เครือข่ายการผลิต การตลาดสินค้าเกษตร..เพื่อขายสินค้าไม่ง่าย..แต่ต้องร่วมใจขับเคลื่อน


เครือข่ายสินค้าเกษตร ไม่ง่าย ต้องร่วมใจขับเคลื่อน

                       เครือข่ายการผลิต การตลาดสินค้าเกษตร..เพื่อขายสินค้าไม่ง่าย..แต่ต้องร่วมใจกันขับเคลื่อน 

 

            การผลิตสินค้าเกษตรที่ผ่านมาส่วนใหญ่คนซื้อ จะเป็นผู้ตั้งราคา จึงทำให้เกษตรกรผู้ผลิตเสียเปรียบไม่คุ้มกับต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้น ทางภาครัฐพยายามให้เกิดการรวมกลุ่มเพื่อให้มีอำนาจในการต่อรองโดยยึดหลัก เกษตรกรผู้ผลิตอยู่ได้  พ่อค้าผู้ซื้อก็อยู่ได้ เพราะถ้าเกษตรกรผู้ผลิตขาดทุนไม่สามารถผลิตได้ พ่อค้าก็จะอยู่ไม่ได้เช่นกัน

 

วันที่ 8 ก.ค. 51 ผมได้เข้าร่วมประชุมกลุ่มเครือข่ายกลุ่มการผลิต การตลาดสินค้าเกษตรปลอดภัยระดับจังหวัด  ณ สำนักงานเกษตรจังหวัดน่าน มีผู้นำกลุ่มเครือข่ายและเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องเข้าร่วมแลกเปลี่ยนเรื่อง การขาย  ลำไย   เบื้องต้นในแต่ละพื้นที่ได้มีการเก็บลำไยพันธุ์อีดอ ขายบ้างแล้ว  ซึ่งปีนี้มี ฝนตกต่อเนื่องทำให้ลำไยแก่เร็ว  โดยขายราคารวม กิโลกรัมละ 8-11 บาท  สำหรับลำไยของจังหวัดน่านขนาดของผลใหญ่อาจจะไม่เท่า ลำพูน เชียงใหม่ แต่คุณภาพด้านเนื้อลำไยอาจจะดีกว่า  .จากข้อมูลการคาดคะเนผลผลิตลำไย  8   จังหวัดภาคเหนือ โดยสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ปี 2550-2551 จะมีผลผลิตประมาณ  370,493  ตัน ลดลงร้อยละ  15.17 ของปีที่แล้ว ในส่วนของจังหวัดน่าน ผลผลิตประมาณ 13,734 ตันลดลงร้อยละ  20.33  จากผลผลิตที่ลดลง ผู้นำกลุ่มเครือข่ายแต่ละท่านคาดหวังว่าราคาน่าจะสูงกว่าปีที่แล้ว และจะได้นำรับข้อมูลราคารับซื้อ ไปแจ้งแก่สมาชิกกลุ่มเครือข่ายระดับอำเภอต่อไป

 

ในการประชุมครั้งนี้ ได้เชิญผู้รับซื้อลำไยมาพบกลุ่มเครือข่ายของจังหวัดน่าน โดยมี ผู้แทนบริษัทขันดีการเกษตร จำกัด จากจังหวัดลำพูน ซึ่งทำธุรกิจการตลาดสินค้าเกษตร ส่งลำไยอบแห้งไปขายประเทศจีน มาร่วมตกลงรับซื้อ จากการชี้แจงของบริษัทยังไม่ชัดเจนมากนักเพราะต้องรอกำหนดราคาซื้อในวันที่  15  ก.ค. 51  แต่ในเบื้องต้นได้ตั้งราคาอบแห้งแล้ว ไม่ต่ำกว่า 50 - 35 -15  บาทต่อกิโลกรัม (เกรด  เอ เอ  - เอ  -  บี)   ซึ่งข้อเท็จจริงเกษตรกรต้องการขายลำไยสด  จากการสังเกตพบว่าบริษัทยังไม่มีความพร้อมในการรับซื้อเพราะเริ่มเข้ามาในจังหวัดน่านเป็นครั้งแรกยังติดกับกลไกลหรือกลยุทธ์ของพ่อค้าท้องถิ่น จุดรับซื้อ ซึ่งไม่ง่ายเลยที่จะตกลงกันได้ ความหวังที่จะขายให้กับผู้ส่งออกโดยตรงต้องชะงัก ! 

  

สหกรณ์มาช่วยทัน ! นอกจากบริษัทขันดี มาร่วมแล้วยังได้เชิญสหกรณ์การเกษตรมาเป็นเครือข่ายในการรับซื้อด้วย  โดยเฉพาะสหกรณ์การเกษตรท่าวังผาที่เข้าร่วมในช่วงบ่ายโดยผู้จัดการใหญ่ คุณวินัย   หารต๊ะ  ได้ประชุมคณะกรรมการ และมีการเตรียมการเปิดรับซื้อลำไยสดร่วง ในวันที่  9 กรกฎาคม 2551 เป็นต้นไป กำหนดราคารับซื้อเริ่มต้นอยู่ที่ เกรด  16 - 10 - 6  บาทต่อกิโลกรัม  และคาดว่าราคาจะเพิ่มขึ้นในลำดับต่อไป เพราะผลผลิตปีนี้ปริมาณลดลง ปกติจะรับซื้อจากสมาชิกเป็นหลักปีนี้รับซื้อทั่วไปโดยเฉพาะเครือข่ายสินค้าเกษตรปลอดภัยจังหวัดน่าน จึงเป็นความหวังของเกษตรกรชาวน่านได้มีแหล่งขายผลผลิตลำไย ..นี่แหละ..ถึงได้รับรางวัลสหกรณ์ดีเด่นแห่งชาติประจำปี 2532 , 2540 , 2550 ...ถ้าเครือข่ายจะประสบผลสำเร็จต้องมี...การรวมกลุ่มที่เข็มแข็ง ข้อมูลการผลผลิตที่ชัดเจน คุณภาพสินค้าได้มาตรฐานและปลอดภัย  เครือข่ายการผลิต การตลาด  พึ่งพาซึ่งกันและกัน  ทุกกลุ่มองค์กรจะอยู่ได้อย่างยั่งยืนแน่นอน......ครับ !!!!!  

       

  

นายสิทธิ์   วัลลภาชัย รก.เกษตรจังหวัดน่าน  เป็นประธานประชุมกลุ่มเครือข่ายกลุ่มการผลิต การตลาดสินค้าเกษตร

ปลอดภัยจังหวัดน่าน โดยมีผู้นำกลุ่ม เจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องเข้าร่วมแลกเปลี่ยน "เรื่องการรับซื้อรับลำไยกลุ่มเครือข่าย"

                

                              ตัวแทนบริษัทขันดีการเกษตร จำกัด ชี้แจงธุรกิจของบริษัทและการรับซื้อลำไย

   

นายวินัย   หารเต๊ะ  ผู้จัดการใหญ่สหกรณ์การเกษตรท่าวังผา จำกัด ชี้แจงการรับซื้อลำไยกับกลุ่มเครือข่ายฯ จังหวัดน่าน

 

หมายเลขบันทึก: 195111เขียนเมื่อ 19 กรกฎาคม 2008 17:20 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 19:18 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
  • ปีนี้ ขอให้ลำไย มีราคาแพงๆๆ
  • เห็นใจชาวสวนลำไย ครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท