ภาวะผู้นำและผู้บริหารของอาชีวศึกษา


พัฒนาผู้นำให้ก้าวหน้าเพื่อนำพาอาชีวศึกษาของไทยให้ก้าวไกล

สวัสดีครับชาว Blog และลูกศิษย์ ที่รักทุกท่าน           

            ผมรู้สึกเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่ได้มีโอกาสจัดโครงการ "พัฒนาภาวะผู้นำและผู้บริหารของอาชีวศึกษา"  ให้แก่บุคลากรระดับหัวหน้าฝ่ายและหัวหน้าแผนกท่สังกัดอยู่ในกรมอาชีวศึกษาทั่วประเทศไทย เพื่อนำไปสู่การทำงานที่มีประสิทธิภาพ

          ผมขอถือโอกาสใช้ Blog นี้เป็นแลกเปลี่ยนความรู้ของทุกๆท่าน หวังว่าคงจะเป็นประโยชน์แก่ทุกท่านครับ                                                            

                                                                                     จีระ หงส์ลดารมภ์

ภาพบรรยากาศการเรียนรู้ปฐมนิเทศ

003

001

002

004

005

006

008

009

007

010

  

หมายเลขบันทึก: 191509เขียนเมื่อ 1 กรกฎาคม 2008 03:04 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 19:14 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (65)

Work shop ที่ 1

ความคาดหวังหลังจากผ่านการอบรมโครงการพัฒนาภาวะผู้นำและผู้บริหารมืออาชีพ

กลุ่มที่ 1

1.      มีการเปลี่ยนแปลงด้านความคิด, มีการเปลี่ยนแปลงด้านพฤติกรรม เพื่อนำไปสู่การพัฒนาองค์กร

เพื่อเป็น Brand ของ สอศ.ได้

2.      แนวคิดนวัตกรรม

3.      พัฒนาแกนและเปลือกของอาชีวะ

·       แนวคิดเชิงพัฒนา

·       แนวคิดเชิงนวัตกรรมโดยยึดแกนของอาชีวะ

·       พัฒนาเป็นทีม

·       พัฒนางาน

4.       การ Coaching

 

กลุ่มที่ 3

1.                        นำศักยภาพไปพัฒนาและบริหารจัดการในอาชีวะ

2.                         นำหลักการ Coaching ไปปฏิบัติได้จริงกับบุคลากรในหน่วยงาน

3.                         สร้างแบรนด์และพัฒนาแบรนด์ให้เป็นที่ยอมรับในตลาดแรงงาน

 

กลุ่มที่ 4

1.      แนวคิดในการวางแผนการบริหารงานในวิทยาลัย

2.      ได้รับแนวคิดและเทคนิคการควบคุมอารมณ์

3.      ได้ปรับพฤติกรรมของตนเองเพื่อสร้างมูลค่า

4.      แนวทางพัฒนาอาชีวศึกษาสู่ความเป็นเลิศ

 

กลุ่มที่ 5

1.      อยากทราบ Positioning ของ สอศ. ในการศึกษาของไทย

2.      อยากทราบทิศทางการพัฒนาของ สอศ. ควรเป็นอย่างไรในอนาคต

3.      การสร้างทีมงานที่มีประสิทธิภาพ และการพัฒนาทีมงานในองค์การ

4.      เทคนิคการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพในการทำงาน

 

กลุ่มที่ 7

1.      แนวคิดในการพัฒนาองค์กรและกลยุทธ์สู่ความเป็นเลิศ

2.      การสร้าง Brand เพื่อการศึกษา

3.      การเพิ่มมูลค่าให้กับการบริหารพัฒนาอาชีวศึกษา

 

กลุ่มที่ 8

1.      การสร้างบริหารจัดการมีความคิดสร้างสรรค์สู่ความเป็นเลิศ

2.      การสร้างทีมที่มีความสามัคคีเพื่อความเข้มแข็งในการจัดการบริหารเพราะวิธีการดึงศักยภาพที่มีอยู่ในแต่ละบุคคลให้มาทำงานที่มีประสิทธิผลแต่ในการดำเนินงานต้องใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ให้มีประสิทธิภาพด้วย

3.      การบริหารจัดการที่เป็นเทคนิคสร้างกระบวนการคิดในเชิงบวกและมีความมุ่งมั่นที่จะนำองค์กรไปสู่ความเป็นเลิศและได้รับการยอมรับจากสังคม

 

 

Workshop ที่ 2

จากแนวคิดเพื่อการเรียนรู้ของอาจารย์จีระ และ Peter Senge  ท่านจะนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์กับการทำงานของอาชีวะอย่างไร?

กลุ่มที่ 1          

1.      ต้องรู้ตนเอง

§       ความต้องการ

§       สภาพแวดล้อม

§       ศักยภาพ

2.      หาวิธีการ / การจัดการ

3.      นำไปใช้ ดูจากความจริง

§       กับตนเอง

§       องค์กร

§       ผู้เรียน

กลุ่มที่ 2

1.      สร้างโอกาสในการเรียนรู้

2.      สร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้

กลุ่มที่ 3

1.      สร้างวัฒนธรรมการเรียนรู้ ตามสภาพความเป็นจริงเน้น 4 L

2.      สร้างกระบวนการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์โดยใช้ทฤษฎี 2 R และ Peter Senge

กลุ่มที่ 4

1.      วัฒนธรรมการเรียนรู้

§       การเปิดโอกาสให้ผู้เรียนรู้จักคิดเป็น ทำเป็น วิเคราะห์เป็นและสังเคราะห์ รู้จักการทำงานเป็นทีม

2.      การสร้างองค์กรในการเรียนรู้

§       การประสานงานกับหน่วยงานต่าง ๆ ในการเรียน เช่น หน่วยงานราชการ อบต. เอกชน บริษัท ต่างประเทศ

กลุ่มที่ 5

1.      วิธีการเรียนรู้ที่ดี รู้ทุกสิ่งในเรื่องที่เป็นจริง นำไปใช้ให้ตรงประเด็น

2.      สร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้โดยมีเป้าหมายร่วมกันให้กลายเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้

กลุ่มที่ 6

§       ใช้ทฤษฎี 2 R’s โดยเริ่มจากค้นหาปัญหาที่เกิดขึ้น มองสภาพความเป็นจริง  เปลี่ยนแนวคิดของบุคลากรให้อยู่กับความจริง มองสภาพความเป็นจริงที่เป็นอยู่

§       ระดมความคิดเห็น สร้างความร่วมมือ สร้างทีมงานจากบุคลากรภายในและประสานความร่วมมือกับสังคมในการดำเนินงานแก้ไขปัญหาหรือพัฒนาสิ่งใดสิ่งหนึ่งให้สู่เป้าหมายโดยใช้กระบวนการทฤษฎี 4 L’s และกฎของ Peter Senge

กลุ่มที่ 7

1.      กระบวนการเรียนรู้เชิงระบบโดยมีการจัดบรรยากาศการเรียนรู้ที่เป็นจริงและมีการถ่ายทอดโดยการใช้ทีม

2.      การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงของสังคม เศรษฐกิจ การเมือง และเทคโนโลยี

กลุ่มที่ 8

1.      เน้นการสร้างการเรียนรู้ให้เกิดกระบวนการคิดอย่างเป็นระบบเพื่อสร้างให้เกิดทักษะการตัดสินใจอย่างมีเป้าหมาย

2.      เน้นการปฏิบัติโดยมีการจัดเครือข่ายความร่วมมือ การทำงานเป็นทีม มีทักษะการคิด การตัดสินใจให้ไปสู่การทำงาน สู่เป้าหมายร่วมกัน

 

           

           

 

การทำงานกลุ่มวันพุธที่ 2 กรกฎาคม 51

Workshop 1

1.      คุณลักษณะของ Coach ที่ดี

2.      ปัญหาของการเป็น Coach ( Coaching Trap)

 

กลุ่มที่ 1

คุณลักษณะของ Coach ที่ดี

·       สร้างความศรัทธา

·       มีพรหมวิหาร 4

ปัญหาของการเป็น Coach (Coaching Trap)

·       มีความเป็นกันเองมากเกินไป

·       มีวัยวุฒิ คุณวุฒิ ประสบการณ์น้อยกว่าลูกน้อง

 

กลุ่มที่ 2

คุณลักษณะของ Coach ที่ดี

·       การเป็นผู้ให้ความบริสุทธิ์ใจ

·       รู้จักการใช้การเสริมแรง

ปัญหาของการเป็น Coach (Coaching Trap)

·       การสร้างความศัทธา

·       ไม่มียุทธศาสตร์ในการ Coaching

 

กลุ่มที่ 3

คุณลักษณะของ Coach ที่ดี

·       มองทุอย่างให้เป็นในทางบวก

·       มีวิสัยทัศน์กว้างไกล รอบรู้

·       สร้างความศรัทธา เชื่อถือไว้ใจ

·       แก้ไขและบริหารงานในความขัดแย้งได้

·       มีคุณธรรม จริยธรรม

ปัญหาของการเป็น Coach (Coaching Trap)

·       ไม่มีศาสตร์และศิลปะในการบริหารงาน

·       ไม่เปิดโอกาสให้แสดงความคิดเห็น

·       วุฒิภาวะทางอารมณ์ต่ำ

·       ไม่มีการวางแผนงานในการทำงาน

·       ไม่รู้จักให้อภัย

·       ไม่มีการวิเคราะห์ SWOT ของงาน

 

กลุ่มที่ 4

คุณลักษณะของ Coach ที่ดี

·       การมีทักษะในการแก้ไขปัญหาและให้ข้อเสนอ

·       การมีคุณธรรมต่อเพื่อร่วมงาน

ปัญหาของการเป็น Coach (Coaching Trap)

·       ขาดการสื่อสารที่ดี

·       ภาระงานในสภาพปัจจุบันมากมายมหาศาล

 

กลุ่มที่ 5

คุณลักษณะของ Coach ที่ดี

·       มีภาวะผู้นำ จริงใจ น่าเชื่อถือ เป็นแบบอย่าง

·       มีความคิดสร้างสรรค์ มีเอกลักษณ์ของตนเอง

ปัญหาของการเป็น Coach (Coaching Trap)

·       อคติ ผู้ปฎิบัติมองคุณวุฒิมากกว่าประสบการณ์ที่ดี

·       เชื่อมั่นตัวเองสู่

 

กลุ่มที่ 6

คุณลักษณะของ Coach ที่ดี

·       เป็นผู้ที่มีความรู้กว้างขวาง อยากรู้ อยากเห็น มีแนวคิริเริ่มสร้างสรรค์ การเอาใจเขามาใส่ใจเรา มีวุฒิทางอารมณ์

·       ยอมรับการเปลี่ยนแปลง

·       มีคุณธรรมเดินสายกลางมองปัญหาเป็นความสำเร็จ

ปัญหาของการเป็น Coach (Coaching Trap)

·       การยอมรับในการพัฒนาให้ยั่งยืนยังมีน้อย

·       ไม่มีแรงจูงใจ ที่ต่อเนื่อง ไม่เชื่อมั่นในตัวเองและชอบต่อรอง

·       มีงานนโยบายมากเกินไป

 

 

กลุ่มที่ 7

คุณลักษณะของ Coach ที่ดี

·       วุฒิภาวะทางอารมณ์/ความมั่นคงทางอารมณ์

·       อุทิศตน/เสียสละ

ปัญหาของการเป็น Coach (Coaching Trap)

·       ไม่มีอำนาจที่แท้จริง

·       ไม่เอาใจเขามาใส่ใจเรา

 

กลุ่มที่ 8

คุณลักษณะของ Coach ที่ดี

·       ต้องมีเวลาให้ลูกน้อง

·       ไม่ทอดทิ้งลูกน้อง

·       เป็นผู้ฟังที่ดี

·       มีมนุษย์สัมพันธ์

·       ยอมรับวัฒนธรรม

·       ยอมรับการเปลี่ยนแปลงขององค์กร

·       มีคุณธรรมเป็นตัวอย่างที่ดี

·       สร้างความเชื่อถือสร้างศรัทราให้ตัวเอง เช่นความสามารถประสบการณ์

·       เป็นที่พึ่งได้ทุกเรื่องเป็นผู้ให้คำปรึกษาที่ดี

·       อุทิศตน/เสียสละ

ปัญหาของการเป็น Coach (Coaching Trap)

·       ไม่ยอมรับการเปลี่ยนแปลงใหม่ๆ

·       กลัวเสียผลประโยชน์

น.ส.ดุษฎี ตัณหัน 1 ก.ค. 51

ประทับใจ

1. แนวคิดวิธีการ แนะนำเทคนิคการเรียนรู้ โดยไม่เน้นความรู้วิชาการ ซึ่งศึกษาได้ด้วยตนเอง แต่นำประสบการณ์มาเล่า พูดคุย เพื่อให้ความรู้ที่ไม่มีในตำรา และสร้างแรงบันดาลใจ ในการทำงาน ตามบทบาทของผู้นำ และผู้ตามที่เหมาะสม

2. ทราบวิธีการ แนวทางการสร้างผู้นำ ก่อนขึ้นมาเป็นผู้นำ คือ การสร้างความเจ็บปวด หรือผ่านความเจ็บปวดจากการทำงาน (ไม่เคยเข้าใจวิธีการนี้มาก่อน แต่หลงเข้าใจว่า คือความไม่เมตตา กลั่นแกล้ง)

3. ทราบแนวคิดการพัฒนาผู้นำแนวใหม่ เปรียบเทียบ กับการพัฒนาผู้นำแบบเก่า ทำให้เกิดความอุ่นใจว่า ผู้นำในอนาคตจะมีคุณภาพและคุณธรรม

น.ส.สุจินต์ มิ่งขวัญ กลุ่ม 5 1 ก.ค. 51

ประโยชน์ที่ได้รับจากการพัฒนาผู้นำในวันนี้

1. ได้แนวคิดว่าการพัฒนางาน พัฒนาองค์กร และพัฒนาคน จะต้องทำร่วมกันเป็นทีม ทุกคนมีศักยภาพที่หลากหลายแตกต่างกัน แต่ถ้าเอามาร่วมกัน จะเกิดประโยชน์มากมายต่อการพัฒนาคน พัฒนางาน และพัฒนาองค์กร เกิดแรงบันดาลใจว่า การทำงานให้สำเร็จ คนสำคัญที่สุด

2. ฟังบรรยายแล้ว รู้ว่าที่ผ่านมา เราเป็นได้แค่ผู้บริหาร (ระดับกลาง) ยังไม่ใช่ผู้นำที่แท้จริง มาพัฒนาในครั้งนี้ แล้วต้องพัฒนาตนเองในหลายด้าน เพื่อเป็นผู้นำที่ดีต่อไป ขอบคุณค่ะที่ให้แนวทาง

กลุ่ม 5 นายพชร ศรีวิทยา

จุดแข็ง ได้ทราบแนวคิด ประสบการณ์ของนักวิชาการ ระดับประเทศที่เป็นคำตอบว่าการพัฒนาคน (Manpower Development) ของไทย ที่เป็นลักษณะ X-man ไม่ประสบความสำเร็จเพราะความสำเร็จ (goal) ต้องบริหารปัจจัยได้

จุดอ่อน เข้าใจวัฒนธรรมองค์กร แต่ละสถานศึกษา ไม่ชัดเจน

ทำให้เสนอแนวคิดในการบริหารไม่ตรงประเด็น

กลุ่ม 5 นายธวัช ถ้วยทองคำ

1. ได้เทคนิควิธีการทำงานแบบใหม่คือ

- การไม่ลอกเลียน คือ ไม่คัดลอกผลงานของผู้อื่น

- ใช้วิธีการสร้างความเข้าใจ ศึกษาให้เข้าใจ และทำความเข้าใจร่วมกับผู้อื่น

- การสร้างมูลค่าเพิ่ม ปรับพฤติกรรมตนเอง และองค์กร ทำอย่างไรให้ลูกศิษย์มีความฉลาดออกไปทำงานได้ และเกิดความภาคภูมิใจ

2. การเป็นผู้นำ ต้องเป็นผู้ที่มีพลัง ซึ่งพลังที่เป็นเลิศที่สุดคือ “พลังแห่งความคิด” ผู้นำองค์กรที่ดี ต้องติดอาวุธทางปัญญา

3. การพัฒนาหรือการแก้ปัญหา จะต้องมองในภาพใหญ่ก่อนแล้วค่อยเจาะลึกลงไปหาจุดเล็ก

ประโยชน์ที่ได้จากการฟังบรรยายในวันนี้ กระผมจะนำความรู้ที่ได้ไปพัฒนาตนเอง เพื่อการเป็นผู้นำสมัยใหม่ จะช่วยพัฒนาสาขาอาชีวศึกษาให้มีคุณภาพ และมีชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับในสังคมต่อไป

น.ส.แสงเดือน ศิริสงคราม กลุ่ม 5

สิ่งที่ได้สำรับวันนี้

1. ฟังอาจารย์จีระสอน ทำให้เกิดการกระตุ้นในด้านการเรียนรู้มากขึ้นกว่าเดิม

2. ถ้าได้รู้ว่าการเป็นผู้นำที่ดีต้องทำอย่างไร และอย่ารู้แต่ทฤษฎีต้องฝึกปฏิบัติ มีประสบการณ์และยอมรับการเจ็บปวดที่เกิดขึ้น

3. จากการฟังบรรยายทำให้มีประโยชน์อย่างมากที่จะมาประยุกต์ใช้เพื่อพัฒนาตนเองต่อไป

จุฬีรัตน์ สุโข 1 ก.ค. 51

ขอแสดงความคิดเห็นในการสอนของอาจารย์จีระ หงส์ลดารมภ์

อาจารย์เป็นบุคคลที่น่ายกย่องอย่างยิ่ง ในวันนี้ ดิฉันได้รับความรู้อย่างมาก ขอบอกตามตรงว่า ดิฉันไม่เคยอ่านหนังสือ เกี่ยวกับหลักวิชาการอย่างจริงจัง ทำให้รู้ตัวเองว่า ความรู้ทักษะ การคิดวิเคราะห์ ดิฉันมีน้อยมาก ขอเป็นผู้ปฏิบัติที่ดีค่ะ

ทองประสาน พฤกษาพิทักษ์กุล

สิ่งที่ได้รับความรู้ ช่วงบ่าย

1. การเป็นผู้นำ ใช้ในการเพิ่มมูลค่าเพิ่ม กับองค์กรอาชีวะอย่างไร เช่น กระตุ้นคนทำงาน วางเป้าหมายการไกล การศึกษา คน การเงิน ควรสมดุล (Blance)

2. การใช้หลักการ 5 E’s ในการนำมาใช้ในสภาวะการเป็นผู้นำการดำเนินการ วิธี 5 E’s ตามลักษณะต่าง ๆ ของงานของการบริหารงาน

3. ผู้นำต้องมีพลัง Energy ของตนเอง พลังที่สำคัญคือ พลังความคิดของคนที่เกิดขึ้นของคนที่เกิดขึ้นขององค์กรจะเกิดพลัง Energize พลังนี้ จะเกิดขบวนการตัดสินใจ Edge ด้วยความรวดเร็ว และสามารถตัดสินใจงานได้ Execution สู่เป้าหมาย

4. ข้อปฏิบัติของผู้นำที่ดี

นายนพภา พันธุ์เพ็ง

สิ่งที่ข้าพเจ้าได้เรียนรู้จาก ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ในภาคเช้า และเห็นว่าเป็นประโยชน์ต่อการนำไปพัฒนาสถานศึกษาคือ การสร้างวัฒนธรรมการเรียนรู้ (Learning Culture) โดยการใช้ทฤษฎี 4 L’s เพื่อการเรียนรู้ และสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ ได้แก่ Learning Environment,Learning Opportunities และ Learning Communities รวมทั้งกฎของ Peter Senge และทฤษฎี 2 R’s ซึ่ง ศ.ดร.จีระ ได้ให้โอกาสแต่ละกลุ่มแลกเปลี่ยนมุมมองแล้วสรุปเป็นความคิดเห็นของกลุ่มเพื่อนำเสนอทำให้ข้าพเจ้าได้รับฟังทัศนะที่หลากหลาย แต่เสียดายที่ศ.ดร.จีระ ให้เวลานำเสนอน้อย

ในภาคบ่าย ข้าพเจ้าได้รับรู้ความแตกต่างระหว่างความเป็นผู้นำและผู้บริหารได้ชัดเจนกว่าความรู้เดิมของข้าพเจ้า องค์ความรู้ใหม่ที่ทำให้ข้าพเจ้าสนใจมากจริง ๆ คือ ทฤษฎี 5 E’s จากการวิจัยของ Center for Creative Leadership เพราะเป็นวิธีการที่สรุปให้เรารู้ว่า ทุกคนสามารถเป็นผู้นำได้อย่างไร สามารถนำมาประยุกต์การใช้กับตัวเองได้โดยตรง และสามารถถ่ายทอดให้แก่ทีมงานในสถานศึกษาได้

สุดท้ายข้าพเจ้าขอขอบคุณ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ที่นำเอาความรู้ใหม่ ๆ มาฝากพวกเรา และเปิดโอกาสให้หัวหน้าแผนก หัวหน้างานได้เรียนรู้ประสบการณ์ใหม่ร่วมกัน

นายนิกอน ทองโอ กลุ่ม 2 1 ก.ค. 51

ความรู้และประโยชน์ที่ได้จากการอบรม

1. วิธีการเรียนรู้ ที่จะนำความรู้จากสิ่งที่อยู่รอบ ๆ ตัวทั้งลุกน้อง เจ้านาย นโยบาย โลกาภิวัตน์ ที่เป็นความจริง และกระจายความจริงที่ถูกต้อง ให้ทุกคนได้มีบรรยากาศการมีส่วนร่วมในการทำงาน ที่เป็นพลวัตร (หมุนเปลี่ยนตามความจริง) เพื่อมุ่งไปสู่เป้าหมายหลักขององค์กรที่ทุกคนชนะ

2. การค้นพบตนเองที่จะเน้นศูนย์รวมของความจริง และสร้างพลังในการขับเคลื่อนกระจายรอบทิศทาง ทั้งลูกน้อง เจ้านาย นักเรียน ชุมชน โดยสร้างบรรยากาศ วัฒนธรรมอยู่บนพื้นฐานของความเป็นจริง มองภาพใหญ่ คิดหาวิธีการใหม่ที่ถูกต้องและมีส่วนร่วม

สิ่งที่ประทับใจ

วิทยากรได้จุดประกายความคิด ในสิ่งที่เรากำลังดำเนินการอยู่ขณะนี้ว่า

- สิ่งที่เราทำเป็นความจริง หรือความจริงแท้

- สิ่งที่อยู่รอบตัวเรา คือความรู้ จะสร้างโอกาสให้เรา ลูกน้อง

นายอิทธิพล เสือม่วง

1. การนำทฤษฎี 4 L’s มาใช้ในการจัดการเรียนการสอนในห้องเรียนและยังสามารถนำไปเป็นแนวทางการบริหารงานในหน้าที่ได้

2. ความแตกต่างระหว่างผู้นำและผู้บริหารในยุคโลกาภิวัตน์ ที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา

ได้ทำความเข้าใจเกี่ยวกับสุภาษิตจีน ที่ว่า “ปลูกพืชล้มลุก 3-4 เดือน ปลูกพืชยืนต้น 3-4 ปี ปลูกพืชคน ทั้งชีวิต”

ซึ่งหมายความว่า การที่จะสร้างและพัฒนาคนให้มีชีวิตที่ดีได้นั้น ต้องมีการเรียนรู้ ปรับปรุงตลอดเวลา จนสิ้นอายุขัย”

นางสุวรรณี หาญกล้า

สิ่งที่ได้รับความรู้เกี่ยวกับการเข้ารับการอบรมพัฒนาภาวะผู้นำ และผู้บริหารมืออาชีพ

1. ทฤษฎีการเรียนรู้ 4 L’s, 2 R’s และกฎของ Peter Senge

2. ทฤษฎีการสร้างภาวะผู้นำ 5 E’s , 4E’s

3. วิธีการพัฒนาผู้นำแบบใหม่

ข้อเสนอแนะ

อาจารย์ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ควรชี้แนะจุดสำคัญในการสร้างผู้นำอาชีวะ แบบ Ram Charan เมื่อที่ผู้เข้ารับการอบรมจะได้เข้าใจ Concept หลักได้มากยิ่งขึ้น

สิ่งที่ได้รับ

1. ได้รับทฤษฎี การเรียนรู้

2. จุดแข็ง จุดอ่อนของตัวเอง

3. ผู้นำสำคัญอย่างไร

4. ผู้บริหารสำคัญอย่างไร

5. รู้จักวิเคราะห์ภาพ Macro ไปสู่ Micro

นายดำรง พิมพ์สกุลานนท์

- ได้เรียนรู้หลักการในการสร้างภาวะผู้นำที่ดี และองค์ประกอบการเป็นผู้นำที่มีคุณภาพ ซึ่งสามารถนำหลักการดังกล่าวไปใช้ในการแก้ปัญหาในองคืกร การนำพาองค์กรไปสู่ความก้าวหน้า และเตรียมความพร้อมได้กับผู้ร่วมงาน พัฒนาเตรียมเป็นผู้นำในอนาคต

- สร้างพลังให้กับผู้ร่วมสัมมนาเพื่อสร้างองค์กรการเรียนรู้ และพัฒนาองค์ความรู้ เพื่อองค์กรสู่ความยั่งยืน

นายสมศักดิ์ มาตรทะเล

มีความยินดี และดีใจเป็นอย่างยิ่งที่ได้เข้ารับการอบรมโครงการพัฒนาภาวะผู้นำและผู้บริหารมืออาชีพ โดย ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์และคณะ

ประทับใจคำพูดดังต่อไปนี้

1.การทำงาน ต้องพร้อมที่จะเจ็บปวด

2. ต้องดีใจ และพร้อมที่จะรับงานที่ยาก

3. หาความรู้อยู่เสมอ ใฝ่รู้ ใฝ่เรียน

4. อย่าใช้ลูกน้องอย่างเดียว ต้องดูแลด้วย

5. การใช้ทฤษฎีความเสมอภาคกับในหน่วยงาน

6. และอื่น ๆ อีกมากมาย

ความต้องการเพิ่มเติม

1.ขยายความให้มากกว่าเดิม เพราะแต่ละเนื้อหามีความน่าสนใจเป็นอย่างยิ่ง

2. ต้องการอบรมเพิ่มเติมอีก (ถ้ามีอีกครั้ง)

นางปัณณ์ศจี สุวรรณพฤกษ์

ข้าพเจ้ามีความประทับใจและได้รับประโยชน์ จากการอบรมโครงการพัฒนาภาวะผู้นำและผู้บริหารมืออาชีพ

1. ทำให้รู้ทฤษฎีการเรียนรู้ สามารถนำไปปรับพฤติกรรม เพื่อสร้างภาวะผู้นำ

2. ทำให้เกิดวิสัยทัศน์ ในการจะนำบูรณาการ เพื่อนร่วมงาน และผู้ใต้บังคับบัญชา

3. สามารถนำไปพัฒนาองค์กรให้มีความก้าวหน้า ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของกระแสโลกาภิวัตน์

ปรารมภ์ วีระวัฒน์ กลุ่ม 3

วันนี้ ได้รับความรู้จากท่าน อ.จีระ หงส์ลารมภ์ ในโครงการพัฒนาภาวะผู้นำฯ ท่านได้ให้ความสำคัญทรัพยากร คน ซึ่งต้องมีการพัฒนาถึงแม้จะรู้ผลช้า แต่ก็มีความสำคัญที่สุด และได้ให้ความรู้ ทฤษฎีที่สำคัญของการเรียนรู้ ให้หลักทฤษฎี 4 ศงห โดยคำนึง ถึงผู้เรียน มีสภาพแวดล้อม บรรยากาศที่พร้อมที่จะเรียนรู้ ครูต้องรู้อะไรรู้จริง สภาพจริง มองอะไร มองให้ตรงประเด็น บุคคลจะสำเร็จ ได้ต้องมีการเรียนรู้ตลอดชีวิต ความรู้ไม่จำเป็นต้องอยู่ในห้องเรียน เราสามารถหาความรู้ และประสบการณ์ได้ตลอดชีวิต

ท่านได้นำแนวคิดการเป็นผู้นำที่ดี โดยกระตุ้นให้เราแสวงหาความรู้ การเป็นผู้นำที่ดี ต้องให้โอกาสลูกต้องพัฒนา ควรเน้นสิ่งที่เกิดขึ้นใหม่ ๆ ให้กับผู้เรียน ลูกน้อง ได้แสดงศักยภาพ โดยเราสนับสนุน

ผู้นำที่ดีควรมองการณ์ไกล มองกว้าง นำความล้มเหลวเป็นประสบการณ์ของชีวิต

นายชัยยงค์ ธาตุดี กลุ่ม 3

วันนี้ผมได้รับประสบการณ์จากท่านอาจารย์จีระ หงส์ลดารมภ์

1. รู้เรื่องทฤษฎี 4 L’s กฎของ Peter Senge และทฤษฎี 2 R’s

2. เข้าใจภาวะผู้นำแบบเก่า และภาวะผู้นำรุ่นใหม่

3. มองภาพหน่วยงานของคนในภาพใหญ่ และภาพเล็กได้ดีและชัดเจนขึ้น

4. ทำให้เข้าใจว่าท่านอาจารย์จีระว่าเป็นอาจารย์ที่มีความตั้งใจสอนและต้องการพัฒนาผู้เข้ารับการอบรมอย่างจริงใจ ทำให้ผู้เข้ารับการอบรมอย่างผมนั้นเกิดความเชื่อว่าอาจารย์เป็นบุคคลที่พูดตรงไปตรงมาจริงใจ มีความรู้จริง

นายศักดิ์สิทธิ์ วิชรารัตน์ (1 ก.ค. 51)

ของ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ได้รับความรู้ ความเข้าใจ และนำไปประยุกต์ใช้

1. แนวทางการจัดการเรียนรู้ สู่นำไปใช้ ปรับวิธีการเรียนได้

2. ความรู้เกี่ยวกับผู้นำแบบใหม่ สู่พัฒนาตน และกลุ่มบุคลากรและองค์กร

3. ความแตกต่างระหว่างผู้นำกับผู้บริหาร

นายศักดิ์สิทธิ์ วิชรารัตน์ (1 ก.ค. 51)

ภาคบ่าย : รองศรีวิการ์

เป้าหมาย วิสัยทัศน์ นโยบายขององค์กร เพื่อนำมาสังเคราะห์ ลงสู่ในระดับสถานศึกษา โดยนำความรู้จากผู้นำแนวใหม่ที่ได้ร่วมสร้างองค์กรแห่งการเรียนรู้ ร่วมสร้างผลงานขององค์กรอย่างมีเป้าหมายชัดเจน

อุปนิสัยที่ไม่ดีที่เป็นอุปสรรคของ Coaching

ข้อ 4 ไม่ชอบร่วมมือกับผู้อื่น และมีอะไรใหม่ ๆ NOไว้ก่อน

1. ถ้าท่าน เป็นโค้ชท่านจะมีแนวทางแก้ไขอย่างไร

แนวทางการแก้ไข

1.ให้ความสำคัญกับบุคคลนั้นทั้งในหน้าที่ประจำ และหน้าที่พิเศษ

2. ให้กำลังใจในการทำงานโดยเฉพาะการทำงานที่ดี แต่ก็ไม่ตำหนิ เมื่องานผิดพลาด

3. สนทนากับบุคคลนั้นให้มาก และทุกโอกาสเพื่อให้เขาเปิดใจรับบุคคลอื่น

4.ให้ความรู้ ความช่วยเหลือแก่บุคคลนั้น ก่อนที่จะรับจากบุคคลนั้น

2. ปัจจัยที่จะทำให้สำเร็จและอุปสรรคมีอะไร

ปัจจัยที่ทำให้สำเร็จ

1. การเสริมแรง ทั้งที่เป็นวัตถุและไม่ใช่วัตถุ

2. ให้ทำงานเป็นทีม

3. ให้ความสำคัญกับบุคคลนั้น

อุปสรรค

1. ขาดแรงจูงใจ

2. ไม่พอใจระบบบริหารงาน

3. มีภาระงานมาก

4. ไม่มีผลตอบแทนที่ดี

5. เป็นบุคลิกภาพเฉพาะตัว

6. ทัศนคติไม่ดีต่อองค์กร

ข้อ6 ชอบวางเป้าหมายและความทะเยอทะยานต่ำเกินไป

1. ถ้าท่านเป็น Coach จะมีแนวทางแก้ไขอย่างไร

แนวทางการแก้ไข

1. ควรวางคนให้ตรงกับงาน ปรับทัศนคติให้ตรงกัน

2. วัฒนธรรมองค์กร สร้างระบบประชาธิปไตยในองค์กร มีส่วนร่วมของคนในองค์กร

3. ปัจจัยสนับสนุนให้เพียงพอ แรงงาน วัสดุ อุปกรณ์

4. เสริมสร้างขวัญกำลังใจ ให้รางวัล ให้โอกาสความก้าวหน้าในอนาคต

5. เสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจ ให้ความรู้ในงานที่ทำ ทำให้เกิดความศรัทธา มีความเชื่อมั่น ในการตั้งเป้าหมายให้สูงขึ้น

2. ปัจจัยที่จะทำให้สำเร็จและอุปสรรคมีอะไร

ปัจจัยที่ทำให้สำเร็จ

1. จัดคนตรงกับงาน

2. Coaching รายบุคคลและรายกลุ่ม

3. การสนับสนุนจากหน่วยงานต้นสังกัด และผู้บังคับบัญชา

อุปสรรค

1. ไม่สามารถเลือกคนได้

2. ไม่มีเวลา

3. ไม่ได้รับการสนับสนุน

4. ไม่มีอำนาจที่แท้จริง

ข้อ 8 ชอบทำงานตามสั่งและไม่เคยเสนอแนะความคิดริเริ่มให้เลย

1. ถ้าท่าน เป็นโค้ชท่านจะมีแนวทางแก้ไขอย่างไร

แนวทางการแก้ไข

1. ชอบงานและความรับผิดชอบ และให้คำปรึกษา

2. สรุปและรายงานการดำเนินงาน ระบุจุดดี จุดด้อย ข้อเสนอแนะ อย่างต่อเนื่อง และนำไปแก้ไขปรับปรุง

3. สอนงาน อธิบายขอบข่ายของงานโดยรวม

4. พัฒนาบุคลากรให้ความรู้

สาเหตุที่ไม่ชอบแสดงความคิดเห็น

1. ขาดความรู้ ความสามารถ เพราะไม่ศึกษา ไม่ใฝ่รู้

2. กลัวความรับผิดชอบ

3. ขี้เกียจ

4. นิสัยไม่ชอบคิด

5. หัวหน้าไม่เปิดโอกาสมีส่วนรวม ชอบโยนความรับผิดให้ลูกน้อง

2. ปัจจัยที่จะทำให้สำเร็จและอุปสรรคมีอะไร

ปัจจัยที่ทำให้สำเร็จ

1. ผู้บริหารระดับสูงให้ความไว้วางใจ ไม่ควบคุมมากเกินไป

2. วัสดุสำนักงาน และบรรยากาศในที่ทำงานเพียงพอและดี

3. มอบความหวัง ให้ติชม

อุปสรรค

1. ผู้บริหารระดับสูงไม่ให้ความไว้วางใจ ควบคุมงานมากเกินไป

2. วัสดุสำนักงาน และบรรยากาศในที่ทำงานไม่เพียงพอและไม่ดี

3. ละเลยหรือไม่แสดงความชื่นชน เมื่อลูกน้องทำงานสำเร็จ

ข้อ 10 ชอบหนีงานและไม่ทำจริงจัง

1. ถ้าท่านเป็น Coach จะมีแนวทางการแก้ไขอย่างไร

แนวทางการแก้ไข

1. สร้างความเข้าใจ ทำความเข้าใจ และมอบหมายภาระงานที่ชัดเจน

2. สร้างทัศนคติที่ดีต่อการทำงานร่วมกัน สร้างสัมพันธภาพที่ดี

3. จัดอบรมคุณธรรมจริยธรรม

4. จัดทำสมุดบันทึก การทำงาน และประเมินผลงาน

5. มอบรางวัลหรือ เกียรติบัตรให้แก่เจ้าหน้าที่ดีเด่นประจำทุกเดือน

2. ปัจจัยที่จะทำให้สำเร็จและอุปสรรคคืออะไร

ปัจจัยที่ทำให้สำเร็จ

1. สร้างความเข้าใจ ทำความเข้าใจ และมอบหมายภาระงานที่ชัดเจน

2. จัดทำสมุดบันทึกการทำงาน และประเมินผลงาน

3. สร้างทีมงาสนที่ให้ความร่วมมือกันอย่างดี

อุปสรรค

1. ความยุติธรรมของผู้ประเมิน (ผู้บริหารระดับสูง)

สาเหตุของการชอบหนีงานและไม่ทำจริงจัง

1. จ้างงานเยอะ ชอบทำงานสนองนโยบายอื่น นอกเหนือภาระงาน

2. ค่าตอบแทนน้อย ทำธุรกิจส่วนตัว

3. ไม่ชอบทีมงาน

4. ไม่ถนัด ทำไม่ได้ ไม่มีความรู้ความสามารถ

5. อาวุโส ขาดความเกรงใจ ขาดความเชื่อถือศรัทธาหัวหน้างาน

6. เห็นแก่ตัว

ข้อ 12. ทำงานโดยไม่เคยดูว่า Vision ขององค์กรคืออะไร (กลุ่ม 5)

1. ถ้าท่านเป็น Coach จะมีแนวทางการแก้ไขอย่างไร

แนวทางการแก้ไข

1. ประชุมเพื่อการชี้แจง ผู้เกี่ยวข้อที่จะปฏิบัติ

2. การมีส่วนร่วมในการวิเคราะห์ SWOT เพื่อสรุปการทำ Vision ขององค์กรเพื่อนำไปสู่การปฏิบัติที่แท้จริง

3. เปิดโอกาสให้ทุกคนได้แสดงความคิดเห็นหรือแสดงความคิดสร้างสรรค์

4. กระตุ้นให้ทำด้วยวิธีต่าง ๆ อาทิ ติดประกาศ รณรงค์ เผยแพร่

5. ศึกษาดูงาน ประกวด ผลงาน

2. ปัจจัยที่จะทำให้สำเร็จและอุปสรรคคืออะไร

ปัจจัยที่ทำให้สำเร็จ

1. จริงจัง จริงใจ

2. การสร้างทีมงานที่เข้มแข็ง

3. การเสริมแรงที่ตรงกับความต้องการ

4. การสื่อสารที่ชัดเจน และเป็นไปในทิศทางเดียวกัน

อุปสรรค

1. ศักยภาพของแต่ละคนในองค์กรไม่ถูกดึงออกมาใช้อย่างเต็มที่

2. ขาดขวัญและกำลังใจในการทำงาน

3. ขาดความเข้าใจใน Vision ขององค์กร

ข้อ 13 ไม่ชอบยอมรับความดี หรือ ความสำเร็จของผู้อื่น

1. ถ้าท่านเป็น Coach จะมีแนวทางการแก้ไขอย่างไร

แนวทางการแก้ไข

1. ศึกษาพื้นฐานครอบครัวหรืออุปนิสัย และศึกษาปัญหาของงาน

2. ให้เขาเกิดความศรัทธาในตัว (Coach และให้รู้ว่า Coach มีความจริงใจต่อเขาจริง ๆ

3. เริ่มมอบหมายงานให้ทำ ระหว่างปฏิบัติงาน ถ้ามีปัญหา Coach ต้องช่วยเป็นพี่เลี้ยง

4. เมื่องานสำเร็จต้องยกย่อง ชมเชยหรือให้รางวัลและมอบหมายงานอื่นให้ทำเพิ่ม

2. ปัจจัยที่จะทำให้สำเร็จและอุปสรรคคืออะไร

ปัจจัยที่ทำให้สำเร็จ

Coach ต้องมีความตั้งใจ จริงใจและมุ่งมั่นที่จะ Coaching

อุปสรรค

Coach เกิดความท้อถอย และทำให้ต่อเนื่องในการพัฒนา

ข้อ 15 เวลามีปัญหาชอบอ้างเหตุผลข้าง ๆ คู ๆ

1. ถ้าท่านเป็น Coach จะมีแนวทางการแก้ไขอย่างไร

แนวทางการแก้ไข

1. สื่อสารสร้างความเข้าใจ ชี้ให้เห็นประโยชน์ของงานที่ได้รับ และความภูมิใจ

2. สร้างแรงจูงใจ ขวัญกำลังใจ ให้โอกาส แสดงความสามารถ

3. ประสานงานทำงานเป็นทีม

4. ให้เขารู้จักตนเอง

5. สร้างทัศนคติที่ดีในการทำงาน

2. ปัจจัยที่จะทำให้สำเร็จและอุปสรรคคืออะไร

ปัจจัยที่ทำให้สำเร็จ

1. ความอบอุ่น ความเชื่อมั่น

2. มอบหมายงานให้ตรงกับความสามารถ

3. การเสริมแรง โดยการยกย่อง ชมเชย สนับสนุนอำนวยความสะดวก

4. การส่งเสริม ให้ความสำคัญ

5. ให้โอกาสและการยอมรับ

อุปสรรค

1. ขาดการประสานงาน

2. การมอบงานไม่ตรงกับความสามารถ

3. การไม่ให้ความสำคัญของการทำงานเป็นทีม

4. ไม่กล้าแสดงออก ขาดความมั่นใจ

5. มีทัศนคติไม่ดีต่องาน

ข้อ 18 ขลุกแต่ในงานของตัวเองไม่สนใจงานของคนอื่น ๆ

1. ถ้าท่านเป็น Coach จะมีแนวทางการแก้ไขอย่างไร

แนวทางการแก้ไข

1. ประชุม แสดงความคิดเห็นการมีส่วนร่วมในการพัฒนาองค์กร

2. จัดอบรมและศึกษาดูงานเรื่องการทำงานเป็นทีม

3. จัดกิจกรรมสร้างเสริมความสัมพันธ์ขององค์กร

4. มอบหมายงานให้รับผิดชอบ ให้อำนาจในการตัดสินใจ

5. ให้คำปรึกษา แนะนำ ช่วยเหลือ และให้กำลังใจ

2. ปัจจัยที่จะทำให้สำเร็จและอุปสรรคคืออะไร

ปัจจัยที่ทำให้สำเร็จ

1. สร้างความศรัทธาในโค้ชให้เป็นที่ยอมรับ และเป็นที่พึ่งได้

2. มีความจริงใจในการทำงานร่วมกัน

3. ยอมรับความสำเร็จและความล้มเหลวร่วมกัน

4. สร้างแบบอย่างที่ดี

อุปสรรค

1. มีวัฒนธรรมต่อองค์กร และทัศนคติแบบเดิม

2. ความไม่ยอมรับ ความคิดเห็นของคนอื่น

นายยุทธนา นารายนาคามินา

กลุ่ม 1

จากการอบรมในวันที่ 1 ก.ค. 2551 ข้าพเจ้าได้รับความรู้ ความเข้าใจคือของผู้นำที่ดีควรมีพลัง Energy สำคัญที่สุด และต้องรู้จักกับความเจ็บปวด พร้อมทั้งจะต้องคิดนอกกรอบและเป็นความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ เป็นประโยชน์ต่อองค์กร แต่ข้าพเจ้ายังติดปัญหาในการบริหารด้านบุคลากรเพื่อลดความขัดแย้งและด้านงบประมาณที่ฝ่ายบริหารระดับสูงจัดสรรให้มา

ขอบคุณครับ

นางสาวณัฐภิรินทร์ พิพัฒน์ภานุวิทยา

สิ่งที่ได้รับจากครู ในวันที่ 1 ก.ค. 51 ประสบการณฺและความรู้ของท่าน จุดประกายความคิด แนวทางในการทำงานซึ่งบางอย่างเคยคิดว่าทำไม่ได้ แต่จริง ๆ แล้วมันสามารถทำได้ สรุป ชัดเจนในเรื่องของผู้นำและคิดว่านำจะนำไปปฎิบัติได้จริง (จะพยายามทำให้ได้จริง) แต่บางเรื่องมันอาจจะยาก เนื่องจากปัจจัยหลาย ๆ ด้าน

นางสาวณัฐภิรินทร์ พิพัฒน์ภานุวิทยา

การเรียนรู้กับอาจารย์จีระ หงส์ลดารมภ์

1. การกระตุ้นผู้เข้ารับความรู้ให้ติดตามอย่างต่อเนื่อง โดยการสร้างบรรยากาศ การชื่นชมให้มีกำลังใจ การเล่าประสบการณ์ของอาจารย์เองประกอบ ทำให้ผู้เขารับความรู้เน้นประโยชน์ และติดตามอย่างต่อเนื่อง

2. แบบอย่างของผู้นำ อาจารย์ได้แสดงให้เห็นว่าการจะให้ผู้อื่นยอมรับต้องทำให้เขาศรัทธา ความรู้ ความสามารถ (ปัญญา) จะมีความยั่งยืน

นายกฤษฎา ยคชรัฐ

วิทยาลัยเทคนิคราชบุรี

นางสาวกุสุมา ชัยแสง

สิ่งที่ได้รับประโยชน์ในวันนี้

ทฤษฎีต่าง ๆ ที่ได้รับ ทำให้นำมาปรับปรุงตนเอง เพื่อนำมาประยุกต์ใช้เป็นความรู้ ที่เสริมสร้างตนเอง สร้างผู้นำให้กับวิทยาลัย เพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานร่วมกับผู้บริหารเกิดการทำงานเป็นทีม การมีส่วนร่วมในองค์กร

นางสาวกุสุมา ชัยแสง

วิทยาลัยเทคนิคเชียงราย

ความประทับใจที่มีต่อ ศ.ดร.จีระ หงส์ดารมภ์

คือเรื่องการเป็นผู้นำที่บริหารจากความจริงมาสู่การปฏิบัติการพัฒนาอาชีวะโดยเน้นความเป็นแก่นแท้ของอาชีวะการคิดนอกกรอบเพื่อการพัฒนาอาชีวะแบบยั่งยืน ซึ่งเรื่องเหล่านี้เป็นสิ่งที่จะนำพาอาชีสู่ความเจริญก้าวหน้าได้เป็นอย่างดีซึ่งได้รับการชี้แนะจากท่าน

นายวิทยา เกตุชู

วิทยาลัยเทคนิคปัตตานี

คุณวีระชาติ กุลสิทธิ์

1. ได้ประโยชน์และได้แนวคิดและหลักการของการเป็นผู้นำที่ดีที่สามารถนำเอาไปใช้ในการปฏิบัติงานให้เกิดผลสำเร็จ

2. ฟังแล้วทำให้มองเห็นตัวเองชัดเจนขึ้น มองเห็นแนวทางในการทำงานอาจจะยังไม่ชัดเจนมากนักเมื่อมองเห็นอุปสรรคและความขัดแย้งในบางเรื่อง อยากให้อาจารย์ให้แนวคิดในการจัดการกับอุปสรรค และความขัดแย้งได้อย่างไรบ้าง

คุณวีระชาติ กุลสิทธิ์

วิทยาลัยอาชีวะศึกษาเชียงราย

จากที่ได้รับฟังจากประสบการณ์ของท่านที่ได้เหล่าให้กระผมได้ฟังแล้ว กระผมได้เพิ่มเนื้อที่ของสมองขึ้นอีกมาก ทำให้กระผมเกิดความคิดที่จะทำอะไรอีกหลายอย่างมีความมั่นใจในความคิดของตัวเองมากขึ้น จากทฤษฎี 2R สามารถนำไปใช้ในการพัฒนาการเรียนการสอนได้อย่างดีเยี่ยม และสามารถเพิ่มศักยภาพของตัวเองและพัฒนาวิชาชีพได้อีกด้วย

ทฤนท์ อินทารักร์

สิ่งที่ได้ในวันนี้

ดีใจที่ได้พบตัวจริง เสียงจริงครับ จากการได้รับฟังแล้วเกิดความประทับใจเป็นอย่างดี เพราะความรู้ที่ได้รับอาจารย์เป็นคนที่มีประสบการณ์มีความรู้จริง กล้าพูดจริงพูดในสิ่งที่ควรจะถูกแก้ไขให้มีการพัฒนาให้ดียิ่งขึ้นไปโดยผู้นำเป็นปัจจุบันยังไม่มีคุณสมบัติตามที่อาจารย์ได้พูดมายังมีน้อยคนที่มีคุณสมบัติหากมีโอกาสจะได้ฟังบรรยายจากอาจารย์ก็จะได้เข้ารับฟังอีกครับ

สัมพันธ์ จาเลิศ

วิทยาลัยเทคนิคสระบุรี

เพ็ญพร ศิริกาญจนวงศ์

ทำให้ผู้เข้าอบรมมีความชัดเจนในเรื่องความเป็นผู้นำและสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการทำงานกิจกรรมได้เป็นอย่างดี

เพ็ญพร ศิริกาญจนวงศ์

วิทยาลัยอาชีวศึกษาสุรินทร์

นายนิมิตชัย ศรีทมมา

1. ตรงไปตรงมาในการให้ความรู้ การเปรียบเทียบข้อมูลที่ค่อนข้างชัดเจน

2. ใช้รับรู้หรือของการเรียนรู้ โดยยึดหลัก ความเข้าใจ แล้วนำความรู้ความเข้าใจ นำไปให้เกิดคุณค่าเพิ่ม อย่าใช้หลักการออกเลียนแบบนำไปทำงาน

3. ได้รับรู้การใช้ทฤษฎี 4L’s มีความเข้าใจในการมากขึ้น จะนำไปใช้ในการทำงานเพื่อพัฒนาตัวเอง และเพื่อนร่วมงาน

ผู้นำต้องผ่าน ความเจ็บปวด เพื่อเป็นบทเรียน และต้องดูแลลูกน้องพร้อมรับผิดชอบในงานที่มอบหมายให้ลูกน้อง

นายนิมิตชัย ศรีทมมา

นายสมนึก คุ้มน่าน

กลุ่ม 8

- สังคมแห่งการเรียนรู้

- การสร้างผู้นำแบบ Ram Charan

จากการฟังบรรยาย โดย ศ.ดร.จีระ หงส์ลดรมภ์ ได้แนวคิดเรื่องการสร้างสังคม แห่งการเรียนรู้ เช่น ทฤษฎี 4L’s

- มีวิธีการเรียนรู้ที่ดี

- สร้างบรรยากาศในการเรียนรู้

- สร้างโอกาสในการเรียนรุ้

- สร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้

การสร้างผู้นำแบบ Ram Charan พูดถึง Leadership คืออะไร

การที่ผู้นำสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่องค์กรโดยกระตุ้นให้ทุกคนมีส่วนร่วมและทุ่มเทให้แก่องค์กร

นายสมนึก คุ้มน่าน

การใช้ทฤษฎี 4L’s เพื่อนำไปใช้จัดการเรียนการสอนสำหรับนักเรียนนักศึกษารวมถึงการจัดสร้างบรรยากาศในการทำงานที่ดีสำหรับการทำงานในหน้าที่รที่รับผิดชอบนอกเหนือการสอน

ภาวะผู้นำ การมีความรู้ที่ดี มีความชัดเจน มีเป้าหมายในการทำงานโดยเน้นเป้าหมายในการทำงานโดยเน้นปัจจัยในด้านคนเพื่อการบริหารงานให้เป็นเลิศ

วรวิทย์ ชุ่มเชย

นายภิรมย์ พรหมมินทร์

การสร้างบรรยากาศ ในการเรียนจะต้องทำให้ผู้เรียนเกิดความไว้วางใจกับผู้ที่จะสอนหรือให้คำแนะนำ เมื่อมีสิ่งเหล่านี้ การเรียนรู้ก็จะทำได้ง่ายขึ้น

การกำหนดเป้าหมายของการเรียนรู้ที่ชัดเจนทำให้ข้าพเจ้า(ผู้เรียน) สามารถที่จะเดินไปยังเป้าหมาย ได้ง่ายและมีความชัดเจน

การใช้คำพูดหรือคำแทนผู้สอนให้ความรู้สึก เห็นกับเอามากทำให้ผู้เรียนสามารถจะแสดงความคิดเห็น (ตอบโต้ความคิด) ได้ง่ายและผู้สอนก็รับระบบความจริง

ขอกราบขอบพระคุณอาจารย์ที่ให้แนวคิดและความเป็นกันเอง เอื้ออาทรต่อศิษย์

นายภิรมย์ พรหมมินทร์

วิทยาลัยเทคนิคยะลา อ.เมือง จ.ยะลา

นางสาวสุกัญญา สุขสถาน

แนวคิดที่ได้จากการฟังบรรยายจาก ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

1. ผู้นำต้องมีความสามารถในการสร้างบรรยากาศให้ทรัพยากรมนุษย์ทำงานให้องค์กรด้วยความรู้สึกว่าตนเองมีส่วนร่วม

2. เป็นผู้นำต้องสร้างศรัทธาให้เกิดกับตัวเอง ให้เป็นและมีภาพลักษณ์ที่ดีต่อผู้ร่วมงานและยอมรับการเปลี่ยนแปลง

3. เป็นผู้ที่มองกว้างและไกล และคิดนอกระบบ รวมถึงการวางแผนควรมีการเลือกวางแผนไว้หลาย ๆ ทาง และสามารถปรับเปลี่ยนประยุกต์ ให้สอดคล้องกับทรัพยากรที่มีอยู่เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมที่เป็นปัจจุบัน

4. การบริหารจัดการเน้นที่ทรัพยากรคน เน้นเรื่องการกระจายอำนาจ ส่งเสริมเพื่อนร่วมงานหรือบุคคลที่อยู่ภายใต้บังคับบัญชารู้จักประสบการณ์การทำงานที่หลากหลายเพื่อสร้างบุคลากรที่แข็งแกร่งด้านจิตใจและสามารถเข้าปรึกษาในสถานการณ์ต่าง ๆ ได้

นางสาวสุกัญญา สุขสถาน

วิทยาลัยอาชีวศึกษาสุรินทร์

สุทธิพันธุ์ ภาสบุตร

แนวคิดที่ได้รับจากการฟังบรรยายของ อาจารย์จีระ

1. กำลังใจในการทำงาน เกิดความมั่นใจว่าสิ่งที่ปฏิบัติอยู่เป็นสิ่งที่ถูกทิศทางตามหลักทฤษฎี จึงคิดว่าต่อจากนี้ไปคิดที่จะเผยแพร่ผลการทำงานที่ได้ผลสำเร็จแล้ว ให้เป็นที่ยอมรับตนเองได้เสียก่อนเพื่อให้เกิดความศรัทธาต่อองค์กรในที่สุด

2. การทำสิ่งใดให้ได้ผล ควรทำอย่างต่อเนื่อง แม้จะต้องอาศัยความอดทนสักเพียงใด ผลสุดท้ายที่ได้รับจะช่วยให้เกิดความภาคภูมิใจไม่มีสิ่งใดสายเกินไปถ้าเรายังมีพลังที่จะพัฒนาในอาชีพ และมุ่งมั่นตอบแทนขององค์กรที่สังกัดอยู่

สุทธิพันธุ์ ภาสบุตร

วิทยาลัยการอาชีพมหาราช จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

เพียงใจ คันธามัตร

ได้ความมั่นใจ (การสร้างบรรยากาศ) ในการจัดการเรียนการสอนการทำงาน จาก ทฤษฎี 4L’s โดยต้องคำนึงถึงการวิเคราะห์ให้ตรงประเด็นและวิธีการพัฒนาผู้นซึ่งจะนำไปใช้ในการสร้างมูลค่าเพิ่มแก่ผู้เรียนตลอดจนเพื่อนร่วมงาน (ถ้ามีโอกาส) ที่สำคัญคือ ทฤษฎี 3 ต. ต่อเนื่อง ต่อเนื่อง และต่อเนื่อง

เพียงใจ คันธามัตร

นางเรไร เนตรทัศน์

1. ได้กำลังใจในการที่จะคิดและกล้าที่จะทำตามความคิด ความหวัง จนเกิดผลสำเร็จเป็นอย่างดี ส่งผลให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อสังคม องค์กร

2. ได้แนวคิดในการที่จะเป็นผู้นำที่ดีได้นั้น จะต้องหมั่นศึกษาหาความรู้หลาย ๆ ด้าน และทันสมัยอยู่เสมอ

นางเรไร เนตรทัศน์

วิทยาลัยสารพัดช่างกาฬสินธุ์

ประเสริฐ เทศพันษ์

ความประทับใจ ในอาจารย์จีระ

1. ความประทับใจ ในอาจารย์ จีระ หงส์ลดารมภ์

2. องค์ความรู้ที่ได้รับ ตามทฤษฎี หลากหลายที่ได้ เช่น 4 L’s 2R, 4E และ 5E เป็นต้น

3. ท่านเน้นให้เป็นผู้ใฝ่รู้ อย่างจริงจัง คำพูดของท่านคือต้อง “บ้าคลั่ง” ในเรื่องนั้น ๆ

4. ปลุกพลังในตนเอง และผู้ร่วมงาน

5. พยายามให้โอกาสทุก ๆ คน และสร้างบรรยากาศในการทำงานให้ดี

ประเสริฐ เทศพันษ์

วาที่ ร.ต.เอกภพ บุญุอุ้ม

สิ่งที่ได้ในการเข้าอบรมโครงการพัฒนาภาวะผู้นและผู้บริหารมืออาชีพของอาชีวศึกษา

1. ได้เปิดโลกความเป็นภาวะผู้นำในการนำทรัพยากรบุคคลในงานความคิดในหน่วยงานมาพัฒนาให้เกิดการการพัฒนาและเพื่อประสบการณ์ความสำเร็จในการทำงานโดยตัวกระผมมีความภาคภูมิใจในตัวอาจารย์ จีระได้ความรู้ ทฤษฎี 4L’s และ Peter Senge ทฤษฎี 2 R’s เป็นทฤษฎีที่ตัวกระผมชอบมากเพราะผมคิดว่าเหมาะกับตัวผมเอง ปัจจุบันก็ให้ความสำคัญกับตัวบุคคลในหน่วยงานให้แสดงความคิดเพื่อพัฒนา

วาที่ ร.ต.เอกภพ บุญุอุ้ม

วิทยาลัยการอาชีพหนองหาน อุดรธานี

นายสว่าง วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีเชียงใหม่

ในวันนี้กระผมภูมิใจมากที่มีโอกาสเข้าร่วมอบรม

1. อาจารย์ย้ำตลอดเวลาว่า พวกกระผมเองได้รับคัดเลือกมาจากผู้สมัครมากมาย

2. กระผมประทับใจในการเห็นคุณค่าของความเห็น “คน” หรือทรัพยากรมนุษย์ สำคัญที่สุดมากกว่าทรัพยากรอื่น ทั้งหมด

3. อาจารย์ให้ความรู้ในการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น

4. อาจารย์บอกและให้ทุกคนสรุปตัวเองได้

นายสว่าง วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีเชียงใหม่

กลุ่ม 5

ความรู้ที่ได้รับประจำวัน

สภาพแวดล้อม เศรษฐกิจ สังคมและเทคโนโลยี อ.เฉลิมพล เกิดมณี

1. กระแสโลกาภิวัตน์

- การพัฒนาที่ยั่งยืนได้แก่ การพัฒนาเทคโนโลยี ทรัพยากร และคุณภาพของมนุษย์

- เทคโนโลยีก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางการทหาร การเมือง เศรษฐกิจ

- การแข่งขันกับประเทศต่าง ๆ ได้มีลำดับที่ลดลงจากอันดับที่ 27 ในปี 2006 มาเป็นอันดับที่ 33 ในปี 2008

- การเปลี่ยนแปลงทางวิทยาศาสตร์ในปัจจุบันได้แก่ การดัดแปลงพันธุกรรม (GMO) ยา พลังงาน และสภาพแวดล้อมซึ่งในปัจจุบันอุณหภูมิของโลกมีสูงขึ้นจนเป็นอันตราย

2. การอยู่ในสังคมแห่งการเปลี่ยนแปลง

- สังคม เศรษฐกิจ การเมือง

3. การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์

- สมองและการทำงานของสมองซักซ้ายและขวา ซีกซ้ายทำงานด้านตรรกะสมองซีกของทำงานด้านอารมณ์ ความรู้สึก

- ระดับในการพัฒนาบุคลากรคู่ เริ่มจากพัฒนาแรงงาน ทักษะ เทคโนโลยี วิจัยและพัฒนา นวัตกรรม

- 4Q’s

IQ ความฉลาดทางปัญญา

EQ ความฉลาดทางอารมณ์

MQ ความฉลาดทางจริยธรรม

SQ ความฉลาดในการอยู่รอด

- เส้นทางกระบวนการคิดอย่างมีเหตุผล เริ่มต้นจากการใช้ประสาทสัมผัสจนถึงความคิดสร้างสรรค์

- ประโยชน์ของการคิดเชิงกลยุทธ์ และการเข้าถึงความรู้เทคโนโลยี เริ่มจากการมองภายในอนาคต จนถึงการใช้หลักกับประโยชน์ในระยะสั้น

- การวัดผลโครงการโดยวัดจาก คุณภาพปริมาณ ประสิทธิภาพ ความเชื่อ ต้นทุนและความพึงพอใจ

- การคิดเชิงนวัตกรรม ได้แก่ คิดสร้างสรรค์สร้างระดับและนวัตกรรม

- การสร้างปณิธานของชีวิต

การบริหารการเปลี่ยนแปลง

(Change Management)

Managing Changes

“Change before you are forced to change”

Human Performance Framework

Environment

Strategy

Operations

Organization

Individual

- Ability / Competency

o ความรู้ความสามารถ

o ประสบการณ์ / ทักษะ

o ทัศนคติที่ดีต่อองค์กร

- Motivation

การเปลี่ยนแปลง

- การเปลี่ยนแปลงที่ไม่ได้ตั้งใจให้เกิด

- การเปลี่ยนแปลงที่ตั้งใจให้เกิด

สาเหตุที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง

- การเปลี่ยนแปลงทางสังคม

- การแข่งขัน

- ความต้องการของลูกค้า

- วงจรชิวิตของสินค้าที่สั้นลง

- นโยบาย

- ความคาดหวัง

- ภาวะผู้นำ

ฯลฯ

ความกลัวการเปลี่ยนแปลง

o ขาดรายได้ / สิ่งที่เคยได้แล้วไม่ได้

o อาจจะตกงาน

o รู้สึกไม่มั่นคง

o ขาดความรู้สึกภูมิใจในงาน

o ขาดสิ่งที่เคยได้รับการยกย่อง

o อาจจะไม่ได้ทำงานกับทีมงานที่คุ้นเคย

o รู้สึกว่าสิ่งที่เคยปฏิบัติจะไม่สามารถปฏิบัติได้อีก

o ไม่สามารถวางเป้าหมายในชีวิตได้เช่นเคย

Change Management Process

Step 1: Preparing For Change

Step 2: Managing Change

Step 3: Reinforcing Change

กลยุทธ์การบริหารการเปลี่ยนแปลง

o กลยุทธ์ด้านการสื่อสาร

o กลยุทธ์การปรับเปลี่ยนทัศนคติ

o กลยุทธ์การสร้างทีมและผู้สนับสนุนการเปลี่ยนแปลง

o กลยุทธ์การสร้างการมีส่วนร่วมในการเปลี่ยนแปลง

o กลยุทธ์การสร้างบรรยากาศเพื่อสนับสนุนการเปลี่ยนแปลง

สรุปกระบวนการบริหารการเปลี่ยนแปลง

1. วิเคราะห์องค์กร ทำ Organization Scan เพื่อเข้าใจความจำเป็นในการเปลี่ยนแปลง

2. ทำความเข้าใจองค์กรว่าอยู่ในสถานการณ์ใดของการเปลี่ยนแปลง (Identified types of change)

3. กำหนด Change Leader และกำหนด Change Content ในองค์กร

4. เตรียมความพร้อมเพื่อการเปลี่ยนแปลงและวิเคราะห์ทักษะในการเปลี่ยนแปลงของทีม

5. ทำ Stakeholder Analysis เพื่อกำหนดแนวทางการสื่อสารให้ได้รับการสนับสนุน

6. ทำให้ Stakeholder ยอมรับและสนับสนุนด้วยการสื่อสาร

7. จัดทำ Change Management Plan

8. ติดตามประเมินผลและปรับเปลี่ยนแนวทาง

กลุ่ม 4

ข้อคิดเมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลง

- อย่าคิดว่าคนอื่นจะยอมรับการเปลี่ยนแปลงง่าย ๆ

- บางครั้งการทดลองก็ดีกว่าการวางแผน

- ให้ความสนใจในช่วงเวลาของการเปลี่ยนแปลงอย่างใกล้ชิด

- ถ้าเห็นว่าต้องถอดถอนคนบางคนแน่ ๆ ก็ต้องรีบทำทันที

- ไม่มีวันประสบความสำเร็จได้ ถ้าไม่มีทีม (ผู้บริหารคิดและทำงานเป็นทีม)

- กำหนดให้คณะจัดการหรือผู้บริหารระดับสูงคือหุ้นส่วนในการเปลี่ยนแปลงด้วย

- การกำหนดภารกิจและข้อตกลงร่วมกันในทางปฏิบัติเป็นเรื่องที่ควรทำไว้อย่างชัดเจน

- สาระของการเปลี่ยนแปลงอาจเป็นเรื่องแหวกกฎ แต่การสร้างกระบวนการต้องยึดระเบียบปฏิบัติ

- คิดถึงการเปลี่ยนแปลงในฐานะแคมเปญที่ต้องรณรงค์โดยพร้อมเพรียงกัน

- การวิ่งแข่งอาจไม่มีเส้นชัยใด ๆ อยู่เลย เพราะฉะนั้นจงหมั่นหาเหตุผลที่จะหยุดและฉลองชัยชนะบนเส้นทางดังกล่าวอยู่เสมอ

ในช่วง 2-3 เดือน ที่ผ่านมามีการเปลี่ยนแปลงในองค์กรคือ การลดจำนวนนักศึกษาในแต่ละสถาบันลดลงอย่างต่อเนื่อง

1. การลดลงของนักศึกษา

- Changing Customer demand

- Transitional

- สร้างความสัมพันธ์ร่วมกัน

- การสร้างวิสัยทัศน์

- การผลักดันความร่วมกัน

- การเปลี่ยนที่ยั่งยืนถาวร

- การตรวจสอบความก้าวหน้า

1. Changing Customer demand

- นักเรียนต้องการ จบ ป.ตรี

- สถานประกอบการต้องการช่างฝีมือ ช่างเทคนิค และมีคุณสมบัติพึงประสงค์

- นักเรียนเลือกเรียนกันตามกระแสนิยม

- หลักสูตรไม่สอดคล้องการชุมชน ทั้งสิ้นและสถานประกอบการ

2. Transitional (ช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อ) สอศ. อยู่ในช่วงที่มีการเปลี่ยนแปลงจากสถานศึกษาที่ผลิตช่างฝีมือ ช่างเทคนิค ไปสู่การผลิตเทคโนโลยีบัณฑิต (ท.ล.บ.) สถานที่ศึกษาปรับตัวช้าเนื่องจากยึดระเบียบกฎเกณฑ์มากกว่าบริบททางสังคมโดยเฉพาะทางด้านเทคโนโลยี สารสนเทศ

3. สร้างความสัมพันธ์ร่วมกัน ระหว่างสถานศึกษากับสถานประกอบการ ในการกำหนดหลักสูตร คุณลักษณะพึงประสงค์ ทักษะที่จำเป็นและทักษะเฉพาะสาขาอาชีพ ตลอดจนร่วมนำมาเป็นคณะกรรมการสถานศึกษาจากภาคเอกชนและชุมชน

4. การสร้างวิสัยทัศน์ ซึ่งสถานศึกษาต้องแผนพัฒนาสถานศึกษาอย่างมีระบบ ให้สอดคล้องกับศักยภาพของสถานศึกษาและนโยบายของหน่วยเหนือ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และพรบ.การศึกษาชาติ ปี 42

5. การผลักดันความร่วมมือ โดยการทำ MOU กับสถานศึกษา สถานประกอบการเอกชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ส่วนภูมิภาพ และองค์กรอื่น ๆที่ได้มีส่วนได้ส่วนเสียกับการอาชีวศึกษา (stake holder)

6. การเปลี่ยนที่ยั่งยืนที่ถาวร ขององค์กรโดยการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์อยู่ตลอดเวลา ทั้งในระดับเจ้าหน้าที่ ครู หัวหน้างาน หัวหน้าแผนก รองผู้อำนวยการและผู้อำนวยการสถานศึกษา ทั้งจากการฝึกอบรมและศึกษาต่อ ศึกษาดูงาน การระดมทรัพยากรต่างๆ ในชุมชนและสังคมเข้ามาช่วยในการพัฒนาสถานศึกษา การนำเทคโนโลยีมาใช้ในการบริหารจัดการอย่างเหมาะสม กับความสภาพของสถานศึกษาและวิสัยทัศน์ขององค์กร

7. การตรวจสอบความก้าวหน้าขององค์กรในด้านคุณภาพปริมาณ ประสิทธิภาพ ความเร็ว ต้นทุน และความพึงพอใจของลูกค้า

8. การจัดรับนักศึกษา หลักสูตรที่ยืดหยุ่น

- การเรียนในวัน เสาร์ อาทิตย์

- การโอนหน่วยกิต

- การเรียนการสอนแบบขนาน

- ให้โควตาแก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

- สอบเทียบประสบการณ์

- การเรียนแบบออนไลน์

- ให้ผู้ทำงานแบบเข้ามาเรียนเพิ่มวุฒิแบบไวไลท์ หรือเสาร์ อาทิตย์

- พัฒนาบุคลากรร่วมกับหน่วยงานรัฐและเอกชน

- จัดอบรมหลักสูตรระยะสั้น แล้วโอนหน่วยกิตได้

- เรียนรายวิชาต่าง ๆ แล้วให้วุฒิบัตร V.Q

- รับนักศึกษาตามความต้องการของชุมชนโดยมีการวิจัยสำรวจให้สอดคล้องกับความต้องการของชุมชน

กลุ่ม 1

ข้อ 1 ถ้าท่านเป็น ผ.อ.ใหม่และอยู่ในสถานการณ์ ท่านจะทำอย่างไร

ประเด็นข้อที่ 1

ปัญหาคืออะไร

คน(สร้างกลยุทธ์เพื่อเปลี่ยนความคิดของคนในองค์กรก่อน)

ผอ.ต้องมี

1. จริงใจ

2. สร้างแรงจูงใจ

3. ทักษะการพูด

ข้อ 2 ท่านจะมีขั้นตอนและวิธีการอย่างไร ที่จะทำให้นโยบาย สอศ.ประสบความสำเร็จ

ผอ.ต้องตั้งสติ

เปิดใจกว้าง

เสริมแรง/จูงใจ(สิ่งที่จะได้/ประโยชน์ของการเปลี่ยนแปลง)

ให้แต่ละงานวิเคราะห์ SWOT หลังเลิกประชุม

PDCA

1 เตรียมความพร้อมรับการเปลี่ยนแปลง

2 ตั้งทีมที่เกี่ยวข้อง

3 สรุปผล

4 ปรับปรุงข้อบกพร่อง

กลุ่ม 2

ข้อ 1 ถ้าท่านเป็น ผ.อ.ใหม่และอยู่ในสถานการณ์ ท่านจะทำอย่างไร

1. ประชุมนอกรอบใช้หลักวิทยา

2. ชี้แจงให้ทราบถึงแนวทางการดำเนินตามนโยบาย ของ สอศ. ซึ่งต้องปฎิบัติเพื่อพัฒนาองค์กรในทุก ๆ ด้าน ให้ดีกว่า

3. ส่งรองผู้อำนวยการ หัวหน้าแผนกและหัวหน้างาน เข้ารับการอบรมพัฒนาภาวะผู้นำและการบริหารมืออาชีพ (ถ้ามีโอกาสดังกล่าว)

ข้อ 2 ท่านจะมีขั้นตอนและวิธีการอย่างไร ที่จะทำให้นโยบาย สอศ.ประสบความสำเร็จ

1. วิเคราะห์หาสาเหตุของหลักสูตรที่ไม่ประสบความสำเร็จ พร้อมทั้งหา แนวทางในการปรับปรุงพัฒนาหลักสูตร

2. เปิดสอนหลักสูตรใหม่พัฒนากับความต้องการของตลาดแรงงาน รวมทั้งสภาวะการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและเศรษฐกิจ

3. ยุบแผนก

4. เปิดภาคเอกชน เป็นคณะกรรมการสถานศึกษาทุก ๆ สาขาวิชาชีพ

5. ประสานความร่วมมือกับภาคเอกชน

6. เปิดสาขาเพิ่มพัฒนากับความต้องการของตลาดแรงงาน

7. แนะแนวสัญจร

8. เปิดบู้ช รับสมัคร ตามห้างสรรพสินค้า เพื่ออำนวยความสะดวก

กลุ่ม 3

ข้อ 1 ถ้าท่านเป็น ผ.อ.ใหม่และอยู่ในสถานการณ์ ท่านจะทำอย่างไร

ชี้แจง จูงใจให้ที่ประชุมเห็นความสำคัญว่าต้องมีการเปลี่ยนแปลงในองค์กร มอบหมายงานท่านรองเป็นหัวหน้าทีมทำงาน

ข้อ 2 ท่านจะมีขั้นตอนและวิธีการอย่างไร ที่จะทำให้นโยบาย สอศ.ประสบความสำเร็จ

พัฒนาหลักสูตร โดยระดมความคิดจากสถานประกอบการ ชุมชน ผู้มีประโยชน์ร่วม เพื่อพัฒนาหลักสูตรที่ตรงกับความต้องการตลาด

- ประชาสัมพันธ์เชิงรุก แนะแนวการศึกษาให้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย เปิดบ้านทางการศึกษา

- ฟื้นฟูความร่วมมือภาคเอกชน เช่น การจัดการศึกษาร่วมกับสถานประกอบการ (ทวิภาคี) หลักสูตรเทียบโอน เน้นสาขาที่มีนักศึกษาลดลง

กลุ่ม 4

ข้อ 1 ถ้าท่านเป็น ผ.อ.ใหม่และอยู่ในสถานการณ์ ท่านจะทำอย่างไร

1. ผ.อ.นำสถานการณ์ไปทำการบ้าน

- ค้นหาสาเหตุ

- แก้จากจุดเล็กไปใหญ่

2. กำหนดวิสัยทัศน์ร่วม

- ข้อดี ข้อเสีย

- กำหนดแผนงานให้ชัดเจน

- ติดตาม ประเมินผล

- รวบรวมปัญหา แก้ไข วางแผนใหม่

หลักสูตรใหม่

- วิจัยหลักสูตร ค้นปัญหา วางแนวทางแก้ไข

- ประชุมวางแผน ตั้งคณะทำงานร่วม

ฟื้นฟูความร่วมมือ

- สำรวจกลุ่มป้าหมาย stake Holder

- ประชุมขอความร่วมมือ

- กำหนดบุคคล ตั้งกรรมการสถานศึกษา

ข้อ 2 ท่านจะมีขั้นตอนและวิธีการอย่างไร ที่จะทำให้นโยบาย สอศ.ประสบความสำเร็จ

- กำหนดเป้าหมาย 3 ปี

- ประชาสัมพันธ์

- ให้โควตา อบต. ร.ร.ในเขตพื้นที่ 70%

- ทุน

- หลักสูตรระยะสั้น

กลุ่ม 5

ข้อ 1 ถ้าท่านเป็น ผ.อ.ใหม่และอยู่ในสถานการณ์ ท่านจะทำอย่างไร

1. พัฒนาหลักสูตรที่ไม่ประสบความสำเร็จ

- มีสติ เปิดโลกกว้าง เสริมแรง

- กำหนดหลักสูตร โดย

- เตรียมความพร้อม สนองนโยบาย

- ตั้งทีมงานรับผิดชอบ โดยมี รองเป็นที่ปรึกษา

- สรุปผลการดำเนินงาน

ข้อ 2 ท่านจะมีขั้นตอนและวิธีการอย่างไร ที่จะทำให้นโยบาย สอศ.ประสบความสำเร็จ

1. พัฒนาหลักสูตรที่ไม่ประสบความสำเร็จ

a. วิเคราะห์องค์กร หาช่องทาง ความรู้ความเข้าใจ

b. สร้างกลยุทธ์ แนวความคิด ทัศนคติ สร้างแรงจูงใจ เห็นประโยชน์

c. ปรับแนวคิด ทักษะการพูด เสริมแรง จริงใจ

d. ค้นหาปัญหา จุดแข็ง จุดอ่อน โดย การเขียน

e. ใจเย็น สอบถาม เสนอความคิดเห็น

f. ผ.อ.เสนอความคิดเห็น รองฯ ในกรณีถ้าจะต้องพัฒนา

กลุ่ม 6

ข้อ 1 ถ้าท่านเป็น ผ.อ.ใหม่และอยู่ในสถานการณ์ ท่านจะทำอย่างไร

- สติ (EQ)

- เปลี่ยนวิกฤต เป็นโอกาส

- ปิดการประชุม

4ส.

1. ผ.อ. ต้องมี ความสัมพันธ์

2. การสื่อสาร

- สำคัญ

- บุคคล

- ทรัพยากร

- นโยบาย

3. เสริมสร้าง (แนวทางการเปลี่ยนแปลง)

- แรงจูงใจ สู่การเปลี่ยนแปลง

ข้อ 2 ท่านจะมีขั้นตอนและวิธีการอย่างไร ที่จะทำให้นโยบาย สอศ.ประสบความสำเร็จ

- ศึกษาข้อมูลเบื้องต้องของสถานศึกษา

- ศึกษาข้อมุลของชุมชน

- ศึกษาข้อมูลบุคลากรเพื่อดูความเชี่ยวชาญ ความถนัด

- วิเคราะห์ SWOT ของ สถานศึกษาดูความต้องการของชุมชน

กลุ่ม 7

ข้อ 1 ถ้าท่านเป็น ผ.อ.ใหม่และอยู่ในสถานการณ์ ท่านจะทำอย่างไร

- ชี้แจงนโยบาย สอศ.

- สร้างแรงจูงใจ

- ศึกษาดูงาน

ข้อ 2 ท่านจะมีขั้นตอนและวิธีการอย่างไร ที่จะทำให้นโยบาย สอศ.ประสบความสำเร็จ

- มอบหมายงานรอง 4 ฝ่าย

- นำเสนอโครงการ และอนุมัติโครงการ

- ดำเนินงาน

- ประเมินโครงการ

- ปรับแผน

- สรุปผลการดำเนินโครงการ

กลุ่ม 8

ข้อ 1 ถ้าท่านเป็น ผ.อ.ใหม่และอยู่ในสถานการณ์ ท่านจะทำอย่างไร

1. ชื่นชมยินดีผลงานของวิทยาลัยฯ ที่ผ่านมา

2. ความจำเป็นที่ต้องปรับตามนโยบาย

ข้อ 2 ท่านจะมีขั้นตอนและวิธีการอย่างไร ที่จะทำให้นโยบาย สอศ.ประสบความสำเร็จ

1. ปรับทัศนคติในทิศทางเดียวกัน

2. กำหนดวิสัยทัศน์ของวิทยาลัยฯ (แบบมีส่วนร่วม)

3. จัดทำแผนพัฒนา

4. ดำเนินการตามแผน

5. ติดตาม แก้ปัญหาปรับแผน

6. ประเมินผล

สรุป หัวหน้าดี ลูกน้องดี นั้นดีแน่

หัวหน้าดี ลูกน้องแย่ พอแก้ไข

หัวหน้าแย่ ลูกน้องดี มีทางไป

หัวหน้าแย่ ลูกน้องแย่ บรรลัยเอย

workshop

กลุ่มที่ 1

ปัญหาที่เกิดขึ้นในองค์กร

หัวหน้างาน/แผนก มีกำลังใจถดถอย ท้อแท้ วิตกกังวล

แนวทางในการดำเนินการแก้ไข

- ทางเลือก แรงเสริม สรุปปัญหาเสนอฝ่ายบริหาร ทำต่อเนื่อง ต่อเนื่อง และต่อเนื่อง

- ทุกงาน/ แผนก มีแผนพัฒนา

กลุ่มที่ 2

แนวทางในการดำเนินการแก้ไข

ทางเลือก -สร้างปฎิสัมพันธ์

- สร้างชุมชน

- สร้างแรงจูงใจ

เลือก สร้างปฎิสัมพันธ์

1. ภายในแผนก

2. ภายในครอบครัว

3. ระหว่างแผนก

ขั้นตอนในการสร้างปฎิสัมพันธ์

1. สร้างศรัทธาและหาแนวร่วม

2. เพิ่มความจริงใจ

3. ให้การยอมรับซึ่งกันและกัน

4. ช่วยเหลือเกื้อกูล ฯลฯ

กลุ่มที่ 3

แนวทางในการดำเนินการแก้ไข

ทางเลือก - การอบรม

- สัมมนาดูงาน

- จูงใจโดยใช้กระบวนการกลุ่ม (ทีม)

- ปรึกษาผู้บริหาร

เลือก จูงใจโดยใช้กระบวนการกลุ่ม (ทีม) เพราะ ผู้ร่วมงานไม่รู้สึกว่าตนเองมีส่วนร่วมในองค์กร

ขั้นตอนและวิธีการดำเนินงาน

1. ค้นหาสาเหตุโดยใช้ SWOT

2. ใช้ทฤษฎี Coaching

3. สรุปผล ประเมินผล

กลุ่มที่ 4

ปัญหาที่เกิดขึ้นในองค์กร

“ขาดขวัญ กำลังใจ”

แนวทางในการดำเนินการแก้ไข

1. ทำ SWOT

2. กำหนดวิสัยทัศน์ของงาน

3. ทำแผนกลยุทธ์

- บุคลากร

- การเงิน

- วิชาการ

- กิจกรรมสัมพันธ์

มีวงจร PDCA

คับที่อยู่ได้ คับใจอยู่ยาก

กลุ่มที่ 5

SWOT

- จุดแข็ง , โอกาส มีการพัฒนา - PDCA ,รักษาไว้ - PDCA

- จุดด้อย , อุปสรรค มีการปรับปรุง – PDCA, ส่งเสริม –PDCA

PDCA

- เน้นการมีส่วนร่วม

- ปรับเปลี่ยนตามสถานการณ์

No Best But Everything is Better

กลุ่ม 6

แนวทางในการดำเนินการแก้ไขปัญหาในองค์กร

ทางเลือก

1. ส่งเสริมความก้าวหน้า

2. ศึกษาดูงาน

3. ปลูกจิตสำนึกความเป็นครู

4. มอบประกาศเกียรติคุณ

5. สร้างบทบาทของแผนก

6. ให้ความช่วยเหลือก่อนเมื่อมีโอกาส

7. ให้งานที่ท้าทาย

8. ทำทุกอย่างให้ต่อเนื่อง

9. มอบหมายงานที่ชอบ/ถนัดให้ทำ

เลือก ข้อ 8 ทำทุกอย่างให้ต่อเนื่อง

ขั้นตอน วิเคราะห์ SWOT

- อธิบายความสำคัญ/บทบาท

- กระตุ้นการทำงาน

- บอกผลที่จะได้รับ

- ลงมือปฎิบัติงานอย่างมีส่วนร่วม

- ประเมินผลการดำเนินงาน

- มอบรางวัล

ปัญหาที่เกิดขึ้นในองค์กร

กลุ่มที่ 7

แนวทางในการดำเนินการแก้ไขปัญหาในองค์กร

ทางเลือก

1. ขวัญกำลังใจ

2. Team work

3. การเสริมแรง

เลือก ขวัญกำลังใจ

- เพื่อให้ทุกคนมีกำลังใจ

- บุคลากรทำงานอย่างมีความสุข

- มีความมั่นคงในชีวิต

วิธีในการดำเนินการ

1. การให้รางวัล ตอบแทน

2. ส่งเสริมเรื่องวัสดุครุภัณฑ์

3. เรื่องสวัสดิการ

4. คัดเลือกบุคลากรดีเด่น

5. เป็นตัวอย่างที่ดี สร้างภาพลักษณ์

กลุ่มที่ 8

ทางเลือก ระดมความคิดสร้างแนวทางการทำงานใหม่เพราะปรับระบบงาน

ขั้นตอน

1. วิเคราะห์ปัญหา

2. สร้างแรงจูงใจ

3. ระดมความคิดกำหนดวิสัยทัศน์ จัดทำแผนดำเนินงาน

อยากทราบว่าการผลิตบุคลากรในสาขาอาชีวะกับความต้องการของตลาดมีปัญหาอะไร และ Roadmap จะแก้คืออะไร ใครทราบช่วยอธิบายที

วีระชาติ กุลสิทธิ์ (วิทยาลัยอาชีวศึกษาเชียงราย)

ดีใจที่มีโอกาสได้รับการคัดเลือกเข้ารับการอบรมและได้เรียนกับอาจารย์จิระ หงส์ลดารมภ์ (อยากจะเรียกว่าครูจีระมากกว่านะครับเพราะท่านมีความเป็นครูอยูในสายเลือดจริง ๆ) ซึ่งตอนที่สมัครเข้ารับการอบรมก็ไม่ได้มีความรู้สึกอยากจะเข้ารับการอบรมเท่าไรนักเพราะคิดว่าก็คงเหมือน ๆ กับการอบรมทั่ว ๆ ไป แต่เมื่อผ่านการอบรมไปแล้วความคิดก็เปลี่ยนไป รู้สึกว่าได้ความรู้จากการอบรมในครั้งนี้มากมาย ที่สำคัญได้เห็นตัวอย่างของคนเก่งคนกล้าและรู้จริงอย่างอาจารย์จีระ เพราะทุกวันนี้คนเก่งพอหาได้แต่คนกล้าและรู้จริงหาได้ยากจริง ๆ ถ้าผมจะบอกว่าทฤษฎี 2'R นั้นก็คือทฤษฎีของคนเก่ง คนกล้าและรู้จริงนั่นเอง...เพราะต้องกล้าที่จะเผชิญกับความจริงไม่ใช่มายกยอปอปั้นกับมองพวกพ้องเป็นหลักทั้ง ๆ ที่ความจริงแล้วไม่ถูกต้อง การที่เราไม่กล้าเผชิญกับความจริงก็จะไม่สามารถเอาความรู้ทั้งหลายมาแก้ปัญหาใด ๆ ได้หรือถ้าแก้ได้ก็เป็นการแก้แค่ปลายเหตุเห็นผลได้ในระยะสั้น ๆ เท่านั้นไม่ใช่การแก้ปัญหาที่ยั่งยืน ผมอยากยกตัวอย่างการแก้ปัญหาที่ไม่ตรงจุดเช่น บางวิทยาลัยปิดรั้ววิทยาลัยเพื่อแก้ปัญหาการทะเลาะวิวาทของนักศึกษาโดยไม่แก้ที่ตัวเด็ก สุดท้ายแล้วเมื่อเด็กออกจากรั้ววิทยาลัยก็จะไปสร้างปัญหาให้กับสังคมภายนอกเพราะไม่มีรั้วมากั้นไว้อีกแล้ว ซึ่งไม่ต่างอะไรกับนักโทษที่ไม่ได้รับการพัฒนาในขณะที่ถูกจองจำก็จะกลับมาสร้างปัญหาไม่มีวันสิ้นสุด ผมเชื่อเรื่องคุณค่าแห่งความเป็นมนุษย์ที่สามารถพัฒนาได้ เพียงแต่ต้องได้รับการพัฒนาให้ถูกทางเท่านั่นเอง ผมเชื่อมั่นในทฤษฎี 2'R ว่าจะช่วยให้เราเดินไปในทางที่ถูกต้องครับ...ผู้นำ...ผู้กล้า...กล้าเผชิญกับความจริงและความถูกต้อง...กล้าที่จะเปลี่ยนแปลง... สุดท้ายนี้ผมอยากจะบอกอาจารย์ว่าผมจะนำความรู้ที่ได้รับจากอาจารย์มาใช้ประโยชน์ในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์อย่างยั้งยืนต่อไปถึงแม้จะเป็นเพียงจุดเล็ก ๆ ก็ตาม...ขอบคุณสำหรับสิ่งดี ๆ ที่อาจารย์มอบให้ด้วยความจริงใจ

เริ่มต้นวันแรกที่เข้ามา-_-

"พัฒนาผู้นำให้ก้าวหน้าเพื่อนำพาอาชีวศึกษาของไทยให้ก้าวไกล"

จะถือว่าเป็นกลยุทธ์ของอาชีวศึกษาไทยก็ว่าได้ แต่ก่อนอื่นต้องมาวิเคราะห์ให้ได้ว่าผู้นำนั้นคือใคร ซึ่งผู้นำในองค์กรอาชีวศึกษา มีผู้นำทุกระดับจากล่างไปสู่บน และรอบข้าง หรือ 360 องศา และที่สำคัญที่สุดต้องรู้ว่าผู้นำในระดับใดกันแน่ที่เป็นกุญแจของการพัฒนาอาชีวศึกษาไทยนี้ หากมองแบบฐานกำลังทางทหาร ผู้นำที่มีกำลังหรือฐานอำนาจอยู่ในมือในการพัฒนาอาชีวศึกษา ก็คือผู้อำนวยการสถานศึกษา นั่นเอง ดังนั้น ถ้าผู้นำในระดับนี้ มีพลัง มีศักยภาพ มีคุณธรรม และมีอุดมการณ์ที่แท้จริงอยู่ในตัวตนของแต่ละคน ไม่เกาะกระแสไปตามผู้นำเบื้องบนที่เปลี่ยนไปตามสถานการณ์การเมืองเป็นหลัก (นโยบายต้องปฏิบัติ แต่อย่าทิ้งหลักการที่แท้จริงของการจัดการอาชีวศึกษาไทย ต้องมองให้ทะลุ อะไรเป็นแก่น อะไรเป็นกะพี้) กล้าที่คิด และต้องมีการปฏิบัติจริงแบบนอกกรอบ ให้ทุกคนในองค์กรมีจุดมุ่งหมายเดียวกัน มุ่งผลสัมฤทธิ์สู่ผู้เรียน วัด ชุมชน บ้าน สังคม และประเทศชาติ อย่างแน่วแน่แท้จริง อุปสรรคปัญหาที่เกิดขึ้นมาทั้งหลายทั้งปวง ทุกคนในเรือก็จะช่วยกันเขี่ยกำจัดมันออกไป และสุดท้ายมีข้อคิดเป็นบทกลอนสอนใจว่า

"ผู้นำสถานศึกษาผู้กล้า จะนำพาอาชีวศึกษาให้ก้าวไกล

ผู้นำสถานศึกษาผู้ลื่นไหล จะเสียใจต่อชีวิตที่คิดผิดเอย.."

think???imagine???think???imagine???

"ผู้นำสถานศึกษาผู้คิดผิด แต่ในจิตคิดไปไกลไยสับสน

ผู้นำสถานศึกษาผู้รู้ตน ให้สร้างคนในวิถีอาชีวะเอย.."

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท