ผู้บริหารกับการบริหารการเปลี่ยนแปลง


ผู้บริหารควรทำอย่างไรเมื่อต้องรับมือกับการเปลี่ยนแปลงภายในองค์การ

ผลการศึกษาข้อมูลรายบุคคลในฐานข้อมูลหมวดความรู้ทั่วไป (muc) 

1. เนื้อหาที่สนใจ   การบริหารการเปลี่ยนแปลงควรจะเป็นอย่างไร

 2. สาระสำคัญของเนื้อหาโดยสรุป  

การบริหารการเปลี่ยนแปลงทางการศึกษา
            การเปลี่ยนแปลงการบริหาร Management Change คือ วิวัฒนาการของแนวคิดทางการบริหารตามภาวการณ์ต่างๆ อาทิ การบริหารแนววิทยาศาสตร์ มนุษยสัมพันธ์ เชิงระบบและตามถานการณ์ ภาวการณ์ซึ่งเปลี่ยนแปลงไปตามบริบท (Context) ของสังคม ทั้งด้านเศรษฐกิจ การเมือง สังคม สิ่งแวดล้อม และเทคโนโลยี ฯลฯ เป็นการเปลี่ยนแปลงซึ่งต้องบริหารแบบรู้เท่าทัน ทันการณ์ มีวิสัยทัศน์ โดยใช้พื้นฐานความรู้เดิมเป็นตัวตั้ง แล้วนำมาวิเคราะห์เรียบเรียง เพื่อศึกษาและทำความเข้าใจ แล้วจัดการกำจัดจุดอ่อน และเพิ่มจุดแข็ง ให้เกิดประโยชน์สูงสุดด้วย การบริหารการเปลี่ยนแปลง (Change Management)”
รูปแบบการบริหารการเปลี่ยนแปลง ในการบริหารการเปลี่ยนแปลง ต้องมีการพัฒนาองค์กร ซึ่งมีรูปแบบวิธีการที่ดีอย่างน้อย 3 รูปแบบ ดังนี้
รูปแบบ 3 ขั้นตอน ตามแนวคิดของ Kurt Lewin
ประกอบด้วย การคลายตัว (unfreezing) เนื่องจากเกิดปัญหาจึงต้องเปลี่ยนแปลง การเปลี่ยนแปลง (changing) คือ การเปลี่ยนจากพฤติกรรมเก่า ไปสู่พฤติกรรมใหม่ และการกลับคงตัวอย่างเดิม (refreezing) เพื่อหล่อหลอมพฤติกรรมใหม่ให้มั่นคงถาวร
รูปแบบ 2 ปัจจัย ตามแนวคิดของ Larry Greiner
ที่เห็นว่าการเปลี่ยนแปลงเกิดจากแรงบีบภายนอก กับการกระตุ้นผลักดันภายใน เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงมีอยู่ตลอดเวลา ปัจจัยทั้งสองเกิดขึ้นตลอดเวลา จึงต้องดำเนินการเปลี่ยนแปลงโดย ศึกษาการเปลี่ยนแปลง ค้นหาวิธีการที่ดีกว่า ทดลองวิธีใหม่ หล่อหลอมข้อดีเข้าด้วยกัน เพื่อบริหารการเปลี่ยนแปลงอย่างมีประสิทธิภาพ
รูปแบบ 3 ผลกระทบของปัจจัย ตามแนวคิดของ Harold J. Leavitt
ที่เชื่อว่าการเปลี่ยนแปลงเกิดจากผลกระทบที่เกิดขึ้นตลอดเวลาของ งาน โครงสร้าง เทคนิควิทยาการ และคน ทั้ง 4 ประการนี้เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงก็จะส่งผลกระทบเกี่ยวพันกัน และการเปลี่ยนแปลงบางเรื่องอยู่เหนือการควบคุม

          ดังนั้นผู้บริหารจึงต้องสนใจสิ่งที่เปลี่ยนแปลง สิ่งที่จะเปลี่ยนแปลง และผลกระทบที่เกิด หรือจะเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของแต่ละปัจจัย แนวโน้มของกระแสการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับองค์การ  ด้านโครงสร้าง (Structure)  องค์ประกอบของประชากร (Demographic)  เกิดจริยธรรมใหม่ของการทำงาน (New work ethic) การเรียนรู้และองค์ความรู้ (Learning and knowledge) เทคโนโลยีและการเข้าถึงสารสนเทศ (Technology and access to information) เน้นเรื่องความยืดหยุ่น (Emphasis on flexibility) ต้องพร้อมเผชิญต่อการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว (Fast-paced change) สิ่งที่ต้องพิจารณาเปลี่ยนแปลงในองค์การเป้าหมายและกลยุทธ์ เทคโนโลยี (Technology) การออกแบบงานใหม่ (Job redesign) โครงสร้าง (Structure) กระบวนการ (Process) คน (People) ผู้บริหารที่เป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงสู่คุณภาพการศึกษาเป็นผู้นำวิสัยทัศน์( visionary Leadership ) และสามารถกระจายวิสัยทัศน์ไปยังบุคคล ต่าง ๆ ได้ ใช้หลักการกระจายอำนาจ ( Empowerment ) และการมีส่วนร่วม ( Participation ) เป็นผู้มีความสัมพันธ์กับบุคลากร ทั้งภายในและนอกองค์กร มีความมุ่งมั่นในการทำงาน ผู้นำคุณภาพจะต้องมีความรู้ความสามารถในการใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีและใช้ข้อมูลสถิติ ในการวิเคราะห์และตัดสินใจ ให้การสนับสนุนและช่วยเหลือลูกน้อง ความสามารถในการสื่อสาร ความสามารถในการใช้แรงจูงใจ เป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง ( Chang Leadership ) ความท้าทายการเปลี่ยนแปลง (Challenges of Change)องค์การที่มีโครงสร้างองค์การชนิดที่มีสายการบริหารหลายขั้นตอนหรือสั่งการหลายชั้นภูมิจะอยู่รอดได้ยาก ในอนาคตองค์การต่าง ๆ ต้องประสานความร่วมมือกันโยงใยเป็นเครือข่าย ในขณะเดียวกันโครงสร้างภายในองค์การก็จะต้องกระจายความสามารถในการตัดสินใจให้กับกลุ่มงานต่าง ๆ ให้มากที่สุด และมีลำดับชั้นการบริหารน้อยที่สุด และต้องเปลี่ยนแปลงองค์การเพื่อรองรับและก้าวให้ทันความเจริญก้าวหน้าของเทคโนโลยี สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้

 

3. แง่คิดที่ได้จากเนื้อหา    การบริหารการเปลี่ยนแปลงเป็นสิ่งที่ท้าทายความสามารถของผู้บริหารมืออาชีพ  การบริหารการเปลี่ยนแปลงก็จะขึ้นอยู่กับการสร้างบรรยากาศความพร้อมขององค์กรเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้น การยอมรับร่วมกันในกลยุทธ์ เป้าหมาย  วิสัยทัศน์  การมีทีมผู้นำระดับสูงที่กระตือรือร้น  และมีวิสัยทัศน์กว้างไกล  รวมทั้งดำเนินการตามแผนการบริหารการเปลี่ยนแปลงที่วางไว้ให้เหมาะสมกับเวลาและสถานการณ์

ลงชื่อ  มยุรฉัตร   ธรรมวิเศษ ผู้บันทึก

 

หมายเลขบันทึก: 194429เขียนเมื่อ 16 กรกฎาคม 2008 00:29 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 23:06 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

"การเปลี่ยนแปลงที่มาจากแรงบีบภายนอก มักจะประสบความสำเร็จมากกว่าการเปลี่ยนแปลงที่มาจากความต้องการภายในองค์กร" อาจารย์มีความคิดเห็นอย่างไรก้บคำกล่าวนี้คะ

เห็นด้วยนะคะแต่ถึงอย่างไรก็ตาม แรงบีบภายนอกเป็นตัวกระต้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลงก็จริง หากความต้องการของคนภายในองค์กรไม่สอดคล้องกับแรงบีบนั้นก็มักจะเกิดการต่อต้านการเปลี่ยนแปลง นะคะ

ผู้บริหารจำเป็นอย่างยิ่งจะต้องมีการวางแผนการเปลี่ยนแปลงภายในองค์การ ซึ่งสามารถทำได้ตามขั้นตอนต่อไปนี้

1.สร้างความรู้สึกและความเห็นพ้องต้องกันในความจำเป็นเร่งด่วนที่ต้องเปลี่ยนแปลงองค์การ

2.รวบรวมแนวทางและสร้างพลังร่วมในความคิดเห็นที่สอดคล้องกันในการเปลี่ยนแปลง

3.พัฒนาและสร้างศรัทธาในวิสัยทัศน์และกลยุทธ์ขององค์การในการเปลี่ยนแปลงสู่อนาคต

4.พัฒนาความเข้าใจในวิสัยทัศน์อย่างกว้างขวางด้วยกระบวนการสื่อสารสู่ทุกระดับและทุกภาคส่วน

5.ให้อำนาจถ่ายโอนอำนาจให้บุคลากรขององค์การในการปฏิบัติและการดำเนินการตามวิสัยทัศน์

6.กำหนดเป้าหมายแห่งความสำเร็จในเบื้องต้นหรือในระยะแรกเริ่ม

7.รวบรวมพลังทั้งหมดในองค์การ เพื่อสร้างและพัฒนาให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทั้งองค์การ

8.จัดตั้งหน่วยงานเพื่อรองรับกับการเปลี่ยนแปลงตามวัฒนธรรมองค์การ

น่าจะนำไปประยุกต์ใช่ได้ในการรองรับการเปลี่ยนแปลงภายในองค์การ นะคะ

อ.เจตนาเรียนเอกนี้มา ช่วยต่อหน่อย

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท