สาระสำคัญ ของหลักเกณฑ์และวิธีการประเมิน (ใหม่)


การปฏิับัติงานตามหน้าที่ของครู ผู้บริหารและศึกษานิเทศก์ เพื่อเด็กและคุณภาพการศึกษา

สาระสำคัญของหลักเกณฑ์และวิธีการประเมินวิทยฐานะครู (หลักเกณฑ์ใหม่)มีดังนี้

1.  คุุณสมบัติของผู้รับการประเมิน ซึ่งจะผันแปรตามวุฒิการศึกษา และไม่ได้กำหนดเงินเดือนขั้นต่ำไว้ สนับสนุนคนที่มีความรู้ความสามารถเข้ามาสู่วิชาชีพครู  สามารถก้าวกระโดด (Fast Track) ได้

2.  ภาระงานขั้นต่ำ คือต้องมีภาระงานสอนไม่ต่ำกว่า 18  ชั่วโมงต่อสัปดาห์ หากรวมเวลาการเตรียมการสอน ตรวจงาน และพบเด็กก็ต้องทำงาน 36 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ ซึ่งกระทรวงศึกษาธิการเคยวิเคราะห์ภาระงานของครูเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) ไปแล้ว

3.  การผ่านเกณฑ์การประเมิน  ต้องผ่านเกณฑืการประเมินใน 3  ด้านทุกสายงาน ทั้งสายงานการสอน สายงานบริหารสถานศึกษา สายงานบริหารการศึกษา และสายงานนิเทศการศึกษา ดังนี้

    3.1  ด้านวินัย คุณธรรม จริยธรรม จรรยาบรรณวิชาชีพ ใช้การประเมินผ่าน / ไม่ผ่าน ในระดับชำนาญการและชำนาญการพิเศษ ส่วนระดับเชี่ยวชาญต้องเป็นแบบอย่างที่ดีได้

    3.2  ด้านคุณภาพการปฏิบัติงาน จะพิจารณาจากสมรรถนะตามหน้าที่ความรับผิดชอบตามมาตรฐานตำแหน่งและวิทยฐานะแต่ละสายงาน และจากประจักษ์พยานการสอน (Teaching Portfolio) ตามเกณฑ์ที่กำหนด

    3.3  ด้านผลงานที่เกิดจากการปฏิบัติหน้าที่  สายผู้สอนจะพิจารณาจากผลการสอนและผลการพัฒนาที่เกิดขึ้นกับผู้เรียน ด้านผลสัมฤทธิ์ระดับชาติและพัฒนาการ ส่วนสายงานบริหารและศึกษานิเทศก์ นอกจากผลการปฏิบัิติงานแล้ว ก็จะใช้ผลการทดสอบระดับชาติมาประกอบการพิจารณาด้วย  โดยเฉพาะอย่างยิ่งผลต่อคุณภาพการศึกษาและต่อวงวิชาการและวิชาชีพ

4.  เกณฑ์การตัดสิน  เกณฑ์การผ่านแต่ละวิทยฐานะต้องเป็นเอกฉันท์ โดยวิทยฐานะชำนาญการ ได้คะแนนไม่ต่ำกว่าร้อยละ 65 วิทยฐานะชำนาญการพิเศษ ได้คะแนนไม่่่่ต่ำกว่าร้อยละ 70 วิทยฐานะเชี่ยวชาญ ได้คะแนนไม่ต่ำกว่าร้อยละ 75 และวิทยฐานะเชี่ยวชาญพิเศษ ได้คะแนนไม่ต่ำกว่าร้อยละ 80

5.  วิธีการประเมิน  สามารถยื่นคำขอได้ปีละ 1  ครั้ง (เมษายนหรือตุลาคม)  แบ่งเป็น การประเมินแบบปกติ มีกรรมการประเมิน 3 คน และการประเมินแบบพิเศษ ใช้กรรมการจากภายนอก 5 คน โดยเปิดโอกาสให้ผู้บังคับบัญชาสามารถขอรับการประเมินให้ครูและบุคลากรทางการศึกษาได้ ทีสำคัญก็คือ  การปรับเปลี่ยนความคิดใหม่ว่าวิทยฐานะเป็นผลจากการปฏิบัติงานตามหน้าที่ของครู ผู้บริหาร และศึกษานิเทศก์  เพื่อเด็กและคุณภาพการศึกษา  มิใช่การทำผลงานวิชาการเพื่อขอวิทยฐานะ ที่น่าสนใจยิ่งก็คือ ครูู ผู้บริหารและศึกษานิเทศก์มากกว่าร้อยละ 90  สนับสนุนการเปลี่ยนแปลงหลักเกณฑ์การมีและเลื่อนวิทยฐานะในครั้งนี้ ซึ่งจะได้ใช้หลักเกณฑ์ใหม่ตั้งแต่เดือน ตุลาคม 2551  เป็นต้นไป

หมายเลขบันทึก: 193150เขียนเมื่อ 9 กรกฎาคม 2008 22:33 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 16:06 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

ครูบางคนทำผลงานทางวิชาการไม่เป็นเพราะไม่เคยทำงานวิจัยมาก่อนและไม่ต้องการส่งผลงานแต่มุ่งสอนเด็กอย่างแท้จริงจนได้รับเกียรติบัตรและมีผลงานออกสู่สาธารณชน

จนเป็นที่ยอมรับน่าจะเปิดโอกาสให้มีการประเมินแบบเชิงประจักษ์

อยากถาม ว่าในทรรศนะชองรองฯขวัญ

แนวโน้ม/ทิศทาง การประเมินทางการศึกษา ในอนาคตน่าจะเป็น มีรูปแบบ /เน้นไปทางใดบ้างคะ ?

ใครยังไม่ได้ชำนาญพิเศษ ลองอ่านดู

ดีค่ะ คุณครูกลัวชั่วโมงน้อย แย่งกันสอน

ครับ ผมก็ว่าอย่างนั้น แต่ครูส่วนใหญ่สอนเก่งแต่เรื่องวิชาการพวกนี้ไม่ถนัด

ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์ดีมากเลยครับ ผมจะขอวิทยฐานะชำนาญการ ในตุลาคมนี้ครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท