หลักสูตรใหม่เรียนน้อยลงนำร่อง 555 แห่งปี 52 ใช้จริงปี 55


หลักสูตรใหม่เรียนน้อยลงนำร่อง 555 แห่งปี 52 ใช้จริงปี 55

หลักสูตรใหม่เรียนน้อยลงนำร่อง 555 แห่งปี 52 ใช้จริงปี 55

สพฐ.ส่งร่างหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานฉบับปรับปรุงให้ รมว.ศธ.ลงนามแล้ว เผยเด็กเรียนน้อยลง ตัดเนื้อหาซ้ำซ้อน กำหนด เวลาเรียนแต่ละช่วงชั้น ประถมไม่เกิน 1,000 ชั่วโมงต่อปี ม.ต้น ไม่เกิน 1,200 ชั่วโมงต่อปี และม.ปลายรวม 3 ปี ไม่เกิน 3,600 ชั่วโมง นำร่อง 555 แห่งในปี 2552 ก่อนทยอยใช้จริงปี 2555
             นางเบญจลักษณ์ น้ำฟ้า ผอ.สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) กล่าวว่า เมื่อวันที่ 7 ก.ค.สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ได้เสนอร่างหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2544 ซึ่งผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) ให้นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ รองนายกรัฐมนตรีและรมว.ศึกษาธิการพิจารณาลงนามก่อนประกาศใช้ในราชกิจจานุเบกษา
            ทั้งนี้ หลักสูตรใหม่นี้มี 8 กลุ่มเหมือนเดิมแต่เด็กจะเรียนน้อยลง เพราะกำหนดเวลาเรียนแต่ละช่วงชั้นไว้ชัดเจน ระดับประถมเรียนไม่เกิน 1,000 ชั่วโมงต่อปี ระดับม.ต้น ไม่เกิน 1,200 ต่อปี และม.ปลายรวม 3 ปี ไม่เกิน 3,600 ชั่วโมง หลักสูตรเก่าไม่มีการกำหนดชัดเจน และปรับลดมาตรฐานตัวชี้วัดจาก 76 เหลือ 67 โดยตัดมาตรฐานชี้วัดที่ซ้ำซ้อนกันออกไป
            นอกจากนี้ ยังกำหนดชัดเจนว่า แต่ละปีต้องมีเวลาเรียนขั้นต่ำในแต่ละสาระ เช่น ป.1 เรียนภาษาไทย 200 ชั่วโมง คณิตศาสตร์ 200 ชั่วโมง วิทยาศาสตร์ 80 ชั่วโมง สังคมศึกษา 80 ชั่วโมง สุขศึกษาและพลศึกษา 80 ชั่วโมง ศิลปะ 80 ชั่วโมง การงานอาชีพและเทคโนโลยี 40 ชั่วโมง และภาษาต่างประเทศ 40 ชั่วโมง กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน 120 ชั่วโมง ขณะที่หลักสูตรเดิมไม่มีการกำหนดไว้
            ทั้งนี้ มีการกำหนดโครงสร้างเวลาเรียนโดยในระดับประถมให้เน้นสอนวิชาภาษาไทยและคณิตศาสตร์ เพราะเป็นพื้นฐานการเรียนทุกวิชา ส่วนระดับม.ต้น เน้นภาษาไทย คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ สังคมศึกษา และภาษาต่างประเทศ ระดับ ม.ปลาย จะลดวิชาการเน้นทำกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนมากขึ้น โดยหลักสูตรใหม่จะนำร่องใช้ตั้งแต่ปีการศึกษา 2552 ในระดับ ป.1-ป.6 ,ม. 1 และ ม.4 ในโรงเรียนประถม มัธยม และโรงเรียนขยายโอกาสทั่วประเทศ 555 แห่ง เมื่อถึงปีการศึกษา 2553 เริ่มใช้จริงในทุกโรงเรียน จะเริ่มใช้ทีละชั้นปีจนครบทุกระดับชั้นปีในปี 2555
             ดร.สมเกียรติ ชอบผล รองเลขาธิการกพฐ. กล่าวถึงการปรับปรุงการสอบวัดประเมินผลระดับชาติ (เอ็นที) ระดับชั้นป.3 ซึ่งสพฐ.จัดสอบเองว่า นอกจากสอบภาษาไทย กับ คณิตศาสตร์แล้ว จะเพิ่มวิชาวิทยาศาสตร์ด้วย ข้อสอบจะมีข้อเขียน และเลือกตอบเพื่อวัดการอ่าน คิดวิเคราะห์ความรู้ที่แท้จริงของเด็ก ไม่ให้เด็กเดาข้อสอบได้
ที่มา - คมชัดลึก วันพฤหัสบดีที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2551

หมายเลขบันทึก: 194129เขียนเมื่อ 14 กรกฎาคม 2008 17:31 น. ()แก้ไขเมื่อ 9 มิถุนายน 2012 22:57 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

ครับ หลักสูตรใหม่ผมว่าดีที่เด็กได้เรียนน้อยลง ดูอเมริกาสิครับ เรียนวันนึง 3-4 ชั่วโมงกลับบ้านๆ แต่ก็ได้ความรู้เท่ากับเรียนเต็มวัน ที่เล่านี่ไม่ได้หมายถึงหัวนอกนะครับ แต่ ทำไมคนไทยอย่างพวกเรายังไม่สามารถทำให้เด็กไทยเก่งได้ทุกคนได้ เป็นเรื่องที่เราต้องหาคำตอบแล้วครับ

หลักสูตรท่ดีคือหลักสูตรท่พัฒนาศักยภาพเด็กได้อย่างมีคุณภาพ ไม่ใช่เปลี่ยนแปลงตามความเห็นของนักวิชาการ เปลี่ยนกันไปเปลี่ยนกันมาสับสนทั้งครูและนักเรียน

เราเป็นครูต้องสอนได้จะหลักสูตรไหนก็ต้องสอนให้นักเรียนเป็นเด็กดีมีความรู้คู่คุณธรรมแล้วกัน

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท