องค์กรพยาบาล-ศูนย์8
กลุ่มการพยาบาล โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ศูนย์อนามัยที่ 8

เรื่องเล่า :ย้อนกลับไปถึงที่มาของเทคนิคการนับลูกดิ้น


   

จากกิจกรรมKM ของงานฝากครรภ์ พี่จีแกนของกลุ่มก็ได้นำประสบการณ์ของทุกคนมาเล่าโดยใช้ โมเดลต้นไม้ ซึ่งมีส่วนประกอบสำคัญ 3 ส่วนในการที่จะรวมองค์ความรู้ทั้งหมดส่วนแรกก็คือ

1.       รากเป็นส่วนของความคิดและความเชื่อของคนในการที่จะทำงาน

2.       ลำต้นเป็นส่วนของเครื่องมือและบริบทในการทำงาน

3.       ผลเป็นส่วนของผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นมา

ให้แต่ละคนถอดบทเรียนจากประสบการณ์จริงแล้วนำมาสกัดสังเคราะห์เป็นต้นไม้รวมต้นเดียวซึ่งนำมาสรุปผลการเรียนรู้เป็นต้นไม้ต้นเดียวกัน

ส่วนแรกคือส่วนของรากสรุปได้ว่า

1.       หลายๆ ท่านจากที่ประชุมกลุ่มมีความเชื่อว่าการสอนผู้รับบริการในการนับลูกดิ้นนั้นมีความสำคัญเพราะจะได้เป็นตัวช่วยประเมินสุขภาพของทารกในครรภ์ป้องกันเด็กตายในครรภ์มารดาได้ ซึ่งข้อนี้ถือเป็นปัจจัยอันแรกในการที่จะช่วยให้เขาอยากจะปฏิบัติหน้าที่ในการทำงาน

1.       หลายๆ ท่านเชื่อว่าการนับลูกดิ้นจะช่วยป้องกันเด็กตายในครรภ์มารดาและถ้าผู้รับบริการมีการรับรู้ในสิ่งเหล่านี้ดีพอเจ้าหน้าที่สนในมีเวลาให้ผู้รับบริการเต็มที่ก็จะช่วยให้เขาปฏิบัติอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ตั้งครรภ์ได้  28 สัปดาห์จนถึกคลอด

จากข้อข้างต้นจะเห็นว่าเจ้าหน้าที่มีความเชื่อในสิ่งเหล่านี้ก่อนเขาถึกจะทำได้ถ้าเขาไม่เชื่อเขาก็จะเกิดความรู้สึกที่ไม่อยากจะทำซึ่งหลายๆท่านก็สรุปได้ว่า

1.    อันแรกก็คือต้องมีความเชื่อว่า การนับลูกดิ้นสำคัญ

2.       อันที่สองก็คือต้องมีความเชื่อว่า เด็กตายในครรภ์มารดาสามารถป้องกันได้

3.       อันทีสามก็คือต้องมีความเชื้อว่า การที่ผู้รับบริการจะนับลูกดิ้นอย่างต่อเนื่องได้นั้นจะต้องมีความเข้าใจถึงประโยชน์ของการนับลูกดิ้นและมีแรงจูงใจเขาถึงจะปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง

ส่วนที่สองคือส่วนของลำต้นสรุปได้ว่า

1.       การสอนนับลูกดิ้นนั้นน่าจะเป็นการสอนแบบบูรณาการ คือเริ่มตั้งแต่โรงเรียนพ่อแม่ ห้องฝากครรภ์ ห้องคลอดและหลังคลอด เพื่อจะได้เป็นตัวกระตุ้นให้มารดาได้ปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง

2.       เมื่อมีการทำงานเป็นทีมโดยสอนในแต่ละจุดบริการทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ซึ่งจากการเรียนรู้ในเท่าๆ กันในแต่ละจุดทำให้คนทำงานมีความสุขเกิดสัมพันธภาพที่ดี

3.       ผู้รับบริการได้รับการเน้นในเรื่องการสอนการนับลูกดิ้นมากขึ้นจึงเห็นความสำคัญทำให้เกิดการปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง

เมื่อมองภาพโดยรวม ผลจากการทำงานตรงนี้จากกระบวนการทั้งหลายที่เล่ามาทำให้เขาเกิดการเรียนรู้จากการพัฒนางาน คือทุกๆด คน ในหน่วยงานต้องการทำงานอย่างมีความสุขในหน่วยงาน

ปัจจัยที่ช่วยให้การาทำงานสำเร็จและปัจจัยที่เป็นอุปสรรคก็คือ

1.       การที่มีหลายๆ คนร่วมมือกัน ( อาจจะรวมถึงครอบครัวของผู้รับบริการ ) มีแนวทางการสอนแบบเดียวกัน ก็จะเป็นตัวที่ช่วยสนับสนุ่นให้การสอนการนับลูกดิ้นดีขึ้น

2.       ปัจจัยที่เป็นอุปครรภ์ในการสอนนับลูกดิ้นก็คือ ภาระงานที่หนักมากขึ้นทำให้ไม่มีเวลาให้กับผู้รับบริการมากเท่าที่ควร

3.       ปัจจัยที่ผู้รับบริการและครอบครัวไม่เห็นความสำคัญทำให้ขาดความต่อเนื่องในการนับลูกดิ้น

จากที่ประชุมกลุ่มให้มีการถอดบทเรียนหลายๆ ท่านก็บอกว่าถ้าสิ่งเหล่านี้ดีขึ้นก็จะช่วยให้งานการสอนการนับลูกดิ้นมีประสิทธิภาพมากขึ้นและงานก็สำเร็จมากขึ้นด้วย

                                                                                     ข้อมูลจาก..คุณจริยาและทีมงานฝากครรภ์ค่ะ

"เป็นว่าตอนนี้ก็ทดลองใช้กันแล้วนะคะ ได้แนวทางการสอนร่วมกันแล้ว ทั้งANC,โรงเรียนพ่อแม่แล้วก็ห้องคลอด  ตั้งแต่มค.51-ปัจจุบันกค.51 ยังไม่พบDFU เลยคะ แล้วหวังว่าไม่พบอีกตลอดไป ไชโย!! "

หมายเลขบันทึก: 192894เขียนเมื่อ 8 กรกฎาคม 2008 19:36 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 00:56 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)
  • แล้วถ้าทำให้คุณแม่เชื่อถือ ศรัทธา วิธีการนี้ให้ได้แล้ว
  • จะทำให้คุณแม่เขาเกิดความอยาก ที่จะเรียนรู้วิธีการนับลูกดิ้น ได้ด้วยตนเองไหมคะ
  • เอ่อ แล้ว DFU คืออะไรคะ
  • ส่วนความอยากโรงเรียนพ่อแม่จะเป็นฝ่ายกระตุ้นตอนมาเข้าclass 2 เรื่องพัฒนาการในครรภ์ตอนอายุครรภ์ประมาณ 16-20 สัปดาห์คะ
  • DFU =dead fetus in utero คะ นับการเสียชีวิตตั้งแต่ 28 สัปดาห์ขึ้นไป

อยากให้เพิ่มที่มาอีกนิด ในเรื่องของ วิธีการนับลูกดิ้นนะค่ะว่าที่รพ.เราใช้วิธีไหน

เพราะมีหลายวิธีและวิธีที่เราเลือกนั้นมันง่ายและดีอย่างไร

เห็นว่ามีนวตกรรมที่รร.พ่อแม่ด้วยนี่นาที่เราสร้างความตระหนัก(ไม่ใช่ความกลัว)ให้แม่

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท