จรรยาบรรณครู ๙ประการ พร้อมคำอธิบาย


รู้ไว้ใช่ว่าใส่บ่าแบกหาม

...จรรยาบรรณครู     ประการ...

 

๑.  ครูต้องรักและเมตตาศิษย์  โดยให้ความเอาใจใส่ช่วยเหลือส่งเสริม ให้กำลังใจในการศึกษาเล่าเรียนแก่ศิษย์โดยเสมอหน้า

 

๒.  ครูต้องอบรม  สั่งสอน  ฝึกฝน  สร้างเสริมความรู้  ทักษะ  และนิสัยที่ถูกต้องดีงามให้เกิดแก่ศิษย์อย่างเต็มความสามารถ ด้วยความบริสุทธิ์ใจ

 

๓.  ครูต้องประพฤติ  ปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ศิษย์ทั้งทางกาย  วาจา  และจิตใจ

 

๔.  ครูต้องไม่กระทำตนเป็นปฏิปักษ์  ต่อความเจริญทางกาย  สติปัญญา  จิตใจ  อารมณ์  และสังคมของศิษย์

 

๕.  ครูต้องไม่แสวงหาประโยชน์  อันเป็นอามิสสินจ้างจากศิษย์ในการปฏิบัติหน้าที่ตามปกติ  และไม่ใช้ให้ศิษย์กระทำการใด ๆ อันเป็นการหาประโยชน์ให้แก่ตนเองโดยมิชอบ

 

๖.  ครูย่อมพัฒนาตนเอง  ทั้งในด้านวิชาชีพ  ด้านบุคลิกภาพ  และวิสัยทัศน์ให้ทันต่อการพัฒนาทางวิทยาการ  เศรษฐกิจ  สังคม  และการเมืองอยู่เสมอ

 

  ครูย่อมรักและศรัทธาในวิชาชีพครู  และเป็นสมาชิกที่ดีขององค์กรวิชาชีพครู

 

  ครูพึงช่วยเหลือเกื้อกูลครูและชุมชน  ในทางสร้างสรรค์

 

  ครูพึงประพฤติ  ปฏิบัติตนเป็นผู้นำในการอนุรักษ์  และพัฒนาภูมิปัญญาและวัฒนธรรมไทย

 

จรรยาบรรณครูเกี่ยวกับผู้รับบริการได้แก่

 

จรรยาบรรณข้อที่  1  ครูต้องรักและเมตตาศิษย์โดยให้ความเอาใจใส่ช่วยเหลือส่งเสริม ให้                                              กำลังใจในการศึกษาเล่าเรียนแก่ศิษย์โดยเสมอหน้า   

คำอธิบาย      ครูต้องรักและเมตตาศิษย์ โดยให้ความเอาใจใส่ช่วยเหลือส่งเสริม ให้  กำลังใจในการศึกษาเล่าเรียนแก่ศิษย์เสมอหน้า หมายถึง การตอบสนองความต้องการ ความถนัดความสนใจ ของศิษย์อย่างจริงใจ สอดคล้องกับการเคารพ การยอมรับ การเห็นอกเห็นใจต่อสิทธิพื้นฐานของศิษย์จนเป็นที่ไว้วางใจเชื่อถือ และชมเชยได้รวมทั้งเป็นผลไปสู่การพัฒนารอบด้านอย่างเท่าเทียมกันเช่น   เมื่อเราเห็นแววของลูกศิษย์ของเราว่าเก่ง หรือถนัดในด้านใดเราก็สมควรสนับสนุนเขาให้ได้ดียิ่งขึ้นหรือให้คำแนะนำเพื่อที่จะให้เด็กได้มีกำลังใจในการศึกษาและพัฒนาศักยภาพของตัวเองอยู่เสมอ

 

จรรยาบรรณข้อที่  2  ครูต้องอบรมสั่งสอน ฝึกฝน สร้างเสริมความรู้ ทักษะ และนิสัยที่ถูกต้อง ดีงามได้แก่ศิษย์อย่างเต็มความสามารถ ด้วยความบริสุทธิ์ใจ

คำอธิบาย    ครูต้องอบรม สั่งสอน ฝึกฝน สร้างเสริมความรู้ ทักษะ และนิสัยที่ถูกต้องดีงามให้แก่ศิษย์อย่างเต็มความสามารถด้วยความบริสุทธิ์ใจ  หมายถึง  การดำเนินการตั้งแต่การเลือกกำหนดกิจกรรมการเรียนที่มุ่งผลต่อการพัฒนาในตัวศิษย์อย่างแท้จริง การจัดให้ศิษย์มีความรับผิดชอบและเป็นเจ้าของการเรียนรู้ ตลอดจนการประเมินร่วมกับศิษย์ในผลของการเรียนและการเพิ่มพูนการเรียนภายหลังบทเรียนต่าง ๆ ด้วยความปรารถนาที่จะให้ศิษย์แต่ละคนทุกคนพัฒนาได้อย่างเต็มตามศักยภาพ และตลอดไปเช่น  ครูจะต้องทดสอบหลังเรียนในแต่ละบทเรียนที่เราเรียนผ่านไป   และทำ  แบบทดสอบเสริมทักษะในแต่ละรายวิชา   แบบประเมินผลราบบุคคล

 

 

 

 

จรรยาบรรณข้อที่  3  ครูต้องประพฤติปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ศิษย์ ทั้งกาย  วาจา  และจิตใจ

คำอธิบาย     การประพฤติปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดี   หมายถึง   การแสดงออกอย่างสม่ำเสมอของศิษย์ที่ศิษย์สามารถสังเกตรับรู้ได้เอง  และเป็นการแสดงที่เป็นไปตามมาตรฐานแห่งพฤติกรรมระดับสูงตามค่านิยม คุณธรรม และวัฒนธรรมอันดีงามเช่น  ครูจะต้องเป็นแบบอย่างที่ดีในเรื่องของการวางตัวในทุกๆ ด้านเพื่อที่เด็กจะได้นำไปเป็นแบบที่ดีอย่างเช่น การไหว้  และการพูดจาต้องมีกาลเทศะ

 

จรรยาบรรณข้อที่  4  ครูต้องไม่กระทำตนเป็นปฏิปักษ์ต่อความเจริญทางกาย  สติปัญญา  จิตใจ  อารมณ์  และสังคมของศิษย์

คำอธิบาย    การไม่กระทำตนเป็นปฏิปักษ์ต่อความเจริญทางกาย  สติปัญญา  จิตใจ  อารมณ์และสังคมศิษย์  หมายถึง  การตอบสนองต่อศิษย์ในการลงโทษหรือการให้รางวัล หรือการกระทำอื่นใดที่นำไปสู่การลดพฤติกรรมที่พึงปรารถนาเช่น  ครูจะต้องมีความยุติธรรมเสมอภาคต่อนักเรียนทุกคนไม่ใช่ว่าเด็กคนนี้เรียนเก่งก็ให้ความสนใจเฉพาะคนที่เรียนเก่งเท่านั้น ส่วนคนที่เรียนไม่เก่งก็ไม่ให้ความสนใจหรือไม่ให้คำปรึกษาใดๆ ทั้งสิ้นเป็นต้น

 

จรรยาบรรณข้อที่  5  ครูต้องไม่แสวงหาผลประโยชน์อันเป็นอามิสสินจ้างจากศิษย์ ในการปฏิบัติหน้าที่ตามปกติและไม่ใช่ศิษย์กระทำการใดๆ อันเป็นการหาผลประโยชน์ให้แก่ตนเองโดยมิชอบ

คำอธิบาย   การไม่แสวงหาผลประโยชน์อันเป็นอามิสสินจ้างจากศิษย์ ในการปฏิบัติหน้าที่ตามปกติและไม่ใช่ศิษย์กระทำการใดๆ อันเป็นการหาผลประโยชน์ให้แก่ตนเองโดยมิชอบหมายถึง  การไม่กระทำการไดๆ ที่จะได้มาซึ่งผลตอบแทนเกินสิทธิที่พึงมีพึงได้จากการปฏิบัติหน้าที่ในความรับผิดชอบตามปกติเช่น  ครูนำอุปกรณ์การเรียนการสอนนำมาขายให้นักเรียนเองโดยการขายในราคาที่แพงกว่าตลาด  หรืออาจจะนำหนังสือหรือสมุดที่ทางโรงเรียนแจกให้เด็กฟรีแต่ครูนำมาขายให้นักเรียนโดยเอาเงินเข้ากระเป๋าตัวเอง

จรรยาบรรณข้อที่  8  ครูพึงช่วยเหลือเกื้อกูล และชุมชนในทางสร้างสรรค์

คำอธิบาย   ครูพึงช่วยเหลือเกื้อกูล และชุมชนในทางสร้างสรรค์  หมายถึง  การให้ความร่วมมือแนะนำ ปรึกษาช่วยเหลือเกื้อกูลแก่เพื่อนครูทั้งเรื่องส่วนตัว ครอบครัว และการทำงานตามโอกาสอย่างเหมาะสม รวมทั้งเข้าร่วมกิจกรรมของชุมชน โดยการให้คำปรึกษาแนะนำแนวทางวิธีการปฏิบัติตน ปฏิบัติงานเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนในชุมชนเช่น    ในชุมชนเมืองพัทยาจะมีการทำบุญในวันกองข้าวของทุกๆ ปีครูก็จะให้คำปรึกษา หรือเข้าไปช่วยเหลือชาวบ้านในการทำบุญทุกครั้งอย่างเช่นการอำนวยความสะดวกเรื่องการบริการการนำรถยนต์มาจอดในจุดต่างๆ เพื่อที่จะให้ประชาชนที่จะมาทำบุญได้สะดวกมากยิ่งขึ้น หรือช่วยจัดกิจกรรมร่วมกับวัดโดยการทำกิจกรรมในงานเช่นการสอยดาวเพื่อที่จะนำเงินเข้าวัดดังนั้นครูจึงมีบทบาทหรือเกี่ยวข้องกับชุมชน

 

หมายเลขบันทึก: 195627เขียนเมื่อ 22 กรกฎาคม 2008 00:57 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 13:42 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท