จะเริ่มต้นดำเนินการนิเทศภายในอย่างไร


การนิเทศภายในโรงเรียน

จะเริ่มต้นดำเนินการนิเทศภายในอย่างไร

                การนิเทศภายในโรงเรียน เป็นการปฏิบัติงานร่วมกันระหว่างผู้บริหารโรงเรียนกับครูในโรงเรียน  ในการที่จะแก้ไข  ปรับปรุง  พัฒนาการทำงานของครูให้มีประสิทธิภาพ  และส่งผลต่อคุณภาพของนักเรียน

                โดยสภาพการปฏิบัติจริงๆของโรงเรียนส่วนใหญ่ได้มีการดำเนินงานต่างๆ  ในรูปของการปฏิบัติงานร่วมกันอยู่แล้ว  เช่น

-          การจัดประชุม  สัมมนาครู

-          พาครูไปศึกษาดูงาน

-          การเชิญวิทยากรมาให้ความรู้

-          การจัดให้มีคณะกรรมการต่างๆ เช่น  กรรมการกลุ่มประสบการณ์  กรรมการสายชั้น  กรรมการโครงการ/กิจกรรมต่างๆ ฯลฯ

                แต่การดำเนินงานดังกล่าวยังไม่เป็นระบบ  และเป็นไปตามขั้นตอนหรือวิธีการของการนิเทศภายในโรงเรียน  ซึ่งมีขั้นตอนดังนี้

       การเตรียมการก่อนการนิเทศภายในโรงเรียน

                                1.  สร้างความเข้าใจร่วมกัน  โดยให้ครูรู้เรื่องแนวทางการดำเนินงานและให้ความรู้กับครูทุกคนในเรื่องต่อไปนี้

                                                -  ความหมาย ความสำคัญ และความจำเป็นของการนิเทศภายในโรงเรียน

                                                -  จุดมุ่งหมายของการนิเทศภายในโรงเรียน

                                                -  เป้าหมายและตัวบ่งชี้ความสำเร็จของการนิเทศภายในโรงเรียน

                                                -  กระบวนการนิเทศภายในโรงเรียน

                                                -  บทบาทหน้าที่ของทุกฝ่ายในโรงเรียน

                                2.  จัดให้มีคณะกรรมการต่างๆ  ตามลักษณะของงาน  หรือตามสภาพของโรงเรียนในกรณีที่โรงเรียนมีคณะกรรมการต่างๆ  อยู่แล้ว  ควรปรับให้เป็นระบบของการดำเนินงานนิเทศภายใน

                                3.  กำหนดบทบาทหน้าที่ของผู้ที่เกี่ยวข้องกับการนิเทศภายในโรงเรียนซึ่งจะมีทั้งผู้นิเทศ  ผู้รับการนิเทศ  และผู้สนับสนุนการนิเทศ  โดยทำความเข้าใจรวมกันอย่างชัดเจน  จะทำให้บุคคลากรทุกฝ่ายปฏิบัติงานด้วยความสบายใจ  ขณะเดียวกันก็ช่วยลดความรู้สึกขัดแย้งอีกด้วย

                                     3.1)  บทบาทและหน้าที่ของผู้บริหารโรงเรียนกับการนิเทศภายในโรงเรียน

                                                ผู้บริหารโรงเรียนซึ่งมีฐานะเป็นทั้งผู้นิเทศ  และผู้สนับสนุนการนิเทศควรมีบทบาทและหน้าที่  ดังนี้

                                                1)  เป็นผู้นิเทศภายในโรงเรียน

                                                2)  ส่งเสริมให้ครูมีความรู้  ความเข้าใจเกี่ยวกับการนิเทศภายในโรงเรียนอย่างแท้จริง

                                                3)  ร่วมประชุมวางแผน  การนิเทศภายในโรงเรียนกับผู้นิเทศ  และครูในฐานะประธานคณะกรรมการ

                                               4) พิจารณาอนุมัติโครงการนิเทศภายในโรงเรียนที่สอดคล้องกับนโยบายและแผนงานของโรงเรียน

                                                5)  เป็นผู้ประสานงานระหว่างผู้นิเทศและผู้รับการนิเทศ

                                                6)  ให้การสนับสนุนทั้งด้านอุปกรณ์  งบประมาณ  ขวัญ  และกำลังใจในการดำเนินโครงการ

                                                7)  ให้คำปรึกษาแนะนำและเป็นวิทยากรที่ดีแก่ผู้นิเทศ  และผู้รับการนิเทศ

                                                8)  ช่วยเหลือและส่งเสริมให้ครูมีความรู้และพัฒนาการทางวิชาชีพ

                                                9)  ให้เทคนิคการบริหารมาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพ  ในการนิเทศภายในโรงเรียน

                                                10)  ติดตามและประเมินผลการจัดการนิเทศภายในโรงเรียน

                                     3.2)บทบาทและหน้าที่ของผู้ช่วยผู้บริหารโรงเรียนกับการนิเทศภายในโรงเรียน

                                                1) เป็นผู้นิเทศภายในโรงเรียน

                                                2) รวมวางแผนและวิเคราะห์โครงการนิเทศภายในโรงเรียน

                                                3) รวบรวมโครงการ  จัดทำแผนงาน  และปฏิทินปฏิบัติงานนิเทศภายในโรงเรียน

                                                4)ห้คำปรึกษา  และให้ความรู้ความเข้าใจ  แนวทางการนิเทศภายในโรงเรียน

                                               5) เป็นผู้ประสานงานกับบุคลากรภายนอกที่จะมาช่วยงานนิเทศภายในโรงเรียน  เช่น  ศึกษานิเทศก์  ผู้เชี่ยวชาญและวิทยากรจากสถาบันต่างๆ

                                                6) เป็นผู้ประสานงานระหว่างผู้นิเทศกับผู้รับการนิเทศ

                                      7) ติดตามผลและประเมินผล  รวมทั้งควบคุมคุณภาพการดำเนินงานโครงการนิเทศภายในโรงเรียนทุกโครงการ

                                              8) ให้บริหารสนับสนุนและอำนวยความสะดวกในเรื่องอุปกรณ์  วัสดุครุภัณฑ์  รวมทั้งการบำรุงขวัญ  และกำลังใจอย่างสม่ำเสมอ  แก่ผู้ดำเนินงานโครงการและผู้ร่วมโครงการ

                                                9) รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับการดำเนินงานตามโครงการ  และจัดทำสถิติแสดงความก้าวหน้าของโครงการเป็นรายเดือน  รายภาคเรียนและรายปี

                                               10) สรุปผลการดำเนินโครงการแจ้งให้บุคคลากรทุกคนในโรงเรียนทราบและรายงานต่อผู้บริหารโรงเรียน  และหน่าวยงานที่เกี่ยวข้อง

                                      3.3)  บทบาทหน้าที่ของหัวหน้ากลุ่มประสบการณ์กับการนิเทศภายในโรงเรียน

                                                หัวหน้ากลุ่มประสบการณ์ทุกกลุ่มโรงเรียนเป็นผู้ที่รับผิดชอบโดยตรงต่องานวิชาการ  ในกลุ่มประสบการณ์ของตน  เป็นผู้ที่มีความใกล้ชิดกับครูผู้สอนในกลุ่มประสบการณ์เดียวกัน  รวมทั้งเข้าใจในปัญหาและความต้องการของครูเหล่านั้นเป็นอย่างดี  ซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการที่จะดำเนินโครงการนิเทศภายในโรงเรียนให้บรรลุวัตถุประสงค์เป็นอย่างดี  บทบาทและหน้าที่ของหัวหน้ากลุ่มประสบการณ์  ควรมีดังนี้

                                                1) จัดการประชุมครูในกลุ่มประสบการณ์เดียวกัน  เพื่อวิเคราะห์ปัญหา  ความต้องการจำเป็นในการจัดการเรียนการสอน

                                                2) จัดการประชุมครูเพื่อวางแผนการดำเนินงานเกี่ยวกับการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน

                                                3) เป็นผู้นิเทศภายในโรงเรียนตามกลุ่มประสบการณ์ที่รับผิดชอบ

                                                4) ให้คำปรึกษาแนะนำแก่ครูเกี่ยวกับการใช้หลักสูตรแต่ละระดับชั้น

                                               5) จัดให้มีกิจกรรมการนิเทศภายในโรงเรียน  ตามความเหมาะสมกับสภาพความต้องการจำเป็น  เช่น  การอบรมประชุมปฏิบัติการ  ทัศนศึกษา  การสาธิตการสอน  การสังเกตการสอน  การจัดทำเอกสารเผยแพร่ความรู้แก่ครู  ฯลฯ

                                                6) ให้บริหาร  สนับสนุน  และอำนวยความสะดวกในเรื่องวัสดุ  อุปกรณ์  ครุภัณฑ์ต่างๆ  รวมทั้งการบำรุงขวัญและกำลังใจอย่างสม่ำเสมอแก่ครูที่ร่วมในโครงการ

                                                 7)  ติดตามผลการปฏิบัติงานของครูในกลุ่มประสบการณ์

                                                8) จัดใหมีการประชุม  อภิปรายผลการปฏิบัติงานของกลุ่มประสบการณ์อย่างสม่ำเสมอ  เพื่อวิเคราะห์ปัญหาและอุปสรรค์ในการปฏิบัติงาน  และวางแนวทางปรับปรุงแก้ไขตลอดจนวางแผนการปฏิบัติงานขั้นต่อไป

                                     3.4)  บทบาทหน้าที่ของครูกับการนิเทศภายในโรงเรียน

                                                ในการนิเทศภายในโรงเรียน  ครูผู้สอนอาจต้องปฏิบัติหน้าที่ในสองบทบาท  คือ  บางครั้งเป็นผู้ทำหน้าที่นิเทศและบางครั้งเป็นผู้รับการนิเทศ

                                                1)  บทบาทและหน้าที่ของครูผู้สอนในฐานะผู้นิเทศ  ควรเป็นดังนี้

                                                     -  ร่วมวางแผนในการปฏิบัติงาน  โดยมีส่วนร่วมในการวิเคราะห์สภาพปัญหา  และความต้องการ  รวมทั้งวางแนวทางในการปฏิบัติงาน

                                                     -  เป็นวิทยากรให้ความรู้ในสิ่งที่จะปฏิบัติ  หรือเชิญวิทยากรจากแหล่งวิชาการอื่นมาช่วยให้ความรู้แก่ผู้รับการนิเทศ

                                                     -  ดำเนินการนิเทศการปฏิบัติงาน  โดยการมีส่วนร่วมในการทำงานให้คำแนะนำปรึกษา  ให้การช่วยเหลือ  ช่วยแก้ไขจุดบกพร่อง  และชี้แนะให้ผู้รับการนิเทศได้พัฒนาตนเอง

                                                     -  สร้างขวัญและกำลังใจแก่ผู้รับการนิเทศ  เพื่อกระตุ้นและสนับสนุนให้ผู้รับการนิเทศได้พัฒนาตนเองด้วยความมั่นใจ

                                                     -  ดำเนินการประเมินผลการจัดการนิเทศการศึกษา  เพื่อหาทางปรับปรุงแก้ไขจุดบกพร่องต่างๆ  และเพื่อหาทางยกระดับคุณภาพของการปฏิบัติงาน

                                                2)  บทบาทและหน้าที่ของครูผู้สอนในฐานะผู้รับการนิเทศ  มีดังต่อไปนี้

                                                     -  ให้ความร่วมมือกับผู้นิเทศ  ในการร่วมประชุมวางแผนแก้ปัญหาภายในโรงเรียน  โดยแสดงความคิดเห็นและอภิปรายอย่างเต็มความสามารถ

                                                      -   รับฟังความคิดเห็น  และข้อเสนอแนะ  แล้วนำไปปฏิบัติ

                                                      -   ตั้งใจปฏิบัติงานตามหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายอย่างเต็มความสามารถ

                                                      -  ให้ความร่วมมือผู้นิเทศเป็นอย่างดี  ในเรื่องของการติดตาม  ประเมินผลการปฏิบัติงาน

                                                      -  ร่วมปรึกษากับครูผู้นิเทศ  ในการหาแนวทางแก้ปัญหาและพัฒนางานในโรงเรียน

                                                      -  เป็นผู้ที่มีส่วนร่วมในการนิเทศการสอนในชั้นเรียน

                                                     - เป็นผู้ที่ใฝ่หาความรู้  พยายามเสริมสร้างทักษะและความสามารถในการปฏิบัติงาน  เพื่อให้เกิดเจตคติที่ดีต่อการพัฒนาวิชาชีพ

หมายเลขบันทึก: 192769เขียนเมื่อ 8 กรกฎาคม 2008 05:36 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 15:44 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

มาเพื่อเยี่ยมเยียนและนิเทศการเรียนการสอน...นิ

ขอบคุณ คุณรองขวัญค่ะ สรุป การนิเทศคือการแนะนำ พาทำอย่างมีหลักการ เป้าหมายคือพัฒนาคุณภาพผู้เรียนถูกต้องไหมคะ

นางพนิดา อินทจันทร์

เทศบาลนครยะลาได้จัดเวทีเสวนางานตลาดนัดความรู้ ดิฉันได้รับผิดชอบเป็นผู้ประสานงานและพิธีกรบนเวทีเสวนาในหัวข้อ งานนิเทศภายในโรงเรียน อยากขอคำปรึกษาในข้อคำถามเพื่อให้ผู้เชี่ยวชาญได้สนทนาและบรรลุความสำเร็จที่ทำให้ผู้เข้าประชุมได้รับความรู้ในงานนิเทศและผลประโยชน์ของการดำเนินงานนิเทศ จึงขอคำปรึกษาด่วนเลยค่ะ

นางสาว พันธิตรา ราชแพทยาคม

อยากได้ประวัติโรงเรียน ท.1 อ่ะคร่ะ ตั้งแต่เริ่มจนถึงปัจจุบัน

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท