การจัดการคุณภาพ มรภ. ศูนย์ใน การจัดการฯ รุ่น 501 กลุ่ม K5


การจัดการคุณภาพ มรภ. ศูนย์ใน การจัดการฯ รุ่น 501 กลุ่ม K5

การจัดการคุณภาพ มรภ. ศูนย์ใน การจัดการฯ รุ่น 501 กลุ่ม K5

หมายเลขบันทึก: 192673เขียนเมื่อ 7 กรกฎาคม 2008 16:11 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 18:27 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (113)
นายชีวัน พินธประกัง 5050504512 การจัดการทั่วไป รุ่น 11 หมู่ 5

การจัดการคุณภาพ (Quality Management) จากความหมายของคำว่าคุณภาพมาสู่แนวทางการดำเนินการเพื่อคุณภาพที่ดีนั้นได้มีคำหลายคำที่ใช้ในการบ่งบอกถึงการปฏิบัติการเกี่ยวกับคุณภาพ เช่น ระบบคุณภาพ การควบคุมคุณภาพ การประกันคุณภาพ หรือ การบริหารงานคุณภาพ ฯลฯ ซึงมีความหมายแตกต่างกันดังต่อไปนี้

การควบคุมคุณภาพ (Quality Control หรือ QC) หมายถึง กิจกรรมและกลวิธีการปฏิบัติเพื่อสนองความต้องการด้านคุณภาพภายในธุรกิจ โดยการตรวจสอบ การวัด และการทดสอบที่มุ่งจะควบคุมวัตถุดิบ กระบวนการ และการกำจัดสาเหตุของข้อบกพร่องที่เกิดขึ้นจากการดำเนินการทั้งหมด เช่น การสุ่มตัวอย่างน้ำผลไม้กระป๋องมาตรวจสอบรสชาติ การควบคุมคุณภาพเน้นการตรวจสอบและแยกแยะของดีและของเสียออกจากกัน โดยระบุเป็นร้อยละของของเสียที่พบจากล็อตการผลิต เพื่อควบคุมมิให้ของเสียมีมากเกินกว่าที่กำหนดและในปัจจุบันการควบคุมคุณภาพมุ่งเน้นที่ของเสียต้องเป็นศูนย์ (Zero Defect)

การประกันคุณภาพ (Quality Assurance หรือ QA) หมายถึง การดำเนินการเพื่อสุขภาพตามระบบและแผนงานที่วางไว้อย่างเคร่งครัด เพื่อที่จะมั่นใจได้ว่าผลิตภัณฑ์หรือบริการมีคุณภาพตามที่ลูกค้าต้องการ เช่น การดำเนินงานตามมาตรฐานคุณภาพสากล ISO 9000

การบริหารคุณภาพ (Quality Management หรือ QM) หมายถึง การจัดการระบบคุณภาพโดยทุกคนที่เกี่ยวข้องทั้งภายในและภายนอกองค์การรับผิดชอบต่องานที่ตนเองกระทำอย่างเต็มที่เพื่อให้สินค้าและบริการเป็นไปตามต้องการของลูกค้า เช่น การใช้ระบบการบริหารคุณภาพสมบูรณ์แบบ (Total Quality Management หรือ TQM) วัตถุประสงค์หลักของการบริการคุณภาพ คือ การผลิตสินค้าหรือบริการที่ตอบสนองความต้องการของลูกค้า ซึ่งความต้องการของลูกค้าจะเป็นกรอบกำหนดระบบคุณภาพขององค์การทั้งทางตรงและทางอ้อม ดังนั้นการบริหารคุณภาพจะมุ่งสร้างความพึงพอใจให้แก่ลูกค้าเป็นสำคัญ

นายประดิษฐ์ บุบผาวัลย์ 5050504521 การจัดการทั่วไปรุ่น 11 หมู่ 5

การจัดการคุณภาพตามวิธีการของ TQM.

TQM. เป็นวิธีการจัดการธุรกิจวิธีหนึ่ง โดยยึดหลักปรัชญาที่ว่า "การจัดการที่ดีที่สุดของการดำเนินธุรกิจ คือการขยายการตลาด และการทำกำไร โดยการขายผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพและให้บริการเป็นที่พอใจแก่ลูกค้า" TQM.เป็นวิธีการทางวิทยาศาสตร์ มีการทำงานโดยมีระบบและทั่วทั้งบริษัท กล่าวอีกนัยหนึ่ง TQM.เป็นการจัดการธุรกิจ โดยมีเป้าหมายหลัก คือการประกันคุณภาพของสินค้า และบริการเป้าหมายของการจัดการ TQM.คือ

1.การลดต้นทุนการผลิตและค่าใช้จ่ายอื่นๆ

2.การขยายตลาด ผลิตภัณฑ์ และบริการ

3.การเพิ่มผลผลิต

4.การขนส่งให้เร็วขึ้น เป็นต้น

TQM.ประกอบด้วย

1. การคิด (Thinking) และความมีเหตุและผล(Scientific)

2. วิธีการ (Techniques) หรือความมีระบบ (Systematic)

3. การจัดรูปองค์กรและวิธีการบริหาร

4.ทุกคน ทุกแผนกมีส่วนร่วม (Company wide)

การดำเนินการตามวิธี TQM.คือการนำองค์ประกอบทั้งสี่ประการนี้มาใช้เพื่อให้เกิดผลในทางปฏิบัติ และบรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้ กิจกรรมที่ต้องทำได้แก่

1.ศึกษาสภาพปัจจุบันของสินค้าหลักของบริษัท โดยใช้ตัวเลขข้อมูลเป็นหลักในการศึกษาและวิเคราะห์

1.1 ศึกษาความต้องการด้านคุณภาพของลูกค้าที่สำคัญ และเปรียบเทียบสินค้าของบริษัทกับของบริษัทคู่แข่งทางด้านมาตรฐานของสินค้า

1.2 ศึกษาสินค้าที่ไม่ได้คุณภาพที่ตรวจพบภายในบริษัท และที่ลูกค้าต่อว่ามา และ

1.3 ความเชื่อถือได้และความปลอดภัยในการใช้สินค้านั้น

2.การจัดกลยุทธ์ด้านคุณภาพโดยอาศัยข้อมูลตามข้อ1.

2.1 ถ้าพบว่าคุณภาพผลภัณฑ์ของบริษัทด้อยกว่าคู่แข่งขัน กลยุทธ์ที่ใช้คือ ต้องติดตามอย่างใกล้ชิดและพยายามแซงหน้าคู่แข่ง

2.2 ถ้าผลิตภัณฑ์ของบริษัทดีกว่าคู่แข่งขัน กลยุทธที่ใช้คือ พยายามรักษาระดับคุณภาพและปรับปรุงคุณภาพให้ดีขึ้นเรื่อยๆ ทั้งนี้โดย

การวิจัยตลาด เพื่อให้ทราบความต้องการในคุณภาพสินค้า

เทคนิคที่ใช้ในการวิจัยตลาด จะชี้ให้เห็นถึงความสำเร็จ หรือความล้มเหลวของงานที่ทำ

3.กลยุทธด้านคุณภาพ (Quality Strategy) ที่กำหนดไว้ในข้อ 2 จะต้องนำมาปฏิบัติโดยการจัดการด้านนโยบาย (Management by Policy)

บทบาทของผู้จัดการใน TQM.ไม่ใช่แค่ดูแลองค์กรให้ทำงานถูกต้องตามที่กำหนดไว้เท่านั้น แต่ยังต้องปรับปรุงกิจกรรมขององค์กรให้มีประสิทธิภาพ เพื่อให้เข้าใกล้วัตถุประสงค์ของฝ่ายบริหารที่ตั้งใจไว้ การบริหารนโยบายเป็นระบบเพื่อให้ได้การปรับปรุงอย่างเป็นระบบและต่อเนื่องภายในองค์กรโดยใช้วงจร PDCA

องค์ประกอบของการบริหารนโยบาย

1.กำหนดนโยบาย ผู้จัดการระดับอาวุโสและระดับกลางต้องกำหนดนโยบาย สำหรับการบริหารคุณภาพและกิจกรรมการปรับปรุง นโยบายที่กำหนดขึ้นในระยะนี้จะต้องถูกกระจายลงทั้งองค์กร และดำเนินการในระยะต่อไปของวงจร PDCA

2.ดำเนินการ เมื่อมีการเริ่มปฏิบัติแล้ว ทรัพยากรที่จำเป็นต้องจัดหาให้และการฝึกอบรมที่จำเป็นต้องจัดให้ สถานะของการปฏิบัติต้องมีการบันทึกไว้ ความคืบหน้าต้องชี้ชัด การทบทวนต้องจัดทำให้เสร็จสิ้นในสิ้นปี และข้อมูลที่ได้จากการปฏิบัติต้องนำมาใช้ในการเตรียมการวางแผนในปีถัดไป

3.ยืนยันผล การตรวจสอบที่ดีควรมรการตรวจสอบ 2 แบบ คือ ตรวจสอบประจำเดือน หรือตรวจตามระยะเวลาที่กำหนด และตรวจสอบขั้นสุดท้ายในสิ้นปี การตรวจสอบเป็นประจำระหว่างการปฏิบัติทำให้มีโอกาสปรับตัวระหว่างปฏิบัติเมื่อเกิดสถานการณ์ที่ไม่ได้คาดไว้ล่วงหน้า และเพื่อเป้นแนวทางแนะนำผู้รับผิดชอบให้ปฏิบัติตามแผนดำเนินต่อไปอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น การตรวจเมื่อสิ้นปีเป็นการตรวจสอบกิจกรรมที่ผ่านมาตลอดปี โดยมีจุดประสงค์เพื่อ

ทบทวนว่ากิจกรรมใดมีประสิทธิผล และทบทวนผลที่ได้

เพื่อหาว่าแผนงานใดที่ดำเนินไปไม่ดี และประเด็นใดที่ยังไม่ได้รับการแก้ไข และอะไรคือปัญหาที่ต้องดำเนินการ

รวบรวมสิ่งที่เกิดขึ้นในการกำหนดเป็นนโยบายและแผนสำหรับปีต่อไป

4.ปฏิบัติการและทบทวนนโยบาย เมื่อเป้าหมายไม่บรรลุ ต้องวิเคราะห์สถานการณ์เพื่อหาว่าปัญหาที่เกี่ยวกับแผนงาน หรือการปฏิบัติของทีมงาน เมื่อปัญหาเกิดจากการปฏิบัติทรัพยากรที่จำเป็นต้องจัดหาให้หรือบุคคลที่เกี่ยวข้องต้องได้รับการฝึกอบรมเพิ่มเติม เมื่อปัญหาเกิดจากการวางแผน ต้องสอบสวนหาสาเหตุอย่างจริงจังว่าอะไรคือ ความผิดพลาดก่อนจะทบทวน ขณะเดียวกันก็ให้พิจารณาว่าได้นำมาพิจารณาครบถ้วนหรือไม่ ในช่วงการตัดสินใจเลือกกลยุทธ์ได้นำเอาองค์ประกอบเกี่ยวข้องทุกเรื่องมาพิจารณาครบถ้วนหรือไม่ ในช่วงการตัดสินใจเลือกกลยุทธ์บางครั้งอาจจะจำเป็นจะต้องปรับเป้าหมาย นโยบายใหม่จะต้องกำหนดบนพื้นฐานของการวิเคราะห์ใหม่

4.การบริหารงานประจำวัน แต่ละหน่วยงานภายในบริษัทจะต้องทราบว่า ใครเป็นลูกค้าของเรา หรือใครเป็นลูกค้างานด้านบริการของเรา ลูกค้าในที่นี้ให้หมายรวมถึงลูกค้าภายในบริษัทด้วย ลูกค้าเหล่านี้ต้องการผลิตภัณฑ์ หรือบริการที่มีคุณภาพเช่นไร กิจกรรมเหล่านี้เรียกว่า การปฏิบัติงานประจำวัน (Daily work management)

ถ้างานที่ต้องทำซ้ำ มีการปรับปรุงทุกครั้งที่ดำเนินิการวิธีการทำงานจะถูกปรับปรุงให้ดีขึ้นเรื่อยๆสู่ความสมบูรณ์ ในสถานณการณ์ดังกล่าว ควรจัดมาตรฐานวิธีการทำงานและใช้มาตรฐานนั้นในการรักษาระดับของงานไว้ ในระบบที่ไม่มีมาตรฐาน การปรับปรุงจะไม่ถาวร ทั้งนี้เนื่องจากถึงแม้การปรับปรุงจะส่งผลชั่วคราวแต่กลายเป็นวิธีปฏิบัติที่คงตัว วิธีการใหม่จะถูกลืมหายไปอย่างไร้ร่องรอย เมื่อมีการเปลี่ยนพนักงาน งานที่ดำเนินการไปตามมาตรฐานเท่านั้นที่จะทำให้การปรับปรุงมีการรักษาและสะสมอย่างมั่นคงและมีประสิทธิผล

5.หน่วยงานอื่นๆที่แตกต่างออกไป แต่อาจเกี่ยวข้องกันในแง่ของ คุณภาพ ค่าใช้จ่าย และการขนส่ง ทั้งนี้เพื่อให้ได้ผลตามเป้าหมายของบริษัทด้วย (Company-wide objective)

กิจกรรมเหล่านี้ได้แก่การประกันคุณภาพ(Quality Assurance) การควบคุมค่าใช้จ่าย การควบคุมการขนส่ง

การจัดการข้ามฝ่ายนี้เรียกว่า Cross Functional Management จุดมุ่งหมายของการบริหารข้ามฝ่าย เพื่อการปรับปรุงระบบกิจกรรมทั้งหมดในองค์กร ไม่ใช่การทำงานเพียงบางฝ่ายส่วนใดส่วนหนึ่ง ปัญหาส่วนใหญ่ของการบริหารข้ามฝ่ายประกอบด้วยปัญหาการติดขัดอันเนื่องมาจากงานระดับบนทิ้งปัญหาค้างคาไว้ ซึ่งผลกระทบปรากฎแก่งานระดับล่างหรือการทำงานติดขัดเนื่องจากการประสานงานที่แย่ของแต่ละหน้าที่การงาน ถ้าแต่ละส่วนขององค์กรคำนึงถึงเฉพาะส่วนของตนเอง และสมาชิกในส่วนจะทำเฉพาะสิ่งที่ดีที่สุดสำหรับตัวเองแล้วเป็นไปไม่ได้ที่องค์กรจะบรรลุผลสำเร็จทั้งหมด ระบบย่อยๆ ที่มีความเหมาะสมจะไม่ทำให้ทั้งระบบงานเหมาะสมเสมอไปและเป็นการง่ายที่ตกอยู่ในระบบฝ่ายนิยมซึ่งจะทำให้กิจกรรมขององค์กรที่มุ่งมั่นปรับปรุงประสิทธิภาพไม่ทำงานในที่สุด

6.การจัดการตั้งแต่ข้อ 3 ถึงข้อ 5 เพื่อเปรียบเทียบผลได้จริงกับแผนการตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ ได้ผลเป็นอย่างไร ปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้นให้ใช้วิธีการ QCC.ในการแก้ไขปัญหา

หลักของ QCC.

1.กลุ่มคนจำนวนน้อย

2.จากที่ทำงานเดียวกัน

3.เป็นผู้ทำกิจกรรมการปรับปรุงคุณภาพ

4.มีความคิดริเริ่มของตนเอง

นางเอื้อมวงศ์ เรืองปลอด รหัส5050504509 การจัดการทั่วไป รุ่น 11 หมู่5

การบริหารคุณภาพ คือ การตั้งเป้าหมายในเรื่องคุณภาพ เพื่อสร้างความมั่นใจให้แก่ลูกค้า เมื่อพูดถึงคำว่า คุณภาพ ขอให้ความหมายของคำว่าคุณภาพคือ คุณภาพมาจากภาษา ละตินว่า Qualitas หรือ Qualis ซึ่งปรมาจารย์ด้านคุณภาพหลายท่านได้ให้คำนิยาม (definition) ที่มีความหลากหลายมุมมอง มีรายละเอียดดังนี้ การจัดการคุณภาพทั้งองค์กรของระบบ TQM ความหมายของคำว่า การจัดการคุณภาพทั้งองค์กร พอแยกสรุปประเด็นได้ดังต่อไปนี้ - คุณภาพทั้งองค์กร เป็นเรื่องของผลผลิต การบริการ คน กระบวนการและสภาพแวดล้อมในการที่จะทำให้เกิดคุณภาพและมาตรฐานตามความต้องการและความคาดหวังของลูกค้า - คุณภาพทั้งองค์กร เป็นสิ่งที่ตรงกับความต้องการของลูกค้า การผลิตสินค้าจะต้องคำนึงถึงความต้องการของลูกค้าและตลาดเป็นอันดับแรก เช่นเดียวกับการผลิตนักศึกษาของสถาบันการศึกษา ต้องทำให้เกิดคุณสมบัติตรงกับความต้องการของผู้ประกอบการหรือผู้ว่าจ้างงาน แต่ผลผลิตของเราจะดีได้ต้องมีหลักสูตรที่ดี เนื้อหาทันสมัย ครูอาจารย์มีคุณภาพ มีเครื่องอำนวยความสะดวกและสภาพแวดล้อมการเรียนการสอนได้มาตรฐาน ฝ่ายสนับสนุนขั้นพื้นฐานและฝ่ายบริหารต้องมีประสิทธิภาพและมีหัวใจในการให้บริการ - คุณภาพทั้งองค์กร เป็นงานของทุกคน ทุกคนต้องมีส่วนร่วมในการคิดวางแผนประเมินผลในองค์กรของตัวเองเพื่อเป็นไปตามเหตุผลนี้คุณภาพจะเกิดขึ้นเอง - คุณภาพทั้งองค์กร ควรมีการปรับปรุงอย่างต่อเนื่องหรือ (Kaizen) หรือ Continuos Improvement มีความจำเป็นต้องปรับปรุงและพัฒนาอย่างสม่ำเสมอ ผลผลิตจะมีคุณภาพได้ 100 % ต่อเมื่อมีการปรับปรุงงานและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง - คุณภาพทั้งองค์กร จะต้องมีผู้นำในการคิดเป็น แก้ปัญหาเป็น สามารถนำมาปฏิบัติและเป็นผู้สนับสนุนให้ความช่วยเหลือที่ดี ในขณะเดียวกันสถาบันการศึกษาต้องนำสังคม สามารถเรียนรู้จากการทำ Benchmark ได้ ไม่ลอกเลียนใคร - คุณภาพทั้งองค์กร เป็นสิ่งที่มากับระบบและอยู่ในระบบ ไม่ใช่อยู่ที่ตัวบุคคลอย่างเดียว ข้อบกพร่องและข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้นในองค์กรและการปฏิบัติงาน ส่วนใหญ่เกิดมาจากระบบการบริหารจัดการขององค์กรที่ไม่ดีและมีปัญหา คุณภาพจะเกิดขึ้นยาก ถ้าระบบการบริหารและการทำงานยังไม่มีระบบที่ดีขาดประสิทธิภาพ ไม่มีความเป็นอิสระและขาดความคล่องตัวในการทำงาน เช่น ระบบการบริหารจัดการยังเป็นแบบใช้ศูนย์รวมอำนาจ สั่งการจากระดับบนอย่างเดียวคุณภาพจะเกิดขึ้นได้ยากเช่นเดียวกัน - คุณภาพทั้งองค์กร เกิดจากการให้ความยกย่อง การยอมรับและให้การสรรเสริญ การให้รางวัล การให้ขวัญกำลังใจแก่คนดี การปรับปรุงและพัฒนาคุณภาพจะเป็นงานที่ต้องทำอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นจำเป็นต้องมีการให้รางวัลและการยกย่องเกียรติคุณอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง - คุณภาพทั้งองค์กร เกิดขึ้นได้จากการทำงานเป็นทีม มีการระดมสมองและความคิด เพื่อหาวิธีแก้ปัญหาบนพื้นฐานของข้อมูลและข้อเท็จจริง ทุกคนมีส่วนร่วมรับผิดชอบและเป็นการใช้การตัดสินใจด้วยคณะทำงาน ทำให้เห็นว่าความสำเร็จของงานเป็นของทุกคน - คุณภาพทั้งองค์กร เกิดจากการแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ มีการปรับปรุงเพื่อให้เกิดคุณภาพขึ้นอย่างเป็นกระบวนการในการแก้ปัญหาทั้งองค์กร

คุณภาพคือระดับของคุณลักษณะที่อยู่ในผลิตภัณฑ์ซึ่งสามารถตอบสนองความต้องการและความคาดหวังของลูกค้าได้อย่างสมบูรณ์ การควบคุมคุณภาพ คือ การดำเนินกิจกรรมทุกประเภทให้ตรงกับเงื่อนไขที่ถูกกำหนด ซึ่งมองอีกทีก็คือ การรักษามาตรฐาน มาตรฐาน คือ ข้้อกำหนดรายการอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างที่เกี่ยวกับ - เครื่องประกอบ คุณภาพ ชิ้นส่วนประกอบ ความสามารถ ความทนทานและความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม าตรฐานระบบการจัดการ คือ ข้อกำหนดหรือขั้นตอนในการบริหารกระบวนการทำงานต่างๆขององค์กรเพื่อให้เกิดกา รพัฒนาประสิทธิภาพและประสิทธิผลของการดำเนินงานและบรรลุตามวัตถุประสงค์วางไว้ ประโยชน์ต่อผู้ผลิต คือ ลดความยุ่งยากในการปฎิบัติงาน ลดเวลา ลดของเสียและเพิ่มมูลค่าของผลิตภัณฑ์ป ระโยชน์ของผู้บริโภค คือ ปลอดภัยในการใช้งานและการบริฝโภค สะดวกและประหยัดทั้งเวลาและเงินเพราะผลิตภัณฑ์มาตรฐานจะมีคุณภาพสมราคาและสา มารถเลือกซื้อหาได้ตามใจชอบส่วนใหญ่ผู้ที่จะบอกได้ว่าสินค้าหรือผลิต ภัณฑ์นั้นมีคุณภาพหรือมาตรฐานหรือไม่ขึ้นอยู่กับผู้ที่ซื้อสินค้านั้นๆมาใช้ คือ ลูกค้า หรือ ผู้ที่เข้ามาใช้บริการ ตัวชี้วัด” 1. ตัวชี้วัดจะต้องสามารถให้ค่าหรือบ่งบอกคุณลักษณะของสิ่งที่ทำการวัดว่ามีปริมาณหรือคุณลักษณะเช่นไร ส่วนจะมีความหมายอย่างไรจะต้องนำไปตีค่าหรือเปรียบเทียบกับเกณฑ์หรือมาตรฐาน จึงจะทราบได้ว่าสิ่งนั้นมีค่าสูงหรือต่ำ ได้มาตรฐานหรือไม่ เพียงใด2. ค่าหรือคุณลักษณะที่ได้จากตัวชี้วัดมีความหมายภายใต้เงื่อนไข 2 ประการ คือ2.1 เงื่อนไขของเวลา กล่าวคือ ตัวชี้วัดจะบ่งบอกสถานภาพของสิ่งที่มุ่งวัดเฉพาะช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง เช่น ระยะเวลา 1 สัปดาห์, 3 เดือน, 1 ปี ขึ้นอยู่กับระยะเวลาที่เก็บรวบรวมข้อมูลมาใช้และการตีความหมาย2.2 เงื่อนไขของสถานที่ กล่าวคือ ตัวชี้วัดจะบ่งบอกสถานภาพของสิ่งที่มุ่งวัดเฉพาะในเขตพื้นที่ หรือบริเวณ หรือส่วนใดส่วนหนึ่งของระบบที่ทำการตรวจสอบ เช่น ระดับตำบล อำเภอ จังหวัด ด้านปัจจัย กระบวนการ หรือผลลัพธ์ เป็นต้น ในการประเมิน ตัวชี้วัดจะถูกพัฒนาขึ้นมาจากประเด็นที่ต้องการประเมิน โดยตัวชี้วัดนี้จะแสดงให้ทราบถึงสภาพการณ์ที่เป็นอยู่หรือที่เกิดขึ้นในประเด็นที่ต้องการประเมิน (สุวิมล ติรกานันท์, 2539) ตัวชี้วัดที่ถูกพัฒนาขึ้นมาจะต้องมีความเหมาะสมกับประเด็นที่ต้องการประเมินสามารถวัดได้แม่นยำ ถูกต้อง

นางสาวกรณ์สมัชญ์ เปรี่ยมพิมาย 5050504501 การจัดการทั่วไป รุ่น 11 หมู่ 5

คุณภาพคือระดับของคุณลักษณะที่อยู่ในผลิตภัณฑ์ซึ่งสามารถตอบสนองความต้องการและความคาดหวังของลูกค้าได้อย่างสมบูรณ์ การควบคุมคุณภาพ คือ การดำเนินกิจกรรมทุกประเภทให้ตรงกับเงื่อนไขที่ถูกกำหนด ซึ่งมองอีกทีก็คือ การรักษามาตรฐาน

มาตรฐาน คือ ข้้อกำหนดรายการอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างที่เกี่ยวกับ - เครื่องประกอบ คุณภาพ ชิ้นส่วนประกอบ ความสามารถ ความทนทานและความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม าตรฐานระบบการจัดการ คือ ข้อกำหนดหรือขั้นตอนในการบริหารกระบวนการทำงานต่างๆขององค์กรเพื่อให้เกิดกา รพัฒนาประสิทธิภาพและประสิทธิผลของการดำเนินงานและบรรลุตามวัตถุประสงค์วางไว้

ประโยชน์ต่อผู้ผลิต คือ ลดความยุ่งยากในการปฎิบัติงาน ลดเวลา ลดของเสียและเพิ่มมูลค่าของผลิตภัณฑ์ป ระโยชน์ของผู้บริโภค คือ ปลอดภัยในการใช้งานและการบริฝโภค สะดวกและประหยัดทั้งเวลาและเงินเพราะผลิตภัณฑ์มาตรฐานจะมีคุณภาพสมราคาและสา มารถเลือกซื้อหาได้ตามใจชอบส่วนใหญ่ผู้ที่จะบอกได้ว่าสินค้าหรือผลิต ภัณฑ์นั้นมีคุณภาพหรือมาตรฐานหรือไม่ขึ้นอยู่กับผู้ที่ซื้อสินค้านั้นๆมาใช้ คือ ลูกค้า หรือ ผู้ที่เข้ามาใช้บริการ

ตัวชี้วัด” 1. ตัวชี้วัดจะต้องสามารถให้ค่าหรือบ่งบอกคุณลักษณะของสิ่งที่ทำการวัดว่ามีปริมาณหรือคุณลักษณะเช่นไร ส่วนจะมีความหมายอย่างไรจะต้องนำไปตีค่าหรือเปรียบเทียบกับเกณฑ์หรือมาตรฐาน จึงจะทราบได้ว่าสิ่งนั้นมีค่าสูงหรือต่ำ ได้มาตรฐานหรือไม่ เพียงใด2. ค่าหรือคุณลักษณะที่ได้จากตัวชี้วัดมีความหมายภายใต้เงื่อนไข 2 ประการ คือ2.1 เงื่อนไขของเวลา กล่าวคือ ตัวชี้วัดจะบ่งบอกสถานภาพของสิ่งที่มุ่งวัดเฉพาะช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง เช่น ระยะเวลา 1 สัปดาห์, 3 เดือน, 1 ปี ขึ้นอยู่กับระยะเวลาที่เก็บรวบรวมข้อมูลมาใช้และการตีความหมาย2.2 เงื่อนไขของสถานที่ กล่าวคือ ตัวชี้วัดจะบ่งบอกสถานภาพของสิ่งที่มุ่งวัดเฉพาะในเขตพื้นที่ หรือบริเวณ หรือส่วนใดส่วนหนึ่งของระบบที่ทำการตรวจสอบ เช่น ระดับตำบล อำเภอ จังหวัด ด้านปัจจัย กระบวนการ หรือผลลัพธ์ เป็นต้น ในการประเมิน ตัวชี้วัดจะถูกพัฒนาขึ้นมาจากประเด็นที่ต้องการประเมิน โดยตัวชี้วัดนี้จะแสดงให้ทราบถึงสภาพการณ์ที่เป็นอยู่หรือที่เกิดขึ้นในประเด็นที่ต้องการประเมิน (สุวิมล ติรกานันท์, 2539) ตัวชี้วัดที่ถูกพัฒนาขึ้นมาจะต้องมีความเหมาะสมกับประเด็นที่ต้องการประเมินสามารถวัดได้แม่นยำ ถูกต้อง

นางสาวยุพาพร จักรเกราะ 5050504537 การจัดการทั่วไป รุ่น 11 หมู่ 5

Philips Crossby ได้ให้ความหมายของคำว่า คุณภาพ ไว้ว่า คือการตอบสนองติความต้องการ (Needs) และความคาดหวัง (Expectation) ของลูกค้า ทั้งนี้ลูกค้ามีทั้งลูกค้าภายในและลูกค้าภายนอก แต่ที่สำคัญมากที่สุดคือลูกค้าภายนอก ซึ่งเป็นลูกค้าที่มีผลต่อความอยู่รอดขององค์การ

คุณภาพจึงไม่ใช่แค่ทำงานให้ไม่บกพร่อง ไม่มีปัญหาหรือไม่ผิดพลาดเท่านั้น แต่ต้องทำให้ลูกค้าเกิด ความรู้สึกยอมรับ อยากได้และชื่นชมด้วย

คุณภาพที่สร้างความพึงพอใจของลูกค้า แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ

Must be Quality คุณภาพชนิดที่พึงต้องมี ถ้าไม่มีไม่ซื้อหรือไม่มาใช้บริการ เป็นคุณลักษณะสำคัญที่ขาดไม่ได้ของสินค้าหรือบริการชนิดนั้นๆ เช่นทีวีต้องมีภาพเป็นสีตามธรรมชาติไม่ใช่แค่ขาวดำเท่านั้น ถ้าเป็นบริการด้านสุขภาพก็เช่นการบริการทำคลอดที่ต้องมีลูกเกิดรอดแม่ปลอดภัย ถ้ามาทำคลอดแล้วมีปัญหาแม่ตายหรือลูกตายก็ไม่มีใครมาคลอกด้วยแน่

Attractive Quality คุณภาพชนิดดึงดูดใจ ถ้ามีจะทำให้ลูกค้าอยากมาใช้บริการมากขึ้นหรือมาซื้อสินค้ามากขึ้น เช่นการมีรีโมท รูปลักษณ์น้ำหนัก การออกแบบที่น่าใช้ คุณภาพที่ดึงดูดใจเมื่อใช้ไปนานๆมักจะกลายไปเป็นคุณภาพที่พึงต้องมี ทำให้ลูกค้าเกิดความรู้สึกทำให้ดึงดูดใจน้อยลง เช่นรีโมททีวีเมื่อก่อนเป็นคุณภาพที่ดึงดูดใจแต่ปัจจุบันกลายเป็นคุณภาพที่พึงต้องมี ถ้าไม่มีลูกค้าจะไม่ซื้อ ในกรณีของการคลอดที่ต้องมีภาวะลูกเกิดรอดแม่ปลอดภัยเป็นคุณภาพที่พึงต้องมี โดยคุณภาพที่ดึงดูดใจเช่นการให้สามีอยู่ให้กำลังใจภรรยาในห้องคลอดได้ การถ่ายรูปลูกแรกคลอดให้เป็นที่ระลึก การให้เกียรติบัตรพร้อมบันทึกรอยฝ่าเท้าลูกไว้ เป็นต้น

ผู้มารับบริการจะเกิดคุณภาพที่รู้สึกยอมรับ อยากได้และชื่นชมได้นั้น จะต้องได้รับทั้งคุณภาพที่พึงต้องมีและคุณภาพที่ดึงดูดใจ จึงจะเกิดความรู้สึกพึงพอใจได้

นางสาววิไลพร เพ็งจันทึก 5050504506 การจัดการทั่วไป รุ่น 11 หมู่ 5

การจัดการคุณภาพ (Quality Management) จากความหมายของคำว่าคุณภาพมาสู่แนวทางการดำเนินการเพื่อคุณภาพที่ดีนั้นได้มีคำหลายคำที่ใช้ในการบ่งบอกถึงการปฏิบัติการเกี่ยวกับคุณภาพ เช่น ระบบคุณภาพ การควบคุมคุณภาพ การประกันคุณภาพ หรือ การบริหารงานคุณภาพ ฯลฯ ซึงมีความหมายแตกต่างกันดังต่อไปนี้ การควบคุมคุณภาพ (Quality Control หรือ QC) หมายถึง กิจกรรมและกลวิธีการปฏิบัติเพื่อสนองความต้องการด้านคุณภาพภายในธุรกิจ โดยการตรวจสอบ การวัด และการทดสอบที่มุ่งจะควบคุมวัตถุดิบ กระบวนการ และการกำจัดสาเหตุของข้อบกพร่องที่เกิดขึ้นจากการดำเนินการทั้งหมด เช่น การสุ่มตัวอย่างน้ำผลไม้กระป๋องมาตรวจสอบรสชาติ การควบคุมคุณภาพเน้นการตรวจสอบและแยกแยะของดีและของเสียออกจากกัน โดยระบุเป็นร้อยละของของเสียที่พบจากล็อตการผลิต เพื่อควบคุมมิให้ของเสียมีมากเกินกว่าที่กำหนดและในปัจจุบันการควบคุมคุณภาพมุ่งเน้นที่ของเสียต้องเป็นศูนย์ (Zero Defect) การประกันคุณภาพ (Quality Assurance หรือ QA) หมายถึง การดำเนินการเพื่อสุขภาพตามระบบและแผนงานที่วางไว้อย่างเคร่งครัด เพื่อที่จะมั่นใจได้ว่าผลิตภัณฑ์หรือบริการมีคุณภาพตามที่ลูกค้าต้องการ เช่น การดำเนินงานตามมาตรฐานคุณภาพสากล ISO 9000 การบริหารคุณภาพ (Quality Management หรือ QM) หมายถึง การจัดการระบบคุณภาพโดยทุกคนที่เกี่ยวข้องทั้งภายในและภายนอกองค์การรับผิดชอบต่องานที่ตนเองกระทำอย่างเต็มที่เพื่อให้สินค้าและบริการเป็นไปตามต้องการของลูกค้า เช่น การใช้ระบบการบริหารคุณภาพสมบูรณ์แบบ (Total Quality Management หรือ TQM) วัตถุประสงค์หลักของการบริการคุณภาพ คือ การผลิตสินค้าหรือบริการที่ตอบสนองความต้องการของลูกค้า ซึ่งความต้องการของลูกค้าจะเป็นกรอบกำหนดระบบคุณภาพขององค์การทั้งทางตรงและทางอ้อม ดังนั้นการบริหารคุณภาพจะมุ่งสร้างความพึงพอใจให้แก่ลูกค้าเป็นสำคัญ

นายณรงค์ ธงศิลา 5050504514 การจัดการทั่วไป รุ่น 11 หมู่ 5

การนำหลักการ Deming มาใช้กับ TQM

คุณภาพเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างยิ่งในการดำเนินงาน ดังนั้นในการสร้างคุณภาพให้เกิดขึ้นกับองค์การ Deming ได้นำเสนอ วงจร PDCA (Plan, Do, Check, Act) เพื่อเป็นหลักในการเริ่มต้นการปรับปรุงคุณภาพอย่างต่อเนื่อง

ส่วนประกอบทั้ง 4 ด้าน สามารถอธิบายได้ดังนี้

1. การวางแผน (Plan) ขั้นตอนการวางแผนถือเป็นขั้นตอนที่สำคัญที่สุด โดยจุดเริ่มต้นจะต้องมีการตระหนักถึงปัญหาและกำหนดปัญหาที่จะแก้ไข มีการเก็บรวบรวมข้อมูล เลือกทางเลือก และวิเคราะห์ทางเลือกเพื่อเลือกวิธีที่จะใช้ในการแก้ไขปัญหา

2. การปฏิบัติ (Do) นำทางเลือกที่ตัดสินใจไปสู่การปฏิบัติโดยมั่นใจว่าผู้รับผิดชอบได้ตระหนักถึงวัตถุประสงค์ และความจำเป็นอย่างถ่องแท้แล้ว และให้ผู้ที่มีหน้าที่รับผิดชอบดำเนินงานตามแผน รู้ถึงรายละเอียดและขั้นตอนต่าง ๆ มีการจัดอบรมเพื่อดำเนินงานตามแผน และมีการจัดทรัพยากรที่จำเป็น

3. การตรวจสอบ (Check) มีการติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลการปฏิบัติงาน การประเมินควรประเมินการดำเนินงานขององค์การว่าสามารถดำเนินงานได้ตามแผนหรือไม่ และเนื้อหาสาระของแผนมีความครบถ้วนหรือไม่ หากการประเมินพบว่าผลงานออกมาได้ถูกต้องตรงตามเป้าหมายก็สามารถนำไปจัดทำเป็นมาตรฐานสำหรับการดำเนินงานในครั้งต่อไปได้

4. การปรับปรุงแก้ไข (Act) ในการปฏิบัติงานมีการกำหนดมาตรฐานจากผลการดำเนินงานเพื่อใช้เป็นแนวทางปฏิบัติในอนาคต และทำการแก้ไขในส่วนที่ทำให้ผลลัพธ์ไม่เป็นไปตามตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ เมื่อผลลัพธ์ที่ได้ได้รับการยอมรับจากทุกฝ่ายแล้วจัดทำเป็นรายงานเพื่อให้ผู้บริหารและหน่วยงานต่าง ๆ ในองค์การทราบ สิ่งที่สำคัญถ้าหากพบว่าการไม่วัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่ตั้งไว้นั้นเกิดจากการวางแผนที่ไม่ดีตั้งแต่ต้น องค์การจะต้องหาสาเหตุของการวางแผนที่ไม่ดีก่อน แล้วจึงทำการปรับปรุงคุณภาพการวางแผน และปรับปรุงเนื้อหาของแผนด้วย

องค์ประกอบที่สำคัญของ TQM 3 ประการ คือ

1. การให้ความสำคัญกับลูกค้า (Customer Oriented) ลูกค้า (Customer) เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ธุรกิจอยู่รอด และความมุ่งหมายของธุรกิจ คือ การสร้างและรักษาลูกค้า ของ Peter F. Drucker ปรมาจารย์ด้านการบริหารธุรกิจร่วมสมัย (Modern Business Management Guru) ที่กระตุ้นให้คิดว่าธุรกิจสามารถดำรงอยู่ได้ เพราะลูกค้าที่เข้ามาซื้อสินค้าหรือบริการ ไม่ว่าธุรกิจจะใหญ่เพียงใด ถ้าไม่สามารถขายสินค้าหรือบริการให้แก่ลูกค้าเป้าหมายได้ การทำธุรกิจจะไม่ประสบผลสำเร็จได้ ลูกค้าคือคุณภาพ และคุณภาพคือลูกค้า ดังนั้นพนักงานในองค์การธุรกิจทุกคน จึงต้องมีสำนึกในการปฏิบัติงานในทุกขั้นตอน ต้องสร้างผลงานที่มีคุณภาพให้กับลูกค้า ไม่ใช่เพื่อเอาใจเจ้านายเท่านั้น เพราะลูกค้าเป็นผู้ให้เงินเดือน ความสุข และความมั่นคงในชีวิต ลูกค้าจึงมีความสำคัญเป็นอันดับหนึ่งในทุกๆ องค์การ ทำให้ธุรกิจต้องติดตามเรียนรู้ และพยายามคิดแบบลูกค้า ตลอดจนให้ลูกค้ามีส่วนร่วมในการดำเนินงานและการแก้ไขปัญหาของธุรกิจ เพื่อที่จะตอบสนองความต้องการ สร้างความพอใจ และความชื่นชมจากลูกค้าได้อย่างแท้จริง

นอกจากนี้ การให้ความสำคัญกับลูกค้าจะไม่ถูกจำกัดอยู่ที่ลูกค้าจริง ๆ หรือที่เรียกว่า ลูกค้าภายนอก (External Customer) ที่ซื้อสินค้าหรือบริการของธุรกิจเท่านั้น แต่จะขยายตัวครอบคลุมไปถึงพนักงาน หรือหน่วยงานที่อยู่ถัดไปจากเรา ซึ่งรอรับผลงานหรือบริการจากเรา ที่เรียกว่า ลูกค้าภายใน (Internal Customer) โดยเราจะทำหน้าที่เป็นผู้ส่งมอบภายใน (Internal Supplier) ในการส่งมอบผลงานและสร้างความพอใจให้แก่พวกเขา ซึ่งจะสร้างความสัมพันธ์ต่อเนื่องกันเป็น ห่วงโซ่คุณภาพ (Quality Chain) จากผู้ขายวัตถุดิบ (Supplier) ผู้ส่งมอบ และลูกค้าภายใน ไปจนถึงลูกค้าภายนอกที่ซื้อสินค้าและบริการที่มีคุณภาพของธุรกิจ โดยความสัมพันธ์จะต้องเป็นระบบที่สอดคล้อง ส่งเสริม และต่อเนื่องกันอย่างเหมาะสม

ถ้าโซ่ห่วงใดมีความพกพร่อง ก็จะทำให้การส่งมอบผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพขาดความสมบูรณ์ และสร้างปัญหาขึ้น ดังนั้นพนักงานทุกคนจึงต้องมีสำนึกแห่งคุณภาพ และความเป็นเลิศ ไม่ทำงานให้เสร็จแบบขอไปที แต่ต้องระลึกเสมอว่าผลงานของเขาจะมีผลกระทบต่อคุณภาพของสินค้า หรือบริการที่ธุรกิจส่งมอบให้แก่ลูกค้า ถ้าผลงานของเขามีปัญหาก็จะส่งผลให้การดำเนินงานในขั้นต่อไปมีอุปสรรค และทำให้ลูกค้าได้รับสินค้าหรือบริการที่ไม่มีคุณภาพ ซึ่งจะมีผลกระทบในด้านลบย้อนกลับมาที่เขาในที่สุด

2. การพัฒนาอย่างต่อเนื่อง (Continuous Improvement) นวัตกรรมใหม่ที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้องค์การต้องมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง การพัฒนาอย่างต่อเนื่องจะก่อให้เกิดโมเมนตัม (Momentum) ซึ่งจะทำให้การก้าวไปข้างหน้าของธุรกิจสะดวก คล่องตัว และมีประสิทธิภาพ สามารถแก้ปัญหาและพัฒนาระบบงานที่ซับซ้อนและครอบคลุมทั้งองค์การ โดยองค์การที่ทำ TQM จะต้องกล้าตัดสินใจแก้ไขปรับปรุง และเปลี่ยนแปลง ซึ่งมีแนวทางในการดำเนินงานดังนี้

1.1ศึกษา วิเคราะห์ และทบทวนข้อมูลการดำเนินงานและสภาพแวดล้อมเพื่อหาแนวทางในการพัฒนา และปรับปรุงคุณภาพของระบบและผลลัพธ์อย่างสร้างสรรค์ และต่อเนื่อง

1.2พยายามหาวิธีในการแก้ไขปัญหา และพัฒนาการดำเนินงานที่เรียบง่ายแต่ให้ผลลัพธ์สูง

1.3ติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลงานอย่างเป็นระบบ เป็นธรรมชาติ และไม่สร้างความสูญเสียจากการตรวจสอบ

3. การมีส่วนร่วมจากพนักงาน (Employees Inovation) พนักงานทุกคนทั้งพนักงานระดับ

ล่าง และผู้บริหารในหน่วยงานจะต้องร่วมมือกัน โดยทุกแผนกต้องปฏิบัติงานในฐานะสมาชิกขององค์การคุณภาพเดียวกัน (ณัฐพันธ์ เขจรนันท์,2545:60-64)

นางสุวรรณ๊ แสงประพาฬ 5050504508 การจัดการทั่วไป รุ่น 11 หมู่ 5

TQM คือ ระบบหนึ่ง ๆ ที่ใช้เป็นวิธีการในการผลิต ผลิตภัณฑ์และบริการที่มีคุณภาพด้วยต้นทุนที่ต่ำที่สุดในอันที่จะตรงกับความต้องการของผู้ซื้อ บางครั้งจะใช้เทคนิคทางสถิติมาประยุกต์ใช้ โดยการดำเนิน

ควบคุมคุณภาพจะทำในทุกระดับ ตั้งแต่พนักงานระดับล่างจนถึงผู้บริหารระดับสูงผ่านฝ่ายต่าง ๆ ทั่วทั้ง

องค์กร ตั้งแต่งานวิจัยตลาด งานวิจัยและพัฒนา (R & D) งานวางแผนผลิตภัณฑ์ งานบริการหลังขาย ตลอดจนถึงงานการเงิน งานบุคคล และงานฝึกอบรม บางทีเรียก TQM ว่า การควบคุมคุณภาพทั่วทั้งองค์กร (CWQC) หรือการควบคุมคุณภาพแบบเบ็ดเสร็จ (TQC) หรือการจัดการคุณภาพแบบเบ็ดเสร็จ (TQM)

คุณภาพ หมายถึง คุณลักษณะที่มีผลต่อการใช้งานโดยรวมที่ใช้เป็นเกณฑ์ตัดสินว่า ผลิตภัณฑ์หรือบริการนั้นตอบสนองตามจุดประสงค์ในการใช้งานหรือไม่ ตลอดจนมีราคาเหมาะสม ส่งมอบทันท่วงที หรือผลิตป้อนตลาดทันความต้องการ ตลอดจนอื่น ๆ ที่สร้างความพึงพอใจให้ตามความต้องการของลูกค้าได้

ผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพคือ ผลิตภัณฑ์ที่สร้างความพอใจต่อผู้ซื้อได้

นายเรืองธรรม ประมุทา 5050504527 การจัดการทั่วไป รุ่น 11 หมู่ 5

คุณภาพคือระดับของคุณลักษณะที่อยู่ในผลิตภัณฑ์ซึ่งสามารถตอบสนองความต้องการและความคาดหวังของลูกค้าได้อย่างสมบูรณ์

การควบคุมคุณภาพ คือ การดำเนินกิจกรรมทุกประเภทให้ตรงกับเงื่อนไขที่ถูกกำหนด ซึ่งมองอีกทีก็คือ การรักษามาตรฐาน

มาตรฐาน คือ ข้้อกำหนดรายการอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างที่เกี่ยวกับ

- เครื่องประกอบ คุณภาพ ชิ้นส่วนประกอบ ความสามารถ ความทนทานและความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม

มาตรฐานระบบการจัดการ คือ ข้อกำหนดหรือขั้นตอนในการบริหารกระบวนการทำงานต่างๆขององค์กรเพื่อให้เกิดกา รพัฒนาประสิทธิภาพและประสิทธิผลของการดำเนินงานและบรรลุตามวัตถุประสงค์วางไ ว้

ประโยชน์ต่อผู้ผลิต คือ ลดความยุ่งยากในการปฎิบัติงาน ลดเวลา ลดของเสียและเพิ่มมูลค่าของผลิตภัณฑ์

ป ระโยชน์ของผู้บริโภค คือ ปลอดภัยในการใช้งานและการบริฝโภค สะดวกและประหยัดทั้งเวลาและเงินเพราะผลิตภัณฑ์มาตรฐานจะมีคุณภาพสมราคาและสา มารถเลือกซื้อหาได้ตามใจชอบ

ส่วนใหญ่ผู้ที่จะบอกได้ว่าสินค้าหรือผลิต ภัณฑ์นั้นมีคุณภาพหรือมาตรฐานหรือไม่ขึ้นอยู่กับผู้ที่ซื้อสินค้านั้นๆมาใช้ คือ ลูกค้า หรือ ผู้ที่เข้ามาใช้บริการ

น.ส.บุณยนุช แทนกลาง 5050504503การจัดการทั่วไป รุ่น11หมู่5

“คุณภาพ (Quality)” ผู้เชี่ยวชาญทางด้านคุณภาพหลายท่านได้ให้ความหมายซึ่งพอสรุปได้ดังต่อไปนี้ คือ เป็นการดำเนินงานให้เป็นไปตามข้อกำหนดที่ต้องการ โดยคำนึงถึงการสร้างความพอใจให้กับลูกค้า และมีต้นทุนการดำเนินงานที่เหมาะสม

2.2.1 ลักษณะของผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพ (Quality in Goods)

- การปฏิบัติงานได้ (Performance) ผลิตภัณฑ์ต้องสามารถใช้งานได้ตามหน้าที่ที่กำหนดไว้

- ความสวยงาม (Aesthetics) ผลิตภัณฑ์ต้องมีรูปร่าง ผิวสัมผัส กลิ่น รสชาติ และสีสันที่ดึงดูดใจลูกค้า

- คุณสมบัติพิเศษ (Special Features) ผลิตภัณฑ์ควรมีลักษณะพิเศษที่โดดเด่นแตกต่างจากผู้อื่น

- ความสอดคล้อง (Conformance) ผลิตภัณฑ์ควรใช้งานได้ตามที่ลูกค้าคาดหวังไว้

- ความปลอดภัย (Safety) ผลิตภัณฑ์ควรมีความเสี่ยงอันตรายในการใช้น้อยที่สุด

- ความเชื่อถือได้ (Reliabity) ผลิตภัณฑ์ควรใช้งานได้อย่างสม่ำเสมอ

- ความคงทน (Durability) ผลิตภัณฑ์ควรมีอายุการใช้งานที่ยาวนานในระดับหนึ่ง

- คุณค่าที่รับรู้ (Perceived Quality) ผลิตภัณฑ์ควรสร้างความประทับใจ และมีภาพพจน์ที่ดีในสายตาลูกค้า

- การบริการหลังการขาย (Service after Sale) ธุรกิจควรมีการบริการหลังการขายอย่างต่อเนื่องทำให้สินค้าสามารถคงคุณสมบัติหรือหน้าที่การงานที่สมบูรณ์ต่อไปได้ รวมทั้งบริการในการรับฟังความคิดเห็นจากลูกค้าเกี่ยวกับตัวผลิตภัณฑ์ด้วย

2.2.2 ลักษณะของบริการที่มีคุณภาพดี (Quality in Services)

- ความเชื่อถือได้ (Reliability) การบริหารสามารถให้บริการได้อย่างสม่ำเสมอ

- ตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้ (Responsiveness) ตรงตามความต้องการที่แท้จริงของลูกค้า

- ความสามารถ (Competence) พนักงานที่ให้บริการจะต้องมีทักษะและความรู้เพื่อปฏิบัติในการบริการ

- ความสุภาพ (Courtesy) พนักงานผู้ให้บริการจะต้องมีมารยาทที่ดี เป็นมิตร และอ่อนน้อม

- ความน่าไว้วางใจ (Credibity) ผู้ให้บริการจะต้องเป็นคนที่มีความซื่อสัตย์, ความน่าไว้ใจและน่าเชื่อถือ

- ความปลอดภัย (Security) การบริการจะต้องมีความปลอดภัย ไม่มีความเสี่ยง

- ความเข้าถึง (Access) การบริการควรจะง่ายต่อการติดต่อ

- การติดต่อสื่อสาร (Communication) การบริการควรจะสามารถให้ข้อมูลเมื่อลูกค้าต้องการหรือสอบถาม

- ความเข้าใจในตัวลูกค้า (Understanding the Customer) การเข้าใจลักษณะเฉพาะของลูกค้าแต่ละคน

2.2.3 ทัศนะคติของลูกค้าในแง่ของผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพที่ดี

- ผลิตภัณฑ์สามารถใช้งานได้ดีตามรายละเอียดทางวิศวกรรม (Specification) ที่ระบุไว้

- ผลิตภัณฑ์คุ้มค่ากับเงินหรือราคาที่ลูกค้าจ่ายเพื่อจะได้ผลิตภัณฑ์นั้นมา

- ผลิตภัณฑ์เหมาะสมกับการใช้งานตามวัตถุประสงค์ของผู้ใช้ โดยมีความปลอดภัยต่อผู้ใช้และสิ่งแวดล้อมด้วย

- ผลิตภัณฑ์มีการบริการประกอบเพื่อความสะดวกของลูกค้า หรือเพื่อรักษาสภาพที่สมบูรณ์ของสินค้าให้คงอยู่ในช่วงระยะเวลาการใช้งานได้ตลอด

- ผลิตภัณฑ์สร้างความภาคภูมิใจ ความประทับใจให้แก่ผู้ใช้

2.2.4 ทัศนคติของลูกค้าในแง่ของผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพที่ดี

สำหรับ ผู้ผลิต คุณภาพที่ดี หมายถึง

- การผลิตให้ถูกต้องตั้งแต่แรก

- การผลิตที่มีระดับของของเสียอยู่ในเกณฑ์ที่กำหนดไว้ และเป็น Zero Defect ซึ่งหมายถึงไม่มีของเสียจากการผลิตเลย

- การผลิตตามตัวแปรที่ต้องการอย่างถูกต้อง ไม่เบี่ยงเบนจากมาตรฐานที่ตั้งไว้

- การผลิตที่มีระดับต้นทุนที่เหมาะสม ซึ่งจะทำให้ลูกค้าที่มีความต้องการสามารถซื้อผลิตภัณฑ์ในระดับราคาที่ยอมรับได้

นาย ภราดร กูบกระโทก5050504524การจัดการทั่วไปรุ่นที่11หมู่5

การจัดการคุณภาพโดยรวม (Total Quality Management) หรือ TQM เป็นแนวทางในการบริหารขององค์กรที่เน้นเรื่องคุณภาพ โดยบุคลากรทุกคนขององค์การจะมีส่วนร่วมและมุ่งหมายผลกำไรในระยะยาวด้วยการสร้างความพึงพอใจให้แก่ลูกค้า รวมทั้งการสร้างผลประโยชน์แก่บรรดาบุคลากรขององค์การและสังคมด้วยในขณะเดียวกัน

วิธีการปฏิบัติของการจัดการคุณภาพโดยรวมของแต่ละองค์กรอาจแตกต่างกัน แต่แนวปรัชญา ความคิด หลักการสำคัญจะคล้ายกัน และที่สำคัญที่สุดคือ ต้องยึด “คุณภาพ” เป็นแกนหลักในการบริหารงานต่างๆ เช่น เดียวกัน ซึ่งจะส่งผลดีแก่องค์การในด้านการปรับปรุงคุณภาพของสินค้าหรือบริการให้สูงขึ้น หรือทำให้ของเสียเป็นศูนย์ หรือสามารถออกแบบผลิตภัณฑ์ได้สวยงามใช้งานได้ดีขึ้น หรือสามารถบริการหรือส่งของได้รวดเร็วขึ้น ต้นทุนการผลิตลดลง ฯลฯ ส่วนผู้ปฏิบัติคือพนักงานหรือบุคลากรขององค์กรก็จะสามารถพัฒนาศักยภาพของตนเองได้อย่างเต็มที่ด้วยการมีส่วนร่วมในการปรับปรุงคุณภาพของงานและผลิตภัณฑ์ อันจะทำให้คุณภาพของชีวิตของทุกคนดีขึ้นเรื่อยๆ อย่างต่อเนื่อง โดยที่ TQM จะมีส่วนประกอบสำคัญ

TQM ประกอบด้วยส่วนประกอบสำคัญ 3 ส่วนคือ

1 การให้ความสำคัญกับลูกค้า (Customer Oriented)

การมุ่งเน้นคุณภาพที่สร้างความพึงพอใจให้แก่ลูกค้าได้การตอบสนองความต้องการของลูกค้าต้องทำการวิจัยตลาดให้รู้ก่อนว่า ลูกค้าต้องการอะไร แล้วยึดเอาความต้องการนั้นเป็นศูนย์กลางในการบริหารและดำเนินการขององค์การต่อไป

2 การพัฒนาอย่างต่อเนื่อง (Continuous Improvement)

ปรับปรุงกระบวนการทั้งหมดตั้งแต่ต้นจนจบวงจรอย่างต่อเนื่อง โดยเอาใจใส่ลูกค้าภายใน (Internal Customer) ตลอดจนถึงลูกค้าภายนอก (External Customer) กล่าวคือพนักงานทุกคนต้องถือว่ากระบวนการผลิตถัดไปเป็นลูกค้าภายในที่มีความต้องการชิ้นงานที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ดังนั้นเขาจึงต้องทำงานของตนเองอย่างถูกต้องตั้งแต่เริ่มต้นและทำได้ถูกต้องทุกครั้ง ซึ่งการทำงานได้อย่างถูกต้องจะต้องอาศัยพนักงานที่มีคุณภาพ ประกอบกับการปรับปรุงกระบวนการอย่างต่อเนื่องด้วยจึงสามารถลดความผิดพลาดต่างๆ ในการผลิตให้เหลือน้อยที่สุดได้ ดังนั้นองค์การที่ดำเนินงานตามปรัชญาของ TQM จะต้องกล้าตัดสินใจปรับปรุง และเปลี่ยนแปลงตนเองให้ก้าวไปข้างหน้าอย่างไม่หยุดยั้ง

3 สมาชิกทุกคนมีส่วนร่วม (Employees Involvements)

ทุกคนในองค์การมีส่วนร่วมในการพัฒนาองค์การ เพื่อปรับปรุงให้เป็นองค์กรคุณภาพ (Quality Organization) โดยผู้ที่ลงมือปฏิบัติจะเป็นผู้ที่รู้ปัญหาและช่วยเสนอแนะวิธีการแก้ไขปัญหาได้ดี

นายชีวัน พินธประกัง 5050504512 การจัดการทั่วไป รุ่น 11 หมู่ 5

ความหมายของ TQM

Total Quality Management หรือ TQM หรือการบริหารคุณภาพแบบเบ็ดเสร็จ การบริหารคุณภาพทั่วทั้งองค์การ และการบริหารคุณภาพแบบองค์รวม เป็นต้น ซึ่งอาจกล่าวได้ว่า TQM หมายถึง การบริหารคุณภาพโดยรวม ความหมายของ TQM มีความหมายเป็นพลวัต มีพัฒนาการ เป็นวัฒนธรรมขององค์การที่สมาชิกทุกคนต่างให้ความสำคัญ และมีส่วนร่วมในการพัฒนาการดำเนินงานขององค์การอย่างต่อเนื่อง โดยมุ่งที่จะตอบสนองความต้องการ และสร้างความพอใจให้แก่ลูกค้า ซึ่งจะสร้างโอกาสทางธุรกิจ ความได้เปรียบในการแข่งขัน และพัฒนาการที่ยั่งยืนขององค์การ

ประโยชน์ของTQM

1.ช่วยให้ผู้บริหารและองค์การสามารถรับรู้ปัญหาของลูกค้า และความต้องการที่แท้จริงของตลาด เพื่อให้การผลิตสินค้าและบริการตรงกับความต้องการตอบสนองความพึงพอใจแก่ลูกค้า

2.ให้ความสำคัญกับระบบที่เรียบง่ายและผลลัพธ์ที่ลดความสูญเสียและความสูญเปล่าในการดำเนินงาน และการบริหารต้นทุนอย่างมีประสิทธิภาพ

3.พัฒนาระบบ ขั้นตอน และการจัดเก็บข้อมูลการทำงาน ให้มีประสิทธิภาพ โปร่งใส ตรวจสอบได้ แก้ไขง่าย ไม่เสียเวลากับงานที่ไม่เพิ่มคุณค่าให้กับธุรกิจ

4.พนักงานมีส่วนร่วมในการดินเนินงาน การแก้ไขปัญหา และการสร้างรายได้ของธุรกิจ ทำให้พนักงานมีความพึงพอใจในงาน

5.มุ่งพัฒนาการดำเนินงานขององค์การ ให้มีคุณภาพสูงสุดในทุกมิติ

นายประดิษฐ์ บุบผาวัลย์ 5050504521 การจัดการทั่วไปรุ่น 11 หมู่ 5

การทำงานแบบทันเวลาพอดี (Just-in-Time:JIT)

การทำงานแบบทันเวลาพอดีเป็นการจัดสภาพแวดล้อมในการดำเนินงานให้มีควมเหมาะสมสอดคล้องกันกับจำนวนบุคลากร ปริมาณวัตถุดิบและสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ที่มีความจำเป็นต้องใช้ในการดำเนินงาน โดยเน้นที่การกำจัดสิ่งที่เปล่าประโยชน์ที่อาจจะเกิดขึ้นจากการทำงานที่ไม่มีประสิทธิภาพ เช่น ของเสียจากการใช้วัตถุดิบ ช่วงเวลาที่ศูนย์เปล่า เป็นต้นสำหรับในส่วนบุคลากรนั้นจะต้องมีการฝึกอบรมให้มีทักษะความชำนาญในการปฏิบัติงานที่มีความหลากหลายเพื่อให้บุคลากรเหล่านั้นนำความรู้ไปใช้ในการควบคุมกระบวนการผลิตได้ในหลายแผนกงานหรือทำการควบคุมเครื่องจักรได้หลายชนิดในกระบวนการผลิต

ประโยชน์ที่ได้รับจากการทำงานแบบทันเวลาพอดี

1.เกิดการเปลี่ยนแปลงของกระบวนการคำเนินงานดีขึ้น

2.ลดหรือกำจัดเวลาที่สูญเปล่า(เคลื่อนย้าย ขนส่ง ตรวจนับ ตรวจสอบ)

3.ต้นทุนของผลิตภัณฑ์และบริการในเวลาดำเนินงานลดลง

4.คุณภาพของผลิตภัณฑ์หรือบริการที่เพพพพพิ่มขึ้น

5.สร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้าเพิ่มขึ้น

6.เพิ่มความสามารถให้กับพนักงานในองค์การ

7.การดำเนินงานบรรลุถึงความสำเร็จจากการพัฒนาและปรับปรุงที่มีอย่างต่อเนื่อง

นางสาวกิริลักษณ์ ชนะชัย 5050504502 การจัดการทั่วไป รุ่น 11 หมู่ 5

การบริหารจัดการแบบ Six Sigma (6σ)

การบริหารจัดการแบบ Six Sigma ถือว่าเป็นการบริหาร TQM ขั้นสูงหรือแบบฉบับ สุดยอดของ TQM (Forrest W. Breyfogel et.al : 5) ทำให้คุณภาพและกระบวนการขององค์กร ต่าง ๆ มีการปรับปรุงคุณภาพ การเพิ่มผลผลิต การลดค่าใช้จ่ายได้มากมาย การที่มีการประกอบการที่ดีเยี่ยมเป็นองค์กรที่มีคุณค่าสามารถครองใจลูกค้า และมีการครอบครองตลาดเพิ่มขึ้น ระบบ TQM ต่างจาก Six Sigma ตรงที่ Six Sigma มุ่งมั่นที่จะให้สินค้ามีข้อบกพร่องของเสียเป็นศูนย์ (Zero Defect) ยกตัวอย่างเช่น บริษัท Motorola ในสหรัฐอเมริกาใช้เวลา 5 ปี เพื่อให้ของเสียทุกล้านชิ้นเป็น 3.4 แม้ถึงเวลาจะทำไม่ได้ตามเป้าแต่ทุกคนก็พยายามทำให้ได้ Gorge Eckes (2001) ได้ให้ความหมายของ Six Sigma คือวิธีการใช้กลยุทธ์ปรับปรุงธุรกิจ เพื่อหาแนวทางใน การเพิ่มความพึงพอใจให้แก่ลูกค้าและทำให้องค์กรมีความมั่นคงและมั่งคั่ง

Six Sigma (6σ) คือ ปรัชญาของการทำธุรกิจโดยเน้นการกำจัดสิ่งบกพร่อง ผ่านองค์ความรู้ที่เป็นกระบวนการ วิธีการของ Six Sigma เป็นการบูรณาการหลักการทางธุรกิจ สถิติ วิศวกรเข้าด้วยกันเพื่อให้บรรลุผลเชิงประจักษ์ เครื่องมือของ Six Sigma สามารถนำมาใช้ปรับปรุงกระบวนการและผลผลิตของบริษัท ใช้ได้กับทุกสาขาอาชีพรวมถึงการผลิต การขาย การตลาด การออกแบบ การบริหารจัดการและการบริการ Six Sigma จะให้ผลตอบแทนคือ กำไรที่จับต้องได้อย่างเป็นล่ำเป็นสัน เมื่อนำมาใช้กับพนักงานในองค์กรอย่างชำนาญจะทำให้เกิดประโยชน์ ดังนี้

1.Six Sigma จะลดค่าใช้จ่ายถึง 50 % หรือมากกว่านั้นโดยกรรมวิธี self – funded Approach เพื่อที่จะปรับปรุงการดำเนินให้ดีขึ้น

2.Six Sigma จะลดห่วงโซ่ของเสีย (Reduce the waste chain)

3.Six Sigma จะสนองความเข้าใจและความต้องการของลูกค้ามากขึ้น

4.Six Sigma จะส่งเสริมปรับปรุงการจัดส่งและการปฏิบัติงานให้มีคุณภาพ

5.Six Sigma จะจัดปัจจัยการนำเข้าที่เป็นกระบวนการสำคัญที่จำเป็นเพื่อตอบสนองต่อความต้องการของ ลูกค้า

6.Six Sigma จะพัฒนาผลผลิตและกระบวนการผลิตให้ดีขึ้น

7.Six Sigma จะกระตุ้นให้มีการปรับปรุงอย่างรวดเร็วด้วยทรัพยากรภายในที่มีอยู่

นายชีวัน พินธประกัง 5050504512 การจัดการทั่วไป รุ่น 11 หมู่ 5

ระบวนการจัดการ (Management Process) มีหน้าที่พื้นฐาน 4 ประการ ของผู้บริหาร

1. การวางแผน (Planning) เป็นขั้นตอนในการกำหนดวัตถุประสงค์ และพิจารณาถึงวิธีการที่ควรปฏิบัติ เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์

2. การจัดการองค์การ (Organization) เป็นขั้นตอนในการจัดบุคคลและทรัพยากรที่ใช้ในการทำงาน เพื่อให้บรรลุจุดมุ่งหมายในการทำงานนั้น

3. การนำ (Leading) เป็นการกระตุ้นให้เกิดความกระตือรือร้นชักนำความพยายามให้บรรลุเป้าหมายขององค์การ

4. การควบคุม (Controlling) เป็นการติดตามผลการทำงาน และแก้ไขปรับปรุงในสิ่งที่จำเป็น

ทฤษฎีการจัดการ (Principle of management) หรือ การบริหาร (Administrative principles)

Henri Fayol ได้ชื่อว่าเป็น บิดาของทฤษฎีการจัดการปฏิบัติการโดยแบ่งกิจกรรมด้านอุตสาหกรรมเป็น 6 กลุ่ม : เทคนิค การทำ การเงิน ความมั่นคง บัญชี และการจัดการ คำนึงถึงความจำเป็นในการสอนการจัดการ กำหนดการจัดการ 14 ประการ ได้แก่

(1) การแบ่งงานกันทำ

(2) อำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบ

(3) ระเบียบวินัย

(4) การมีผู้บังคับบัญชาเพียงคนเดียว

(5) การมีเป้าหมายเดียวกัน

(6) ผลประโยชน์ของบุคคล ควรจะเป็นรองจากผลประโยชน์ขององค์การ

(7) การให้ผลตอบแทน

(8) การรวมอำนาจ

(9) สายการบังคับบัญชา

(10) ความเป็นระเบียบ

(11) ความเสมอภาค

(12) ความมั่นคง

(13) ความคิดริเริ่ม

(14) ความสามัคคี

นางสาววิไลพร เพ็งจันทึก การจักการทั่วไป หมู่ 5 5050504506

การบริหารโครงการให้ประสบความสำเร็จ

                ค วามสำเร็จของการบริหารโครงการเป็นผลมาจากความสามารถของผู้จัดการโครงการในการจัดการโครงการ ด้านเวลา ด้านการเงิน ด้านคุณภาพ ด้านความพึงพอใจของลูกค้าหรือผู้รับบริการ การจัดการที่สำคัญทั้งสี่ด้านนี้มีความสัมพันธ์เชื่อมโยงกันอย่างใกล้ชิด หมายความว่า ช่องว่างหรือความผิดพลาดของการจัดการด้านใดด้านหนึ่งย่อมจะนำไปสู่ความล้มเหลวของการจัดการด้านอื่นๆเสมอ ดังนั้นผู้จัดการโครงการจะต้องถือว่าการจัดการทั้งหมดมีความสำคัญอย่างเท่าเทียมกัน ไม่มีเรื่องใดสำคัญมากที่สุด และสำคัญน้อยที่สุด

วิไลพร พ็งจันทึก 5050504506หมู่5

การออกแบบอินเทอร์เน็ต

         ในยุคแรกเน้นการรับส่งข้อมูลระหว่างกันเป็นหลัก โดยไม่คำนึงถึงคุณภาพการให้บริการบางประการ โดยเฉพาะการกำหนดให้ไอพีแพ็กเก็ตมีลักษณะเป็นดาต้าแกรม คือ การจ่าหน้า แอดเดรสปลายทางให้กับแพ็กเก็ต แล้วส่งไปโดยไม่คำนึงว่าจะถึงปลายทางเมื่อไร การให้บริการในลักษณะนี้จึงเหมาะสมกับการบริการบางประเภท เช่น อีเมล์ ซึ่งจะถึงล่าช้าไปบ้างไม่เป็นไร แต่ในปัจจุบันการให้บริการบนอินเทอร์เน็ตมีหลายอย่างที่ต้องการคุณภาพ เช่น การส่งข้อมูลเสียง การใช้งานแบบ Voice over IP การใช้เป็น IP-TV การใช้งานเป็น IP-Phone การใช้งานมัลติมีเดียต่าง ๆ เช่น ระบบวิดีโอคอนเฟอเรนซ์ เป็นต้น งานเหล่านี้ต้องได้คุณภาพจึงจะใช้งานได้ตามวัตถุประสงค์

        การกำหนดคำว่า QoS - Quality of Service จึงเป็นคำที่มีการกล่าวถึงกันมากในยุคนี้ เป็นมาตราที่ใช้ในการวัดการรับส่งข้อมูล การยอมรับในเรื่องคุณภาพ ซึ่งเป็นระดับที่บางครั้งก็ยากแก่การกำหนดว่า มาตรฐานคุณภาพบนอินเทอร์เน็ตเป็นอย่างไร แต่หากพิจารณา QoS ในเชิงเทคนิค พอจะนิยามได้ด้วยพารามิเตอร์หลาย ๆ ตัวดังนี้ การมีให้ใช้งานได้ (Availability) ในทางอุดมคติต้องได้ 100 เปอร์เซ็นต์ของเวลาการใช้งาน หรือกล่าวได้ว่า เวลาของดาวน์ไทม์ (Downtime) มีค่าเป็นศูนย์ แต่แน่นอนที่สุดว่า ไม่มีเครือข่ายใดจะให้บริการได้ 100 เปอร์เซ็นต์ หากกำหนดค่าควรมีให้ใช้งานได้เป็น 99.9999 เปอร์เซ็นต์ ก็แปลความได้ว่า ในหนึ่งเดือนจะต้องมีเวลาดาวน์ไทม์ หรือเครือข่ายขัดข้องได้ไม่เกิน 2.6 วินาที ช่องสัญญาณที่ส่งได้ (Throughput) ค่านี้มีความหมายถึง การรับส่งข้อมูลจากปลายหนึ่งไปยังอีกปลายหนึ่งได้ด้วยอัตราเท่าไรในจำนวนบิตต่อวินาที ค่านี้มิได้หมายถึงค่าสูงสุดของช่องสัญญาณที่จะรับส่งได้ ทั้งนี้เพราะช่องสัญญาณที่ใช้รับส่งได้ มีแพ็กเก็ตและข้อมูลของผู้อื่นร่วมอยู่ด้วย ช่องสัญญาณของผู้ส่งต่อกับผู้รับ มีลักษณะการส่งรวมกับผู้อื่น ค่า

Throughput นี้ อาจใช้ค่าที่ ISP รับประกันช่องสัญญาณน้อยที่สุดที่จะต้องส่งได้ หรือที่เรียกว่า minimum throughput guarantee เช่น เราเช่าสายวงจรเช่าขนาด 64 กิโลบิตต่อวินาที แต่มีการรับประกันว่าเราจะใช้ได้ไม่ต่ำกว่า 32 กิโลบิตต่อวินาที ค่า 32 จึงเป็นค่า 

Throughput แต่เมื่อใช้กับงานบริการเฉพาะบางอย่าง จำเป็นต้องมีการประกันช่องสัญญาณ เช่น การส่งสัญญาณเสียง สัญญาณวิดีโอ เป็นต้น การหายของแพ็กเก็ต (Packet loss) เมื่อพิจารณาที่สวิตช์หรือเราเตอร์ที่ต้องรับแพ็กเก็ตไว้เป็นจำนวนมาก แต่ไม่สามารถให้บริการได้ทัน จำเป็นต้องนำแพ็กเก็ตบางส่วนทิ้งไป แพ็กเก็ตที่หายไปโดยไม่สามารถส่งจากผู้ส่งไปยังผู้รับได้เรียกว่า ค่าการหายของแพ็กเก็ต เมื่อแพ็กเก็ตหายไปก็ต้องส่งใหม่ ซึ่งจะทำให้ปริมาณของข้อมูลยิ่งเพิ่มมากขึ้น การเพิ่มมากขึ้นก็มีโอกาสที่จะสูญหายมากขึ้นด้วยเช่นกัน

 เวลาลาเทนซี่ (Latency) ค่าเวลาลาเทนซี่เป็นค่าเวลาที่เกิดจากการเดินทางของแพ็กเก็ตข้อมูลจากต้นทางไปยังปลายทาง เช่น ข้อมูลอินเทอร์เน็ตเดินทางจากต้นทางไปยังสถานีเซิร์ฟเวอร์ที่อยู่ห่างออกไป 5,000 กิโลเมตร ต้องใช้เวลาไม่น้อยกว่า 150 มิลลิวินาที ค่า 150 มิลลิวินาทีที่วัดได้เป็นค่าลาเทนซี่ ค่าลาเทนซี่จะขึ้นกับวิธีการและเทคโนโลยี รวมถึงสูญเสียเวลาจากการหน่วงในอุปกรณ์เราเตอร์และสวิตชิ่งด้วย เช่น สัญญาณเดินทางผ่านดาวเทียม ซึ่งต้องเสียเวลาเพิ่มขึ้น เพราะดาวเทียมอยู่ห่างไกลต้องเสียเวลา

เวลาจิตเตอร์ (Jitter) อาจกล่าวได้ง่าย ๆ ว่าเป็นค่าการปรวนแปรของค่าเวลาลาเทนซี่ กล่าวคือ แพ็กเก็ตที่เคลื่อนที่จากต้นทางไปยังปลายทางหลาย ๆ แพ็กเก็ต ปรากฏว่าการไปถึงปลายทางใช้ระยะเวลาต่างกันทำให้ข้อมูลบางส่วนที่ไปก่อนอาจถึงทีหลัง หรือมีเวลาเหลื่อมกัน ทำให้การตรวจสอบลำดับของแพ็กเก็ตในผู้รับต้องกระทำด้วย ข้อมูลที่ใช้ในการรับส่งบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตจึงมีลักษณะที่ต้องการในคุณสมบัติที่แตกต่างกัน ตารางที่ 1 แสดงให้เห็นถึงการประยุกต์แบบต่าง ๆ ที่ต้องคำนึงในเรื่อง QoS ด้วยพารามิเตอร์ต่าง ๆ

นายสายัณห์ พรมจันทึก การจัดการทั่วไปรุ่น11หมู่5 5050504534

การกำหนดนโยบายสิ่งแวดล้อม (Environmental Policy) โดย

1.1 ผู้บริหารระดับสูงกำหนดนโยบายสิ่งแวดล้อม

1.2 แสดงความมุ่งมั่นที่จะใช้ EMS

การวางแผน (Planning)

2.1 เพื่อสนองนโยบาย

2.2 เพื่อเป็นแนวทางปฏิบัติ

การเริ่มปฏิบัติและดำเนินการ (Implementation and Operation) เพื่อ

3.1 พัฒนาขีดความสามารถ

3.2 สนับสนุนทุกด้านที่จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพ

การตรวจและการแก้ไข (Checking and Corrective Action) เพื่อ

5.1 ทบทวนผลการปฏิบัติงานและระบบ

5.2 ปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง

5.3 มุ่งเน้นการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม

องค์ประกอบของระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม

ประโยชน์ของระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม (EMS)

ระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมที่ดีจะทำให้องค์กรมีความสามารถในอันที่จะก่อให้เกิดประโยชน์ไว้ดังนี้

1. มีนโยบายสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสม

2. บ่าชี้ผลต่อสิ่งแวดล้อมซึ่งเกิดจากการกระทำ ผลิตภัณฑ์หรือการบริการขององค์กรในอดีตปัจจุบัน หรือตามที่ได้วางแผนไว้ เพื่อหาผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมที่มีความสำคัญ

3. แยกแยะความต้องการของกฎหมาย และข้อบังคับต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง

4. จัดความสำคัญก่อนหลัง ทำวัตถุประสงค์และเป้าหมายสิ่งแวดล้อมให้ตรงตามความสำคัญนั้น

5. จัดทำโครงสร้างและโปรแกรม เพื่อปฏิบัติตามนโยบายให้บรรลุถึงวัตถุประสงค์และเป้าหมาย

6. ช่วยในการวางแผน ควบคุม ติดตามผล แก้ไข ตรวจสอบและทบทวนเพื่อให้แน่ใจว่าทั้งนโยบายและระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมมีความเหมาะสมอยู่เสมอ

7. สามารถปรับเปลี่ยนระบบให้เข้ากับสภาพการณ์ที่เปลี่ยนไปได้

นายพิเชษฐ์ เชาว์พลกรัง 5050504523 การจัดการทั่วไปรุ่น 11 หมู่ 5

การจัดการคุณภาพ (Quality Management)

จากความหมายของคำว่าคุณภาพมาสู่แนวทางการดำเนินการเพื่อคุณภาพที่ดีนั้นได้มีคำหลายคำที่ใช้ในการบ่งบอกถึงการปฏิบัติการเกี่ยวกับคุณภาพ เช่น ระบบคุณภาพ การควบคุมคุณภาพ การประกันคุณภาพ หรือ การบริหารงานคุณภาพ ฯลฯ ซึงมีความหมายแตกต่างกันดังต่อไปนี้

1. การควบคุมคุณภาพ (Quality Control หรือ QC) หมายถึง กิจกรรมและกลวิธีการปฏิบัติเพื่อสนองความต้องการด้านคุณภาพภายในธุรกิจ โดยการตรวจสอบ การวัด และการทดสอบที่มุ่งจะควบคุมวัตถุดิบ กระบวนการ และการกำจัดสาเหตุของข้อบกพร่องที่เกิดขึ้นจากการดำเนินการทั้งหมด เช่น การสุ่มตัวอย่างน้ำผลไม้กระป๋องมาตรวจสอบรสชาติ

การควบคุมคุณภาพเน้นการตรวจสอบและแยกแยะของดีและของเสียออกจากกัน โดยระบุเป็นร้อยละของของเสียที่พบจากล็อตการผลิต เพื่อควบคุมมิให้ของเสียมีมากเกินกว่าที่กำหนดและในปัจจุบันการควบคุมคุณภาพมุ่งเน้นที่ของเสียต้องเป็นศูนย์ (Zero Defect)

2. การประกันคุณภาพ (Quality Assurance หรือ QA) หมายถึง การดำเนินการเพื่อสุขภาพตามระบบและแผนงานที่วางไว้อย่างเคร่งครัด เพื่อที่จะมั่นใจได้ว่าผลิตภัณฑ์หรือบริการมีคุณภาพตามที่ลูกค้าต้องการ เช่น การดำเนินงานตามมาตรฐานคุณภาพสากล ISO 9000

3. การบริหารคุณภาพ (Quality Management หรือ QM) หมายถึง การจัดการระบบคุณภาพโดยทุกคนที่เกี่ยวข้องทั้งภายในและภายนอกองค์การรับผิดชอบต่องานที่ตนเองกระทำอย่างเต็มที่เพื่อให้สินค้าและบริการเป็นไปตามต้องการของลูกค้า เช่น การใช้ระบบการบริหารคุณภาพสมบูรณ์แบบ (Total Quality Management หรือ TQM)

วัตถุประสงค์หลักของการบริการคุณภาพ คือ การผลิตสินค้าหรือบริการที่ตอบสนองความต้องการของลูกค้า ซึ่งความต้องการของลูกค้าจะเป็นกรอบกำหนดระบบคุณภาพขององค์การทั้งทางตรงและทางอ้อม ดังนั้นการบริหารคุณภาพจะมุ่งสร้างความพึงพอใจให้แก่ลูกค้าเป็นสำคัญ

นายนุกูล มณีรุ่ง 5050504518 การจัดการทั่วไปรุ่น11 หมู่5

การบริหารจัดการแบบ Six Sigma

Six Sigma (6σ) คือ ปรัชญาของการทำธุรกิจโดยเน้นการกำจัดสิ่งบกพร่อง ผ่านองค์ความรู้ที่เป็นกระบวนการ วิธีการของ Six Sigma เป็นการบูรณาการหลักการทางธุรกิจ สถิติ วิศวกรเข้าด้วยกันเพื่อให้บรรลุผลเชิงประจักษ์ เครื่องมือของ Six Sigma สามารถนำมาใช้ปรับปรุงกระบวนการและผลผลิตของบริษัท ใช้ได้กับทุกสาขาอาชีพรวมถึงการผลิต การขาย การตลาด การออกแบบ การบริหารจัดการและการบริการ Six Sigma จะให้ผลตอบแทนคือ กำไรที่จับต้องได้อย่างเป็นล่ำเป็นสัน เมื่อนำมาใช้กับพนักงานในองค์กรอย่างชำนาญจะทำให้เกิดประโยชน์ ดังนี้

1.Six Sigma จะลดค่าใช้จ่ายถึง 50 % หรือมากกว่านั้นโดยกรรมวิธี self – funded Approach เพื่อที่จะปรับปรุงการดำเนินให้ดีขึ้น

2.Six Sigma จะลดห่วงโซ่ของเสีย (Reduce the waste chain)

3.Six Sigma จะสนองความเข้าใจและความต้องการของลูกค้ามากขึ้น

4.Six Sigma จะส่งเสริมปรับปรุงการจัดส่งและการปฏิบัติงานให้มีคุณภาพ

5.Six Sigma จะจัดปัจจัยการนำเข้าที่เป็นกระบวนการสำคัญที่จำเป็นเพื่อตอบสนองต่อความต้องการของ ลูกค้า

6.Six Sigma จะพัฒนาผลผลิตและกระบวนการผลิตให้ดีขึ้น

7.Six Sigma จะกระตุ้นให้มีการปรับปรุงอย่างรวดเร็วด้วยทรัพยากรภายในที่มีอยู่

กลับขึ้นข้างบน

นายสรศักดิ์ เจริญวงษ์ 5050504532 การจัดการทั่วไป รุ่น11

องค์ประกอบหลักของการพัฒนาองค์กร (Organization Development )

1. มีพื้นฐานทางด้านสังคมศาสตร์ แม้ว่าปัจจุบันเทคนิคการพัฒนาองค์กรได้ขยายตัวและบูรณาการเข้ากับเทคนิคการบริหารอื่นๆ เช่นการบัญชีและการเงิน การปรับปรุงเทคโนโลยีสำนักงานและการดำเนินการ เป็นต้น แต่ไม่ว่าเราจะพัฒนาองค์กรไปในรูปแบบใดเราก็ต้องประยุกต์โดยการนำความเข้าใจและหลักทางสังคมศาสตร์และมนุษย์สัมพันธ์มาประยุกต์เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้นในทิศทางที่ต้องการ

2. ให้ความสำคัญกับการพัฒนาสมาชิกขององค์กร โดยหลักการเชื่อว่ามนุษย์ทุกคน มีความสามารถและต้องการจะมีสภาพชีวิตที่ดี ดังนั้นผู้บริหารจะต้องจัดโครงสร้างองค์กร ระบบงาน และบรรยากาศที่สร้างความพอใจในการทำงาน และพร้อมเปิดโอกาสให้พนักงานมีความก้าวหน้า และพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง

 3. เพิ่มความสามารถในการทำงานขององค์กร การพัฒนาองค์กร จะศึกษาและวิเคราะห์ปัญหาเพื่อกำหนดแนวทางในการปรับปรุงและแก้ไขปัญหาในระดับต่างๆ ขององค์กร ตั้งแต่ระดับบุคคล หน่วยงานหรือองค์กร เพื่อให้การทำงานมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงขึ้น

นายวีรพงษ์ ศรีตระกูล 5050504529 การจัดการทั่วไปรุ่น 11 หมู่ 5

ระบบการจัดการด้านคุณภาพ (ISO 9001) ISO 9001 ระบบการจัดการด้านคุณภาพ ISO 9001 ถูกพัฒนาขึ้นเป็นระบบมาตรฐานสากลเพื่อที่จะทำให้มั่นใจได้ว่าผู้ผลิตหรือผู้ให้บริการได้จัดตั้งและรักษาระบบการจัดการด้านคุณภาพที่เป็นมาตรฐานเดียวกัน โดยมีจุดประสงค์ที่จะตอบสนองความต้องการของลูกค้าให้ดียิ่งขึ้น โดยมาตรฐานนี้เกี่ยวกับ การออกแบบ การพัฒนา การผลิต และการให้บริการ ซึ่งสามารถใช้ได้กับทุกประเภทธุรกิจในทุกอุตสาหกรรม บริษัทจำเป็นต้องมีความตระหนักและเป้าหมายที่ชัดเจนรวมทั้งหลักฐานของระบบการจัดการที่มีประสิทธิผล เพื่อให้สามารถประสบความสำเร็จในการเตรียมตัวตามข้อกำหนดของมาตรฐาน ใบรับรองมาตรฐาน ISO 9001 เป็นหลักฐานแสดงให้เห็นว่าระบบการจัดการด้านคุณภาพถูกนำไปใช้ในองค์กรอย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ใบรับรองมาตรฐานนี้ยังสามารถนำมาใช้เป็น countermeasure สำหรับแก้ปัญหาเกี่ยวกับ product liability ที่มีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น การรับรองระบบการจัดการเป็นกระบวนการที่ต้องใช้ระยะเวลา ความพยายามและมีรายจ่ายสูง ดังนั้นการพิจารณาเลือกใช้บริการจากสถาบันหรือองค์กรที่ให้การตรวจรับรอง "Certification Body" ที่มีชื่อเสียงและมีประสบการณ์ถือเป็นขั้นตอนหนึ่งที่มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง บริษัท ที ยู วี ไรน์แลนด์ ประเทศไทย ซึ่งมีประสบการณ์สูงและเป็นมืออาชีพในการให้บริการรับรองระบบการจัดการ สามารถช่วยให้บริษัทของท่านได้รับประโยชน์สูงสุดจากการจัดทำระบบการจัดการด้านคุณภาพและการขอใบรับรองมาตรฐาน ISO 9001 เราจะทำงานร่วมกับท่านเพื่อให้กระบวนการรับรองระบบง่ายขึ้นสำหรับบริษัทของท่าน ปัจจุบันนี้บริษัทเราเป็นหนึ่งในองค์กรให้การรับรองชั้นนำในประเทศไทยและในระดับสากล ซึ่งผู้ตรวจสอบของเรามีทักษะ ประสบการณ์ และความเชี่ยวชาญที่หลากหลายและครอบคลุมทุกอุตสาหกรรมเพื่อที่ให้บริการได้ตรงกับความต้องการที่แตกต่างของท่าน ISO 9001:2000 ได้รวมเอาระบบ ISO 9001 / ISO 9002 และ ISO 9003:1994 ไว้ด้วยกันและ จะเริ่มใช้ในเดือนธันวาคม 2003 โดยระบบมาตรฐาน ISO9001:2000 แตกต่างจาก ISO 9001:1994 ในเรื่องที่สามารถครอบคลุมในทุกอุตสาหกรรมและตัวบ่งชี้ความพึงพอใจของลูกค้าซึ่งถูกนำมาใช้เป็นแนวทางการบริหารจัดการระบบมาตรฐานด้านคุณภาพโดยเป้าหมายคือ ความพึงพอใจสูงสุดของลูกค้าและมีประสิทธิภาพสูงขึ้นในภาพรวมทั้งหมดของบริษัท ระบบการจัดการคุณภาพ ISO 9001:2000 ประกอบด้วย 8 หัวข้อหลัก 1. การมุ่งเน้นลูกค้า 2. ความเป็นผู้นำ 3. การมีส่วนร่วมของบุคคลากร 4. การเข้าถึงกระบวนการอย่างเป็นระบบ 5. การจัดการระบบ 6. การพัฒนาอย่างต่อเนื่อง 7. การตัดสินใจบนข้อมูลที่เพียงพอ 8. ความสัมพันธ์ในเรื่องผลประโยชน์กับผู้รับเหมาหรือผู้ขาย

นายเรืองธรรม ประมุธา 5050504527 การจัดการทั่วไปรุ่น 11 หมู่ 5

เครื่องมือคุณภาพใหม่ 7 อย่าง (The 7 New QC Tools)

เครื่องมือคุณภาพใหม่ 7 อย่าง

(The 7 New QC Tools)

ความสำคัญของเครื่องมือคุณภาพใหม่ 7 อย่าง (The 7 New QC Tools)

เครื่องมือคุณภาพใหม่ 7 อย่าง หรือเครื่องมือสำหรับการบริหาร 7 อย่าง (The 7 Management Tools) เป็นเครื่องมือที่ทางประเทศญี่ปุ่นพัฒนาเพิ่มเติมมาจากเครื่องมือคุณภาพ 7 อย่าง (The 7 QC Tools) ให้มีความเหมาะสมและเป็นประโยชน์สำหรับผู้บริหารระดับหัวหน้า/ผู้จัดการแผนก/ฝ่ายขึ้นไป ใช้ช่วยในการเก็บและวิเคราะห์ข้อมูลที่เป็นคำพูด ความรู้สึกจากผู้บริหาร เพื่อวางแผนกลยุทธ์ แผนปฏิบัติการ ในเชิงป้องกันหรือเชิงรุก โดยการระดมความคิดและข้อเท็จจริงในอดีต รวมถึงการมองภาพความต้องการในอนาคตของลูกค้าและคู่แข่งมาใช้เพื่อกำหนดแผนงาน/โครงการในการรักษาฐานลูกค้าเดิม ขยายฐานลูกค้าใหม่ เพิ่มยอดขาย และลดต้นทุนขององค์กรได้อย่างเป็นระบบ

เครื่องมือคุณภาพใหม่ 7 อย่าง หรือเครื่องมือสำหรับการบริหาร 7 ประการ มีอะไรบ้าง ใช้เมื่อไหร่ และใช้อย่างไร

ก่อนจะนำเครื่องมือมาใช้ องค์กรต้องมีวัตถุประสงค์/เป้าหมายที่ชัดเจนก่อนว่า ต้องการไปถึงจุดใดเครื่องมือคุณภาพใหม่ 7 อย่าง มีดังต่อไปนี้

1แผนภูมิการจัดกลุ่มความคิด (Affinity Diagram) ใช้เพื่อรวบรวมข้อมูลที่เป็นคำพูด ความรู้สึกจากผู้บริหารที่เกี่ยวข้อง นำมาจัดเป็นหมวดหมู่ เพื่อแยกกลุ่มของข้อมูลไว้สำหรับการนำมาวิเคราะห์ในขั้นต่อไป โดยตั้งคำถามว่า “ทำไม” “เพราะอะไร” จึงเกิดปัญหาดังกล่าวขึ้นในองค์กร (ทำไมถึงไม่บรรลุวัตถุประสงค์/เป้าหมาย?)

2แผนภูมิแสดงความสัมพันธ์ (Relation Diagram) หลังจากจัดกลุ่มข้อมูล (Affinity Diagram) แล้ว ผู้บริหารควรมุ่งเน้นไปที่ปัญหาที่ต้องการจะแก้ไข/ป้องกันเพื่อใช้ในการวางแผนเชิงรุก และเชื่อมโยงกลุ่มข้อมูลที่ได้จากการจัดกลุ่มความคิด (Affinity Diagram) แต่ละกลุ่มแต่ละความคิด แสดงข้อมูลที่เป็นเหตุ-ข้อมูลที่เป็นผลและเชื่อมโยงจนกระทั่งทราบถึงต้นตอหรือสาเหตุที่แท้จริงของปัญหา (Root Causes) เพื่อนำไปหาแผนงานแนวทางหรือวิธีการป้องกันปัญหาให้สามารถบรรลุวัตถุประสงค์/เป้าหมายต่อไป

3แผนภูมิต้นไม้ตัดสินใจ (Tree Diagram) ใช้เพื่อหาแนวทางแก้ไข/ป้องกัน ในรูปของแผนงาน/แนวทางหรือวิธีการ โดยตอบคำถามว่า “ทำอย่างไร” เพื่อมุ่งสู่วัตถุประสงค์/เป้าหมายที่อยากเป็น โดยการมุ่งเน้นไปที่ต้นตอหรือสาเหตุที่แท้จริงของปัญหา จากแผนภูมิแสดงความสัมพันธ์ (Relation Diagram)

4แผนภูมิเมตริกซ์ (Matrix Diagram) เป็นเครื่องมือที่ช่วยหาความสัมพันธ์ของวัตถุประสงค์/เป้าหมาย และแผนงาน/มาตรการ/วิธีการ ที่ได้จากการเสนอแนะขึ้นว่าแนวทางใดน่าจะมีความเป็นไปได้ มีความคุ้มค่า และส่งผลกระทบให้บรรลุถึงเป้าหมายได้ก่อน โดยใช้ทรัพยากรที่มีอยู่จำกัด อย่างเต็มประสิทธิภาพ/ประสิทธิผล

5แผนภาพการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเมตริกซ์ (Matrix Data Analysis Chart) เป็นเครื่องมือที่ใช้เปรียบเทียบสมรรถนะ (Benchmark) จากมุมมองของลูกค้าและเทียบกับคู่แข่งที่เป็นผู้นำในด้านสินค้า หรือบริการคล้ายๆกับองค์กรของเรา วิธีนี้จะทำให้เห็นภาพว่าองค์กรเราอยู่ในตำแหน่งใด (Positioning) เพื่อมองกลยุทธ์ในการบริหารจัดการที่เหมาะสมต่อไปอย่างถูกทิศทาง

6แผนภาพทางเลือกตัดสินใจเพื่อบริหารความเสี่ยง (Process Decision Program Chart, PDPC) เป็นเครื่องมือที่ใช้ช่วยหาแนวทางซึ่งอาจเป็นแผนงาน/มาตรการ/วิธีการ โดยมุ่งเน้นไปยังอุปสรรคที่น่าจะมีโอกาสเกิดขึ้นในกระบวนการทำงาน เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์/เป้าหมายที่กำหนดไว้ เมื่อทราบถึงทุกอุปสรรคในกระบวนการก็สามารถหาแนวทางในการขจัดอุปสรรคทุกประเภทที่อาจเกิดขึ้นได้ในอนาคต คล้ายกับการมีแผนปฏิบัติการฉุกเฉินรองรับไว้เผื่อสำหรับการเปลี่ยนแปลงหรือความไม่แน่นอนที่จะเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา ทำให้องค์กรมีความมั่นใจต่อการเผชิญกับ

7 แผนภูมิลูกศร (Arrow Diagram) เป็นการวางแผนงานที่มีการกำหนดกิจกรรม ผู้รับผิดชอบ ระยะเวลา และลำดับก่อนหลังของแต่ละกิจกรรมว่ากิจกรรมใดควรทำก่อน-หลัง เพื่อที่จะบริหารโครงการหรือแผนงานให้บรรลุเป้าหมายได้ในระยะเวลาที่กำหนดไว้ และใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า

นายพิเชษฐ์ เชาว์พลกรัง 5050504523 การจัดการทั่วไปรุ่น 11 หมู่ 5

การบริหารคุณภาพโดยรวม(TOtal Quality Management:TQM)

การบริหารคุณภาพโดยรวม มีเป้าหมายของระบบการบริหารรูปแบบนี้คือ การปรับปรุงทั้งในด้านของสภาพแวดล้อมในการทำงาน คุณภาพของผลิตภัณฑ์และการบริการให้ดีขึ้น ระบบการจัดการคุณภาพโดยรวมมีลักษณะหลายประการที่เหมือนกับการบริหารงานตามระบบการทำงานแบบทันเวลาพอดี การปฏิบัติหน้าที่ของแต่ละคนจะเน้นที่การทำงานร่วมกันเป็นทีม และจะมีอำนาจในการตัดสินใจเพื่อการปรับปรุงผลิตภัณฑ์ การบริการ ตลอดจนสภาพแวดล้อมในการทำงาน TQM จะเน้นที่การปรับปรุงคุณภาพของผลิตภัณฑ์ โดยสามารถอธิบายถึงสาเหตุของการสูญเสียทรัพยากรที่เปล่าประโยชน์ หรือลดการเกิดของเสียในกระบวนการผลิตได้ด้วย เนื่องจากจะมีผลต่อคุณภาพและประสิทธิผลในด้านของการใช้ทรัพยากรโดยทำการป้องกันและตรวจสอบการทำงานในจุดต่างๆ ที่อาจเป็นสาเหตุของการสูญเสียทรัพยากร

ประโยชน์จากการบริหารคุณภาพโดยรวม

1.ลดหรือกำจัดทรัพยากรที่สูญเปล่าที่เป็นสาเหตุของความบกพร่อง

2.ลดความเสียหายของวัตถุดิบในกระบวนการผลิต

3.ลดเวลาที่สูญเปล่าและไม่เกิดประโยชน์

4.สร้างความสามัคคีในองค์การ

5.เป็นแนวทางในการปฏิบัติงานในองค์การ

ผลลัพธ์

1.คุณภาพของผลิตภัณฑ์ดีขึ้น 2.สร้างความพึงพอใจให้ลูกค้า 3.ลดต้นทุน

เป้าหมาย

1.การดำเนินงานบรรลุถึงความสำเร็จจากการพัฒนาและปรับปรุงที่มีอย่างต่อเนื่อง

2.เกิดความคิดสร้างสรรค์ในการปรับปรุงคุณภาพผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ

นางสุวรรณี แสงประพาฬ 5050504508 การจัดการทั่วไป รุ่น11

ความหมายของคุณภาพ (Defining Quality)

“คุณภาพ (Quality)” ผู้เชี่ยวชาญทางด้านคุณภาพหลายท่านได้ให้ความหมายซึ่งพอสรุปได้ดังต่อไปนี้ คือ เป็นการดำเนินงานให้เป็นไปตามข้อกำหนดที่ต้องการ โดยคำนึงถึงการสร้างความพอใจให้กับลูกค้า และมีต้นทุนการดำเนินงานที่เหมาะสม

ลักษณะของผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพ (Quality in Goods)

- การปฏิบัติงานได้ (Performance) ผลิตภัณฑ์ต้องสามารถใช้งานได้ตามหน้าที่ที่กำหนดไว้

- ความสวยงาม (Aesthetics) ผลิตภัณฑ์ต้องมีรูปร่าง ผิวสัมผัส กลิ่น รสชาติ และสีสันที่ดึงดูดใจลูกค้า

- คุณสมบัติพิเศษ (Special Features) ผลิตภัณฑ์ควรมีลักษณะพิเศษที่โดดเด่นแตกต่างจากผู้อื่น

- ความสอดคล้อง (Conformance) ผลิตภัณฑ์ควรใช้งานได้ตามที่ลูกค้าคาดหวังไว้

- ความปลอดภัย (Safety) ผลิตภัณฑ์ควรมีความเสี่ยงอันตรายในการใช้น้อยที่สุด

- ความเชื่อถือได้ (Reliabity) ผลิตภัณฑ์ควรใช้งานได้อย่างสม่ำเสมอ

- ความคงทน (Durability) ผลิตภัณฑ์ควรมีอายุการใช้งานที่ยาวนานในระดับหนึ่ง

- คุณค่าที่รับรู้ (Perceived Quality) ผลิตภัณฑ์ควรสร้างความประทับใจ และมีภาพพจน์ที่ดีในสายตาลูกค้า

- การบริการหลังการขาย (Service after Sale) ธุรกิจควรมีการบริการหลังการขายอย่างต่อเนื่องทำให้สินค้าสามารถคงคุณสมบัติหรือหน้าที่การงานที่สมบูรณ์ต่อไปได้ รวมทั้งบริการในการรับฟังความคิดเห็นจากลูกค้าเกี่ยวกับตัวผลิตภัณฑ์ด้วย

ลักษณะของบริการที่มีคุณภาพดี (Quality in Services)

- ความเชื่อถือได้ (Reliability) การบริหารสามารถให้บริการได้อย่างสม่ำเสมอ

- ตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้ (Responsiveness) ตรงตามความต้องการที่แท้จริงของลูกค้า

- ความสามารถ (Competence) พนักงานที่ให้บริการจะต้องมีทักษะและความรู้เพื่อปฏิบัติในการบริการ

- ความสุภาพ (Courtesy) พนักงานผู้ให้บริการจะต้องมีมารยาทที่ดี เป็นมิตร และอ่อนน้อม

- ความน่าไว้วางใจ (Credibity) ผู้ให้บริการจะต้องเป็นคนที่มีความซื่อสัตย์, ความน่าไว้ใจและน่าเชื่อถือ

- ความปลอดภัย (Security) การบริการจะต้องมีความปลอดภัย ไม่มีความเสี่ยง

- ความเข้าถึง (Access) การบริการควรจะง่ายต่อการติดต่อ

- การติดต่อสื่อสาร (Communication) การบริการควรจะสามารถให้ข้อมูลเมื่อลูกค้าต้องการหรือสอบถาม

- ความเข้าใจในตัวลูกค้า (Understanding the Customer) การเข้าใจลักษณะเฉพาะของลูกค้าแต่ละคน

ทัศนะคติของลูกค้าในแง่ของผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพที่ดี

- ผลิตภัณฑ์สามารถใช้งานได้ดีตามรายละเอียดทางวิศวกรรม (Specification) ที่ระบุไว้

- ผลิตภัณฑ์คุ้มค่ากับเงินหรือราคาที่ลูกค้าจ่ายเพื่อจะได้ผลิตภัณฑ์นั้นมา

- ผลิตภัณฑ์เหมาะสมกับการใช้งานตามวัตถุประสงค์ของผู้ใช้ โดยมีความปลอดภัยต่อผู้ใช้และสิ่งแวดล้อมด้วย

- ผลิตภัณฑ์มีการบริการประกอบเพื่อความสะดวกของลูกค้า หรือเพื่อรักษาสภาพที่สมบูรณ์ของสินค้าให้คงอยู่ในช่วงระยะเวลาการใช้งานได้ตลอด

- ผลิตภัณฑ์สร้างความภาคภูมิใจ ความประทับใจให้แก่ผู้ใช้

นายประดิษฐ์ บุบผาวัลย์ 5050504521 การจัดการทั่วไปรุ่น 11 หมู่ 5

TPM คือ อะไร

TPM ย่อมาจากคำว่า Total Productive Maintenance แปลเป็นไทยว่า การบำรุงรักษาทวีผลที่ทุกคนมีส่วนร่วม

หลักการของ TPM นั้นเริ่มต้นการพัฒนามาจาก การดำเนินการ PM หรือการทำ Preventive Maintenance และได้พัฒนาการดำเนินการมาเรื่อยๆ โดยความคิดพื้นฐาน เริ่มจากการทำการบำรุงรักษาเครื่องจักร เพื่อไม่ให้เสีย และสามารถเดินเครื่อง ตามที่ต้องการได้ โดยการใช้ ทั้งการบำรุงรักษาตามคาบเวลา (Time Base Maintenance) การบำรุงรักษาตามสภาพของเครื่องจักร (Condition Base Maintenance) และ การเปลี่ยนแปลงเครื่องจักร ที่บำรุงรักษาง่ายขึ้น และมีอายุการใช้งานนานขึ้น (Maintenance Prevention) แต่เครื่องจักร ก็ยังเสียอยู่ และมีค่าใช้จ่าย ในการบำรุงรักษาสูงมาก

ความคิดเรื่องการทำการบำรุงรักษา เพื่อให้เครื่องจักรไม่เสียนั้น จึงเริ่มจากการตรวจสอบ ให้ทราบถึงการเสื่อมสภาพ ของชิ้นส่วนต่างๆ ก่อนที่เครื่องจักรนั้นๆ จะเสียหาย ดังนั้นจึงต้องมีผู้ที่มีความสามารถ ในการตรวจสอบเครื่องจักร ซึ่งต้องเป็นผู้ที่สามารถรับรู้ การเสื่อมสภาพได้อย่างแม่นยำ ผู้ที่จะทำเช่นนี้ได้อย่างดีที่สุดก็คือ พนักงานเดินเครื่อง ต่อมาจึงได้พัฒนามาเป็น การบำรุงรักษาด้วยตนเอง หรือ Autonomous Maintenance ซึงเป็นเอกลักษณ์ของ TPM การดำเนินการ การบำรุงรักษาด้วยตนเองหรือ Autonomous Maintenance จึงเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวของ TPM

แต่การดำเนินการเพียงเพื่อให้เครื่องจักรเสียเป็oศูนย์ นั้นยังไม่เพียงพอ TPM จึงมุ่งไปสู่การเป็นผู้ผลิตระดับโลก หรือ World Class Manufacturing โดยนำกิจกรรมอื่นมาผนวกรวมด้วยเป็น 8 กิจกรรมหลักของการดำเนินการ TPM หรือที่เรียกว่า 8 เสาหลักของ TPM นั่นเอง

วัตถุประสงค์ของ TPM

1.เพื่อสร้างวัฒนธรรมของการเป็น ศูนย์ ซึ่งหมายถึง อุบัติเหตุเป็นศูนย์ ของเสียเป็นศูนย์ เครื่องเสียเป็นศูนย์ ในทุกกระบวนการผลิต โดยใช้หลักการ 5G

2.เพื่อให้เกิดความร่วมมือร่วมใจกัน ของพนักงานทุกระดับ ในอันที่จะลดความสูญเสียลง ตั้งแต่ ผู้บริหารระดับสูง จนถึงพนักงานหน้างาน

3.เพื่อให้เกิดความร่วมมือร่วมใจกัน ของพนักงานทุกแผนก ทุกหน่วยงานในองค์กร ในอันที่จะลดความสูญเสียลง

4.เพื่อให้ทักษะ ความรู้ ความสามารถของพนักงานทุกคนสูงขึ้น

5.เพื่อปรับเปลี่ยนวัฒนธรรมขององค์กร ไปสู่การเป็นผู้ผลิตที่สามารถแข่งขันได้ในระดับโลก

 

นายชีวัน พินธประกัง 5050504512 การจัดการทั่วไปรุ่น 11 หมู่ 5

แนวคิดที่สำคัญของนักวิชาการด้านคุณภาพที่มีชื่อเสียง ได้แก่

แนวความคิดของ Walter A. Schewhart

นักสถิติชาวอเมริกันที่เริ่มใช้หลักการทางสถิติมาประยุกต์ในการควบคุมคุณภาพ ที่เรียกว่า การควบคุมคุณภาพเชิงสถิติ (Statistic Quality Control) หรือ SQC โดยที่ Schewhart ได้พัฒนาแผนภูมิการควบคุม (Control Chart) และการสุ่มตัวอย่างเพื่อทดสอบผลิตภัณฑ์ ตลอดจนสร้างวงจรควบคุมคุณภาพที่เรียกว่า Schewart Curcle ซึ่งประกอบด้วย 4 ขั้นตอน คือ Plan Do Study Action หรือ PDSA ที่ต่อมามีการพัฒนาปรับปรุงโดย Deming กลายเป็น Deming Curcle หรือ วงจร PDCA (ณัฏฐพันธ์ เขจรนันท์,2545:36)

แนวความคิดของ Josheph M. Juran

เป็นผู้ให้ความหมายของคำว่า คุณภาพ ว่า หมายถึง ความเหมาะสมกับการใช้งาน (Fitness for Use) ของผู้ซื้อผลิตภัณฑ์ หรือผู้รับบริการ โดยเริ่มใช้ต้นแนวคิดเกี่ยวกับ ลูกค้าภายใน (Internal Customer) และให้ความสำคัญกับต้นทุนแห่งคุณภาพ (Cost of Quality) โดยพิจารณาประโยชน์ใช้สอยและการควบคุมด้วยการบริหารคุณภาพ ซึ่งJuran มีความเชื่อว่าความผิดพลาดที่เกิดขึ้นในการผลิต และการดำเนินงานสามารถควบคุมได้ด้วยการจัดการที่ดี โดยการค้นหาปัญหาสำคัญเพียง 2-3 ปัญหา (Vital Few) ที่แก้ไขแล้ว จะให้ผลอย่างมากต่อการพัฒนาคุณภาพ นอกจากนี้ Juran ยังกล่าวว่า การจัดการคุณภาพประกอบด้วย การวางแผน การควบคุม และการปรับปรุงคุณภาพ(ณัฏฐพันธ์ เขจรนันท์,2545:36)

แนวความคิดของ Willium Edwards Deming

นักสถิติชาวอเมริกัน ที่มีส่วนสำคัญในการพัฒนาคุณภาพให้กับระบบอุตสาหกรรมของญี่ปุ่น และกลับมากระตุ้นให้วงการธุรกิจและอุตสาหกรรมของอเมริการตื่นตัว พัฒนาคุณภาพ และเปิดรับหลักการของการจัดการคุณภาพโดยรวม (Total Quality Management) หรือ TQM นอกจากนี้ Deming ยังเสนอหลักการสำคัญในการจัดการคุณภาพ 14 ข้อ (Deming’s 14 Points) ได้แก่

1.สร้างปณิธานที่มุ่งมั่นในการปรับปรุงคุณภาพของสินค้าหรือบริการ

2.ยอมรับปรัชญาการบริหารคุณภาพใหม่ ๆ

3.ยุติการควบคุมคุณภาพโดยอาศัยการตรวจสอบ

4.ยุติการดำเนินธุรกิจโดยการตัดสินใจที่ราคาขายเพียงอย่างเดียว

5.ปรับปรุงระบบการผลิตและระบบการให้บริการอย่างต่อเนื่อง

6.ทำการฝึกอบรมทักษะอย่างสม่ำเสมอ

7.สร้างภาวะผู้นำให้เกิดขึ้น

8.กำจัดความกลัวให้หมดไป

9.ทำลายสิ่งที่กีดขวางความร่วมมือระหว่างหน่วยงานต่าง ๆ

10.ยกเลิกคำขวัญ คติพจน์ และเป้าหมายที่ตั้งตามอำเภอใจ

11.ยกเลิกการกำหนดจำนวนโควตาที่เป็นตัวเลข

12.ยกเลิกสิ่งที่กีดขวางความภาคภูมิใจของพนักงาน

13.การศึกษาและการเจริญเติบโต

14.ลงมือปฏิบัติเพื่อให้บรรลุผลสำเร็จในการเปลี่ยนแปลง (ณัฏฐพันธ์ เขจรนันท์,2545:37-38)

แนวคิดของ Phillip B. Crosby

นักปฏิบัติและนักคิดด้านการจัดการคุณภาพที่มีชื่อเสียง ชาวอเมริกันที่ให้ความหมายคำว่า คุณภาพ ว่า หมายถึง การทำได้ตามข้อกำหนด (Conformance to Requirements) และเป็นผู้ที่กล่าวว่า คุณภาพไม่มีค่าใช้จ่าย (Quality is Free) และให้ความสำคัญกับการสร้างวัฒนธรรมและการดำเนินงานที่ความบกพร่องเป็นศูนย์ (Zero Defect) โดยเขาเสนอแนะว่า องค์การจะต้องปรับปรุงคุณภาพอย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะครอบคลุมการใช้เครื่องจักรและอุปการณ์ตลอดจนการพัฒนาบุคลากรอย่างสม่ำเสมอ ซึ่งช่วยลดข้อบกพร่อง และความผิดพลาดในการดำเนินงานลง จนหมดไปจากองค์การ (ณัฏฐพันธ์ เขจรนันท์,2545:38)

แนวคิดของ Armand V. Feigenbaum

เป็นนักคิดที่ให้ความสำคัญกับต้นทุนของคุณภาพ ที่จำเป็นต้องดำเนินงานเพื่อให้เป็นผู้นำด้านต้นทุนในระยะยาว โดย Feigenbaum เป็นผู้ให้ความหมายของคำว่า คุณภาพ ว่า หมายถึง การสร้างความพึงพอใจให้แก่ลูกค้าด้วยต้นทุนที่ต่ำที่สุด และอธิบายคุณภาพในวงจรอุตสาหกรรม ตั่งแต่เริ่มต้นออกแบบผลิตภัณฑ์ การนำผลิตภัณฑ์ออกสู่ตลาด และการบริการหลังการขาย ซึ่งต้องดำเนินงานอย่างสมบูรณ์แบบและครบวงจรตามหลักการของ การควบคุมคุณภาพโดยรวม (Total Quality Control) หรือ TQC (ณัฏฐพันธ์ เขจรนันท์,2545:38)

แนวความคิดของ Kaoru Ishikawa

นักวิชาการที่มีชื่อเสียงด้านคุณภาพชาวญี่ปุ่น ที่พัฒนาแนวความคิดวงจรควบคุมคุณภาพ (Quality Control Circles) หรือ Qcc จนเป็นที่ยอมรับในระดับประเทศ และแนวความคิดใน การควบคุมคุณภาพทั่วทั้งองค์การ (Company-wide Quality Control) หรือ CWQC ซึ่งสอดคล้องกับหลักการ TQM ในประเทศตะวันตก ตลอดจนเสนอแนะแนวทางในการควบคุมคุณภาพโดยหลักการทางสถิติ หรือที่เรียกว่า 7QC Tools ซึ่งได้แก่

1.ผังเหตุและผล (Cause and Effect Diagrams) หรือผังก้างปลา (Fish bone Diagram)

2.การวิเคราะห์ Perato (Pareto Analysis)

3.แผนภาพ (Graphs)

4.แผนภูมิแท่ง (Histograms)

5.แผนภูมิการควบคุมกระบวนการ (Process Control Charts)

6.แผนผังการกระจาย(Scatter Diagrams)

7.รายการการตรวจสอบ (Check List Sheets)

นอกจากนี้ Ishikawa ยังมีข้อเสนอแนะที่สำคัญ คือ การควบคุมคุณภาพเป็นหน้าที่ของพนักงานทุกคนที่จะต้องร่วมกันปฏิบัติ โดยให้ข้อเสนอแนะในการปรับปรุงผลงานแก่องค์การ ซึ่งแตกต่างจากแนวความคิดของผู้บริหารในชาติตะวันตก ที่นิยมมอบอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบให้กับหน่วยงานด้านคุณภาพขององค์การ ซึ่งถือว่าเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านคุณภาพ ซึ่งมักจะก่อให้เกิดปัญหาความขัดแย้งกับหน่วยงานอื่น ๆ และยังปล่อยให้เกิดผลงานที่ด้อยคุณภาพออกไปสู่มือของลูกค้า (ณัฏฐพันธ์ เขจรนันท์,2545:39-40)

แนวความคิดของ Genichi Taguchi

ให้ความสนใจกับการสร้างคุณภาพจากจุดเริ่มต้น โดย Taguchi เสนอว่า คุณภาพควรเริ่มต้นจากการออกแบบ(Quality of Design) และเขายังเสนอการพิจารณาต้นทุนค่าเสียโอกาสที่สินค้า หรือบริการไม่มีคุณภาพตามที่กำหนด (ณัฏฐพันธ์ เขจรนันท์,2545:40)

หลักการสำคัญของการจัดการคุณภาพ

การจัดการคุณภาพ (Quality Management) ประกอบไปด้วยงานที่สำคัญ ดังนี้ คือ

1.การวางแผนคุณภาพเชิงกลยุทธ์ (Strategic Quality Management) เป็นการกำหนดวิสัยทัศน์ กลยุทธ์ และการวางแผนคุณภาพ เป็นจุดเริ่มต้นของการบริหารคุณภาพ โดยที่การจัดการคุณภาพจะต้องบูรณาการเข้ากับการดำเนินงานทุกระดับ ตั้งแต่ การกำหนดวิสัยทัศน์ ภารกิจ กลยุทธ์ และ แผนปฏิบัติการ ที่จะต้องคำนึงถึงความจำเป็น และให้ความสำคัญกับการสร้างคุณภาพที่เป็นรูปธรรม และเข้าถึงทุกส่วนขององค์การ โดยผู้บริหารจะต้องสร้างวิสัยทัศน์คุณภาพให้สอดคล้องกับความต้องการของธุรกิจ และนำวิสัยทัศน์มาแปลเป็นภารกิจ กลยุทธ์ และแผนคุณภาพที่มีความชัดเจน ครอบคลุม และเป็นรูปธรรม

2.การปรับปรุงคุณภาพ (Quality Improvement) เป็นการแก้ไขปัญหาและการพัฒนาคุณภาพขององค์การ จะต้องดำเนินงานอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง ด้วยความรอบคอบและความเข้าใจในข้อจำกัดของสถานการณ์ โดยผู้พัฒนาคุณภาพจะต้องศึกษา วิเคราะห์ และแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นตามหลักเหตุผล และหลักการทางวิทยาศาสตร์ โดยพยายามหาวิธีการที่เรียบง่าย แต่มีประสิทธิภาพที่สุด (Simple but Efficient) มาใช้ในการแก้ไขปัญหาและการพัฒนาผลงาน ซึ่งต้องดำเนินงานผ่านการบริหาร การฝึกอบรม และการเสริมแรงอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้สมาชิกทุกคนมีจิตสำนึก มีความมุ่งมั่น และต้องการมีส่วนร่วมในการพัฒนาคุณภาพในทุกระดับ เพื่อให้องค์การสามารถบรรลุความเป็นเลิศ (Excellence) ของคุณภาพและการดำเนินงาน

3. การควบคุมคุณภาพ (Quality Control) เป็นกระบวนการจัดระบบการทำงาน และการปฏิบัติการ เพื่อให้แน่ใจว่าผลิตภัณฑ์หรือบริการที่ผลิตขึ้น มีคุณสมบัติสอดคล้องกับที่กำหนดไว้ ซึ่งจะดำเนินการโดยกำหนดมาตรฐาน เกณฑ์ และวิธีการติดตามตรวจสอบคุณภาพ เพื่อประเมินและเปรียบเทียบผลการดำเนินงานกับมาตรฐาน โดยปรับการดำเนินงานและผลลัพธ์ให้สอดคล้องกับมาตรฐาน โดยผู้ควบคุมคุณภาพจะตัดสินใจแก้ไขปัญหาตามความเหมาะสม การควบคุมคุณภาพจะเป็นทั้งงานพื้นฐาน และเป็นส่วนประกอบที่สำคัญในการจัดการคุณภาพ เพื่อสร้างความแน่ใจว่าธุรกิจสามารถดำเนินงานอย่างคงเส้นคงวา และส่งมอบผลงานที่มีคุณภาพแก่ลูกค้าได้ตรงตามที่ตกลง และอย่างสม่ำเสมอ

นายนุกูล มณีรุ่ง 5050504518 การจัดการทั่วไป รุ่น11

ประโยชน์ของการใช้ ISO 14000

1.การสร้างโอกาสแข่งขันทางการค้าเสรี สามารถส่งสินค้าไปขายต่างประเทศ

ได้มากขึ้น โดยเฉพาะการส่งสินค้าไปสู่เขตการค้าเสรี เช่น อียู นาฟต้า และเอเปก โดยที่สินค้าใดก่อให้เกิดมลภาวะหรือสร้างกระทบต่อสิ่งแวดล้อมจะถูกต่อต้านและไม่สั่งนำเข้าจาก กลุ่มประเทศดังกล่าวในทางตรงข้ามสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ใดทีเอาใจใส่เรื่องสิ่งแวดล้อมก็จะได้รับการส่งเสริมและสนับสนุนให้ผู้บริโภคซื้อหรือสั่งนำเข้า ประเทศไทยจำเป็นต้องปรับตัวให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงเพื่อแข่งขันกับประเทศคู่แข่งขันได้และไม่ถูกกีดกันทางการค้าเสรี เช่น ที่เคยรับบทเรียนมาจาก ISO 14000

2.เป็นตัวส่งเสริมภาพพจน์ของบริษัทหรือองค์กรได้อย่างดี เพราะบางครั้ง

แก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมภายในองค์กรเพื่อให้ได้ตามมาตรฐาน ISO 14000 อาจจะต้องมีการเปลี่ยนแปลงวิธีการผลิต และเปลี่ยนแปลงเครื่องจักร ซึ่งการเปลี่ยนเครื่องจักร ซึ่งการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวเท่ากับสร้างความก้าวหน้าให้กับองค์กรไปในตัว

สำหรับวิธีการเพื่อจะให้ได้มาซึ่งใบรับรอง ISO 14000 นั้นบริษัทหรือองค์กรต่าง ๆ จะต้องสมัครเข้าร่วมโครงการแล้วปฏิบัติตามมาตรฐาน ISO ที่กำหนดไว้โดยถือเป็นข้อผูกพันที่จะต้องมีการปรับปรุงสภาพแวดล้อมด้วยการนำมาตรฐานนี้ไปปรับเข้ากับระบบการจัดการขององค์กรหรือบริษัทนั้น ๆ เมื่อดำเนินการไปได้ระยะหนึ่ง สมอ. และสถาบันสิ่งแวดล้อมไทยจะให้องค์กรที่ไม่มี ส่วนได้ส่วนเสียกับบริษัทนั้น ๆ มาทำการประเมิน ซึ่งองค์กรเหล่านี้เรียกว่า Third Party โดยจะมีผู้ประเมิน (Assessor) มาเป็นผู้ประเมินดูระบบถ้าสอดคล้องตามข้อกำหนด ISO 14000 ก็จะออกใบรับรองให้และจะมีการติดตามดูผลเป็นระยะ ๆ ด้วย

ISO 14001

มาตรฐานระบบการจัดการระบบสิ่งแวดล้อม ISO 14001 (ENVIRONMENTAL MANAGEMENT SYSTEM หรือ EMS หมายถึง ส่วนของระบบการจัดการทั้งหมด ซึ่งรวมถึงโครงสร้างองค์กร การวางแผน ความรับผิดชอบ การปฏิบัติ ขั้นตอน กระบวนการ และทรัพยากร สำหรับจัดทำการปฏิบัติให้บรรลุผล การทบทวน และรักษานโยบายทางด้านสิ่งแวดล้อม เพื่อให้เกิดการปรับปรุงระบบการจัดการให้มีประสิทธิภาพดีขั้นเรื่อย ๆ เพื่อให้เป็นไปตามนโยบายสิ่งแวดล้อมใช้ได้กับทุกองค์กรทุกขนาด และไม่มีวัตถุประสงค์ให้เป็นเครื่องมือกีดกันทางการค้า

องค์ประกอบของระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม ISO 14001

มาตรฐานการจัดการสิ่งแวดล้อม ISO 14001 เป็นแนวทางเพื่อให้องค์กรสามารถใช้เป็นแนวทางในการจัดระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม การเจตนารมณ์ของผู้บริหารระดับสูงที่จะสื่อสารไปสู่พนักงานในองค์กร แบบเป็นระบบและมีขั้นตอนโดยกำหนดให้องค์กรจัดทำนโยบายสิ่งแวดล้อม มีรายละเอียดของการดำเนินงานในการวางแผน นำแผนไปปฏิบัติ มีการตรวจสอบ แก้ไข และทบทวนอยู่เสมอ มีการเลือกใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม ระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม (EMS) มีองค์ประกอบอยู่ 5 ประการ คือ

การกำหนดนโยบายสิ่งแวดล้อม (Environmental Policy) โดย

1.1 ผู้บริหารระดับสูงกำหนดนโยบายสิ่งแวดล้อม

1.2 แสดงความมุ่งมั่นที่จะใช้ EMS

การวางแผน (Planning)

2.1 เพื่อสนองนโยบาย

2.2 เพื่อเป็นแนวทางปฏิบัติ

การเริ่มปฏิบัติและดำเนินการ (Implementation and Operation) เพื่อ

3.1 พัฒนาขีดความสามารถ

3.2 สนับสนุนทุกด้านที่จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพ

การตรวจและการแก้ไข (Checking and Corrective Action) เพื่อ

5.1 ทบทวนผลการปฏิบัติงานและระบบ

5.2 ปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง

5.3 มุ่งเน้นการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม

องค์ประกอบของระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม

ประโยชน์ของระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม (EMS)

ระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมที่ดีจะทำให้องค์กรมีความสามารถในอันที่จะก่อให้เกิดประโยชน์ไว้ดังนี้

1. มีนโยบายสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสม

2. บ่าชี้ผลต่อสิ่งแวดล้อมซึ่งเกิดจากการกระทำ ผลิตภัณฑ์หรือการบริการขององค์กรในอดีตปัจจุบัน หรือตามที่ได้วางแผนไว้ เพื่อหาผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมที่มีความสำคัญ

3. แยกแยะความต้องการของกฎหมาย และข้อบังคับต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง

4. จัดความสำคัญก่อนหลัง ทำวัตถุประสงค์และเป้าหมายสิ่งแวดล้อมให้ตรงตามความสำคัญนั้น

5. จัดทำโครงสร้างและโปรแกรม เพื่อปฏิบัติตามนโยบายให้บรรลุถึงวัตถุประสงค์และเป้าหมาย

6. ช่วยในการวางแผน ควบคุม ติดตามผล แก้ไข ตรวจสอบและทบทวนเพื่อให้แน่ใจว่าทั้งนโยบายและระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมมีความเหมาะสมอยู่เสมอ

7. สามารถปรับเปลี่ยนระบบให้เข้ากับสภาพการณ์ที่เปลี่ยนไปได้

นางเอื้อมวงศ์ เรืองปลอด 5050504509 การจัดการทั่วไปรุ่น 11 หมู่ 5

มาตรฐานที่ใช้ในระบบคุณภาพ หมายถึง ข้อตกลงที่ได้จัดทำขึ้นเป็นเอกสารไว้ล่วงหน้าซึ่งได้รับความเป็นจากองค์กรหรือหน่วยงานที่ยอมรับโดยทั่วๆ ไปโดยมีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับข้อกำหนดด้านวิธีการทำงาน และกฎเกณฑ์ทางด้านเทคนิคที่กำหนดขึ้น

คุณภาพ (QUALITY) หมายถึง คุณสมบัติทุกประการของผลิตภัณฑ์การบริการที่ตอบสนองความต้องการ และสามารถสร้างความพึงพอใจให้แก่มนุษย์

ปัญหาสิ่งแวดล้อมเป็นปัญหาต่อคุณภาพชีวิตของประชากรโลก และส่งผลให้เกิดปัญหาทั้งทาตรงและทางอ้อมต่อสิ่งมีชีวิต จึงต้องมีมาตรฐานควบคุมคุณภาพสิ่งแวดล้อม เพื่อให้มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุดหรือไม่เกิดเลย โดยจะต้องมีประกาศเป็นนโยบาย มีการดำเนินงานอย่างจริงจังและสามารถตรวจสอบได้

เมื่อปี พ.ศ. 2535 ได้มีการประชุมว่าด้วยสิ่งแวดล้อมและการพัฒนาอย่างยั่งยืน (The Earth Summit) ณ กรุงริโอ เดอะอาเนโร ประเทศบราซิล มีประกาศต่าง ๆ เข้าร่วมประชุมประมาณ 150 ประเทศ รวมประเทศไทยด้วย ได้ก่อให้เกิดการจัดทำแผนแม่บทโลก เพื่อแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมของโลกที่สำคัญต่าง ๆ เป็นการพัฒนาอย่างยั่งยืนทั้งด้านสังคม เศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อมเรียกว่า Agenda 21 หรือ แผนปฏิบัติการ 21 ได้มีการกำหนดระบบมาตรฐานสากลเรียกว่า ISO

ISO (International Organization for Standardization)

เป็นชื่อขององค์การระหว่างประเทศว่าด้วยการมาตรฐาน เป็นองค์กรอิสระ (Non Government Organization หรือ NGO) เป็นมาตรฐานที่ไม่บังคับ เป็นด้วยความสมัครใจไม่มีการตรวจสอบโดยจะเป็นความสำคัญเกี่ยวกับสุขภาพ ความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อม โดยมีองค์กรกลางทำหน้าที่ตรวจพิสูจน์ผลิตภัณฑ์การบริการหรือระบบเทียบกับข้อกำหนดของ ISO

ISO 14000

คือ มาตรฐานการจัดการสิ่งแวดล้อม (Environmental Management Standards) ที่กำหนดโดยองค์การระหว่างประเทศว่าด้วยการกำหนดมาตรฐาน หรือ ISO เพราะเล็งเห็นถึงประเด็นสำคัญของการค้าโลกและสิ่งแวดล้อมที่จะต้องดำเนินไปอย่างสอดคล้องกัน เพื่อการพัฒนาที่ยังยืนในอนาคตประเทศไทยเป็นสมาชิกองค์การมาตรฐานสากลและประกาศใช้ ISO 14000 ในปีพ.ศ. 2539 โดยมีสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ) เพื่อทำหน้าที่ให้ความเห็นชอบและรับรองมาตรฐาน ISO ฉบับต่าง ๆ ในฐานะตัวแทนประเทศไทยในที่ประชุมองค์การมาตรฐานสากล

ขอบเขตของมาตรฐาน ISO 14000

ISO 14000 ครอบคลุมการดำเนินการด้านสิ่งแวดล้อมรวมทั้งหมาด 5 เรื่องคือ

1.ระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม

2.การประเมินผลการดำเนินการด้านสิ่งแวดล้อม

3.การตรวจสอบและบันทึกผลมลพิษ

4.การวิเคราะห์และประเมินวงจรชีวิตของผลิตภัณฑ์

5.การใช้ฉลากผลิตภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อม

การนำเอามาตรฐานต่าง ๆ เหล่านี้ไปใช้ คือ เป็นการกระทำโดยความสมัครใจ ไม่มีการบังคับโดยรัฐบาลหรือกลุ่มอุตสาหกรรมได้ หากแต่เป็นการถือปฏิบัติโดยสถานประกอบการด้วยความเต็มใจ แต่เนื่องจากองค์การ ISO เองมีบทบาทเด่นในฐานะองค์การระหว่างประเทศตลอดจนมาตรฐานต่าง ๆ ที่กำหนดโดยองค์กรล้วนเป็นที่ยอมรับกันอย่างกว้างขวางทั่วโลก จึงย่อมคาดหวังได้ว่ามาตรฐาน ISO 14000 นี้จะมีการนำไปใช้กันอย่างแพร่หลาย ทั้งในวงการอุตสาหกรรมและกิจการของรัฐ

สาเหตุที่ถือเป็นการกระทำโดยความสมัครใจ เพราะมาตรฐานระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม หรือ ISO 14000 เป็นการจัดระบบการจัดการภายในองค์กรเพื่อให้ปรับปรุงสิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่องในการผลิตสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ของตนเองโดยมีเรื่องหลัก ๆ สำหรับปัญหาสิ่งแวดล้อม ที่องค์กรพิจารณาประกอบด้วยคือ

1.การปล่อยของเสียลงสู่น้ำ อากาศ และดิน

2.การจัดการของเสียพลังงาน เช่น ไฟฟ้า น้ำมัน และเชื้อเพลิง

3.การเก็บและจัดการวัตถุอันตราย

4.การทำลายโอโซน

5.การใช้ทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่อย่างจำจัดให้เกิดประโยชน์

นางสาวกรณ์สมัชญ์ เปรี่ยมพิมาย 5050504501 การจัดการทั่วไปรุ่น 11 หมู่ 5

หลักการด้านคุณภาพของผู้เชี่ยวชาญเดมมิ่งและครอสบี้

หลักการด้านคุณภาพของผู้เชี่ยวชาญเดมมิ่งและครอสบี้

ดร. เดมมิ่ง และครอสบี้ เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการบริหารคุณภาพ เขาได้วางรากฐานและแนวคิดเกี่ยวกับคุณภาพไว้มากมาย เดมมิ่ง และครอสบี้ ได้รวบรวมแนวคิดด้านคุณภาพออกมาเป็น 14 ข้อ ซึ่งแนวคิดหลักก็คือ การปรับปรุงคุณภาพอย่างต่อเนื่อง ให้ความสำคัญกับการให้ความรู้ และฝึกทักษะของพนักงาน

แนวคิดนี้สำคัญเป็นอย่างยิ่ง หากท่านต้องการให้องค์กรของท่าน เป็นองค์กรที่ผลิตงานอย่างมีคุณภาพ และมีบรรยากาศการทำงานที่ดี

แนวคิด 14 ข้อของ ดร. เดมมิ่ง

1สร้างจุดมุ่งหมายที่แน่วแน่ในการปรับปรุงผลิตภัณฑ์และบริการ เพื่อให้สามารถแข่งขันทางธุรกิจได้ในระยะยาว และเพื่อสร้างงาน ไม่ใช่จะคำนึงถึงแต่ผลประโยชน์ในระยะสั้น

2เข้าใจถึงปรัชญาของการปรับปรุงคุณภาพอย่างต่อเนื่อง แนวคิดที่ว่าจะยอมรับของเสีย ควรเปลี่ยนเป็นการหาทางป้องกันการเกิดของเสียจะดีกว่า

3หยุดแนวคิดที่จะตรวจสอบจำนวนมากๆ เพื่อคัดของเสียออก แต่ควรจะสร้างระบบคุณภาพมากกว่า

4อย่าคิดว่าผู้ขายที่ให้ราคาถูกจะดีที่สุด แต่ต้องเลือกผู้ขายที่มีคุณภาพควบคู่ไปด้วย พยายามสร้างความสัมพันธ์อันดีกับผู้ขายและเลือกผู้ขายที่ไว้ใจได้

5พัฒนาระบบการผลิตและการบริการเพื่อปรับปรุงคุณภาพและผลผลิต ซึ่งจะทำให้ต้นทุนนั้นลดลงด้วย

6ฝึกอบรมพนักงานให้มีความรู้และทักษะในงานของตน รู้ถึงเป้าหมายของบริษัท เข้าใจว่างานของตนเองจะทำให้บริษัทและตนเองบรรลุเป้าหมายได้อย่างไร

7เปลี่ยนบทบาทของผู้ควบคุมงานมาเป็นผู้ให้การสนับสนุนและส่งเสริมบรรยากาศในการทำงาน เปิดที่จะรับฟังพนักงานด้วย สร้างบรรยากาศของการทำงานเป็นทีม ทำให้พนักงานเข้าใจในงานของตนเอง ผู้ควบคุมงานควรตรวจตรางานด้วยความเข้าใจว่า สิ่งใดเป็นสิ่งที่พนักงานควบคุมได้ สิ่งใดเป็นความรับผิดชอบของตน สิ่งใดเป็นข้อบกพร่องของระบบซึ่งผู้บริหารจะต้องเป็นผู้แก้ไข

8กำจัดความกลัวของคน นึกไว้ว่าคนต้องการความมั่นคงในงาน ความปลอดภัยและบรรยากาศการทำงานที่ดี สร้างเสริมให้พนักงานกล้าที่จะแสดงความคิดเห็นในการปรับปรุงงาน

9กำจัดความขัดแย้งระหว่างฝ่าย ทุกๆฝ่ายควรจะมีจุดมุ่งหมายเดียวกัน นั่นก็คือเป้าหมายของบริษัท และแตกลงมาให้เป็นเป้าหมายของแต่ละฝ่ายที่เกื้อหนุนเป้าหมายของบริษัท และไม่ขัดแย้งกันเอง ให้ความสำคัญกับการทำงานเป็นทีม ซึ่งประกอบด้วยคนจากฝ่ายต่างๆ จัดให้มีการประเมินและให้รางวัลแก่ทีมด้วย

10อย่ามีแต่สโลแกน คำขวัญสวยๆ เช่น เราจะเพิ่มยอดขายให้ได้ 5u0E43นปีหน้า แต่จะต้องวางแผนและหาทางที่จะทำให้เกิดผลนั้นด้วย

11อย่ายึดติดกับการผลิตให้ได้จำนวนตามที่กำหนดแต่เพียงอย่างเดียว เพราะจะเป็นการส่งเสริมให้พนักงานผลิตออกมาอย่างเร็วที่สุด แต่อาจจะไม่ได้คุณภาพ

12ทำให้พนักงานภูมิใจในงานของตน โดยการให้พนักงานรู้งาน และมีส่วนร่วมในการปรับปรุง เช่น จัดให้มีคู่มือการทำงานเพื่อให้ทราบเกี่ยวกับงานของตน จัดระบบที่ให้พนักงานสามารถเสนอข้อเสนอแนะ ส่วนเครื่องมือ วัสดุ วิธีการที่ให้พนักงานทำงานนั้นก็จะต้องเหมาะสมและมีความปลอดภัยด้วย

13สิ่งสำคัญในการปรับปรุงคุณภาพ ก็คือ แนวคิดที่ว่าจะปรับปรุงคุณภาพอย่างต่อเนื่อง ความรู้ทางสถิติเบื้องต้น และเครื่องมือในการปรับปรุงคุณภาพต่างๆ ก็เป็นสิ่งที่ควรจะรู้ จึงจำเป็นที่จะต้องมีการฝึกอบรมเกี่ยวกับความรู้เหล่านี้ให้พนักงานในองค์กรทราบด้วย

14ต้องมีการจัดองค์กรเพื่อสนับสนุน เช่น ให้มีแผนกหรือบุคคลที่ทำหน้าที่สนับสนุนความรู้ คำปรึกษาเกี่ยวกับด้านคุณภาพ

ส่วนหลักการด้านคุณภาพของครอสบี้ ก็คล้ายคลึงกันกับหลักการของเดมมิ่ง ซึ่งมีอยู่ 14 ประการ ดังนี้

หลักการด้านคุณภาพของครอสบี้ 14 ประการ

1ผู้บริหารจะต้องมีความมุ่งมั่นต่อการสนับสนุนการปรับปรุงคุณภาพของงานในองค์กร

2มีตัววัดคุณภาพที่เข้าใจง่าย

3ต้องสื่อสารให้ทุกคนในองค์กรตระหนักถึงความสำคัญของการมีระบบคุณภาพ

จะต้องมีระบบในการวิเคราะห์หาสาเหตุและผลเสียหายเวลามีปัญหาด้านคุณภาพ เช่น 4หากมีของเสียเกิดขึ้น ต้องมีการหาวิธีการป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาซ้ำได้อีก

4หลักการหนึ่งของครอสบี้คือ การทำให้ของเสียเป็นศูนย์ จึงควรมีกลุ่มทำงานเพื่อผลักดันโครงการของเสียเป็นศูนย์

5ฝึกอบรมผู้ควบคุมงานเพื่อให้พวกเขาสามารถดูแลงานด้านการปรับปรุงคุณภาพได้อย่างเต็มที่

6จัดให้มีวันเพื่อทำการประกาศให้พนักงานรับรู้ทั่วกันถึงแนวคิดว่าต่อไปบริษัทจะไม่ยอมรับของเสียแต่ต้องการหาแนวทางเพื่อป้องกันไม่ให้มีของเสียเกิดขึ้น

7กระตุ้นให้พนักงานแต่ละคนตั้งเป้าหมายในการปรับปรุงคุณภาพงานของตน

8กระตุ้นให้พนักงานกล้าที่จะบอกกับผู้บริหารเกี่ยวกับปัญหาที่พนักงานมีในการทำงานเพื่อให้ได้เป้าหมายที่ตั้งไว้

9ต้องให้การยอมรับและชื่นชมกับผู้ที่ร่วมมือในการปรับปรุงคุณภาพงาน

10ใช้ความรู้จากผู้เชี่ยวชาญและประสบการณ์จากพนักงานในการหาทางปรับปรุงคุณภาพ และต้องมีการให้ความรู้และฝึกอบรมอยู่อย่างสม่ำเสมอ

11คอยปฏิบัติหลักการข้างต้นอยู่อย่างสม่ำเสมอ เพราะงานการปรับปรุงคุณภาพนั้นไม่มีวันสิ้นสุด

นายสรศักดิ์ เจริญวงษ์ 5050504532 การจัดการทั่วไป รุ่น11

การจัดการคุณภาพ (Quality Management)

จากความหมายของคำว่าคุณภาพมาสู่แนวทางการดำเนินการเพื่อคุณภาพที่ดีนั้นได้มีคำหลายคำที่ใช้ในการบ่งบอกถึงการปฏิบัติการเกี่ยวกับคุณภาพ เช่น ระบบคุณภาพ การควบคุมคุณภาพ การประกันคุณภาพ หรือ การบริหารงานคุณภาพ ฯลฯ ซึงมีความหมายแตกต่างกันดังต่อไปนี้

1. การควบคุมคุณภาพ (Quality Control หรือ QC) หมายถึง กิจกรรมและกลวิธีการปฏิบัติเพื่อสนองความต้องการด้านคุณภาพภายในธุรกิจ โดยการตรวจสอบ การวัด และการทดสอบที่มุ่งจะควบคุมวัตถุดิบ กระบวนการ และการกำจัดสาเหตุของข้อบกพร่องที่เกิดขึ้นจากการดำเนินการทั้งหมด เช่น การสุ่มตัวอย่างน้ำผลไม้กระป๋องมาตรวจสอบรสชาติ

การควบคุมคุณภาพเน้นการตรวจสอบและแยกแยะของดีและของเสียออกจากกัน โดยระบุเป็นร้อยละของของเสียที่พบจากล็อตการผลิต เพื่อควบคุมมิให้ของเสียมีมากเกินกว่าที่กำหนดและในปัจจุบันการควบคุมคุณภาพมุ่งเน้นที่ของเสียต้องเป็นศูนย์ (Zero Defect)

2. การประกันคุณภาพ (Quality Assurance หรือ QA) หมายถึง การดำเนินการเพื่อสุขภาพตามระบบและแผนงานที่วางไว้อย่างเคร่งครัด เพื่อที่จะมั่นใจได้ว่าผลิตภัณฑ์หรือบริการมีคุณภาพตามที่ลูกค้าต้องการ เช่น การดำเนินงานตามมาตรฐานคุณภาพสากล ISO 9000

3. การบริหารคุณภาพ (Quality Management หรือ QM) หมายถึง การจัดการระบบคุณภาพโดยทุกคนที่เกี่ยวข้องทั้งภายในและภายนอกองค์การรับผิดชอบต่องานที่ตนเองกระทำอย่างเต็มที่เพื่อให้สินค้าและบริการเป็นไปตามต้องการของลูกค้า เช่น การใช้ระบบการบริหารคุณภาพสมบูรณ์แบบ (Total Quality Management หรือ TQM)

วัตถุประสงค์หลักของการบริการคุณภาพ คือ การผลิตสินค้าหรือบริการที่ตอบสนองความต้องการของลูกค้า ซึ่งความต้องการของลูกค้าจะเป็นกรอบกำหนดระบบคุณภาพขององค์การทั้งทางตรงและทางอ้อม ดังนั้นการบริหารคุณภาพจะมุ่งสร้างความพึงพอใจให้แก่ลูกค้าเป็นสำคัญ

นายสรศักดิ์ เจริญวงษ์ 5050504532 การจัดการทั่วไป รุ่น11

TPM คือ อะไร

TPM ย่อมาจากคำว่า Total Productive Maintenance แปลเป็นไทยว่า การบำรุงรักษาทวีผลที่ทุกคนมีส่วนร่วม

หลักการของ TPM นั้นเริ่มต้นการพัฒนามาจาก การดำเนินการ PM หรือการทำ Preventive Maintenance และได้พัฒนาการดำเนินการมาเรื่อยๆ โดยความคิดพื้นฐาน เริ่มจากการทำการบำรุงรักษาเครื่องจักร เพื่อไม่ให้เสีย และสามารถเดินเครื่อง ตามที่ต้องการได้ โดยการใช้ ทั้งการบำรุงรักษาตามคาบเวลา (Time Base Maintenance) การบำรุงรักษาตามสภาพของเครื่องจักร (Condition Base Maintenance) และ การเปลี่ยนแปลงเครื่องจักร ที่บำรุงรักษาง่ายขึ้น และมีอายุการใช้งานนานขึ้น (Maintenance Prevention) แต่เครื่องจักร ก็ยังเสียอยู่ และมีค่าใช้จ่าย ในการบำรุงรักษาสูงมาก

ความคิดเรื่องการทำการบำรุงรักษา เพื่อให้เครื่องจักรไม่เสียนั้น จึงเริ่มจากการตรวจสอบ ให้ทราบถึงการเสื่อมสภาพ ของชิ้นส่วนต่างๆ ก่อนที่เครื่องจักรนั้นๆ จะเสียหาย ดังนั้นจึงต้องมีผู้ที่มีความสามารถ ในการตรวจสอบเครื่องจักร ซึ่งต้องเป็นผู้ที่สามารถรับรู้ การเสื่อมสภาพได้อย่างแม่นยำ ผู้ที่จะทำเช่นนี้ได้อย่างดีที่สุดก็คือ พนักงานเดินเครื่อง ต่อมาจึงได้พัฒนามาเป็น การบำรุงรักษาด้วยตนเอง หรือ Autonomous Maintenance ซึงเป็นเอกลักษณ์ของ TPM การดำเนินการ การบำรุงรักษาด้วยตนเองหรือ Autonomous Maintenance จึงเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวของ TPM

แต่การดำเนินการเพียงเพื่อให้เครื่องจักรเสียเป็oศูนย์ นั้นยังไม่เพียงพอ TPM จึงมุ่งไปสู่การเป็นผู้ผลิตระดับโลก หรือ World Class Manufacturing โดยนำกิจกรรมอื่นมาผนวกรวมด้วยเป็น 8 กิจกรรมหลักของการดำเนินการ TPM หรือที่เรียกว่า 8 เสาหลักของ TPM นั่นเอง

วัตถุประสงค์ของ TPM

1.เพื่อสร้างวัฒนธรรมของการเป็น ศูนย์ ซึ่งหมายถึง อุบัติเหตุเป็นศูนย์ ของเสียเป็นศูนย์ เครื่องเสียเป็นศูนย์ ในทุกกระบวนการผลิต โดยใช้หลักการ 5G

2.เพื่อให้เกิดความร่วมมือร่วมใจกัน ของพนักงานทุกระดับ ในอันที่จะลดความสูญเสียลง ตั้งแต่ ผู้บริหารระดับสูง จนถึงพนักงานหน้างาน

3.เพื่อให้เกิดความร่วมมือร่วมใจกัน ของพนักงานทุกแผนก ทุกหน่วยงานในองค์กร ในอันที่จะลดความสูญเสียลง

4.เพื่อให้ทักษะ ความรู้ ความสามารถของพนักงานทุกคนสูงขึ้น

5.เพื่อปรับเปลี่ยนวัฒนธรรมขององค์กร ไปสู่การเป็นผู้ผลิตที่สามารถแข่งขันได้ในระดับโลก

นายนุกูล มณีรุ่ง 5050504518 การจัดการทั่วไป รุ่น 11

มาตรฐานที่ใช้ในระบบคุณภาพ หมายถึง ข้อตกลงที่ได้จัดทำขึ้นเป็นเอกสารไว้ล่วงหน้าซึ่งได้รับความเป็นจากองค์กรหรือหน่วยงานที่ยอมรับโดยทั่วๆ ไปโดยมีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับข้อกำหนดด้านวิธีการทำงาน และกฎเกณฑ์ทางด้านเทคนิคที่กำหนดขึ้น

คุณภาพ (QUALITY) หมายถึง คุณสมบัติทุกประการของผลิตภัณฑ์การบริการที่ตอบสนองความต้องการ และสามารถสร้างความพึงพอใจให้แก่มนุษย์

ปัญหาสิ่งแวดล้อมเป็นปัญหาต่อคุณภาพชีวิตของประชากรโลก และส่งผลให้เกิดปัญหาทั้งทาตรงและทางอ้อมต่อสิ่งมีชีวิต จึงต้องมีมาตรฐานควบคุมคุณภาพสิ่งแวดล้อม เพื่อให้มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุดหรือไม่เกิดเลย โดยจะต้องมีประกาศเป็นนโยบาย มีการดำเนินงานอย่างจริงจังและสามารถตรวจสอบได้

เมื่อปี พ.ศ. 2535 ได้มีการประชุมว่าด้วยสิ่งแวดล้อมและการพัฒนาอย่างยั่งยืน (The Earth Summit) ณ กรุงริโอ เดอะอาเนโร ประเทศบราซิล มีประกาศต่าง ๆ เข้าร่วมประชุมประมาณ 150 ประเทศ รวมประเทศไทยด้วย ได้ก่อให้เกิดการจัดทำแผนแม่บทโลก เพื่อแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมของโลกที่สำคัญต่าง ๆ เป็นการพัฒนาอย่างยั่งยืนทั้งด้านสังคม เศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อมเรียกว่า Agenda 21 หรือ แผนปฏิบัติการ 21 ได้มีการกำหนดระบบมาตรฐานสากลเรียกว่า ISO

ISO (International Organization for Standardization)

เป็นชื่อขององค์การระหว่างประเทศว่าด้วยการมาตรฐาน เป็นองค์กรอิสระ (Non Government Organization หรือ NGO) เป็นมาตรฐานที่ไม่บังคับ เป็นด้วยความสมัครใจไม่มีการตรวจสอบโดยจะเป็นความสำคัญเกี่ยวกับสุขภาพ ความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อม โดยมีองค์กรกลางทำหน้าที่ตรวจพิสูจน์ผลิตภัณฑ์การบริการหรือระบบเทียบกับข้อกำหนดของ ISO

ISO 14000

คือ มาตรฐานการจัดการสิ่งแวดล้อม (Environmental Management Standards) ที่กำหนดโดยองค์การระหว่างประเทศว่าด้วยการกำหนดมาตรฐาน หรือ ISO เพราะเล็งเห็นถึงประเด็นสำคัญของการค้าโลกและสิ่งแวดล้อมที่จะต้องดำเนินไปอย่างสอดคล้องกัน เพื่อการพัฒนาที่ยังยืนในอนาคตประเทศไทยเป็นสมาชิกองค์การมาตรฐานสากลและประกาศใช้ ISO 14000 ในปีพ.ศ. 2539 โดยมีสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ) เพื่อทำหน้าที่ให้ความเห็นชอบและรับรองมาตรฐาน ISO ฉบับต่าง ๆ ในฐานะตัวแทนประเทศไทยในที่ประชุมองค์การมาตรฐานสากล

ขอบเขตของมาตรฐาน ISO 14000

ISO 14000 ครอบคลุมการดำเนินการด้านสิ่งแวดล้อมรวมทั้งหมาด 5 เรื่องคือ

1.ระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม

2.การประเมินผลการดำเนินการด้านสิ่งแวดล้อม

3.การตรวจสอบและบันทึกผลมลพิษ

4.การวิเคราะห์และประเมินวงจรชีวิตของผลิตภัณฑ์

5.การใช้ฉลากผลิตภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อม

การนำเอามาตรฐานต่าง ๆ เหล่านี้ไปใช้ คือ เป็นการกระทำโดยความสมัครใจ ไม่มีการบังคับโดยรัฐบาลหรือกลุ่มอุตสาหกรรมได้ หากแต่เป็นการถือปฏิบัติโดยสถานประกอบการด้วยความเต็มใจ แต่เนื่องจากองค์การ ISO เองมีบทบาทเด่นในฐานะองค์การระหว่างประเทศตลอดจนมาตรฐานต่าง ๆ ที่กำหนดโดยองค์กรล้วนเป็นที่ยอมรับกันอย่างกว้างขวางทั่วโลก จึงย่อมคาดหวังได้ว่ามาตรฐาน ISO 14000 นี้จะมีการนำไปใช้กันอย่างแพร่หลาย ทั้งในวงการอุตสาหกรรมและกิจการของรัฐ

สาเหตุที่ถือเป็นการกระทำโดยความสมัครใจ เพราะมาตรฐานระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม หรือ ISO 14000 เป็นการจัดระบบการจัดการภายในองค์กรเพื่อให้ปรับปรุงสิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่องในการผลิตสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ของตนเองโดยมีเรื่องหลัก ๆ สำหรับปัญหาสิ่งแวดล้อม ที่องค์กรพิจารณาประกอบด้วยคือ

1.การปล่อยของเสียลงสู่น้ำ อากาศ และดิน

2.การจัดการของเสียพลังงาน เช่น ไฟฟ้า น้ำมัน และเชื้อเพลิง

3.การเก็บและจัดการวัตถุอันตราย

4.การทำลายโอโซน

5.การใช้ทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่อย่างจำจัดให้เกิดประโยชน์

นายสรศักดิ์ เจริญวงษ์ 5050504532 การจัดการทั่วไป รุ่น 11

ความหมายของการจัดการคุณภาพ

การจัดการคุณภาพ คือ การจัดการองค์กรและกิจกรรมต่างๆ ให้เป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนดไว้ ทั้งนี้โดยมีการกำหนดวัตถุประสงค์หลัก เพื่อให้ผลิตภัณฑ์มีคุณภาพตรงตามมาตรฐานหรือ ข้อกำหนด โดยมีต้นทุนต่ำ และ ตอบสนองความต้องการ ความพอใจของผู้บริโภค

กิจกรรมการจัดการคุณภาพ

ประกอบไปด้วยกิจกรรมดังต่อไปนี้

1. จัดองค์กร และบุคลากร และ สิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ให้มีความพร้อม เพื่อให้กิจกรรมจัดการคุณภาพเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

2. กำหนดวิธีตรวจสอบ และวิเคราะห์ผลิตภัณฑ์ที่มีความแม่นยำ สะดวก รวดเร็ว เชื่อถือได้ เพื่อให้การควบคุมคุณภาพอยู่ในมาตรฐานที่กำหนด

3. ดำเนินการควบคุมคุณภาพ ปัจจัยการผลิต การดำเนินการผลิต และผลิตภัณฑ์ขั้นสุดท้ายให้อยู่ในระดับที่กำหนด

4. วางแผนด้านงบประมาณ และแผนงานควบคุมคุณภาพ

5. ร่วมในการพัฒนา และออกแบบผลิตภัณฑ์ วิเคราะห์คุณสมบัติและคุณลักกษณะของสินค้า ดำเนินการป้องกันการผลิตสินค้าด้วยคุณภาพ

6. สร้างสภาพแวดล้อมและวัฒนธรรมการทำงานที่ดี

7. รวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวข้องกับการดำเนินงานด้านคุณภาพทั้งขององค์กรเอง และ หน่วยงานนอก เพื่อเป็นการปรับปรุงผลิตภัณฑ์

8. ดำเนินการแก้ไขเมื่อสภาพการผลิตที่อาจก่อให้เกิดความเสียหาย โดยการปรับปรุงกระบวนการผลิต รวมไปถึง ปัจจัยการผลิตต่างๆ

9. รายงานผลด้านคุณภาพให้องค์กร และผู้เกี่ยวข้องได้ทราบ

จากการจัดการคุณภาพข้างต้นนี้ สามารถจัดเข้าได้ 5 หมู่ด้วยกันคือ

1. การวางแผน ได้แก่ กิจกรรมเกี่ยวกับการกำหนดนโยบายด้านคุณภาพ การวางแผนงานและประมาณเกี่ยวกับการจัดการคุณภาพ

2. การจัดองค์กร ได้แก่ กิจกรรมการจัดองค์กรด้านคุณภาพ ซึ่งจะรวมไปกิจกรรมด้านการออกแบบควบคุมคุณภาพในขั้นตอนต่างๆ ด้วย

3. การจัดบุคลากร ได้แก่ กิจกรรมการจัดตารางและภาระงานแก่พนักงาน รวมไปถึง การจัดฝึกอบรม และจูงใจการทำงานแก่พนักงาน

4. การสั่งการ ได้แก่ การจัดซื้อ การดำเนินงานการผลิต การตรวจสอบ และประเมินผลงานคุณภาพ

5. การควบคุม ได้แก่ การควบคุมคุณภาพในระหว่างการผลิตโดยใช้แผนภูมิควบคุมรวมทั้งการควบคุมต้นทุนคุณภาพ และการรายงานผลงานด้านคุณภาพให้ผู้เกี่ยวข้องทราบ

ระบบควบคุมคุณภาพ

ในธุรกิจอาหารแนวคิดการจัดการคุณภาพที่นิยมใช้ในแต่ละองค์กรประกอบด้วย

1. TQM (Total Quality Management) เป็นระบบการจัดการคุณภาพของการบริหารงานภายในองค์กร โดยปลูกฝังให้พนักงานร่วมมือกันดำเนินกิจกรรมภายในองค์กร โดยมีองค์ประกอบสำคัญสำคัญ 3 ด้านได้แก่ ระบบเอกสาร, ระบบควบคุมกระบวนการผลิตด้วยวิธีเชิงสถิติ และการทำงานเป็นทีมภายในองค์กร

2. GMP (Good Manufacturing Practise) เป็นหลักเกณฑ์และวิธีการผลิตที่ดีซึ่งปัจจุบันนี้ในโรงงานที่ส่งออกอาหารต้องผ่านตัวนี้เป็นพื้นฐาน ซึ่งกล่าวไปถึงความปลอดภัยของอาหาร โดยควบคุมปัจจัยภายนอกต่างของการผลิต

3. SSOP (Sanitation Standard Operationg Procedude) เป็นส่วนของการจัดการระบบสุขอนามัยที่ได้มาตรฐานตามสากล ซึ่งมักจะทำระบบพร้อมกับ GMP

4. ISO 9000 เป็นระบบการรับรองคุณภาพภายในองค์กร โดยเมื่อก่อนนี้จะมี เวอร์ชัน 9001, 9002, 9003 และ 9004 โดยมีตัวแม่คือ ISO 8402 แต่ในปัจจุบันนี้มีการรวบให้เหลือเพียง ISO 9002:2000 ส่วน ISO เวอร์ชันอื่นๆ เช่น ISO 14000, 17000 ล้วนเป็นสิ่งที่เพิ่มเติมและเพิ่มความเชื่อมั่นให้กับองค์กร

5. HACCP (Hazard Analysis Critical Control Point) เป็นระบบการประกันคุณภาพอาหารที่มีได้รับการยอมรับสูง ซึ่งเน้นไปที่ความปลอดภัยต่อ

ผู้บริโภค โดยมีการวิเคราะห์ และกำหนดจุดวิกฤตของกระบวนการโดยละเอียด

นางสุวรรณี แสงประพาฬ 5050504508 การจัดการทั่วไป รุ่น 11

TQM คือ ระบบหนึ่ง ๆ ที่ใช้เป็นวิธีการในการผลิต ผลิตภัณฑ์และบริการที่มีคุณภาพด้วยต้นทุนที่ต่ำที่สุดในอันที่จะตรงกับความต้องการของผู้ซื้อ บางครั้งจะใช้เทคนิคทางสถิติมาประยุกต์ใช้ โดยการดำเนิน

ควบคุมคุณภาพจะทำในทุกระดับ ตั้งแต่พนักงานระดับล่างจนถึงผู้บริหารระดับสูงผ่านฝ่ายต่าง ๆ ทั่วทั้ง

องค์กร ตั้งแต่งานวิจัยตลาด งานวิจัยและพัฒนา (R & D) งานวางแผนผลิตภัณฑ์ งานบริการหลังขาย ตลอดจนถึงงานการเงิน งานบุคคล และงานฝึกอบรม บางทีเรียก TQM ว่า การควบคุมคุณภาพทั่วทั้งองค์กร (CWQC) หรือการควบคุมคุณภาพแบบเบ็ดเสร็จ (TQC) หรือการจัดการคุณภาพแบบเบ็ดเสร็จ (TQM)

คุณภาพ หมายถึง คุณลักษณะที่มีผลต่อการใช้งานโดยรวมที่ใช้เป็นเกณฑ์ตัดสินว่า ผลิตภัณฑ์หรือบริการนั้นตอบสนองตามจุดประสงค์ในการใช้งานหรือไม่ ตลอดจนมีราคาเหมาะสม ส่งมอบทันท่วงที หรือผลิตป้อนตลาดทันความต้องการ ตลอดจนอื่น ๆ ที่สร้างความพึงพอใจให้ตามความต้องการของลูกค้าได้

ผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพคือ ผลิตภัณฑ์ที่สร้างความพอใจต่อผู้ซื้อได้

นายสรศักดิ์ เจริญวงษ์ 5050504532 การจัดการทั่วไป รุ่น 11

คุณภาพ หมายถึงการดำเนินงานให้เป็นไปตามมาตรฐาน หรือข้อกำหนดที่ต้องการ โดยสร้างความพอใจให้กับลูกค้า และมีต้นทุนการดำเนินงานที่ต่ำที่สุด โดยสามารถอธิบายพัฒนาการของแนวคิดด้านคุณภาพของนักคิดด้านการจัดการคุณภาพดังนี้โดยสรุปพัฒนาการของแนวคิดด้านคุณภาพสามารถ แบ่งได้ 4 ระดับ ได้แก่

1.เหมาะสมกับมาตรฐาน

2.เหมาะสมกับประโยชน์ใช้สอย

3.เหมาะสมกับต้นทุน

4เหมาะสมกับความต้องการที่แฝงเร้น

โดยที่เราสามารถจะแยกพิจารณาคุณสมบัติของคุณภาพออกเป็น 2 ลักษณะ ได้แก่

1.คุณภาพของผลิตภัณฑ์ สามารถพิจารณาคุณสมบัติสำคัญ 8 ด้าน คือ

-สมรรถนะ

-ลักษณะเฉพาะ

-ความเชื่อถือได้

-ความสอดคล้องตามที่กำหนด

-ความทนทาน

-ความสามารถในการให้บริการ

-ความสวยงาม

การรับรู้คุณภาพ หรือชื่อเสียงของสินค้า

2.คุณภาพของงานบริการ ประกอบด้วยคุณสมบัติสำคัญ 10 ด้านคือ

-ความเชื่อถือได้

-การตอบสนองความต้องการ

-ความสามารถ

-การเข้าถึงได้

-ความสุภาพ

-การติดต่อสื่อสาร

-ความน่าเชื่อถือ

-ความปลอดภัย

-ความเข้าใจลูกค้า

-สามารถรู้สึกได้ในบริการ

นายนุกูล มณีรุ่ง 5050504518 การจัดการทั่วไป รุ่น 11

การบริหารคุณภาพโดยรวม(TOtal Quality Management:TQM)

การบริหารคุณภาพโดยรวม มีเป้าหมายของระบบการบริหารรูปแบบนี้คือ การปรับปรุงทั้งในด้านของสภาพแวดล้อมในการทำงาน คุณภาพของผลิตภัณฑ์และการบริการให้ดีขึ้น ระบบการจัดการคุณภาพโดยรวมมีลักษณะหลายประการที่เหมือนกับการบริหารงานตามระบบการทำงานแบบทันเวลาพอดี การปฏิบัติหน้าที่ของแต่ละคนจะเน้นที่การทำงานร่วมกันเป็นทีม และจะมีอำนาจในการตัดสินใจเพื่อการปรับปรุงผลิตภัณฑ์ การบริการ ตลอดจนสภาพแวดล้อมในการทำงาน TQM จะเน้นที่การปรับปรุงคุณภาพของผลิตภัณฑ์ โดยสามารถอธิบายถึงสาเหตุของการสูญเสียทรัพยากรที่เปล่าประโยชน์ หรือลดการเกิดของเสียในกระบวนการผลิตได้ด้วย เนื่องจากจะมีผลต่อคุณภาพและประสิทธิผลในด้านของการใช้ทรัพยากรโดยทำการป้องกันและตรวจสอบการทำงานในจุดต่างๆ ที่อาจเป็นสาเหตุของการสูญเสียทรัพยากร

ประโยชน์จากการบริหารคุณภาพโดยรวม

1.ลดหรือกำจัดทรัพยากรที่สูญเปล่าที่เป็นสาเหตุของความบกพร่อง

2.ลดความเสียหายของวัตถุดิบในกระบวนการผลิต

3.ลดเวลาที่สูญเปล่าและไม่เกิดประโยชน์

4.สร้างความสามัคคีในองค์การ

5.เป็นแนวทางในการปฏิบัติงานในองค์การ

ผลลัพธ์

1.คุณภาพของผลิตภัณฑ์ดีขึ้น 2.สร้างความพึงพอใจให้ลูกค้า 3.ลดต้นทุน

เป้าหมาย

1.การดำเนินงานบรรลุถึงความสำเร็จจากการพัฒนาและปรับปรุงที่มีอย่างต่อเนื่อง

2.เกิดความคิดสร้างสรรค์ในการปรับปรุงคุณภาพผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ

นางสุวรรณี แสงประพาฬ 5050504508 การจัดการทั่วไป รุ่น 11

ประโยชน์ของการใช้ ISO 14000

1.การสร้างโอกาสแข่งขันทางการค้าเสรี สามารถส่งสินค้าไปขายต่างประเทศ

ได้มากขึ้น โดยเฉพาะการส่งสินค้าไปสู่เขตการค้าเสรี เช่น อียู นาฟต้า และเอเปก โดยที่สินค้าใดก่อให้เกิดมลภาวะหรือสร้างกระทบต่อสิ่งแวดล้อมจะถูกต่อต้านและไม่สั่งนำเข้าจาก กลุ่มประเทศดังกล่าวในทางตรงข้ามสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ใดทีเอาใจใส่เรื่องสิ่งแวดล้อมก็จะได้รับการส่งเสริมและสนับสนุนให้ผู้บริโภคซื้อหรือสั่งนำเข้า ประเทศไทยจำเป็นต้องปรับตัวให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงเพื่อแข่งขันกับประเทศคู่แข่งขันได้และไม่ถูกกีดกันทางการค้าเสรี เช่น ที่เคยรับบทเรียนมาจาก ISO 14000

2.เป็นตัวส่งเสริมภาพพจน์ของบริษัทหรือองค์กรได้อย่างดี เพราะบางครั้ง

แก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมภายในองค์กรเพื่อให้ได้ตามมาตรฐาน ISO 14000 อาจจะต้องมีการเปลี่ยนแปลงวิธีการผลิต และเปลี่ยนแปลงเครื่องจักร ซึ่งการเปลี่ยนเครื่องจักร ซึ่งการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวเท่ากับสร้างความก้าวหน้าให้กับองค์กรไปในตัว

สำหรับวิธีการเพื่อจะให้ได้มาซึ่งใบรับรอง ISO 14000 นั้นบริษัทหรือองค์กรต่าง ๆ จะต้องสมัครเข้าร่วมโครงการแล้วปฏิบัติตามมาตรฐาน ISO ที่กำหนดไว้โดยถือเป็นข้อผูกพันที่จะต้องมีการปรับปรุงสภาพแวดล้อมด้วยการนำมาตรฐานนี้ไปปรับเข้ากับระบบการจัดการขององค์กรหรือบริษัทนั้น ๆ เมื่อดำเนินการไปได้ระยะหนึ่ง สมอ. และสถาบันสิ่งแวดล้อมไทยจะให้องค์กรที่ไม่มี ส่วนได้ส่วนเสียกับบริษัทนั้น ๆ มาทำการประเมิน ซึ่งองค์กรเหล่านี้เรียกว่า Third Party โดยจะมีผู้ประเมิน (Assessor) มาเป็นผู้ประเมินดูระบบถ้าสอดคล้องตามข้อกำหนด ISO 14000 ก็จะออกใบรับรองให้และจะมีการติดตามดูผลเป็นระยะ ๆ ด้วย

ISO 14001

มาตรฐานระบบการจัดการระบบสิ่งแวดล้อม ISO 14001 (ENVIRONMENTAL MANAGEMENT SYSTEM หรือ EMS หมายถึง ส่วนของระบบการจัดการทั้งหมด ซึ่งรวมถึงโครงสร้างองค์กร การวางแผน ความรับผิดชอบ การปฏิบัติ ขั้นตอน กระบวนการ และทรัพยากร สำหรับจัดทำการปฏิบัติให้บรรลุผล การทบทวน และรักษานโยบายทางด้านสิ่งแวดล้อม เพื่อให้เกิดการปรับปรุงระบบการจัดการให้มีประสิทธิภาพดีขั้นเรื่อย ๆ เพื่อให้เป็นไปตามนโยบายสิ่งแวดล้อมใช้ได้กับทุกองค์กรทุกขนาด และไม่มีวัตถุประสงค์ให้เป็นเครื่องมือกีดกันทางการค้า

องค์ประกอบของระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม ISO 14001

มาตรฐานการจัดการสิ่งแวดล้อม ISO 14001 เป็นแนวทางเพื่อให้องค์กรสามารถใช้เป็นแนวทางในการจัดระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม การเจตนารมณ์ของผู้บริหารระดับสูงที่จะสื่อสารไปสู่พนักงานในองค์กร แบบเป็นระบบและมีขั้นตอนโดยกำหนดให้องค์กรจัดทำนโยบายสิ่งแวดล้อม มีรายละเอียดของการดำเนินงานในการวางแผน นำแผนไปปฏิบัติ มีการตรวจสอบ แก้ไข และทบทวนอยู่เสมอ มีการเลือกใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม ระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม (EMS) มีองค์ประกอบอยู่ 5 ประการ คือ

การกำหนดนโยบายสิ่งแวดล้อม (Environmental Policy) โดย

1.1 ผู้บริหารระดับสูงกำหนดนโยบายสิ่งแวดล้อม

1.2 แสดงความมุ่งมั่นที่จะใช้ EMS

การวางแผน (Planning)

2.1 เพื่อสนองนโยบาย

2.2 เพื่อเป็นแนวทางปฏิบัติ

การเริ่มปฏิบัติและดำเนินการ (Implementation and Operation) เพื่อ

3.1 พัฒนาขีดความสามารถ

3.2 สนับสนุนทุกด้านที่จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพ

การตรวจและการแก้ไข (Checking and Corrective Action) เพื่อ

5.1 ทบทวนผลการปฏิบัติงานและระบบ

5.2 ปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง

5.3 มุ่งเน้นการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม

องค์ประกอบของระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม

ประโยชน์ของระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม (EMS)

ระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมที่ดีจะทำให้องค์กรมีความสามารถในอันที่จะก่อให้เกิดประโยชน์ไว้ดังนี้

1. มีนโยบายสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสม

2. บ่าชี้ผลต่อสิ่งแวดล้อมซึ่งเกิดจากการกระทำ ผลิตภัณฑ์หรือการบริการขององค์กรในอดีตปัจจุบัน หรือตามที่ได้วางแผนไว้ เพื่อหาผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมที่มีความสำคัญ

3. แยกแยะความต้องการของกฎหมาย และข้อบังคับต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง

4. จัดความสำคัญก่อนหลัง ทำวัตถุประสงค์และเป้าหมายสิ่งแวดล้อมให้ตรงตามความสำคัญนั้น

5. จัดทำโครงสร้างและโปรแกรม เพื่อปฏิบัติตามนโยบายให้บรรลุถึงวัตถุประสงค์และเป้าหมาย

6. ช่วยในการวางแผน ควบคุม ติดตามผล แก้ไข ตรวจสอบและทบทวนเพื่อให้แน่ใจว่าทั้งนโยบายและระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมมีความเหมาะสมอยู่เสมอ

7. สามารถปรับเปลี่ยนระบบให้เข้ากับสภาพการณ์ที่เปลี่ยนไปได้

นายชีวัน พินธประกัง 5050504512 การจัดการทั่วไป รุ่น 11 หมู่ 5

การทำงานแบบทันเวลาพอดี (Just-in-Time:JIT)

การทำงานแบบทันเวลาพอดีเป็นการจัดสภาพแวดล้อมในการดำเนินงานให้มีควมเหมาะสมสอดคล้องกันกับจำนวนบุคลากร ปริมาณวัตถุดิบและสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ที่มีความจำเป็นต้องใช้ในการดำเนินงาน โดยเน้นที่การกำจัดสิ่งที่เปล่าประโยชน์ที่อาจจะเกิดขึ้นจากการทำงานที่ไม่มีประสิทธิภาพ เช่น ของเสียจากการใช้วัตถุดิบ ช่วงเวลาที่ศูนย์เปล่า เป็นต้นสำหรับในส่วนบุคลากรนั้นจะต้องมีการฝึกอบรมให้มีทักษะความชำนาญในการปฏิบัติงานที่มีความหลากหลายเพื่อให้บุคลากรเหล่านั้นนำความรู้ไปใช้ในการควบคุมกระบวนการผลิตได้ในหลายแผนกงานหรือทำการควบคุมเครื่องจักรได้หลายชนิดในกระบวนการผลิต

ประโยชน์ที่ได้รับจากการทำงานแบบทันเวลาพอดี

1.เกิดการเปลี่ยนแปลงของกระบวนการคำเนินงานดีขึ้น

2.ลดหรือกำจัดเวลาที่สูญเปล่า(เคลื่อนย้าย ขนส่ง ตรวจนับ ตรวจสอบ)

3.ต้นทุนของผลิตภัณฑ์และบริการในเวลาดำเนินงานลดลง

4.คุณภาพของผลิตภัณฑ์หรือบริการที่เพพพพพิ่มขึ้น

5.สร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้าเพิ่มขึ้น

6.เพิ่มความสามารถให้กับพนักงานในองค์การ

7.การดำเนินงานบรรลุถึงความสำเร็จจากการพัฒนาและปรับปรุงที่มีอย่างต่อเนื่อง

นายดำรงค์ชัย กระแชรัมย์ การจัดการทั่วไป รุ่น 11 หมู่ 5

การบริหารจัดการแบบ Six Sigma (6σ)

การบริหารจัดการแบบ Six Sigma ถือว่าเป็นการบริหาร TQM ขั้นสูงหรือแบบฉบับ สุดยอดของ TQM (Forrest W. Breyfogel et.al : 5) ทำให้คุณภาพและกระบวนการขององค์กร ต่าง ๆ มีการปรับปรุงคุณภาพ การเพิ่มผลผลิต การลดค่าใช้จ่ายได้มากมาย การที่มีการประกอบการที่ดีเยี่ยมเป็นองค์กรที่มีคุณค่าสามารถครองใจลูกค้า และมีการครอบครองตลาดเพิ่มขึ้น ระบบ TQM ต่างจาก Six Sigma ตรงที่ Six Sigma มุ่งมั่นที่จะให้สินค้ามีข้อบกพร่องของเสียเป็นศูนย์ (Zero Defect) ยกตัวอย่างเช่น บริษัท Motorola ในสหรัฐอเมริกาใช้เวลา 5 ปี เพื่อให้ของเสียทุกล้านชิ้นเป็น 3.4 แม้ถึงเวลาจะทำไม่ได้ตามเป้าแต่ทุกคนก็พยายามทำให้ได้ Gorge Eckes (2001) ได้ให้ความหมายของ Six Sigma คือวิธีการใช้กลยุทธ์ปรับปรุงธุรกิจ เพื่อหาแนวทางใน การเพิ่มความพึงพอใจให้แก่ลูกค้าและทำให้องค์กรมีความมั่นคงและมั่งคั่ง

Six Sigma (6σ) คือ ปรัชญาของการทำธุรกิจโดยเน้นการกำจัดสิ่งบกพร่อง ผ่านองค์ความรู้ที่เป็นกระบวนการ วิธีการของ Six Sigma เป็นการบูรณาการหลักการทางธุรกิจ สถิติ วิศวกรเข้าด้วยกันเพื่อให้บรรลุผลเชิงประจักษ์ เครื่องมือของ Six Sigma สามารถนำมาใช้ปรับปรุงกระบวนการและผลผลิตของบริษัท ใช้ได้กับทุกสาขาอาชีพรวมถึงการผลิต การขาย การตลาด การออกแบบ การบริหารจัดการและการบริการ Six Sigma จะให้ผลตอบแทนคือ กำไรที่จับต้องได้อย่างเป็นล่ำเป็นสัน เมื่อนำมาใช้กับพนักงานในองค์กรอย่างชำนาญจะทำให้เกิดประโยชน์ ดังนี้

1.Six Sigma จะลดค่าใช้จ่ายถึง 50 % หรือมากกว่านั้นโดยกรรมวิธี self – funded Approach เพื่อที่จะปรับปรุงการดำเนินให้ดีขึ้น

2.Six Sigma จะลดห่วงโซ่ของเสีย (Reduce the waste chain)

3.Six Sigma จะสนองความเข้าใจและความต้องการของลูกค้ามากขึ้น

4.Six Sigma จะส่งเสริมปรับปรุงการจัดส่งและการปฏิบัติงานให้มีคุณภาพ

5.Six Sigma จะจัดปัจจัยการนำเข้าที่เป็นกระบวนการสำคัญที่จำเป็นเพื่อตอบสนองต่อความต้องการของ ลูกค้า

6.Six Sigma จะพัฒนาผลผลิตและกระบวนการผลิตให้ดีขึ้น

7.Six Sigma จะกระตุ้นให้มีการปรับปรุงอย่างรวดเร็วด้วยทรัพยากรภายในที่มีอยู่

วิไลพร เพ็งจันทึก 5050504506 การจัดการหมู่5

ความหมายของการจัดการคุณภาพ การจัดการคุณภาพ คือ การจัดการองค์กรและกิจกรรมต่างๆ ให้เป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนดไว้ ทั้งนี้โดยมีการกำหนดวัตถุประสงค์หลัก เพื่อให้ผลิตภัณฑ์มีคุณภาพตรงตามมาตรฐานหรือ ข้อกำหนด โดยมีต้นทุนต่ำ และ ตอบสนองความต้องการ ความพอใจของผู้บริโภค กิจกรรมการจัดการคุณภาพ ประกอบไปด้วยกิจกรรมดังต่อไปนี้ 1. จัดองค์กร และบุคลากร และ สิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ให้มีความพร้อม เพื่อให้กิจกรรมจัดการคุณภาพเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ 2. กำหนดวิธีตรวจสอบ และวิเคราะห์ผลิตภัณฑ์ที่มีความแม่นยำ สะดวก รวดเร็ว เชื่อถือได้ เพื่อให้การควบคุมคุณภาพอยู่ในมาตรฐานที่กำหนด 3. ดำเนินการควบคุมคุณภาพ ปัจจัยการผลิต การดำเนินการผลิต และผลิตภัณฑ์ขั้นสุดท้ายให้อยู่ในระดับที่กำหนด 4. วางแผนด้านงบประมาณ และแผนงานควบคุมคุณภาพ 5. ร่วมในการพัฒนา และออกแบบผลิตภัณฑ์ วิเคราะห์คุณสมบัติและคุณลักกษณะของสินค้า ดำเนินการป้องกันการผลิตสินค้าด้วยคุณภาพ 6. สร้างสภาพแวดล้อมและวัฒนธรรมการทำงานที่ดี 7. รวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวข้องกับการดำเนินงานด้านคุณภาพทั้งขององค์กรเอง และ หน่วยงานนอก เพื่อเป็นการปรับปรุงผลิตภัณฑ์ 8. ดำเนินการแก้ไขเมื่อสภาพการผลิตที่อาจก่อให้เกิดความเสียหาย โดยการปรับปรุงกระบวนการผลิต รวมไปถึง ปัจจัยการผลิตต่างๆ 9. รายงานผลด้านคุณภาพให้องค์กร และผู้เกี่ยวข้องได้ทราบ จากการจัดการคุณภาพข้างต้นนี้ สามารถจัดเข้าได้ 5 หมู่ด้วยกันคือ 1. การวางแผน ได้แก่ กิจกรรมเกี่ยวกับการกำหนดนโยบายด้านคุณภาพ การวางแผนงานและประมาณเกี่ยวกับการจัดการคุณภาพ 2. การจัดองค์กร ได้แก่ กิจกรรมการจัดองค์กรด้านคุณภาพ ซึ่งจะรวมไปกิจกรรมด้านการออกแบบควบคุมคุณภาพในขั้นตอนต่างๆ ด้วย 3. การจัดบุคลากร ได้แก่ กิจกรรมการจัดตารางและภาระงานแก่พนักงาน รวมไปถึง การจัดฝึกอบรม และจูงใจการทำงานแก่พนักงาน 4. การสั่งการ ได้แก่ การจัดซื้อ การดำเนินงานการผลิต การตรวจสอบ และประเมินผลงานคุณภาพ 5. การควบคุม ได้แก่ การควบคุมคุณภาพในระหว่างการผลิตโดยใช้แผนภูมิควบคุมรวมทั้งการควบคุมต้นทุนคุณภาพ และการรายงานผลงานด้านคุณภาพให้ผู้เกี่ยวข้องทราบ ระบบควบคุมคุณภาพ ในธุรกิจอาหารแนวคิดการจัดการคุณภาพที่นิยมใช้ในแต่ละองค์กรประกอบด้วย 1. TQM (Total Quality Management) เป็นระบบการจัดการคุณภาพของการบริหารงานภายในองค์กร โดยปลูกฝังให้พนักงานร่วมมือกันดำเนินกิจกรรมภายในองค์กร โดยมีองค์ประกอบสำคัญสำคัญ 3 ด้านได้แก่ ระบบเอกสาร, ระบบควบคุมกระบวนการผลิตด้วยวิธีเชิงสถิติ และการทำงานเป็นทีมภายในองค์กร 2. GMP (Good Manufacturing Practise) เป็นหลักเกณฑ์และวิธีการผลิตที่ดีซึ่งปัจจุบันนี้ในโรงงานที่ส่งออกอาหารต้องผ่านตัวนี้เป็นพื้นฐาน ซึ่งกล่าวไปถึงความปลอดภัยของอาหาร โดยควบคุมปัจจัยภายนอกต่างของการผลิต 3. SSOP (Sanitation Standard Operationg Procedude) เป็นส่วนของการจัดการระบบสุขอนามัยที่ได้มาตรฐานตามสากล ซึ่งมักจะทำระบบพร้อมกับ GMP 4. ISO 9000 เป็นระบบการรับรองคุณภาพภายในองค์กร โดยเมื่อก่อนนี้จะมี เวอร์ชัน 9001, 9002, 9003 และ 9004 โดยมีตัวแม่คือ ISO 8402 แต่ในปัจจุบันนี้มีการรวบให้เหลือเพียง ISO 9002:2000 ส่วน ISO เวอร์ชันอื่นๆ เช่น ISO 14000, 17000 ล้วนเป็นสิ่งที่เพิ่มเติมและเพิ่มความเชื่อมั่นให้กับองค์กร 5. HACCP (Hazard Analysis Critical Control Point) เป็นระบบการประกันคุณภาพอาหารที่มีได้รับการยอมรับสูง ซึ่งเน้นไปที่ความปลอดภัยต่อผู้บริโภค โดยมีการวิเคราะห์ และกำหนดจุดวิกฤตของกระบวนการโดยละเอียด

นางสาวกรณ์สมัชญ์ เปรี่ยมพิมาย 5050504501 การจัดการทั่วไปรุ่น 11 หมู่ 5

กระบวนการจัดการ (Management Process) มีหน้าที่พื้นฐาน 4 ประการ ของผู้บริหาร 1. การวางแผน (Planning) เป็นขั้นตอนในการกำหนดวัตถุประสงค์ และพิจารณาถึงวิธีการที่ควรปฏิบัติ เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ 2. การจัดการองค์การ (Organization) เป็นขั้นตอนในการจัดบุคคลและทรัพยากรที่ใช้ในการทำงาน เพื่อให้บรรลุจุดมุ่งหมายในการทำงานนั้น 3. การนำ (Leading) เป็นการกระตุ้นให้เกิดความกระตือรือร้นชักนำความพยายามให้บรรลุเป้าหมายขององค์การ 4. การควบคุม (Controlling) เป็นการติดตามผลการทำงาน และแก้ไขปรับปรุงในสิ่งที่จำเป็น ทฤษฎีการจัดการ (Principle of management) หรือ การบริหาร (Administrative principles) Henri Fayol ได้ชื่อว่าเป็น บิดาของทฤษฎีการจัดการปฏิบัติการโดยแบ่งกิจกรรมด้านอุตสาหกรรมเป็น 6 กลุ่ม : เทคนิค การทำ การเงิน ความมั่นคง บัญชี และการจัดการ คำนึงถึงความจำเป็นในการสอนการจัดการ กำหนดการจัดการ 14 ประการ ได้แก่ (1) การแบ่งงานกันทำ (2) อำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบ (3) ระเบียบวินัย (4) การมีผู้บังคับบัญชาเพียงคนเดียว (5) การมีเป้าหมายเดียวกัน (6) ผลประโยชน์ของบุคคล ควรจะเป็นรองจากผลประโยชน์ขององค์การ (7) การให้ผลตอบแทน ( การรวมอำนาจ (9) สายการบังคับบัญชา (10) ความเป็นระเบียบ (11) ความเสมอภาค (12) ความมั่นคง (13) ความคิดริเริ่ม (14) ความสามัคคี

วิไลพร เพ็งจันทึก 5050504506 การจัดการหมู่5

กระบวนการจัดการ (Management Process) มีหน้าที่พื้นฐาน 4 ประการ ของผู้บริหาร 1. การวางแผน (Planning) เป็นขั้นตอนในการกำหนดวัตถุประสงค์ และพิจารณาถึงวิธีการที่ควรปฏิบัติ เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ 2. การจัดการองค์การ (Organization) เป็นขั้นตอนในการจัดบุคคลและทรัพยากรที่ใช้ในการทำงาน เพื่อให้บรรลุจุดมุ่งหมายในการทำงานนั้น 3. การนำ (Leading) เป็นการกระตุ้นให้เกิดความกระตือรือร้นชักนำความพยายามให้บรรลุเป้าหมายขององค์การ 4. การควบคุม (Controlling) เป็นการติดตามผลการทำงาน และแก้ไขปรับปรุงในสิ่งที่จำเป็น ทฤษฎีการจัดการ (Principle of management) หรือ การบริหาร (Administrative principles) Henri Fayol ได้ชื่อว่าเป็น บิดาของทฤษฎีการจัดการปฏิบัติการโดยแบ่งกิจกรรมด้านอุตสาหกรรมเป็น 6 กลุ่ม : เทคนิค การทำ การเงิน ความมั่นคง บัญชี และการจัดการ คำนึงถึงความจำเป็นในการสอนการจัดการ กำหนดการจัดการ 14 ประการ ได้แก่ (1) การแบ่งงานกันทำ (2) อำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบ (3) ระเบียบวินัย (4) การมีผู้บังคับบัญชาเพียงคนเดียว (5) การมีเป้าหมายเดียวกัน (6) ผลประโยชน์ของบุคคล ควรจะเป็นรองจากผลประโยชน์ขององค์การ (7) การให้ผลตอบแทน ( การรวมอำนาจ (9) สายการบังคับบัญชา (10) ความเป็นระเบียบ (11) ความเสมอภาค (12) ความมั่นคง (13) ความคิดริเริ่ม (14) ความสามัคคี การจัดการแบบวิทยาศาสตร์ (Scientific management) Frederick Winslow Taylor (ค.ศ.1856-1915) เป็นบิดาของการจัดการแบบวิทยาศาสตร์ โดยเป็นผู้ค้นหาประสิทธิภาพ ค้นหาวิธีที่ดีที่สุด เพื่อให้บรรลุผลการทำงานที่มีประสิทธิภาพสูงสุด (ใช้ทรัพยากรต่ำสุด) แนวคิดหลักของ Taylor 1. ใช้หลักวิทยาศาสตร์ในการทำงาน (ความรู้ในการจัดองค์การ) แทนหลักทั่วไปที่ปล่อยตามธรรมชาติ 2. การคัดเลือกพนักงานโดยใช้หลักวิทยาศาสตร์ มีการฝึกอบรมสอนและพัฒนากำลังแรงงาน 3. มุ่งความร่วมมืออย่างจริงใจจากกำลังแรงงาน 4. มีความเท่าเทียมกันในงานและความรับผิดชอบ ระหว่างฝ่ายจัดการและกำลังแรงงาน การจัดการจะทำทั่วทั้งหมดของงาน การจัดการแบบระบบราชการ (Bureaucratic management) ทฤษฎีระบบราชการของ Max Weber มีลักษณะดังนี้ 1. การแบ่งงานกันทำงาน งานจะถูกแบ่งออกให้ง่ายขึ้น ความเฉพาะเจาะจงมากขึ้น 2. มีสายบังคับบัญชาลดหลั่นตามอำนาจหน้าที่ องค์การจะมีโครงสร้างแบบสามเหลี่ยมปีรามิด ซึ่งจัดลำดับของตำแหน่งงานตามอำนาจที่มีอยู่ในแต่ละตำแหน่ง โดยตำแหน่งที่สูงกว่าจะมีอำนาจมากกว่า 3. กฎระเบียบ และวิธีการปฏิบัติงานอย่างเป็นทางการ มีการออกกฎระเบียบเพื่อเป็นแนวทางสำหรับการปฏิบัติงานองค์การชัดเจน เป็นทางการ 4. ความไม่เป็นส่วนตัว ผลงานของผู้ปฏิบัติงานจะเป็นเครื่องชี้วัดความก้าวหน้าของตัวเอง 5. ความก้าวหน้าในงานอาชีพโดยยึดหลักคุณธรรม การคัดเลือกโดยยึดความรู้ ความสามารถเป็นหลัก และได้รับการเลื่อนขั้น เลื่อนตำแหน่ง พิจารณาจากความสัมพันธ์ระหว่างผลการปฏิบัติงานกับงานที่ได้รับมอบหมายว่าทำได้มีประสิทธิภาพมากน้อยเพียงใด

ยุพาพร จักรเกาะ 5050504537 หมู่5

1. การบริการรับรองระบบการจัดการคุณภาพ ยูโรเปี้ยนควอลิตี้แอสชัวแรนซ์ ให้บริการรับรองระบบการจัดการคุณภาพ ซึ่งสามารถขอการรับรองได้ เมื่อมีการจัดทำ และพัฒนาระบบให้เป็นไปตามข้อกำหนด เพื่อให้เกิดการพัฒนาประสิทธิภาพ และประสิทธิผลของการดำเนินงาน และบรรลุตามวัตถุประสงค์ที่วางไว้ คุณสมบัติผู้ขอการรับรอง Ø องค์กรทั้งภาครัฐ และเอกชน Ø บริษัท ห้างหุ้นส่วนที่เป็นนิติบุคคล และไม่เป็นนิติบุคคล Ø หน่วยงาน ส่วนงาน และโครงการต่าง ๆ ขั้นตอนการขอการรับรอง Ø ติดต่อสอบถาม ผู้ขอการรับรองสามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดการขอการรับรองระบบการจัดการคุณภาพได้จากเจ้าหน้าที่ของยูโรเปี้ยนควอลิตี้แอสชัวแรนซ์ Ø กรอกข้อมูลแบบสอบถาม ผู้ขอการรับรองที่ยื่นคำขอกรอกข้อมูลแบบสอบถาม เพื่อขอรับการรับรองระบบการจัดการคุณภาพ และข้อมูลทั่วไปของผู้ขอการรับรองที่ยื่นคำขอ Ø ตรวจสอบเอกสาร 1. ผู้ขอการรับรองที่ยื่นคำขอ ต้องจัดส่งเอกสารคู่มือคุณภาพ และเอกสารที่เกี่ยวข้องให้ยูโรเปี้ยนควอลิตี้แอสชัวแรนซ์ดำเนินการตรวจสอบ 2. เมื่อยูโรเปี้ยนควอลิตี้แอสชัวแรนซ์ดำเนินการตรวจสอบเอกสารแล้ว จะจัดทำรายงานการตรวจสอบเอกสารแจ้งให้ผู้ขอการรับรองทราบ พร้อมรายชื่อเจ้าหน้าที่ผู้ประเมิน และกำหนดการตรวจประเมิน Ø ตรวจประเมิน ยูโรเปี้ยนควอลิตี้แอสชัวแรนซ์จะส่งเจ้าหน้าที่ผู้ประเมินไปตรวจประเมิน ณ สถานปฏิบัติงาน แล้วจัดทำรายงานการตรวจประเมินแจ้งให้ผู้ขอการรับรองทราบ Ø ให้การรับรอง ยูโรเปี้ยนควอลิตี้แอสชัวแรนซ์จะดำเนินการสรุปรายงานผลการตรวจประเมินเสนอสำนักงานใหญ่ ณ ประเทศอังกฤษ และคณะกรรมการของยูโรเปี้ยนควอลิตี้แอสชัวแรนซ์ พิจารณาให้การรับรอง และออกใบรับรองระบบการจัดการคุณภาพ Ø ติดตามผล ยูโรเปี้ยนควอลิตี้แอสชัวแรนซ์จะดำเนินการตรวจประเมิน เพื่อการติดตามผลทุก ๆ 6 เดือน Ø ประเมินใหม่ทุก 3 ปี ยูโรเปี้ยนควอลิตี้แอสชัวแรนซ์จะดำเนินการตรวจประเมินใหม่ทั้งระบบ เมื่อครบกำหนด 3 ปี และขอการรับรองระบบการจัดการคุณภาพต่อ 2. การบริการฝึกอบรมระบบการจัดการคุณภาพ ยูโรเปี้ยนควอลิตี้แอสชัวแรนซ์ ให้การบริการฝึกอบรมระบบการจัดการคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้เข้าฝึกอบรมมีความรู้ ความเข้าใจหลักการจัดทำเอกสารได้อย่างถูกต้อง มีความมุ่งมั่นที่จะจัดทำระบบการจัดการคุณภาพ และนำไปใช้อย่างจริงจัง มีความมุ่งมั่นในการยื่นขอการรับรอง และจัดทำระบบการจัดการคุณภาพให้ประสบความสำเร็จ ภายในระยะเวลาอันสมควร ดังนั้น ผู้ผ่านการฝึกอบรม จากยูโรเปี้ยนควอลิตี้แอสชัวแรนซ์ จะได้ใบรับรองการผ่านการฝึกอบรม เนื่องจากเป็นผู้มีคุณสมบัติตามวัตถุประสงค์ของการฝึกอบรมระบบการจัดการคุณภาพ ประโยชน์ที่ได้รับจากการฝึกอบรม Ø เพื่อให้ผู้เข้าฝึกอบรมเข้าใจหลักการจัดทำ และระดับเอกสารในระบบการจัดการคุณภาพ Ø เพื่อให้ผู้เข้าฝึกอบรมสามารถจัดทำ ควบคุมเอกสารและข้อมูลได้อย่างถูกต้อง ตลอดจนสะดวกต่อการนำไปใช้งาน Ø เพื่อเป็นแนวทางในการจัดทำคู่มือขั้นตอนการดำเนินงาน และสามารถจัดทำคู่มือการดำเนินงาน ของระบบการจัดการคุณภาพได้อย่างครบถ้วน Ø เพื่อช่วยกระตุ้นให้ผู้ผลิต ผู้ส่งออกได้ตระหนักถึงความสำคัญ และมีความตื่นตัวในการใช้ระบบการจัดการคุณภาพ Ø เพื่อช่วยเสริมสร้างความเข้าใจ เกี่ยวกับการขอการรับรองระบบการจัดการคุณภาพ ขั้นตอนการฝึกอบรม Ø ติดต่อสอบถาม ผู้เข้าฝึกอบรมสามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดการฝึกอบรมระบบการจัดการคุณภาพได้จากเจ้าหน้าที่ของยูโรเปี้ยนควอลิตี้แอสชัวแรนซ์ Ø กรอกข้อมูลแบบสอบถาม ผู้เข้าฝึกอบรมกรอกแบบสอบถาม เพื่อเป็นข้อมูลสำหรับการฝึกอบรมระบบการจัดการคุณภาพ Ø จัดเตรียมหลักสูตร ยูโรเปี้ยนควอลิตี้แอสชัวแรนซ์จะดำเนินการจัดเตรียมหลักสูตร และจัดส่งหลักสูตรให้ผู้เข้าฝึกอบรม เพื่อพิจารณาเข้ารับการฝึกอบรมระบบการจัดการคุณภาพ Ø ฝึกอบรม ยูโรเปี้ยนควอลิตี้แอสชัวแรนซ์จะดำเนินการฝึกอบรมระบบการจัดการคุณภาพให้กับผู้เข้าฝึกอบรม Ø ประเมินผล ยูโรเปี้ยนควอลิตี้แอสชัวแรนซ์จะดำเนินการทดสอบ และประเมินผลการฝึกอบรมระบบการจัดการคุณภาพ เสนอคณะกรรมการของยูโรเปี้ยนควอลิตี้แอสชัวแรนซ์ เพื่อพิจารณาให้การรับรองกับผู้ผ่านการฝึกอบรม Ø มอบใบรับรอง ยูโรเปี้ยนควอลิตี้แอสชัวแรนซ์จะดำเนินการออกใบรับรอง และมอบใบรับรองระบบการจัดการคุณภาพให้กับผู้ผ่านการฝึกอบรม คุณสมบัติผู้เข้าฝึกอบรม ผู้บริหารองค์การ เจ้าของกิจการ ผู้บริหารการผลิต ผู้รับผิดชอบคุณภาพผลิตภัณฑ์ ผู้ทำกิจกรรมกลุ่มคุณภาพ เจ้าหน้าที่ร่วมคณะทำงาน และบุคคลที่สนใจทั่วไป

วิไลพร เพ็งจันทึก 5050504506 การจัดการหมู่5

      การจัดการคุณภาพโดยรวม (Total Quality Management) การจัดการคุณภาพโดยรวม (Total Quality Management) หรือ TQM เป็นแนวทางในการบริหารขององค์กรที่เน้นเรื่องคุณภาพ โดยบุคลากรทุกคนขององค์การจะมีส่วนร่วมและมุ่งหมายผลกำไรในระยะยาวด้วยการสร้างความพึงพอใจให้แก่ลูกค้า รวมทั้งการสร้างผลประโยชน์แก่บรรดาบุคลากรขององค์การและสังคมด้วยในขณะเดียวกัน วิธีการปฏิบัติของการจัดการคุณภาพโดยรวมของแต่ละองค์กรอาจแตกต่างกัน แต่แนวปรัชญา ความคิด หลักการสำคัญจะคล้ายกัน และที่สำคัญที่สุดคือ ต้องยึด “คุณภาพ” เป็นแกนหลักในการบริหารงานต่างๆ เช่น เดียวกัน ซึ่งจะส่งผลดีแก่องค์การในด้านการปรับปรุงคุณภาพของสินค้าหรือบริการให้สูงขึ้น หรือทำให้ของเสียเป็นศูนย์ หรือสามารถออกแบบผลิตภัณฑ์ได้สวยงามใช้งานได้ดีขึ้น หรือสามารถบริการหรือส่งของได้รวดเร็วขึ้น ต้นทุนการผลิตลดลง ฯลฯ ส่วนผู้ปฏิบัติคือพนักงานหรือบุคลากรขององค์กรก็จะสามารถพัฒนาศักยภาพของตนเองได้อย่างเต็มที่ด้วยการมีส่วนร่วมในการปรับปรุงคุณภาพของงานและผลิตภัณฑ์ อันจะทำให้คุณภาพของชีวิตของทุกคนดีขึ้นเรื่อยๆ อย่างต่อเนื่อง โดยที่ TQM จะมีส่วนประกอบสำคัญ ความสัมพันธ์ขององค์ประกอบ TQM ที่มา : ดร.ณัฏฐพันธ์ เขจรนันทน์ และคณะ, การบริหาร การดำเนินงาน และการผลิต, 2545: 193. TQM ประกอบด้วยส่วนประกอบสำคัญ 3 ส่วนคือการให้ความสำคัญกับลูกค้า (Customer Oriented) การมุ่งเน้นคุณภาพที่สร้างความพึงพอใจให้แก่ลูกค้าได้การตอบสนองความต้องการของลูกค้าต้องทำการวิจัยตลาดให้รู้ก่อนว่า ลูกค้าต้องการอะไร แล้วยึดเอาความต้องการนั้นเป็นศูนย์กลางในการบริหารและดำเนินการขององค์การต่อไป 2การพัฒนาอย่างต่อเนื่อง (Continuous Improvement) ปรับปรุงกระบวนการทั้งหมดตั้งแต่ต้นจนจบวงจรอย่างต่อเนื่อง โดยเอาใจใส่ลูกค้าภายใน (Internal Customer) ตลอดจนถึงลูกค้าภายนอก (External Customer) กล่าวคือพนักงานทุกคนต้องถือว่ากระบวนการผลิตถัดไปเป็นลูกค้าภายในที่มีความต้องการชิ้นงานที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ดังนั้นเขาจึงต้องทำงานของตนเองอย่างถูกต้องตั้งแต่เริ่มต้นและทำได้ถูกต้องทุกครั้ง ซึ่งการทำงานได้อย่างถูกต้องจะต้องอาศัยพนักงานที่มีคุณภาพ ประกอบกับการปรับปรุงกระบวนการอย่างต่อเนื่องด้วยจึงสามารถลดความผิดพลาดต่างๆ ในการผลิตให้เหลือน้อยที่สุดได้ ดังนั้นองค์การที่ดำเนินงานตามปรัชญาของ TQM จะต้องกล้าตัดสินใจปรับปรุง และเปลี่ยนแปลงตนเองให้ก้าวไปข้างหน้าอย่างไม่หยุดยั้ง ซึ่งสามารถจะดำเนินงานได้ตามวงล้อ Deming ดัง: วงล้อ Deming ที่มา : ดร.ณัฏฐพันธ์ เขจรนันทน์ และคณะ, การบริหาร การดำเนินงาน และการผลิต, 2545: 195. 2.5.3 สมาชิกทุกคนมีส่วนร่วม (Employees Involvements) ทุกคนในองค์การมีส่วนร่วมในการพัฒนาองค์การ เพื่อปรับปรุงให้เป็นองค์กรคุณภาพ (Quality Organization) โดยผู้ที่ลงมือปฏิบัติจะเป็นผู้ที่รู้ปัญหาและช่วยเสนอแนะวิธีการแก้ไขปัญหาได้ดีที่สุด โดยขั้นตอนพื้นฐานของ TQM ในกระบวนการแก้ปัญหามีลำดับขั้นตอนดังต่อไปนี้ : ขั้นตอนพื้นฐานในการแก้ปัญหา ที่มา : William, J. Stevenson, Operations Management, 2002: 476. อีกประการหนึ่งในการแก้ปัญหาสามารถนำเอาหลักการของวัฏจักร Plan do study -- Act (PDSA) มาช่วยในการแก้ปัญหาได้ : วัฏจักร PDSA ที่มา : William, J. Stevenson, Operations Management, 2002: 476. ภาพที่ 2.7 : วัฏจักร PDSA นำมาประยุกต์ใช้เพื่อแก้ปัญหา ที่มา : William, J. Stevenson, Operations Management, 2002: 476. Copyright @2002. Mae Fah Luang University. The best view at 1024x768 pixel Hight 16 bit or better, support with IE 5.0 or later

นางเอื้อมวงศ์ เรืองปลอด รหัส5050504509 การจัดการทั่วไป รุ่น 11 หมู่5

การจัดการคุณภาพน้ำในประเทศไทย มีหลายหน่วยงานและองค์กรที่รับผิดชอบและร่วมกันดำเนินการอยู่ กรมควบคุมมลพิษ เป็นหน่วยงานหนึ่งที่มีหน้าที่ส่วนหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับการติดตามตรวจสอบและการควบคมคุณภาพน้ำ บทความนี้จะได้กล่าวถึงเรื่องคุณภาพน้ำและการควบคุม ที่กรมควบคุมมลพิษได้ดำเนินการมา โดยจะอธิบายถึงการติดตามตรวจสอบคุณภาพน้ำ สถานการณ์คุณภาพน้ำ การดำเนินการในการควบคุมและจัดการคุณภาพน้ำที่ผ่านมา การติดตามตรวจสอบคุณภาพน้ำของกรมควบคุมมลพิษ 1. แผนการติดตามตรวจสอบ ในแหล่งน้ำผิวดิน มีการติดตามตรวจสอบในแม่น้ำจำนวน 48 สาย และแหล่งน้ำนิ่งจำนวน 4 แหล่ง ดำเนินการ 4 ครั้ง/ปี สำหรับลุ่มน้ำภาคกลาง และ 2 ครั้ง/ปี ในลุ่มน้ำภาคอื่นๆ และมีสถานีตรวจวัดคุณภาพน้ำแบบอัตโนมัติอีกจำนวน 14 สถานี ครอบคลุมแหล่งน้ำทีสำคัญของภูมิภาคต่างๆ โดยเฉพาะในแม่น้ำสายหลักภาคกลาง เพื่อตรวจสอบและรายงานผลการตรวจวัดคุณภาพน้ำในบริเวณที่ติดตั้งได้ตามที่กำหนด นอกจากนี้จะเริ่มใช้สิ่งมีชีวิตเป็นตัวบ่งชี้คุณภาพน้ำโดยร่วมกับชุมชนในพื้นที่ ตัวอย่างจะทำการวิเคราะห์ในภาคสนาม สำหรับดัชนีความเป็นกรด-ด่าง อุณหภูมิ ความเค็ม ความนำไฟฟ้า ความโปร่งใส สี กลิ่น ออกซิเจนละลาย ขยะลอยน้ำ น้ำมันและไขมันลอยน้ำ และส่งตัวอย่างกลับห้องปฏิบัติการ เพื่อวิเคราะห์ดัชนีคุณภาพน้ำอื่นๆ เช่น สารแขวนลอย ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส โลหะหนัก แบคทีเรีย สารป้องกันและกำจัดศัตรูพืชและสัตว์ เป็นต้น 2. มาตรฐานคุณภาพแหล่งน้ำแหล่งน้ำผิวดิน ได้มีการกำหนดมาตรฐานคุณภาพน้ำในแหล่งน้ำผิวดิน ตามลักษณะการใช้ประโยชน์ต่างๆ พร้อมทั้งกำหนดดัชนีคุณภาพน้ำที่ต้องทำการตรวจวัดทั้งหมด 28 ชนิด มาตรฐานดังกล่าวเป็นประกาศคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ โดยแบ่งคุณภาพน้ำออกเป็น 5 ประเภท ขึ้นอยู่กับลักษณะการใช้ประโยชน์ และกรมควบคุณมลพิษ ก็ได้ประกาศประเภทคุณภาพน้ำของแหล่งน้ำต่างๆ ได้แก่ แม่น้ำเจ้าพระยา ท่าจีน แม่กลอง บางปะกง ปราจีนบุรี นครนายก เพชรบุรี ตาปี-พุมดวง ปากพนัง ปัตตานี สงครา พอง ชี มูล และลำตะคอง สำหรับแหล่งน้ำอื่นๆ ก็จะได้ดำเนินการในลำดับต่อไป สรุปสถานการณ์คุณภาพน้ำ ในปี พ.ศ. 2543 กรมควบคุมมลพิษได้ดำเนินการติดตามตรวจสอบคุณภาพแหล่งน้ำสำคัญทั่วประเทศ โดยแหบ่งเป็นแม่น้ำจำนวน 47 สาย และแหล่งน้ำนิ่ง 4 แหล่ง ได้แก่ กว๊านพะเยา บึงบอระเพ็ด หนองหานและลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา (ประกอบด้วย ทะเลน้อย ทะเลหลวง และทะเลสาบสงขลา) พบว่า แหล่งน้ำที่อยู่ในเกณฑฑ์ดีมีอยู่จำนวน 9 แหล่ง หรือเท่ากับร้อยละ 18 แหล่งน้ำที่อยู่ในเกณฑ์พอใช้มีอยู่จำนวน 23 แหล่ง หรือเท่ากับร้อยละ 45 แหล่งน้ำที่อยู่ในเกณฑ์ต่ำมีอยู่จำนวน 18 แหล่ง หรือเท่ากับร้อยละ 35 และแหล่งน้ำที่อยู่ในเกณฑ์ต่ำมากมีอยู่จำนวน 1 แหล่ง หรือเท่ากับร้อยละ 2 (ดังตารางที่1) แหล่งน้ำที่อยู่ในเกณฑ์ต่ำมาก ได้แก่ แม่น้ำท่าจีน โดยเฉพาะในช่วงท่าจีนตอนล่าง (ตั้งแต่อ.นครชัยศรี จ.นครปฐมจนถึงปากแม่น้ำจ.สมุทาสาคร) แหล่งน้ำที่อยู่ในเกณฑ์สำหรับใช้เพื่อการอุตสาหกรรม การอุปโภคและบริโภคโดยต้องทำการฆ่าเชื้อโรคและปรับปรุงคุณภาพน้ำเป็นพิเศษก่อนในภาคกลางได้แก่ เจ้าพระยา ป่าสัก สะแกกรังน้อย ลพบุรี และเพชรบุรี ภาคตะวันออกได้แก่ บางปะกง นครนายก ระยอง และประแสร์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือได้แก่ ลำตะคองตอนล่าง (ท้ายอ่างเก็บน้ำลำตะคองไปจนถึงจังหวัดนครราชสีมา) ภาคเหนือได้แก่ ยม น่าน กวง กก และอิง ภาคใต้ได้แก่ ทะเลสาบสงขลา ทะเลหลวง และแม่น้ำตรัง

นางเอื้อมวงศ์ เรืองปลอด รหัส5050504509 การจัดการทั่วไป รุ่น 11 หมู่5

   ความหมายของการจัดการคุณภาพ การจัดการคุณภาพ คือ การจัดการองค์กรและกิจกรรมต่างๆ ให้เป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนดไว้ ทั้งนี้โดยมีการกำหนดวัตถุประสงค์หลัก เพื่อให้ผลิตภัณฑ์มีคุณภาพตรงตามมาตรฐานหรือ ข้อกำหนด โดยมีต้นทุนต่ำ และ ตอบสนองความต้องการ ความพอใจของผู้บริโภค กิจกรรมการจัดการคุณภาพ ประกอบไปด้วยกิจกรรมดังต่อไปนี้ 1. จัดองค์กร และบุคลากร และ สิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ให้มีความพร้อม เพื่อให้กิจกรรมจัดการคุณภาพเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ 2. กำหนดวิธีตรวจสอบ และวิเคราะห์ผลิตภัณฑ์ที่มีความแม่นยำ สะดวก รวดเร็ว เชื่อถือได้ เพื่อให้การควบคุมคุณภาพอยู่ในมาตรฐานที่กำหนด 3. ดำเนินการควบคุมคุณภาพ ปัจจัยการผลิต การดำเนินการผลิต และผลิตภัณฑ์ขั้นสุดท้ายให้อยู่ในระดับที่กำหนด 4. วางแผนด้านงบประมาณ และแผนงานควบคุมคุณภาพ 5. ร่วมในการพัฒนา และออกแบบผลิตภัณฑ์ วิเคราะห์คุณสมบัติและคุณลักกษณะของสินค้า ดำเนินการป้องกันการผลิตสินค้าด้วยคุณภาพ 6. สร้างสภาพแวดล้อมและวัฒนธรรมการทำงานที่ดี 7. รวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวข้องกับการดำเนินงานด้านคุณภาพทั้งขององค์กรเอง และ หน่วยงานนอก เพื่อเป็นการปรับปรุงผลิตภัณฑ์ 8. ดำเนินการแก้ไขเมื่อสภาพการผลิตที่อาจก่อให้เกิดความเสียหาย โดยการปรับปรุงกระบวนการผลิต รวมไปถึง ปัจจัยการผลิตต่างๆ 9. รายงานผลด้านคุณภาพให้องค์กร และผู้เกี่ยวข้องได้ทราบ จากการจัดการคุณภาพข้างต้นนี้ สามารถจัดเข้าได้ 5 หมู่ด้วยกันคือ 1. การวางแผน ได้แก่ กิจกรรมเกี่ยวกับการกำหนดนโยบายด้านคุณภาพ การวางแผนงานและประมาณเกี่ยวกับการจัดการคุณภาพ 2. การจัดองค์กร ได้แก่ กิจกรรมการจัดองค์กรด้านคุณภาพ ซึ่งจะรวมไปกิจกรรมด้านการออกแบบควบคุมคุณภาพในขั้นตอนต่างๆ ด้วย 3. การจัดบุคลากร ได้แก่ กิจกรรมการจัดตารางและภาระงานแก่พนักงาน รวมไปถึง การจัดฝึกอบรม และจูงใจการทำงานแก่พนักงาน 4. การสั่งการ ได้แก่ การจัดซื้อ การดำเนินงานการผลิต การตรวจสอบ และประเมินผลงานคุณภาพ 5. การควบคุม ได้แก่ การควบคุมคุณภาพในระหว่างการผลิตโดยใช้แผนภูมิควบคุมรวมทั้งการควบคุมต้นทุนคุณภาพ และการรายงานผลงานด้านคุณภาพให้ผู้เกี่ยวข้องทราบ ระบบควบคุมคุณภาพ ในธุรกิจอาหารแนวคิดการจัดการคุณภาพที่นิยมใช้ในแต่ละองค์กรประกอบด้วย 1. TQM (Total Quality Management) เป็นระบบการจัดการคุณภาพของการบริหารงานภายในองค์กร โดยปลูกฝังให้พนักงานร่วมมือกันดำเนินกิจกรรมภายในองค์กร โดยมีองค์ประกอบสำคัญสำคัญ 3 ด้านได้แก่ ระบบเอกสาร, ระบบควบคุมกระบวนการผลิตด้วยวิธีเชิงสถิติ และการทำงานเป็นทีมภายในองค์กร 2. GMP (Good Manufacturing Practise) เป็นหลักเกณฑ์และวิธีการผลิตที่ดีซึ่งปัจจุบันนี้ในโรงงานที่ส่งออกอาหารต้องผ่านตัวนี้เป็นพื้นฐาน ซึ่งกล่าวไปถึงความปลอดภัยของอาหาร โดยควบคุมปัจจัยภายนอกต่างของการผลิต 3. SSOP (Sanitation Standard Operationg Procedude) เป็นส่วนของการจัดการระบบสุขอนามัยที่ได้มาตรฐานตามสากล ซึ่งมักจะทำระบบพร้อมกับ GMP 4. ISO 9000 เป็นระบบการรับรองคุณภาพภายในองค์กร โดยเมื่อก่อนนี้จะมี เวอร์ชัน 9001, 9002, 9003 และ 9004 โดยมีตัวแม่คือ ISO 8402 แต่ในปัจจุบันนี้มีการรวบให้เหลือเพียง ISO 9002:2000 ส่วน ISO เวอร์ชันอื่นๆ เช่น ISO 14000, 17000 ล้วนเป็นสิ่งที่เพิ่มเติมและเพิ่มความเชื่อมั่นให้กับองค์กร 5. HACCP (Hazard Analysis Critical Control Point) เป็นระบบการประกันคุณภาพอาหารที่มีได้รับการยอมรับสูง ซึ่งเน้นไปที่ความปลอดภัยต่อผู้บริโภค โดยมีการวิเคราะห์ และกำหนดจุดวิกฤตของกระบวนการโดยละเอียด -------------------------------------------------------------------------------- ย้อนกลับหน้าหลัก เวบไซต์นี้เหมาะกับการแสดงในโหมด 800x600 พิกเซล ด้วย IE 4.0ขึ้นไป

นางสาวกรณ์สมัชญ์ เปรี่ยมพิมาย 5050504501 การจัดการทั่วไปรุ่น 11 หมู่ 5

การบริหารทรัพยากรบุคคล ถือเป็นเรื่องที่สำคัญที่สุดในการบริหารงานในปัจจุบัน เนื่องจากเป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปว่า ทุนมนุษย์เป็นทุนที่มีความสำคัญในการบริหาร และสร้างคุณค่าให้กับองค์กร นอกจากนั้นการบริหารคนยังเป็นเรื่องที่ยากแก่การเข้าใจและยากต่อการทำให้เป็นสูตรสำเร็จในการบริหาร โดยการบริหารทุนมนุษย์ขององค์กรไม่ได้สอดรับกับทิศทางการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์ขององค์กร แต่เมื่อภายหลังจากการทำ HR Scorecard ทำให้หน่วยงานด้าน HR สามารถมองเห็นภาพรวมของการบริหารทรัพยากรบุคคล ทั้งในแง่ปัญหาที่เผชิญอยู่ ตลอดจนแนวทางการแก้ไขปัญหา โดยสามารถมองเห็นความเชื่อมโยงเป็นเหตุเป็นผลของการดำเนินงานแต่ละส่วนได้จากการทำ Strategy Mapping นอกจากนั้นการนำ HR Scorecard มาเป็นเครื่องมือในการบริหารทรัพยากรบุคคล ยังทำให้ผู้ปฏิบัติงานมองเห็นเป้าหมายในการดำเนินงานที่ชัดเจน เกิดความกระตือรือล้นที่จะปฏิบัติงานในเชิงรุกมากขึ้น และการทำงานของแต่ละส่วนจะเกิดการประสานสอดรับซึ่งกันและกันเป็นทีมงาน เพื่อมุ่งให้บรรลุเป้าหมายเดียวกัน ในมุมมองนี้ HR Scorecard จึงเป็นโครงการที่มีประโยชน์อย่างยิ่งในการปรับเปลี่ยนปฏิรูปการบริหารทรัพยากรบุคคลของหน่วยงานอย่างแท้จริง

นางเอื้อมวงศ์ เรืองปลอด รหัส5050504509 การจัดการทั่วไป รุ่น 11 หมู่5

เครื่องมือคุณภาพใหม่ 7 อย่าง (The 7 New QC Tools) เครื่องมือคุณภาพใหม่ 7 อย่าง (The 7 New QC Tools) ความสำคัญของเครื่องมือคุณภาพใหม่ 7 อย่าง (The 7 New QC Tools) เครื่องมือคุณภาพใหม่ 7 อย่าง หรือเครื่องมือสำหรับการบริหาร 7 อย่าง (The 7 Management Tools) เป็นเครื่องมือที่ทางประเทศญี่ปุ่นพัฒนาเพิ่มเติมมาจากเครื่องมือคุณภาพ 7 อย่าง (The 7 QC Tools) ให้มีความเหมาะสมและเป็นประโยชน์สำหรับผู้บริหารระดับหัวหน้า/ผู้จัดการแผนก/ฝ่ายขึ้นไป ใช้ช่วยในการเก็บและวิเคราะห์ข้อมูลที่เป็นคำพูด ความรู้สึกจากผู้บริหาร เพื่อวางแผนกลยุทธ์ แผนปฏิบัติการ ในเชิงป้องกันหรือเชิงรุก โดยการระดมความคิดและข้อเท็จจริงในอดีต รวมถึงการมองภาพความต้องการในอนาคตของลูกค้าและคู่แข่งมาใช้เพื่อกำหนดแผนงาน/โครงการในการรักษาฐานลูกค้าเดิม ขยายฐานลูกค้าใหม่ เพิ่มยอดขาย และลดต้นทุนขององค์กรได้อย่างเป็นระบบ เครื่องมือคุณภาพใหม่ 7 อย่าง หรือเครื่องมือสำหรับการบริหาร 7 ประการ มีอะไรบ้าง ใช้เมื่อไหร่ และใช้อย่างไร ก่อนจะนำเครื่องมือมาใช้ องค์กรต้องมีวัตถุประสงค์/เป้าหมายที่ชัดเจนก่อนว่า ต้องการไปถึงจุดใดเครื่องมือคุณภาพใหม่ 7 อย่าง มีดังต่อไปนี้ 1แผนภูมิการจัดกลุ่มความคิด (Affinity Diagram) ใช้เพื่อรวบรวมข้อมูลที่เป็นคำพูด ความรู้สึกจากผู้บริหารที่เกี่ยวข้อง นำมาจัดเป็นหมวดหมู่ เพื่อแยกกลุ่มของข้อมูลไว้สำหรับการนำมาวิเคราะห์ในขั้นต่อไป โดยตั้งคำถามว่า “ทำไม” “เพราะอะไร” จึงเกิดปัญหาดังกล่าวขึ้นในองค์กร (ทำไมถึงไม่บรรลุวัตถุประสงค์/เป้าหมาย?) 2แผนภูมิแสดงความสัมพันธ์ (Relation Diagram) หลังจากจัดกลุ่มข้อมูล (Affinity Diagram) แล้ว ผู้บริหารควรมุ่งเน้นไปที่ปัญหาที่ต้องการจะแก้ไข/ป้องกันเพื่อใช้ในการวางแผนเชิงรุก และเชื่อมโยงกลุ่มข้อมูลที่ได้จากการจัดกลุ่มความคิด (Affinity Diagram) แต่ละกลุ่มแต่ละความคิด แสดงข้อมูลที่เป็นเหตุ-ข้อมูลที่เป็นผลและเชื่อมโยงจนกระทั่งทราบถึงต้นตอหรือสาเหตุที่แท้จริงของปัญหา (Root Causes) เพื่อนำไปหาแผนงานแนวทางหรือวิธีการป้องกันปัญหาให้สามารถบรรลุวัตถุประสงค์/เป้าหมายต่อไป 3แผนภูมิต้นไม้ตัดสินใจ (Tree Diagram) ใช้เพื่อหาแนวทางแก้ไข/ป้องกัน ในรูปของแผนงาน/แนวทางหรือวิธีการ โดยตอบคำถามว่า “ทำอย่างไร” เพื่อมุ่งสู่วัตถุประสงค์/เป้าหมายที่อยากเป็น โดยการมุ่งเน้นไปที่ต้นตอหรือสาเหตุที่แท้จริงของปัญหา จากแผนภูมิแสดงความสัมพันธ์ (Relation Diagram) 4แผนภูมิเมตริกซ์ (Matrix Diagram) เป็นเครื่องมือที่ช่วยหาความสัมพันธ์ของวัตถุประสงค์/เป้าหมาย และแผนงาน/มาตรการ/วิธีการ ที่ได้จากการเสนอแนะขึ้นว่าแนวทางใดน่าจะมีความเป็นไปได้ มีความคุ้มค่า และส่งผลกระทบให้บรรลุถึงเป้าหมายได้ก่อน โดยใช้ทรัพยากรที่มีอยู่จำกัด อย่างเต็มประสิทธิภาพ/ประสิทธิผล 5แผนภาพการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเมตริกซ์ (Matrix Data Analysis Chart) เป็นเครื่องมือที่ใช้เปรียบเทียบสมรรถนะ (Benchmark) จากมุมมองของลูกค้าและเทียบกับคู่แข่งที่เป็นผู้นำในด้านสินค้า หรือบริการคล้ายๆกับองค์กรของเรา วิธีนี้จะทำให้เห็นภาพว่าองค์กรเราอยู่ในตำแหน่งใด (Positioning) เพื่อมองกลยุทธ์ในการบริหารจัดการที่เหมาะสมต่อไปอย่างถูกทิศทาง 6แผนภาพทางเลือกตัดสินใจเพื่อบริหารความเสี่ยง (Process Decision Program Chart, PDPC) เป็นเครื่องมือที่ใช้ช่วยหาแนวทางซึ่งอาจเป็นแผนงาน/มาตรการ/วิธีการ โดยมุ่งเน้นไปยังอุปสรรคที่น่าจะมีโอกาสเกิดขึ้นในกระบวนการทำงาน เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์/เป้าหมายที่กำหนดไว้ เมื่อทราบถึงทุกอุปสรรคในกระบวนการก็สามารถหาแนวทางในการขจัดอุปสรรคทุกประเภทที่อาจเกิดขึ้นได้ในอนาคต คล้ายกับการมีแผนปฏิบัติการฉุกเฉินรองรับไว้เผื่อสำหรับการเปลี่ยนแปลงหรือความไม่แน่นอนที่จะเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา ทำให้องค์กรมีความมั่นใจต่อการเผชิญกับ 7 แผนภูมิลูกศร (Arrow Diagram) เป็นการวางแผนงานที่มีการกำหนดกิจกรรม ผู้รับผิดชอบ ระยะเวลา และลำดับก่อนหลังของแต่ละกิจกรรมว่ากิจกรรมใดควรทำก่อน-หลัง เพื่อที่จะบริหารโครงการหรือแผนงานให้บรรลุเป้าหมายได้ในระยะเวลาที่กำหนดไว้ และใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า

ยุพาพร จักรเกาะ 5050504537 หมู่5

คุณภาพคือ การกำหนดมาตรฐานของผลิตภัณฑ์ของสินค้า,โรงงาน,อุตสาหกรรม เป็นตัวชี้การได้รับการกำหนดมาตรที่ลูกค้าให้ความพึงพอใจเชื่อถือไว้วางใจในตัวของสินค้านั้น ๆ ตรงตามความต้องการของลูกค้าความเหมาะสมกับวัตถุประสงค์ มาตรฐานคือ เอกสารที่จัดทำขึ้นจากการเห็นด้วยของผู้ตรวจสอบคณะกรรมการได้ทำการตรวจสอบผลิตภัณฑ์สินค้าอุตสาหกรรมมีความเห็นชอบจากองค์กรอันเป็นที่ยอมรับโดยทั่วไปโดยมีกฏระเบียบและแนวทางปฏิบัติโดยมุ่งสู่ความสำเร็จอันสูงสุด ประโยชน์คือ การประหยัดในทรัพยากรธรรมชาตการผลิต สร้างความเชื่อถือค่านิยมและเป็นที่ยอมรับและยังสร้างพื้นฐานในการเปรียบเทียบในตัวสินค้าผลิตภัณฑ์ด้วย ตัวชี้วัด สำหรับตัวชี้วัดก็ต้องเป็น "ลูกค้า" ที่ใช้บริการให้ความเชื่อถือต่อสินค้านั้น กำหนดเป้าหมายมีรายได้ที่อาจใช้เป็นตัวกำหนด

นายนุกูล มณีรุ่ง 5050504518 การจัดการทั่วไป รุ่น 11

แนวคิดที่สำคัญของนักวิชาการด้านคุณภาพที่มีชื่อเสียง ได้แก่

แนวความคิดของ Walter A. Schewhart

นักสถิติชาวอเมริกันที่เริ่มใช้หลักการทางสถิติมาประยุกต์ในการควบคุมคุณภาพ ที่เรียกว่า การควบคุมคุณภาพเชิงสถิติ (Statistic Quality Control) หรือ SQC โดยที่ Schewhart ได้พัฒนาแผนภูมิการควบคุม (Control Chart) และการสุ่มตัวอย่างเพื่อทดสอบผลิตภัณฑ์ ตลอดจนสร้างวงจรควบคุมคุณภาพที่เรียกว่า Schewart Curcle ซึ่งประกอบด้วย 4 ขั้นตอน คือ Plan Do Study Action หรือ PDSA ที่ต่อมามีการพัฒนาปรับปรุงโดย Deming กลายเป็น Deming Curcle หรือ วงจร PDCA (ณัฏฐพันธ์ เขจรนันท์,2545:36)

แนวความคิดของ Josheph M. Juran

เป็นผู้ให้ความหมายของคำว่า คุณภาพ ว่า หมายถึง ความเหมาะสมกับการใช้งาน (Fitness for Use) ของผู้ซื้อผลิตภัณฑ์ หรือผู้รับบริการ โดยเริ่มใช้ต้นแนวคิดเกี่ยวกับ ลูกค้าภายใน (Internal Customer) และให้ความสำคัญกับต้นทุนแห่งคุณภาพ (Cost of Quality) โดยพิจารณาประโยชน์ใช้สอยและการควบคุมด้วยการบริหารคุณภาพ ซึ่งJuran มีความเชื่อว่าความผิดพลาดที่เกิดขึ้นในการผลิต และการดำเนินงานสามารถควบคุมได้ด้วยการจัดการที่ดี โดยการค้นหาปัญหาสำคัญเพียง 2-3 ปัญหา (Vital Few) ที่แก้ไขแล้ว จะให้ผลอย่างมากต่อการพัฒนาคุณภาพ นอกจากนี้ Juran ยังกล่าวว่า การจัดการคุณภาพประกอบด้วย การวางแผน การควบคุม และการปรับปรุงคุณภาพ(ณัฏฐพันธ์ เขจรนันท์,2545:36)

แนวความคิดของ Willium Edwards Deming

นักสถิติชาวอเมริกัน ที่มีส่วนสำคัญในการพัฒนาคุณภาพให้กับระบบอุตสาหกรรมของญี่ปุ่น และกลับมากระตุ้นให้วงการธุรกิจและอุตสาหกรรมของอเมริการตื่นตัว พัฒนาคุณภาพ และเปิดรับหลักการของการจัดการคุณภาพโดยรวม (Total Quality Management) หรือ TQM นอกจากนี้ Deming ยังเสนอหลักการสำคัญในการจัดการคุณภาพ 14 ข้อ (Deming’s 14 Points) ได้แก่

1.สร้างปณิธานที่มุ่งมั่นในการปรับปรุงคุณภาพของสินค้าหรือบริการ

2.ยอมรับปรัชญาการบริหารคุณภาพใหม่ ๆ

3.ยุติการควบคุมคุณภาพโดยอาศัยการตรวจสอบ

4.ยุติการดำเนินธุรกิจโดยการตัดสินใจที่ราคาขายเพียงอย่างเดียว

5.ปรับปรุงระบบการผลิตและระบบการให้บริการอย่างต่อเนื่อง

6.ทำการฝึกอบรมทักษะอย่างสม่ำเสมอ

7.สร้างภาวะผู้นำให้เกิดขึ้น

8.กำจัดความกลัวให้หมดไป

9.ทำลายสิ่งที่กีดขวางความร่วมมือระหว่างหน่วยงานต่าง ๆ

10.ยกเลิกคำขวัญ คติพจน์ และเป้าหมายที่ตั้งตามอำเภอใจ

11.ยกเลิกการกำหนดจำนวนโควตาที่เป็นตัวเลข

12.ยกเลิกสิ่งที่กีดขวางความภาคภูมิใจของพนักงาน

13.การศึกษาและการเจริญเติบโต

14.ลงมือปฏิบัติเพื่อให้บรรลุผลสำเร็จในการเปลี่ยนแปลง (ณัฏฐพันธ์ เขจรนันท์,2545:37-38)

แนวคิดของ Phillip B. Crosby

นักปฏิบัติและนักคิดด้านการจัดการคุณภาพที่มีชื่อเสียง ชาวอเมริกันที่ให้ความหมายคำว่า คุณภาพ ว่า หมายถึง การทำได้ตามข้อกำหนด (Conformance to Requirements) และเป็นผู้ที่กล่าวว่า คุณภาพไม่มีค่าใช้จ่าย (Quality is Free) และให้ความสำคัญกับการสร้างวัฒนธรรมและการดำเนินงานที่ความบกพร่องเป็นศูนย์ (Zero Defect) โดยเขาเสนอแนะว่า องค์การจะต้องปรับปรุงคุณภาพอย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะครอบคลุมการใช้เครื่องจักรและอุปการณ์ตลอดจนการพัฒนาบุคลากรอย่างสม่ำเสมอ ซึ่งช่วยลดข้อบกพร่อง และความผิดพลาดในการดำเนินงานลง จนหมดไปจากองค์การ (ณัฏฐพันธ์ เขจรนันท์,2545:38)

แนวคิดของ Armand V. Feigenbaum

เป็นนักคิดที่ให้ความสำคัญกับต้นทุนของคุณภาพ ที่จำเป็นต้องดำเนินงานเพื่อให้เป็นผู้นำด้านต้นทุนในระยะยาว โดย Feigenbaum เป็นผู้ให้ความหมายของคำว่า คุณภาพ ว่า หมายถึง การสร้างความพึงพอใจให้แก่ลูกค้าด้วยต้นทุนที่ต่ำที่สุด และอธิบายคุณภาพในวงจรอุตสาหกรรม ตั่งแต่เริ่มต้นออกแบบผลิตภัณฑ์ การนำผลิตภัณฑ์ออกสู่ตลาด และการบริการหลังการขาย ซึ่งต้องดำเนินงานอย่างสมบูรณ์แบบและครบวงจรตามหลักการของ การควบคุมคุณภาพโดยรวม (Total Quality Control) หรือ TQC (ณัฏฐพันธ์ เขจรนันท์,2545:38)

แนวความคิดของ Kaoru Ishikawa

นักวิชาการที่มีชื่อเสียงด้านคุณภาพชาวญี่ปุ่น ที่พัฒนาแนวความคิดวงจรควบคุมคุณภาพ (Quality Control Circles) หรือ Qcc จนเป็นที่ยอมรับในระดับประเทศ และแนวความคิดใน การควบคุมคุณภาพทั่วทั้งองค์การ (Company-wide Quality Control) หรือ CWQC ซึ่งสอดคล้องกับหลักการ TQM ในประเทศตะวันตก ตลอดจนเสนอแนะแนวทางในการควบคุมคุณภาพโดยหลักการทางสถิติ หรือที่เรียกว่า 7QC Tools ซึ่งได้แก่

1.ผังเหตุและผล (Cause and Effect Diagrams) หรือผังก้างปลา (Fish bone Diagram)

2.การวิเคราะห์ Perato (Pareto Analysis)

3.แผนภาพ (Graphs)

4.แผนภูมิแท่ง (Histograms)

5.แผนภูมิการควบคุมกระบวนการ (Process Control Charts)

6.แผนผังการกระจาย(Scatter Diagrams)

7.รายการการตรวจสอบ (Check List Sheets)

นอกจากนี้ Ishikawa ยังมีข้อเสนอแนะที่สำคัญ คือ การควบคุมคุณภาพเป็นหน้าที่ของพนักงานทุกคนที่จะต้องร่วมกันปฏิบัติ โดยให้ข้อเสนอแนะในการปรับปรุงผลงานแก่องค์การ ซึ่งแตกต่างจากแนวความคิดของผู้บริหารในชาติตะวันตก ที่นิยมมอบอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบให้กับหน่วยงานด้านคุณภาพขององค์การ ซึ่งถือว่าเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านคุณภาพ ซึ่งมักจะก่อให้เกิดปัญหาความขัดแย้งกับหน่วยงานอื่น ๆ และยังปล่อยให้เกิดผลงานที่ด้อยคุณภาพออกไปสู่มือของลูกค้า (ณัฏฐพันธ์ เขจรนันท์,2545:39-40)

แนวความคิดของ Genichi Taguchi

ให้ความสนใจกับการสร้างคุณภาพจากจุดเริ่มต้น โดย Taguchi เสนอว่า คุณภาพควรเริ่มต้นจากการออกแบบ(Quality of Design) และเขายังเสนอการพิจารณาต้นทุนค่าเสียโอกาสที่สินค้า หรือบริการไม่มีคุณภาพตามที่กำหนด (ณัฏฐพันธ์ เขจรนันท์,2545:40)

หลักการสำคัญของการจัดการคุณภาพ

การจัดการคุณภาพ (Quality Management) ประกอบไปด้วยงานที่สำคัญ ดังนี้ คือ

1.การวางแผนคุณภาพเชิงกลยุทธ์ (Strategic Quality Management) เป็นการกำหนดวิสัยทัศน์ กลยุทธ์ และการวางแผนคุณภาพ เป็นจุดเริ่มต้นของการบริหารคุณภาพ โดยที่การจัดการคุณภาพจะต้องบูรณาการเข้ากับการดำเนินงานทุกระดับ ตั้งแต่ การกำหนดวิสัยทัศน์ ภารกิจ กลยุทธ์ และ แผนปฏิบัติการ ที่จะต้องคำนึงถึงความจำเป็น และให้ความสำคัญกับการสร้างคุณภาพที่เป็นรูปธรรม และเข้าถึงทุกส่วนขององค์การ โดยผู้บริหารจะต้องสร้างวิสัยทัศน์คุณภาพให้สอดคล้องกับความต้องการของธุรกิจ และนำวิสัยทัศน์มาแปลเป็นภารกิจ กลยุทธ์ และแผนคุณภาพที่มีความชัดเจน ครอบคลุม และเป็นรูปธรรม

2.การปรับปรุงคุณภาพ (Quality Improvement) เป็นการแก้ไขปัญหาและการพัฒนาคุณภาพขององค์การ จะต้องดำเนินงานอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง ด้วยความรอบคอบและความเข้าใจในข้อจำกัดของสถานการณ์ โดยผู้พัฒนาคุณภาพจะต้องศึกษา วิเคราะห์ และแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นตามหลักเหตุผล และหลักการทางวิทยาศาสตร์ โดยพยายามหาวิธีการที่เรียบง่าย แต่มีประสิทธิภาพที่สุด (Simple but Efficient) มาใช้ในการแก้ไขปัญหาและการพัฒนาผลงาน ซึ่งต้องดำเนินงานผ่านการบริหาร การฝึกอบรม และการเสริมแรงอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้สมาชิกทุกคนมีจิตสำนึก มีความมุ่งมั่น และต้องการมีส่วนร่วมในการพัฒนาคุณภาพในทุกระดับ เพื่อให้องค์การสามารถบรรลุความเป็นเลิศ (Excellence) ของคุณภาพและการดำเนินงาน

3. การควบคุมคุณภาพ (Quality Control) เป็นกระบวนการจัดระบบการทำงาน และการปฏิบัติการ เพื่อให้แน่ใจว่าผลิตภัณฑ์หรือบริการที่ผลิตขึ้น มีคุณสมบัติสอดคล้องกับที่กำหนดไว้ ซึ่งจะดำเนินการโดยกำหนดมาตรฐาน เกณฑ์ และวิธีการติดตามตรวจสอบคุณภาพ เพื่อประเมินและเปรียบเทียบผลการดำเนินงานกับมาตรฐาน โดยปรับการดำเนินงานและผลลัพธ์ให้สอดคล้องกับมาตรฐาน โดยผู้ควบคุมคุณภาพจะตัดสินใจแก้ไขปัญหาตามความเหมาะสม การควบคุมคุณภาพจะเป็นทั้งงานพื้นฐาน และเป็นส่วนประกอบที่สำคัญในการจัดการคุณภาพ เพื่อสร้างความแน่ใจว่าธุรกิจสามารถดำเนินงานอย่างคงเส้นคงวา และส่งมอบผลงานที่มีคุณภาพแก่ลูกค้าได้ตรงตามที่ตกลง และอย่างสม่ำเสมอ

นายประดิษฐ์ บุปผาวัลย์ 5050504521 การจัดการทั่วไป รุ่น 11 หมู่ 5

ประโยชน์ของการใช้ ISO 14000

1.การสร้างโอกาสแข่งขันทางการค้าเสรี สามารถส่งสินค้าไปขายต่างประเทศ

ได้มากขึ้น โดยเฉพาะการส่งสินค้าไปสู่เขตการค้าเสรี เช่น อียู นาฟต้า และเอเปก โดยที่สินค้าใดก่อให้เกิดมลภาวะหรือสร้างกระทบต่อสิ่งแวดล้อมจะถูกต่อต้านและไม่สั่งนำเข้าจาก กลุ่มประเทศดังกล่าวในทางตรงข้ามสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ใดทีเอาใจใส่เรื่องสิ่งแวดล้อมก็จะได้รับการส่งเสริมและสนับสนุนให้ผู้บริโภคซื้อหรือสั่งนำเข้า ประเทศไทยจำเป็นต้องปรับตัวให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงเพื่อแข่งขันกับประเทศคู่แข่งขันได้และไม่ถูกกีดกันทางการค้าเสรี เช่น ที่เคยรับบทเรียนมาจาก ISO 14000

2.เป็นตัวส่งเสริมภาพพจน์ของบริษัทหรือองค์กรได้อย่างดี เพราะบางครั้ง

แก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมภายในองค์กรเพื่อให้ได้ตามมาตรฐาน ISO 14000 อาจจะต้องมีการเปลี่ยนแปลงวิธีการผลิต และเปลี่ยนแปลงเครื่องจักร ซึ่งการเปลี่ยนเครื่องจักร ซึ่งการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวเท่ากับสร้างความก้าวหน้าให้กับองค์กรไปในตัว

สำหรับวิธีการเพื่อจะให้ได้มาซึ่งใบรับรอง ISO 14000 นั้นบริษัทหรือองค์กรต่าง ๆ จะต้องสมัครเข้าร่วมโครงการแล้วปฏิบัติตามมาตรฐาน ISO ที่กำหนดไว้โดยถือเป็นข้อผูกพันที่จะต้องมีการปรับปรุงสภาพแวดล้อมด้วยการนำมาตรฐานนี้ไปปรับเข้ากับระบบการจัดการขององค์กรหรือบริษัทนั้น ๆ เมื่อดำเนินการไปได้ระยะหนึ่ง สมอ. และสถาบันสิ่งแวดล้อมไทยจะให้องค์กรที่ไม่มี ส่วนได้ส่วนเสียกับบริษัทนั้น ๆ มาทำการประเมิน ซึ่งองค์กรเหล่านี้เรียกว่า Third Party โดยจะมีผู้ประเมิน (Assessor) มาเป็นผู้ประเมินดูระบบถ้าสอดคล้องตามข้อกำหนด ISO 14000 ก็จะออกใบรับรองให้และจะมีการติดตามดูผลเป็นระยะ ๆ ด้วย

ISO 14001

มาตรฐานระบบการจัดการระบบสิ่งแวดล้อม ISO 14001 (ENVIRONMENTAL MANAGEMENT SYSTEM หรือ EMS หมายถึง ส่วนของระบบการจัดการทั้งหมด ซึ่งรวมถึงโครงสร้างองค์กร การวางแผน ความรับผิดชอบ การปฏิบัติ ขั้นตอน กระบวนการ และทรัพยากร สำหรับจัดทำการปฏิบัติให้บรรลุผล การทบทวน และรักษานโยบายทางด้านสิ่งแวดล้อม เพื่อให้เกิดการปรับปรุงระบบการจัดการให้มีประสิทธิภาพดีขั้นเรื่อย ๆ เพื่อให้เป็นไปตามนโยบายสิ่งแวดล้อมใช้ได้กับทุกองค์กรทุกขนาด และไม่มีวัตถุประสงค์ให้เป็นเครื่องมือกีดกันทางการค้า

องค์ประกอบของระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม ISO 14001

มาตรฐานการจัดการสิ่งแวดล้อม ISO 14001 เป็นแนวทางเพื่อให้องค์กรสามารถใช้เป็นแนวทางในการจัดระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม การเจตนารมณ์ของผู้บริหารระดับสูงที่จะสื่อสารไปสู่พนักงานในองค์กร แบบเป็นระบบและมีขั้นตอนโดยกำหนดให้องค์กรจัดทำนโยบายสิ่งแวดล้อม มีรายละเอียดของการดำเนินงานในการวางแผน นำแผนไปปฏิบัติ มีการตรวจสอบ แก้ไข และทบทวนอยู่เสมอ มีการเลือกใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม ระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม (EMS) มีองค์ประกอบอยู่ 5 ประการ คือ

การกำหนดนโยบายสิ่งแวดล้อม (Environmental Policy) โดย

1.1 ผู้บริหารระดับสูงกำหนดนโยบายสิ่งแวดล้อม

1.2 แสดงความมุ่งมั่นที่จะใช้ EMS

การวางแผน (Planning)

2.1 เพื่อสนองนโยบาย

2.2 เพื่อเป็นแนวทางปฏิบัติ

การเริ่มปฏิบัติและดำเนินการ (Implementation and Operation) เพื่อ

3.1 พัฒนาขีดความสามารถ

3.2 สนับสนุนทุกด้านที่จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพ

การตรวจและการแก้ไข (Checking and Corrective Action) เพื่อ

5.1 ทบทวนผลการปฏิบัติงานและระบบ

5.2 ปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง

5.3 มุ่งเน้นการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม

องค์ประกอบของระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม

ประโยชน์ของระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม (EMS)

ระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมที่ดีจะทำให้องค์กรมีความสามารถในอันที่จะก่อให้เกิดประโยชน์ไว้ดังนี้

1. มีนโยบายสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสม

2. บ่าชี้ผลต่อสิ่งแวดล้อมซึ่งเกิดจากการกระทำ ผลิตภัณฑ์หรือการบริการขององค์กรในอดีตปัจจุบัน หรือตามที่ได้วางแผนไว้ เพื่อหาผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมที่มีความสำคัญ

3. แยกแยะความต้องการของกฎหมาย และข้อบังคับต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง

4. จัดความสำคัญก่อนหลัง ทำวัตถุประสงค์และเป้าหมายสิ่งแวดล้อมให้ตรงตามความสำคัญนั้น

5. จัดทำโครงสร้างและโปรแกรม เพื่อปฏิบัติตามนโยบายให้บรรลุถึงวัตถุประสงค์และเป้าหมาย

6. ช่วยในการวางแผน ควบคุม ติดตามผล แก้ไข ตรวจสอบและทบทวนเพื่อให้แน่ใจว่าทั้งนโยบายและระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมมีความเหมาะสมอยู่เสมอ

7. สามารถปรับเปลี่ยนระบบให้เข้ากับสภาพการณ์ที่เปลี่ยนไปได้

นายดำรงค์ชัย กระแชรัมย์ 5050504516 การจัดการทั่วไป รุ่น 11 หมู่ 5

ความหมายของคุณภาพ (Defining Quality)

“คุณภาพ (Quality)” ผู้เชี่ยวชาญทางด้านคุณภาพหลายท่านได้ให้ความหมายซึ่งพอสรุปได้ดังต่อไปนี้ คือ เป็นการดำเนินงานให้เป็นไปตามข้อกำหนดที่ต้องการ โดยคำนึงถึงการสร้างความพอใจให้กับลูกค้า และมีต้นทุนการดำเนินงานที่เหมาะสม

ลักษณะของผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพ (Quality in Goods)

- การปฏิบัติงานได้ (Performance) ผลิตภัณฑ์ต้องสามารถใช้งานได้ตามหน้าที่ที่กำหนดไว้

- ความสวยงาม (Aesthetics) ผลิตภัณฑ์ต้องมีรูปร่าง ผิวสัมผัส กลิ่น รสชาติ และสีสันที่ดึงดูดใจลูกค้า

- คุณสมบัติพิเศษ (Special Features) ผลิตภัณฑ์ควรมีลักษณะพิเศษที่โดดเด่นแตกต่างจากผู้อื่น

- ความสอดคล้อง (Conformance) ผลิตภัณฑ์ควรใช้งานได้ตามที่ลูกค้าคาดหวังไว้

- ความปลอดภัย (Safety) ผลิตภัณฑ์ควรมีความเสี่ยงอันตรายในการใช้น้อยที่สุด

- ความเชื่อถือได้ (Reliabity) ผลิตภัณฑ์ควรใช้งานได้อย่างสม่ำเสมอ

- ความคงทน (Durability) ผลิตภัณฑ์ควรมีอายุการใช้งานที่ยาวนานในระดับหนึ่ง

- คุณค่าที่รับรู้ (Perceived Quality) ผลิตภัณฑ์ควรสร้างความประทับใจ และมีภาพพจน์ที่ดีในสายตาลูกค้า

- การบริการหลังการขาย (Service after Sale) ธุรกิจควรมีการบริการหลังการขายอย่างต่อเนื่องทำให้สินค้าสามารถคงคุณสมบัติหรือหน้าที่การงานที่สมบูรณ์ต่อไปได้ รวมทั้งบริการในการรับฟังความคิดเห็นจากลูกค้าเกี่ยวกับตัวผลิตภัณฑ์ด้วย

ลักษณะของบริการที่มีคุณภาพดี (Quality in Services)

- ความเชื่อถือได้ (Reliability) การบริหารสามารถให้บริการได้อย่างสม่ำเสมอ

- ตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้ (Responsiveness) ตรงตามความต้องการที่แท้จริงของลูกค้า

- ความสามารถ (Competence) พนักงานที่ให้บริการจะต้องมีทักษะและความรู้เพื่อปฏิบัติในการบริการ

- ความสุภาพ (Courtesy) พนักงานผู้ให้บริการจะต้องมีมารยาทที่ดี เป็นมิตร และอ่อนน้อม

- ความน่าไว้วางใจ (Credibity) ผู้ให้บริการจะต้องเป็นคนที่มีความซื่อสัตย์, ความน่าไว้ใจและน่าเชื่อถือ

- ความปลอดภัย (Security) การบริการจะต้องมีความปลอดภัย ไม่มีความเสี่ยง

- ความเข้าถึง (Access) การบริการควรจะง่ายต่อการติดต่อ

- การติดต่อสื่อสาร (Communication) การบริการควรจะสามารถให้ข้อมูลเมื่อลูกค้าต้องการหรือสอบถาม

- ความเข้าใจในตัวลูกค้า (Understanding the Customer) การเข้าใจลักษณะเฉพาะของลูกค้าแต่ละคน

ทัศนะคติของลูกค้าในแง่ของผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพที่ดี

- ผลิตภัณฑ์สามารถใช้งานได้ดีตามรายละเอียดทางวิศวกรรม (Specification) ที่ระบุไว้

- ผลิตภัณฑ์คุ้มค่ากับเงินหรือราคาที่ลูกค้าจ่ายเพื่อจะได้ผลิตภัณฑ์นั้นมา

- ผลิตภัณฑ์เหมาะสมกับการใช้งานตามวัตถุประสงค์ของผู้ใช้ โดยมีความปลอดภัยต่อผู้ใช้และสิ่งแวดล้อมด้วย

- ผลิตภัณฑ์มีการบริการประกอบเพื่อความสะดวกของลูกค้า หรือเพื่อรักษาสภาพที่สมบูรณ์ของสินค้าให้คงอยู่ในช่วงระยะเวลาการใช้งานได้ตลอด

- ผลิตภัณฑ์สร้างความภาคภูมิใจ ความประทับใจให้แก่ผู้ใช้

นายประดิษฐ์ บุปผาวัลย์ 5050504521 การจัดการทั่วไป รุ่น 11 หมู่ 5

ระบวนการจัดการ (Management Process) มีหน้าที่พื้นฐาน 4 ประการ ของผู้บริหาร

1. การวางแผน (Planning) เป็นขั้นตอนในการกำหนดวัตถุประสงค์ และพิจารณาถึงวิธีการที่ควรปฏิบัติ เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์

2. การจัดการองค์การ (Organization) เป็นขั้นตอนในการจัดบุคคลและทรัพยากรที่ใช้ในการทำงาน เพื่อให้บรรลุจุดมุ่งหมายในการทำงานนั้น

3. การนำ (Leading) เป็นการกระตุ้นให้เกิดความกระตือรือร้นชักนำความพยายามให้บรรลุเป้าหมายขององค์การ

4. การควบคุม (Controlling) เป็นการติดตามผลการทำงาน และแก้ไขปรับปรุงในสิ่งที่จำเป็น

ทฤษฎีการจัดการ (Principle of management) หรือ การบริหาร (Administrative principles)

Henri Fayol ได้ชื่อว่าเป็น บิดาของทฤษฎีการจัดการปฏิบัติการโดยแบ่งกิจกรรมด้านอุตสาหกรรมเป็น 6 กลุ่ม : เทคนิค การทำ การเงิน ความมั่นคง บัญชี และการจัดการ คำนึงถึงความจำเป็นในการสอนการจัดการ กำหนดการจัดการ 14 ประการ ได้แก่

(1) การแบ่งงานกันทำ

(2) อำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบ

(3) ระเบียบวินัย

(4) การมีผู้บังคับบัญชาเพียงคนเดียว

(5) การมีเป้าหมายเดียวกัน

(6) ผลประโยชน์ของบุคคล ควรจะเป็นรองจากผลประโยชน์ขององค์การ

(7) การให้ผลตอบแทน

(8) การรวมอำนาจ

(9) สายการบังคับบัญชา

(10) ความเป็นระเบียบ

(11) ความเสมอภาค

(12) ความมั่นคง

(13) ความคิดริเริ่ม

(14) ความสามัคคี

20. นายพิเชษฐ์ เชาว์พลกรัง 5050504523 การจัดการทั่วไปรุ่น 11 หมู่ 5

การบริหารจัดการแบบ Six Sigma (6σ)

การบริหารจัดการแบบ Six Sigma ถือว่าเป็นการบริหาร TQM ขั้นสูงหรือแบบฉบับ สุดยอดของ TQM (Forrest W. Breyfogel et.al : 5) ทำให้คุณภาพและกระบวนการขององค์กร ต่าง ๆ มีการปรับปรุงคุณภาพ การเพิ่มผลผลิต การลดค่าใช้จ่ายได้มากมาย การที่มีการประกอบการที่ดีเยี่ยมเป็นองค์กรที่มีคุณค่าสามารถครองใจลูกค้า และมีการครอบครองตลาดเพิ่มขึ้น ระบบ TQM ต่างจาก Six Sigma ตรงที่ Six Sigma มุ่งมั่นที่จะให้สินค้ามีข้อบกพร่องของเสียเป็นศูนย์ (Zero Defect) ยกตัวอย่างเช่น บริษัท Motorola ในสหรัฐอเมริกาใช้เวลา 5 ปี เพื่อให้ของเสียทุกล้านชิ้นเป็น 3.4 แม้ถึงเวลาจะทำไม่ได้ตามเป้าแต่ทุกคนก็พยายามทำให้ได้ Gorge Eckes (2001) ได้ให้ความหมายของ Six Sigma คือวิธีการใช้กลยุทธ์ปรับปรุงธุรกิจ เพื่อหาแนวทางใน การเพิ่มความพึงพอใจให้แก่ลูกค้าและทำให้องค์กรมีความมั่นคงและมั่งคั่ง

Six Sigma (6σ) คือ ปรัชญาของการทำธุรกิจโดยเน้นการกำจัดสิ่งบกพร่อง ผ่านองค์ความรู้ที่เป็นกระบวนการ วิธีการของ Six Sigma เป็นการบูรณาการหลักการทางธุรกิจ สถิติ วิศวกรเข้าด้วยกันเพื่อให้บรรลุผลเชิงประจักษ์ เครื่องมือของ Six Sigma สามารถนำมาใช้ปรับปรุงกระบวนการและผลผลิตของบริษัท ใช้ได้กับทุกสาขาอาชีพรวมถึงการผลิต การขาย การตลาด การออกแบบ การบริหารจัดการและการบริการ Six Sigma จะให้ผลตอบแทนคือ กำไรที่จับต้องได้อย่างเป็นล่ำเป็นสัน เมื่อนำมาใช้กับพนักงานในองค์กรอย่างชำนาญจะทำให้เกิดประโยชน์ ดังนี้

1.Six Sigma จะลดค่าใช้จ่ายถึง 50 % หรือมากกว่านั้นโดยกรรมวิธี self – funded Approach เพื่อที่จะปรับปรุงการดำเนินให้ดีขึ้น

2.Six Sigma จะลดห่วงโซ่ของเสีย (Reduce the waste chain)

3.Six Sigma จะสนองความเข้าใจและความต้องการของลูกค้ามากขึ้น

4.Six Sigma จะส่งเสริมปรับปรุงการจัดส่งและการปฏิบัติงานให้มีคุณภาพ

5.Six Sigma จะจัดปัจจัยการนำเข้าที่เป็นกระบวนการสำคัญที่จำเป็นเพื่อตอบสนองต่อความต้องการของ ลูกค้า

6.Six Sigma จะพัฒนาผลผลิตและกระบวนการผลิตให้ดีขึ้น

7.Six Sigma จะกระตุ้นให้มีการปรับปรุงอย่างรวดเร็วด้วยทรัพยากรภายในที่มีอยู่

นายรชต อุชายภิชาติ 5050504526 การจัดการทั่วไปรุ่น 11 หมู่ 5

หลักการด้านคุณภาพของผู้เชี่ยวชาญเดมมิ่งและครอสบี้

ดร. เดมมิ่ง และครอสบี้ เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการบริหารคุณภาพ เขาได้วางรากฐานและแนวคิดเกี่ยวกับคุณภาพไว้มากมาย เดมมิ่ง และครอสบี้ ได้รวบรวมแนวคิดด้านคุณภาพออกมาเป็น 14 ข้อ ซึ่งแนวคิดหลักก็คือ การปรับปรุงคุณภาพอย่างต่อเนื่อง ให้ความสำคัญกับการให้ความรู้ และฝึกทักษะของพนักงาน

แนวคิดนี้สำคัญเป็นอย่างยิ่ง หากท่านต้องการให้องค์กรของท่าน เป็นองค์กรที่ผลิตงานอย่างมีคุณภาพ และมีบรรยากาศการทำงานที่ดี

แนวคิด 14 ข้อของ ดร. เดมมิ่ง

1สร้างจุดมุ่งหมายที่แน่วแน่ในการปรับปรุงผลิตภัณฑ์และบริการ เพื่อให้สามารถแข่งขันทางธุรกิจได้ในระยะยาว และเพื่อสร้างงาน ไม่ใช่จะคำนึงถึงแต่ผลประโยชน์ในระยะสั้น

2เข้าใจถึงปรัชญาของการปรับปรุงคุณภาพอย่างต่อเนื่อง แนวคิดที่ว่าจะยอมรับของเสีย ควรเปลี่ยนเป็นการหาทางป้องกันการเกิดของเสียจะดีกว่า

3หยุดแนวคิดที่จะตรวจสอบจำนวนมากๆ เพื่อคัดของเสียออก แต่ควรจะสร้างระบบคุณภาพมากกว่า

4อย่าคิดว่าผู้ขายที่ให้ราคาถูกจะดีที่สุด แต่ต้องเลือกผู้ขายที่มีคุณภาพควบคู่ไปด้วย พยายามสร้างความสัมพันธ์อันดีกับผู้ขายและเลือกผู้ขายที่ไว้ใจได้

5พัฒนาระบบการผลิตและการบริการเพื่อปรับปรุงคุณภาพและผลผลิต ซึ่งจะทำให้ต้นทุนนั้นลดลงด้วย

6ฝึกอบรมพนักงานให้มีความรู้และทักษะในงานของตน รู้ถึงเป้าหมายของบริษัท เข้าใจว่างานของตนเองจะทำให้บริษัทและตนเองบรรลุเป้าหมายได้อย่างไร

7เปลี่ยนบทบาทของผู้ควบคุมงานมาเป็นผู้ให้การสนับสนุนและส่งเสริมบรรยากาศในการทำงาน เปิดที่จะรับฟังพนักงานด้วย สร้างบรรยากาศของการทำงานเป็นทีม ทำให้พนักงานเข้าใจในงานของตนเอง ผู้ควบคุมงานควรตรวจตรางานด้วยความเข้าใจว่า สิ่งใดเป็นสิ่งที่พนักงานควบคุมได้ สิ่งใดเป็นความรับผิดชอบของตน สิ่งใดเป็นข้อบกพร่องของระบบซึ่งผู้บริหารจะต้องเป็นผู้แก้ไข

8กำจัดความกลัวของคน นึกไว้ว่าคนต้องการความมั่นคงในงาน ความปลอดภัยและบรรยากาศการทำงานที่ดี สร้างเสริมให้พนักงานกล้าที่จะแสดงความคิดเห็นในการปรับปรุงงาน

9กำจัดความขัดแย้งระหว่างฝ่าย ทุกๆฝ่ายควรจะมีจุดมุ่งหมายเดียวกัน นั่นก็คือเป้าหมายของบริษัท และแตกลงมาให้เป็นเป้าหมายของแต่ละฝ่ายที่เกื้อหนุนเป้าหมายของบริษัท และไม่ขัดแย้งกันเอง ให้ความสำคัญกับการทำงานเป็นทีม ซึ่งประกอบด้วยคนจากฝ่ายต่างๆ จัดให้มีการประเมินและให้รางวัลแก่ทีมด้วย

10อย่ามีแต่สโลแกน คำขวัญสวยๆ เช่น เราจะเพิ่มยอดขายให้ได้ 5u0E43นปีหน้า แต่จะต้องวางแผนและหาทางที่จะทำให้เกิดผลนั้นด้วย

11อย่ายึดติดกับการผลิตให้ได้จำนวนตามที่กำหนดแต่เพียงอย่างเดียว เพราะจะเป็นการส่งเสริมให้พนักงานผลิตออกมาอย่างเร็วที่สุด แต่อาจจะไม่ได้คุณภาพ

12ทำให้พนักงานภูมิใจในงานของตน โดยการให้พนักงานรู้งาน และมีส่วนร่วมในการปรับปรุง เช่น จัดให้มีคู่มือการทำงานเพื่อให้ทราบเกี่ยวกับงานของตน จัดระบบที่ให้พนักงานสามารถเสนอข้อเสนอแนะ ส่วนเครื่องมือ วัสดุ วิธีการที่ให้พนักงานทำงานนั้นก็จะต้องเหมาะสมและมีความปลอดภัยด้วย

13สิ่งสำคัญในการปรับปรุงคุณภาพ ก็คือ แนวคิดที่ว่าจะปรับปรุงคุณภาพอย่างต่อเนื่อง ความรู้ทางสถิติเบื้องต้น และเครื่องมือในการปรับปรุงคุณภาพต่างๆ ก็เป็นสิ่งที่ควรจะรู้ จึงจำเป็นที่จะต้องมีการฝึกอบรมเกี่ยวกับความรู้เหล่านี้ให้พนักงานในองค์กรทราบด้วย

14ต้องมีการจัดองค์กรเพื่อสนับสนุน เช่น ให้มีแผนกหรือบุคคลที่ทำหน้าที่สนับสนุนความรู้ คำปรึกษาเกี่ยวกับด้านคุณภาพ

ส่วนหลักการด้านคุณภาพของครอสบี้ ก็คล้ายคลึงกันกับหลักการของเดมมิ่ง ซึ่งมีอยู่ 14 ประการ ดังนี้

หลักการด้านคุณภาพของครอสบี้ 14 ประการ

1ผู้บริหารจะต้องมีความมุ่งมั่นต่อการสนับสนุนการปรับปรุงคุณภาพของงานในองค์กร

2มีตัววัดคุณภาพที่เข้าใจง่าย

3ต้องสื่อสารให้ทุกคนในองค์กรตระหนักถึงความสำคัญของการมีระบบคุณภาพ

จะต้องมีระบบในการวิเคราะห์หาสาเหตุและผลเสียหายเวลามีปัญหาด้านคุณภาพ เช่น 4หากมีของเสียเกิดขึ้น ต้องมีการหาวิธีการป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาซ้ำได้อีก

4หลักการหนึ่งของครอสบี้คือ การทำให้ของเสียเป็นศูนย์ จึงควรมีกลุ่มทำงานเพื่อผลักดันโครงการของเสียเป็นศูนย์

5ฝึกอบรมผู้ควบคุมงานเพื่อให้พวกเขาสามารถดูแลงานด้านการปรับปรุงคุณภาพได้อย่างเต็มที่

6จัดให้มีวันเพื่อทำการประกาศให้พนักงานรับรู้ทั่วกันถึงแนวคิดว่าต่อไปบริษัทจะไม่ยอมรับของเสียแต่ต้องการหาแนวทางเพื่อป้องกันไม่ให้มีของเสียเกิดขึ้น

7กระตุ้นให้พนักงานแต่ละคนตั้งเป้าหมายในการปรับปรุงคุณภาพงานของตน

8กระตุ้นให้พนักงานกล้าที่จะบอกกับผู้บริหารเกี่ยวกับปัญหาที่พนักงานมีในการทำงานเพื่อให้ได้เป้าหมายที่ตั้งไว้

9ต้องให้การยอมรับและชื่นชมกับผู้ที่ร่วมมือในการปรับปรุงคุณภาพงาน

10ใช้ความรู้จากผู้เชี่ยวชาญและประสบการณ์จากพนักงานในการหาทางปรับปรุงคุณภาพ และต้องมีการให้ความรู้และฝึกอบรมอยู่อย่างสม่ำเสมอ

11คอยปฏิบัติหลักการข้างต้นอยู่อย่างสม่ำเสมอ เพราะงานการปรับปรุงคุณภาพนั้นไม่มีวันสิ้นสุด

น.ส.บุณยนุช แทนกลาง5050504503 กศ.ปชรุ่น11หมู่5.

ISO มาจากคำว่า International Standardization and Organization มีชื่อว่าองค์การมาตรฐานสากล หรือองค์การระหว่างประเทศว่าด้วยการมาตรฐาน ก่อตั้งเมื่อปีค.ศ.1946 หรือพ.ศ.2489 มีสำนักงานอยู่ที่กรุงเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ มีวัตถุประสงค์คล้ายๆกับองค์การการค้าอื่นๆของโลก คือจัดระเบียบการค้าโลก ด้วยการสร้างมาตรฐานขึ้นมา ใครเข้าระบบกติกานี้ถึงจะอยู่ได้

ช่วงที่ ISO ก่อตั้งขึ้น เป็นช่วงสงครามโลกก็เพิ่งจะจบลงใหม่ๆ ดังนั้นประเทศต่างๆก็ไม่ได้ให้ความสำคัญกับเรื่องนี้มากนัก ต่างคนต่างขายของ โดยมีระบบมาตรฐานไม่เหมือนกัน

จนกระทั่งในปี 2521 เยอรมนีเป็นตัวตั้งตัวตีให้ทั่วโลกมีมาตรฐานคุณภาพสินค้าเดียวกัน ส่วนองค์กรมาตรฐานโลกก็จัดตั้งระบบ ISO/TC176 ขึ้น

ต่อมาอีก1ปี อังกฤษพัฒนาระบบคุณภาพที่เรียกว่า BS5750 ใช้ในเชิงพาณิชย์ได้สำเร็จ จากนั้นในปี 2530 ISO จึงจัดวางระบบการบริหารเพื่อการประกันคุณภาพที่สามารถตรวจสอบได้ผ่านระบบเอกสาร หรือที่เรียกว่า อนุกรมมาตรฐาน ISO 9000 เป็นมาตรฐานที่กำหนดใช้ในทุกประเทศทั่วโลก

ตัวเลข 9000 เป็นชื่ออนุกรมหนึ่ง ที่แตกแยกย่อยความเข้มของมาตรฐานงานออกเป็นอีก 3 ระดับ คือ ISO 9001 , ISO 9001 และ ISO 9003 นอกจากนี้ยังมีอีกอนุกรมหนึ่งคือ ISO 14000 เป็นเรื่องของสิ่งแวดล้อมและระบบคุณภาพ

9000 เป็นแนวทางในการเลือก และกรอบในการเลือกใช้มาตรฐานชุดนี้ให้เหมาะสม

ISO 9001 มีระดับความเข้มมากที่สุด คือหน่วยงานที่จะได้รับอนุมัติว่ามีระบบคุณภาพมาตรฐานสากลในระดับนี้จะต้องมีรูปแบบลักษณะการทำงานในองค์กรตามมาตรฐานที่กำหนดไว้ 20 ข้อ โดยมีการกำกับดูแลตั้งแต่การออกแบบ การพัฒนา การผลิตและการบริการ ยกตัวอย่างชื่อหัวข้อที่พอจะเข้าใจ เช่น กลวิธีทางสถิติ การตรวจสอบการย้อนกลับของผลิตภัณฑ์ การจัดเก็บการเคลื่อนย้าย เป็นต้น

ISO 9002 ก็จะเหลือเพียง 19 ข้อ ดูแลเฉพาะระบบการผลิต การติดตั้งและการบริการ (ตัดกลวิธีทางสถิติออกไป)

ส่วน ISO 9003 เหลือแค่ 16 ข้อ ดูแลเฉพาะการตรวจสอบขั้นสุดท้าย

9004 เป็นแนวทางในการบริหารระบบคุณภาพเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด เป็นต้น

ถ้าอธิบายด้วยภาษาง่ายๆ ISO 9000 ก็คือ การกำหนดมาตรฐานสากลในการจัดระบบงานของหน่วยงานให้ตรงตามที่มาตรฐาน ISO 9000 กำหนดไว้

น.ส.บุณยนุช แทนกลาง5050504503 กศ.ปชรุ่น11หมู่5.

การควบคุมคุณภาพทั่วทั้งองค์กร

(Total Quality Management TQM)

ความหมาย

การควบคุมคุณภาพทั่วทั้งองค์กร คือ แนวทางในการบริหารขององค์กรที่มุ่งเน้นเรื่องคุณภาพ โดยสมาชิกทุกคนขององค์กรมีส่วนร่วม และมุ่งหมายผลกำไรในระยะยาวด้วยการสร้างความพึงพอใจแก่ลูกค้า รวมทั้งการสร้างผลประโยชน์แก่หมู่สมาชิกขององค์กรและแก่สังคมด้วย

ความเป็นมาของ TQM

TQM เริ่มตั้งแต่ปลายปี 1940 โดยความพยายามของบุคคลที่มีบทบาทในการบริหารคุณภาพ เช่น Juran , Feigenbaum และ Deming ในปี 1951 Feigenbaum ได้แต่งหนังสือ เรื่อง Total Quality Control และในปีเดียวกัน Joseph M. Juran เขียนหนังสือ เรื่อง Juran’s Quality Control Handbook TQMได้รับความนิยมและมีผลในทางปฏิบัติมากในประเทศญี่ปุ่นซึ่งทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในระดับชาติ ที่เน้นการผลิตสินค้าที่มีคุณภาพดี ทั้งนี้เนื่องจากญี่ปุ่นเป็นประเทศที่แพ้สงครามโลกครั้งที่ 2 (WWII) และต้องการฟื้นฟูประเทศโดยการผลิตสินค้าที่มีคุณภาพส่งออกเพื่อนำเงินตราเข้าประเทศ ในขณะนั้นประเทศสหรัฐอเมริกาเป็นผู้นำทางด้านการผลิตอุตสาหกรรม และสินค้าของสหรัฐเป็นที่ต้องการของลูกค้าทั่วโลก ดังนั้นสหรัฐจึงไม่มีความจำเป็นต้องปรับปรุงหรือเปลี่ยนแปลงใดๆ ในด้านการผลิต โดยไม่รู้ตัวว่าคุณภาพของสินค้าจะมีการเปลี่ยนแปลงอย่างใหญ่หลวง ในทศวรรษต่อมา ในปี 1951 ประเทศญี่ปุ่นโดยสมาคมนักวิทยาศาสตร์และวิศวกรแห่งประเทศญี่ปุ่น (Japanese Union of Scientists and Engineers : JUSE) ได้จัดทำรางวัล Deming Prize เพื่อมอบให้กับบริษัทที่มีผลงานด้านคุณภาพที่ดีเด่นในแต่ละปี รางวัลดังกล่าวมีผลต่อการส่งเสริมการปรับปรุงคุณภาพสินค้าในญี่ปุ่นเป็นอย่างมาก

ในปี 1987 รัฐบาลสหรัฐอเมริกาได้มอบรางวัลคุณภาพแห่งปีที่เรียกว่า Malcolm Baldrigre Award แก่องค์กรที่มีผลงานด้านการประกันคุณภาพยอดเยี่ยม

ปรัชญาของ TQM มุ่งหวังให้บุคลากรทุกคนทุกฝ่ายร่วมมือกันในการสร้างคุณภาพของงานขององค์กร หลักการของ “Kaizen” ในประเทศญี่ปุ่นต้องการให้พนักงานทุกคนค้นหาปัญหาเพื่อการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง TQM สอนให้ป้องกันของเสีย ซึ่งหมายรวมถึงความไม่พึงพอใจในการปฏิบัติงาน ไม่ว่าจะเป็นสินค้า ข้อมูลข่าวสาร หรือความสำเร็จของเป้าหมายตามที่ลูกค้าทั่วทั้งภายในและภายนอก รวมทั้งฝ่ายบริหารคาดหวัง TQM ยังหมายรวมถึงระบบการตรวจหรือสืบค้น เพื่อสามารระบุปัญหาได้อย่างถูกต้อง รวดเร็ว ได้รับการแก้ไขปรับปรุง

Dr.Deming ได้ริเริ่มวงจรเดมมิ่ง “Deming Cycle” เพื่อแสดงถึงหลักการทำงาน Plan – Do – Check – Action เพื่อการบริหารที่ดี ซึ่งการจัดการที่ดีจะต้องมีการวางแผน หรือพัฒนาเป้าหมายสำหรับแผนงานและกำหนดระยะเวลาแล้วเสร็จตามแผน หลังจากนั้นแผนต้องถูกนำไปปฏิบัติผล การปฏิบัติจะต้องถูกตรวจสอบหรือทบทวนตามระยะเวลาที่กำหนด และในที่สุดผู้บริหารจะต้องพิจารณาดำเนินการหรือตัดสินใจในการดำเนินการขั้นต่อไป

วัตถุประสงค์ทั่วไปของ TQM

• เพื่อสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้า

• เพื่อพัฒนาและปรับปรุงอย่างต่อเนื่องในกิจกรรมทุกด้าน

• เพื่อความอยู่รอกขององค์กรและสามารถเจริญเติบโตอย่างไม่หยุดยั้ง ภายใต้ภาวการณ์แข่งขันที่รุนแรง

• เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของพนักงานทุกคน

• เพื่อรักษาผลประโยชน์ของผู้ถือหุ้น

น.ส.บุณยนุช แทนกลาง5050504503 กศ.ปชรุ่น11หมู่5.

ความหมายของ TPM

TPM ย่อมาจาก Total Productive Maintenance หมายถึง การบำรุงรักษาทวีผลแบบทุกคนมีส่วนร่วม

ในปี 1971 สถาบันแห่งการบำรุงรักษาโรงงานของประเทศญี่ปุ่น (Japan Institute of Plant Maintenance) ได้ให้ความหมายของ TPM ไว้ดังนี้

1.TPM คือ ระบบการบำรุงรักษาที่จะทำให้เครื่องจักรอุปกรณ์เกิดประสิทธิภาพสูงสุด (Overall Efficiency)

2.TPM คือ การประยุกต์ใช้ PM เพื่อให้สามารถใช้เครื่องจักรได้ตลอดอายุการใช้งาน

3.TPM คือ ระบบการบำรุงรักษาของทุกคนที่มีส่วนได้ส่วนเสียกับเครื่องจักรอุปกรณ์ ได้แก่ ผู้วางแผนการผลิต ผู้ใช้เครื่อง และฝ่ายซ่อมบำรุง

4.TPM คือ ระบบการบำรุงรักษาที่อยู่บนพื้นฐานของการมีส่วนร่วมตั้งแต่ผู้บริหารระดับสูงจนถึงผู้ใช้เครื่อง

5.TPM คือ การทำให้ทุกคนเข้ามามีส่วนร่วมในการทำ PM ในลักษณะเป็นกลุ่มย่อยหลายกลุ่ม

น.ส.บุณยนุช แทนกลาง5050504503 กศ.ปชรุ่น11หมู่5.

ไคเซ็น (Kaizen) เป็นภาษาญี่ปุ่น แปลว่า “การปรับปรุง” ไคเซ็นเป็นคำธรรมดาสามัญที่ใช้ในการพูดการเขียนของคนญี่ปุ่น เช่นเดียวกับคำว่า “การปรับปรุง” ในภาษาไทย แต่คำว่า “ไคเซ็น” เป็นคำที่ถูกหยิบยกมาให้ความสำคัญจนเป็นหลักการที่นำมาซึ่งความเจริญก้าวหน้าของประเทศญี่ปุ่น เป็นหลักการที่ถูกหยิบยกมาเขียนเป็นตำราเช่น “ไคเซ็น กุญแจสู่ความสำเร็จแบบญี่ปุ่น เครื่องมือสำคัญเพื่อประสบชัยชนะในการบริหารการผลิต และการตลาด” เป็นต้น

มาซาเอกิ อิโม (อ้างใน อัมพิกา ไกรฤทธิ์,2534) กล่าวว่า ไคเซ็น (Kaizen) แปลว่า การปรับปรุง ซึ่งจะปรับปรุงอยู่ตลอดเวลา และเป็นหน้าที่ของทุก ๆ คน ตั้งแต่ผู้บริหารระดับสูง ผู้จัดการ และคนงาน

ไคเซ็น หมายถึง การปรับปรุงในทุก ๆ วิถีทางของชีวิต ชีวิตในการทำงาน ชีวิตในสังคม และชีวิตภายในบ้านควรจะได้รับการปรับปรุงให้ดีขึ้นอย่างสม่ำเสมอ โดยที่ทุกคนจะต้องเกี่ยวข้องในการปรับปรุงนี้

คำว่า ไคเซ็น (การปรับปรุง) เป็นคำธรรมดา ๆ ที่ถูกปลูกฝังไว้ในจิตสำนึกของคนญี่ปุ่น หากพิจารณาถึงความเจริญก้าวหน้าของประเทศญี่ปุ่นแล้ว คนญี่ปุ่นคงจะหายใจเข้าออกพร้อมด้วยคำว่า “ปรับปรุง ๆ “ อยู่ตลอดเวลา

มาซาเอกิ อิโม กล่าวว่า การปรับปรุงมี 2 แบบ คือ ไคเซ็น และนวัตกรรม จากลักษณะของนวัตกรรม และไคเซ็น ดังกล่าว จะเห็นว่าการปรับปรุงตามหลักการของไคเซ็น

เป็นการปรับปรุงที่ใช้ความมานะพยายาม ทีละเล็กทีละน้อยอย่างต่อเนื่องของทุก ๆ คน โดยเน้นที่

การปรับปรุงกระบวนการ ส่วนการปรับปรุงโดยใช้นวัตกรรมนั้นเป็นการปรับปรุงแบบก้าวกระโดดที่ใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่หรือใช้ทฤษฎีใหม่ เพื่อให้ได้ผลผลิตใหม่ ๆ โดยผู้เชี่ยวชาญ

นาย ภราดร กูบกระโทก5050504524กศ.ปช.รุ่น11หมู่5

TQM มีคำจำกัดความหรือมีความหมายมากมายตามความคิดเห็นและประสบการณ์ของปรมาจารย์แต่ละท่าน

• ไม่มีคำจำกัดความที่ดีที่สุดเพียงคำจำกัดความเดียว

• ไม่มีวิธีการหรือวิธีปฏิบัติการที่ดีที่สุดเพียงวิธีเดียว

• แม้คำจำกัดความหรือวิธีการจะแตกต่างกัน แต่ปรัชญาแนวความคิด หลักการสำคัญและวิธีการปฏิบัติจะคล้ายกัน มีวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายเหมือนกัน และให้ประโยชน์ใกล้เคียงกัน เพื่อให้องค์กรอยู่รอดและเติบโตไปอย่างยั่งยืน โดยยึดหลักคุณภาพ เป็นแกนหลักในการบริการการจัดการ

โครงสร้างของ TQM ตามทัศนะของ Dr.Kano (Kano House of Quality)

1. ฐานราก

- เทคโนโลยีของธุรกิจ

- มูลเหตุจูงใจที่ชัดเจน

2 โครงสร้างบ้าน

- วิธีการบริหาร

- แนวคิด

- วิธีการและเทคนิค

3 หลังคาบ้าน

- การประกันคุณภาพเพื่อความพึงพอใจของลูกค้า

6. เทคนิคที่ใช้ใน TQM

1 7 tools

2 SPC

3 JIT

4 TPM

5 QCC

ประโยชน์ที่จะได้รับจาก TQM

1. ช่วยให้ผู้บริการและองค์การสามารถรับรู้ปัญหาของลูกค้า และความต้องการที่แท้จริง

2. ให้ความสำคัญกับระบบที่เรียบง่ายและผลลัพธ์ที่ลดความสูญเสียและความสูญเปล่าในการดำเนินงาน

3. พัฒนาระบบ ขั้นตอน และการจัดเก็บข้อมูลการทำงานให้มีประสิทธิภาพ

4. พนักงานมีส่วนร่วมในการดำเนินงาน การแก้ไขปัญหา และการสร้างรายได้ของธุรกิจ

5. มุ่งพัฒนาการดำเนินงานขององค์กร ให้มีคุณภาพสูงสุดในทุกมิติ

นาย ภราดร กูบกระโทก5050504524กศ.ปช.รุ่น11หมู่5

JIT ซึ่งหมายถึง การส่งมอบแบบทันเวลาถูกต้อง ถูกสถานที่ ตรงความต้องการ ภายใต้ต้นทุนที่แข่งขัน (Delivers the right items at the right place in the right need by the right time with the right cost) โดยหลักการของ Just in Time จะหมายถึง การจัดการกระบวนการต่างๆ เพื่อให้มีการส่งมอบผลิตภัณฑ์ , สินค้า หรือบริการให้กับลูกค้าตามวันและเวลาที่ได้มีการตกลงกัน คือ ส่งมอบสินค้าเมื่อมีการใช้จริงเท่านั้น ทั้งนี้ ความหมายของ Just in Time Delivery ยังครอบคลุมไปถึงความถูกต้องของปริมาณ (Quality) ,จำนวน (Quantity) , เงื่อนไข , สถานที่ และความปลอดภัย รวมถึง ต้นทุนที่แข่งขันได้ ส่วนใหญ่แล้วยังเข้าใจว่า Just in Time มีความหมายเฉพาะการส่งมอบสินค้าเท่านั้น แต่ในการจัดการโลจิสติกส์แล้ว ยังครอบคลุมไปถึงทุกกระบวนการของการจัดการห่วงโซ่อุปทาน (SCM : Supply Chain Management) โดยเฉพาะระบบการผลิต ที่เรียกว่า Lean Production ซึ่งเป็นต้นแบบที่ได้มาจากบริษัทผู้ผลิตรถ โตโยต้า (Toyotatilism) ซึ่งทางญี่ปุ่นได้ปรับเปลี่ยนมาจากการผลิตที่เป็นระบบสายพาน (Tailorlism) และการผลิตแบบ Mass Production (ของผู้ผลิตรถยนต์ Ford) ซึ่งจะเน้นการผลิตปริมาณมาก ซึ่งส่งผลข้างเคียงต่อ สต๊อกสินค้าคงเหลือจำนวนมาก ระบบการผลิตภายใต้ห่วงโซ่อุปทาน (SCM) ซึ่งเน้นไปที่ Speed Base of Economic คือ การประหยัดจากการส่งมอบที่ทันเวลา คือ รับมอบวัตถุดิบเมื่อจะผลิตจริงและผลิตเมื่อจะมีการส่งมอบสินค้าให้ลูกค้า ส่งผลให้รอบการหมุนของสต๊อกสินค้า มีรอบการหมุนที่สูง สามารถมีความยืดหยุ่น ที่เรียกว่า Zero Stock Management ซึ่งความสำเร็จของการนำระบบ Just in Time มาใช้จะส่งผลต่อการลดต้นทุนรวม โดยเฉพาะต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับ Logistics Cost อย่างไรก็ดี องค์กรที่จะนำระบบ Just in Time มาใช้ได้จะต้องมีการสถาปนา Just in Time Value คือ มีระบบการส่งมอบและระบบการทำงานของทั้งองค์กรเป็นแบบทันเวลา มุ่งเน้นต่อความต้องการของลูกค้า โดยทั้งหมดจะต้องอาศัยความเชื่อมโยงของข้อมูลข่าวสาร และการสร้างสัมพันธภาพที่ดีระหว่างพนักงานและทุกหน่วยงานในองค์กร รวมถึง , คู่ค้า (Suppliers) และลูกค้า (Customers) จะต้องมีการสร้างความสัมพันธ์ในการดำเนินธุรกิจแบบ Win Win ซึ่งจะส่งผลให้ทั้งเครือข่ายของห่วงโซ่อุปทานประสบผลสำเร็จร่วมกัน ทั้งนี้ การจะดำเนินการเช่นนี้ได้ จะต้องมีการสร้างห่วงโซ่คุณค่า (Value Chain) ทำให้เกิดเป็นห่วงโซ่อุปทาน และมีการบูรณาการของการเชื่อมโยงความสัมพันธ์ของอุปสงค์และอุปทานของกระบวนการต่างๆ ทั้งภายในและภายนอกองค์กร เพื่อส่งเสริมและเพิ่มประสิทธิภาพของคุณค่าความร่วมมือให้กับทุกกระบวนการที่เกี่ยวข้องกับการพัสดุ , การจัดหา , การส่งมอบ อันนำมาซึ่งความสามารถในการแข่งขันได้อย่างยั่งยืน โดยการจัดการโลจิสติกส์ จะเป็นกิจกรรมหนึ่งของห่วงโซ่อุปทาน

นาย ภราดร กูบกระโทก5050504524กศ.ปช.รุ่น11หมู่5

การพิจารณาด้านองค์การ (Organizational Considerations) การนำระบบ JIT มาใช้งานต้องพิจารณาความเหมาะสมและปัจจัยเกื้อหนุนในองค์การโดยเฉพาะในหัวข้อต่อไปนี้

- ต้นทุนด้านทรัพยากรบุคคล (Human Costs) ระบบ JIT สามารถจะดำเนินการร่วมกันกับการควบคุมกระบวนการทางสถิติ (Statistical Process Control, SPC) เพื่อลดการเบี่ยงเบนในการผลิต อย่างไรก็ตามการรวมกันของทั้งสองเทคนิค จำเป็นต้องใช้ความรู้ ความเข้าใจ และความเข้มงวดสูง ซึ่งบางครั้งเป็นสาเหตุให้พนักงานเกิดความตึงเครียดในการทำงานได้เนื่องจากคนงานต้องทำงานให้ทันเวลาที่กำหนดในระบบ JIT และเขาต้องปฏิบัติตามวิธีแก้ไขปัญหาที่แนะนำไว้ตามแนวทางของ SPC ซึ่งอาจทำให้คนงานรู้สึกถูกกดดันและตึงเครียด ซึ่งจะทำให้เกิดการสูญเสียผลิตภาพ หรือการลดลงของคุณภาพ

- การประสานงานและความไว้วางใจ (Cooperation and Trust) ระบบ JIT ทำให้หัวหน้างานและพนักงานระดับปฏิบัติงานต้องมีหน้าที่และความรับผิดชอบที่เป็นของผู้จัดการระดับกลางและหน่วยงานสนับสนุนการจัดทำตารางการผลิต การเร่งและการปรับปรุงประสิทธิภาพ ดังนั้นผู้บริหารต้องจัดระบบองค์การและทัศนคติของสมาชิกให้เกิดการประสานงานและความเชื่อใจซึ่งกันและกันโดยเฉพาะระหว่างแรงงานและฝ่ายจัดการ

- ระบบการให้ผลตอบแทนและการจำแนกแรงงาน (Reward Systems and Labor Classifications) ผู้บริหารองค์การต้องปรับปรุงระบบการให้ผลตอบแทน เพื่อจูงใจพนักงานให้ทำงานตามระบบ JIT นอกจากนี้การปรับสัญญาจ้างให้การปฏิบัติงานมีความยืดหยุ่นก็เป็นสิ่งสำคัญต่อความสำเร็จในการประยุกต์ระบบ JIT

การพิจารณากระบวนการผลิต (Process Considerations) ปกติบริษัทที่ใช้ JIT จะมีระบบการผลิตเป็นแบบให้ความสำคัญกับผลิตภัณฑ์ หรืออย่างน้อยต้องผลิตโดยมีการไหลของวัตถุดิบ นอกจากนี้ บริษัทอาจต้องเปลี่ยนผังโรงงานใหม่ เพื่อให้เกิดประโยชน์อย่างเต็มที่จากระบบ JIT ดังที่ Billesbach (1991) ได้ทำการสำรวจ 68 บริษัทที่ใช้ระบบ JIT แสดงให้เห็นว่าปัจจัยที่สำคัญ ความสำเร็จของการนำระบบ JIT มาประยุกต์คือ การเปลี่ยนแปลงการไหลของวัตถุดิบและผิวของผลิตภัณฑ์ โดยการจัดทำผังโรงงานเป็นแบบรังผึ้ง (Cellular) อย่างไรก็ดีเทคนิคที่กล่าวมาจะมีต้นทุนการปรับเปลี่ยนที่สูง ซึ่งผู้บริหารต้องให้ความสำคัญในการตัดสินใจ

วัสดุคลังและตารางการผลิต (Inventory and Scheduling) บริษัทต้องการให้ระบบ JIT ดำเนินงานอย่างราบรื่นและมีประสิทธิภาพ สมควรต้องจัดความสัมพันธ์ระหว่างวัสดุคงคลัง และตารางการผลิตให้สอดคล้องกันดังต่อไปนี้

- ตารางการผลักหลัก (MPS) ต้องมีความคงที่ เพื่อให้ตารางการผลิตในแต่ละวันมีลักษณะสม่ำเสมอในช่วงระยะเวลาหนึ่ง เนื่องจากระบบ JIT มีปริมาณวัสดุคงคลังน้อยจึงไม่สามารถปรับปริมาณการผลิตได้มากนัก

- การบริหารวัสดุคงคลังของระบบ JIT โดยกำหนดปริมาณการผลิตจำนวนน้อย ซึ่งทำให้เกิดการเพิ่มจำนวนครั้งในการผลิตตั้งและเริ่มดำเนินงาน ดังนั้น ผู้บริหารจึงต้องหาเทคนิคในการลดเวลาเริ่มต้นดำเนินงานมิเช่นนั้นอาจทำให้เกิดความล่าช้า ในการผลิตปริมาณน้อย

- การจัดซื้อและการขนส่ง (Purchasing and Logistic) ในปริมาณน้อยและบ่อยครั้ง อาจเป็นไปได้ยาก เนื่องจากข้อจำกัดของอุตสาหกรรม ที่ตั้งหรือผู้ขายวัตถุดิบ ทำให้องค์กรไม่สามารถลดค่าใช้จ่ายในการจัดเก็บวัสดุคงคลังลงได้ นอกจากนี้ระบบการจัดหาวัตถุดิบ และอะไหล่ต้องมีความแน่นอนทั้งด้านปริมาณ คุณภาพ และระยะเวลา

นาย ภราดร กูบกระโทก5050504524กศ.ปช.รุ่น11หมู่5

Kaizen รากฐานของการพัฒนาระบบการจัดการคุณภาพ และปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง มีจุดประสงค์เพื่อการพัฒนาแบบไม่หยุดยั้งและยั่งยืน ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่องค์กรทุกแห่งปรารถนาจะให้เกิดขึ้น Kaizen เป็นกิจกรรมซึ่งทำให้เกิดการปรับปรุงขึ้นเรื่อยๆ โดยเป็นการลดความสูญเปล่าที่เกิดขึ้น

Kaizen เป็นหลักการบริหารองค์กรที่ประสบความสำเร็จเป็นอย่างมากในประเทศญี่ปุ่น โดยมุ่งเน้นให้พนักงานทุกระดับมีส่วนร่วมในการปรับปรุงงานของตนเองให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง ด้วยการ นำเทคนิคต่างๆที่ได้รับการยอมรับมาประยุกต์ใช้อย่างเหมาะสม โดยมีความเชื่อว่า การปรับปรุงองค์กรเพียงหวังจากการเปลี่ยนแปลงแบบก้าวกระโดด เช่น นวัตกรรม นั้น ไม่เพียงพอ เพราะนวัตกรรมอาจเป็นกิจกรรมของพนักงานเพียงบางกลุ่มหรือเพียงหยิบมือเดียวในองค์กรเท่านั้น ในขณะที่พนักงานระดับปฏิบัติการซึ่งมีจำนวนคิดเป็น 80% ของประชากรทั้งหมดก็ควรที่จะมีส่วนร่วมและถือเป็นความรับผิดชอบด้วยจึงจะถูกต้อง ดังนั้นไคเซนจึงเป็นระบบที่ดึงเอาศักยภาพที่มีอยู่อย่างเต็มเปี่ยมในตัวพนักงานมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อการดำเนินธุรกิจขององค์กร

นาย ปิยะพงษ์ จิตรสุภ 5050504522 กศ.ปช.รุ่น11หมู่5

การบริหารทุนมนุษย์ คือ กระบวนการจัดการทรัพยากรมนุษย์ด้วยเครื่องมือใหม่ ๆ ทางการบริหาร การกระตุ้นให้พนักงานทำงานด้วยจิตวิญญาณในบทบาทหน้าที่งานต่าง ๆ โดยคำนึงถึงคุณค่าความเป็นมนุษย์ การดูแลคุณภาพชีวิตของทรัพยากรมนุษย์ในองค์กร การสร้างทุนทางปัญญา การเป็นสื่อกลางในการบริหารการเปลี่ยนแปลง ตลอดจนการสร้างวัฒนธรรมในการทำงานที่ดีในองค์กร สรุป ทั้งสามประเด็นมีความเหมือนกัน เนื่องจากการที่จะทำการบริหารได้นั้นต้องมีประเด็นและทั้งสามอย่างรวมเข้าด้วยกันเพื่อความสำเร็จในการประกอบธุรกิจหรือการบริหารงานต่างๆ ภายในองค์กรหรือหน่วยงาน

การจัดการบุคลากร คือ เป็นกระบวนการในการจัดหาบุคลากรเข้าร่วมงานเริ่มต้นตั้งแต่การประกาศสมัครงาน สอบ คัดเลือก สรรหาตำแหน่งงานให้เหมาะสมและ ให้พอเพียงกับความต้องการขององค์กร การบริหารทุนมนุษย์ (Human Capital Management)” เริ่มถูกนำมาประยุกต์ใช้มากขึ้น โดยการใช้ประโยชน์จาก “ คน ” ให้มีคุณค่าสูงสุดแก่องค์กร

การบริหารทรัพยากรมนุษย์ คือ งานการจัดการในส่วนที่เกี่ยวข้องกับคนทำงาน เกี่ยวข้องกับการกำหนดและดำเนินนโยบายในด้านการวางแผนกำลังคน การจัดหาและคัดเลือกคนเข้าทำงาน การพัฒนา การจ่ายค่าตอบแทน การประสานสัมพันธ์เพื่อการธำรงรักษากำลังคนและการพ้นสภาพการทำงานอย่างเป็นธรรม เพื่อมุ่งหมายให้คนทำงานอยู่ดีและเป็นส่วนสำคัญในความสำเร็จขององค์การ

นาย ปิยะพงษ์ จิตรสุภ 5050504522 กศ.ปช.รุ่น11หมู่5

การพัฒนาองค์การ

ความหมายของการพัฒนาองค์การ การพัฒนาองค์กร (Organization Development) หรือที่เรียกว่า O.D. เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการแก้ปัญหาในองค์การที่มีประสิทธิภาพ การพัฒนาองค์การเป็นการทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงให้เจริญก้าวหน้า หรือดีขึ้นกว่าเดิมเพื่อทำให้องค์การมีประสิทธิภาพ และประสิทธิผลโดยการสร้างปัจจัยต่าง ๆ เพื่อสนับสนุนให้เกิดการพัฒนาให้สอดคล้องตามเป้าหมาย หรือวัตถุประสงค์ขององค์การ

วัตถุประสงค์ของการพัฒนาองค์การ องค์การมีลักษณะเหมือนสิ่งมีชีวิต คือ มีเกิดมีความเจริญเติบโตมีแก่ มีดับสูญ ดังนั้นองค์การจึงต้องมีการเปลี่ยนแปลงปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อม เพื่อให้องค์การมีชีวิตที่สมบูรณ์ และมีชีวิตที่คงอยู่ยาวนานในการพัฒนาองค์การ

รูปแบบการบังคับบัญชา 1. แบบปิระมิดคว่ำ 2. แบบปิระมิดหงายขึ้น

วิธีการในการพัฒนาองค์การ รูปแบบสามขั้นตอนของ Kurt Lewin ซึ่งประกอบด้วยการละลายพฤติกรรม (Unfreezing)การเปลี่ยนแปลง (Changing) การดำรงพฤติกรรมใหม่ (Refeezing)

คุณลักษณะที่สำคัญของการพัฒนาองค์การ การพัฒนาควรจะมีการพัฒนาทุกส่วนขององค์การ มีการเปิดโอกาสให้สมาชิกในองค์การได้ใช้ศักยภาพ หรือสติปัญญาอย่างเต็มที่ ซึ่งจะทำให้ลดปัญหาความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในองค์การ การพัฒนาองค์การจะต้องสอดคล้องกับสภาพแวดล้อมภายนอก และกระทำการอย่างต่อเนื่องตลอดระยะเวลาอันยาวนาน ซึ่งทำให้องค์การมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล บรรลุตามจุดมุ่งหมายขององค์การ

ลักษณะองค์การที่มีประสิทธิภาพ ลักษณะองค์การที่มีประสิทธิภาพองค์การที่มีประสิทธิภาพ หรือองค์การที่มีสุขภาพที่ดีจะมีลักษณะดังนี้ ทุกคนทำงานโดยมีเป้าหมาย รูปแบบองค์การต้องกำหนดตามวัตถุประสงค์ขององค์การ การตัดสินใจดำเนินงานต่าง ๆ ในองค์การขึ้นอยู่กับที่ผู้รู้ข้อมูลดีที่สุด สถานการณ์ที่ก่อให้เกิดการพัฒนาองค์การ มีความจำเป็นที่ต้องปรับปรุงแก้ไขเทคนิค และกรรมวิธีการในการปฏิบัติงานระบบการวินิจฉัยสั่งการ การจูงใจ การสื่อสารข้อความ และระบบในการให้รางวลมีความจำเป็นต้องการเปลี่ยนสภาพแวดล้อมในองค์การให้เหมาะสม ซึ่งถ้าผู้บริหารในองค์การได้มีการตระหนักถึงความต้องการนี้อย่างแท้จริงแล้ว องค์การก็อยู่ในสภาพที่พร้อมสำหรับการพัฒนาองค์การมีความจำเป็นในการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างบทบาทต่าง ๆ เอง

องค์การที่ยังไม่เหมาะสมและขาดความชัดเจน

การสร้างบรรยากาศในการพัฒนาองค์การ มีความเชื่อถือไว้วางใจซึ่งกันและกันมีการร่วมมือในการทำงาน มีความเปิดเผยและแก้ไขปัญหาร่วมกัน มีการสร้างทีมงานที่ดีก่อให้เกิดความรับผิดชอบในหน้าที่ มีความรู้สึกเป็นเจ้าของโครงการ หรืองานที่ได้รับมอบหมายมีการกระจายอำนาจ มีการมอบหมายงานที่ดี

บุคคลที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาองค์การ

1. ผู้บริหารระดับสูงสุด

2. ผู้บริหารในระดับต่าง ๆ

3. บุคลากรทุกคนในองค์การที่มีคุณภาพ

4. ผู้ประสานงานภายในองค์การ

5. ที่ปรึกษาภายนอก

6. ที่ปรึกษาภายใน

ผลประโยชน์ของการพัฒนาองค์การ การพัฒนาองค์การนำมาซึ่งการเพิ่มผลผลิตให้แก่องค์การ การปฏิบัติงานภายในองค์การอย่างมีประสิทธิภาพ ช่วยลดอัตราการว่างงาน การลาป่วย การลากิจ การเปลี่ยนงาน การลาออกจากงาน ลดความขัดแย้งภายในองค์การ ทำให้บุคลากรในองค์การมีความพึงพอใจสูง และทำให้องค์การสามารถดำเนินการเพื่อให้บรรลุตามเป้าหมายขององค์การ

ข้อจำกัดในการพัฒนาองค์การ การพัฒนาองค์การเป็นกระบวนการที่ใช้เวลามากและใช้ค่าใช้จ่ายในอัตราที่สูง การที่จะปรากฏผลการพัฒนาต้องใช้เวลารอคอยที่นาน และการพัฒนาองค์การเป็นกระบวนการที่เน้นพฤติกรรมมากกว่ากระบวนการในการปฏิบัติงาน

ปัญหาของการพัฒนาองค์การ 1. ปัญหาด้านองค์การ 2. ปัญหาด้านผู้บริหารระดับสูง

นายปกรณ์ กลิ่นศรีสุข 5050504520 กศ.ปช. รุ่น 11 หมู่ 5

การทำงานแบบทันเวลาพอดี (Just-in-Time:JIT)

การทำงานแบบทันเวลาพอดีเป็นการจัดสภาพแวดล้อมในการดำเนินงานให้มีควมเหมาะสมสอดคล้องกันกับจำนวนบุคลากร ปริมาณวัตถุดิบและสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ที่มีความจำเป็นต้องใช้ในการดำเนินงาน โดยเน้นที่การกำจัดสิ่งที่เปล่าประโยชน์ที่อาจจะเกิดขึ้นจากการทำงานที่ไม่มีประสิทธิภาพ เช่น ของเสียจากการใช้วัตถุดิบ ช่วงเวลาที่ศูนย์เปล่า เป็นต้นสำหรับในส่วนบุคลากรนั้นจะต้องมีการฝึกอบรมให้มีทักษะความชำนาญในการปฏิบัติงานที่มีความหลากหลายเพื่อให้บุคลากรเหล่านั้นนำความรู้ไปใช้ในการควบคุมกระบวนการผลิตได้ในหลายแผนกงานหรือทำการควบคุมเครื่องจักรได้หลายชนิดในกระบวนการผลิต

ประโยชน์ที่ได้รับจากการทำงานแบบทันเวลาพอดี

1.เกิดการเปลี่ยนแปลงของกระบวนการคำเนินงานดีขึ้น

2.ลดหรือกำจัดเวลาที่สูญเปล่า(เคลื่อนย้าย ขนส่ง ตรวจนับ ตรวจสอบ)

3.ต้นทุนของผลิตภัณฑ์และบริการในเวลาดำเนินงานลดลง

4.คุณภาพของผลิตภัณฑ์หรือบริการที่เพพพพพิ่มขึ้น

5.สร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้าเพิ่มขึ้น

6.เพิ่มความสามารถให้กับพนักงานในองค์การ

7.การดำเนินงานบรรลุถึงความสำเร็จจากการพัฒนาและปรับปรุงที่มีอย่างต่อเนื่อง

นางสาวประถิดา พรหมทา 5050504504 กศ.ปช.รุ่น11หมู่5

การจัดการคุณภาพ (Quality Management)

จากความหมายของคำว่าคุณภาพมาสู่แนวทางการดำเนินการเพื่อคุณภาพที่ดีนั้นได้มีคำหลายคำที่ใช้ในการบ่งบอกถึงการปฏิบัติการเกี่ยวกับคุณภาพ เช่น ระบบคุณภาพ การควบคุมคุณภาพ การประกันคุณภาพ หรือ การบริหารงานคุณภาพ ฯลฯ ซึงมีความหมายแตกต่างกันดังต่อไปนี้

1. การควบคุมคุณภาพ (Quality Control หรือ QC) หมายถึง กิจกรรมและกลวิธีการปฏิบัติเพื่อสนองความต้องการด้านคุณภาพภายในธุรกิจ โดยการตรวจสอบ การวัด และการทดสอบที่มุ่งจะควบคุมวัตถุดิบ กระบวนการ และการกำจัดสาเหตุของข้อบกพร่องที่เกิดขึ้นจากการดำเนินการทั้งหมด เช่น การสุ่มตัวอย่างน้ำผลไม้กระป๋องมาตรวจสอบรสชาติ

การควบคุมคุณภาพเน้นการตรวจสอบและแยกแยะของดีและของเสียออกจากกัน โดยระบุเป็นร้อยละของของเสียที่พบจากล็อตการผลิต เพื่อควบคุมมิให้ของเสียมีมากเกินกว่าที่กำหนดและในปัจจุบันการควบคุมคุณภาพมุ่งเน้นที่ของเสียต้องเป็นศูนย์ (Zero Defect)

2. การประกันคุณภาพ (Quality Assurance หรือ QA) หมายถึง การดำเนินการเพื่อสุขภาพตามระบบและแผนงานที่วางไว้อย่างเคร่งครัด เพื่อที่จะมั่นใจได้ว่าผลิตภัณฑ์หรือบริการมีคุณภาพตามที่ลูกค้าต้องการ เช่น การดำเนินงานตามมาตรฐานคุณภาพสากล ISO 9000

3. การบริหารคุณภาพ (Quality Management หรือ QM) หมายถึง การจัดการระบบคุณภาพโดยทุกคนที่เกี่ยวข้องทั้งภายในและภายนอกองค์การรับผิดชอบต่องานที่ตนเองกระทำอย่างเต็มที่เพื่อให้สินค้าและบริการเป็นไปตามต้องการของลูกค้า เช่น การใช้ระบบการบริหารคุณภาพสมบูรณ์แบบ (Total Quality Management หรือ TQM)

วัตถุประสงค์หลักของการบริการคุณภาพ คือ การผลิตสินค้าหรือบริการที่ตอบสนองความต้องการของลูกค้า ซึ่งความต้องการของลูกค้าจะเป็นกรอบกำหนดระบบคุณภาพขององค์การทั้งทางตรงและทางอ้อม ดังนั้นการบริหารคุณภาพจะมุ่งสร้างความพึงพอใจให้แก่ลูกค้าเป็นสำคัญ

นางสาวประถิดา พรหมทา 5050504504 กศ.ปช.รุ่น11หมู่5

การบริหารจัดการแบบ Six Sigma (6σ)

การบริหารจัดการแบบ Six Sigma ถือว่าเป็นการบริหาร TQM ขั้นสูงหรือแบบฉบับ สุดยอดของ TQM (Forrest W. Breyfogel et.al : 5) ทำให้คุณภาพและกระบวนการขององค์กร ต่าง ๆ มีการปรับปรุงคุณภาพ การเพิ่มผลผลิต การลดค่าใช้จ่ายได้มากมาย การที่มีการประกอบการที่ดีเยี่ยมเป็นองค์กรที่มีคุณค่าสามารถครองใจลูกค้า และมีการครอบครองตลาดเพิ่มขึ้น ระบบ TQM ต่างจาก Six Sigma ตรงที่ Six Sigma มุ่งมั่นที่จะให้สินค้ามีข้อบกพร่องของเสียเป็นศูนย์ (Zero Defect) ยกตัวอย่างเช่น บริษัท Motorola ในสหรัฐอเมริกาใช้เวลา 5 ปี เพื่อให้ของเสียทุกล้านชิ้นเป็น 3.4 แม้ถึงเวลาจะทำไม่ได้ตามเป้าแต่ทุกคนก็พยายามทำให้ได้ Gorge Eckes (2001) ได้ให้ความหมายของ Six Sigma คือวิธีการใช้กลยุทธ์ปรับปรุงธุรกิจ เพื่อหาแนวทางใน การเพิ่มความพึงพอใจให้แก่ลูกค้าและทำให้องค์กรมีความมั่นคงและมั่งคั่ง

Six Sigma (6σ) คือ ปรัชญาของการทำธุรกิจโดยเน้นการกำจัดสิ่งบกพร่อง ผ่านองค์ความรู้ที่เป็นกระบวนการ วิธีการของ Six Sigma เป็นการบูรณาการหลักการทางธุรกิจ สถิติ วิศวกรเข้าด้วยกันเพื่อให้บรรลุผลเชิงประจักษ์ เครื่องมือของ Six Sigma สามารถนำมาใช้ปรับปรุงกระบวนการและผลผลิตของบริษัท ใช้ได้กับทุกสาขาอาชีพรวมถึงการผลิต การขาย การตลาด การออกแบบ การบริหารจัดการและการบริการ Six Sigma จะให้ผลตอบแทนคือ กำไรที่จับต้องได้อย่างเป็นล่ำเป็นสัน เมื่อนำมาใช้กับพนักงานในองค์กรอย่างชำนาญจะทำให้เกิดประโยชน์ ดังนี้

1.Six Sigma จะลดค่าใช้จ่ายถึง 50 % หรือมากกว่านั้นโดยกรรมวิธี self – funded Approach เพื่อที่จะปรับปรุงการดำเนินให้ดีขึ้น

2.Six Sigma จะลดห่วงโซ่ของเสีย (Reduce the waste chain)

3.Six Sigma จะสนองความเข้าใจและความต้องการของลูกค้ามากขึ้น

4.Six Sigma จะส่งเสริมปรับปรุงการจัดส่งและการปฏิบัติงานให้มีคุณภาพ

5.Six Sigma จะจัดปัจจัยการนำเข้าที่เป็นกระบวนการสำคัญที่จำเป็นเพื่อตอบสนองต่อความต้องการของ ลูกค้า

6.Six Sigma จะพัฒนาผลผลิตและกระบวนการผลิตให้ดีขึ้น

7.Six Sigma จะกระตุ้นให้มีการปรับปรุงอย่างรวดเร็วด้วยทรัพยากรภายในที่มีอยู่

นายยุทธนา แทงตลาด 5050504525 การจัดการทั่วไป รุ่น 11 หมู่ 5

การจัดการคุณภาพ (Quality Management) จากความหมายของคำว่าคุณภาพมาสู่แนวทางการดำเนินการเพื่อคุณภาพที่ดีนั้นได้มีคำหลายคำที่ใช้ในการบ่งบอกถึงการปฏิบัติการเกี่ยวกับคุณภาพ เช่น ระบบคุณภาพ การควบคุมคุณภาพ การประกันคุณภาพ หรือ การบริหารงานคุณภาพ ฯลฯ ซึงมีความหมายแตกต่างกันดังต่อไปนี้

การควบคุมคุณภาพ (Quality Control หรือ QC) หมายถึง กิจกรรมและกลวิธีการปฏิบัติเพื่อสนองความต้องการด้านคุณภาพภายในธุรกิจ โดยการตรวจสอบ การวัด และการทดสอบที่มุ่งจะควบคุมวัตถุดิบ กระบวนการ และการกำจัดสาเหตุของข้อบกพร่องที่เกิดขึ้นจากการดำเนินการทั้งหมด เช่น การสุ่มตัวอย่างน้ำผลไม้กระป๋องมาตรวจสอบรสชาติ การควบคุมคุณภาพเน้นการตรวจสอบและแยกแยะของดีและของเสียออกจากกัน โดยระบุเป็นร้อยละของของเสียที่พบจากล็อตการผลิต เพื่อควบคุมมิให้ของเสียมีมากเกินกว่าที่กำหนดและในปัจจุบันการควบคุมคุณภาพมุ่งเน้นที่ของเสียต้องเป็นศูนย์ (Zero Defect)

การประกันคุณภาพ (Quality Assurance หรือ QA) หมายถึง การดำเนินการเพื่อสุขภาพตามระบบและแผนงานที่วางไว้อย่างเคร่งครัด เพื่อที่จะมั่นใจได้ว่าผลิตภัณฑ์หรือบริการมีคุณภาพตามที่ลูกค้าต้องการ เช่น การดำเนินงานตามมาตรฐานคุณภาพสากล ISO 9000

การบริหารคุณภาพ (Quality Management หรือ QM) หมายถึง การจัดการระบบคุณภาพโดยทุกคนที่เกี่ยวข้องทั้งภายในและภายนอกองค์การรับผิดชอบต่องานที่ตนเองกระทำอย่างเต็มที่เพื่อให้สินค้าและบริการเป็นไปตามต้องการของลูกค้า เช่น การใช้ระบบการบริหารคุณภาพสมบูรณ์แบบ (Total Quality Management หรือ TQM) วัตถุประสงค์หลักของการบริการคุณภาพ คือ การผลิตสินค้าหรือบริการที่ตอบสนองความต้องการของลูกค้า ซึ่งความต้องการของลูกค้าจะเป็นกรอบกำหนดระบบคุณภาพขององค์การทั้งทางตรงและทางอ้อม ดังนั้นการบริหารคุณภาพจะมุ่งสร้างความพึงพอใจให้แก่ลูกค้าเป็นสำคัญ

นายปกรณ์ กลิ่นศรีสุข 5050504520 กศ.ปช. รุ่น 11 หมู่ 5

ประเภทของคุณภาพ ได้แบ่งคุณภาพออกเป็น ๔ ประเภท คือ

๑.คุณภาพที่ไม่แตกต่างกัน ( indifferent quality ) เป็นคุณภาพที่ลูกค้ามองไม่ออก หรือไม่เกิดความซาบซึ้ง จึงไม่มีคุณค่าแก่ลูกค้าเท่าที่ควร

๒.คุณภาพที่คาดหวัง( expected quality ) เป็นคุณภาพที่ลูกค้าคาดหวังและต้องการ

๓.คุณภาพมิติเดียว( one – dimensional quality) คุณภาพประเภทนี้เหมือนกันกับคุภาพที่คาดหวังแต่ต่างกันตรงที่ถ้าขาดคุณภาพนี้ไปก็ไม่ได้ทำให้ต้องพ่ายแพ้แก่คู่แข็ง

๔.คุณภาพที่หน้าตื้นเต้น( exciting quality) เป็นคุณภาพที่ทำให้ลูกค้าเกิดความประทำใจต่อกิจการ เพราะเป็นการให้เกินกว่าที่ลูกค้าคาดหวัง หรือเป็นการสร้างความประหลาดใจในทางบวกต่อลูกค้า

นายปิยะพงษ์ จิตรสุภ 5050504522 กศ.ปช.รุ่น11หมู่5

TQM คือ เป็นวิธีการจัดการธุรกิจวิธีหนึ่ง โดยยึดหลักปรัชญาที่ว่า "การจัดการที่ดีที่สุดของการดำเนินธุรกิจ คือการขยายการตลาด และการทำกำไร โดยการขายผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพและให้บริการเป็นที่พอใจแก่ลูกค้า" TQM.เป็นวิธีการทางวิทยาศาสตร์ มีการทำงานโดยมีระบบและทั่วทั้งบริษัท กล่าวอีกนัยหนึ่ง TQM.เป็นการจัดการธุรกิจ โดยมีเป้าหมายหลัก คือการประกันคุณภาพของสินค้า และบริการเป้าหมายของการจัดการ TQM.คือ

1.การลดต้นทุนการผลิตและค่าใช้จ่ายอื่นๆ

2.การขยายตลาด ผลิตภัณฑ์ และบริการ

3.การเพิ่มผลผลิต

4.การขนส่งให้เร็วขึ้น เป็นต้น

TQM.ประกอบด้วย

1. การคิด (Thinking) และความมีเหตุและผล(Scientific)

2. วิธีการ (Techniques) หรือความมีระบบ (Systematic)

3. การจัดรูปองค์กรและวิธีการบริหาร

4.ทุกคน ทุกแผนกมีส่วนร่วม (Company wide)

นายปกรณ์ กลิ่นศรีสุข 5050504520 กศ.ปช. รุ่น 11 หมู่ 5

การจัดการคุณภาพ คือ การจัดการองค์กรและกิจกรรมต่างๆ ให้เป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนดไว้ ทั้งนี้โดยมีการกำหนดวัตถุประสงค์หลัก เพื่อให้ผลิตภัณฑ์มีคุณภาพตรงตามมาตรฐานหรือ ข้อกำหนด โดยมีต้นทุนต่ำ และ ตอบสนองความต้องการ ความพอใจของผู้บริโภคมาตรฐาน (Standard)

หมายถึง เอกสารที่จัดทำขึ้นจากการเห็นพ้องต้องกัน และได้รับ ความเห็นชอบจากองค์กรอันเป็นที่ยอมรับกันทั่วไป เอกสารดังกล่าววางกฎระเบียบแนวทางปฏิบัติหรือลักษณะ

เฉพาะแห่งกิจกรรม หรือผลที่เกิดขึ้นของกิจกรรมนั้น ๆ เพื่อให้เป็นหลักเกณฑ์ใช้กันทั่วไปจนเป็นปกติวิสัย โดยมุ่งให้บรรลุถึงความสำเร็จสูงสุดตามข้อกำหนด

นางสาวประถิดา พรหมทา 5050504504 กศ.ปช.รุ่น11หมู่5

แนวคิดที่สำคัญของนักวิชาการด้านคุณภาพที่มีชื่อเสียง ได้แก่

แนวความคิดของ Walter A. Schewhart

นักสถิติชาวอเมริกันที่เริ่มใช้หลักการทางสถิติมาประยุกต์ในการควบคุมคุณภาพ ที่เรียกว่า การควบคุมคุณภาพเชิงสถิติ (Statistic Quality Control) หรือ SQC โดยที่ Schewhart ได้พัฒนาแผนภูมิการควบคุม (Control Chart) และการสุ่มตัวอย่างเพื่อทดสอบผลิตภัณฑ์ ตลอดจนสร้างวงจรควบคุมคุณภาพที่เรียกว่า Schewart Curcle ซึ่งประกอบด้วย 4 ขั้นตอน คือ Plan Do Study Action หรือ PDSA ที่ต่อมามีการพัฒนาปรับปรุงโดย Deming กลายเป็น Deming Curcle หรือ วงจร PDCA (ณัฏฐพันธ์ เขจรนันท์,2545:36)

แนวความคิดของ Josheph M. Juran

เป็นผู้ให้ความหมายของคำว่า คุณภาพ ว่า หมายถึง ความเหมาะสมกับการใช้งาน (Fitness for Use) ของผู้ซื้อผลิตภัณฑ์ หรือผู้รับบริการ โดยเริ่มใช้ต้นแนวคิดเกี่ยวกับ ลูกค้าภายใน (Internal Customer) และให้ความสำคัญกับต้นทุนแห่งคุณภาพ (Cost of Quality) โดยพิจารณาประโยชน์ใช้สอยและการควบคุมด้วยการบริหารคุณภาพ ซึ่งJuran มีความเชื่อว่าความผิดพลาดที่เกิดขึ้นในการผลิต และการดำเนินงานสามารถควบคุมได้ด้วยการจัดการที่ดี โดยการค้นหาปัญหาสำคัญเพียง 2-3 ปัญหา (Vital Few) ที่แก้ไขแล้ว จะให้ผลอย่างมากต่อการพัฒนาคุณภาพ นอกจากนี้ Juran ยังกล่าวว่า การจัดการคุณภาพประกอบด้วย การวางแผน การควบคุม และการปรับปรุงคุณภาพ(ณัฏฐพันธ์ เขจรนันท์,2545:36)

แนวความคิดของ Willium Edwards Deming

นักสถิติชาวอเมริกัน ที่มีส่วนสำคัญในการพัฒนาคุณภาพให้กับระบบอุตสาหกรรมของญี่ปุ่น และกลับมากระตุ้นให้วงการธุรกิจและอุตสาหกรรมของอเมริการตื่นตัว พัฒนาคุณภาพ และเปิดรับหลักการของการจัดการคุณภาพโดยรวม (Total Quality Management) หรือ TQM นอกจากนี้ Deming ยังเสนอหลักการสำคัญในการจัดการคุณภาพ 14 ข้อ (Deming’s 14 Points) ได้แก่

1.สร้างปณิธานที่มุ่งมั่นในการปรับปรุงคุณภาพของสินค้าหรือบริการ

2.ยอมรับปรัชญาการบริหารคุณภาพใหม่ ๆ

3.ยุติการควบคุมคุณภาพโดยอาศัยการตรวจสอบ

4.ยุติการดำเนินธุรกิจโดยการตัดสินใจที่ราคาขายเพียงอย่างเดียว

5.ปรับปรุงระบบการผลิตและระบบการให้บริการอย่างต่อเนื่อง

6.ทำการฝึกอบรมทักษะอย่างสม่ำเสมอ

7.สร้างภาวะผู้นำให้เกิดขึ้น

8.กำจัดความกลัวให้หมดไป

9.ทำลายสิ่งที่กีดขวางความร่วมมือระหว่างหน่วยงานต่าง ๆ

10.ยกเลิกคำขวัญ คติพจน์ และเป้าหมายที่ตั้งตามอำเภอใจ

11.ยกเลิกการกำหนดจำนวนโควตาที่เป็นตัวเลข

12.ยกเลิกสิ่งที่กีดขวางความภาคภูมิใจของพนักงาน

13.การศึกษาและการเจริญเติบโต

14.ลงมือปฏิบัติเพื่อให้บรรลุผลสำเร็จในการเปลี่ยนแปลง (ณัฏฐพันธ์ เขจรนันท์,2545:37-38)

แนวคิดของ Phillip B. Crosby

นักปฏิบัติและนักคิดด้านการจัดการคุณภาพที่มีชื่อเสียง ชาวอเมริกันที่ให้ความหมายคำว่า คุณภาพ ว่า หมายถึง การทำได้ตามข้อกำหนด (Conformance to Requirements) และเป็นผู้ที่กล่าวว่า คุณภาพไม่มีค่าใช้จ่าย (Quality is Free) และให้ความสำคัญกับการสร้างวัฒนธรรมและการดำเนินงานที่ความบกพร่องเป็นศูนย์ (Zero Defect) โดยเขาเสนอแนะว่า องค์การจะต้องปรับปรุงคุณภาพอย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะครอบคลุมการใช้เครื่องจักรและอุปการณ์ตลอดจนการพัฒนาบุคลากรอย่างสม่ำเสมอ ซึ่งช่วยลดข้อบกพร่อง และความผิดพลาดในการดำเนินงานลง จนหมดไปจากองค์การ (ณัฏฐพันธ์ เขจรนันท์,2545:38)

แนวคิดของ Armand V. Feigenbaum

เป็นนักคิดที่ให้ความสำคัญกับต้นทุนของคุณภาพ ที่จำเป็นต้องดำเนินงานเพื่อให้เป็นผู้นำด้านต้นทุนในระยะยาว โดย Feigenbaum เป็นผู้ให้ความหมายของคำว่า คุณภาพ ว่า หมายถึง การสร้างความพึงพอใจให้แก่ลูกค้าด้วยต้นทุนที่ต่ำที่สุด และอธิบายคุณภาพในวงจรอุตสาหกรรม ตั่งแต่เริ่มต้นออกแบบผลิตภัณฑ์ การนำผลิตภัณฑ์ออกสู่ตลาด และการบริการหลังการขาย ซึ่งต้องดำเนินงานอย่างสมบูรณ์แบบและครบวงจรตามหลักการของ การควบคุมคุณภาพโดยรวม (Total Quality Control) หรือ TQC (ณัฏฐพันธ์ เขจรนันท์,2545:38)

แนวความคิดของ Kaoru Ishikawa

นักวิชาการที่มีชื่อเสียงด้านคุณภาพชาวญี่ปุ่น ที่พัฒนาแนวความคิดวงจรควบคุมคุณภาพ (Quality Control Circles) หรือ Qcc จนเป็นที่ยอมรับในระดับประเทศ และแนวความคิดใน การควบคุมคุณภาพทั่วทั้งองค์การ (Company-wide Quality Control) หรือ CWQC ซึ่งสอดคล้องกับหลักการ TQM ในประเทศตะวันตก ตลอดจนเสนอแนะแนวทางในการควบคุมคุณภาพโดยหลักการทางสถิติ หรือที่เรียกว่า 7QC Tools ซึ่งได้แก่

1.ผังเหตุและผล (Cause and Effect Diagrams) หรือผังก้างปลา (Fish bone Diagram)

2.การวิเคราะห์ Perato (Pareto Analysis)

3.แผนภาพ (Graphs)

4.แผนภูมิแท่ง (Histograms)

5.แผนภูมิการควบคุมกระบวนการ (Process Control Charts)

6.แผนผังการกระจาย(Scatter Diagrams)

7.รายการการตรวจสอบ (Check List Sheets)

นอกจากนี้ Ishikawa ยังมีข้อเสนอแนะที่สำคัญ คือ การควบคุมคุณภาพเป็นหน้าที่ของพนักงานทุกคนที่จะต้องร่วมกันปฏิบัติ โดยให้ข้อเสนอแนะในการปรับปรุงผลงานแก่องค์การ ซึ่งแตกต่างจากแนวความคิดของผู้บริหารในชาติตะวันตก ที่นิยมมอบอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบให้กับหน่วยงานด้านคุณภาพขององค์การ ซึ่งถือว่าเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านคุณภาพ ซึ่งมักจะก่อให้เกิดปัญหาความขัดแย้งกับหน่วยงานอื่น ๆ และยังปล่อยให้เกิดผลงานที่ด้อยคุณภาพออกไปสู่มือของลูกค้า (ณัฏฐพันธ์ เขจรนันท์,2545:39-40)

แนวความคิดของ Genichi Taguchi

ให้ความสนใจกับการสร้างคุณภาพจากจุดเริ่มต้น โดย Taguchi เสนอว่า คุณภาพควรเริ่มต้นจากการออกแบบ(Quality of Design) และเขายังเสนอการพิจารณาต้นทุนค่าเสียโอกาสที่สินค้า หรือบริการไม่มีคุณภาพตามที่กำหนด (ณัฏฐพันธ์ เขจรนันท์,2545:40)

หลักการสำคัญของการจัดการคุณภาพ

การจัดการคุณภาพ (Quality Management) ประกอบไปด้วยงานที่สำคัญ ดังนี้ คือ

1.การวางแผนคุณภาพเชิงกลยุทธ์ (Strategic Quality Management) เป็นการกำหนดวิสัยทัศน์ กลยุทธ์ และการวางแผนคุณภาพ เป็นจุดเริ่มต้นของการบริหารคุณภาพ โดยที่การจัดการคุณภาพจะต้องบูรณาการเข้ากับการดำเนินงานทุกระดับ ตั้งแต่ การกำหนดวิสัยทัศน์ ภารกิจ กลยุทธ์ และ แผนปฏิบัติการ ที่จะต้องคำนึงถึงความจำเป็น และให้ความสำคัญกับการสร้างคุณภาพที่เป็นรูปธรรม และเข้าถึงทุกส่วนขององค์การ โดยผู้บริหารจะต้องสร้างวิสัยทัศน์คุณภาพให้สอดคล้องกับความต้องการของธุรกิจ และนำวิสัยทัศน์มาแปลเป็นภารกิจ กลยุทธ์ และแผนคุณภาพที่มีความชัดเจน ครอบคลุม และเป็นรูปธรรม

2.การปรับปรุงคุณภาพ (Quality Improvement) เป็นการแก้ไขปัญหาและการพัฒนาคุณภาพขององค์การ จะต้องดำเนินงานอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง ด้วยความรอบคอบและความเข้าใจในข้อจำกัดของสถานการณ์ โดยผู้พัฒนาคุณภาพจะต้องศึกษา วิเคราะห์ และแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นตามหลักเหตุผล และหลักการทางวิทยาศาสตร์ โดยพยายามหาวิธีการที่เรียบง่าย แต่มีประสิทธิภาพที่สุด (Simple but Efficient) มาใช้ในการแก้ไขปัญหาและการพัฒนาผลงาน ซึ่งต้องดำเนินงานผ่านการบริหาร การฝึกอบรม และการเสริมแรงอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้สมาชิกทุกคนมีจิตสำนึก มีความมุ่งมั่น และต้องการมีส่วนร่วมในการพัฒนาคุณภาพในทุกระดับ เพื่อให้องค์การสามารถบรรลุความเป็นเลิศ (Excellence) ของคุณภาพและการดำเนินงาน

3. การควบคุมคุณภาพ (Quality Control) เป็นกระบวนการจัดระบบการทำงาน และการปฏิบัติการ เพื่อให้แน่ใจว่าผลิตภัณฑ์หรือบริการที่ผลิตขึ้น มีคุณสมบัติสอดคล้องกับที่กำหนดไว้ ซึ่งจะดำเนินการโดยกำหนดมาตรฐาน เกณฑ์ และวิธีการติดตามตรวจสอบคุณภาพ เพื่อประเมินและเปรียบเทียบผลการดำเนินงานกับมาตรฐาน โดยปรับการดำเนินงานและผลลัพธ์ให้สอดคล้องกับมาตรฐาน โดยผู้ควบคุมคุณภาพจะตัดสินใจแก้ไขปัญหาตามความเหมาะสม การควบคุมคุณภาพจะเป็นทั้งงานพื้นฐาน และเป็นส่วนประกอบที่สำคัญในการจัดการคุณภาพ เพื่อสร้างความแน่ใจว่าธุรกิจสามารถดำเนินงานอย่างคงเส้นคงวา และส่งมอบผลงานที่มีคุณภาพแก่ลูกค้าได้ตรงตามที่ตกลง และอย่างสม่ำเสมอ

นายปกรณ์ กลิ่นศรีสุข 5050504520 กศ.ปช. รุ่น 11 หมู่ 5

การจัดการคุณภาพ (Quality Management) จากความหมายของคำว่าคุณภาพมาสู่แนวทางการดำเนินการเพื่อคุณภาพที่ดีนั้นได้มีคำหลายคำที่ใช้ในการบ่งบอกถึงการปฏิบัติการเกี่ยวกับคุณภาพ เช่น ระบบคุณภาพ การควบคุมคุณภาพ การประกันคุณภาพ หรือ การบริหารงานคุณภาพ ฯลฯ ซึงมีความหมายแตกต่างกันดังต่อไปนี้

การควบคุมคุณภาพ (Quality Control หรือ QC) หมายถึง กิจกรรมและกลวิธีการปฏิบัติเพื่อสนองความต้องการด้านคุณภาพภายในธุรกิจ โดยการตรวจสอบ การวัด และการทดสอบที่มุ่งจะควบคุมวัตถุดิบ กระบวนการ และการกำจัดสาเหตุของข้อบกพร่องที่เกิดขึ้นจากการดำเนินการทั้งหมด เช่น การสุ่มตัวอย่างน้ำผลไม้กระป๋องมาตรวจสอบรสชาติ การควบคุมคุณภาพเน้นการตรวจสอบและแยกแยะของดีและของเสียออกจากกัน โดยระบุเป็นร้อยละของของเสียที่พบจากล็อตการผลิต เพื่อควบคุมมิให้ของเสียมีมากเกินกว่าที่กำหนดและในปัจจุบันการควบคุมคุณภาพมุ่งเน้นที่ของเสียต้องเป็นศูนย์ (Zero Defect)

การประกันคุณภาพ (Quality Assurance หรือ QA) หมายถึง การดำเนินการเพื่อสุขภาพตามระบบและแผนงานที่วางไว้อย่างเคร่งครัด เพื่อที่จะมั่นใจได้ว่าผลิตภัณฑ์หรือบริการมีคุณภาพตามที่ลูกค้าต้องการ เช่น การดำเนินงานตามมาตรฐานคุณภาพสากล ISO 9000

การบริหารคุณภาพ (Quality Management หรือ QM) หมายถึง การจัดการระบบคุณภาพโดยทุกคนที่เกี่ยวข้องทั้งภายในและภายนอกองค์การรับผิดชอบต่องานที่ตนเองกระทำอย่างเต็มที่เพื่อให้สินค้าและบริการเป็นไปตามต้องการของลูกค้า เช่น การใช้ระบบการบริหารคุณภาพสมบูรณ์แบบ (Total Quality Management หรือ TQM) วัตถุประสงค์หลักของการบริการคุณภาพ คือ การผลิตสินค้าหรือบริการที่ตอบสนองความต้องการของลูกค้า ซึ่งความต้องการของลูกค้าจะเป็นกรอบกำหนดระบบคุณภาพขององค์การทั้งทางตรงและทางอ้อม ดังนั้นการบริหารคุณภาพจะมุ่งสร้างความพึงพอใจให้แก่ลูกค้าเป็นสำคัญ

นายปิยะพงษ์ จิตรสุภ 5050504522 กศ.ปช.รุ่น11หมู่5

การนำหลักการ Deming มาใช้กับ TQM

คุณภาพเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างยิ่งในการดำเนินงาน ดังนั้นในการสร้างคุณภาพให้เกิดขึ้นกับองค์การ Deming ได้นำเสนอ วงจร PDCA (Plan, Do, Check, Act) เพื่อเป็นหลักในการเริ่มต้นการปรับปรุงคุณภาพอย่างต่อเนื่อง

ส่วนประกอบทั้ง 4 ด้าน สามารถอธิบายได้ดังนี้

1. การวางแผน (Plan) ขั้นตอนการวางแผนถือเป็นขั้นตอนที่สำคัญที่สุด โดยจุดเริ่มต้นจะต้องมีการตระหนักถึงปัญหาและกำหนดปัญหาที่จะแก้ไข มีการเก็บรวบรวมข้อมูล เลือกทางเลือก และวิเคราะห์ทางเลือกเพื่อเลือกวิธีที่จะใช้ในการแก้ไขปัญหา

2. การปฏิบัติ (Do) นำทางเลือกที่ตัดสินใจไปสู่การปฏิบัติโดยมั่นใจว่าผู้รับผิดชอบได้ตระหนักถึงวัตถุประสงค์ และความจำเป็นอย่างถ่องแท้แล้ว และให้ผู้ที่มีหน้าที่รับผิดชอบดำเนินงานตามแผน รู้ถึงรายละเอียดและขั้นตอนต่าง ๆ มีการจัดอบรมเพื่อดำเนินงานตามแผน และมีการจัดทรัพยากรที่จำเป็น

3. การตรวจสอบ (Check) มีการติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลการปฏิบัติงาน การประเมินควรประเมินการดำเนินงานขององค์การว่าสามารถดำเนินงานได้ตามแผนหรือไม่ และเนื้อหาสาระของแผนมีความครบถ้วนหรือไม่ หากการประเมินพบว่าผลงานออกมาได้ถูกต้องตรงตามเป้าหมายก็สามารถนำไปจัดทำเป็นมาตรฐานสำหรับการดำเนินงานในครั้งต่อไปได้

4. การปรับปรุงแก้ไข (Act) ในการปฏิบัติงานมีการกำหนดมาตรฐานจากผลการดำเนินงานเพื่อใช้เป็นแนวทางปฏิบัติในอนาคต และทำการแก้ไขในส่วนที่ทำให้ผลลัพธ์ไม่เป็นไปตามตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ เมื่อผลลัพธ์ที่ได้ได้รับการยอมรับจากทุกฝ่ายแล้วจัดทำเป็นรายงานเพื่อให้ผู้บริหารและหน่วยงานต่าง ๆ ในองค์การทราบ สิ่งที่สำคัญถ้าหากพบว่าการไม่วัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่ตั้งไว้นั้นเกิดจากการวางแผนที่ไม่ดีตั้งแต่ต้น องค์การจะต้องหาสาเหตุของการวางแผนที่ไม่ดีก่อน แล้วจึงทำการปรับปรุงคุณภาพการวางแผน และปรับปรุงเนื้อหาของแผนด้วย

องค์ประกอบที่สำคัญของ TQM 3 ประการ คือ

1. การให้ความสำคัญกับลูกค้า (Customer Oriented) ลูกค้า (Customer) เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ธุรกิจอยู่รอด และความมุ่งหมายของธุรกิจ คือ การสร้างและรักษาลูกค้า ของ Peter F. Drucker ปรมาจารย์ด้านการบริหารธุรกิจร่วมสมัย (Modern Business Management Guru) ที่กระตุ้นให้คิดว่าธุรกิจสามารถดำรงอยู่ได้ เพราะลูกค้าที่เข้ามาซื้อสินค้าหรือบริการ ไม่ว่าธุรกิจจะใหญ่เพียงใด ถ้าไม่สามารถขายสินค้าหรือบริการให้แก่ลูกค้าเป้าหมายได้ การทำธุรกิจจะไม่ประสบผลสำเร็จได้ ลูกค้าคือคุณภาพ และคุณภาพคือลูกค้า ดังนั้นพนักงานในองค์การธุรกิจทุกคน จึงต้องมีสำนึกในการปฏิบัติงานในทุกขั้นตอน ต้องสร้างผลงานที่มีคุณภาพให้กับลูกค้า ไม่ใช่เพื่อเอาใจเจ้านายเท่านั้น เพราะลูกค้าเป็นผู้ให้เงินเดือน ความสุข และความมั่นคงในชีวิต ลูกค้าจึงมีความสำคัญเป็นอันดับหนึ่งในทุกๆ องค์การ ทำให้ธุรกิจต้องติดตามเรียนรู้ และพยายามคิดแบบลูกค้า ตลอดจนให้ลูกค้ามีส่วนร่วมในการดำเนินงานและการแก้ไขปัญหาของธุรกิจ เพื่อที่จะตอบสนองความต้องการ สร้างความพอใจ และความชื่นชมจากลูกค้าได้อย่างแท้จริง

นอกจากนี้ การให้ความสำคัญกับลูกค้าจะไม่ถูกจำกัดอยู่ที่ลูกค้าจริง ๆ หรือที่เรียกว่า ลูกค้าภายนอก (External Customer) ที่ซื้อสินค้าหรือบริการของธุรกิจเท่านั้น แต่จะขยายตัวครอบคลุมไปถึงพนักงาน หรือหน่วยงานที่อยู่ถัดไปจากเรา ซึ่งรอรับผลงานหรือบริการจากเรา ที่เรียกว่า ลูกค้าภายใน (Internal Customer) โดยเราจะทำหน้าที่เป็นผู้ส่งมอบภายใน (Internal Supplier) ในการส่งมอบผลงานและสร้างความพอใจให้แก่พวกเขา ซึ่งจะสร้างความสัมพันธ์ต่อเนื่องกันเป็น ห่วงโซ่คุณภาพ (Quality Chain) จากผู้ขายวัตถุดิบ (Supplier) ผู้ส่งมอบ และลูกค้าภายใน ไปจนถึงลูกค้าภายนอกที่ซื้อสินค้าและบริการที่มีคุณภาพของธุรกิจ โดยความสัมพันธ์จะต้องเป็นระบบที่สอดคล้อง ส่งเสริม และต่อเนื่องกันอย่างเหมาะสม

ถ้าโซ่ห่วงใดมีความพกพร่อง ก็จะทำให้การส่งมอบผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพขาดความสมบูรณ์ และสร้างปัญหาขึ้น ดังนั้นพนักงานทุกคนจึงต้องมีสำนึกแห่งคุณภาพ และความเป็นเลิศ ไม่ทำงานให้เสร็จแบบขอไปที แต่ต้องระลึกเสมอว่าผลงานของเขาจะมีผลกระทบต่อคุณภาพของสินค้า หรือบริการที่ธุรกิจส่งมอบให้แก่ลูกค้า ถ้าผลงานของเขามีปัญหาก็จะส่งผลให้การดำเนินงานในขั้นต่อไปมีอุปสรรค และทำให้ลูกค้าได้รับสินค้าหรือบริการที่ไม่มีคุณภาพ ซึ่งจะมีผลกระทบในด้านลบย้อนกลับมาที่เขาในที่สุด

2. การพัฒนาอย่างต่อเนื่อง (Continuous Improvement) นวัตกรรมใหม่ที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้องค์การต้องมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง การพัฒนาอย่างต่อเนื่องจะก่อให้เกิดโมเมนตัม (Momentum) ซึ่งจะทำให้การก้าวไปข้างหน้าของธุรกิจสะดวก คล่องตัว และมีประสิทธิภาพ สามารถแก้ปัญหาและพัฒนาระบบงานที่ซับซ้อนและครอบคลุมทั้งองค์การ โดยองค์การที่ทำ TQM จะต้องกล้าตัดสินใจแก้ไขปรับปรุง และเปลี่ยนแปลง ซึ่งมีแนวทางในการดำเนินงานดังนี้

1.1ศึกษา วิเคราะห์ และทบทวนข้อมูลการดำเนินงานและสภาพแวดล้อมเพื่อหาแนวทางในการพัฒนา และปรับปรุงคุณภาพของระบบและผลลัพธ์อย่างสร้างสรรค์ และต่อเนื่อง

1.2พยายามหาวิธีในการแก้ไขปัญหา และพัฒนาการดำเนินงานที่เรียบง่ายแต่ให้ผลลัพธ์สูง

1.3ติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลงานอย่างเป็นระบบ เป็นธรรมชาติ และไม่สร้างความสูญเสียจากการตรวจสอบ

3. การมีส่วนร่วมจากพนักงาน (Employees Inovation) พนักงานทุกคนทั้งพนักงานระดับ

ล่าง และผู้บริหารในหน่วยงานจะต้องร่วมมือกัน โดยทุกแผนกต้องปฏิบัติงานในฐานะสมาชิกขององค์การคุณภาพเดียวกัน (ณัฐพันธ์ เขจรนันท์,2545:60-64)

เครื่องมือพื้นฐานที่สำคัญของ TQM.

1.การใช้การวิเคราะห์ทางสถิติเพื่อกำหนดความสูญเสียจากคุณภาพโดยใช้ข้อเท็จจริง

2.การปรับปรุงอย่างต่อเนื่องโดยใช้วงจร PDCA

เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าอย่างคุ้มทุน คุณภาพของผลิตภัณฑ์ที่ผลิต และกระบวนการที่ผลิตของผลิตภัณฑ์ดังกล่าวจะต้องได้รับการปรับปรุงอย่างสม่ำเสมอ นั้นหมายความว่าวงจร PDCA จะต้องได้รับการปรับปรุงอย่างไร้ความเหนื่ย ยิ่งไปกว่านั้น การใช้วงจรใช้วงจร PDCA เพื่อปรับปรุงอย่างมีประสิทธิผล ข้อเท็จจริงของสถานการณ์จะต้องมีการรวบรวม และการตัดสินใจจะต้องวางอยู่บนพื้นฐานของข้อเท็จจริงดังกล่าว และสิ่งเหล่านี้ต้องการการประยุกต์ใช้เทคนิคทางสถิติเข้าช่วย

2.1 การวัดความสูญเสียจากคุณภาพทางสถิติ กิจกรรมผลิตผลิตภัณฑ์ และให้บริการจะมีจริงได้ก็ต่อเมื่อลูกค้าของผลิตภัณฑ์หรือบริการนั้นมีจริง และกิจกรรมดังกล่าวจะมีประโยชน์ก็ต่อเมื่อผลิตภัณฑ์และบริการดังกล่าวสามารถตอบสนองต่อสิ่งที่ลูกค้าต้องการ การผลิตและขายผลิตภัณฑ์หรือบริการที่ไม่ตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้าเป็นการสูญเสียโดยตัวของมันเอง ยิ่งไปกว่านั้น ผลิตภัณฑ์และบริการจะต้องจัดส่งให้ลูกค้าอย่างมีประสิทธิภาพเท่าที่จะเป็นไปได้ และถึงแม้ผลิตภัณฑ์และบริการจะเป็นไปตามความต้องการของลูกค้าก็ตาม แต่ต้องใช้ปริมาณวัตถุดิบ พลังงาน แรงงาน จำนวนมากที่ไม่จำเป็น ก็จะเกิดความสูญเสียได้ ถ้าวิธีการผลิตและการตลาดผิดพลาด

ดังนั้น ประสิทธิผลของการบริหารคุณภาพองค์กรจะถูกพิจารณาจากเกณฑ์พื้นฐานดังต่อไปนี้

1.ผลิตภัณฑ์หรือบริการที่องค์กรผลิต ตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้าหรือไม่

2.องค์กรดังกล่าวผลิตหรือบริการอย่างคุ้มทุนหรือไม่

ความสูญเสียหลักจากคุณภาพมี 3 ประเภท คือ ความสูญเสียจากคุณภาพของผลิตภัณฑ์ ความสูญเสียจากคุณภาพของกระบวนการ และความสูญเสียจากต้นทุนและประสิทธิภาพ

1.ความสูญเสียจากคุณภาพของผลิตภัณฑ์ ความสูญเสียเหล่านี้เกิดขึ้นเมื่อผลิตภัณฑ์หรือบริการไม่เป็นไปตามความต้องการของลูกค้า สิ่งเหล่านี้อาจเกิดจากผู้จัดส่งวัตถุดิบ หรือลูกค้า หรือทั้งสองฝ่าย ในตลาดที่มีการแข่งขันลูกค้าจะป้องกันตนเองโดยไม่ซื้อผลิตภัณฑ์หรือบริการที่ให้ระดับการบริการต่ำ ทำให้ผู้ส่งมอบผลิตภัณฑ์หรือบริการประเภทดังกล่าวสูญเสียลูกค้าโดยปริยาย ถึงแม้ความสูญเสียดังกล่าวจะไม่ปรากฎเป็นต้นทุนที่ชัดเจนกับผู้ส่งมอบ แต่การสูญเสียลูกค้าก็เป็นความสูญเสียของผู้ส่งมอบในที่สุด

2.ความสูญเสียจากคุณภาพของกระบวนการ ถึงแม้ผลิตภัณฑ์หรือบริการจะเป็นไปตามความต้องการของลูกค้า แต่ก็ยังมีความสูญเสียอยู่ ถ้ากระบวนการที่ผลิตสินค้าหรือบริการที่ใช้ยังไม่เหมาะสม และส่งผลต่อการผลิตของเสีย หรือการใช้วัตถุดิบพลังงานและแรงงานที่มากอย่างไม่จำเป็น ความสูญเสียดังกล่าวจะถูกจ่ายโดยลูกค้า และปรากฏอยู่ในราคาสินค้าและบริการ แต่ผู้ผลิตที่อยู่ในตลาดของการแข่งขันไม่สามารถตั้งราคาในระดับที่ต้องการได้จึงไม่สามารถรับความสูญเสียดังกล่าวโดยการตั้งราคาให้สูง ในกรณีเช่นนี้ ผู้ผลิตจึงจำเป็นต้องรับความสูญเสียดังกล่าวไว้บางส่วน นี่เป็นเหตุสำคัญที่ต้องผลิตสินค้าหรือบริการให้มีประสิทธิภาพมากที่สุดเท่าที่จะทำได้

3.ความสูญเสียจากต้นทุนและประสิทธิภาพ การลดความสูญเสียทรัพยากรจากผลิตภัณฑ์และกระบวนการที่มีปัญหา เป็นองค์ประกอบสำคัญในการปรับปรุงการคุ้มทุนของสินค้าหรือบริการที่ทำ แต่คุณภาพต่ำ มิใช่เป็นแหล่งความสูญเสียอย่างเดียว ควรมีความพยายามในการลดความสูญเสียจากการไร้ประสิทธิภาพอันเกิดจากการออกแบบที่ฟุ่มเฟือยและไม่จำเป็น การกำหนดค่าเผื่อขาดที่เข้มงวดเกินไป การเก็บสำรองวัตถุดิบหรือสินค้ามากเกินไป การปรับสายงานกำลังการผลิตไม่ดี และความผิดพลาดจากการพัฒนาความสามารถพนักงานโดยการให้การศึกษา และฝึกอบรมที่ไม่เพียงพอ เนื่องจากความสูญเสียดังกล่าวไม่ปรากฎในรูปแบบของปัญหาด้านคุณภาพ ผู้ผลิตต้องพยายามนำประเด็นเหล่านี้ออกมา และตรวจดูความเสียหาย โดยการวิเคราะห์ระบบและดำเนินงานอย่างมีวิธีการเป็นระบบและต่อเนื่อง

2.2 วงจร PDCA เมื่อสถานภาพความสูญเสียจากคุณภาพมีความชัดเจนแล้ว ก็จะมีการจัดเตรียมแผนงานลดความสูญเสียและลงมือดำเนินการ และตรวจสอบผลที่ได้ ถ้าการตรวจสอบพบข้อบกพร่องในการวางแผนหรือการดำเนินงานก็จะมีปฏิบัติการแก้ไข ส่งผลให้มีการปรับแผนงานที่กำหนดไว้แต่เริ่มต้น แผนที่มีการปรับปรุงใหม่ก็จะมีการนำไปปฏิบัติ หลังจากนั้นก็จะมีการตรวจสอบผลที่ได้อีก และมีการแก้ไขอีกถ้าจำเป็น วงจรของกิจกรรมที่ต่อเนื่องนี้ รู้จักกันดีว่าเป็นวงจร PDCA (plan,do,check,action) เป็นหลักพื้นฐานในการปรับปรุงคุณภาพอย่างต่อเนื่อง (รายละเอียดเพิ่มเติมที่ PDCA)

นายเธียรชัย กฤษณะวานิช

ความหมายของ Q.C.C.

ดังที่ได้กล่าวแล้วว่า Q.C.C. มาจากภาษาอังกฤษว่า Quality Conlity Circle ซึ่งแปลว่า การบริหารโดยการควบคุมคุณภาพหรือกลุ่มคุณภาพ ซึ่งในปัจจุบันนี้ องค์การธรกิจเอกชนต่าง ๆ รัฐวิสาหกิจ ได้ให้ความสนใจเป็นอย่างมาก คำว่า คุณภาพ หมายถึง คุณสมบัติหรือลักษณะต่าง ๆ ของผลิตภัณฑ์หรือการบริการที่ตรงตามความต้องการของผู้บริโภคหรือผู้บริการ การควบคุมคุณภาพ หมายถึง การปฏิบัติงานต่าง ๆ ในระหว่างการผลิตที่ป้องกันไม่ให้เกิดของเสีย ป้องกันไม่ให้การทำงานผิดไปจากกำหนด หาทางลดปริมาณของเสีย เพิ่มปริมาณการผลิตและคุณภาพให้ดีอยู่ตลอดเวลา กลุ่มสร้างคุณภาพ หมายถึง กลุ่มคนเหมาะสมขนาดเหมาะสมที่ทำงานอย่างเดียวเกี่ยวข้องกัน รวมตัวอย่างอิสระ เพื่อร่วมมือละช่วยกันปรับปรุงงานให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่ต้องการ กล้าหาญพุทธพร ( 2525 : 18 ) ได้ให้คำจำกัดความของ Q.C.C. อย่างสั้น ๆ ว่า คนกลุ่มน้อย ณ สถานที่ปฏิบัติงานเดียวกันรวมตัวกันโดยสมัครใจ โดยมีผู้บังคับบัญชาระดับต้น ( First Line Supervisor ) เป็นแกนกลางเพื่อทำกิจกรรมเกี่ยวกับการปรับปรุงงาน โดยตนเองอย่างเป็นอิสระ แต่ต้องไม่ขัดต่อนโยบายหลักขององค์การ นภดล ชนะโยธิน (2531 : 188 ) กล่าวโดยสรุปว่า การบริหารโดยระบบการควบคุมคุณภาพหรือกลุ่มคุณภาพ คือ กิจกรรมหรือกระบวนการแก้ไขปัญหาและควบคุมคุณภาพด้วยกลุ่ม ฉะนั้น การบริหารโดยระบบควบคุมคุณภาพหรือกลุ่มคุณภาพ หมายถึง กิจการร่วมกันของ กลุ่มพนักงานรวมตัวกัน โดยสมัครใจ เพื่อปรับปรุงและแก้ไขปัญหาขององค์การ ทั้งนี้ ต้องไม่ขัดต่อนโยบายหลักขององค์การ

กิจกรรมของ Q.C.C. แบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ

1. กิจกรรมที่สามารถวัดหรือคำนวณออกมาเป็นตัวเลขได้

- การเพิ่มผลผลิต

- การลดจำนวนของเสียของผลิตภัณฑ์

- การลดจำนวนของลูกค้าที่ส่งคืน เนื่องจากผลผลิตภัณฑ์ที่ส่งไปไม่ได้คุณภาพตามที่ ลูกค้าต้องการ

- การลดค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ลง

2. กิจกรรมที่มาสามารถวัดหรือคำนวณออกมาเป็นตัวเลขได้

- ทำให้ความร่วมมือของพนักงานดีขึ้น

- ทำให้ขวัญและกำลังใจของพนักงานดีขึ้น

- ทำให้พนักงานมีความรับผิดชอบสูงขึ้น

- ลดความขัดแย้งในการทำงานลง

แนวความคิดพื้นฐานของ Q.C.C.

ในการนำกิจกรรมของ Q.C.C. มาใช้ในวงการธุรกิจในสมัยปัจจุบันเนื่องจากมีวัตถุประสงค์เป็นพื้นฐานดังนี้ ( ลีลา สินานุเคราะห์ 2530 : 40 )

1. เพื่อประโยชน์ในการปรับปรุงและการพัฒนารัฐวิสาหกิจ

2. เพื่อสร้างสถานที่ทำงานให้น่าอยู่ สร้างบรรยากาศในองค์การให้แจ่มใส

3. เพื่อดึงความสามารถทั้งหมดทีมีอยู่ในบุคคล ออกมาใช้ให้ได้ประโยชน์เต็มที่ จนถึงขีดสูงสุดแห่ง

ความสามารถที่เขามีอยู่

หลักการสำคัญของ Q.C.C.

หลักกานที่สำคัญในการนำกิจกรรมกลุ่มควบคุณภาพมาพัฒนา ในด้านการบริหารงานธุรกิจปัจจุบันนี้ ก็เนื่อง จากแนวความคิดในการบริหารสมัยใหม่ ต้องการให้พนักงานในระดับหัวหน้าและพนักงานทั่วไปมีความสำนึก 4 ประการ คือ

1. การมีส่วนร่วมในการบริหารงาน ( Participated by Every - one )

2. การทำงานร่วมกันเป็นทีมอย่างมีระบบ ( Teamwork Consciousness )

3. การรู้จักแก้ปัญหาเฉพาะหน้าด้วยตนเอง ( Problem Consciousness

4. การรู้จักปรับปรุงด้วยตนเอง ( Improvement Consciousness

ฉะนั้น การบริหารงานโดยระบบควบคุมคุณภาพหรือกลุ่มคุณภาพ นอกจากให้สมาชิกที่ร่วมกลุ่มได้มีจิต สำนึกใน 4 ประการ ข้างต้นแล้ว ยังต้องอาศัยหลักการของวัฎจักรเดมิ่ง ( Deming Cycle )ในการดำเนินงาน ซึ่งประกอบด้วย 4 ขั้นตอนด้วยกัน คือ

1. การวางแผน ( Plan : P )

2. การปฏิบัติ ( Do : D ))

3. การตรวจสอบ ( Check : C )

4. การแก้ไขปรับปรุง (Action : A )

นางสาววิมล วิจิตรกิ่ง 5050504505 กศ.ปช.รุ่น11หมู่5

การบริหารจัดการแบบ Six Sigma (6σ)

การบริหารจัดการแบบ Six Sigma ถือว่าเป็นการบริหาร TQM ขั้นสูงหรือแบบฉบับ สุดยอดของ TQM (Forrest W. Breyfogel et.al : 5) ทำให้คุณภาพและกระบวนการขององค์กร ต่าง ๆ มีการปรับปรุงคุณภาพ การเพิ่มผลผลิต การลดค่าใช้จ่ายได้มากมาย การที่มีการประกอบการที่ดีเยี่ยมเป็นองค์กรที่มีคุณค่าสามารถครองใจลูกค้า และมีการครอบครองตลาดเพิ่มขึ้น ระบบ TQM ต่างจาก Six Sigma ตรงที่ Six Sigma มุ่งมั่นที่จะให้สินค้ามีข้อบกพร่องของเสียเป็นศูนย์ (Zero Defect) ยกตัวอย่างเช่น บริษัท Motorola ในสหรัฐอเมริกาใช้เวลา 5 ปี เพื่อให้ของเสียทุกล้านชิ้นเป็น 3.4 แม้ถึงเวลาจะทำไม่ได้ตามเป้าแต่ทุกคนก็พยายามทำให้ได้ Gorge Eckes (2001) ได้ให้ความหมายของ Six Sigma คือวิธีการใช้กลยุทธ์ปรับปรุงธุรกิจ เพื่อหาแนวทางใน การเพิ่มความพึงพอใจให้แก่ลูกค้าและทำให้องค์กรมีความมั่นคงและมั่งคั่ง

Six Sigma (6σ) คือ ปรัชญาของการทำธุรกิจโดยเน้นการกำจัดสิ่งบกพร่อง ผ่านองค์ความรู้ที่เป็นกระบวนการ วิธีการของ Six Sigma เป็นการบูรณาการหลักการทางธุรกิจ สถิติ วิศวกรเข้าด้วยกันเพื่อให้บรรลุผลเชิงประจักษ์ เครื่องมือของ Six Sigma สามารถนำมาใช้ปรับปรุงกระบวนการและผลผลิตของบริษัท ใช้ได้กับทุกสาขาอาชีพรวมถึงการผลิต การขาย การตลาด การออกแบบ การบริหารจัดการและการบริการ Six Sigma จะให้ผลตอบแทนคือ กำไรที่จับต้องได้อย่างเป็นล่ำเป็นสัน เมื่อนำมาใช้กับพนักงานในองค์กรอย่างชำนาญจะทำให้เกิดประโยชน์ ดังนี้

1.Six Sigma จะลดค่าใช้จ่ายถึง 50 % หรือมากกว่านั้นโดยกรรมวิธี self – funded Approach เพื่อที่จะปรับปรุงการดำเนินให้ดีขึ้น

2.Six Sigma จะลดห่วงโซ่ของเสีย (Reduce the waste chain)

3.Six Sigma จะสนองความเข้าใจและความต้องการของลูกค้ามากขึ้น

4.Six Sigma จะส่งเสริมปรับปรุงการจัดส่งและการปฏิบัติงานให้มีคุณภาพ

5.Six Sigma จะจัดปัจจัยการนำเข้าที่เป็นกระบวนการสำคัญที่จำเป็นเพื่อตอบสนองต่อความต้องการของ ลูกค้า

6.Six Sigma จะพัฒนาผลผลิตและกระบวนการผลิตให้ดีขึ้น

7.Six Sigma จะกระตุ้นให้มีการปรับปรุงอย่างรวดเร็วด้วยทรัพยากรภายในที่มีอยู่

นายปิยะพงษ์ จิตรสุภ 5050504522 กศ.ปช.รุ่น11หมู่5

1 การควบคุมคุณภาพ (Quality Control หรือ QC) หมายถึง กิจกรรมและกลวิธีการปฏิบัติเพื่อสนองความต้องการด้านคุณภาพภายในธุรกิจ โดยการตรวจสอบ การวัด และการทดสอบที่มุ่งจะควบคุมวัตถุดิบ กระบวนการ และการกำจัดสาเหตุของข้อบกพร่องที่เกิดขึ้นจากการดำเนินการทั้งหมด เช่น การสุ่มตัวอย่างน้ำผลไม้กระป๋องมาตรวจสอบรสชาติ

การควบคุมคุณภาพเน้นการตรวจสอบและแยกแยะของดีและของเสียออกจากกัน โดยระบุเป็นร้อยละของของเสียที่พบจากล็อตการผลิต เพื่อควบคุมมิให้ของเสียมีมากเกินกว่าที่กำหนดและในปัจจุบันการควบคุมคุณภาพมุ่งเน้นที่ของเสียต้องเป็นศูนย์ (Zero Defect)

2.การประกันคุณภาพ (Quality Assurance หรือ QA) หมายถึง การดำเนินการเพื่อสุขภาพตามระบบและแผนงานที่วางไว้อย่างเคร่งครัด เพื่อที่จะมั่นใจได้ว่าผลิตภัณฑ์หรือบริการมีคุณภาพตามที่ลูกค้าต้องการ เช่น การดำเนินงานตามมาตรฐานคุณภาพสากล ISO 9000

3 การบริหารคุณภาพ (Quality Management หรือ QM) หมายถึง การจัดการระบบคุณภาพโดยทุกคนที่เกี่ยวข้องทั้งภายในและภายนอกองค์การรับผิดชอบต่องานที่ตนเองกระทำอย่างเต็มที่เพื่อให้สินค้าและบริการเป็นไปตามต้องการของลูกค้า เช่น การใช้ระบบการบริหารคุณภาพสมบูรณ์แบบ (Total Quality Management หรือ TQM)

วัตถุประสงค์หลักของการบริการคุณภาพ คือ การผลิตสินค้าหรือบริการที่ตอบสนองความต้องการของลูกค้า ซึ่งความต้องการของลูกค้าจะเป็นกรอบกำหนดระบบคุณภาพขององค์การทั้งทางตรงและทางอ้อม ดังนั้นการบริหารคุณภาพจะมุ่งสร้างความพึงพอใจให้แก่ลูกค้าเป็นสำคัญ

นางสาววิมล วิจิตรกิ่ง 5050504505 กศ.ปช.รุ่น11หมู่5

การบริหารคุณภาพ คือ การตั้งเป้าหมายในเรื่องคุณภาพ เพื่อสร้างความมั่นใจให้แก่ลูกค้า เมื่อพูดถึงคำว่า คุณภาพ ขอให้ความหมายของคำว่าคุณภาพคือ คุณภาพมาจากภาษา ละตินว่า Qualitas หรือ Qualis ซึ่งปรมาจารย์ด้านคุณภาพหลายท่านได้ให้คำนิยาม (definition) ที่มีความหลากหลายมุมมอง มีรายละเอียดดังนี้ การจัดการคุณภาพทั้งองค์กรของระบบ TQM ความหมายของคำว่า การจัดการคุณภาพทั้งองค์กร พอแยกสรุปประเด็นได้ดังต่อไปนี้ - คุณภาพทั้งองค์กร เป็นเรื่องของผลผลิต การบริการ คน กระบวนการและสภาพแวดล้อมในการที่จะทำให้เกิดคุณภาพและมาตรฐานตามความต้องการและความคาดหวังของลูกค้า - คุณภาพทั้งองค์กร เป็นสิ่งที่ตรงกับความต้องการของลูกค้า การผลิตสินค้าจะต้องคำนึงถึงความต้องการของลูกค้าและตลาดเป็นอันดับแรก เช่นเดียวกับการผลิตนักศึกษาของสถาบันการศึกษา ต้องทำให้เกิดคุณสมบัติตรงกับความต้องการของผู้ประกอบการหรือผู้ว่าจ้างงาน แต่ผลผลิตของเราจะดีได้ต้องมีหลักสูตรที่ดี เนื้อหาทันสมัย ครูอาจารย์มีคุณภาพ มีเครื่องอำนวยความสะดวกและสภาพแวดล้อมการเรียนการสอนได้มาตรฐาน ฝ่ายสนับสนุนขั้นพื้นฐานและฝ่ายบริหารต้องมีประสิทธิภาพและมีหัวใจในการให้บริการ - คุณภาพทั้งองค์กร เป็นงานของทุกคน ทุกคนต้องมีส่วนร่วมในการคิดวางแผนประเมินผลในองค์กรของตัวเองเพื่อเป็นไปตามเหตุผลนี้คุณภาพจะเกิดขึ้นเอง - คุณภาพทั้งองค์กร ควรมีการปรับปรุงอย่างต่อเนื่องหรือ (Kaizen) หรือ Continuos Improvement มีความจำเป็นต้องปรับปรุงและพัฒนาอย่างสม่ำเสมอ ผลผลิตจะมีคุณภาพได้ 100 % ต่อเมื่อมีการปรับปรุงงานและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง - คุณภาพทั้งองค์กร จะต้องมีผู้นำในการคิดเป็น แก้ปัญหาเป็น สามารถนำมาปฏิบัติและเป็นผู้สนับสนุนให้ความช่วยเหลือที่ดี ในขณะเดียวกันสถาบันการศึกษาต้องนำสังคม สามารถเรียนรู้จากการทำ Benchmark ได้ ไม่ลอกเลียนใคร - คุณภาพทั้งองค์กร เป็นสิ่งที่มากับระบบและอยู่ในระบบ ไม่ใช่อยู่ที่ตัวบุคคลอย่างเดียว ข้อบกพร่องและข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้นในองค์กรและการปฏิบัติงาน ส่วนใหญ่เกิดมาจากระบบการบริหารจัดการขององค์กรที่ไม่ดีและมีปัญหา คุณภาพจะเกิดขึ้นยาก ถ้าระบบการบริหารและการทำงานยังไม่มีระบบที่ดีขาดประสิทธิภาพ ไม่มีความเป็นอิสระและขาดความคล่องตัวในการทำงาน เช่น ระบบการบริหารจัดการยังเป็นแบบใช้ศูนย์รวมอำนาจ สั่งการจากระดับบนอย่างเดียวคุณภาพจะเกิดขึ้นได้ยากเช่นเดียวกัน - คุณภาพทั้งองค์กร เกิดจากการให้ความยกย่อง การยอมรับและให้การสรรเสริญ การให้รางวัล การให้ขวัญกำลังใจแก่คนดี การปรับปรุงและพัฒนาคุณภาพจะเป็นงานที่ต้องทำอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นจำเป็นต้องมีการให้รางวัลและการยกย่องเกียรติคุณอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง - คุณภาพทั้งองค์กร เกิดขึ้นได้จากการทำงานเป็นทีม มีการระดมสมองและความคิด เพื่อหาวิธีแก้ปัญหาบนพื้นฐานของข้อมูลและข้อเท็จจริง ทุกคนมีส่วนร่วมรับผิดชอบและเป็นการใช้การตัดสินใจด้วยคณะทำงาน ทำให้เห็นว่าความสำเร็จของงานเป็นของทุกคน - คุณภาพทั้งองค์กร เกิดจากการแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ มีการปรับปรุงเพื่อให้เกิดคุณภาพขึ้นอย่างเป็นกระบวนการในการแก้ปัญหาทั้งองค์กร

นายเธียรชัย กฤษณะวานิช 5050504517 กศ.ปช.รุ่น 11 หมุ่5

ประโยชน์ของการทำไคเซ็น

การทำไคเซ็นเป็นการสนับสนุนให้เกิด "การใช้ความคิด" ไม่ใช่ "การตรากตรำทำงาน" การทำไคเซ็นไม่ใช้ทำเพื่อเพิ่มภาระ แต่มุ่งที่จะลด/เลิกภาระที่ไม่จำเป็นหรือเปลี่ยน ไปสู่วิธีอื่นที่เหมาะสมกว่า ไคเซ็นทำไปเพื่อความสะดวกสบายในการทำงานของตนเอง แนวคิดของไคเซ็นก็คือ เมื่อทำไคเซ็น คนที่สบายขึ้นก็คือตัวเราเอง การไม่ทำ ไคเซ็นคนที่ลำบากก็คือตัวเราเองถ้าไม่ทำไคเซ็นให้กับงานของตนเอง ก็ไม่มีใครสามารถจะทำให้ได้ สิ่งที่ทำด้วยความไม่อยากทำไม่อาจเป็นไคเซ็นไปได้ ระบบไคเซ็นจะเป็นไปได้เมื่อผู้ทำเห็นว่าการทำไคเซ็นนั้นเป็นประโยชน์ต่อตนเอง และทำไปด้วยความเต็มใจ

คุณลักษณะของกิจกรรมไคเซ็น

กิจกรรมไคเซ็นจะมี 2 มุมมอง นั่นคือ การให้ความสนใจต่อการดำเนินงานหรือการผลิตแบบเซลล์และการไหลของระบบงานที่มุ่งปรับปรุงทั่วทั้งองค์กร จากนิยามของคำว่า ไคเซ็น คือการมุ่งปรับปรุงแบบค่อยเป็นค่อยไปอย่างต่อเนื่อง สำหรับในสหรัฐอเมริกาได้มีคำพ้องที่มีความหมายเดียวกับไคเซ็น นั่นคือ เหตุการณ์ไคเซ็น (Kaizen Event) หรือ “Kaizen Blitz” ซึ่งมุ่งโครงการปรับปรุงกระบวนการระยะสั้น โดยทั่วไปเหตุการณ์ไคเซ็นจะมุ่งเป้าหมายสำหรับการปรับปรุงที่การดำเนินการจัดทำเซลล์การทำงาน (Work cell Implementation) การลดเวลาการตั้งเครื่อง (Setup Reduction) และกิจกรรม 5 ส. ซึ่งกิจกรรมเหล่านี้อาจใช้คำภาษาญี่ปุ่นว่า “Kaikaku” โดยมีลักษณะสำคัญ ดังนี้

1)มุ่งดำเนินการในช่วงระยะเวลาอันสั้น (Short-term) โดยทั่วไปเหตุการณ์ไคเซ็นจะใช้ช่วงระยะเวลาตั้งแต่เริ่มต้นจนสิ้นสุดประมาณ 3-10 วัน ดังตัวอย่างของกำหนดการ ดังนี้

วันที่ 1 ฝึกอบรมเกี่ยวกับเครื่องมือลีนและแนวคิดไคเซ็นให้กับทีมงาน เช่น แผนภูมิสายธารแห่งคุณค่า (Value Stream Mapping) การลดเวลาตั้งเครื่อง การจัดเซลล์การผลิต กิจกรรม 5ส.

วันที่ 2-4 ดำเนินการจัดทำข้อมูลในรูปเอกสารที่เกี่ยวกับสภาพปัจจุบันของกระบวนการหรือพื้นที่เป้าหมาย โดยมีการระดมสมองเพื่อเสนอแนวทางการปรับปรุง รวมทั้งสภาพหลังการปรับปรุง (Future State) และจัดทำเอกสารมาตรฐานหลังการเปลี่ยนแปลง (Standardize)

วันที่ 5 จัดเตรียมเอกสารรายงานผลลัพธ์จากการศึกษาเพื่อนำเสนอต่อผู้บริหาร

ทั้งนี้ ในช่วงเวลาดังกล่าวทางทีมงานจะใช้เครื่องมือต่าง ๆ เช่น แผนภูมิวิเคราะห์การไหล เป็นต้น เพื่อใช้วิเคราะห์กระบวนการ (Process Analysis) โดยมุ่งศึกษาสภาพของกระบวนการปัจจุบันเพื่อจำแนกปัญหาและผลกระทบที่เกิดขึ้น

2)มุ่งการทำงานเป็นทีม (Team-oriented) โดยมีการร่วมมือและประสานงานระหว่างทีมงานข้ามสายงาน (Cross-functional Team) ประกอบด้วยผู้เกี่ยวข้องจากฝ่ายงานต่าง ๆ ตลอดจนทีมงานปรับปรุงกระบวนการและหัวหน้างานที่เกี่ยวข้อง เพื่อร่วมศึกษาปัญหาที่เกิดขึ้นในกระบวนการทำงานและการร่วมเสนอแนะแนวทางปรับปรุง

3)การมุ่งจุดเน้น (Highly Focused) เมื่อได้มีการระบุจำแนกปัญหาจากผลลัพธ์ในช่วงศึกษากระบวนการแล้วทางทีมงานก็จะดำเนินการด้วยการ จัดทำเอกสาร การวิเคราะห์และปรับปรุงด้วยแนวทางแก้ปัญหา

4)มุ่งเน้นการปฏิบัติการ (Action-oriented) โดยให้ความสนใจต่อการเปลี่ยนแปลงกระบวนการที่ต้องดำเนินการปรับปรุงและดำเนินการทันที่เมื่อได้สรุปแนวทางแก้ไขปัญหาหรือได้รับอนุมัติให้ดำเนินการ ดังเช่น ปรับปรุงผังการวางเครื่องจักร (Equipment Layout) และเมื่อดำเนินกิจกรรมปรับปรุงเสร็จสิ้นก็จะทำการติดตามผลลัพธ์ โดยมีการจัดทำเอกสารเพื่อเปรียบเทียบผลิตภาพระหว่างช่วงก่อนและหลังการปรับปรุง

5)สามารถทวนสอบด้วยมาตรวัด (Verifiable Metrics) โดยทั่วไปการปรับปรุงกระบวนการจะต้องสามารถวัดผลและตรวจสอบผลลัพธ์ด้วยมาตรวัด (Metrics) เช่น การใช้พื้นที่ (Floor Space) ในกระบวนการ ระยะทางขนถ่ายที่ลดลง จำนวนงานค้างระหว่างผลิต (Work-in-Process) เวลาที่ใช้สำหรับการตั้งเครื่อง (นาที) อัตราของเสียที่เกิดขึ้น

6)การดำเนินซ้ำ (Repetitive) สำหรับการดำเนินกิจกรรม Kaizen Events จะต้องมีความต่อเนื่องตามแนวทางการปรับปรุงและขอบเขตที่กำหนดไว้ เพื่อให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืนโดยได้รับความร่วมมือจากทีมงานและบุคลากรทุกคน

นายยุทธนา แทงตลาด 5050504525 การจัดการทั่วไป รุ่น 11 หมู่ 5

การทำงานแบบทันเวลาพอดี (Just-in-Time:JIT)

การทำงานแบบทันเวลาพอดีเป็นการจัดสภาพแวดล้อมในการดำเนินงานให้มีควมเหมาะสมสอดคล้องกันกับจำนวนบุคลากร ปริมาณวัตถุดิบและสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ที่มีความจำเป็นต้องใช้ในการดำเนินงาน โดยเน้นที่การกำจัดสิ่งที่เปล่าประโยชน์ที่อาจจะเกิดขึ้นจากการทำงานที่ไม่มีประสิทธิภาพ เช่น ของเสียจากการใช้วัตถุดิบ ช่วงเวลาที่ศูนย์เปล่า เป็นต้นสำหรับในส่วนบุคลากรนั้นจะต้องมีการฝึกอบรมให้มีทักษะความชำนาญในการปฏิบัติงานที่มีความหลากหลายเพื่อให้บุคลากรเหล่านั้นนำความรู้ไปใช้ในการควบคุมกระบวนการผลิตได้ในหลายแผนกงานหรือทำการควบคุมเครื่องจักรได้หลายชนิดในกระบวนการผลิต

ประโยชน์ที่ได้รับจากการทำงานแบบทันเวลาพอดี

1.เกิดการเปลี่ยนแปลงของกระบวนการคำเนินงานดีขึ้น

2.ลดหรือกำจัดเวลาที่สูญเปล่า(เคลื่อนย้าย ขนส่ง ตรวจนับ ตรวจสอบ)

3.ต้นทุนของผลิตภัณฑ์และบริการในเวลาดำเนินงานลดลง

4.คุณภาพของผลิตภัณฑ์หรือบริการที่เพพพพพิ่มขึ้น

5.สร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้าเพิ่มขึ้น

6.เพิ่มความสามารถให้กับพนักงานในองค์การ

7.การดำเนินงานบรรลุถึงความสำเร็จจากการพัฒนาและปรับปรุงที่มีอย่างต่อเนื่อง

นางเอื้อมวงศ์ เรืองปลอด 5050504509 การจัดการทั่วไป รุ่น 11 หมู่ 5

การบริหารจัดการแบบ Six Sigma Six Sigma (6σ) คือ ปรัชญาของการทำธุรกิจโดยเน้นการกำจัดสิ่งบกพร่อง ผ่านองค์ความรู้ที่เป็นกระบวนการ วิธีการของ Six Sigma เป็นการบูรณาการหลักการทางธุรกิจ สถิติ วิศวกรเข้าด้วยกันเพื่อให้บรรลุผลเชิงประจักษ์ เครื่องมือของ Six Sigma สามารถนำมาใช้ปรับปรุงกระบวนการและผลผลิตของบริษัท ใช้ได้กับทุกสาขาอาชีพรวมถึงการผลิต การขาย การตลาด การออกแบบ การบริหารจัดการและการบริการ Six Sigma จะให้ผลตอบแทนคือ กำไรที่จับต้องได้อย่างเป็นล่ำเป็นสัน เมื่อนำมาใช้กับพนักงานในองค์กรอย่างชำนาญจะทำให้เกิดประโยชน์ ดังนี้ 1.Six Sigma จะลดค่าใช้จ่ายถึง 50 % หรือมากกว่านั้นโดยกรรมวิธี self – funded Approach เพื่อที่จะปรับปรุงการดำเนินให้ดีขึ้น 2.Six Sigma จะลดห่วงโซ่ของเสีย (Reduce the waste chain) 3.Six Sigma จะสนองความเข้าใจและความต้องการของลูกค้ามากขึ้น 4.Six Sigma จะส่งเสริมปรับปรุงการจัดส่งและการปฏิบัติงานให้มีคุณภาพ 5.Six Sigma จะจัดปัจจัยการนำเข้าที่เป็นกระบวนการสำคัญที่จำเป็นเพื่อตอบสนองต่อความต้องการของ ลูกค้า 6.Six Sigma จะพัฒนาผลผลิตและกระบวนการผลิตให้ดีขึ้น 7.Six Sigma จะกระตุ้นให้มีการปรับปรุงอย่างรวดเร็วด้วยทรัพยากรภายในที่มีอยู่ กลับขึ้นข้างบน

นางสาวประถิดา พรหมทา 5050504504 กศ.ปช.รุ่น11หมู่5

ต้นทุนคุณภาพ คือ อะไร ?

จากงานวิจัยพบว่า ต้นทุนของสินค้าที่ไม่ได้คุณภาพอยู่ระหว่าง 15%-40% ของต้นทุนในธุรกิจ เช่น ต้นทุนที่เกิดจากการคืนสินค้า การบริการ และการซ่อม เป็นต้น

ธุรกิจส่วนใหญ่ไม่ทราบว่าต้นทุนคุณภาพของพวกเขาเป็นอย่างไร เพราะไม่มีการเก็บข้อมูลให้เป็นรูปธรรม ซึ่งต้นทุนคุณภาพประกอบด้วย :

•External Failure Cost เช่น ต้นทุนการบริการเมื่อมีการคืนสินค้าค่าขนส่ง

•Internal Failure Cost เช่น ต้นทุนของสินค้าที่เสีย และค่าแรงพนักงาน

•Inspection Cost เช่น ค่าแรงพนักงานตรวจสอบ ค่าเครื่องมือตรวจสอบ

•Prevention Cost เช่น ค่าปรับกระบวนการผลิต การวางแผนคุณภาพ และการฝึกอบรม

ต้นทุนแฝง แพงกว่าต้นทุนคุณภาพ

สินค้าที่ด้อยคุณภาพ ไม่เพียงแต่จะทำให้เกิดต้นทุนคุณภาพเท่านั้น แต่ยังทำให้เกิดต้นทุนแฝง เช่น ท่านต้องสูญเสียลูกค้าดี ๆ ไป เสียชื่อเสียง และการปฏิเสธสินค้านั้นจากลูกค้า ซึ่งต้นทุนตัวนี้มีมูลค่ามากกว่าต้นทุนคุณภาพ

ตรวจสอบคุณภาพช่วยลดต้นทุนได้

การลดต้นทุนของการตรวจสอบ (Inspection Cost) ไม่ใช่เป็นวิธีการช่วยในการลดต้นทุนคุณภาพ แต่อาจเป็นตัวเพิ่มต้นทุนคุณภาพ การเพิ่มประสิทธิภาพในการตรวจสอบจะช่วยให้ต้นทุนคุณภาพลดลงได้

นายปกรณ์ กลิ่นศรีสุข 5050504520 กศ.ปช. รุ่น 11 หมู่ 5

กิจกรรม Q.C.C. คืออะไร?

Q.C.C. ย่อมาจาก Quality Control Circle หมายถึงกิจกรรมที่พนักงานในกลุ่มซึ่งจัดตั้งขึ้นมาโดยความสมัครใจได้ร่วมกันดำเนินการเพื่อปรับปรุงวิธีการทำงานให้มีคุณภาพดียิ่งขึ้น วิธีการบริหารนี้ได้ถูกคิดขึ้นโดย Dr.Deming ชาวอเมริกัน ต่อมาชาวญี่ปุ่นได้พัฒนาแนวคิดดังกล่าวในปี 1962 จนกระทั่งกลายเป็นกระบวนการในการพัฒนาและปรับปรุงการทำงาน อย่างต่อเนื่องที่มีประสิทธิภาพ คำว่า Q.C.C. ประกอบไปด้วยคำ 3 คำที่มีความหมายดังนี้ คือ

Q = Quality : หมายถึง คุณภาพใน 3 ด้านหลัก ได้แก่ คุณภาพงาน คุณภาพชีวิตและคุณภาพ

สิ่งแวดล้อม

C = Control : หมายถึง การควบคุมหรือการกระทำ ให้คุณภาพทั้ง 3 ข้างต้นอยู่ในระดับที่ต้องการ

หรือในระดับมาตรฐานที่ดี

C = Circle : หมายถึง วงจรควบคุมคุณภาพอย่างต่อเนื่อง 7 ขั้นตอน และยังหมายถึงวงจรเดมมิ่งอัน

ประกอบด้วย P.D.C.A. ซึ่งย่อมาจาก Plan, Do, Check, Action

วัตถุประสงค์ของการทำกิจกรรม Q.C.C.

กิจกรรม Q.C.C. มุ่งแก้ไขปัญหาการทำงาน โดยการส่งเสริมให้พนักงานทุกคนมีส่วนร่วมในการแสดงออกและพัฒนาขีดความสามารถของตนเอง ผ่านการเรียนรู้ซึ่งกันและกัน ทำให้เกิดความภาคภูมิใจในผลงานซึ่งเกิดขึ้นจากพนักงานตั้งแต่ระดับล่างขึ้นมาจนถึงระดับบน ทำให้เกิดความสามัคคี อีกทั้งยังเป็นการสร้างวัฒนธรรมองค์กรที่ดีให้เกิดขึ้นอีกด้วย อันจะเป็นประโยชน์ต่อองค์กรในการตอบสนองความต้องการของลูกค้า การลดต้นทุนและเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานให้ดียิ่งขึ้น

กระบวนการจัดทำกิจกรรม Q.C.C.

การทำกิจกรรม Q.C.C. ให้ประสบผลสำเร็จนั้น จำเป็นต้องต้องได้รับความร่วมมือจากพนักงานทุกคน ภายใต้ความเห็นชอบและสนับสนุนของผู้บริหารในองค์กร พนักงานต้องให้ความสำคัญและมองเห็นประโยชน์ที่จะได้รับจากการดำเนินกิจกรรมดังกล่าวจึงจะบรรลุเป้าหมายที่ต้องการ ดังนั้นองค์กรใดต้องการดำเนินกิจกรรมนี้จึงควรพิจารณาทำความเข้าใจขั้นตอนสำคัญๆ อันประกอบไปด้วย

• จัดฝึกอบรมเพื่อให้ความรู้แก่พนักงานอย่างทั่วถึง

• จัดตั้งคณะทำงานเพื่อประชาสัมพันธ์ ส่งเสริมและสนับสนุนการทำกิจกรรม

• พนักงานจัดกลุ่มย่อย ประกอบด้วยสมาชิกจากส่วนงานต่างๆ จำนวน 5-7 คนต่อกลุ่ม

• กลุ่มระบุมูลเหตุจูงใจที่ทำให้สนใจในปัญหาที่หยิบยกขึ้นมาแก้ไขโดยกลุ่มนั้นๆ

• หาสาเหตุของปัญหาด้วยเทคนิคที่ได้เรียนรู้

• ระดมสมองเพื่อกำหนดมาตรการแก้ไข

• ติดตามและวัดผลลัพธ์ภายหลังการแก้ไข

• จัดทำมาตรฐานการทำงาน

• นำเสนอผลงานเพื่อให้ส่วนรวมได้รับทราบ

• ดำเนินกิจกรรมด้วยหัวข้อปัญหาใหม่

กิจกรรม Q.C.C. จึงเป็นเครื่องมือสำคัญในการบริหารจัดการ ที่ให้ความสำคัญต่อความรู้ความสามารถของแต่ละบุคคล ซึ่งจะนำไปสู่การสร้างขวัญและกำลังใจในการทำงาน ก่อให้เกิดความสัมพันธ์อันดีในการทำงานและการประสานงานในอนาคต ดังนั้น หากองค์กรใดสามารถสร้างกลไกการทำกิจกรรมดังกล่าวจนกระทั่งการเป็นส่วนหนึ่งของการทำงานตามปกติก็ย่อมจะเป็นประโยชน์ต่อองค์กรอย่างมหาศาลในที่สุด

นางสาวประถิดา พรหมทา 5050504504 กศ.ปช.รุ่น11หมู่5

การนำหลักการ Deming มาใช้กับ TQM

คุณภาพเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างยิ่งในการดำเนินงาน ดังนั้นในการสร้างคุณภาพให้เกิดขึ้นกับองค์การ Deming ได้นำเสนอ วงจร PDCA (Plan, Do, Check, Act) เพื่อเป็นหลักในการเริ่มต้นการปรับปรุงคุณภาพอย่างต่อเนื่อง

ส่วนประกอบทั้ง 4 ด้าน สามารถอธิบายได้ดังนี้

1. การวางแผน (Plan) ขั้นตอนการวางแผนถือเป็นขั้นตอนที่สำคัญที่สุด โดยจุดเริ่มต้นจะต้องมีการตระหนักถึงปัญหาและกำหนดปัญหาที่จะแก้ไข มีการเก็บรวบรวมข้อมูล เลือกทางเลือก และวิเคราะห์ทางเลือกเพื่อเลือกวิธีที่จะใช้ในการแก้ไขปัญหา

2. การปฏิบัติ (Do) นำทางเลือกที่ตัดสินใจไปสู่การปฏิบัติโดยมั่นใจว่าผู้รับผิดชอบได้ตระหนักถึงวัตถุประสงค์ และความจำเป็นอย่างถ่องแท้แล้ว และให้ผู้ที่มีหน้าที่รับผิดชอบดำเนินงานตามแผน รู้ถึงรายละเอียดและขั้นตอนต่าง ๆ มีการจัดอบรมเพื่อดำเนินงานตามแผน และมีการจัดทรัพยากรที่จำเป็น

3. การตรวจสอบ (Check) มีการติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลการปฏิบัติงาน การประเมินควรประเมินการดำเนินงานขององค์การว่าสามารถดำเนินงานได้ตามแผนหรือไม่ และเนื้อหาสาระของแผนมีความครบถ้วนหรือไม่ หากการประเมินพบว่าผลงานออกมาได้ถูกต้องตรงตามเป้าหมายก็สามารถนำไปจัดทำเป็นมาตรฐานสำหรับการดำเนินงานในครั้งต่อไปได้

4. การปรับปรุงแก้ไข (Act) ในการปฏิบัติงานมีการกำหนดมาตรฐานจากผลการดำเนินงานเพื่อใช้เป็นแนวทางปฏิบัติในอนาคต และทำการแก้ไขในส่วนที่ทำให้ผลลัพธ์ไม่เป็นไปตามตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ เมื่อผลลัพธ์ที่ได้ได้รับการยอมรับจากทุกฝ่ายแล้วจัดทำเป็นรายงานเพื่อให้ผู้บริหารและหน่วยงานต่าง ๆ ในองค์การทราบ สิ่งที่สำคัญถ้าหากพบว่าการไม่วัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่ตั้งไว้นั้นเกิดจากการวางแผนที่ไม่ดีตั้งแต่ต้น องค์การจะต้องหาสาเหตุของการวางแผนที่ไม่ดีก่อน แล้วจึงทำการปรับปรุงคุณภาพการวางแผน และปรับปรุงเนื้อหาของแผนด้วย

องค์ประกอบที่สำคัญของ TQM 3 ประการ คือ

1. การให้ความสำคัญกับลูกค้า (Customer Oriented) ลูกค้า (Customer) เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ธุรกิจอยู่รอด และความมุ่งหมายของธุรกิจ คือ การสร้างและรักษาลูกค้า ของ Peter F. Drucker ปรมาจารย์ด้านการบริหารธุรกิจร่วมสมัย (Modern Business Management Guru) ที่กระตุ้นให้คิดว่าธุรกิจสามารถดำรงอยู่ได้ เพราะลูกค้าที่เข้ามาซื้อสินค้าหรือบริการ ไม่ว่าธุรกิจจะใหญ่เพียงใด ถ้าไม่สามารถขายสินค้าหรือบริการให้แก่ลูกค้าเป้าหมายได้ การทำธุรกิจจะไม่ประสบผลสำเร็จได้ ลูกค้าคือคุณภาพ และคุณภาพคือลูกค้า ดังนั้นพนักงานในองค์การธุรกิจทุกคน จึงต้องมีสำนึกในการปฏิบัติงานในทุกขั้นตอน ต้องสร้างผลงานที่มีคุณภาพให้กับลูกค้า ไม่ใช่เพื่อเอาใจเจ้านายเท่านั้น เพราะลูกค้าเป็นผู้ให้เงินเดือน ความสุข และความมั่นคงในชีวิต ลูกค้าจึงมีความสำคัญเป็นอันดับหนึ่งในทุกๆ องค์การ ทำให้ธุรกิจต้องติดตามเรียนรู้ และพยายามคิดแบบลูกค้า ตลอดจนให้ลูกค้ามีส่วนร่วมในการดำเนินงานและการแก้ไขปัญหาของธุรกิจ เพื่อที่จะตอบสนองความต้องการ สร้างความพอใจ และความชื่นชมจากลูกค้าได้อย่างแท้จริง

นอกจากนี้ การให้ความสำคัญกับลูกค้าจะไม่ถูกจำกัดอยู่ที่ลูกค้าจริง ๆ หรือที่เรียกว่า ลูกค้าภายนอก (External Customer) ที่ซื้อสินค้าหรือบริการของธุรกิจเท่านั้น แต่จะขยายตัวครอบคลุมไปถึงพนักงาน หรือหน่วยงานที่อยู่ถัดไปจากเรา ซึ่งรอรับผลงานหรือบริการจากเรา ที่เรียกว่า ลูกค้าภายใน (Internal Customer) โดยเราจะทำหน้าที่เป็นผู้ส่งมอบภายใน (Internal Supplier) ในการส่งมอบผลงานและสร้างความพอใจให้แก่พวกเขา ซึ่งจะสร้างความสัมพันธ์ต่อเนื่องกันเป็น ห่วงโซ่คุณภาพ (Quality Chain) จากผู้ขายวัตถุดิบ (Supplier) ผู้ส่งมอบ และลูกค้าภายใน ไปจนถึงลูกค้าภายนอกที่ซื้อสินค้าและบริการที่มีคุณภาพของธุรกิจ โดยความสัมพันธ์จะต้องเป็นระบบที่สอดคล้อง ส่งเสริม และต่อเนื่องกันอย่างเหมาะสม

ถ้าโซ่ห่วงใดมีความพกพร่อง ก็จะทำให้การส่งมอบผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพขาดความสมบูรณ์ และสร้างปัญหาขึ้น ดังนั้นพนักงานทุกคนจึงต้องมีสำนึกแห่งคุณภาพ และความเป็นเลิศ ไม่ทำงานให้เสร็จแบบขอไปที แต่ต้องระลึกเสมอว่าผลงานของเขาจะมีผลกระทบต่อคุณภาพของสินค้า หรือบริการที่ธุรกิจส่งมอบให้แก่ลูกค้า ถ้าผลงานของเขามีปัญหาก็จะส่งผลให้การดำเนินงานในขั้นต่อไปมีอุปสรรค และทำให้ลูกค้าได้รับสินค้าหรือบริการที่ไม่มีคุณภาพ ซึ่งจะมีผลกระทบในด้านลบย้อนกลับมาที่เขาในที่สุด

2. การพัฒนาอย่างต่อเนื่อง (Continuous Improvement) นวัตกรรมใหม่ที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้องค์การต้องมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง การพัฒนาอย่างต่อเนื่องจะก่อให้เกิดโมเมนตัม (Momentum) ซึ่งจะทำให้การก้าวไปข้างหน้าของธุรกิจสะดวก คล่องตัว และมีประสิทธิภาพ สามารถแก้ปัญหาและพัฒนาระบบงานที่ซับซ้อนและครอบคลุมทั้งองค์การ โดยองค์การที่ทำ TQM จะต้องกล้าตัดสินใจแก้ไขปรับปรุง และเปลี่ยนแปลง ซึ่งมีแนวทางในการดำเนินงานดังนี้

1.1ศึกษา วิเคราะห์ และทบทวนข้อมูลการดำเนินงานและสภาพแวดล้อมเพื่อหาแนวทางในการพัฒนา และปรับปรุงคุณภาพของระบบและผลลัพธ์อย่างสร้างสรรค์ และต่อเนื่อง

1.2พยายามหาวิธีในการแก้ไขปัญหา และพัฒนาการดำเนินงานที่เรียบง่ายแต่ให้ผลลัพธ์สูง

1.3ติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลงานอย่างเป็นระบบ เป็นธรรมชาติ และไม่สร้างความสูญเสียจากการตรวจสอบ

3. การมีส่วนร่วมจากพนักงาน (Employees Inovation) พนักงานทุกคนทั้งพนักงานระดับ

ล่าง และผู้บริหารในหน่วยงานจะต้องร่วมมือกัน โดยทุกแผนกต้องปฏิบัติงานในฐานะสมาชิกขององค์การคุณภาพเดียวกัน (ณัฐพันธ์ เขจรนันท์,2545:60-64)

สรุปได้ว่า TQM หมายถึง การจัดการเพื่อให้เกิดคุณภาพที่สมบูรณ์สำหรับลูกค้า ซึ่งต้องดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง และเกิดขึ้นจากการมีส่วนร่วมของสมาชิกทุกคนในองค์การ ซึ่งจะเป็นการบริหารงานที่พลวัตหรือการไม่หยุดนิ่ง

TQM จะมีขอบเขตการดำเนินงานที่กว้างขวางในการดำเนินงานซึ่งจะครอบคลุมมากกว่าการสร้างหลักประกันในคุณภาพสินค้าหรือบริการ TQM เป็นกระบวนการทางธุรกิจ เพื่อสร้างความพึงพอใจแก่ลูกค้าอย่างสมบูรณ์ครบถ้วนในทุกขั้นตอน ทั้งภายในและภายนอกองค์การ (Oakland,1993)

วัตถุประสงค์ของTQM

1. การลดต้นทุนและการพัฒนาคุณภาพสินค้าหรือบริการจะเป็นวัตถุประสงค์เบื้องต้นในการดำเนินงานด้านคุณภาพ เพื่อการดำรงอยู่ และการแข่งขันขององค์การ

2. สร้างความพอใจและความซื่อสัตย์ของลูกค้า เพราะลูกค้าเป็นบุคคลที่มีความสำคัญที่สุดสำหรับปัจจุบันและอนาคต ซึ่งธุรกิจจะต้องดำเนินงานในเชิงรุก เพื่อให้ได้และธำรงรักษาลูกค้าได้อย่างต่อเนื่อง

3. สร้างความพึงพอใจในงาน และพัฒนาคุณภาพชีวิตของพนักงานให้เขามีความมุ่งมั่นและทุ่มเทในการทำงานของธุรกิจ

4. ประสิทธิภาพในการดำเนินงานและการเจริญเติบโตในอนาคต โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อสร้างองค์การคุณภาพโดยสมบูรณ์ ซึ่งจะสอดคล้องกับปรัชญาขององค์การเรียนรู้ ที่ให้ความสำคัญกับการเรียนรู้ และพัฒนาการ เพื่อความอยู่รอดขององค์การ ซึ่งเราอาจจะกล่าวได้ว่า TQM เป็นเครื่องมือสำคัญในการสร้างองค์การเรียนรู้ (ณัฐพันธ์ เขจรนันท์,2545:66-67)

ประโยชน์ของTQM

1.ช่วยให้ผู้บริหารและองค์การสามารถรับรู้ปัญหาของลูกค้า และความต้องการที่แท้จริงของตลาด เพื่อให้การผลิตสินค้าและบริการตรงกับความต้องการตอบสนองความพึงพอใจแก่ลูกค้า

2.ให้ความสำคัญกับระบบที่เรียบง่ายและผลลัพธ์ที่ลดความสูญเสียและความสูญเปล่าในการดำเนินงาน และการบริหารต้นทุนอย่างมีประสิทธิภาพ

3.พัฒนาระบบ ขั้นตอน และการจัดเก็บข้อมูลการทำงาน ให้มีประสิทธิภาพ โปร่งใส ตรวจสอบได้ แก้ไขง่าย ไม่เสียเวลากับงานที่ไม่เพิ่มคุณค่าให้กับธุรกิจ

4.พนักงานมีส่วนร่วมในการดินเนินงาน การแก้ไขปัญหา และการสร้างรายได้ของธุรกิจ ทำให้พนักงานมีความพึงพอใจในงาน

5.มุ่งพัฒนาการดำเนินงานขององค์การ ให้มีคุณภาพสูงสุดในทุกมิติ (ณัฐพันธ์ เขจรนันท์,2545:67-68)

การนำ TQM ไปประยุกต์ปฏิบัติเพื่อให้เกิดองค์การคุณภาพ

องค์การคุณภาพ (Quality Organization) นั้นจะต้องมีการปรับเปลี่ยนตลอดเวลาเนื่องจากคุณภาพเป็นพลวัต ดังนั้นในการประเมินรูปธรรมขององค์การคุณภาพนั้นจึงค่อนข้างทำได้ยาก แต่อย่างไรก็ตามคุณสมบัติโดยทั่วไปขององค์การคุณภาพสามารถพิจารณาได้ตามเกณฑ์การพิจารณาให้รางวัลคุณภาพ Malcolm Baldrige (Malcolm Baldrige Quality Award) หรือ MBQA ของสหรัฐอเมริกา ดังนี้คือ

1. ภาวะผู้นำ (Leadership)

2. ข้อมูลสารสนเทศและการวิเคราะห์ข้อมูลสารสนเทศ (Information and Analysis)

3. การวางแผนคุณภาพเชิงกลยุทธ์(Strategic Quality Planning)

4. การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ (Human Resource Development and Management)

5. การจัดกระบวนการคุณภาพ (Management of Process Quality)

6.คุณภาพและผลการดำเนินงาน(Quality and Operation Results)

การนำ TQM ไปประยุกต์ใช้ในองค์การให้เกิดผลนั้น ต้องมีการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง และเป็นสิ่งที่คุ้มค่ามากหากองค์การสามารถดำเนินงานเพื่อสร้าง TQM ให้เกิดขึ้นในองค์การได้ ขั้นตอนในการนำ TQM ไปสู่การปฏิบัติมีดังนี้

1. การคัดเลือกและแต่งตั้งผู้รับผิดชอบในการพัฒนาคุณภาพขององค์การ โดยผู้บริหารระดับสูงที่ได้รับการยอมรับโดยทั่วไปในองค์การ และผู้ที่ผ่านการคัดเลือกต้องสามารถทำงานเต็มเวลาได้ คอยติดตาม ตรวจสอบ ประเมิน และแก้ไขปัญหาได้

2. การวางแผนปฏิบัติ ผู้บริหารและทีมงานร่วมกันกำหนดวิสัยทัศน์ นโยบาย และกลยุทธ์ด้านคุณภาพ เพื่อใช้เป็นกรอบในการกำหนดแผนระยะสั้น ระยะปานกลาง และระยะยาว โดยมีการกำหนดเวลา มีการสื่อสารให้เข้าใจทั่วทั้งองค์การเพื่อสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับการบริหารจัดการ TQM มีการพัฒนาผู้นำและสร้างทีมงาน มีการอบรมความรู้และทักษะในการบริหารคุณภาพ มีการปลูกฝังวัฒนธรรม TQM มีการจัดทำระบบเอกสารเพื่อไม่ให้เสียเวลากับงานเอกสาร มีการปรับโครงสร้างและระบบงาน มีการเปลี่ยนระบบประเมินผลและการให้รางวัลโดยให้ความสำคัญกับผลงานของทีม

3. การดำเนินงาน มีการนำแผนไปปฏิบัติอย่างเป็นระบบ ให้สอดคล้องตามแผนแม่บท เปิดโอกาสให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องมีส่วนร่วม มีการแก้ไขปัญหาที่สาเหตุและเป็นระบบ

4. ติดตาม ตรวจสอบ ประเมิน และแก้ไข มีความมุ่งมั่นในการแก้ไขปรับปรุง และหาแนวทางการปฏิบัติงานที่บรรลุคุณภาพสูงสุดอยู่เสมอ ไม่หยุดความพอใจอยู่กับความสำเร็จเดิม แต่ต้องมุ่งมั่นปรับปรุงอยู่ตลอดเวลา

5. มีการเสริมแรงเพื่อรักษาปรัชญา และวัฒนธรรมการดำเนินงานแบบ TQM ให้คงอยู่อย่างต่อเนื่อง

นายเธียรชัย กฤษณะวานิช 5050504517 กศ.ปช.รุ่น 11 หมุ่5

วัตถุประสงค์ของTQM 1. การลดต้นทุนและการพัฒนาคุณภาพสินค้าหรือบริการจะเป็นวัตถุประสงค์เบื้องต้นในการดำเนินงานด้านคุณภาพ เพื่อการดำรงอยู่ และการแข่งขันขององค์การ 2. สร้างความพอใจและความซื่อสัตย์ของลูกค้า เพราะลูกค้าเป็นบุคคลที่มีความสำคัญที่สุดสำหรับปัจจุบันและอนาคต ซึ่งธุรกิจจะต้องดำเนินงานในเชิงรุก เพื่อให้ได้และธำรงรักษาลูกค้าได้อย่างต่อเนื่อง3. สร้างความพึงพอใจในงาน และพัฒนาคุณภาพชีวิตของพนักงานให้เขามีความมุ่งมั่นและทุ่มเทในการทำงานของธุรกิจ4. ประสิทธิภาพในการดำเนินงานและการเจริญเติบโตในอนาคต โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อสร้างองค์การคุณภาพโดยสมบูรณ์ ซึ่งจะสอดคล้องกับปรัชญาขององค์การเรียนรู้ ที่ให้ความสำคัญกับการเรียนรู้ และพัฒนาการ เพื่อความอยู่รอดขององค์การ ซึ่งเราอาจจะกล่าวได้ว่า TQM เป็นเครื่องมือสำคัญในการสร้างองค์การเรียนรู้ (ณัฐพันธ์ เขจรนันท์,2545:66-67) ประโยชน์ของTQM1.ช่วยให้ผู้บริหารและองค์การสามารถรับรู้ปัญหาของลูกค้า และความต้องการที่แท้จริงของตลาด เพื่อให้การผลิตสินค้าและบริการตรงกับความต้องการตอบสนองความพึงพอใจแก่ลูกค้า2.ให้ความสำคัญกับระบบที่เรียบง่ายและผลลัพธ์ที่ลดความสูญเสียและความสูญเปล่าในการดำเนินงาน และการบริหารต้นทุนอย่างมีประสิทธิภาพ3.พัฒนาระบบ ขั้นตอน และการจัดเก็บข้อมูลการทำงาน ให้มีประสิทธิภาพ โปร่งใส ตรวจสอบได้ แก้ไขง่าย ไม่เสียเวลากับงานที่ไม่เพิ่มคุณค่าให้กับธุรกิจ4.พนักงานมีส่วนร่วมในการดินเนินงาน การแก้ไขปัญหา และการสร้างรายได้ของธุรกิจ ทำให้พนักงานมีความพึงพอใจในงาน5.มุ่งพัฒนาการดำเนินงานขององค์การ ให้มีคุณภาพสูงสุดในทุกมิติ (ณัฐพันธ์ เขจรนันท์,2545:67-68) การนำ TQM ไปประยุกต์ปฏิบัติเพื่อให้เกิดองค์การคุณภาพองค์การคุณภาพ (Quality Organization) นั้นจะต้องมีการปรับเปลี่ยนตลอดเวลาเนื่องจากคุณภาพเป็นพลวัต ดังนั้นในการประเมินรูปธรรมขององค์การคุณภาพนั้นจึงค่อนข้างทำได้ยาก แต่อย่างไรก็ตามคุณสมบัติโดยทั่วไปขององค์การคุณภาพสามารถพิจารณาได้ตามเกณฑ์การพิจารณาให้รางวัลคุณภาพ Malcolm Baldrige (Malcolm Baldrige Quality Award) หรือ MBQA ของสหรัฐอเมริกา ดังนี้คือ1. ภาวะผู้นำ (Leadership)

2. ข้อมูลสารสนเทศและการวิเคราะห์ข้อมูลสารสนเทศ (Information and Analysis)

3. การวางแผนคุณภาพเชิงกลยุทธ์(Strategic Quality Planning)

4. การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ (Human Resource Development and Management)

5. การจัดกระบวนการคุณภาพ (Management of Process Quality)

6.คุณภาพและผลการดำเนินงาน(Quality and Operation Results)การนำ TQM ไปประยุกต์ใช้ในองค์การให้เกิดผลนั้น ต้องมีการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง และเป็นสิ่งที่คุ้มค่ามากหากองค์การสามารถดำเนินงานเพื่อสร้าง TQM ให้เกิดขึ้นในองค์การได้ ขั้นตอนในการนำ TQM ไปสู่การปฏิบัติมีดังนี้

1. การคัดเลือกและแต่งตั้งผู้รับผิดชอบในการพัฒนาคุณภาพขององค์การ โดยผู้บริหารระดับสูงที่ได้รับการยอมรับโดยทั่วไปในองค์การ และผู้ที่ผ่านการคัดเลือกต้องสามารถทำงานเต็มเวลาได้ คอยติดตาม ตรวจสอบ ประเมิน และแก้ไขปัญหาได้

2. การวางแผนปฏิบัติ ผู้บริหารและทีมงานร่วมกันกำหนดวิสัยทัศน์ นโยบาย และกลยุทธ์ด้านคุณภาพ เพื่อใช้เป็นกรอบในการกำหนดแผนระยะสั้น ระยะปานกลาง และระยะยาว โดยมีการกำหนดเวลา มีการสื่อสารให้เข้าใจทั่วทั้งองค์การเพื่อสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับการบริหารจัดการ TQM มีการพัฒนาผู้นำและสร้างทีมงาน มีการอบรมความรู้และทักษะในการบริหารคุณภาพ มีการปลูกฝังวัฒนธรรม TQM มีการจัดทำระบบเอกสารเพื่อไม่ให้เสียเวลากับงานเอกสาร มีการปรับโครงสร้างและระบบงาน มีการเปลี่ยนระบบประเมินผลและการให้รางวัลโดยให้ความสำคัญกับผลงานของทีม

3. การดำเนินงาน มีการนำแผนไปปฏิบัติอย่างเป็นระบบ ให้สอดคล้องตามแผนแม่บท เปิดโอกาสให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องมีส่วนร่วม มีการแก้ไขปัญหาที่สาเหตุและเป็นระบบ

4. ติดตาม ตรวจสอบ ประเมิน และแก้ไข มีความมุ่งมั่นในการแก้ไขปรับปรุง และหาแนวทางการปฏิบัติงานที่บรรลุคุณภาพสูงสุดอยู่เสมอ ไม่หยุดความพอใจอยู่กับความสำเร็จเดิม แต่ต้องมุ่งมั่นปรับปรุงอยู่ตลอดเวลา

5. มีการเสริมแรงเพื่อรักษาปรัชญา และวัฒนธรรมการดำเนินงานแบบ TQM ให้คงอยู่อย่างต่อเนื่อง

นายปิยะพงษ์ จิตรสุภ 5050504522 กศ.ปช.รุ่น11หมู่5

คุณภาพมาสู่แนวทางการดำเนินการเพื่อคุณภาพที่ดีนั้น ได้มีคำหลายคำที่ใช้ในการบ่งบอกถึงการปฏิบัติการเกี่ยวกับคุณภาพ เช่น ระบบคุณภาพ การควบคุมคุณภาพ การประกันคุณภาพ หรือ การบริหารงานคุณภาพ ฯลฯ ซึงมีความหมายแตกต่างกันดังต่อไปนี้

1. การควบคุมคุณภาพ (Quality Control หรือ QC) หมายถึง กิจกรรมและกลวิธีการปฏิบัติเพื่อสนองความต้องการด้านคุณภาพภายในธุรกิจ โดยการตรวจสอบ การวัด และการทดสอบที่มุ่งจะควบคุมวัตถุดิบ กระบวนการ และการกำจัดสาเหตุของข้อบกพร่องที่เกิดขึ้นจากการดำเนินการทั้งหมด เช่น การสุ่มตัวอย่างน้ำผลไม้กระป๋องมาตรวจสอบรสชาติการควบคุมคุณภาพเน้นการตรวจ สอบและแยกแยะของดีและของเสียออกจากกัน โดยระบุเป็นร้อยละของของเสียที่พบจากล็อตการผลิต เพื่อควบคุมมิให้ของเสียมีมากเกินกว่าที่กำหนดและในปัจจุบันการควบคุมคุณภาพ มุ่งเน้นที่ของเสียต้องเป็นศูนย์ (Zero Defect)

2. การประกันคุณภาพ (Quality Assurance หรือ QA) หมายถึง การดำเนินการเพื่อสุขภาพตามระบบและแผนงานที่วางไว้อย่างเคร่งครัด เพื่อที่จะมั่นใจได้ว่าผลิตภัณฑ์หรือบริการมีคุณภาพตามที่ลูกค้าต้องการ เช่น การดำเนินงานตามมาตรฐานคุณภาพสากล ISO 9000

3. การบริหารคุณภาพ (Quality Management หรือ QM) หมายถึง การจัดการระบบคุณภาพโดยทุกคนที่เกี่ยวข้องทั้งภายในและภายนอกองค์การรับผิด ชอบต่องานที่ตนเองกระทำอย่างเต็มที่เพื่อให้สินค้าและบริการเป็นไปตามต้อง การของลูกค้า เช่น การใช้ระบบการบริหารคุณภาพสมบูรณ์แบบ (Total Quality Management หรือ TQM) วัตถุประสงค์หลักของการบริการคุณภาพ คือ การผลิตสินค้าหรือบริการที่ตอบสนองความต้องการของลูกค้า ซึ่งความต้องการของลูกค้าจะเป็นกรอบกำหนดระบบคุณภาพขององค์การทั้งทางตรงและ ทางอ้อม ดังนั้นการบริหารคุณภาพจะมุ่งสร้างความพึงพอใจให้แก่ลูกค้าเป็นสำคัญ

นายเธียรชัย กฤษณะวานิช 5050504517 กศ.ปช.รุ่น 11 หมุ่5

ISO 9003 จะไม่ครอบคลุมเรื่องการออกแบบการจัดชื้อ การควบคุมกระบวนการและการบริการ

ดังนั้นข้อกำหนดใน ISO 9003 จึงมี 16 ข้อ

คุณภาพจำเป็นสำหรับทุกธุรกิจ

การนำระบบบริหารงานคุณภาพตามมาตรฐาน ISO 9000 ไปใช้นี้ ยังมีความเข้าใจผิดกันอยู่มากว่าสามารถนำไปใช้ได้เฉพาะอุตสาหกรรม

การผลิตเท่านั้นแต่ความจริงแล้วธุรกิจทุกประเภททุกขนาด สามารถจัดทำระบบคุณภาพได้เช่นเดียวกัน ดังได้กล่าวไว้แล้วในตอนต้น

เช่น ในธุรกิจการบริการก็ได้มีการนำ ISO 9000 ไปใช้แล้วในหลาย ๆ กลุ่ม อาทิ

1. กลุ่ม HOSPITALITY SERVICES ได้แก่ ภัตตาคาร โรงแรม และการท่องเที่ยว

2. กลุ่ม COMMUNICATIONS ได้แก่ สนามบิน และการสื่อสาร

3. กลุ่ม HEALTH SERVICES ได้แก่ โรงพยาบาล และคลินิก

4. กลุ่ม MAINTENANCE ได้แก่ การซ่อมบำรุงเครื่องจักร

5. กลุ่ม UTILITIES ได้แก่ สาธารณูปโภคต่าง ๆ

6. กลุ่ม TRADING ได้แก่ การจัดจำหน่วย

7. กลุ่ม PROFESSIONALS ได้แก่ การสำรวจ การออกแบบ การฝึกอบรม และที่ปรึกษา

8. กลุ่ม ADMINISTRATION ได้แก่ บุคลากร และบริการในสำนักงาน

9. กลุ่ม SCIENTIFIC ได้แก่ การวิจัยและพัฒนา

นอกจากนี้หน่วยงานราชการและรัฐวิสาหกิจที่ต้องการดำเนินงานอย่างมีประสิทธิภาพ ก็สามารถนำระบบคุณภาพไปใช้ได้เช่นเดียวกัน

บันได 4 ขั้นคุณภาพ

การจัดทำระบบคุณภาพนั้น มีขั้นตอนสำคัญ 4 ขั้นตอนคือ

การทบทวนสถานภาพกิจการปัจจุบัน การจัดทำแผนการดำเนินงานและระบบเอกสาร การนำเอกสารระบบบริหารงานคุณภาพไปปฏิบัติ

และการตรวจสอบระบบบริหารงานคุณภาพซึ่งแต่ละขั้นตอนมีสาระสำคัญที่จะต้องปฏิบัติดังนี้

1. การทบทวนสถานภาพกิจการปัจจุบัน :

ก่อนอื่นจะต้องมีการศึกษาอนุกรมมาตรฐาน ISO 9000 ก่อน แล้วพิจารณาดูว่ากิจการมีความเหมาะสมที่จะนำ ISO 9001,9002 หรือ 9003 มาใช้

จากนั้นผู้บริหารระดับสูงจึงกำหนดนโยบายคุณภาพและจัดตั้งคณะทำงานเพื่อศึกษาเปรียบเทียบสถานภาพปัจจุบันกับ ข้อกำหนดว่ามีสิ่งใดหรือ

ข้อกำหนดที่ไม่สอดคล้องกันซึ่งจะต้องเพิ่มเติมหรือไม่ ประการใด

2. การจัดทำแผนการดำเนินงานและระบบเอกสาร :

คณะทำงานต้องจัดทำแผนการดำเนินงานจัดทำระบบเอกสาร ซึ่งประกอบด้วยคู่มือในการทำงานในขั้นตอนต่าง ๆ รวมทั้งคู่มือคุณภาพ

จุดสำคัญของการจัดทำเอกสารคือ เขียนตามที่ทำและทำตามที่เขียน แล้วฝึกอบรมทำความเข้าใจกับพนักงาน เจ้าหน้าที่ทุกระดับที่เกี่ยวข้อง

ให้เข้าใจตรงกัน อาจต้องทบทวนปรับปรุงแก้ไขเอกสารที่จัดทำขึ้นเพื่อให้กะทัดรัดชัดเจนและเข้าใจได้ง่ายและสามารถนำไปปฏิบัติได้

3. การนำเอกสารระบบบริหารงานคุณภาพไปปฏิบัติ :

คือการนำเอกสารตามขั้นตอนที่ 2 ไปปฏิบัติ ซึ่งเป็นขั้นตอนที่มีความสำคัญมากเพราะเป็นการทดสอบว่าเอกสารที่เราจัดทำขึ้นใช้ได้หรือไม่เพียงไร

ในกรณีที่เอกสารยังไม่สมบูรณ์หรือนำไปปฏิบัติไม่ได้ก็ต้องปรับปรุงแก้ไข และหากพิจารณาแล้วเห็นว่าการปฏิบัติยังไม่ดีพอก็ต้องทำความเข้าใจ

กับพนักงานซึ่งอาจต้องฝึกอบรมและปรับปรุงให้ดีขึ้น

4. การตรวจสอบระบบบริหารงานคุณภาพ :

เป็นขั้นตอนสุดท้ายในการจัดทำระบบคุณภาพเป็นขั้นตอนการตรวจสอบระบบทั้งหมดว่าระบบที่จัดทำขึ้นเหมาะสมหรือไม่ อย่างไร

หากพบว่ามีข้อบกพร่องต้องปรับปรุงแก้ไขทั้งนี้เพื่อให้มั่นใจว่าระบบขององค์กรถูกต้องเหมาะสม และมีประสิทธิภาพ

คุณภาพที่มีผลจากการทุ่มเท

ในทางปฏิบัติ แต่ละขั้นตอนของการจัดทำระบบคุณภาพจะมีรายละเอียดปลีกย่อยมากน้อยเพียงใดก็ขึ้นอยู่กับสถานภาพของแต่ละองค์กร

และการนำระบบคุณภาพไปปฏิบัติอาจใช้เวลาโดยเฉลี่ยตั้งแต่ 6 เดือนถึง 1 ปีครึ่ง จึงจะประสบความสำเร็จตามเป้าหมาย ที่สำคัญในการปฏิบัติ

งานโดยทั่วไป แต่ละองค์กรก็ได้ดำเนินการตามข้อกำหนดของมาตรฐาน ISO 9000 มาบ้างแล้ว ส่วนจะมากหรือน้อยก็ขึ้นอยู่กับระเบียบปฏิบัติ

ดั้งเดิมขององค์กรนั้นๆ

ทั้งนี้การดำเนินงานระบบคุณภาพจะประสบความสำเร็จได้ ก็ขึ้นอยู่กับปัจจัยต่อไปนี้

1.ผู้บริหารระดับสูงให้การสนับสนุนอย่างจริงจังและต่อเนื่อง

2.ทุกคนในองค์กรมีจิตสำนึกด้านคุณภาพและให้ความร่วมมือ

3.มีการติดตามและปรับปรุงแก้ไขระบบบริหารงานคุณภาพอย่างต่อเนื่อง

4.มีงบประมาณเพียงพอ

ISO 9000 ประกันคุณภาพสินค้าว่าดีจริง

องค์กรที่นำระบบคุณภาพตามมาตรฐาน ISO 9000 ไปใช้ และพัฒนาจนได้ผลเป็นที่พอใจแล้ว สามารถขอการรับรองได้ โดยมีขั้นตอนการขอการ

รับรอง 5 ขั้นตอน ดังนี้

1. ขอข้อมูล : ผู้ประกอบการที่ต้องการขอการรับรองระบบคุณภาพสอบถามข้อมูลจาก สมอ.

2. ยื่นคำขอ : ผู้ประกอบการยื่นคำขอการรับรองและเอกสารที่เกี่ยวข้องต่อ สมอ.

3. ตรวจประเมิน : เมื่อรับคำขอแล้ว สมอ. จะทำการประเมินเอกสารที่เกี่ยวข้องกับระบบคุณภาพว่าสอดคล้องกับข้อกำหนดของมาตรฐานระบบ

บริหารงานคุณภาพ และสามารถสะท้อนให้เห็นถึงระบบคุณภาพเพียงใดจากนั้นจึงจะไปตรวจประเมิน ณ สถานที่ประกอบกิจการ เพื่อประเมิน

ประสิทธิผลของการดำเนินงานตามระบบคุณภาพที่กำหนดไว้ หากพบว่ามีข้อบกพร่องก็จะแจ้งให้แก้ไข และเมื่อทุกอย่างเป็นไปตามข้อกำหนด

ก็จะเสนอเรื่องให้คณะกรรมการพิจารณา

4. ออกใบรับรอง : หากระบบคุณภาพของผู้ประกอบการผ่านการพิจารณาจากคณะกรรมการแล้ว สมอ. จะออกใบรับรองให้

5. ตรวจติดตาม : หลังจากนั้น สมอ. ก็จะทำการตรวจสอบติดตามผลเป็นระยะเพื่อยืนยันว่าผู้ประกอบการยังรักษาระบบคุณภาพไว้ได้ตลอดไปซึ่ง

ผู้ประกอบการจะต้องเตรียมพร้อมให้ตรวจสอบตลอดเวลา

คุณภาพนำมาแต่สิ่งดีๆ

การนำระบบคุณภาพตามมาตรฐาน ISO 9000 ไปใช้อย่างแพร่หลาย จะให้ประโยชน์แก่ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องดังนี้

ผู้ประกอบการ

1.องค์กรและบุคลากรมีการพัฒนา

2.สินค้าและบริการได้รับการยอมรับเชื่อถือทั้งระดับในประเทศและระดับนานาชาติ

3.ลดต้นทุกการผลิตในระยะยาว

4.ได้รับการเผยแพร่ชื่อเสียงทั้งในและต่างประเทศในเอกสารเผยแพร่ของ สมอ.

ผู้บริโภคทั้งระดับบุคคลและระดับองค์กร

1.มีความมั่นใจในสินค้าและบริการ

2.ประหยัดเวลาและค่าใช้จ่าย และไม่ต้องตรวจสอบคุณภาพซ้ำ

3.ได้รับการคุ้มครองด้านคุณภาพ

4.มีความสะดวกในการเลือกชื้อเลือกใช้เพราะมีหนังสือรายชื่อเป็นแนวทาง

นายเธียรชัย กฤษณะวานิช 5050504517 กศ.ปช.รุ่น 11 หมุ่5

TPM คืออะไร

ระบบ TPM แบบดั้งเดิมของอเมริกาซึ่งให้ความสำคัญกับผู้เชี่ยวชาญด้านเครื่องจักรถึงแม้ว่าจะมุ่งที่จะไปให้ถึงขีดจำกัดสูงสุดของประสิทธิภาพของเครื่องจักรโดยการปรับปรุงวิธีการสร้างเครื่องจักร การบำรุงรักษาเครื่องจักร ก็ตาม แต่ก็ไม่ได้มุ่งไปสู่ขีดจำกัดสูงสุดของระบบการผลิตโดย ก้าวไปถึง วิธีการใช้เครื่องจักร ลักษณะพิเศษของ TPM คือการ “ บำรุงรักษาด้วยตนเองของพนักงาน” ( เครื่องจักรของเราดูแลรักษาโดยตัวเราเอง”การควบคุมดูแลเครื่องจักรก็คือการ ควบคุมดูแลสุขภาพของเครื่องจักร

การดูแลรักษาร่างกายของมนุษย์ด้วยวิชาการแพทย์เชิงป้องกันทำให้สามารถยืดอายุขัยของมนุษย์ได้เป็นอย่างมาก การบำรุงรักษาเชิงป้องกันก็คือ วิชาการแพทย์เชิงป้องกันนั่นเองซึ่งอาจกล่าวได้ว่าเป็นหลักการดูแลรักษาสุขภาพของเครื่องจักรนั่นเอง นอกจากนั้น เพื่อที่เราจะสามารถรักษาสุขภาพให้อยู่ในสภาพที่ดีอยู่เสมอ ก็ทำได้โดยการให้หมอที่มีความชำนาญทางด้านนี้โดยเฉพาะตรวจวินิจฉัยสุขภาพตามเวลาที่กำหนดเพื่อให้สามารถตรวจให้พบสิ่งที่ผิดปกติได้โดยเร็วแล้ว จะได้ทำการรักษาได้โดยเร็ว ในทำนองเดียวกัน พนักงานก็เช่นเดียวกัน เครื่องจักรที่เราใช้ เราก็ต้องดูแลรักษาด้วยตัวเราเอง อันนี้แหละ ที่เรียกว่าบำรุงรักษาด้วยตัวเอง การที่เครื่องจักรเสียหรือ มีของเสียเกิดขึ้นก็เพราะเครื่องป่วย เพื่อที่จะไม่ให้เครื่องจักรป่วยก็ต้องบำรุงรักษาเป็นประจำทุกวัน (ทำความสะอาด, หยอดน้ำมัน, ขันน๊อต, ตรวจเช็ค) อย่างจริงจัง นอกจากนั้นยังต้องให้ผู้เชี่ยวชาญมาดำเนินการตรวจเช็คตามเวลาที่กำหนด แล้วทำการซ่อมแซมบำรุงรักษาสำหรับแนวคิดในเรื่องการควบคุมเครื่องจักรของญี่ปุ่น นั้น ได้ผ่านมาจากยุคของ การบำรุงรักษาเชิงป้องกัน ไปสู่การบำรุงรักษาเพื่อเพิ่มผลผลิต แล้วก็ได้พัฒนาไปสู่ยุคของ TPM ในปัจจุบัน

วิวัฒนาการของการเข้าสู่ TPM

TPM ได้พัฒนามาจากการดูแลรักษาเครื่องจักรเริ่มต้นจาก Breakdown Maintenance ซึ่งเกิดขึ้นในอเมริกาในขณะที่เศรษฐกิจยังไม่ฝืดเคืองเท่าไรการเอาใจใส่ในการสูญเสียจึงไม่มากนักจึงปล่อยให้เครื่องจักรอุปกรณ์เสียแล้วจึงค่อยซ่อม จากนั้นมาเศรษฐกิจเริ่มฝืดเคืองไปเรื่อยๆ จนสถานประกอบการจะต้องดิ้นรนเพื่อความอยู่รอดจึงได้มีการพัฒนาการดูแลรักษาเครื่องจักรเรื่อยมาจนกระทั่งถึง TPM ซึ่งเป็นการพัฒนาโดยที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว

ก่อนปี คศ 1950 ยุคการซ่อมบำรุงรักษาหลังเกิดเหตุขัดข้อง (Breakdown Maintenance ) ในครั้งนั้นเป็นปัญหาอย่างมาก เพราะเมื่อเครื่องจักรเสียแล้วก็ทำการซ่อมซึ่งจะทำให้ระบบการผลิตต้องหยุดชะงักทำให้เกิดความเสียหายอย่างมาก

ปี คศ .1950-1960 ยุคการซ่อมบำรุงรักษาป้องกัน (Preventive Maintenance ) เป็นยุคที่เริ่มนำระบบ PM มาใช้เรียกว่าเป็นระบบแรกเริ่มซึ่งเป็นการซ่อมบำรุงโดยใช้ PM เป็นศูนย์กลางและสร้างความเชื่อมั่นในสมรรภาพของ

เครื่องจักร

ปี คศ. 1960 – 1970 ยุคการรักษาทวีผล (PRODUCTIVE MAINTENANCE )เป็นยุคที่ให้ความสำคัญในการออกแบบโรงงาน โดยคำนึงถึงความเชื่อถือ (Reliability ) และทางด้านเศรษฐศาสตร์

ปี คศ 1970 – ปัจจุบัน ยุคการเข้าร่วมในระบบ TPM (Total Productive Maintenance ) เป็นยุคที่ทำระบบ PM ให้เป็นแบบ Total System เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ โดยคำนึงถึงบุคคลเป็นส่วนใหญ่และให้ทุกคนได้ร่วมมือทำกันอย่างทั่วถึงและจริงจัง

วัตถุประสงค์ของ TPM

TPM จุดประสงค์ที่จะเพิ่มประสิทธิภาพโดยรวมของระบบการผลิตไปสู่ขีดจำกัดสูงสุดแม้ว่าระบบการผลิตส่วนมากจะเป็นระบบ Man – Machine ซึ่งรวมถึงระบบอัตโนมัติที่กำลังพัฒนาควบคู่ไปกับระบบการผลิตด้วยแต่ก็ไม่อาจกล่าวได้ว่า วิธีการสร้างเครื่องจักร การใช้เครื่องจักร การบำรุงรักษาดูแลเครื่องจักรนั้นมีผลต่อของดีของเสียโดยตรงเลยทีเดียวแต่ว่า TPM นั้นมีเป้าหมายที่จะเพิ่มประสิทธิภาพของระบบการผลิตโดยรวมไปสู่ขีดจำกัดสุงสูดโดยการปรับปรุง (Kaizen) วิธีการสร้างเครื่องจักรวิธีการใช้เครื่องจักร และวิธีการบำรุงรักษาเครื่องจักร โดยการขจัดความสูญเปล่า (Loss) เนื่องจากการเปลี่ยนรุ่น หรือเครื่องจักรเสีย , โดยการขจัดการสูญเสียความรวดเร็วอันเนื่องมาจาก การหยุดเล็กๆ น้อย ๆ , ความเร็วที่ลดลง, โดยการขจัดของเสียจากกระบวนการ ขจัดเวลา Start up ขจัดความไร้ประสิทธิภาพ ซึ่งก็คือการขจัดความสูญเสียอันเนื่องมาจากของเสียนั่นเอง

ความหมายของ TPM

ความหมายของ TPM แบ่งออกเป็น 5 ข้อด้วยกัน ซึ่งจะต้องมีให้ครบโดยจะขาดข้อใดข้อหนึ่งมิได้ ดังนี้

1. การสร้างความร่วมมือจากทุกฝ่าย เพื่อทำให้ประสิทธิภาพในการผลิตมีค่าสูงสุด

2. การป้องกันการสูญเสียทุกประเภท โดยพนักงานระดับปฏิบัติการเป็นผู้มีบทบาทสำคัญ (เพื่อให้มั่นใจว่า เครื่องจักรขัดข้องเป็นศูนย์, อุบัติเหตุเป็นศูนย์ และของเสียเป็นศูนย์)

3. ทุกหน่วยงานมีส่วนร่วมในการดำเนินงาน TPM รวมทั้งฝ่ายวิจัยและพัฒนา, ฝ่ายขาย และสำนักงาน

4. ทุก ๆ คนในองค์กรมีส่วนร่วม ตั้งแต่ผู้บริหารสูงสุด จนถึงพนักงาน ระดับปฏิบัติการ

5. ดำเนินกิจกรรมกลุ่มย่อยเพื่อลดการสูญเสียให้หมดไป

เป้าหมายของ TPM

การตั้งเป้าหมายของ TPM ก็เพื่อใช้ในการวัดระดับความสำเร็จในการทำกิจกรรม เพื่อให้ทุกคนในองค์กรทำงานไปในทิศทางเดียวกัน โดยมีเป้าหมาย คือ

1. เครื่องจักรขัดข้องเป็นศูนย์ (Zero Breakdown)

2. อุบัติเหตุเป็นศูนย์ (Zero Accident)

3. ของเสียเป็นศูนย์ (Zero Defect)

การดำเนินงาน TPM 12 ขั้นตอน

ขั้นเตรียมการ (Preparation)

1. ผู้บริหารสูงสุดประกาศให้นำ TPM เข้ามาใช้พัฒนาองค์กร

2. อบรมให้ความรู้ TPM แก่พนักงานทุกคนและประชาสัมพันธ์

3. แต่งตั้งคณะกรรมการส่งเสริม TPM

4. กำหนดนโยบายและตั้งเป้าหมาย

5. เขียนแผนดำเนินงานหลัก

6. พิธีเปิด

ขั้นดำเนินการ (Implement)

7. สร้างองค์ประกอบให้ระบบการผลิตมีประสิทธิภาพสูงสุด

7.1 การปรับปรุงเพื่อลดการสูญเสีย (Focused Improvement)

7.2 การบำรุงรักษาด้วยตนเอง (Autonomous Maintenance)

7.3 การบำรุงรักษาตามแผนงาน (Planned Maintenance)

7.4 การฝึกอบรมเพื่อเพิ่มทักษะการเดินเครื่องและบำรุงรักษา (Operation and Maintenance Skills Training)

8. การจัดการเครื่องจักรใหม่ (Early Management)

9. การบำรุงรักษาเชิงคุณภาพ (Quality Maintenance)

10.การปรับปรุงสำนักงาน (Office Improvement)

11.การจัดการด้านความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อม (Safety and Environment management)

ขั้นประสบผลสำเร็จ (consolidation)

12.ดำเนิน TPM อย่างต่อเนื่องและยกระดับเป้าหมายให้สูงขึ้น

การดำเนินงาน TPM (The Eight Pillars for TPM activities)

การดำเนินงาน TPM ให้ประสบผลสำเร็จได้จะต้องมีการดำเนินกิจกรรมหลัก 8 ข้อ ซึ่งจะครอบคลุมทุกหน่วยงานและทุก ๆ คน ที่มีส่วนร่วมในการทำกิจกรรม

1. การปรับปรุงเพื่อลดการสูญเสีย (Focused Improvement)

2. การบำรุงรักษาด้วยตนเอง (Autonomous Maintenance)

3. การบำรุงรักษาตามแผน (Planned Maintenance)

4. ฝึกอบรมเพื่อเพิ่มทักษะการเดินเครื่องและการบำรุงรักษา (Operation and Maintenance Skills Training)

5. การจัดการเครื่องจักรใหม่ (Early Management)

6. การบำรุงรักษาเชิงคุณภาพ (Quality Maintenance)

7. การทำ TPM ในสำนักงาน (Office Improvement)

8. การจัดการด้านความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อม(Safety and Environmental Management)

นายดำรงค์ชัย กระแชรัมย์ 5050504516 การจัดการทั่วไป รุ่น 11 หมู่ 5

การบริหารคุณภาพโดยรวม

(TOtal Quality Management:TQM)

การบริหารคุณภาพโดยรวม มีเป้าหมายของระบบการบริหารรูปแบบนี้คือ การปรับปรุงทั้งในด้านของสภาพแวดล้อมในการทำงาน คุณภาพของผลิตภัณฑ์และการบริการให้ดีขึ้น ระบบการจัดการคุณภาพโดยรวมมีลักษณะหลายประการที่เหมือนกับการบริหารงานตามระบบการทำงานแบบทันเวลาพอดี การปฏิบัติหน้าที่ของแต่ละคนจะเน้นที่การทำงานร่วมกันเป็นทีม และจะมีอำนาจในการตัดสินใจเพื่อการปรับปรุงผลิตภัณฑ์ การบริการ ตลอดจนสภาพแวดล้อมในการทำงาน TQM จะเน้นที่การปรับปรุงคุณภาพของผลิตภัณฑ์ โดยสามารถอธิบายถึงสาเหตุของการสูญเสียทรัพยากรที่เปล่าประโยชน์ หรือลดการเกิดของเสียในกระบวนการผลิตได้ด้วย เนื่องจากจะมีผลต่อคุณภาพและประสิทธิผลในด้านของการใช้ทรัพยากรโดยทำการป้องกันและตรวจสอบการทำงานในจุดต่างๆ ที่อาจเป็นสาเหตุของการสูญเสียทรัพยากร

ประโยชน์จากการบริหารคุณภาพโดยรวม

1.ลดหรือกำจัดทรัพยากรที่สูญเปล่าที่เป็นสาเหตุของความบกพร่อง

2.ลดความเสียหายของวัตถุดิบในกระบวนการผลิต

3.ลดเวลาที่สูญเปล่าและไม่เกิดประโยชน์

4.สร้างความสามัคคีในองค์การ

5.เป็นแนวทางในการปฏิบัติงานในองค์การ

ผลลัพธ์

1.คุณภาพของผลิตภัณฑ์ดีขึ้น 2.สร้างความพึงพอใจให้ลูกค้า 3.ลดต้นทุน

เป้าหมาย

1.การดำเนินงานบรรลุถึงความสำเร็จจากการพัฒนาและปรับปรุงที่มีอย่างต่อเนื่อง

2.เกิดความคิดสร้างสรรค์ในการปรับปรุงคุณภาพผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ

นายยุทธนา แทงตลาด 5050504525 การจัดการทั่วไป รุ่น 11 หมู่ 5

 

TQM หมายถึง ระบบการทำงานที่เป็นวัฒนธรรมขององค์การที่สมาชิกทุกคนต่างให้ความสำคัญ และมีส่วนร่วม ในการพัฒนาการดำเนินงานขององค์การอย่างต่อเนื่อง โดยมุ่งที่จะตอบสนองความต้องการ และสร้างความพอใจให้แก่ลูกค้า ซึ่งจะสร้างโอกาสทางธุรกิจ ความได้เปรียบในการแข่งขันและพัฒนาการที่ยั่งยืนขององค์การ

วัตถุประสงค์ทั่วไปของ TQM

1. เพื่อสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้า

2. เพื่อพัฒนาและปรับปรุงอย่างต่อเนื่องในกิจกรรมทุกด้าน

3. เพื่อความอยู่รอดขององค์กรและสามารถเจริญเติบโตอย่างไม่หยุดยั้ง ภายใต้ภาวการณ์

แข่งขันที่รุนแรง

4. เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของพนักงานทุกคน

5. เพื่อรักษาผลประโยชน์ของผู้ถือหุ้น

6. เพื่อแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม

TQM มี หลักการที่สำคัญ 3 ประการ คือ

1. การให้ความสำคัญกับลูกค้า (Customer Oriented)

ลูกค้าเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ธุรกิจอยู่รอด และความมุ่งหมายเดียวของธุรกิจ คือ การสร้างและรักษาลูกค้าการให้ความสำคัญกับลูกค้าจะไม่ถูกจำกัดอยู่ที่ลูกค้าจริงๆหรือที่เรียกว่า ลูกค้าภายนอก (External Customer) ที่ซื้อสินค้าหรือบริการของธุรกิจเท่านั้น แต่จะขยายตัวคลอบคลุมไปถึงพนักงาน หรือหน่วยงานที่อยู่ถัดไปจากเราซึ่งรอรับผลงานหรือบริการจากเรา ที่เรียกว่า ลูกค้าภายใน (Internal Customer) โดยเราจะทำหน้าที่เป็น ผู้ที่ส่งมอบภายใน (Internal Supplier) ในการส่งมอบผลงานและสร้างความพอใจให้แก่พวกเขา ซึ่งจะสร้างความสัมพันธ์ต่อเนื่องกันเป็น ห่วงโซ่คุณภาพ (Quality Chain)

2. การพัฒนาอย่างต่อเนื่อง (Continuous Improvement)

องค์การที่จะทำ TQM จะต้องกล้าตัดสินใจ แก้ไขปรับปรุง และเปลี่ยนแปลง ก่อนที่จะไม่มีโอกาสแม้จะดำรงอยู่ต่อไปในสังคมซึ่งเราสามารถดำเนินงานได้ดังนี้

2.1 ศึกษา วิเคราะห์และทบทวนข้อมูลการดำเนินงานและสภาพแวดล้อมเพื่อหาแนวทางในการพัฒนา และปรับปรุงคุณภาพของระบบและผลลัพธ์อย่างสร้างสรรค์ และต่อเนื่อง

2.2 พยายามหาวิธีในการแก้ไขปัญหา และพัฒนาการดำเนินงานที่เรียบง่ายแต่ให้ผลลัพธ์สูง

2.3 ติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลงานอย่างเป็นระบบ เป็นธรรมชาติและไม่สร้างความสูญเสียจากการตรวจสอบ

3. สมาชิกทุกคนมีส่วนร่วม (Employees Involvement)

ตั้งแต่พนักงานระดับปฏิบัติการ จนถึงหัวหน้าคณะผู้บริหาร (Chief Executive Officers) หรือ CEOS ที่ไม่ใช่เพียงปฏิบัติงานแบบขอไปทีเท่านั้นแต่ต้องมีความเข้าใจและยอมรับในการสร้างคุณภาพสูงสุดให้เกิดขึ้น ไม่เฉพาะบุคคลในหน่วยงาน แต่ทุกหน่วยงานจะต้องร่วมมือกันในการพัฒนาคุณภาพของธุรกิจอย่างสอดคล้องและลงตัว โดยมองข้ามกำแพงหรือฝ่าย/แผนกที่แตกต่างกัน แต่ทุกคนต้องปฏิบัติงานในฐานะสมาชิกขององค์การคุณภาพเดียวกัน เพื่อให้สมาชิกสามารถทำงานให้ถูกต้องตั้งแต่เริ่มต้น และถูกต้องเสมอ โดยอาจจะจัดตั้งทีมงานข้ามสายงาน (Cross Functional Team) เข้ามาร่วมรับผิดชอบในการดำเนินงาน และพัฒนาคุณภาพของธุรกิจอย่างต่อเนื่อง โดยทีมงานจะเป็นกลจักรสำคัญในการผลักดันธุรกิจไปข้างหน้าอย่างสม่ำเสมอ

นายยุทธนา แทงตลาด 5050504525 การจัดการทั่วไป รุ่น 11 หมู่ 5

ประโยชน์ของการทำไคเซ็น

การทำไคเซ็นเป็นการสนับสนุนให้เกิด "การใช้ความคิด" ไม่ใช่ "การตรากตรำทำงาน" การทำไคเซ็นไม่ใช้ทำเพื่อเพิ่มภาระ แต่มุ่งที่จะลด/เลิกภาระที่ไม่จำเป็นหรือเปลี่ยน ไปสู่วิธีอื่นที่เหมาะสมกว่า ไคเซ็นทำไปเพื่อความสะดวกสบายในการทำงานของตนเอง แนวคิดของไคเซ็นก็คือ เมื่อทำไคเซ็น คนที่สบายขึ้นก็คือตัวเราเอง การไม่ทำ ไคเซ็นคนที่ลำบากก็คือตัวเราเองถ้าไม่ทำไคเซ็นให้กับงานของตนเอง ก็ไม่มีใครสามารถจะทำให้ได้ สิ่งที่ทำด้วยความไม่อยากทำไม่อาจเป็นไคเซ็นไปได้ ระบบไคเซ็นจะเป็นไปได้เมื่อผู้ทำเห็นว่าการทำไคเซ็นนั้นเป็นประโยชน์ต่อตนเอง และทำไปด้วยความเต็มใจ

คุณลักษณะของกิจกรรมไคเซ็น

กิจกรรมไคเซ็นจะมี 2 มุมมอง นั่นคือ การให้ความสนใจต่อการดำเนินงานหรือการผลิตแบบเซลล์และการไหลของระบบงานที่มุ่งปรับปรุงทั่วทั้งองค์กร จากนิยามของคำว่า ไคเซ็น คือการมุ่งปรับปรุงแบบค่อยเป็นค่อยไปอย่างต่อเนื่อง สำหรับในสหรัฐอเมริกาได้มีคำพ้องที่มีความหมายเดียวกับไคเซ็น นั่นคือ เหตุการณ์ไคเซ็น (Kaizen Event) หรือ “Kaizen Blitz” ซึ่งมุ่งโครงการปรับปรุงกระบวนการระยะสั้น โดยทั่วไปเหตุการณ์ไคเซ็นจะมุ่งเป้าหมายสำหรับการปรับปรุงที่การดำเนินการจัดทำเซลล์การทำงาน (Work cell Implementation) การลดเวลาการตั้งเครื่อง (Setup Reduction) และกิจกรรม 5 ส. ซึ่งกิจกรรมเหล่านี้อาจใช้คำภาษาญี่ปุ่นว่า “Kaikaku” โดยมีลักษณะสำคัญ ดังนี้

1)มุ่งดำเนินการในช่วงระยะเวลาอันสั้น (Short-term) โดยทั่วไปเหตุการณ์ไคเซ็นจะใช้ช่วงระยะเวลาตั้งแต่เริ่มต้นจนสิ้นสุดประมาณ 3-10 วัน ดังตัวอย่างของกำหนดการ ดังนี้

วันที่ 1 ฝึกอบรมเกี่ยวกับเครื่องมือลีนและแนวคิดไคเซ็นให้กับทีมงาน เช่น แผนภูมิสายธารแห่งคุณค่า (Value Stream Mapping) การลดเวลาตั้งเครื่อง การจัดเซลล์การผลิต กิจกรรม 5ส.

วันที่ 2-4 ดำเนินการจัดทำข้อมูลในรูปเอกสารที่เกี่ยวกับสภาพปัจจุบันของกระบวนการหรือพื้นที่เป้าหมาย โดยมีการระดมสมองเพื่อเสนอแนวทางการปรับปรุง รวมทั้งสภาพหลังการปรับปรุง (Future State) และจัดทำเอกสารมาตรฐานหลังการเปลี่ยนแปลง (Standardize)

วันที่ 5 จัดเตรียมเอกสารรายงานผลลัพธ์จากการศึกษาเพื่อนำเสนอต่อผู้บริหาร

ทั้งนี้ ในช่วงเวลาดังกล่าวทางทีมงานจะใช้เครื่องมือต่าง ๆ เช่น แผนภูมิวิเคราะห์การไหล เป็นต้น เพื่อใช้วิเคราะห์กระบวนการ (Process Analysis) โดยมุ่งศึกษาสภาพของกระบวนการปัจจุบันเพื่อจำแนกปัญหาและผลกระทบที่เกิดขึ้น

2)มุ่งการทำงานเป็นทีม (Team-oriented) โดยมีการร่วมมือและประสานงานระหว่างทีมงานข้ามสายงาน (Cross-functional Team) ประกอบด้วยผู้เกี่ยวข้องจากฝ่ายงานต่าง ๆ ตลอดจนทีมงานปรับปรุงกระบวนการและหัวหน้างานที่เกี่ยวข้อง เพื่อร่วมศึกษาปัญหาที่เกิดขึ้นในกระบวนการทำงานและการร่วมเสนอแนะแนวทางปรับปรุง

3)การมุ่งจุดเน้น (Highly Focused) เมื่อได้มีการระบุจำแนกปัญหาจากผลลัพธ์ในช่วงศึกษากระบวนการแล้วทางทีมงานก็จะดำเนินการด้วยการ จัดทำเอกสาร การวิเคราะห์และปรับปรุงด้วยแนวทางแก้ปัญหา

4)มุ่งเน้นการปฏิบัติการ (Action-oriented) โดยให้ความสนใจต่อการเปลี่ยนแปลงกระบวนการที่ต้องดำเนินการปรับปรุงและดำเนินการทันที่เมื่อได้สรุปแนวทางแก้ไขปัญหาหรือได้รับอนุมัติให้ดำเนินการ ดังเช่น ปรับปรุงผังการวางเครื่องจักร (Equipment Layout) และเมื่อดำเนินกิจกรรมปรับปรุงเสร็จสิ้นก็จะทำการติดตามผลลัพธ์ โดยมีการจัดทำเอกสารเพื่อเปรียบเทียบผลิตภาพระหว่างช่วงก่อนและหลังการปรับปรุง

5)สามารถทวนสอบด้วยมาตรวัด (Verifiable Metrics) โดยทั่วไปการปรับปรุงกระบวนการจะต้องสามารถวัดผลและตรวจสอบผลลัพธ์ด้วยมาตรวัด (Metrics) เช่น การใช้พื้นที่ (Floor Space) ในกระบวนการ ระยะทางขนถ่ายที่ลดลง จำนวนงานค้างระหว่างผลิต (Work-in-Process) เวลาที่ใช้สำหรับการตั้งเครื่อง (นาที) อัตราของเสียที่เกิดขึ้น

6)การดำเนินซ้ำ (Repetitive) สำหรับการดำเนินกิจกรรม Kaizen Events จะต้องมีความต่อเนื่องตามแนวทางการปรับปรุงและขอบเขตที่กำหนดไว้ เพื่อให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืนโดยได้รับความร่วมมือจากทีมงานและบุคลากรทุกคน

นายยุทธนา แทงตลาด 5050504525 การจัดการทั่วไป รุ่น 11 หมู่ 5

ต้นทุนคุณภาพ คือ อะไร ?

จากงานวิจัยพบว่า ต้นทุนของสินค้าที่ไม่ได้คุณภาพอยู่ระหว่าง 15%-40% ของต้นทุนในธุรกิจ เช่น ต้นทุนที่เกิดจากการคืนสินค้า การบริการ และการซ่อม เป็นต้น

ธุรกิจส่วนใหญ่ไม่ทราบว่าต้นทุนคุณภาพของพวกเขาเป็นอย่างไร เพราะไม่มีการเก็บข้อมูลให้เป็นรูปธรรม ซึ่งต้นทุนคุณภาพประกอบด้วย :

•External Failure Cost เช่น ต้นทุนการบริการเมื่อมีการคืนสินค้าค่าขนส่ง

•Internal Failure Cost เช่น ต้นทุนของสินค้าที่เสีย และค่าแรงพนักงาน

•Inspection Cost เช่น ค่าแรงพนักงานตรวจสอบ ค่าเครื่องมือตรวจสอบ

•Prevention Cost เช่น ค่าปรับกระบวนการผลิต การวางแผนคุณภาพ และการฝึกอบรม

ต้นทุนแฝง แพงกว่าต้นทุนคุณภาพ

สินค้าที่ด้อยคุณภาพ ไม่เพียงแต่จะทำให้เกิดต้นทุนคุณภาพเท่านั้น แต่ยังทำให้เกิดต้นทุนแฝง เช่น ท่านต้องสูญเสียลูกค้าดี ๆ ไป เสียชื่อเสียง และการปฏิเสธสินค้านั้นจากลูกค้า ซึ่งต้นทุนตัวนี้มีมูลค่ามากกว่าต้นทุนคุณภาพ

ตรวจสอบคุณภาพช่วยลดต้นทุนได้

การลดต้นทุนของการตรวจสอบ (Inspection Cost) ไม่ใช่เป็นวิธีการช่วยในการลดต้นทุนคุณภาพ แต่อาจเป็นตัวเพิ่มต้นทุนคุณภาพ การเพิ่มประสิทธิภาพในการตรวจสอบจะช่วยให้ต้นทุนคุณภาพลดลงได้

นายสมชาย รัตนวิชัย 5050504530 การจัดการทั่วไป รุ่น11หมู่5

การจัดการคุณภาพ (Quality Management) จากความหมายของคำว่าคุณภาพมาสู่แนวทางการดำเนินการเพื่อคุณภาพที่ดีนั้นได้มีคำหลายคำที่ใช้ในการบ่งบอกถึงการปฏิบัติการเกี่ยวกับคุณภาพ เช่น ระบบคุณภาพ การควบคุมคุณภาพ การประกันคุณภาพ หรือ การบริหารงานคุณภาพ ฯลฯ ซึงมีความหมายแตกต่างกันดังต่อไปนี้

การควบคุมคุณภาพ (Quality Control หรือ QC) หมายถึง กิจกรรมและกลวิธีการปฏิบัติเพื่อสนองความต้องการด้านคุณภาพภายในธุรกิจ โดยการตรวจสอบ การวัด และการทดสอบที่มุ่งจะควบคุมวัตถุดิบ กระบวนการ และการกำจัดสาเหตุของข้อบกพร่องที่เกิดขึ้นจากการดำเนินการทั้งหมด เช่น การสุ่มตัวอย่างน้ำผลไม้กระป๋องมาตรวจสอบรสชาติ การควบคุมคุณภาพเน้นการตรวจสอบและแยกแยะของดีและของเสียออกจากกัน โดยระบุเป็นร้อยละของของเสียที่พบจากล็อตการผลิต เพื่อควบคุมมิให้ของเสียมีมากเกินกว่าที่กำหนดและในปัจจุบันการควบคุมคุณภาพมุ่งเน้นที่ของเสียต้องเป็นศูนย์ (Zero Defect)

การประกันคุณภาพ (Quality Assurance หรือ QA) หมายถึง การดำเนินการเพื่อสุขภาพตามระบบและแผนงานที่วางไว้อย่างเคร่งครัด เพื่อที่จะมั่นใจได้ว่าผลิตภัณฑ์หรือบริการมีคุณภาพตามที่ลูกค้าต้องการ เช่น การดำเนินงานตามมาตรฐานคุณภาพสากล ISO 9000

การบริหารคุณภาพ (Quality Management หรือ QM) หมายถึง การจัดการระบบคุณภาพโดยทุกคนที่เกี่ยวข้องทั้งภายในและภายนอกองค์การรับผิดชอบต่องานที่ตนเองกระทำอย่างเต็มที่เพื่อให้สินค้าและบริการเป็นไปตามต้องการของลูกค้า เช่น การใช้ระบบการบริหารคุณภาพสมบูรณ์แบบ (Total Quality Management หรือ TQM) วัตถุประสงค์หลักของการบริการคุณภาพ คือ การผลิตสินค้าหรือบริการที่ตอบสนองความต้องการของลูกค้า ซึ่งความต้องการของลูกค้าจะเป็นกรอบกำหนดระบบคุณภาพขององค์การทั้งทางตรงและทางอ้อม ดังนั้นการบริหารคุณภาพจะมุ่งสร้างความพึงพอใจให้แก่ลูกค้าเป็นสำคัญ

นายสมชาย รัตนวิชัย 5050504530 การจัดการทั่วไป รุ่น11หมู่5

อนุกรมมาตรฐาน มอก. ISO-9000 แบ่งเนื้อหาออกเป็น 5 ฉบับหลัก ได้แก่ ISO 9000, ISO 9001, ISO 9002, ISO 9003 และ ISO 9004 โดยแต่ละฉบับมีเนื้อหาโดยสรุปคือ

ISO 9000 เป็นแนวทางในการเลือก และกรอบ การเลือกและการใช้มาตรฐานชุดนี้ให้เหมาะสม โดยมีการแยกย่อยเป็น

ISO 9000 - 1 เป็นข้อแนะนำการเลือกใช้

ISO 9000 - 2 เป็นแนวทางทั่วไปในการเลือกและการประยุกต์ใช้มาตรฐานในชุดนี้ให้เหมาะสม

ISO 9000 - 3 เป็นแนวทางในการนำ ISO 9001 ไปพัฒนาประยุกต์ใช้

ISO 9000 - 4 เป็นข้อแนะนำในเรื่องการจัดการที่น่าเชื่อถือ

ISO 9001 เป็นมาตรฐานระบบคุณภาพซึ่งกำกับดูแลทั้งการออกแบบและพัฒนา การผลิต การติดตั้ง และการบริการ

ISO 9002 เป็นมาตรฐานระบบคุณภาพซึ่งกำกับดูแลเฉพาะการผลิต การติดตั้ง และการบริการ

ISO 9003 เป็นมาตรฐานระบบคุณภาพซึ่งกำกับดูแลเรื่องการตรวจและการทดสอบขั้นสุดท้าย

ISO 9004 เป็นแนวทางในการบริหารงานคุณภาพเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด โดยเป็นข้อแนะนำในการจัดการในระบบคุณภาพซึ่งจะมีการกำหนดย่อยในแต่ละประเภทธุรกิจ เช่น

ISO 9004 - 1 ข้อแนะนำการใช้มาตรฐาน

ISO 9004 - 2 ข้อแนะนำการใช้สำหรับธุรกิจบริการ

ISO 9004 - 3 ข้อแนะนำกระบวนการผลิต เป็นต้น

นางสาววิมล วิจิตรกิ่ง 5050504505 รุ่น11หมู่5 การจัดการทั่วไป

ความหมายของคุณภาพ (Defining Quality)

“คุณภาพ (Quality)” ผู้เชี่ยวชาญทางด้านคุณภาพหลายท่านได้ให้ความหมายซึ่งพอสรุปได้ดังต่อไปนี้ คือ เป็นการดำเนินงานให้เป็นไปตามข้อกำหนดที่ต้องการ โดยคำนึงถึงการสร้างความพอใจให้กับลูกค้า และมีต้นทุนการดำเนินงานที่เหมาะสม

2.2.1 ลักษณะของผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพ (Quality in Goods)

- การปฏิบัติงานได้ (Performance) ผลิตภัณฑ์ต้องสามารถใช้งานได้ตามหน้าที่ที่กำหนดไว้

- ความสวยงาม (Aesthetics) ผลิตภัณฑ์ต้องมีรูปร่าง ผิวสัมผัส กลิ่น รสชาติ และสีสันที่ดึงดูดใจลูกค้า

- คุณสมบัติพิเศษ (Special Features) ผลิตภัณฑ์ควรมีลักษณะพิเศษที่โดดเด่นแตกต่างจากผู้อื่น

- ความสอดคล้อง (Conformance) ผลิตภัณฑ์ควรใช้งานได้ตามที่ลูกค้าคาดหวังไว้

- ความปลอดภัย (Safety) ผลิตภัณฑ์ควรมีความเสี่ยงอันตรายในการใช้น้อยที่สุด

- ความเชื่อถือได้ (Reliabity) ผลิตภัณฑ์ควรใช้งานได้อย่างสม่ำเสมอ

- ความคงทน (Durability) ผลิตภัณฑ์ควรมีอายุการใช้งานที่ยาวนานในระดับหนึ่ง

- คุณค่าที่รับรู้ (Perceived Quality) ผลิตภัณฑ์ควรสร้างความประทับใจ และมีภาพพจน์ที่ดีในสายตาลูกค้า

- การบริการหลังการขาย (Service after Sale) ธุรกิจควรมีการบริการหลังการขายอย่างต่อเนื่องทำให้สินค้าสามารถคงคุณสมบัติหรือหน้าที่การงานที่สมบูรณ์ต่อไปได้ รวมทั้งบริการในการรับฟังความคิดเห็นจากลูกค้าเกี่ยวกับตัวผลิตภัณฑ์ด้วย

2.2.2 ลักษณะของบริการที่มีคุณภาพดี (Quality in Services)

- ความเชื่อถือได้ (Reliability) การบริหารสามารถให้บริการได้อย่างสม่ำเสมอ

- ตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้ (Responsiveness) ตรงตามความต้องการที่แท้จริงของลูกค้า

- ความสามารถ (Competence) พนักงานที่ให้บริการจะต้องมีทักษะและความรู้เพื่อปฏิบัติในการบริการ

- ความสุภาพ (Courtesy) พนักงานผู้ให้บริการจะต้องมีมารยาทที่ดี เป็นมิตร และอ่อนน้อม

- ความน่าไว้วางใจ (Credibity) ผู้ให้บริการจะต้องเป็นคนที่มีความซื่อสัตย์, ความน่าไว้ใจและน่าเชื่อถือ

- ความปลอดภัย (Security) การบริการจะต้องมีความปลอดภัย ไม่มีความเสี่ยง

- ความเข้าถึง (Access) การบริการควรจะง่ายต่อการติดต่อ

- การติดต่อสื่อสาร (Communication) การบริการควรจะสามารถให้ข้อมูลเมื่อลูกค้าต้องการหรือสอบถาม

- ความเข้าใจในตัวลูกค้า (Understanding the Customer) การเข้าใจลักษณะเฉพาะของลูกค้าแต่ละคน

2.2.3 ทัศนะคติของลูกค้าในแง่ของผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพที่ดี

- ผลิตภัณฑ์สามารถใช้งานได้ดีตามรายละเอียดทางวิศวกรรม (Specification) ที่ระบุไว้

- ผลิตภัณฑ์คุ้มค่ากับเงินหรือราคาที่ลูกค้าจ่ายเพื่อจะได้ผลิตภัณฑ์นั้นมา

- ผลิตภัณฑ์เหมาะสมกับการใช้งานตามวัตถุประสงค์ของผู้ใช้ โดยมีความปลอดภัยต่อผู้ใช้และสิ่งแวดล้อมด้วย

- ผลิตภัณฑ์มีการบริการประกอบเพื่อความสะดวกของลูกค้า หรือเพื่อรักษาสภาพที่สมบูรณ์ของสินค้าให้คงอยู่ในช่วงระยะเวลาการใช้งานได้ตลอด

- ผลิตภัณฑ์สร้างความภาคภูมิใจ ความประทับใจให้แก่ผู้ใช้

2.2.4 ทัศนคติของลูกค้าในแง่ของผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพที่ดี

สำหรับ ผู้ผลิต คุณภาพที่ดี หมายถึง

- การผลิตให้ถูกต้องตั้งแต่แรก

- การผลิตที่มีระดับของของเสียอยู่ในเกณฑ์ที่กำหนดไว้ และเป็น Zero Defect ซึ่งหมายถึงไม่มีของเสียจากการผลิตเลย

- การผลิตตามตัวแปรที่ต้องการอย่างถูกต้อง ไม่เบี่ยงเบนจากมาตรฐานที่ตั้งไว้

- การผลิตที่มีระดับต้นทุนที่เหมาะสม ซึ่งจะทำให้ลูกค้าที่มีความต้องการสามารถซื้อผลิตภัณฑ์ในระดับราคาที่ยอมรับได้

นายสมชาย รัตนวิชัย 5050504530 การจัดการทั่วไป รุ่น11หมู่5

รางวัลแห่งคุณภาพ (Quality Award)

คุณภาพที่ดีย่อมนำซึ่งความสำเร็จแก่องค์การทั้งทางตรงและทางอ้อม และการบริหารคุณภาพที่ดีนอกจากจะสร้างผลกำไรเชิงเศรษฐกิจให้แก่องค์การธุรกิจแล้ว ยังนำมาซึ่งการได้รางวัลเกียรติยศที่ยอมรับกันในสังคมอีกด้วย รางวัลแห่งคุณภาพที่มีชื่อเสียงในระดับนานาชาติมี 2 รางวัล ดังต่อไปนี้

1. รางวัลคุณภาพแห่งชาติมัลคัมบาล์ดริจ (Malcolm Baldrige National Quality Award, MBNQA)

เป็นรางวัลแห่งคุณภาพที่ก่อตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 1987 โดยสภาองเกรสแห่งสหรัฐอเมริกา ตามชื่อของเลขาธิการแห่งกระทรวงพาณิชย์ ผู้ซึ่งมีความมุ่งหมายอันแรงกล้าที่จะส่งเสริมคุณภาพเพื่อลดการขาดดุลการค้า และให้รางวัลแก่ผู้ประสบความสำเร็จในการบริหารคุณภาพ โดยแยกประเภทผู้รับรางวัลเป็น 3 จำพวก คือ ผู้ผลิตสินค้ารายใหญ่ ผู้ให้บริการรายใหญ่ และผู้ผลิตสินค้าหรือบริการขนาดเล็ก รางวัลนี้มีองค์การธุรกิจที่มีชื่อเสียงได้รับหลายองค์การ เช่น Motorola, IBM, Xerox, AT&T, FeDex, Westinghouse ฯลฯ

การพิจารณารางวัลรางวัลคุณภาพแห่งชาติมัลคัมบาล์ดริจจะตัดสินจากปัจจัยดังต่อไปนี้

-ความเป็นผู้นำในด้านการสร้างสรรค์และรักษาไว้ซึ่งวัฒนธรรมแห่งคุณภาพ

- ความมีประสิทธิผลในการเก็บและรวบรวมข้อมูลข่าวสารเพื่อพัฒนาและ

วางแผนคุณภาพความมีประสิทธิผลในการรวมเอาความต้องการด้านคุณภาพเข้าสู่กระบวนการวางแผนกลยุทธ์

-ความสำเร็จในการใช้ประโยชน์อย่างเต็มที่จากแรงงานที่มีอยู่เพื่อปรับปรุงคุณภาพความมีประสิทธิผลของระบบการประกันคุณภาพของบริษัท

- ผลของการปรับปรุงคุณภาพที่แสดงออกในเชิงปริมาณ

- ความพึงพอใจของลูกค้าในการได้รับสิ่งที่เขาต้องการ

รางวัลคุณภาพแห่งชาติมัลคัมบาล์ดริจส่งเสริมการปรับปรุงพัฒนาการบริหารคุณภาพ และสร้างภาพที่เป็นนามธรรมของคุณภาพให้ชัดเจนขึ้นในสายตาของสาธารณชนได้ในที่สุด

2. รางวัลเดมมิ่ง (Deming Prize)

เป็นรางวัลที่ตั้งชื่อตามปรมาจารย์คนสำคัญด้านคุณภาพคือ Edwards W. Deming ผู้ซึ่งช่วยพัฒนาประเทศญี่ปุ่นหลังพ่ายแพ้สงครามโลกครั้งที่ 2 จนประสบความสำเร็จเป็นประเทศอุตสาหกรรมชั้นนำของโลก ซึ่งรางวัลนี้ได้เริ่มต้นประกาศตั้งแต่ปี ค.ศ. 1951 โดยสหภาพนักวิทยาศาสตร์และวิศวกรแห่งประเทศญี่ปุ่นเพื่อให้เกียรติแก่บริษัทที่มีระบบคุณภาพยอดเยี่ยม รางวัลเดมมิ่งมีวัตถุประสงค์หลัก 2 ประการคือ

- เผยแพร่ให้ความรู้และเทคนิคการควบคุมคุณภาพเชิงสถิติ (Statistical Process Control) แก่อุตสาหกรรมญี่ปุ่น

- เพิ่มพูนจิตสำนึกของสาธารณชนให้ตระหนักถึงวัตถุประสงค์ และเทคนิคของการบริหารคุณภาพ

นอกจากนั้น ยังมีการมอบรางวัลเดมมิ่งแก่บุคคลที่มีผลงานดีเด่นด้านการพัฒนาแนวความคิดด้านคุณภาพอีกด้วย

3. มาตรฐานคุณภาพสากล (Quality certification)

เนื่องจากคุณภาพส่งผลกระทบต่อชีวิตและความเป้นอยู่ทุกคนทั้งผู้ผลิตและผู้บริโภค จึงมีการกำหนดมาตรฐานคุณภาพของผลิตภัณฑ์กันอย่างแพร่หลายทุกประเทศ มาตรฐานสากลที่เป็นที่นิยมใช้กันอย่างกว้างขวางทั่วโลกมีดังต่อไปนี้ คือ

- มาตรฐานอุตสาหกรรมญี่ปุ่น มาตรฐานสากลของญี่ปุ่นซึ่งเป็นหนึ่งในประเทศอุตสาหกรรมชั้นนำของโลกคือ มาตรฐาน JISZ 9000 – 1987 มีหลักการดังต่อไปนี้

เป็นการสนับสนุนการควบคุมคุณภาพอย่างมีประสิทธิผล โดยเริ่มจากให้ความร่วมมือของบุคลากรในองค์การ ตั้งแต่ผู้บริหารระดับสูง ผู้บริหารระดับกลาง ผู้บริหารระดับต้น ตลอดจนพนักงานทุกคน ในการดำเนินกิจกรรมทุกอย่างขององค์การอันได้แก่ การวิจัยการตลาด การวิจัยและการพัฒนา การวางแผนพัฒนาผลิตภัณฑ์ การเตรียมการผลิต การจัดซื้อ การจัดการด้านผู้ขาย การผลิต การตรวจสอบ การขายและการบริการหลังการขาย การควบคุมทางการเงิน การบริหารบุคลากร การอบรมและให้การศึกษาแก่พนักงาน

- มาตรฐานอเมริกัน มาตรฐานสากลของสหรัฐอเมริกาในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ซึ่งเป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลายคือ Military Standard 414 (MIL.STD.414) ซึ่งพัฒนาโดยกระทรวงกลาโหมของสหรัฐ และ ANSI/ASQC ZI.9 ซึ่งเป็นมาตรฐานที่ใช้ในทางพลเรือนและอุตสาหกรรม แต่ในปัจจุบันมาตรฐานคุณภาพของสหรัฐอเมริกาพัฒนาในแนวทางเดียวกับกลุ่มสหภาพยุโรป (EU) เป็นระบบคุณภาพ Q90 ซึ่งมีอนุกรมมาตรฐาน ดังต่อไปนี้

Q91 เป็นมาตรฐานทั่วไปเกี่ยวกับการออกแบบ การพัฒนา การผลิต การติดตั้ง และการบริการของสินค้าและบริการ

Q92 เป็นส่วนที่เพิ่มเติมรายละเอียดจาก Q91 ในส่วนของการผลิต การติดตั้ง และการบริการ

Q93 เป็นส่วนที่เพิ่มเติมรายละเอียดจาก Q91 ในส่วนของการตรวจสอบ ทดสอบ การกระจายสินค้า และการรับช่วงสัญญาณ (Value – added Contractor)

Q94 เป็นแนวทางหลักในการจัดการและสอบทานระบบการควบคุมคุณภาพ

- มาตรฐานสากลของกลุ่มสหภาพยุโรป เป็นที่นิยมใช้แพร่หลายกันทั่วโลก จัดทำขึ้นโดยองค์การระหว่างประเทศว่าด้วยการกำหนดมาตรฐาน (International Organization for Standardization) เพื่อรวบรวมมาตรฐานสากลต่างๆ จัดทำให้เป็นมาตรฐานที่เท่าเทียมกันและเผยแพร่มาตรฐานสากล ISO 9000

มาตรฐาน ISO 9000 เป็นมาตรฐานระดับโลกเพื่อเป็นแนวทางเกี่ยวกับคุณภาพให้องค์การธุรกิจหรือผู้ส่งมอบและผู้ซื้อนำไปปฏิบัติ โดยจะกำหนดสิ่งที่จำเป็นต้องมีในระบบคุณภาพ และใช้บรรทัดฐาน ซึ่งสามารถนำไปใช้กับอุตสาหกรรมทุกขนาด ISO 9000 เป็นข้อปฏิบัติที่ใช้กับทุกคนในการทำงาน ซึ่งจะทำให้สามารถเรียนรู้งานที่ทำได้ดียิ่งขึ้น และเกิดความมั่นใจว่าทำงานได้อย่างถูกต้องตรงตามจุดมุ่งหมายไว้รายละเอียดในอนุกรมมาตรฐาน สากล ISO 9000

ประโยชน์ของการใช้ระบบมาตรฐาน ISO 9000

1. ช่วยพัฒนาประสิทธิภาพขององค์การ โดยการสร้างระบบที่ดีในการควบคุมเอกสารที่สำคัญ และกระบวนการต่างภายในองค์การ และยังเป็นการสร้างจิตสำนึกด้านคุณภาพให้แก่พนักงานทุกคน

2. สร้างความพึงพอใจให้แก่ลูกค้าได้มากขึ้น ซึ่งเป็นการช่วยเพิ่มยอดขายได้

3. ลดค่าใช้จ่ายอันเป็นผลมาจากของเสียในกระบวนการผลิต, ลดการทำงานที่ซ้ำซ้อน เป็นต้น

ในปี ค.ศ. 2000 นี้ มาตรฐานสากล ISO 9000 ได้มีการเปลี่ยนแปลงปรับเป็น ISO 9000 Version 2000 ซึ่งมีรายละเอียดแตกต่างจากเดิม โดยการมีการรวมมาตรฐานฉบับ ISO 9001, 9002, 9003 ของระบบเดิมเข้ากันเป็น ISO 9001 อย่างเดียวเท่านั้น เพื่อขจัดปัญหาขอบเขตของการใช้ระบบมาตรฐาน ISO 9000 ที่ไม่เท่ากันดังเช่น ระบบเดิม แต่มีการอนุญาตให้เว้นข้อกำหนดที่ไม่ได้ประยุกต์ใช้ในองค์กรทุกขนาดทุกประเภทกิจการ นอกจากนั้นยังปรับปรุงให้มีการใช้คำที่ง่ายขึ้น มีความหมายตรงกันมากขึ้น และประยุกต์ใช้กับ ISO 14000 ได้ง่ายขึ้นด้วย

4. ISO 14000 เป็นมาตรฐานสากลในการจัดการสิ่งแวดล้อม (Environmental Management Standards)

เพื่อสร้างระบบในการรักษา ควบคุม และปรับปรุงคุณภาพของสิ่งแวดล้อม รวมทั้งป้องกันสุขภาพอนามัยของมนุษย์ โดยมีการวางแผนกำหนดแนวทางเพื่อป้องกันและลดมลพิษที่ต้นเหตุ ISO 14000 มุ่งเน้นผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อสิ่งแวดล้อมซึ่งเกิดขึ้นจากกระบวนการดำเนินกิจกรรมต่างๆ ขององค์การธุรกิจ ตั้งแต่ขั้นตอนการได้มาของวัตถุดิบ การออกแบบ การวิจัย และพัฒนาการผลิต การส่งมอบ การนำไปใช้งานตามวัตถุประสงค์ การนำกลับมาใช้ใหม่ การนำกลับมาใช้ซ้ำ การใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าและหลีกเลี่ยงการใช้สารเคมีที่อันตราย

5. มอก. 18000 (มาตรฐานผลิตภัณฑ์ระบบการจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย)

เป็นแนวทางในการปรับปรุงการดำเนินงานอาชีวอนามัยและความปลอดภัยในองค์กร โดยพัฒนาระบบอย่างต่อเนื่องเพื่อลดความเสี่ยงอันตรายและอุบัติเหตุต่างๆ ทำให้เกิดภาพพจน์ที่ดีแก่ธุรกิจในด้านความปลอดภัย สามารถป้องกันชีวิตและทรัพย์สินจากอุบัติเหตุได้ สร้างระบบการเตรียมความพร้อมกรณีอุบัติเหตุฉุกเฉิน ช่วยลดการจ่ายเงินทดแทนจากอุบัติเหตุ และเพิ่มขวัญกำลังใจแก่พนักงานผู้ปฏิบัติงานในองค์การธุรกิจด้วย

6. ระบบมาตรฐานอุตสาหกรรมเฉพาะประเภทของอุตสาหกรรม

เนื่องจากอุตสาหกรรมต่างประเภทกันย่อมมีลักษณะการดำเนินงานและจุดสำคัญที่มุ่งเน้นแตกต่างกัน จึงมีการจัดทำระบบมาตรฐาน สากลอื่นเฉพาะประเภทของอุตสาหกรรมอีกดังต่อไปนี้

- การวิเคราะห์อันตรายและจุดวิกฤตที่ต้องควบคุม(Hazard Analysis Critical Control Point หรือ HACCP) เป็นซึ่งเป็นระบบการจัดการคุณภาพด้านความปลอดภัยที่ใช้ควบคุมกระบวนการผลิตในอุตสาหกรรมอาหาร เพื่อให้ได้อาหารที่ปราศจากอันตรายจากเชื้อจุลินทรีย์ สารเคมีและสิ่งแปลกปลอมต่างๆ ซึ่งจะสร้างความมั่นใจทั้งผู้ผลิตและผู้บริโภค เพราะยึดหลักการป้องกันเป็นหลักที่ทำให้ปลอดภัยต่อสุขภาพผู้บริโภค การได้รับการรับรองมาตรฐาน HACCP นี้ จะช่วยสร้างระบบการจัดการด้านความปลอดภัยในอาหารที่ดีจนสามารถแข่งขันในตลาดสากลได้ ลดค่าใช้จ่ายที่ไม่เป็นไปตามข้อกำหนด ส่งเสริมภาพพจน์ขององค์กรธุรกิจและผลิตภัณฑ์ และสามารถพัฒนาไปสู่ระบบมาตรฐานสากล ISO 9000 ได้ดีด้วย

- QS 9000 เป็นระบบคุณภาพที่กลุ่มบริษัทรถยนต์ Chrysler, Ford และ General Motors ได้ร่วมกันกำหนดขึ้นเพื่อใช้เป็นมาตรฐานร่วมสำหรับผู้ส่งมอบชิ้นส่วนต่างๆ ให้บริษัททั้งสามนี้ โดยตั้งเป้าหมายชัดเจนที่จะให้มีการพัฒนาคุณภาพอย่างต่อเนื่อง ป้องกันไม่ให้เกิดของเสีย ลดความผันแปรและความสูญเปล่าต่างๆในสายการผลิตทุกขั้นตอน การใช้ระบบ QS 9000 นี้ต้องได้รับการรับรองตามาตรฐาน ISO 9001 เสียก่อน และต้องเอาใจใส่ในความต้องการของลูกค้าด้วย

- หลักเกณฑ์วิธีการผลิตยาที่ดี (Good Manufacturing Practice หรือ GMP) เป็นแนวทางปฏิบัติในการผลิตยา ซึ่งเป็นส่วนที่สำคัญของระบบการประกันคุณภาพยา เพื่อให้มีความเชื่อมั่นว่า ยาที่ผลิตมีคุณภาพ ประสิทธิภาพ และความปลอดภัยตรงตามคุณภาพมาตรฐานที่กำหนดและสม่ำเสมอในทุกรุ่นที่มีการผลิต GMP ได้รับการสนับสนุนจากองค์การอนามัยโลก (World Health Organization หรือ WHO) ให้ประเทศต่างๆ ทั่วโลกยอมรับและนำมาใช้กันอย่างแพร่หลาย

นายสมชาย รัตนวิชัย 5050504530 การจัดการทั่วไป รุ่น11หมู่5

หลักการด้านคุณภาพของผู้เชี่ยวชาญเดมมิ่งและครอสบี้

หลักการด้านคุณภาพของผู้เชี่ยวชาญเดมมิ่งและครอสบี้

ดร. เดมมิ่ง และครอสบี้ เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการบริหารคุณภาพ เขาได้วางรากฐานและแนวคิดเกี่ยวกับคุณภาพไว้มากมาย เดมมิ่ง และครอสบี้ ได้รวบรวมแนวคิดด้านคุณภาพออกมาเป็น 14 ข้อ ซึ่งแนวคิดหลักก็คือ การปรับปรุงคุณภาพอย่างต่อเนื่อง ให้ความสำคัญกับการให้ความรู้ และฝึกทักษะของพนักงาน

แนวคิดนี้สำคัญเป็นอย่างยิ่ง หากท่านต้องการให้องค์กรของท่าน เป็นองค์กรที่ผลิตงานอย่างมีคุณภาพ และมีบรรยากาศการทำงานที่ดี

แนวคิด 14 ข้อของ ดร. เดมมิ่ง

1สร้างจุดมุ่งหมายที่แน่วแน่ในการปรับปรุงผลิตภัณฑ์และบริการ เพื่อให้สามารถแข่งขันทางธุรกิจได้ในระยะยาว และเพื่อสร้างงาน ไม่ใช่จะคำนึงถึงแต่ผลประโยชน์ในระยะสั้น

2เข้าใจถึงปรัชญาของการปรับปรุงคุณภาพอย่างต่อเนื่อง แนวคิดที่ว่าจะยอมรับของเสีย ควรเปลี่ยนเป็นการหาทางป้องกันการเกิดของเสียจะดีกว่า

3หยุดแนวคิดที่จะตรวจสอบจำนวนมากๆ เพื่อคัดของเสียออก แต่ควรจะสร้างระบบคุณภาพมากกว่า

4อย่าคิดว่าผู้ขายที่ให้ราคาถูกจะดีที่สุด แต่ต้องเลือกผู้ขายที่มีคุณภาพควบคู่ไปด้วย พยายามสร้างความสัมพันธ์อันดีกับผู้ขายและเลือกผู้ขายที่ไว้ใจได้

5พัฒนาระบบการผลิตและการบริการเพื่อปรับปรุงคุณภาพและผลผลิต ซึ่งจะทำให้ต้นทุนนั้นลดลงด้วย

6ฝึกอบรมพนักงานให้มีความรู้และทักษะในงานของตน รู้ถึงเป้าหมายของบริษัท เข้าใจว่างานของตนเองจะทำให้บริษัทและตนเองบรรลุเป้าหมายได้อย่างไร

7เปลี่ยนบทบาทของผู้ควบคุมงานมาเป็นผู้ให้การสนับสนุนและส่งเสริมบรรยากาศในการทำงาน เปิดที่จะรับฟังพนักงานด้วย สร้างบรรยากาศของการทำงานเป็นทีม ทำให้พนักงานเข้าใจในงานของตนเอง ผู้ควบคุมงานควรตรวจตรางานด้วยความเข้าใจว่า สิ่งใดเป็นสิ่งที่พนักงานควบคุมได้ สิ่งใดเป็นความรับผิดชอบของตน สิ่งใดเป็นข้อบกพร่องของระบบซึ่งผู้บริหารจะต้องเป็นผู้แก้ไข

8กำจัดความกลัวของคน นึกไว้ว่าคนต้องการความมั่นคงในงาน ความปลอดภัยและบรรยากาศการทำงานที่ดี สร้างเสริมให้พนักงานกล้าที่จะแสดงความคิดเห็นในการปรับปรุงงาน

9กำจัดความขัดแย้งระหว่างฝ่าย ทุกๆฝ่ายควรจะมีจุดมุ่งหมายเดียวกัน นั่นก็คือเป้าหมายของบริษัท และแตกลงมาให้เป็นเป้าหมายของแต่ละฝ่ายที่เกื้อหนุนเป้าหมายของบริษัท และไม่ขัดแย้งกันเอง ให้ความสำคัญกับการทำงานเป็นทีม ซึ่งประกอบด้วยคนจากฝ่ายต่างๆ จัดให้มีการประเมินและให้รางวัลแก่ทีมด้วย

10อย่ามีแต่สโลแกน คำขวัญสวยๆ เช่น เราจะเพิ่มยอดขายให้ได้ 5u0E43นปีหน้า แต่จะต้องวางแผนและหาทางที่จะทำให้เกิดผลนั้นด้วย

11อย่ายึดติดกับการผลิตให้ได้จำนวนตามที่กำหนดแต่เพียงอย่างเดียว เพราะจะเป็นการส่งเสริมให้พนักงานผลิตออกมาอย่างเร็วที่สุด แต่อาจจะไม่ได้คุณภาพ

12ทำให้พนักงานภูมิใจในงานของตน โดยการให้พนักงานรู้งาน และมีส่วนร่วมในการปรับปรุง เช่น จัดให้มีคู่มือการทำงานเพื่อให้ทราบเกี่ยวกับงานของตน จัดระบบที่ให้พนักงานสามารถเสนอข้อเสนอแนะ ส่วนเครื่องมือ วัสดุ วิธีการที่ให้พนักงานทำงานนั้นก็จะต้องเหมาะสมและมีความปลอดภัยด้วย

13สิ่งสำคัญในการปรับปรุงคุณภาพ ก็คือ แนวคิดที่ว่าจะปรับปรุงคุณภาพอย่างต่อเนื่อง ความรู้ทางสถิติเบื้องต้น และเครื่องมือในการปรับปรุงคุณภาพต่างๆ ก็เป็นสิ่งที่ควรจะรู้ จึงจำเป็นที่จะต้องมีการฝึกอบรมเกี่ยวกับความรู้เหล่านี้ให้พนักงานในองค์กรทราบด้วย

14ต้องมีการจัดองค์กรเพื่อสนับสนุน เช่น ให้มีแผนกหรือบุคคลที่ทำหน้าที่สนับสนุนความรู้ คำปรึกษาเกี่ยวกับด้านคุณภาพ

ส่วนหลักการด้านคุณภาพของครอสบี้ ก็คล้ายคลึงกันกับหลักการของเดมมิ่ง ซึ่งมีอยู่ 14 ประการ ดังนี้

หลักการด้านคุณภาพของครอสบี้ 14 ประการ

1ผู้บริหารจะต้องมีความมุ่งมั่นต่อการสนับสนุนการปรับปรุงคุณภาพของงานในองค์กร

2มีตัววัดคุณภาพที่เข้าใจง่าย

3ต้องสื่อสารให้ทุกคนในองค์กรตระหนักถึงความสำคัญของการมีระบบคุณภาพ

จะต้องมีระบบในการวิเคราะห์หาสาเหตุและผลเสียหายเวลามีปัญหาด้านคุณภาพ เช่น 4หากมีของเสียเกิดขึ้น ต้องมีการหาวิธีการป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาซ้ำได้อีก

4หลักการหนึ่งของครอสบี้คือ การทำให้ของเสียเป็นศูนย์ จึงควรมีกลุ่มทำงานเพื่อผลักดันโครงการของเสียเป็นศูนย์

5ฝึกอบรมผู้ควบคุมงานเพื่อให้พวกเขาสามารถดูแลงานด้านการปรับปรุงคุณภาพได้อย่างเต็มที่

6จัดให้มีวันเพื่อทำการประกาศให้พนักงานรับรู้ทั่วกันถึงแนวคิดว่าต่อไปบริษัทจะไม่ยอมรับของเสียแต่ต้องการหาแนวทางเพื่อป้องกันไม่ให้มีของเสียเกิดขึ้น

7กระตุ้นให้พนักงานแต่ละคนตั้งเป้าหมายในการปรับปรุงคุณภาพงานของตน

8กระตุ้นให้พนักงานกล้าที่จะบอกกับผู้บริหารเกี่ยวกับปัญหาที่พนักงานมีในการทำงานเพื่อให้ได้เป้าหมายที่ตั้งไว้

9ต้องให้การยอมรับและชื่นชมกับผู้ที่ร่วมมือในการปรับปรุงคุณภาพงาน

10ใช้ความรู้จากผู้เชี่ยวชาญและประสบการณ์จากพนักงานในการหาทางปรับปรุงคุณภาพ และต้องมีการให้ความรู้และฝึกอบรมอยู่อย่างสม่ำเสมอ

11คอยปฏิบัติหลักการข้างต้นอยู่อย่างสม่ำเสมอ เพราะงานการปรับปรุงคุณภาพนั้นไม่มีวันสิ้นสุด

นางสาววิมล วิจิตรกิ่ง 5050504505 รุ่น11หมู่5 การจัดการทั่วไป

JIT ซึ่งหมายถึง การส่งมอบแบบทันเวลาถูกต้อง ถูกสถานที่ ตรงความต้องการ ภายใต้ต้นทุนที่แข่งขัน (Delivers the right items at the right place in the right need by the right time with the right cost) โดยหลักการของ Just in Time จะหมายถึง การจัดการกระบวนการต่างๆ เพื่อให้มีการส่งมอบผลิตภัณฑ์ , สินค้า หรือบริการให้กับลูกค้าตามวันและเวลาที่ได้มีการตกลงกัน คือ ส่งมอบสินค้าเมื่อมีการใช้จริงเท่านั้น ทั้งนี้ ความหมายของ Just in Time Delivery ยังครอบคลุมไปถึงความถูกต้องของปริมาณ (Quality) ,จำนวน (Quantity) , เงื่อนไข , สถานที่ และความปลอดภัย รวมถึง ต้นทุนที่แข่งขันได้ ส่วนใหญ่แล้วยังเข้าใจว่า Just in Time มีความหมายเฉพาะการส่งมอบสินค้าเท่านั้น แต่ในการจัดการโลจิสติกส์แล้ว ยังครอบคลุมไปถึงทุกกระบวนการของการจัดการห่วงโซ่อุปทาน (SCM : Supply Chain Management) โดยเฉพาะระบบการผลิต ที่เรียกว่า Lean Production ซึ่งเป็นต้นแบบที่ได้มาจากบริษัทผู้ผลิตรถ โตโยต้า (Toyotatilism) ซึ่งทางญี่ปุ่นได้ปรับเปลี่ยนมาจากการผลิตที่เป็นระบบสายพาน (Tailorlism) และการผลิตแบบ Mass Production (ของผู้ผลิตรถยนต์ Ford) ซึ่งจะเน้นการผลิตปริมาณมาก ซึ่งส่งผลข้างเคียงต่อ สต๊อกสินค้าคงเหลือจำนวนมาก ระบบการผลิตภายใต้ห่วงโซ่อุปทาน (SCM) ซึ่งเน้นไปที่ Speed Base of Economic คือ การประหยัดจากการส่งมอบที่ทันเวลา คือ รับมอบวัตถุดิบเมื่อจะผลิตจริงและผลิตเมื่อจะมีการส่งมอบสินค้าให้ลูกค้า ส่งผลให้รอบการหมุนของสต๊อกสินค้า มีรอบการหมุนที่สูง สามารถมีความยืดหยุ่น ที่เรียกว่า Zero Stock Management ซึ่งความสำเร็จของการนำระบบ Just in Time มาใช้จะส่งผลต่อการลดต้นทุนรวม โดยเฉพาะต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับ Logistics Cost อย่างไรก็ดี องค์กรที่จะนำระบบ Just in Time มาใช้ได้จะต้องมีการสถาปนา Just in Time Value คือ มีระบบการส่งมอบและระบบการทำงานของทั้งองค์กรเป็นแบบทันเวลา มุ่งเน้นต่อความต้องการของลูกค้า โดยทั้งหมดจะต้องอาศัยความเชื่อมโยงของข้อมูลข่าวสาร และการสร้างสัมพันธภาพที่ดีระหว่างพนักงานและทุกหน่วยงานในองค์กร รวมถึง , คู่ค้า (Suppliers) และลูกค้า (Customers) จะต้องมีการสร้างความสัมพันธ์ในการดำเนินธุรกิจแบบ Win Win ซึ่งจะส่งผลให้ทั้งเครือข่ายของห่วงโซ่อุปทานประสบผลสำเร็จร่วมกัน ทั้งนี้ การจะดำเนินการเช่นนี้ได้ จะต้องมีการสร้างห่วงโซ่คุณค่า (Value Chain) ทำให้เกิดเป็นห่วงโซ่อุปทาน และมีการบูรณาการของการเชื่อมโยงความสัมพันธ์ของอุปสงค์และอุปทานของกระบวนการต่างๆ ทั้งภายในและภายนอกองค์กร เพื่อส่งเสริมและเพิ่มประสิทธิภาพของคุณค่าความร่วมมือให้กับทุกกระบวนการที่เกี่ยวข้องกับการพัสดุ , การจัดหา , การส่งมอบ อันนำมาซึ่งความสามารถในการแข่งขันได้อย่างยั่งยืน โดยการจัดการโลจิสติกส์ จะเป็นกิจกรรมหนึ่งของห่วงโซ่อุปทาน

นายสมชาย รัตนวิชัย 5050504530 การจัดการทั่วไป รุ่น11หมู่5

TPM คือ อะไร

TPM ย่อมาจากคำว่า Total Productive Maintenance แปลเป็นไทยว่า การบำรุงรักษาทวีผลที่ทุกคนมีส่วนร่วม

หลักการของ TPM นั้นเริ่มต้นการพัฒนามาจาก การดำเนินการ PM หรือการทำ Preventive Maintenance และได้พัฒนาการดำเนินการมาเรื่อยๆ โดยความคิดพื้นฐาน เริ่มจากการทำการบำรุงรักษาเครื่องจักร เพื่อไม่ให้เสีย และสามารถเดินเครื่อง ตามที่ต้องการได้ โดยการใช้ ทั้งการบำรุงรักษาตามคาบเวลา (Time Base Maintenance) การบำรุงรักษาตามสภาพของเครื่องจักร (Condition Base Maintenance) และ การเปลี่ยนแปลงเครื่องจักร ที่บำรุงรักษาง่ายขึ้น และมีอายุการใช้งานนานขึ้น (Maintenance Prevention) แต่เครื่องจักร ก็ยังเสียอยู่ และมีค่าใช้จ่าย ในการบำรุงรักษาสูงมาก

ความคิดเรื่องการทำการบำรุงรักษา เพื่อให้เครื่องจักรไม่เสียนั้น จึงเริ่มจากการตรวจสอบ ให้ทราบถึงการเสื่อมสภาพ ของชิ้นส่วนต่างๆ ก่อนที่เครื่องจักรนั้นๆ จะเสียหาย ดังนั้นจึงต้องมีผู้ที่มีความสามารถ ในการตรวจสอบเครื่องจักร ซึ่งต้องเป็นผู้ที่สามารถรับรู้ การเสื่อมสภาพได้อย่างแม่นยำ ผู้ที่จะทำเช่นนี้ได้อย่างดีที่สุดก็คือ พนักงานเดินเครื่อง ต่อมาจึงได้พัฒนามาเป็น การบำรุงรักษาด้วยตนเอง หรือ Autonomous Maintenance ซึงเป็นเอกลักษณ์ของ TPM การดำเนินการ การบำรุงรักษาด้วยตนเองหรือ Autonomous Maintenance จึงเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวของ TPM

แต่การดำเนินการเพียงเพื่อให้เครื่องจักรเสียเป็oศูนย์ นั้นยังไม่เพียงพอ TPM จึงมุ่งไปสู่การเป็นผู้ผลิตระดับโลก หรือ World Class Manufacturing โดยนำกิจกรรมอื่นมาผนวกรวมด้วยเป็น 8 กิจกรรมหลักของการดำเนินการ TPM หรือที่เรียกว่า 8 เสาหลักของ TPM นั่นเอง

วัตถุประสงค์ของ TPM

1.เพื่อสร้างวัฒนธรรมของการเป็น ศูนย์ ซึ่งหมายถึง อุบัติเหตุเป็นศูนย์ ของเสียเป็นศูนย์ เครื่องเสียเป็นศูนย์ ในทุกกระบวนการผลิต โดยใช้หลักการ 5G

2.เพื่อให้เกิดความร่วมมือร่วมใจกัน ของพนักงานทุกระดับ ในอันที่จะลดความสูญเสียลง ตั้งแต่ ผู้บริหารระดับสูง จนถึงพนักงานหน้างาน

3.เพื่อให้เกิดความร่วมมือร่วมใจกัน ของพนักงานทุกแผนก ทุกหน่วยงานในองค์กร ในอันที่จะลดความสูญเสียลง

4.เพื่อให้ทักษะ ความรู้ ความสามารถของพนักงานทุกคนสูงขึ้น

5.เพื่อปรับเปลี่ยนวัฒนธรรมขององค์กร ไปสู่การเป็นผู้ผลิตที่สามารถแข่งขันได้ในระดับโลก

นางสาววิมล วิจิตรกิ่ง 5050504505 รุ่น11หมู่5 การจัดการทั่วไป

ไคเซ็น (Kaizen) เป็นภาษาญี่ปุ่น แปลว่า “การปรับปรุง” ไคเซ็นเป็นคำธรรมดาสามัญที่ใช้ในการพูดการเขียนของคนญี่ปุ่น เช่นเดียวกับคำว่า “การปรับปรุง” ในภาษาไทย แต่คำว่า “ไคเซ็น” เป็นคำที่ถูกหยิบยกมาให้ความสำคัญจนเป็นหลักการที่นำมาซึ่งความเจริญก้าวหน้าของประเทศญี่ปุ่น เป็นหลักการที่ถูกหยิบยกมาเขียนเป็นตำราเช่น “ไคเซ็น กุญแจสู่ความสำเร็จแบบญี่ปุ่น เครื่องมือสำคัญเพื่อประสบชัยชนะในการบริหารการผลิต และการตลาด” เป็นต้น

มาซาเอกิ อิโม (อ้างใน อัมพิกา ไกรฤทธิ์,2534) กล่าวว่า ไคเซ็น (Kaizen) แปลว่า การปรับปรุง ซึ่งจะปรับปรุงอยู่ตลอดเวลา และเป็นหน้าที่ของทุก ๆ คน ตั้งแต่ผู้บริหารระดับสูง ผู้จัดการ และคนงาน

ไคเซ็น หมายถึง การปรับปรุงในทุก ๆ วิถีทางของชีวิต ชีวิตในการทำงาน ชีวิตในสังคม และชีวิตภายในบ้านควรจะได้รับการปรับปรุงให้ดีขึ้นอย่างสม่ำเสมอ โดยที่ทุกคนจะต้องเกี่ยวข้องในการปรับปรุงนี้

คำว่า ไคเซ็น (การปรับปรุง) เป็นคำธรรมดา ๆ ที่ถูกปลูกฝังไว้ในจิตสำนึกของคนญี่ปุ่น หากพิจารณาถึงความเจริญก้าวหน้าของประเทศญี่ปุ่นแล้ว คนญี่ปุ่นคงจะหายใจเข้าออกพร้อมด้วยคำว่า “ปรับปรุง ๆ “ อยู่ตลอดเวลา

มาซาเอกิ อิโม กล่าวว่า การปรับปรุงมี 2 แบบ คือ ไคเซ็น และนวัตกรรม จากลักษณะของนวัตกรรม และไคเซ็น ดังกล่าว จะเห็นว่าการปรับปรุงตามหลักการของไคเซ็น

เป็นการปรับปรุงที่ใช้ความมานะพยายาม ทีละเล็กทีละน้อยอย่างต่อเนื่องของทุก ๆ คน โดยเน้นที่

การปรับปรุงกระบวนการ ส่วนการปรับปรุงโดยใช้นวัตกรรมนั้นเป็นการปรับปรุงแบบก้าวกระโดดที่ใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่หรือใช้ทฤษฎีใหม่ เพื่อให้ได้ผลผลิตใหม่ ๆ โดยผู้เชี่ยวชาญ

น.ส.ธัญญรัตน์ สมบรูณ์รัมย์ 5050504247 การจัดการทั่วไป รุ่น 11 หมู่ 2

การนำหลักการ Deming มาใช้กับ TQM

คุณภาพเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างยิ่งในการดำเนินงาน ดังนั้นในการสร้างคุณภาพให้เกิดขึ้นกับองค์การ Deming ได้นำเสนอ วงจร PDCA (Plan, Do, Check, Act) เพื่อเป็นหลักในการเริ่มต้นการปรับปรุงคุณภาพอย่างต่อเนื่อง

ส่วนประกอบทั้ง 4 ด้าน สามารถอธิบายได้ดังนี้

1. การวางแผน (Plan) ขั้นตอนการวางแผนถือเป็นขั้นตอนที่สำคัญที่สุด โดยจุดเริ่มต้นจะต้องมีการตระหนักถึงปัญหาและกำหนดปัญหาที่จะแก้ไข มีการเก็บรวบรวมข้อมูล เลือกทางเลือก และวิเคราะห์ทางเลือกเพื่อเลือกวิธีที่จะใช้ในการแก้ไขปัญหา

2. การปฏิบัติ (Do) นำทางเลือกที่ตัดสินใจไปสู่การปฏิบัติโดยมั่นใจว่าผู้รับผิดชอบได้ตระหนักถึงวัตถุประสงค์ และความจำเป็นอย่างถ่องแท้แล้ว และให้ผู้ที่มีหน้าที่รับผิดชอบดำเนินงานตามแผน รู้ถึงรายละเอียดและขั้นตอนต่าง ๆ มีการจัดอบรมเพื่อดำเนินงานตามแผน และมีการจัดทรัพยากรที่จำเป็น

3. การตรวจสอบ (Check) มีการติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลการปฏิบัติงาน การประเมินควรประเมินการดำเนินงานขององค์การว่าสามารถดำเนินงานได้ตามแผนหรือไม่ และเนื้อหาสาระของแผนมีความครบถ้วนหรือไม่ หากการประเมินพบว่าผลงานออกมาได้ถูกต้องตรงตามเป้าหมายก็สามารถนำไปจัดทำเป็นมาตรฐานสำหรับการดำเนินงานในครั้งต่อไปได้

4. การปรับปรุงแก้ไข (Act) ในการปฏิบัติงานมีการกำหนดมาตรฐานจากผลการดำเนินงานเพื่อใช้เป็นแนวทางปฏิบัติในอนาคต และทำการแก้ไขในส่วนที่ทำให้ผลลัพธ์ไม่เป็นไปตามตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ เมื่อผลลัพธ์ที่ได้ได้รับการยอมรับจากทุกฝ่ายแล้วจัดทำเป็นรายงานเพื่อให้ผู้บริหารและหน่วยงานต่าง ๆ ในองค์การทราบ สิ่งที่สำคัญถ้าหากพบว่าการไม่วัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่ตั้งไว้นั้นเกิดจากการวางแผนที่ไม่ดีตั้งแต่ต้น องค์การจะต้องหาสาเหตุของการวางแผนที่ไม่ดีก่อน แล้วจึงทำการปรับปรุงคุณภาพการวางแผน และปรับปรุงเนื้อหาของแผนด้วย

องค์ประกอบที่สำคัญของ TQM 3 ประการ คือ

1. การให้ความสำคัญกับลูกค้า (Customer Oriented) ลูกค้า (Customer) เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ธุรกิจอยู่รอด และความมุ่งหมายของธุรกิจ คือ การสร้างและรักษาลูกค้า ของ Peter F. Drucker ปรมาจารย์ด้านการบริหารธุรกิจร่วมสมัย (Modern Business Management Guru) ที่กระตุ้นให้คิดว่าธุรกิจสามารถดำรงอยู่ได้ เพราะลูกค้าที่เข้ามาซื้อสินค้าหรือบริการ ไม่ว่าธุรกิจจะใหญ่เพียงใด ถ้าไม่สามารถขายสินค้าหรือบริการให้แก่ลูกค้าเป้าหมายได้ การทำธุรกิจจะไม่ประสบผลสำเร็จได้ ลูกค้าคือคุณภาพ และคุณภาพคือลูกค้า ดังนั้นพนักงานในองค์การธุรกิจทุกคน จึงต้องมีสำนึกในการปฏิบัติงานในทุกขั้นตอน ต้องสร้างผลงานที่มีคุณภาพให้กับลูกค้า ไม่ใช่เพื่อเอาใจเจ้านายเท่านั้น เพราะลูกค้าเป็นผู้ให้เงินเดือน ความสุข และความมั่นคงในชีวิต ลูกค้าจึงมีความสำคัญเป็นอันดับหนึ่งในทุกๆ องค์การ ทำให้ธุรกิจต้องติดตามเรียนรู้ และพยายามคิดแบบลูกค้า ตลอดจนให้ลูกค้ามีส่วนร่วมในการดำเนินงานและการแก้ไขปัญหาของธุรกิจ เพื่อที่จะตอบสนองความต้องการ สร้างความพอใจ และความชื่นชมจากลูกค้าได้อย่างแท้จริง

นอกจากนี้ การให้ความสำคัญกับลูกค้าจะไม่ถูกจำกัดอยู่ที่ลูกค้าจริง ๆ หรือที่เรียกว่า ลูกค้าภายนอก (External Customer) ที่ซื้อสินค้าหรือบริการของธุรกิจเท่านั้น แต่จะขยายตัวครอบคลุมไปถึงพนักงาน หรือหน่วยงานที่อยู่ถัดไปจากเรา ซึ่งรอรับผลงานหรือบริการจากเรา ที่เรียกว่า ลูกค้าภายใน (Internal Customer) โดยเราจะทำหน้าที่เป็นผู้ส่งมอบภายใน (Internal Supplier) ในการส่งมอบผลงานและสร้างความพอใจให้แก่พวกเขา ซึ่งจะสร้างความสัมพันธ์ต่อเนื่องกันเป็น ห่วงโซ่คุณภาพ (Quality Chain) จากผู้ขายวัตถุดิบ (Supplier) ผู้ส่งมอบ และลูกค้าภายใน ไปจนถึงลูกค้าภายนอกที่ซื้อสินค้าและบริการที่มีคุณภาพของธุรกิจ โดยความสัมพันธ์จะต้องเป็นระบบที่สอดคล้อง ส่งเสริม และต่อเนื่องกันอย่างเหมาะสม

ถ้าโซ่ห่วงใดมีความพกพร่อง ก็จะทำให้การส่งมอบผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพขาดความสมบูรณ์ และสร้างปัญหาขึ้น ดังนั้นพนักงานทุกคนจึงต้องมีสำนึกแห่งคุณภาพ และความเป็นเลิศ ไม่ทำงานให้เสร็จแบบขอไปที แต่ต้องระลึกเสมอว่าผลงานของเขาจะมีผลกระทบต่อคุณภาพของสินค้า หรือบริการที่ธุรกิจส่งมอบให้แก่ลูกค้า ถ้าผลงานของเขามีปัญหาก็จะส่งผลให้การดำเนินงานในขั้นต่อไปมีอุปสรรค และทำให้ลูกค้าได้รับสินค้าหรือบริการที่ไม่มีคุณภาพ ซึ่งจะมีผลกระทบในด้านลบย้อนกลับมาที่เขาในที่สุด

2. การพัฒนาอย่างต่อเนื่อง (Continuous Improvement) นวัตกรรมใหม่ที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้องค์การต้องมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง การพัฒนาอย่างต่อเนื่องจะก่อให้เกิดโมเมนตัม (Momentum) ซึ่งจะทำให้การก้าวไปข้างหน้าของธุรกิจสะดวก คล่องตัว และมีประสิทธิภาพ สามารถแก้ปัญหาและพัฒนาระบบงานที่ซับซ้อนและครอบคลุมทั้งองค์การ โดยองค์การที่ทำ TQM จะต้องกล้าตัดสินใจแก้ไขปรับปรุง และเปลี่ยนแปลง ซึ่งมีแนวทางในการดำเนินงานดังนี้

1.1ศึกษา วิเคราะห์ และทบทวนข้อมูลการดำเนินงานและสภาพแวดล้อมเพื่อหาแนวทางในการพัฒนา และปรับปรุงคุณภาพของระบบและผลลัพธ์อย่างสร้างสรรค์ และต่อเนื่อง

1.2พยายามหาวิธีในการแก้ไขปัญหา และพัฒนาการดำเนินงานที่เรียบง่ายแต่ให้ผลลัพธ์สูง

1.3ติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลงานอย่างเป็นระบบ เป็นธรรมชาติ และไม่สร้างความสูญเสียจากการตรวจสอบ

3. การมีส่วนร่วมจากพนักงาน (Employees Inovation) พนักงานทุกคนทั้งพนักงานระดับ

ล่าง และผู้บริหารในหน่วยงานจะต้องร่วมมือกัน โดยทุกแผนกต้องปฏิบัติงานในฐานะสมาชิกขององค์การคุณภาพเดียวกัน (ณัฐพันธ์ เขจรนันท์,2545:60-64)

น.ส.ธัญญรัตน์ สมบรูณ์รัมย์ 5050504247 การจัดการทั่วไป รุ่น 11 หมู่ 2

การจัดการคุณภาพ (Quality Management)

จากความหมายของคำว่าคุณภาพมาสู่แนวทางการดำเนินการเพื่อคุณภาพที่ดีนั้นได้มีคำหลายคำที่ใช้ในการบ่งบอกถึงการปฏิบัติการเกี่ยวกับคุณภาพ เช่น ระบบคุณภาพ การควบคุมคุณภาพ การประกันคุณภาพ หรือ การบริหารงานคุณภาพ ฯลฯ ซึงมีความหมายแตกต่างกันดังต่อไปนี้

1. การควบคุมคุณภาพ (Quality Control หรือ QC) หมายถึง กิจกรรมและกลวิธีการปฏิบัติเพื่อสนองความต้องการด้านคุณภาพภายในธุรกิจ โดยการตรวจสอบ การวัด และการทดสอบที่มุ่งจะควบคุมวัตถุดิบ กระบวนการ และการกำจัดสาเหตุของข้อบกพร่องที่เกิดขึ้นจากการดำเนินการทั้งหมด เช่น การสุ่มตัวอย่างน้ำผลไม้กระป๋องมาตรวจสอบรสชาติ

การควบคุมคุณภาพเน้นการตรวจสอบและแยกแยะของดีและของเสียออกจากกัน โดยระบุเป็นร้อยละของของเสียที่พบจากล็อตการผลิต เพื่อควบคุมมิให้ของเสียมีมากเกินกว่าที่กำหนดและในปัจจุบันการควบคุมคุณภาพมุ่งเน้นที่ของเสียต้องเป็นศูนย์ (Zero Defect)

2. การประกันคุณภาพ (Quality Assurance หรือ QA) หมายถึง การดำเนินการเพื่อสุขภาพตามระบบและแผนงานที่วางไว้อย่างเคร่งครัด เพื่อที่จะมั่นใจได้ว่าผลิตภัณฑ์หรือบริการมีคุณภาพตามที่ลูกค้าต้องการ เช่น การดำเนินงานตามมาตรฐานคุณภาพสากล ISO 9000

3. การบริหารคุณภาพ (Quality Management หรือ QM) หมายถึง การจัดการระบบคุณภาพโดยทุกคนที่เกี่ยวข้องทั้งภายในและภายนอกองค์การรับผิดชอบต่องานที่ตนเองกระทำอย่างเต็มที่เพื่อให้สินค้าและบริการเป็นไปตามต้องการของลูกค้า เช่น การใช้ระบบการบริหารคุณภาพสมบูรณ์แบบ (Total Quality Management หรือ TQM)

วัตถุประสงค์หลักของการบริการคุณภาพ คือ การผลิตสินค้าหรือบริการที่ตอบสนองความต้องการของลูกค้า ซึ่งความต้องการของลูกค้าจะเป็นกรอบกำหนดระบบคุณภาพขององค์การทั้งทางตรงและทางอ้อม ดังนั้นการบริหารคุณภาพจะมุ่งสร้างความพึงพอใจให้แก่ลูกค้า

น.ส.ธัญญรัตน์ สมบรูณ์รัมย์ 5050504247 การจัดการทั่วไป รุ่น 11 หมู่ 2

การทำงานแบบทันเวลาพอดี (Just-in-Time:JIT)

การทำงานแบบทันเวลาพอดีเป็นการจัดสภาพแวดล้อมในการดำเนินงานให้มีควมเหมาะสมสอดคล้องกันกับจำนวนบุคลากร ปริมาณวัตถุดิบและสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ที่มีความจำเป็นต้องใช้ในการดำเนินงาน โดยเน้นที่การกำจัดสิ่งที่เปล่าประโยชน์ที่อาจจะเกิดขึ้นจากการทำงานที่ไม่มีประสิทธิภาพ เช่น ของเสียจากการใช้วัตถุดิบ ช่วงเวลาที่ศูนย์เปล่า เป็นต้นสำหรับในส่วนบุคลากรนั้นจะต้องมีการฝึกอบรมให้มีทักษะความชำนาญในการปฏิบัติงานที่มีความหลากหลายเพื่อให้บุคลากรเหล่านั้นนำความรู้ไปใช้ในการควบคุมกระบวนการผลิตได้ในหลายแผนกงานหรือทำการควบคุมเครื่องจักรได้หลายชนิดในกระบวนการผลิต

ประโยชน์ที่ได้รับจากการทำงานแบบทันเวลาพอดี

1.เกิดการเปลี่ยนแปลงของกระบวนการคำเนินงานดีขึ้น

2.ลดหรือกำจัดเวลาที่สูญเปล่า(เคลื่อนย้าย ขนส่ง ตรวจนับ ตรวจสอบ)

3.ต้นทุนของผลิตภัณฑ์และบริการในเวลาดำเนินงานลดลง

4.คุณภาพของผลิตภัณฑ์หรือบริการที่เพพพพพิ่มขึ้น

5.สร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้าเพิ่มขึ้น

6.เพิ่มความสามารถให้กับพนักงานในองค์การ

7.การดำเนินงานบรรลุถึงความสำเร็จจากการพัฒนาและปรับปรุงที่มีอย่างต่อเนื่อง

นางเอื้อมวงศ์ เรืองปลอด รหัส5050504509 การจัดการทั่วไป รุ่น 11 หมู่5

การพัฒนาบุคลากรของ ทีวีไทย ทีวีสาธารณะ ภายในองค์กร ThaiPBS – ทีวีไทย ทีวีสาธารณะ ควรจัดให้มีกระบวนการเรียนรู้ร่วมกัน ทั้งทีมงาน ผู้บริหารเชิงนโยบาย ผู้บริหาร และผู้ปฏิบัติการทุกระดับ โดยจัดลำดับความสำคัญดังนี้ • ด้านจิตสำนึก : พัฒนาบุคลาการ ทีวีไทย ทีวีสาธารณะ ให้มีความเข้าใจและมีจิตสำนึกของการเป็นสื่อมวลชน ที่มุ่งมั่นต่อผลประโยชน์ของสาธารณะชนเป็นหลัก เพื่อบรรลุเป้าหมายเชิงอุดมคติร่วมกัน มีศรัทธาและควมเชื่อมั่นต่อบทบาทความสำคัญของความเป็น “สื่อสาธารณะ” ของ ThaiPBS • ด้านเทคนิค : วางนโยบายและจัดการให้มีการฝึกฝน บ่มเพาะ ยกระดับ บุคลากร ThaiPBS – ทีวีไทย ทีวีสาธารณะ ที่รับผิดชอบงานด้านต่าง ๆ อย่างจริงจังและต่อเนื่อง เช่น นักข่าวสายต่าง ๆ ไม่เพียงแต่รายงานตามเหตุการณ์ ตามเอกสารที่ได้รับแจก ตามถ้อยคำที่ได้บันทึกเสียงไว้ ฯลฯ นักข่าวจะต้องได้รับการพัฒนาใช้เป็นผู้เชี่ยวชาญสายข่าวนั้นและสายข่าวใกล้เคียง ให้มีสายตากว้างไกล มีมุมมองที่ลึกซึ้งหลากหลาย มีแหล่งข่าวมากมาย จนในที่สุดให้ทัศนะ ให้ข้อคิด ข้อวิพากษ์วิจาร ที่มีเหตุมีผลได้ • ด้านความเชี่ยวชาญวิชาชีพสื่อฯ : ทุกวันนี้ สื่อทั่วไปอาศัยแต่ทัศนะความคิดเห็นจากวิชาการซ้ำหน้าซ้ำตาไม่กี่คน ทีวีไทย ทีวีสาธารณะ ต้องมีผู้เชี่ยวชาญ มี Think Tank ประจำกองบรรณาธิการที่ประกอบด้วยบุคลากรที่มีประสบการณ์จากการกรำงานหนักของตนเอง ผสมผสานด้วยผู้เชี่ยวชาญภายนอกอื่น ๆ ยุทธศาสตร์การก่อตั้งสถานี ทีวีไทย ทีวีสาธารณะ ส่วนภูมิภาค วางพื้นฐานและการดำเนินการก่อตั้ง สถานีทีวีไทย ทีวีสาธารณะ ส่วนภูมิภาค เริ่มจากภาคเหนือ สี่จังหวัดภาคใต้ และภาคอื่น ๆ ให้รับใช้ประชาชนท้องถิ่นต่าง ๆ โดยมีรายการพื้นถิ่น พื้นบ้าน พื้นเมือง และใช้ภาษาหลักของภูมิภาคนั้น ๆ ตลอดจนมีเครือข่ายผู้ชม และสภาผู้ชมของตนเอง การพัฒนาองค์กร ทีวีไทย ทีวีสาธารณะ เชิงสถาบัน สร้าง ทีวีไทย ทีวีสาธารณะ ให้เป็นสถาบันการเรียนรู้ด้านสื่อสาธารณะ โดยประสานกับสถาบันการศึกษาต่าง ๆ ให้มีโครงการความร่วมมือทางวิชาการแนวปฏิบัติการร่วม โดยถือให้ สถานีทีวีไทย ทีวีสาธารณะ ส่วนภูมิภาค เป็นห้องปฏิบัติการสื่อสาธารณะ ทุกแขนง ทุกระดับ ตั้งแต่ระดับเด็กนักเรียน นักศึกษาระดับปริญญาตรี-โท-เอก ตลอดจนนักจัดรายการวิทยุชุมชน สื่อชุมชนทุกแขนง ชาวบ้าน ล้วนสามารถสมัครมา -

น่งสาว วิไลพร เพ็งจันทึก 5050504506 การจัดการทั่วไป หมู่ 5

การพัฒนาองค์กร(Organization Development) ในยุคปัจจุบันได้รับความสนใจอย่างยิ่งจากนักบริหาร และนักพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในองค์กร มีเครื่องมือใหม่เกิดขึ้นเพื่อใช้ในการการพัฒนาองค์กรอย่างต่อเนื่อง ตัวอย่างเช่น Strategic planning Balanced Scorecard Six Sigma Competency Knowledge Management และ Learning Organization ดังนั้นผู้ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาองค์กร คงต้องเลือกใช้เครื่องมือต่างๆเหล่านั้นอย่างเหมาะสมโดยต้องมีการเรียนรู้เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจอย่างแท้จริงในแนวคิดปรัชญาของเครืองมือทางด้านการบริหารและพัฒนาองค์กรนั่นๆว่าเครื่องมือใดเหมาะสมกับองค์กรของเราและสามารถนำมาใช้ได้อย่างแท้จริง ในปัจจุบันการพัฒนาองค์กรของไทยได้รับเอาแนวคิดการบริหารจากต่างประเทศมาใช้อย่างกว้างขวาง ทั้งนี้ก็เพื่อที่จะดำรงสถานภาพทางการแข่งขัน หรือกล่าวอีกนัยคือเพื่อความอยู่รอดในกระแสการแข่งขันอันเชี่ยวกรากในระบบทุนนิยม(Capitalist) ดังนั้นสถานภาพที่องค์กรต้องการคือการสร้างความยั่งยืนให้กับองค์กรนั่นเอง ในทัศนะของผู้เขียนเห็นว่าเครื่องมือทางด้านการบริหารประการหนึ่งที่จะสามารถส่วนช่วยให้องค์กรได้รับความสำเร็จอันยั่งยืนคือ องค์กรแห่งการเรียนรู้ (Learning Organization) ซึ่งได้รับการกล่าวถึงกับอย่างกว้างขวางทั้งในภาครัฐ และเอกชน โดยภาครัฐเองถึงกับมีการตราไว้ในกฎหมายคือพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ.2546 หมวด 3 มาตรา11 “ ส่วนราชการมีหน้าที่พัฒนาความรู้ในส่วนราชการ เพื่อให้มีลักษณะเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้อย่างสม่ำเสมอ โดยต้องรับรู้ข้อมูลข่าวสารและสามารถประมวลผลความรู้ในด้านต่างๆ เพื่อนำมาประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติราชการได้อย่างถูกต้อง รวดเร็วและเหมาะสมกับสถานการณ์ รวมทั้งต้องส่งเสริมและพัฒนาความรู้ความสามารถ สร้างวิสัยทัศน์ และปรับเปลี่ยนทัศนคติของข้าราชการในสังกัดให้เป็นบุคลากรที่มีประสิทธิภาพและมีการเรียนรู้ร่วมกัน” จากภาวะปัจจัยต่างๆจึงทำให้เกิดความปรารถนาที่จะสร้างและพัฒนาองค์กรให้เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้(Learning Organization) โดยนักวิชาการผู้ซึ่งได้รับการยอมรับว่าเป็นผู้เชี่ยวชาญในการสร้างองค์กรแห่งการเรียนรู้ Peter M. Senge กล่าวไว้ว่าองค์กรแห่งการเรียนรู้คือ “ องค์กรที่ซึ่งบุคลากรสามารถเพิ่มพูนความรู้ความสามารถได้อย่างต่อเนื่องและสามารถสร้างผลงานได้ตามความปารถนาอีกทั้งเป็นแหล่งสร้างความคิดทางปัญญาโดยการเรียนรู้ที่จะเรียนรู้ร่วมกัน” และการที่จะสร้างให้เกิดองค์กรแห่งการเรียนรู้ได้นั้น Peter M. Senge ได้แนะนำว่าองค์กรต้องสร้างวินัย 5 ประการ (fifth discipline) ให้เกิดขึ้นแก่บุคลากร ดังต่อไปนี้ 1. บุคลากรที่มีความรอบรู้ (Personal mastery) การเรียนรู้ของปัจเจกบุคคลเป็นจุดเริ่มต้นขององค์กรแห่งการเรียนรู้ ซึ่งบุคคลควรต้องได้รับการส่งเสริมให้มีการพัฒนาอยู่เสมอโดยในการพัฒนาควรเป็นไปอย่างต่อเนื่อง รูปแบบของการเรียนรู้จะเน้นการเรียนรู้ในที่ทำงาน (Work place learning) หรือการเรียนรู้งานในหน้าที (on the job learning) 2. รูปแบบความคิด (Mental models) รูปแบบความคิดของบุคคลมีอิทธิพลต่อแนวทางการปฏิบัติของบุคคลนั่นๆ อีกทั้งเป็นสิ่งที่กำหนด พฤติกรรมการปฏิบัติงานว่าจะมีลักษณะเช่นไร ด้วยเหตุนี้เององค์กรต้องพัฒนาบุคลากรให้มีการเรียนรู้และเข้าใจถึงสิ่งที่บุคคลต้องการ(Self Vision) กับสิ่งที่องค์กรต้องการ (Organizational Vision) ซึ่งองค์กรควรเตรียมการสร้างบรรยากาศของการแลกเปลี่ยนแนวความคิดระหว่างกันอันทำให้คนในองค์กรมีแนวความคิดไปในแนวทางเดียวกัน และนำไปสู่ผลงานที่มีประสิทธิภาพ และประสิทธิผล 3.วิสัยทัศน์ร่วม (Shared vision)ความสอดคล้องระหว่างวิสัยทัศน์ขององค์กรและวิสัยทัศน์ของบุคคล ส่งผลให้บุคคลปฏิบัติหน้าที่ด้วยความผูกพันธ์มิใช่เพียงแค่การทำตามหน้าที่เท่านั้น ดังนั้นจุดมุ่งหมายขององค์กรแห่งการเรียนรู้คือการผลักดันให้บุคคลในองค์กรทุกคนมีข้อสัญญาผูกมัดทางใจ โดยอาศัยจุดประสงค์ร่วมกันบนพื้นฐานของการเป็นหุ้นส่วน(Partner) ซึ่งสิ่งดังกล่าวเกิดขึ้นได้เนื่องจากการแลกเปลี่ยนแนวความคิด ความรู้ ประสบการณ์ ซึ่งกันและกันนั่นเอง 4. การเรียนรู้เป็นทีม (Team learning)ในองค์กรแห่งการเรียนรู้ไม่ควรให้บุคคลใดบุคคลหนึ่งเก่งอยู่ผู้เดียวในองค์กร ควรก่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนความคิดทั้งในรูปแบบที่เป็นทางการ(Formal) และไม่เป็นทางการ (Informal) ก่อให้เกิดเป็น ความรู้ ความคิดร่วมกัน ภายในองค์กร การดำเนินการอาจตั้งเป็นทีมเรียนรู้เพื่อพิจารณาความเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมภายนอกองค์กร รวมทั้งสภาพความเป็นไปภายในองค์กร เพื่อนำมาแลกเปลี่ยนแนวความคิดและนำไปสู่ข้อกำหนดในการปรับปรุงองค์กรให้มีประสิทธภาพ 5. ความคิดเป็นระบบ (System thinking) เป็นวินัยข้อที่สำคัญมาก มีลักษณะคือการพิจารณาองค์กรต้องพิจารณาในรูปแบบองค์รวมขององค์กร ไม่ควรพิจารณาแต่เพียงปัจเจกบุคคลเท่านั้น มีกรอบแนวความคิดคือ คิดเป็นกลยุทธ์ เน้นรูปแบบที่สามารถนำมาปฏิบัติจริงได้ คิดทันเหตุการณ์ การคิดควรทันต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมภายนอกที่มีอิทธิพลต่อองค์กร และสามารถแก้ไขปัญหาได้ทันเหตุการณ์ การมองเห็นโอกาส การคิดไม่เพียงแต่การคิดในปัญหาเฉพาะหน้าเท่านั้น แต่ควรพิจารณาถึงสภาพการณ์ในอนาคต เพื่อสามารถกำหนดแนวทางการปฏิบัติเชิงรุกได้ อาจกล่าวได้ว่ามิติในการพัฒนาองค์กรแห่งการเรียนรู้(Learning Organization) เกี่ยวเนื่องกับมิติทางด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ (Human Resource Development) อย่างแท้จริงกล่าวสถานะขององค์กรแห่งการเรียนรู้จะดำรงอยู่ได้ต้องอาศัยบุคลากรเป็นสำคัญ ซึ่งบุคลากรนั่นคงเกี่ยวข้องกับบุคคลหลายระดับ เช่น ผู้บริหาร หัวหน้างาน พนักงานระดับปฏิบัติการ ซึ่งต้องมีความชัดเจนในวินัยทั้ง 5 ประการของ Peter M. Senge นั้นเอง

นางสาวกรณ์สมัชญ์ เปรี่ยมพิมาย 5050504501 การจัดการทั่วไป รุ่น 11 หมู่ 5

การบริหารงานแบบบูรณาการ  -------------------------------------------------------------------------------- สร้างความเข้าใจ ความพร้อม ความร่วมมือ และช่องทางการมีส่วนร่วมของหน่วยงานภาครัฐภาคเอกชนและประชาชน รับฟังความคิดเห็นจากทุกภาคส่วน ประชุมชี้แจงทำความเข้าใจ เผยแพร่ข่าวสาร และประชาสัมพันธ์ พัฒนาบุคลการในความรู้และทักษะที่จำเป็นเพื่อความพร้อมปฏิบัติงาน ปรับปรุงโครงสร้างและระบบการบริหารงานจังหวัด การปรับปรุงโครงสร้างการบริหารงาน จัดองค์กรที่มีประสิทธิภาพ การพัฒนาระบบฐานข้อมูลกลางของจังหวัด การปรับปรุงกระบวนการทำงานให้สอดคล้องกับการบริหารแบบบูรณาการ การสร้างระบบเพื่อการบูรณาการ งานและงบประมาณ การกำหนดยุทศาสตร์เพื่อแก้ไขปัญหาและพัฒนาจังหวัดพร้อมทั้งนำไปสู่การปฏิบัติ แนวทางตามนโยบายรัฐบาล โครงการสำคัญของรัฐบาลที่มีผลต่อการแก้ไขปัญหา โครงการกิจกรรมที่ทำให้บรรลุยุทธศาสตร์กลุ่มจังหวัด แนวทางตามความคิดริเริ่มของจังหวัด ยุทธศาสตร์จังหวัด ประสิทธิภาพของการปฏิบัติราชการ คุณภาพการให้บริการประชาชน การพัฒนาองค์กร การติดตามและประเมินผล การรายงานผล การตรวจติดตามในพื้นที่ การประเมินผลโดยสถาบันการศึกษา

น.ส.ธัญญรัตน์ สมบรูณ์รัมย์ 5050504247 การจัดการทั่วไป รุ่น 11 หมู่ 2

หลักการบริหาร TQM

ค้นหาความต้องการของลูกค้า โดยการสำรวจกลุ่มเป้าหมาย หรือเทคนิคอื่น ๆ

ออกแบบสินค้าหรือบริการตามที่ลูกค้าต้องการหรือเกินกว่าความคาดหวัง

ออกแบบกระบวนการที่ง่ายเพื่อให้งานที่ออกมาถูกต้อง กำหนดวิธีการป้องกันข้อผิดพลาดที่จะเกิดขึ้น

เก็บผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นเพื่อใช้เป็นแนวทางในการปรับปรุงพัฒนาระบบ

ขยายแนวความคิดนี้ไปสู่ผู้จำหน่ายวัตถุดิบและช่องทางการจัดจำหน่ายสินค้า

หลายบริษัทประสบผลสำเร็จจากการปฏิบัติตามหลักการของ TQM เชน General Electric (GE) และ Motorola ทั้งสองบริษัทได้นำเอาโปรแกรม Six-sigma

แนวคิดและภาพรวมของTQM

การปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง (Continuous improvement)

การเปรียบเทียบเพื่อการแข่งขัน (Competitive benchmarking)

มอบอำนาจให้แก่พนักงาน (Employee empowerment)

วิธีการทำงานเป็นทีม (Team Approach)

การตัดสินใจโดยใช้พื้นฐานของข้อเท็จจริง (Decision based on fact rather than opinion)

ความรู้ในตัวเครื่องมือ (knowledge of tools)

คุณภาพของผู้ขายปัจจัยการผลิต (Supplier quality)

ผู้ชนะเลิศ (Champion)

คุณภาพที่แหล่งผลิต (Quality at the source)

ผู้ขายปัจจัยการผลิต (Supplier)

นายดำรงค์ชัย กระแชรัมย์ 5050504516 การจัดการทั่วไป รุ่น 11 หมู่ 5

อนุกรมมาตรฐาน มอก. ISO-9000 แบ่งเนื้อหาออกเป็น 5 ฉบับหลัก ได้แก่ ISO 9000, ISO 9001, ISO 9002, ISO 9003 และ ISO 9004 โดยแต่ละฉบับมีเนื้อหาโดยสรุปคือ

ISO 9000 เป็นแนวทางในการเลือก และกรอบ การเลือกและการใช้มาตรฐานชุดนี้ให้เหมาะสม โดยมีการแยกย่อยเป็น

ISO 9000 - 1 เป็นข้อแนะนำการเลือกใช้

ISO 9000 - 2 เป็นแนวทางทั่วไปในการเลือกและการประยุกต์ใช้มาตรฐานในชุดนี้ให้เหมาะสม

ISO 9000 - 3 เป็นแนวทางในการนำ ISO 9001 ไปพัฒนาประยุกต์ใช้

ISO 9000 - 4 เป็นข้อแนะนำในเรื่องการจัดการที่น่าเชื่อถือ

ISO 9001 เป็นมาตรฐานระบบคุณภาพซึ่งกำกับดูแลทั้งการออกแบบและพัฒนา การผลิต การติดตั้ง และการบริการ

ISO 9002 เป็นมาตรฐานระบบคุณภาพซึ่งกำกับดูแลเฉพาะการผลิต การติดตั้ง และการบริการ

ISO 9003 เป็นมาตรฐานระบบคุณภาพซึ่งกำกับดูแลเรื่องการตรวจและการทดสอบขั้นสุดท้าย

ISO 9004 เป็นแนวทางในการบริหารงานคุณภาพเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด โดยเป็นข้อแนะนำในการจัดการในระบบคุณภาพซึ่งจะมีการกำหนดย่อยในแต่ละประเภทธุรกิจ เช่น

ISO 9004 - 1 ข้อแนะนำการใช้มาตรฐาน

ISO 9004 - 2 ข้อแนะนำการใช้สำหรับธุรกิจบริการ

ISO 9004 - 3 ข้อแนะนำกระบวนการผลิต เป็นต้น

น.ส.ธัญญรัตน์ สมบรูณ์รัมย์ 5050504247 การจัดการทั่วไป รุ่น 11 หมู่ 2

TPM คือ อะไร

TPM ย่อมาจากคำว่า Total Productive Maintenance แปลเป็นไทยว่า การบำรุงรักษาทวีผลที่ทุกคนมีส่วนร่วม

หลักการของ TPM นั้นเริ่มต้นการพัฒนามาจาก การดำเนินการ PM หรือการทำ Preventive Maintenance และได้พัฒนาการดำเนินการมาเรื่อยๆ โดยความคิดพื้นฐาน เริ่มจากการทำการบำรุงรักษาเครื่องจักร เพื่อไม่ให้เสีย และสามารถเดินเครื่อง ตามที่ต้องการได้ โดยการใช้ ทั้งการบำรุงรักษาตามคาบเวลา (Time Base Maintenance) การบำรุงรักษาตามสภาพของเครื่องจักร (Condition Base Maintenance) และ การเปลี่ยนแปลงเครื่องจักร ที่บำรุงรักษาง่ายขึ้น และมีอายุการใช้งานนานขึ้น (Maintenance Prevention) แต่เครื่องจักร ก็ยังเสียอยู่ และมีค่าใช้จ่าย ในการบำรุงรักษาสูงมาก

ความคิดเรื่องการทำการบำรุงรักษา เพื่อให้เครื่องจักรไม่เสียนั้น จึงเริ่มจากการตรวจสอบ ให้ทราบถึงการเสื่อมสภาพ ของชิ้นส่วนต่างๆ ก่อนที่เครื่องจักรนั้นๆ จะเสียหาย ดังนั้นจึงต้องมีผู้ที่มีความสามารถ ในการตรวจสอบเครื่องจักร ซึ่งต้องเป็นผู้ที่สามารถรับรู้ การเสื่อมสภาพได้อย่างแม่นยำ ผู้ที่จะทำเช่นนี้ได้อย่างดีที่สุดก็คือ พนักงานเดินเครื่อง ต่อมาจึงได้พัฒนามาเป็น การบำรุงรักษาด้วยตนเอง หรือ Autonomous Maintenance ซึงเป็นเอกลักษณ์ของ TPM การดำเนินการ การบำรุงรักษาด้วยตนเองหรือ Autonomous Maintenance จึงเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวของ TPM

แต่การดำเนินการเพียงเพื่อให้เครื่องจักรเสียเป็oศูนย์ นั้นยังไม่เพียงพอ TPM จึงมุ่งไปสู่การเป็นผู้ผลิตระดับโลก หรือ World Class Manufacturing โดยนำกิจกรรมอื่นมาผนวกรวมด้วยเป็น 8 กิจกรรมหลักของการดำเนินการ TPM หรือที่เรียกว่า 8 เสาหลักของ TPM นั่นเอง

วัตถุประสงค์ของ TPM

1.เพื่อสร้างวัฒนธรรมของการเป็น ศูนย์ ซึ่งหมายถึง อุบัติเหตุเป็นศูนย์ ของเสียเป็นศูนย์ เครื่องเสียเป็นศูนย์ ในทุกกระบวนการผลิต โดยใช้หลักการ 5G

2.เพื่อให้เกิดความร่วมมือร่วมใจกัน ของพนักงานทุกระดับ ในอันที่จะลดความสูญเสียลง ตั้งแต่ ผู้บริหารระดับสูง จนถึงพนักงานหน้างาน

3.เพื่อให้เกิดความร่วมมือร่วมใจกัน ของพนักงานทุกแผนก ทุกหน่วยงานในองค์กร ในอันที่จะลดความสูญเสียลง

4.เพื่อให้ทักษะ ความรู้ ความสามารถของพนักงานทุกคนสูงขึ้น

5.เพื่อปรับเปลี่ยนวัฒนธรรมขององค์กร ไปสู่การเป็นผู้ผลิตที่สามารถแข่งขันได้ในระดับโลก

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท