ตายอย่างสมศักดิ์ศรี….ที่ ม.อ.: ในมุมมองของเจ้าหน้าที่


ในมุมมองของเจ้าหน้าที่ เรามองเรื่องความคุ้มค่า การเสียเวลา การสิ้นเปลืองค่าใช้จ่าย การเสียโอกาสของผู้ป่วยรายอื่นฯลฯ

เนื่องจากโรงพยาบาลสงขลานครินทร์ ( หรือที่เรียกกันว่า  รพ.มอ.) เป็นรพ.ระดับตติยภูมิที่มีชื่อเสียงมานานของภาคใต้ เป็นรพ.ที่ได้รับรางวัลด้านพัฒนาคุณงานมาอย่างต่อเนื่องดังนั้นเมื่อเจ็บป่วย คนไข้หรือญาติก็อยากจะมารักษาที่รพ.มอ.  บางคนเจ็บป่วยเล็กๆน้อยๆ แทนที่จะไปรักษาที่รพ. ใกล้บ้าน ก็อุตส่าห์เสียค่ารถเดินทางมาจากที่ไกลๆ เสียเวลาเป็นวันๆเพื่อมาตรวจที่มอ.

           ในรายที่เจ็บป่วยมาก ๆ ญาติก็มีความหวังว่าไปรักษาที่รพ.มอ.เถอะ  มอ.รักษาได้เดี๋ยวก็หาย  ทำให้แต่ละวันมีผู้ป่วยมาใช้บริการมากมาย ส่งผลให้เจ้าหน้าที่มีงานล้นมือกันทุกวัน เมื่อเหนื่อยกันนานๆเข้า บางคนก็คิดว่า เอ๊ะ  โรคบางโรคไม่จำเป็นต้องมาที่นี่เลย โรงพยาบาลไหนๆก็รักษาได้  ไอ้ที่งานยุ่งๆกันอยู่ทุกวันเนี่ย เป็นคนไข้โรคทั่วๆไปเสียกี่เปอร์เซ็นต์            เราอยากรักษาเฉพาะโรคยาก โรคซับซ้อน ไม่อยากเสียเวลาไปกับโรคง่ายๆและอยากเก็บเตียงอันมีจำกัดนี้ไว้ให้ผู้ป่วยที่จำเป็นจริงๆที่ต้องรักษาโดยแพทย์เฉพาะทาง มากกว่า

                ในมุมมองของเจ้าหน้าที่ เรามองเรื่องความคุ้มค่า  การเสียเวลา   การสิ้นเปลือง ค่าใช้จ่าย  การเสียโอกาสของผู้ป่วยรายอื่นฯลฯ แต่ในมุมมองของญาติผู้ป่วย  ความศรัทธา ความเชื่อมั่น    ที่มีต่อโรงพยาบาล  ทำให้เขาคิดแค่ว่า ต้องไปมอ.เท่านั้น

หมายเลขบันทึก: 193985เขียนเมื่อ 13 กรกฎาคม 2008 21:00 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 01:01 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

เห็นด้วยเต็มประตูเลยครับ บางทีโรคพื้นฐานควรเป็นโรงพยาบาลอื่นๆ แบ่งภาระไป แต่บางทีก็แปลกใจนะครับว่า ทำไมเพียงการรักษาโรคพื้นฐาน โรงพยาบาลทั่วไปรักษาไม่หาย

เมื่อก่อน พ่อของดิฉัน ไม่ยอมไป รพ. ใกล้บ้าน บอกว่ารักษายังไงก็ไม่หาย ถ้าเจอ ผอ. ก็ดีไป  แต่หมอคนอื่นไม่ดูคนไข้ (ดิฉันได้แต่แปลกใจว่า ไม่ดูแล้วจะรักษาได้อย่างไร  พ่อก้อพูดเกินไป) ขอไป รพ.เอกชน ที่อำเภออื่น

เดี๋ยวนี้ ดีขึ้นแล้วค่ะ  รับยาควบคุมความดัน ที่ รพ.ใกล้บ้าน ไม่สบายก็ยอมไปตรวจที่นี่แล้ว  ดิฉันพยายามพูดให้พ่อมีความเชื่อมั่นในศักยภาพ  ความเอาใจใส่ของทีม รพ.

ขอยกความดีให้แก่ คุณหมอภักดี ที่พัฒนาทีม รพ.  จนทำให้คนดื้ออย่างพ่อ มีความเชื่อมั่นได้

ดิฉันว่า การให้ข้อมูลกับผู้ป่วยหรือญาติ เป็นเรื่องสำคัญนะคะ ถ้าเขารู้ว่า เป็นอะไร จะรักษาอย่างไร เขาจะรอเวลาได้

       ประสบการณ์ คือ ให้ครั้งที่ 1 บอกว่ายังไม่ได้

 ให้ครั้งที่ 2 บอกว่าลืม จำไม่ค่อยได้ 

ให้ครั้งที่ 3 เริ่มจำได้ แต่บางครั้งลืม

เฮ้อ

สวัสดีค่ะ อาจารย์จารุวัจน์

ตอนนี้ทางสถาบันพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาลกำลังพัฒนาให้แต่ละรพ.มีคุณภาพตามมาตรฐานเดียวกันอยู่ค่ะ รอหน่อยนะคะ

สวัสดีค่ะ คุณกระติก

รพ.ของเราน่าจะเจอเรื่องคนไข้เยอะคล้ายๆกันนะคะ

พี่นิตยาครับ

  • เดินทางเป็นวัน มารออีกเป็นชม. (อ้อ ตอนนี้ลดลงเป็นครึ่งชม.) เจอหมอไม่ถึงสิบนาที แล้วคุณหมอก็เอาแต่ดูคอมพิวเตอร์

อาจารย์เต็มศักดิ์คะ

ทั้งคุณหมอ ทั้งคุณพยาบาล

จ้องแต่คอมพิวเตอร์

เหมือนกันเลยค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท