LO กฟภ.นครราชสีมา


ผมอยากให้ทุกคนมีความคิดสร้างสรรค์และ ให้ความสำคัญกับการสร้างสังคมการเรียนรู้ให้เกิดขึ้นในกฟภ.

ความรู้ส่วนภูมิภาคมีมาเกือบ 50 ปีแล้ว ผมชื่นชมการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคมาตลอด และได้มีโอกาสมาร่วมหลายครั้งในวันนี้ผมมีหน้าที่มาประสานความรู้ให้ท่านผนึกกำลังกันในการทำ Workshop แล้วนำไปแก้ปัญหาเสนอความคิดใหม่ๆ

 

                            KM การเรียนรู้                  LO วัฒนธรรมการเรียนรู้

                    -          การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค คือองค์กรที่พัฒนาประเทศตัวจริง

                    -          อยากให้ กฟภ. เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ วัดผลได้

 

ผมหวังว่าลูกศิษย์ทั้งหกรุ่นที่ผ่านมา และรุ่นที่ 11 นี้จะเข้ามาร่วม Share ความรู้นะครับขอบคุณครับ

 

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

คำสำคัญ (Tags): #lo นครราชสีมา
หมายเลขบันทึก: 197240เขียนเมื่อ 29 กรกฎาคม 2008 09:50 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 19:21 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

Workshop 1

เปรียบเทียบทฤษฎีของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทฤษฎี 4 L’s , 7 Habits , Peter Senge , ไปเชื่อมโยงกับการสร้างองค์กรแห่งการเรียนรู้ที่ กฟภ.

1. ถ้าจะรักการเรียนรู้ มี 2 ด้าน

• ประสบการณ์ของเราเอา

• ด้านการศึกษาจากที่เรากำลังศึกษาอยู่

• การศึกษาจากหนังสือพิมพ์ วารสาร สื่อต่าง ๆ

ถ้าไม่ได้รับการศึกษาเลย ความรู้อาจน้อยลง

1. มองเรื่องการจัดซื้อวัสดุที่ขาดแคลน ควรมีการกระจายอำนาจ ความรู้ ความต้องการให้มากขึ้น เพื่อตอบสนองตอบความต้องการของลูกค้า เราจะได้เงินตอบแทนมาในองค์กร นำเอาแนวคิดของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และ Peter Senge มาสนับสนุน

เช่น Peter Senge รู้อะไรต้องรู้ให้จริง อำนาจจากส่วนกลางที่ได้มาแล้ว กระจายให้เรารู้ เพียงพอไหม ศึกษาเพิ่มเติมไหม มีการมองอนาคตร่วมกันไหม มีการระดมความคิดเป็นทีมไหม เนื่องจากมีความเกี่ยวเนื่องกับหลายส่วนงาน มีความคิดสมเหตุสมผลไหม

อาจารย์จีระให้มองจาก Macro ไปสู่ Micro ดังนั้น องค์กรแห่งการเรียนรู้ต้องอ่าน ดู และร่วมกับประสบการณ์ของเรา ดังนั้น องค์กรแห่งการเรียนรู้ ต้องทำอะไรเหมือนนักบิน คือขับเก่งแต่ต้องรู้สภาพอากาศ

2. ต้องมีแหล่งความรู้หลากหลาย มีการกระตุ้นให้ศึกษาความรู้ตลอดเวลา ต้องนำองค์ความรู้ไปเก็บเป็นระบบ สร้างบรรยากาศในการเรียนรู้ และความรู้ต้องไปส่งถึงรุ่นหลัง และ อยู่ในความแข็งแรงขององค์กร สรุปคำคม ความรู้ทำให้คนองอาจ

อาจารย์จีระ บอกว่า บรรยากาศ มี 2 อย่าง คือ ห้องเรียนสบาย และอารมณ์

3. ทฤษฎีของในหลวงที่เข้ากับ กฟภ. เห็นว่า หน้าที่การไฟฟ้า ทำเรื่องบริการ พลังงาน ทำสาธารณะ การทำเพื่อสังคม กำไรส่วนหนึ่งมาพัฒนาอาชีพ และพัฒนาองค์กร

ทฤษฎีการเรียนรู้ จัดการเรียนรู้เสมอ มีทั้งการจัดอบรมทั้งในประเทศและต่างประเทศ

บรรยากาศการเรียนรู้ สถานที่ในการจัดการเรียนรู้ มีการพัฒนาดีขึ้น

Peter Senge รู้ว่า กฟภ. ทำธุรกิจอย่างไร มีเป้าหมาย มีแผนปฏิบัติ กิจกรรมที่จะดำเนินการ มีค่า KPI เกณฑ์วัดที่ต้องประเมินตลอดเวลา สร้างองค์กรแห่งการเรียนรู้ ส่งเสริมกิจการ QC เพื่อนำมาใช้พัฒนาองค์กรอย่างยั่งยืน

อาจารย์จีระ บอกว่า องค์กรแห่งการเรียนรู้ ต้องเน้นวิธีการเรียน และวัฒนธรรมการเรียนรู้ ต้องเน้นการเชื่อมโยงกับส่วนต่าง ๆ การใฝ่รู้กับองค์กรที่มีอยู่แล้วนำมาสร้างมูลค่าเพิ่มให้เกิดกับองค์กรทั่วไป

การเป็นผู้นำต้องฟังลูกน้องด้วย

ศึกษาสภาพแวดล้อมรอบตัว ปัญหาเงินเฟ้อ เศรษฐกิจ

ศึกษาทฤษฎีมหาสมุทรสีฟ้า เน้นความคิดเชิงสร้างสรรค์

4. ก่อนนำทฤษฎีไปใช้ต้องวิเคราะห์ SWOT ก่อนว่าองค์กร กฟภ. เป็นแบบไหน

ปัจจัยสำคัญ 1. ผู้บริหารระดับสูงสุดต้องให้ความสำคัญ

2. สร้างวัฒนธรรมการเรียนรู้ คือถ่ายทอด ไม่เก็บ ต้องให้ผู้บริหารเปิดใจว่าความคิดของผู้ใต้บังคับบัญชาถูกบ้าง

ทฤษฎีพระเจ้าอยู่หัว ฯ เศรษฐกิจพอเพียง 3 ห่วง 2 เงื่อนไข เสมือนเป็นฐานในการพัฒนาการเรียนรู้

การรู้จริง การมีเหตุ และผล จะเป็นการพัฒนาความสู่ยั่งยืน

ต้องสร้างวัฒนธรรมองค์กรแห่งการเรียนรู้ใหม่ ต้องให้ผู้บริหารเข้ามาฟังความคิดเห็นของผู้ใต้บังคับบัญชาอย่างจริงจัง

อาจารย์จีระ เน้นเส้นทางแห่งความสำเร็จของการสร้างองค์กรแห่งการเรียนรู้ เราต้องเข้าใจก่อน มีวัฒนธรรมในการแบ่งปันความรู้กัน มีประสบการณ์ ความรอบรู้ในการอ่านหนังสือ

ทฤษฎี ASV Acquire ความรู้ด้วยวิธีอะไร อ่านหนังสือ Internet

เป็นเด็กควรพูดจาสุภาพเรียบร้อย ไม่พูดรุนแรงกับผู้ใหญ่

5. นำก้างปลา มาเป็นแนวคิด แล้วเอา 4 ทฤษฎีหลักตั้งไว้

หัวปลาคือทำยังไงให้ กฟภ.เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้

4 ทฤษฎี คือทำยังไงให้สู่ไปองค์กรแห่งการเรียนรู้โดยมองจากปัจจุบันและอนาคต

ต้องสร้างบรรยากาศ การทำงานเป็นทีม ส่งเสริมสนับสนุนอย่างต่อเนื่องยั่งยืน สร้างแรงจูงใจ สร้างให้เกิดชุมชนแห่งการเรียนรู้ ต้องมีการสนับสนุน เช่น ใช้เทคโนโลยีเพิ่ม ใช้ IT ให้เป็นประโยชน์ นำความรู้ใส่เข้าไปเพื่อให้เกิดความต่อเนื่อง และเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้

Workshop 2

1.ศึกษาภาวะผู้นำของท่านประเสริฐกับท่านอดิศรเหมือนหรือแตกต่างอย่างไร

2. มีบทเรียนอะไรบ้างที่ ปตท.สามารถเป็นตัวอย่างของ กฟภ. ?

กลุ่ม 6.1

ข้อ 1 ความเหมือน

• วิสัยทัศน์ที่จะนำองค์กรสู่องค์กรชั้นนำของภูมิภาค

• การพัฒนาบุคลากร

• นำองค์กรเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้

• มีโครงการเพื่อสังคม

ความแตกต่าง

• ปตท. มีแผนการตลาดสู่ตลาดโลก แต่ กฟภ. ตลาดแค่เพื่อนบ้านใกล้เคียง

• ปตท.ให้ความสัมพันธ์กับประชาสัมพันธ์ทางสื่อมากกว่า

• ปตท. Great Coporate กฟภ. Good Coporate

ข้อ 2

• ปตท.แปรรูปเป็นบริษัทมหาชนนำหุ้นเข้าตลาดหลักทรัพย์หลุดพ้นจากเงื่อนไขกระทรวงการคลัง การบริหารรวดเร็ว มีผลตอบแทนคืนสู่ผู้ถือหุ้น และลูกค้า ผู้ใช้บริการได้ใช้ในราคาต่ำลง

• องค์กรปตท.มีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างบ่อย ๆ ทำให้พนักงานคุ้นเคยและกล้าเผชิญกับการเปลี่ยนแปลง กฟภ. ไม่คุ้นเคยกับการเปลี่ยนแปลง เนื่องจากเปลี่ยนแปลงไม่บ่อย และไม่กล้าที่จะเปลี่ยนแปลง

อาจารย์จีระ อยากให้ต่อไปอยากให้คนพึ่ง กฟภ. แบบ Win – Win

เราต้องยกย่องลูกค้าของเรา และสร้างภาพลักษณ์ให้เป็นที่ยอมรับ

กลุ่ม 3.2

ข้อ 1 ความเหมือน

• วิสัยทัศน์กว้างไกล

• เห็นความสำคัญของบุคลากรที่เป็นกลไกสำคัญสู่องค์กรแห่งการเรียนรู้ และรองรับวิสัยทัศน์ให้ได้

ความแตกต่าง

• กฟภ.มีกฎระเบียบมากกว่า ปตท.เป็นการบริหารเอกชน กฟภ.เป็นรัฐวิสาหกิจ

ข้อ 2

• พัฒนาเกี่ยวกับเรื่องของสังคมทำอย่างต่อเนื่อง และต่อยอด ไม่ทิ้ง และติดตามตลอดเวลา

• ทำโครงการเกี่ยวกับสังคม เพื่อหวังผลมวลชน เช่นรอบโรงงาน รอบโรงกลั่น ตามท่อผลิต เป็นของมวลชนช่วยดูแลทรัพย์สินของปตท.

• การประชาสัมพันธ์มีประสิทธิภาพและเข้าถึงมวลชนได้ดีและชัดเจน

อาจารย์จีระ แสดงความคิดเห็นว่า ปตท.วันนึงต้องคิดให้ดีว่าทำอะไรกัน

เรื่องธุรกิจ อย่าไปคิดว่าเราเป็นรัฐวิสาหกิจอยู่ ธุรกิจขึ้นอยู่กับอุปนิสัย จิตวิญญาณของความเป็นองค์กรอยู่ ในอนาคตข้างหน้า ผมอยากช่วยในวิชาจิตวิญญาณการเป็นผู้ประกอบการ คือหาโอกาส จังหวะ สร้างประโยชน์ให้ กฟภ. ในขณะเป็นรัฐวิสาหกิจอยู่

กลุ่ม 5.2

ข้อ 1 ความเหมือน

• มุ่งมั่นที่จะนำองค์กรสู่วิสัยทัศน์องค์กร

ความแตกต่าง

• ปตท. มีความชัดเจนในภารกิจขององค์กร มุ่งเน้นไปในทางธุรกิจที่ตัวเองถนัด เช่น น้ำมัน ส่วนกฟภ. ยังมองว่าเป็นสีเทาอยู่เนื่องจากไม่ชัดเจนในพันธกิจหลัก และพันธกิจรอง กฟภ. จึงควรทำพันธกิจหลักก่อนและรองลงมา

ข้อ 2

• ปตท. มีการปรับองค์กรเป็นระยะ ๆ มีการ Benchmarking ปตท.รู้จักวินิจฉัยองค์กรได้ กฟภ. ควรวินิจฉัยองค์กรบ้าง

• โครงการเพื่อสังคมของ ปตท.ชัดเจน และเก็บเกี่ยวภาพลักษณ์ขององค์กรจากโครงการเพื่อสังคมได้ แต่กฟภ. มีแต่ไม่สามารถเก็บเกี่ยวภาพลักษณ์จากองค์กรได้

ความรู้สึกได้เรียนรู้อะไรจากทั้งวัน

1. ได้ความรู้เยอะมากจากการที่ฟังการบรรยาย เดิมทีอยู่กฟภ. อำเภอเล็ก ระบบงานต่าง ๆ เล็กตามไปด้วย วันนี้ คิดว่าตัวเองได้ความรู้มากมายมากกว่าที่คาดหวังไว้

2. บรรยากาศในการประชุม ขอเรียนว่า อ.จีระ สมเป็นครูจริง ๆ เพราะถ่ายทอดข้อมูลได้อย่างเข้าใจและไม่มีใครหลับเลย

3. ความรู้ที่อ.ถ่ายทอดให้เราจะนำไปพัฒนาคนในองค์กรของเรา

4. แบบอย่างที่ได้จากอาจารย์ คือเป็นครูที่จะไปพัฒนาคนในองค์กรของเรา

อาจารย์จีระ ให้ กลับไปที่ Office นอกจากว่าวันนี้ได้อะไร ฝึกการถ่ายทอดความรู้ให้กับคนอื่นบ้าง เพราะการถ่ายทอดที่ยิ่งใหญ่จะทำให้เราเรียบเรียงความรู้ได้เป็นระบบ

ทำสำเร็จแล้วได้อะไร

จากการเข้าอบรมสัมมนา โครงการสร้างความตระหนักองค์กรแห่งการเรียนรู้ Learning Organization Awareness จะนำความรู้ที่ได้ในครั้งนี้ไปถ่ายทอดให้เพื่อนร่วมงานและพัฒนาองค์กร กฟภ. ให้เจริญ ก้าวหน้าและประสบความสำเร็จเหมือนธุรกิจชั้นนำของโลก

หลังจากอบรมนี้แล้วจะกลับไปเผยแพร่และชี้แจงให้ผู้ใต้บังคับบัญชาทราบถึงทฤษฎีต่าง ๆ ที่อาจารย์สอนมา ทฤษฎีของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ

จะนำความรู้ที่ได้ในวันนี้ ไปฝึกฝนตนเอง และหาความรู้เพิ่มเติมในด้านอื่นเพิ่มเติม รวมทั้งนำไปบอก แนะนำกับพนักงานในแผนกให้มีความใฝ่รู้ ในสิ่งใหม่ ๆ เพิ่มเติม เพื่อให้มีความรู้ใหม่ ๆ ทันสมัย และนำมาใช้ในการพัฒนางานของตนเอง เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในองค์กร

ข้าพเจ้ากลับไปแล้ว จะนำความรู้ ที่ได้รับไปปรับใช้ในการควบคุมการปฏิบัติงานของพนักงานในแผนกโดยจะสอนงานและถ่ายทอดความรู้ในการปฏิบัติตนให้เป็นประและต่อเนื่องเพื่อผลสำเร็จของงาน

- นำความรู้ ไปเผยแพร่ต่อ /เสียงตามสายของหน่วยงาน / แจ้งเรียนเอกสารให้ทุกคนทราบ

- มีส่วนร่วมในการก่อสร้าง-รวบรวมนวัตกรรม - ความรู้ของพนักงานที่เป็นองค์ความรู้ไว้เป็นสัดส่วน

- ติดตั้ง True Move สอนลูกหลานใช้ความรู้จาก TV ช่องการศึกษา ช่อง 80 - 99

บทเรียนที่ได้จากการศึกษา Lo กฟภ.นครราชขสีมา

1. การร่วมกันสร้างวิสัยทัศน์ที่จะนำองค์กรสู่องค์กรชั้นนำของภูมิภาค

2. การพัฒนาบุคลากรที่มีคุณภาพสู่องค์การแห่งการเรียนรู้

3. การมีภาวะผู้นำและผู้นำการเปลี่ยนแปลงสู่การนำองค์กรเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้

4. มีการจัดโครงการเพื่อสังคม ดูแลสังคม บริการสังคมเพื่อความสุขของประชาชน

5. มีการจัดคืนกำไรสู่สังคม

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท