แนวทางการช่วยเหลือเด็กที่มีความบกพร่องด้านการเขียน


แนวทางการช่วยเหลือเด็กที่มีความบกพร่องด้านการเขียน

·       ให้เวลาเพิ่มในการทำกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการเขียน เช่น การจดบันทึก การทำรายงาน

     และการสอบ

·       ใช้กระดาษที่มีเส้นเพื่อเป็นแนวทางให้เด็กเขียนอยู่ในเส้น และเส้นต้องมีสีเข้มเห็นได้ชัดเจน หรือเป็นลักษณะเส้นนูนขึ้นมา

 

·       ทำงานที่ได้รับมอบหมายด้วยการวาดเป็นรูปภาพ หรือพูดใส่เทปบันทึกเสียง

 

·       จัดหาอุปกรณ์การเขียนที่มีความเหมาะสมกับเด็ก โดยการจัดหาปากกา/ดินสอที่เด็กเขียนแล้วรู้สึกสบาย

 

·    จัดทำ/จัดหาอุปกรณ์เสริมที่เกี่ยวข้องกับการเขียน เช่น ปลอกสวมดินสอ/ปากกา เพื่อให้เด็กมีความมั่นคงในการใช้อุปกรณ์ในการเขียน

 

·       เขียนตัวเลข พยัญชนะ หรือสระ โดยตัดกระดาษเป็นรูปสามเหลี่ยมติดไว้ที่มุมโต๊ะ เพื่อให้เด็กดูและช่วยให้เด็กระลึก/จำพยัญชนะ ตัวเลข และตัวอักษรได้ง่ายขึ้นว่ามีลักษณะอย่างไร ก่อนที่เด็กจะลงมือเขียน

·    จัดท่าทางในการนั่งเขียนให้มีความเหมาะสม โดยฝ่าเท้าวางราบกับพื้น โต๊ะมีระดับความสูงเหมาะสมกับเด็ก นั่งหลังตรง ก้มคอเล็กน้อย และตำแหน่งของการวางกระดาษอยู่กึ่งกลางของโต๊ะ

·    ท่าทางในการจับดินสอ โดยที่เด็กใช้นิ้วชี้และนิ้วหัวแม่มือจับดินสอ ห่างจากปลายดินสอ ¾ นิ้ว 1 นิ้วแล้วเอียงดินสอ 45 องศา ให้วางอยู่ระหว่างช่องว่างของนิ้วหัวแม่มือและนิ้วชี้ และมีนิ้วกลางประคองดินสอ รวมทั้งมีนิ้วนางและนิ้วก้อยเป็นตัวช่วยในการเคลื่อนไหวของมือขณะเขียน

·    ฝึกการเขียนตัวอักษร และตัวเลขในอากาศ เพื่อส่งเสริมความจำลักษณะรูปร่างและรูปทรงของตัวอักษร และตัวเลขผ่านการเคลื่อนไหว

·       ให้เด็กเขียนข้อความสั้นๆที่สัมพันธ์กับตัวอักษรที่กำหนดให้ เช่น ต ต้นไม้

·       ให้เด็กเขียนรายการสิ่งของเพื่อไปซื้อของที่ร้านขายของชำ

·       ให้เด็กเขียนสะกดคำบนกระดานวันละคำ

·       ฝึกการเขียนบนถาดทราย ถาดแป้ง หรือกระดาษทราย

·       ใช้นิ้วชี้เขียนตัวอักษรบนหลังของเด็กแล้วให้ทาย หรือให้เด็กดูการ์ดพยัญชนะแล้วใช้นิ้วชี้ของตัวเองเขียนบนหลังเพื่อน

·       อนุญาตให้เด็กลงมือทำโครงงานหรืองานได้รับหมายก่อนแต่เนิ่นๆ

·       สร้างแผนการทำงานที่ได้รับมอบหมายเป็นขั้นตอนย่อย

·       กำหนดเวลาทำงานที่ได้รับมอบหมาย

·       ให้เวลาในการเตรียมตัวก่อนทำ เช่น เขียนชื่อ วันที่ ก่อน ที่จะจับเวลาในการทำกิจกรรม

·       แทนที่จะให้เด็กทำงานเขียนทั้งหมด ก็จัดให้เด็กทำบางส่วน หรือทำเป็นลักษณะเติมคำลงในช่องว่าง

 

·    ใช้กระดาษที่เป็นตารางสำหรับคำนวณวิชาคณิตศาสตร์เพื่อให้เด็กทำตามแถวในแนวตั้งและตามบรรทัดในแนวนอน เพื่อที่เด็กจะได้บวกเลขตรงหลัก

·       ใช้กระดาษสีดำเจาะเป็นช่องเท่ากับบรรทัดที่เขียน เพื่อลดสิ่งเร้าทางสายตา

·       ฝึกให้เด็กหัดสะกดชื่อตนเอง ชื่อสัตว์ อาหาร หรือชื่อตัวการ์ตูนที่เด็กชอบ เพื่อให้เด็กมีแรงจูงใจที่จะหัดสะกดคำ

·    ส่งเสริมการใช้มือในการทำกิจกรรมต่างๆเพื่อเพิ่มความคล่องแคล่วและความแข็งแรงของมือและแขนเช่น การปั้นดินน้ำมัน การหิ้วประเป๋า การปาลูกบอล

·       ส่งเสริมการเรียนรู้ทักษะในการพิมพ์เพื่อเพิ่มความเร็วในการอ่านงานที่เกี่ยวข้องกับการเขียน

·       สอนรูปแบบการเขียนที่หลากหลายและมีความชัดเจน เช่น การเขียนเรียงความ เรื่องสั้น กลอน บันทึกประจำวัน

·    ให้เด็กตรวบจสอบงานเขียนของตนเองด้วยการอ่านงานของตนเอง หรืออ่านสะกดคำ ซึ่งเป็นการง่ายที่จะทำให้เด็กเห็นความผิดพลาดจากการเขียนด้วยตนเอง

·       ลดการลอกโจท์/คำถาม โดยให้เด็กเขียนคำตอบ หรือพูดรายงานแทนการเขียน

·       นำคอมพิวเตอร์มาช่วยพิมพ์เพื่อลดอารมณ์หงุดหงิดจากการเขียนไม่ถูกหรืออ่านลายมือที่ตนเองเขียนไม่ออก

·       ฝึกให้เด็กมีความอดทน โดยทำการส่งเสริมผ่านการฝึกฝนอย่างสม่ำเสมอ

หมายเลขบันทึก: 191916เขียนเมื่อ 3 กรกฎาคม 2008 09:24 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 00:51 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท