แออัด 1


โครงการบริการประทับใจ ไร้ความแออัด พัฒนาเครือข่าย

แออัด 1

 

จากการนั่งมองระบบบริการของเรา เราก็จะเห็นว่าคนไข้เริ่มมาแน่นแออัดใน ร.พ.ไม่ใช่แน่นแบบธรรมดา....แต่แน่นมากๆ ก็กระบวนการค้นหาโรคก็..เครื่องติด...เดินหน้าแบบขยันขันแข็ง หาโรคที่หลบๆซ่อนๆอยู่  ขุดออกมาซะให้หมด...เครือข่ายก็เพิ่มมากขึ้นเรื่อย  เอาหละซิ  ในขณะที่คนทำงานทางสุขภาพก็เท่าเดิม  จะทำอย่างไร.......ถ้าทุกคนไม่จัดการทำอะไร อาจเป็นการนั่งรอเวลา ร.พ.ระเบิด ...และเมื่อเราพูดคุยกับคนที่มารับบริการ ทั้งคนที่มาเป็นคนป่วย  เป็นญาติบ้าง ก็พบว่า เค้าก็ไม่ได้อยากจะมาโรงพยาบาลกันบ่อยๆ... ก็โธ่... ค่าน้ำมันรถก็ปาไปเกือบจะ 50 บาท/ลิตร หยุดงานลางานมาบ่อยๆ ก็จะได้โรคทรัพย์จาง เพิ่มมาอีก..

 

เพราะฉะนั้นการแก้ไขต้องทำทั้งระบบ ทั้งยวง 1 2 -3  คือ พี่ใหญ่ (ร.พ.) และน้องน้อย(อนามัย) พี่ใหญ่ โดยตัวแทนคือ ทีมงานลดแออัด ต้องสร้างถนน แหม ไม่ใช้ถนนจริงๆ เปรียบเปรยนะ ถนนก็คือทางที่ทอดยาวไปให้ผู้ป่วยเดินไปรักษาที่ศูนย์สุขภาพชุมชนแบบสบายใจ เพราะฉะนั้นก่อนโครงการนี้จะเริ่ม เรามีประวัติศาสตร์มายาวนาน ในการดำเนินการพัฒนาความเข้มแข็งของศูนย์สุขภาพชุมชนทั้งอำเภอ (ใครสนใจต้องถาม อาจารย์นิพัธ เจ้าพ่อ FMและพี่โต้ง เจ้าแม่แห่งการพัฒนา ศูนย์สุขภาพชุมชน ) เราพัฒนาระบบการเชื่อมโยงประสานส่งต่อ ระบบข้อมูลผู้ป่วยอื่นๆ ฯลฯ

 

เรามีชื่อเล่น ๆของการพัฒนางานครั้งนี้ว่า โครงการลดแออัด ด้วยปรารถนาจากใจที่อยากให้คนป่วยของเราได้สะดวกสบายในการเลือกการใช้บริการ โดยเราเริ่มที่โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง และไขมันในเลือดสูงก่อน  เพราะเป็นโรคยอดฮิตและติดอันดับ Top ten ของผู้มารับบริการสูงสุด 5 ปี ซ้อน นะจะบอกให้

 

เราอยากให้ คนไข้ได้ใช้บริการใกล้บ้าน อย่างมีความสุข

                แพทย์ได้ตรวจคนไข้ อย่างมีความสุข

                เราเองและหลายๆ คน ก็ทำงานแบบสบายๆ อย่างมีความสุข

 

 

ความสุขจะผูกิดได้ กับทุกฝ่าย  ได้ก็ต้องเมื่อผู้ป่วยต้องได้รับบริการในแต่ละระดับอย่างมีคุณภาพยอดเยี่ยมตามระดับการรักษา

·        สุขได้เพราะคนไข้ที่จะกลับมา ศูนย์สุขภาพชุมชนใกล้บ้าน ก็มั่นใจว่า...ถึงสถานที่อนามัยจะไม่ใหญ่โตแต่บริการแบบผู้ป่วยนอก มีระบบทุกอย่างเชื่อมถึง ร.พ.

·        หมอสุขเพราะ การจะตัดสินใจส่งคนไข้ไปไกลหู ไกลตา ให้ ศูนย์สุขภาพชุมชนนั้น หมอต้องมั่นใจในการดูแลของเรา เจ้าหน้าที่มีความรู้นะ อาการผิดปกติส่งกลับได้ มียาครบตามที่ผู้ป่วยใช้ ฯลฯ

เขียนไปเดี๋ยวจะยาวเอาแบบสั่นๆ โครงการลดแออัด มาแล้วจ้า

 

        แพทย์ประจำ Zone เป็นนวัตกรรมที่ อาจารย์นิพัธ คิดมาเพื่อจัดบริการการพัฒนาศูนย์สุขภาพชุมชนเครือข่ายให้มีศักยภาพสูง (มากๆ) ในการดูแลกลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่จะส่งกลับ คนไข้ที่จะไปรับการดูแลที่ศูนย์สุขภาพชุมชนใกล้บ้านจะรู้ไหมนี่ว่า ทีมทำงาน ควบคุมกำกับดูแลแบบ VIP มากๆ เพราะระบบที่ถูกวางไว้มีทั้งระบบโทรศัพท์ปรึกษา แพทย์เจ้าของโซน on call ตลอดเวลาราชการ ในผู้ป่วยรายที่มีปัญหาหรือทีมสุขภาพต้องการปรึกษาการรักษา มีระบบการเพิ่มความรู้ ทักษะด้านต่างๆ โดยใช้การสอน (ต้องบอกว่ามากกว่าสอน) โดยแพทย์มาจัดการใส่ใจ หาวิธีให้คนทำงานทำงานได้ ให้ความรู้เรื่องอาหาร การใช้ยา การออกกำลังกาย มาตรฐานการรักษาแต่ละโรคฯลฯ โดยลงเยี่ยมศูนย์สุขภาพชุมชนเดือนละ 1ครั้ง ในฐานะคณะทำงานต้องบอกว่า Full option และอาจจะเป็นอีกก้าวของการgปลี่ยนแปลงในศูนย์สุขภาพชุมชน  (ต่อ ภาค 2)

 

ผู้เล่า รัชดา พิพัฒน์ศาสตร์

หมายเลขบันทึก: 193211เขียนเมื่อ 10 กรกฎาคม 2008 11:41 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 00:58 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

อ้อ พี่วัลลาทวงเรื่องเล่าคนต้นแบบจะนำไปตีพิมพ์ เสร็จงาน HA แล้วก็อย่าลืมนะใกล้ถึงวันงานแล้ว

เป็นกำลังใจให้นะอ้อนะ...เข้าไปที่กลุ่มงานพักนี้เห็นเพื่อนพ้องน้องพี่ทุกคนเคร่งเครียดกันจัง..มีอะไรให้ช่วยมั๊ยจ๊ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท