ผมได้บันทึกผลการประชุม-สัมมนาเชิงปฏิบัติการส่งเสริมการเกษตรระดับอำเภอ
(DW) ประจำเดือนมีนาคม 2549 ไปแล้ว (ลิงค์) แต่มีบทเรียนที่ได้จากกระบวนการดังกล่าว
ในการทำ KM
เป็นเรื่องเดียวกันกับงานประจำ
หากทางสำนักงานเกษตรจังหวัดอื่นๆ จะนำไปประยุกต์ใช้
ย่อมเกิดประโยชน์ต่องานส่งเสริมการเกษตรได้บ้าง อย่างน้อยอาจเป็นทางลัดสู่การพัฒนาการทำงานของท่าน
ไม่ต้องเสียเวลาลองผิดลองถูกในกระบวนการจัดประชุม-สัมมนาฯ
นักส่งเสริมฯ (DW) ที่มีการนำ KM
มาเป็นเครื่องมือสนับสนุนการทำงาน
มีหลายอย่างที่เป็นบทเรียน ข้อสรุปเบื้องต้น
ที่ทีมงานสำนักงานเกษตรจังหวัดกำแพงเพชรได้เรียนรู้ก็คือ
-
ในการคัดเลือกจุดที่เป็นของดี (Bese practice) ที่จะนำมา
ลปรร.กัน ความรู้จะต้องสอดคล้องกับกิจกรรมที่นักส่งเสริมฯ
จะสามารถนำองค์ความรู้
เทคนิคการทำงานไปประยุกต์ใช้ในการทำงานฯ
-
สถานที่ศึกษาดูงาน (ของดี) กับสถานที่สัมมนาไม่ควรห่างไกลกันมากนัก
-
ในกรณีที่เป็นเรื่องเล่า ควรกำหนดประเด็นการซักถาม
และคนที่จะคอยกระตุ้นคนเล่าไว้จะดีมาก
-
ทักษะการกระตุ้น
สามารถเรียนรู้ได้โดยดูตัวอย่าง ดร.เจิมศักดิ์ ปิ่นทอง
ในกรณีจัดเวทีชุมชน (ตัวอย่าง ๆ)
-
ควรเปิดเวทีให้มีการ
ลปรร.วิธีการทำงานที่ทำได้ดี ปัญหา
และวิธีแก้ไขระหว่างคนหน้างานด้วยกันให้มากๆ
-
ไม่เน้นการชี้แจงข้อราชการ
เหมือนเช่นการประชุมปกติ เพราะมีเวทีอื่นให้ดำเนินการอยู่แล้ว เช่น
ประชุมประจำเดือนสำนักงานเกษตรอำเภอ ประชุมเกษตรอำเภอประจำเดือน
เป็นต้น
-
ปัญหาที่ได้ร่วมกันสรุป ควรได้รับการแก้ไขให้มากที่สุด
-
ควรวางแผนที่จะฝึกทักษะให้นักส่งเสริมฯ
ทำหน้าที่ในบทบาทคุณอำนวยไปพร้อมๆ กัน เท่าที่จะเอื้ออำนวยได้ เช่น
ฝึกให้นำทำ AAR เป็นต้น
-
ในการสรุปบทเรียน(กรณีเรื่องเล่า) ควรมีการฝึกคุณบันทึกที่คอยบันทึกให้ทุกคนได้เห็นข้อมูล
(ตามถนัด)) ดังเช่นตัวอย่างที่คุณสายัณห์ ปิกวงค์
ได้บันทึกและได้ใช้สำหรับการสรุปและถอดบทเรียนของแต่ละครั้งตามภาพด้านล่างนี้
-
คุณลิขิตหากจดไม่ทัน
ควรเตรียมกล้องดิจิทอล เก็บภาพที่สำคัญๆ ไว้ ทั้งภาพกิจกรรม
ภาพผลสรุปที่ได้บันทึกลงกระดาษฟาง ดังภาพด้านล่างนี้
-
ฯลฯ
บันทึกมาเพื่อการ ลปรร.ครับ
วีรยุทธ สมป่าสัก