Praepattra
ผู้ช่วยศาตราจารย์ Praepattra Kiaochaoum

องค์ประกอบที่เป็นสาระสำคัญของนิติกรรม


1.บุคคล (ความสามารถของบุคคลในการทำนิติกรรม)

มาตรา ๑๕๓ 
            การใด มิได้เป็นไป ตามบทบัญญัติ ของกฎหมาย ว่าด้วย ความสามารถของบุคคล การนั้น เป็นโมฆียะ

 

พิจารณาความสามารถในการทำนิติกรรม

1.อายุ

การบรรลุนิติภาวะ

มาตรา ๑๙
            บุคคล ย่อม พ้นจาก ภาวะ ผู้เยาว์ และ บรรลุนิติภาวะ เมื่อ มีอายุ ยี่สิบปีบริบูรณ์

มาตรา ๒๐
            ผู้เยาว์ ย่อม บรรลุนิติภาวะ เมื่อ ทำการสมรส หาก การสมรสนั้น ได้ทำตาม บทบัญญัติ มาตรา ๑๔๔๘

 

ผู้เยาว์

หลัก  ผู้เยาว์ทำนิติกรรมโดยลำพังไม่ได้  นิติกรรมที่ทำต้องได้รับความยินยอมจากผู้แทนโดยชอบธรรมก่อนการทำนิติกรรม

มาตรา ๒๑
            ผู้เยาว์ จะทำ นิติกรรม ใดๆ ต้องได้รับ ความยินยอม ของ ผู้แทนโดยชอบธรรมก่อน การใดๆ ที่ ผู้เยาว์ ได้ทำลง ปราศจาก ความยินยอม เช่นว่านั้น เป็นโมฆียะ เว้นแต่ จะบัญญัติไว้ เป็นอย่างอื่น

กฎหมายกำหนดให้ผู้เยาว์ทำนิติกรรมได้เอง

 

มาตรา ๒๒
            ผู้เยาว์ อาจทำการใดๆ ได้ทั้งสิ้น หากเป็นเพียงเพื่อจะ ได้ไป ซึ่ง สิทธิ อันใดอันหนึ่ง หรือ เป็นการ เพื่อ ให้หลุดพ้น จากหน้าที่ อันใดอันหนึ่ง
 

มาตรา ๒๓
            ผู้เยาว์ อาจทำการใดๆ ได้ทั้งสิ้น ซึ่ง เป็นการต้อง ทำเองเฉพาะตัว
 

มาตรา ๒๔
            ผู้เยาว์ อาจทำการใดๆ ได้ทั้งสิ้น ซึ่ง เป็นการ สมแก่ฐานานุรูปแห่งตน และ เป็นการอันจำเป็น ในการดำรงชีพ ตามสมควร

 

มาตรา ๒๕
            ผู้เยาว์ อาจทำพินัยกรรมได้ เมื่อ มีอายุ สิบห้าปีบริบูรณ์

ถ้าไม่เข้าข้อยกเว้นตาม ม.22 25  ฝ่าฝืน =    นิติกรรมตกเป็น โมฆียะ

 

2.สุขภาพ (ความบกพร่องทางสุขภาพ)

2.1 คนวิกลจริต (ตามความเป็นจริง)

มีความสามารถใช้สิทธิทำนิติกรรมได้เองโดยลำพังและนิติกรรมที่ทำไปมีผลสมบูรณ์ตามกฎหมาย ข้อยกเว้น

 

มาตรา ๓๐
            การใดๆ อัน บุคคลวิกลจริต ซึ่ง ศาล ยังมิได้สั่งให้เป็น คนไร้ความสามารถ ได้กระทำลง การนั้น จะเป็นโมฆียะ ต่อเมื่อ ได้กระทำ ในขณะที่ บุคคลนั้น จริตวิกลอยู่ และ คู่กรณี อีกฝ่ายหนึ่ง ได้รู้แล้วด้วยว่า ผู้กระทำ เป็น คนวิกลจริต

2.2 คนไร้ความสามารถ

 

มาตรา ๒๘
            บุคคลวิกลจริต ผู้ใด ถ้า คู่สมรส ก็ดี ผู้บุพการี กล่าวคือ บิดา มารดา ปู่ ย่า ตา ยาย ทวด ก็ดี ผู้สืบสันดาน กล่าวคือ ลูก หลาน เหลน ลื่อ ก็ดี ผู้ปกครอง หรือ ผู้พิทักษ์ ก็ดี ผู้ซึ่ง ปกครองดูแล บุคคลนั้นอยู่ ก็ดี หรือ พนักงานอัยการ ก็ดี ร้องขอต่อศาล ให้สั่งให้ บุคคลวิกลจริต ผู้นั้น เป็น คนไร้ความสามารถ ศาล จะสั่งให้ บุคคลวิกลจริต ผู้นั้น เป็น คนไร้ความสามารถ ก็ได้
            บุคคล ซึ่ง ศาล ได้สั่งให้เป็น คนไร้ความสามารถ ตาม วรรคหนึ่ง ต้องจัดให้อยู่ใน ความอนุบาล การแต่งตั้ง ผู้อนุบาล อำนาจหน้าที่ ของ ผู้อนุบาล และ การสิ้นสุด ของความเป็น ผู้อนุบาล ให้เป็นไป ตาม บทบัญญัติ บรรพ ๕ แห่ง ประมวลกฎหมายนี้
            คำสั่งของศาล ตาม มาตรานี้ ให้ประกาศใน ราชกิจจานุเบกษา
 

มาตรา ๒๙
            การใดๆ อันบุคคล ซึ่ง ศาล สั่งให้เป็น คนไร้ความสามารถ ได้กระทำลง การนั้น เป็น โมฆียะ

3.ความไม่สามารถจัดการทรัพย์สิน  อันเนื่องมาจากสุขภาพหรือความประพฤติของบุคคล

 

คนเสมือนไร้ความสามารถ

บกพร่องทางกาย จิตใจ หรือความประพฤติ และไม่อาจจัดทำการงานโดยตนเองได้ หรือจัดกิจการไปในทางที่เสื่อมเสียแก้ทรัพย์สินของตนเองหรือครอบครัว

เหตุหรือข้อบกพร่อง  จนไม่อาจจัดการงานของตนเองได้ 

1.      กายพิการ

2.      จิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ

3.      ประพฤติสุลุ่ยสุร่ายเสเพลเป็นอาจิณ

4.      ติดสุรายาเมา

5.      เหตุอื่นทำนองเดียวกัน

 

หลัก  ทำนิติกรรมได้เองโดยลำพังไม่ต้องมีใครให้ความยินยอมหรือดูแล

ข้อยกเว้น

1.      กรณีที่ต้องได้รับความยินยอมจากผู้พิทักษ์ก่อน ม.34 ว.1 (ถ้าไม่ เป็นโมฆียะ)

2.      ผู้พิทักษ์ทำแทน (ม.34 ว.3 กฎหมายให้อำนาจศาลสั่งให้ผู้พิทักษ์ทำแทน)

 

2.วัตถุประสงค์ของนิติกรรม

1. ความประสงค์หรือความมุ่งหมายในการทำนิติกรรม

2.ประโยชน์สุดท้ายที่คู่กรณีหวังจะได้จากการทำนิติกรรม

3.เป้าหมายในการทำนิติกรรม

โดยหลักอิสระในทางแพ่ง  ปัจเจกชนมีเสรีภาพที่จะทำอะไรก็ได้  โดยมีเป้าหมายที่จะได้รับประโยชน์บางอย่าง  แต่ต้องมีวัตถุประสงค์ที่ชอบด้วยกฎหมายหรือที่กฎหมายรับรองให้ (ม.150)

วัตถุประสงค์ที่ต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมาย  หรือขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน  นิติกรรมนั้น ตกเป็น โมฆะ

 

3.แบบ คือ วิธีการในการแสดงเจตนาทำนิติกรรม  เป็นแบบตาม ม.152

มาตรา ๑๕๒
            การใด มิได้ทำให้ถูกต้อง ตามแบบ ที่กฎหมายบังคับไว้ การนั้น เป็นโมฆะ

ประเด็น

แบบที่กฎหมายบังคับให้ทำตาม ม.152

หลักฐานเป็นหนังสือ

1.เวลา

ต้องทำในขณะที่ทำนิติกรรม

มีในขณะทำนิติกรรมหรือภายหลังก็ได้

2.รูปแบบ

ต้องเป็นตามที่กฎหมายกำหนดในแต่ละกรณี

อาจอยู่ในรูปจดหมาย บันทึก หรืออะไรก็ได้ที่เป็นลายลักษณ์อักษรหรือที่กฎหมายยอมรับใช้ได้

3.สาระสำคัญ

ต้องมีสาระสำคัญของนิติกรรมประเภทนั้นครบถ้วน

มีเพียงข้อความที่พอฟังได้ก็เพียงพอแล้ว

4.การลงลายมือชื่อ

ต้องมีการลงลายมือชื่อของทุกฝ่าย

มีเฉพาะลายมือชื่อของผู้ต้องรับผิดหรือผู้ที่จะถูกฟ้องก็พอ

5.ผล

ไม่ทำตามแบบ นิติกรรมเป็นโมฆะ

ไม่ทำหลักฐานฯนิติกรรมยังคงสมบูรณ์ตามกฎหมาย แต่ไม่สามารถฟ้องร้องบังคับคดีได้

 

4.เจตนา

หมายเลขบันทึก: 195775เขียนเมื่อ 22 กรกฎาคม 2008 16:31 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มิถุนายน 2012 02:26 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท