คนจนเมือง : ภาพสะท้อนการทำงานที่หลงลืมรากของปัญหา


การทำงานกับคนจนเมืองที่จะสามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างยั่งยืนและบรรลุผลสำเร็จได้ ต้องไม่ลืมปรัชญาพื้นฐานของแนวคิดการพัฒนาชุมชนที่ว่า

คนจนเมือง : ภาพสะท้อนการทำงานที่หลงลืมรากของปัญหา

 

หลายฝ่าย ที่ทำงานกับคนจนเมืองอยู่ พยายามจัดกลุ่มคนจนเมืองให้เป็นระเบียบโดยพยายามแบ่งกลุ่มคนจนเมืองออกเป็นกลุ่มต่าง ๆ เพื่อจำแนกปัญหาที่เหมือนและแตกต่างกันตามสภาพความเป็นจริงที่ประสบอยู่

 

จากการที่ติดตามการทำงานของกลุ่มเครือข่ายองค์กรที่ทำงานกับคนจนเมืองอยู่พบว่า การจำแนกคนจนเมืองออกเป็นกลุ่มต่าง ๆ ตามเนื้องานของแต่ละองค์กรที่ทำงานอยู่นั้น สามารถจำแนกได้ดังนี้

1.       คนที่อาศัยในชุมชนแออัดขนาดใหญ่

2.       คนที่อาศัยในชุมชนแออัดขนาดกลาง

3.       คนที่อาศัยในชุมชนแออัดขนาดเล็ก

4.       คนที่อาศัยในชุมชนแรงงานย้ายถิ่น

5.       คนที่อาศัยในชุมชนบุกรุกใหม่

6.       คนไร้บ้าน

7.       คนเร่ร่อน

8.       คนที่อาศัยในพื้นที่สาธารณะ

9.       คนเร่ร่อนไร้บ้าน

สมาคมสร้างสรรค์กิจกรรมอิสรชน (องค์กรสาธารณประโยชน์) มีส่วนคาบเกี่ยวทำงานกับคนจนเมืองในอย่างน้อย 3 กลุ่ม ได้แก่ คนเร่ร่อน ,คนที่อาศัยในพื้นที่สาธารณะ และคนเร่ร่อนไร้บ้าน ถ้าถามว่า คนจนเมืองในอย่างน้อย 9 กลุ่ม ที่จำแนกตามสภาพแวดล้อมเป็นสำคัญมีความแตกต่างกันมากน้อยเพียงใด ในประเด็นนี้ สมาคมสร้างสรรค์กิจกรรมอิสรชน (องค์กรสาธารณประโยชน์) ได้พยายามติดตามข้อมูลการทำงานเบื้องต้นจากองค์การต่าง ๆ ทางสื่อมวลชนและการเผยแพร่ของแต่ละองค์กร พบว่า ส่วนใหญ่จะเน้นไปในเรื่องของการส่งเสริมการเข้าถึงรัฐสวัสดิการคล้าย ๆ กัน ทั้งทางด้าน ที่อยู่อาศัย สาธารณสุข การศึกษา และการประกอบอาชีพ เป็นสำคัญ

ในส่วนของกลุ่มเป้าหมายที่สมาคมสร้างสรรค์กิจกรรมอิสรชน (องค์กรสาธารณประโยชน์)ดำเนินการอยู่นั้น จะมีความแตกต่างไปจากกลุ่มอื่น ๆ อยู่บางตามสมควรในประเด็นของความต้องการและรากแท้ของปัญหา เพราะ คนเร่ร่อน คนที่อาศัยในพื้นที่สาธารณะ และคนเร่ร่อนไร้บ้าน ที่สมาคมสร้างสรรค์กิจกรรมอิสรชน (องค์กรสาธารณประโยชน์) ดำเนินการอยู่นั้น พบว่า ส่วนใหญ่เป็นคนที่เคยมีบ้าน เคยมีครอบครัว เคยมีหลักฐานต่าง ๆ ที่พึงจะได้รับการสนับสนุนรัฐสวัสดิการอยู่ตามสมควร แต่ เขาเหล่านี้ประสบกับปัญหานานาประการทำให้ต้องกลับกลายมาเป็นคนเร่ร่อน คนที่อาศัยในพื้นที่สาธารณะ และคนเร่ร่อนไร้บ้าน ในที่สุด

จากการทำงานสัมผัสคนกลุ่มนี้มาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2545 เรื่อยมาพบว่า ความต้องการที่สำคัญของคนกลุ่มนี้ กลับไม่ใช่ที่อยู่อาศัย หรือสวัสดิการอื่น ๆ ที่หลายหน่วยงานเพียรพยายามตั้งโจทย์และคิดบนพื้นฐานความต้องการของตนเองแล้วลงไปหยิบยื่นความช่วยเหลือในรูปแบบเสมือนการมีส่วนร่วม คนกลุ่มนี้ กลับเรียกร้องความเข้าอกเข้าใจ กำลังใจ และการยอมรับความเป็นตัวตนของเขาจากสังคมเป็นความต้องการขั้นพื้นฐาน ก่อนที่จะพัฒนาไปสู่ความต้องการด้านอื่น ๆ โดยเขามองว่า เขาต้องการความเข้มแข็งที่เกิดขึ้นจากกการเสริมพลังภายในที่ได้จากการยอมรับจากสังคมเสียก่อนว่า เขามีตัวตนอยู่ในสังคม ซึ่งในระยะหลังหลายหน่วยงานกำลังมองข้ามและละเลย เพราะมองว่า การทำงานเสริมพลังให้กับคนกลุ่มนี้ ทำได้ยากและมองเห็นภาพของการเปลี่ยนแปลงช้า ไม่เป็นรูปธรรม จึงพยายามระดมความช่วยเหลือในเชิงกายภาพเข้ามาก่อน โดยคิดไปเองว่า หากคนกลุ่มนี้ได้รับการสนับสนุนสัวสดิการด้านต่าง ๆ ที่จำเป็นต่อการยังชีพแล้ว จะสามารถทำงานพัฒนาในด้านอื่น ๆ ต่อเนื่องได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่ในทางกลับกัน จะพบว่า เมื่อคนกลุ่มนี้บางคน บางกลุ่ม ได้รับการสนับสนุนสวัสดิการต่าง ๆ เพียงพอต่อความต้องการของตนเองแล้ว ก็จะเพิกเฉยต่อการมีส่วนร่วมในด้านการพัฒนาด้านอื่น ๆ ต่อเมื่อมีปัญหาอื่น ๆ ที่เกิดขึ้นใหม่แล้วส่งผลกระทบโดยตรงต่อพวกเขา จึงจะกลับมารวมตัวกันเรียกร้องต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกันครั้งหนึ่ง

สมาคมสร้างสรรค์กิจกรรมอิสรชน (องค์กรสาธารณประโยชน์) ทำงานแนวคิดกับคนเร่ร่อนไร้บ้านจำนวนหนึ่งจนเกิดแรงขับจากภายในของเขาเองจนในที่สุดดิ้นรนกลับถิ่นฐานบ้านเกิดของตนเอง และกลับไปพลิกฟื้นชีวิตของตนเองจากต้นทุนที่มีอยู่ในภูมิลำเนาที่แต่ละคนจากมา หลายคนล้มลุกคลุกคลาน หลายคนประสบความสำเร็จ แต่ทุกคน ก็ยืนหยัดภายใต้กำลังใจและลำแข็งของตนเอง โดยไม่จำเป็นต้องทนอยู่เป็นคนจนเมือง ที่รอการหยิบยื่นเศาเนื้อเศากระดูกจากนายทุนที่ผลัดกันเขามาควบคุมดูแลบ้านเมือง ทั้งทางตรงและเป็นกองหนุนอยู่ด้านหลังพรรคการเมืองที่เขาเหล่านั้นสนับสนุนอยู่

การทำงานกับคนจนเมืองที่จะสามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างยั่งยืนและบรรลุผลสำเร็จได้ ต้องไม่ลืมปรัชญาพื้นฐานของแนวคิดการพัฒนาชุมชนที่ว่า

จะปลูกพืชต้องเตรียมดิน

จะกินต้องเตรียมอาหาร

จะพัฒนาการต้องเตรียมที่คน

จะพัฒนาคนต้องพัฒนาที่จิตใจ

จะพัฒนาใครเขาต้องเริ่มที่ตัวเราก่อน

หมายเลขบันทึก: 193023เขียนเมื่อ 9 กรกฎาคม 2008 11:33 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 00:57 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท