมการ ดังนี้

 

นักศึกษาเต็มเวลาสุทธิ (FTES*)    = FTES1 + ( FTES2 x 1.8 )

                โดยที่      FTES1 = นักศึกษาเต็มเวลาระดับปริญญาตรี

                                FTES2 = นักศึกษาเต็มเวลาระดับบัณฑิตศึกษา

    * ยกเว้นคณะศึกษาศาสตร์   ให้ปรับค่านักศึกษาเต็มเวลาระดับบัณฑิตศึกษา

เป็น 1.5 เท่า ของนักศึกษาเต็มเวลาระดับปริญญาตรี 

     * และคณะศิลปกรรมศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย  สำนักวิชาศึกษาทั่วไป  และสถาบันภาษา  ให้ปรับค่านักศึกษาเต็มเวลาระดับบัณฑิตศึกษา เป็น  เท่ากับ  ของนักศึกษาเต็มเวลาระดับปริญญาตรี    

 

การปรับค่าจำนวนนักศึกษาเต็มเวลา

ระดับบัณฑิตศึกษาเป็นระดับปริญญาตรี

                ในการศึกษาวิเคราะห์ภาพรวมทั้งในระดับปริญญาตรีและระดับบัณฑิตศึกษาที่ ต้องนำสัดส่วนอาจารย์ต่อนักศึกษาเต็มเวลาที่เป็นเกณฑ์มาตรฐานของ สกอ. มาเป็นตัวชี้วัดการวิเคราะห์นั้น  จำเป็นต้องนำจำนวนนักศึกษาเต็มเวลาระดับบัณฑิตศึกษามาปรับค่าให้เป็นระดับปริญญาตรี  เพื่อให้อยู่ในหน่วยวัด (Scale) เดียวกัน  ซึ่งจะทำให้สามารถวิเคราะห์ข้อมูลในภาพรวมของคณะได้  โดยการปรับค่าดังกล่าวมีวิธีการ ดังนี้

การหาตัวปรับค่า 

               โดยคำนวณจากสัดส่วนเกณฑ์มาตรฐาน  ระหว่างอาจารย์ต่อจำนวนนักศึกษาเต็มเวลาระดับปริญญาตรี  กับสัดส่วนอาจารย์ต่อนักศึกษาเต็มเวลาระดับบัณฑิตศึกษา  ตามเกณฑ์การจัดกลุ่มสาขาวิชามาตรฐานสากล(International Standard Classification of Education : ISCED)  ซึ่งได้กำหนดไว้ในแผนพัฒนาการศึกษาระดับอุดมศึกษา  ฉบับที่ 8 

หมายเลขบันทึก: 198065เขียนเมื่อ 1 สิงหาคม 2008 14:19 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 พฤษภาคม 2012 04:17 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท