AAR: ฝึกสุนทรียสนทนา (Dialogue) สำนักวิทยบริการ มมส.


 

Learning01

  • การไปเป็นกระบวนกร(ร่วม) ที่สำนักวิทยบริการ มมส. คราวนี้ เหมือนได้กลับบ้านเก่าบ้านเกิดประมาณนั้นเลยครับ มีความอบอุ่น ความคุ้นเคย ความรักที่สัมผัสได้ด้วยใจครับ
  • งานนี้เป็นงานแรกของการฝึกเป็น"กระบวนกร" เป็น Action Learning ไปพร้อม ๆ กัน ระหว่างผู้เข้าร่วมและกระบวนกรเองครับ
  • งานนี้ท่าน ผอ.สุริทอง ศรีสะอาด (ผอ.สำนักวิทยบริการ) ในฐานะท่านเอื้อก็ให้เกียรติมาร่วมเป็นกระบวนกรเสริม โดยมีท่าน อ.เฉลิมศักดิ์ ชุปวา เป็นกระบวนกรหลักและพ่องานประสานสิบทิศ และได้รับเกียรติจาก อ.สายใจ ชุปวา มาร่วมเป็นกระบวนกรด้วยอีกท่านหนึ่ง
  • ท่าน ผอ. กล่าวเปิดงานตอนหนึ่งว่า ...งานนี้เป็น ดรีมทีม เพื่อนช่วยเพื่อนอย่างแท้จริง... ร่วมเรียนรู้จากกันและกันจากการปฏิบัติหน้างานด้วยความสุขยิ่ง
  • เพราะเป็นงานแรก และใช้เวลาไม่มากนัก ผมเองจึงหวังเพียงว่า ให้ผู้เข้าร่วมรู้จัก คำว่า "สุนทรียสนทนา (Dialogue)" ก็เพียงพอแล้ว
  • กิจกรรมที่นำมาเป็นเครื่องมือในครั้งนี้ เริ่มจากผู้นำสี่ทิศ  world cafe' และปิดท้ายด้วยการฟังอย่างเป็นกระจกเงา
  • จากการสังเกตุ และ AAR จากผู้เข้าร่วมพบว่า ได้ผลเกินความคาดหมาย เป็นการบูรณาการที่หลากหลาย การหันหน้าเข้าหากัน และมีชีวิตชีวาอย่างเห็นได้ชัด
  • ผมได้เรียนรู้ว่า ในฐานะกระบวนกรมือใหม่ฝึกหัดนั้นการทำงานเป็นทีมจะช่วยได้ดีมาก ทำให้เราเรียนรู้และเสริมซึ่งกันและกัน เพื่อนช่วยเพื่อน เรียนจากเพื่อน จะทำให้พัฒนาได้เร็วยิ่งขึ้น
  • ผมคิดว่า กิจกรรมอย่างนี้ ต้องมีการฝึกอย่างต่อเนื่องเป็นระยะ ๆ เรียนรู้ร่วมกันไป ภายในหน่วยงานเอง เรียนรู้ระหว่างหน่วยงาน หรือทั้งมหาวิทยาลัยเป็นระยะและต่อเนื่อง มีการสร้างกระบวนกรหน้าใหม่เพิ่มมากขึ้น ๆ ยิ่งเป็นการดี

 

คำสำคัญ (Tags): #msu#มมส
หมายเลขบันทึก: 192277เขียนเมื่อ 5 กรกฎาคม 2008 09:20 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 19:15 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (10)
  • แวะมาร่วมแสดงความยินดีด้วยครับ
  • ทุกอย่างต้องมีงานแรก จึงจะมีครั้งต่อ ๆ ไปครับ
  • กิจกรรมอย่างนี้ ต้องมีการฝึกอย่างต่อเนื่องเป็นระยะ ๆ เรียนรู้ร่วมกันไป ภายในหน่วยงานเอง เรียนรู้ระหว่างหน่วยงาน หรือทั้งมหาวิทยาลัยเป็นระยะและต่อเนื่อง มีการสร้างกระบวนกรหน้าใหม่เพิ่มมากขึ้น ๆ ยิ่งเป็นการดี
  • เห็นด้วยอย่างยิ่งครับกับความคิดข้างบน

เรียนท่านอาจารย์

P

1. Panda

 

  • ในวันจันทร์ที่ 7 ก.ค. นี้ ช่วงบ่าย สำนักวิทยบริการก็จัดงานคล้าย ๆ กันนี้อีกครั้งครับท่านอาจารย์ เสียดายผมติดธุระต้องไปสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญไม่สามารถเข้าร่วมงานได้
  • อยากให้หน่วยงานอื่น ๆ นำไปทดลองใช้ดูทุก ๆ หน่วยงานคงดีครับ อาจไม่ต้องหวังผลเลิศ ไม่ต้องรีบ ค่อย ๆ เรียนรู้จากกันและกันไป คล้าย ๆ แนวคิด world cafe' ที่หมุนเวียนเรียนรู้ร่วมกัน สุดท้ายก็จะเป็นหนึ่งเดียวกันในที่สุด ผมเชื่อเช่นนั้นครับ
  • ขอบพระคุณครับ
  • ได้ทราบว่า สำนักวิทยบริการ มีการจัดงานมาแล้ว หลายครั้งที่เกี่ยวข้องกับ KM-QA แต่ยังไม่ค่อยมีการนำมาบันทึก เพื่อขยายให้ทราบกัน
  • หวังที่จะได้อ่านบันทึกของ ฅน สำนักวิทยาบริการมากขึ้นในอนาคตครับ

เรียนท่านอาจารย์

P

3. Panda  ครับ
  • ได้ทราบว่า สำนักวิทยบริการใช้ระบบสื่อสารที่พัฒนาขึ้นมาใช้เฉพาะเป็นการภายในหน่วยงานเองครับ
  • มีบางท่านใช้ G2K เช่น อ.เฉลิมศักดิ์ แต่หลายเดือนมาท่านลืม Password เลยไม่ได้เขียนบันทึกมาเป็นระยะเวลานานพอสมควรแล้วครับ
  • การใช้ระบบสื่อสารที่เป็นระบบปิดเฉพาะหน่วยงานมีข้อดีไม่น้อย แต่บางทีก็เป็นปัญหาในการเรียนรู้ข้ามหน่วยงานนะครับ
  • ถ้ามีโอกาสได้พบผู้บริหารสำนักฯ จะเรียนปรึกษาท่านในประเด็นนี้ต่อไปครับ
  • ขอบพระคุณครับ

 

 

 

-อ.Panda และ อ.สรรเชตครับ

-ติดตามและทราบแนวคิดของท่านมาตลอดครับ แต่ลืม password เข้า G2K

-จะพยายามหาเวลาเล่าประสบการณ์จากสำนักวิทยบริการให้พรรคพวกทราบครับ

-ตอนนี้รับงานใหม่กำลังตั้งหลักครับ

-จะรบกวนขอคำแนะนำจากท่านในเร็วนี้ครับ

เยี่ยมมากเลยค่ะ ชื่นชม

เรียน อ.เฉ ครับ

  • พึ่งนึกขึ้นได้ว่า ไอ้เจ้า Blog ต่าง ๆ มีข้อดีมากมายหลายประการ
  • แต่ก็เสียตรงที่ กินเวลาชีวิตไปมากเหมือนกัน (ถ้าเสพติด) คงต้องแบ่งเวลาให้ดีครับผมว่า

สวัสดีครับ

P

6. sarah

 

  • ขอบคุณที่แวะเข้ามาทักทายครับ

 

 

แวะมาอ่านสิ่งดีๆ สนใจเรื่อง world cafe' หาอ่านได้ที่ไหนคะ

สวัสดีครับ

P

9. krutoi

 

  • ขอบคุณครับ
  • เออ! ผมเข้ารับการอบรมเรื่อง world cafe จากท่าน ดร.วรภัทร์ กับ คุณทวีสินครับ  และก็ศึกษาเพิ่มเติมจากเวปไซด์ของต่างประเทศทั่ว ๆ ไปครับ
  • ลองค้นหาในคำสำคัญของ G2K นี้ดูเผื่อจะมีรายละเอียดบ้างนะครับ
  • หลักการง่าย ๆ เบื้องต้นคือ องค์ความรู้ในสังคมแห่งการเรียนรู้เกิดใหม่ทุกวัน มากขึ้น และมากขึ้นทุกวันทุกนาที โดยอาจจะดูจากสถิติใน google ผสมผสานกับแนวคิดที่ว่า คนแต่ละคนมีความรู้ในตนที่หลากหลาย คนแต่ละคนสามารถกลั่นกรอง วิเคราะห์ สังเคราะห์ความรู้ได้แตกต่างกัน อีกทั้งยังนำองค์ความรู้นอกตัวมาผสมผสานกับความรู้ในตัวสร้างเป็นองค์ความรู้ใหม่ได้เป็นอย่างดีแตกต่างกันไป เพระฉะนั้นรูปแบบการเรียนรู้แห่งยุคสมัยสังคมแห่งการเรียนรู้ที่ดีมากวิธีการหนึ่งก็คือ การนำความรู้ของแต่ละคนมาตัดแต่งของกันและกันผ่านการสุนทรียสนทนา เช่น ที่ผมประยุกต์ใช้ก็คือ ผมจะนำกิจกรรม world cafe มาใช้ในการสรุปการเรียนที่ผมออกไปสอนตามศูนย์ต่าง ๆ ในวันเสาร์อาทิตย์ เป็นต้นครับ
  • หลักการอีกอย่างคือ ในการแลกเปลี่ยนกันในแต่ละรอบถ้ากลุ่มนั้นมี 7 คน แต่ละคนก็จะได้เรียนรู้องค์ความรู้ไป 7 มุมมอง ในรอบที่ 2 เมื่อแต่ละคนถือความรู้มา 7 มุมมอง มาแลกเปลี่ยนกันอีกก็จะกลายเป็น 7x7 ความรู้หรือมุมมองประมาณนั้นครับ

 

 

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท