งานที่อยากจะทำ


การพัฒนาสมรรถนะ(Competency)

ผลการศึกษาข้อมูลรายบุคคลในฐานข้อมูลหมวดความรู้จากการปฏิบัติ

“Story Telling สัปดาห์ที่ 3”  

 

                        จากที่ได้มีโอกาสมาเรียนรู้ในครั้งนี้   และที่ผ่านมาใน 2 สัปดาห์  มีความสุข(ทุกข์..เครียดนิด ๆ)กับการได้เรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ มากมาย   กำไรอย่างที่สุดแล้ว    ได้กับได้   ส่วนจะได้อะไรมากน้อยเพียงใดอยู่ที่ตัวเอง   ตนเองมีความคิดอยู่ก่อนแล้วเกี่ยวกับการทำงานในหน้าที่ที่รับผิดชอบ(การนิเทศ)ว่า ในเมื่อเรา(ศึกษานิเทศก์)มีหน้าที่ในการให้คำแนะนำ  ช่วยเหลือ  สนันสนุน  และส่งเสริมให้สถานศึกษาสามารถจัดการศึกษาได้อย่างมีคุณภาพ นั่นก็หมายถึงการพัฒนาครูให้มีคุณภาพนั่นเอง   อ้าว ! หากเป็นเช่นนี้  ก่อนที่เราจะพัฒนาคนอื่น...สิ่งแรกที่ต้องทำ  คือ  ต้องพัฒนาตนเอง...  เพราะเชื่อว่าตัวเรา(คน)เมื่อได้รับการพัฒนาแล้วย่อมก่อเกิดการความมั่นใจในตนเอง มีความรู้และทักษะในเรื่องต่าง ๆ มากยิ่งขึ้น  สร้างความศรัทธาจนเกิดการยอมรับของคนอื่น ๆ  ไม่ว่าจะเป็นผู้บังคับบัญชา.... หัวหน้ากลุ่ม/หัวหน้างาน... เพื่อนร่วมงาน...หรือผู้รับการนิเทศ(ครู/ผู้บริหาร) .... แน่นอนที่สุดมันจะส่งผลให้การทำงานราบรื่น มีความก้าวหน้า รุงเรือง  โชติช่วงชัชวาล 

                        กลุ่มนิเทศฯ สพท.ลำพูน  เขต 1  ได้จัดโครงการพัฒนาศักยภาพ ศน.ฯ  (จัดทุกปี)  โดยจัดประชุม/อบรม/ดูงาน  ในปี 2549  หากจำไม่ผิดนะ  ...จำได้ดีอยู่ว่า  เค้าพัฒนาเกี่ยวกับเรื่องสมรรถนะ...competency ...  โดยเชิญวิทยากรที่เชี่ยวชาญเรื่องนี้มาให้ความรู้....(น่าจะมาจากสถาบันนะ  เดี๋ยวต้องกลับไปถามว่าเป็นใคร)  ทุกครั้งที่มีการจัดประชุม/อบรมงานไหนงานนั้นไม่เคยพลาด  ยิ่งเรื่องใหม่ ๆ น่าสนใจยิ่งไม่พลาดใหญ่    แต่ก็พลาดจนได้อย่างกะทันหัน ...ญาติผู้ใหญ่เสียชีวิต (บิดาของคนที่บ้านจ้ะ)เลยหมดโอกาสไปพัฒนาตนเอง   โชคดีเพื่อนสนิทเอาหนังสือที่วิทยากรท่านนี้แต่งเอามาฝาก   ก็นำมาอ่านและศึกษาเองไม่ค่อยเข้าใจเท่าไรหรอก...  ผ่านมาจนถึงปี 50 – 51 เรื่องนี้ถูกทำมาใช้เพื่อพัฒนาองค์กร กำลังจะศึกษาอยู่พอดี...  ไม่อยากพูดเลยว่าไม่มีเวลา...เพราะ  เรื่องใหม่ ๆ ตอนนี้มันเข้ามามาก  งานก็ทั้งยุ่งและเยอะด้วย  ....โชคดีมีโอกาสมาร่วมพัฒนาตนเองกับโครงการคุณปัด....ต้องขอบคุณจริง ๆ หากไม่มีงานนี้ไม่รู้ว่าอีกนานเท่าไรจึงจะได้เรียนรู้เรื่องนี้อีก  อีกคนที่ต้องของคุณ คือ ศน.เจต   ที่เป็นผู้ชักชวนให้มาร่วมกิจกรรมนี้  ฮึ่ม ! ขอบคุณจริง ๆ นะ  เข้าเรื่องต่อ   พบสมาชิกกลุ่ม 1 ทุกคนต่างห็นตรงกันว่า  กลุ่ม 1 เราตัดสินใจจะเล่นกันเรื่องนี้แหละ  อย่าปล่อยนะ  ตรงกับเป้าหมายตนเอง   เป้าหมายกลุ่มคือพัฒนาตนเองเพื่อนำไปสู่การพัฒนางาน   เห็นมั้ยว่ามันเริ่ดหรู(เลิศหรู)มากเลย....  ทุกคน(กลุ่ม 1) จับไม่ปล่อย  ไม่ว่าจะเป็นงานที่ให้ทำในสัปดาห์ใดก็มุ่งไปสู่เรื่องสมรรถนะ competency ...  ทั้งนั้น

                        ก็อย่างที่บอกว่าสำหรับตนเองแล้วต้องการเรียนรู้และพัฒนาศักยภาพให้กับตนเอง  อยากเรียนรู้ในสิ่งใหม่ ๆ เมื่อไหร่ก็ตามเมื่อมีโอกาสต้องทำต้องพัฒนา  จึงได้มาพิจารณา(ประเมิน)ว่าตนเองน่าจะต้องพัฒนาตนเองอะไรบ้างเพื่อจะได้สร้างการยอมรับในสังคม/มีความก้าวหน้าในวิชาชีพ  แต่บางที่เราก็ไม่อาจจะรู้ได้ว่าเราควรพัฒนาอะไรดี   จะพัฒนาอะไรก่อน – หลังดีหละ  ใครจะสามารถบอกเราได้  แน่นอนที่สุดคนแรกก็คือ  ตัวเราเองนี่แหละ  ส่วนคนอื่น ๆ ก็สำคัญไม่น้อย  พอดี ได้อ่านเจอเกี่ยวกับเรื่องสมรรถนะที่กำลังเป็นที่สนใจของทุกหน่วยงาน   จะเอาอย่างไรดีหละก็ได้ร่วม ลปรร.กับสมาชิก คุณปัดหัวหน้าโครงการ  กับผชช. ตลอดทั้งอ่านเจอบทความของประกอบ  กุลเกลี้ยงเรื่อง  การประเมินสมรรถนะ  ที่ได้ให้ความเห็นว่่าหากต้องการผลการประเมินที่ออกมาเที่ยงตรง  น่าเชื่อถือ ได้ข้อมูลจากหลายมุมมอง  เห็นจุดแข็งและขอบเขตการพัฒนาที่กว้างขวางขึ้น  มีความเป็นกลาง  สร้างแรงจูงใจ  มีความยืดหยุ่น  ต้องเป็นการประเมินแบบ  360 องศา คือการให้บุคคลแวดล้อมเป็นผู้ประเมินผลพฤติกรรมคุณลักษณะที่แสดงออก 

                        ดังนั้น  งานที่ต้องทำต่อไปก็คือ  ต้องเริ่มศึกษาหาแนวคิด ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องมายืนยันตลอดทั้งสร้างกรอบแนวคิดในการดำเนินงาน   แต่ตอนนี้ต้องรีบส่งงานสัปดาห์ 3   ก่อนถึงเวลานัดหมายร่วม Share กับกลุ่ม  ตี 5 วันพุธ....ก็เลยต้องบอกให้ทราบแต่เพียงแนวคิด/ทฤษฎีใดน่าจะเกี่ยวข้องบ้าง  ส่วนรายละเอียดนั้นเล่นไม่ยาก  มีหัวหน้าโครงการ  ผชช.และสมาชิกเป็นตัวช่วยอยู่  รับรองต้องสำเร็จ(แน่ ๆ เลย)  แนวคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวข้องได้แก่

·     แนวคิดของศาสตราจารย์ David C. McClelland เรื่องสมรรถนะ

·     แนวคิดของเบนจามิน  บลูม (Benjamin  Bloom , 1980)   Bloom’s  Toxonomy  เกี่ยวกับแนวคิดการวัดและประเมินผลการเรียนรู้และความสามารถของมนุษย์ไว้  3  ประเภท  คือ  1)  การวัดความรู้และทักษะ (Cognitive  Domain 2)  การวัดพฤติกรรมการปฏิบัติงาน (Affective  Domain)  3) การวัดผลสัมฤทธิ์การปฏิบัติงาน (Psychomotor  Domain) 

·     แนวคิดเรื่องสมรรถนะมาใช้ในการบริหารงานทรัพยากร  โมเดลภูเขาน้ำแข็ง  : การที่บุคคลจะมีพฤติกรรมในการทำงานอย่างใดขึ้นอยู่กับคุณลักษณะที่บุคคลมีอยู่ ซึ่งอธิบายในตัวแบบภูเขาน้ำแข็ง คือ ทั้งความรู้ ทักษะ/ความสามารถ (ส่วนที่อยู่เหนือน้ำ) และคุณลักษณะอื่น ๆ (ส่วนที่อยู่ใต้น้ำ)

·     แรงจูงใจ·     ความแตกต่างระหว่างบุคคล

·     ทฤษฎีของมาสโล  ความต้องการของมนุษย์  5 ขั้น

           ฯลฯ

                    สำหรับในรายละเอียดคงต้องอาศัยเวลาในการศึกษาและร่วม ลปรร. กัน  ตอนนี้ต้องรีบไปปฏบัติหน้าที่ก่อน  เกรงว่า  สมาชิกกลุ่ม 1  จะไม่มีข้อมูล  วันนี้ปฏิบัติงานนอกพื้นที่ไม่มีสัญญาณ  ที่สำคัญ ต้องส่งงานก่อนมา Share   จึงขอส่งก่อน   ผิดพลาดประการใดขออภัยด้วย

                   เรื่องที่อยากทำ

ค้นพบ/พัฒนาตนเอง  โดย.....การประเมินสมรรถนะ .....วิเคราะห์/จัดลำดับการพัฒนาสมรรถนะ..... ศึกษาหารูปแบบการพัฒนา.....   จัดทำ ID-Plan ... ดำเนินการพัฒนาตามแผน ......สรุป/รายงานผลการพัฒนา

                              ใครมีอะไรดีร่วม Share ด้วย (ต้องรีบไปแล้วหละ)

ลงชื่อ อุไรวรรณ   ปัญญาอุทัย  ผู้บันทึก

 

หมายเลขบันทึก: 197228เขียนเมื่อ 29 กรกฎาคม 2008 08:28 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 01:17 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (9)

ชื่อบันทึก...งานที่อยากจะทำ ใช่ไหมครับ

เรื่องสมรรถนะ ไม่ว่าจะเป็นแนวคิดของใคร ก็ดีเหมือนกันหมด ดังนั้นเราควรนำมาสังเคราะห์ ให้ได้แนวทางที่สามารถนำไปปฏิบัติได้ ในหน่วยงานของเราเอง หรือตัวเราเอง ดังนั้นสมรรถนะที่ดีที่สุด ก็คือสมรรถนะที่เราคิดขึ้เอง และปฏิบัติตามอย่างถูกวิธีและอย่าละเลย... ถ้ารู้แล้วไปทำก็ไม่มีความหมายใด ๆๆ

ใช่แล้วค่ะ เขียนชื่อบันทึกผิดค่ะ ที่ถูกคือ "งานที่อยากจะทำ" พอดีรีบไปหน่อยไม่มีเวลาตรวจทาน ขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วย คราวหลังจะให้พลาดน้อยที่สุดค่ะ ขอบคุณทุกท่านที่ร่วม Share

สมรรถนะเป็นเรื่องไกล้ของคนทุกคน เพราะทุกคนต้องมีการพัฒนาตนเองอยู่เสมออย่างที่พี่อุว่าต้องพัฒนาตนเองก่อนที่จะไปพัฒนาคนอื่น ดังนั้นเมื่อพัฒนาสมรรถนะหลักและสมรรถนะที่จำเป็นสำหรับการปฏิบัติงานแล้ว ก็น่าจะลองทำสมรรถนะอื่นลองดูบ้างนะครับเพื่อพัฒนาศักยภาพของตนเองอย่างต่อเนื่อง ดังที่เขาว่าการเรียนรู้ไม่มีที่สิ้นสุด การพัฒนาก็น่าจะเช่นเดียวกันกับการเรียนรู้

มีเทคนิคเรื่องการประเมิน competency assessment gap มาฝากค่ะ  เป็นการนำเกณฑ์หรือปัจจัยที่คาดหวัง (Future-What should be) เปรียบเทียบกับพฤติกรรมที่เกิดขึ้นจริงของบุคคล (หรือของเรา) (Present-What is) มีภาพให้ดูค่ะ

(โมเดลนี้น่าจะเป็นของ ดร. อาภรณ์ ภู่วิทยพันธ์ ถ้านำไม่ผิดนะคะ)จากการประเมินช่องว่าง (gap) ของความสามารถนั้นมี 3 ลักษณะได้แก่
1. ความสามารถในการทำงานปัจจุบันมากกว่าความสามารถที่คาดหวัง - ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นเป็นจุดแข็ง (Strength)
2.ความสามารถในการทำงานปัจจุบันตรงตามความสามารถที่คาดหวัง - ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นเป็นเป็นไปตามที่ผู้บังคับบัญชากำหนดขึ้น (Meet Target)
3.ความสามารถในการทำงานปัจจุบันน้อยกว่าความสามารถที่คาดหวัง - ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นเป็นจุดอ่อน (Weakness)

จากผลการประเมิน gap หัวหน้า (หรือเราเองถ้าเป็นการประเมินสมรรถนะของตัวเอง)ควรเลือกจุดอ่อนมาพัฒนาก่อน เนื่องจากตราบใดที่เรายังคงรับผิดชอบงานในปัจจุบัน ก็ควรได้รับการพัฒนาความสามารถที่เป็นจุดอ่อนก่อน เพราะความสามารถนั้นจะมีผลต่อเป้าหมายหรือผลสำเร็จของแต่ละคน อย่างไรก็ตามการพัฒนาจุดอ่อนจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องกำหนดช่วงเวลาในการพัฒนา ไม่ใช่ว่าพัฒนาไปเรื่อย ๆ โดยไม่มีที่สิ้นสุด เช่น ไม่เกิน 1 ปี หรือไม่เกิน 2 ปี (ห้ามอู้ค่ะ เมื่อประเมินได้แล้วต้องรีบพัฒนา) อันนี้ขึ้นอยู่กับความจำเป็นเร่งด่วนของงานที่รับผิดชอบ แต่ถ้าพัฒนาจุดอ่อนนาน ๆ ไปก็ไม่ดีขึ้น เค้าก็จะให้มองที่จุดแข็ง ว่าถนัดอะไรแล้วหาวิธีการพัฒนาใหม่ที่เหมาะสมและถนัด (ตามจุดแข็ง) ของแต่ละคนค่ะ

เคยศึกษานานมาแล้วน่ะค่ะ ก็เลยเอามา share กัน
คนที่ศึกษาเรื่องแนว ๆ นี้ต่อเนื่องก็คือ อ. ชัชรินทร์ ชวนวัน "สคบศ." ลองถามท่านเจตฯ ดูนะคะ เค้าเป็นเพื่อนเรียน Ph.D. ด้วยกันเจ้า...

หมายเหตุ แอบเข้าบล็อกของกลุ่มนะคะ เพราะต้องการ upload รูปให้ดู ไม่งั้นไม่รู้จะเอารูปขึ้นยังไง บล็อกเค้าไม่ยอมค่ะ ขออภัยในความละลาบละล้วงมา ณ ที่นี้ค่ะ (โชคดีที่ยังเข้าได้ค่ะ ไม่งั้นคงต้องส่งทาง mailX

เติมเต็มอย่างนี้ ต้องขอสู้ตาย ...คิดตอนแรกว่าจะพัฒนาจุดอ่อนที่สุดก่อน โดยกำหนดเรื่องเวลาไว้ ส่วนวิธีการกระบวนการในการพัฒนาค่อยไปพิจารณาอีกทีหนึ่ง แต่อย่างที่ อ.ปัดแนะนำว่า....ไม่ใช่พัฒนาไปเรื่อย ๆ โดยไม่มีที่สิ้นสุด ...แสดงว่าต้องมีช่วงเวลาการพัฒนาแล้วทำการสรุป/ประเมินผล

...แต่ถ้าพัฒนาจุดอ่อนนาน ๆ ไปก็ไม่ดีขึ้น เค้าก็จะให้มองที่จุดแข็ง ว่าถนัดอะไรแล้วหาวิธีการพัฒนาใหม่ที่เหมาะสมและถนัด (ตามจุดแข็ง) ของแต่ละคนค่ะ...โอ้โห! เรื่องนี้ก็น่าสนใจมากเกี่ยวกับการพัฒนาจุดแข็ง ต้องประเมินจุดแข็งของตัวเองบ้างแล้วหละ...และพัฒนาให้แข็งยิ่งขึ้น...น่าสนใจ ขอบคุณมากสำหรับสิ่งดี ๆ ที่มีให้เสมอค่ะ

ลองดูเทคนิคการบริหารมุ่งผลสัมฤทธิ์บ้าง...อาจปรับใช้ได้บ้าง

ถูกต้องของคุณปัด ค่ะ โมเดลนี้ปรากฏในบทความของ อาจารย์อาภรณ์ ก็จะให้ภาพชัดเจนขึ้น ส่วนงานของ อาจารย์ชัชรินทร์ ก็ทำให้เข้าใจการประเมินและพัฒนาสมรรถนะของข้าราชการครูและบุคากรทางการศึกษา ค่ะ

ดีจังได้ความรู้เยอะเลย...

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท