บุหรี่ไร้ควัน+ยาฉุน เพิ่มเสี่ยงมะเร็งช่องปาก+หลอดอาหาร+ตับอ่อน


เป็นที่ทราบกันดีว่า บุหรี่เพิ่มเสี่ยงต่อมะเร็งสารพัดชนิด ตั้งแต่มะเร็งปอด มะเร็งช่องปาก มะเร็งกระเพาะอาหาร ไปจนถึงมะเร็งปากมดลูก

...

เป็นที่ทราบกันดีว่า บุหรี่เพิ่มเสี่ยงต่อมะเร็งสารพัดชนิด ตั้งแต่มะเร็งปอด มะเร็งช่องปาก มะเร็งกระเพาะอาหาร ไปจนถึงมะเร็งปากมดลูก

วันนี้มีผลการศึกษาที่พบว่า บุหรี่ไร้ควันและยาฉุน(สูดเข้าทางจมูก)ก็เพิ่มเสี่ยงมะเร็งอีกหลายอย่างมาฝากครับ

...

ท่านอาจารย์เปาโล บอฟเฟตตา (Paolo Boffetta) นักระบาดวิทยาและคณะ แห่งสำนักวิจัยมะเร็งนานาชาติ องค์การอนามัยโลกทำการทบทวนการศึกษา 11 รายงาน

ผลการศึกษาพบข่าวดีคือ บุหรี่ไร้ควันและยาฉุนไม่เพิ่มความเสี่ยงมะเร็งปอด

...

ทีนี้ข่าวดีย่อมมาคู่กับข่าวร้าย... ข่าวร้ายที่ว่าคือ บุหรี่ไร้ควันและยาฉุนเพิ่มความเสี่ยง (โอกาสเป็น) มะเร็งหลายชนิดได้แก่

มะเร็ง ความเสี่ยงเพิ่มขึ้น
ช่องปาก 80%
หลอดอาหาร 60%
ตับอ่อน เพิ่มขึ้น (ไม่ได้ระบุ %)

...

ทางเลือกที่ปลอดภัยสำหรับบุหรี่ยังคงเป็นการไม่สูบ และไม่สูดควันบุหรี่มือสอง (ที่คนอื่นสูบ) เข้าไป

ถึงตรงนี้... ขอให้พวกเรามีสุขภาพดีไปนานๆ ครับ

...

ที่มา                                                  

  • Thank Reuters > Michael Kahn. Maggie Fox ed. > Smokeless tobacco ups oral cancer risk 80 percent > [ Click ] > July 2, 2008. // J Lancet Oncology.

...

  • ข้อมูลและการอ้างอิงในบล็อก "บ้านสุขภาพ" เป็นไปเพื่อส่งเสริมสุขภาพ และป้องกันโรค ไม่ใช่รักษาโรค
  • ท่านที่มีโรคประจำตัว หรือมีความเสี่ยงต่อโรคสูง... ควรปรึกษาหมอ พยาบาล เภสัชกร หรืออนามัยที่ดูแลท่านก่อนนำข้อมูลไปใช้

...

  • ขอขอบพระคุณ > ท่านอาจารย์ นพ.ศิริชัย ภัทรนุธาพร นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดลำปาง + อ.นพ.โอฬาร ยิ่งเสรี ผู้อำนวยการโรงพยาบาลห้างฉัตร > ท่านผู้อนุเคราะห์สถานที่ทำงาน + อินเตอร์เน็ต
  • ขอขอบคุณ > อาจารย์อนุพงษ์ แก้วมา (นี่) + ทีมงานศูนย์แพทย์ชุมชนแม่สัน-เมืองยาว (CMU) + อาจารย์ณรงค์ ม่วงตานี (ต้อม) + อาจารย์พัสกร บุณยะประภูติ (เบนซ์) > สนับสนุนเทคนิค iT.

...

  • นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์ ศูนย์แพทย์ชุมชน (CMU) โรงพยาบาลห้างฉัตร ลำปาง > 2 กรกฎาคม 2551.
หมายเลขบันทึก: 191821เขียนเมื่อ 2 กรกฎาคม 2008 18:04 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 00:50 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

ขอขอบคุณ...

  • ขอขอบคุณ suksom ที่แวะมาเยี่ยมเยียนครับ

ผมได้อ่านเจอในคอลัมน์ของหนังสือพิมพ์.... ฉบับ 2ก.ย. 51 ทำไมยังคงมี

ประชาสัมพันธ์เชิงโฆษณา เรื่องบุหรี่ไร้ควันอยู่ ไม่ทราบว่าเป็นการอัพเดทตัวผลิตภัณท์

ใหม่ อีกครั้งหรือเปล่าครับ? หลังจากที่มีการวิจัยว่ามีอันตรายสูงกว่าบุหรี่แบบธรรมดา...(เห็นบอกสรรพคุณว่า ตัวก้นกรองจะกระจายสารนิโคติน ให้เบาบางลง คล้ายน้ำที่ออกมาจากฝักบัว)

ขอขอบคุณ... คุณพงศ์

...

อันตรายของบุหรี่มาจาก 3 องค์ประกอบใหญ่ๆ ได้แก่

  • (1). นิโคติน > ทำให้พึงพอใจ > เสพติด
  • (2). น้ำมันดิน / ทาร์ (tar) > ทำให้เกิดการอักเสบเรื้อรัง > เกิดโรคทางเดินหายใจ และมะเร็ง เช่น มะเร็งปอด ถุงลมโป่งพอง หอบหืด หลอดเลือดเสื่อม แก่เร็ว ฯลฯ
  • (3). แก๊สคาร์บอนมอนอกไซด์ (จากการเผาไหม้) > ทำให้ร่างกายขาดออกซิเจนเรื้อรัง > เพิ่มเสี่ยงโรคหัวใจ อัมพฤกษ์ อัมพาต

...

บุหรี่ก้นกรองและบุหรี่ไร้ควัน...

  • ลดการได้รับน้ำมันดินหรือทาร์ (แต่ไม่ 100%)
  • แต่ไม่ลดความเสี่ยงข้อ 1 + 3 ครับ

...

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท