อยู่ร่วมอย่างไร...ในภาวะที่มีการแบ่งขั้ว...การเมือง


ทำอย่างไรจึงสามารถดำรงอยู่ ทำอย่างไรจึงก้าวต่อไปในสภาวะการณ์เช่นนี้ อ.ดร.ปริญญา เทวานฤมิตรกุล อ.ประจำภาควิชาการเมืองการปกครอง ม.ธรรมศาสตร์(ถ้าจำไม่ผิด) และคณะผู้ร่วมรายการ "เวทีสาธารณะ" ทางช่องทีวีไทย

ประเทศใดหรือองค์กรใดที่สามารถสร้างความเป็นเอกภาพได้ให้เป็นหนึ่งจะก้าวไปสู่ความเป็นผู้นำหรือการก้าวไปสู่ความสำเร็จได้ เชื่อว่าปัจจัยที่ทำให้เกิดความเป็นเอกภาพหรือเสถียรภาพดังกล่าวได้ร้อยละ 50 มาจาก "ผู้นำ" ซึ่งก็แบ่งอีกว่ามีปัจจัยอะไรที่มาเชื่อมโยง เช่น ความรู้ ความสามารถ การบริหาร หรือความมีภาวะผู้นำในตนเอง และปัจจัยที่สำคัญคือการที่ได้รับความไว้วางใจ เชื่อมั่นและให้โอกาส จากทีมงาน

แต่เมื่อใดที่ภาวะที่บ้านเราถูกแบ่งออกเป็น 2 ฝ่าย จากวิถีการเมืองที่ครอบงำและแผ่อิทธิพล ทำให้แทบทุกสังคม ทุกองค์กรแยกฝ่ายออกจากกัน  เหลือแต่คนที่ยังไม่คิดหรือไม่สามารถเลือกขั้วได้หรือด้วยใจที่เป็นธรรมจึงยืนอยู่ท่ามกลางความสับสนปนความขัดแย้ง

สิ่งนี้แม้ไม่ใช่สิ่งดีนักแต่ก็สามารถนำมาเป็นปัจจัยเอื้อต่อการพัฒนาได้ พัฒนาตัว พัฒนาตน พัฒนาจิต ให้รู้จัก....พัฒนาองค์กรให้ก้าวไปยังจุด ๆหนึ่งที่ไกลออกไป องค์กรในโลกนี้หาได้น้อยนักที่จะไม่มีความขัดแย้งใด ๆเลย ประเทศใด ๆในโลกนี้ล้วนเช่นกัน ไม่นั่นนิดก็นี่หน่อย...

ยิ่งในยุคประชาธิปไตยที่เบ่งบาน ประชาธิปไตยนั้นไม่ได้บอกว่าผู้ที่มากกว่าเป็นฝ่ายที่ถูกต้องทั้งหมด ด้วยกติกาที่ให้ผู้ที่มีจำนวนมากกว่าเป็นฝ่ายที่กุมอำนาจไว้แต่ไม่ได้บอกว่าถูก ดังนั้นในระบอบประชาธิปไตยจึงเลี่ยงไม่ได้ในเรื่องความขัดแย้ง ความไม่เข้าใจ ความเห็นที่แตกต่าง

ทำอย่างไรจึงสามารถดำรงอยู่ ทำอย่างไรจึงก้าวต่อไปในสภาวะการณ์เช่นนี้ อ.ดร.ปริญญา  เทวานฤมิตรกุล  อ.ประจำภาควิชาการเมืองการปกครอง ม.ธรรมศาสตร์(ถ้าจำไม่ผิด) และคณะผู้ร่วมรายการ "เวทีสาธารณะ" ทางช่องทีวีไทย บอกว่า หากในประเทศใดหรือองค์กรใด ประสบภาวะนี้ต้องยึกหลักสำคัญในการอยู่ร่วมกันในระบอบประชาธิปไตยไว้คือ

1)คนเราสามารถที่จะคิดไม่เหมือนกันได้ ถกเถียงกันได้ ทะเลาะกันได้แต่ต้องไม่ทำร้ายกันและกัน ต่างกันได้โดยไม่ใช่ศัตรู 2)ทุกคนที่มีบทบาทหน้าที่ มีความรับผิดชอบต้องทำงานหรือแสดงความรับผิดชอบในงานหน้าที่ของตนเอง รวมถึงคำนึงถึงบทบาทหน้าที่ของคนอื่นด้วย คือต้องให้เขาทำหน้าที่ของเขา ทำตามบทบาทของเขา โดยไม่ปิดกั้น 3)เคารพในสิทธิของฝ่ายตรงข้าม ให้เกียรติ และทำตามกติกา

หากประเทศเรา องค์กรเราสามารถคิดและเข้าใจในหลักการง่าย ๆนี้ได้

ก็ไม่ต้องกลัวความขัดแย้งครับ ขัดแย้งได้แต่ไม่ใช่ศัตรูครับ

 สมัยก่อนสุนัขเจอแมวเมื่อไร"กัด"กันทุกที สมัยนี้"กินนม"ยังได้เลย เห็นปล่ะ??!!

หมายเลขบันทึก: 191099เขียนเมื่อ 29 มิถุนายน 2008 07:30 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 19:14 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

เห็นด้วยค่ะ คนเราสามารถที่จะคิดไม่เหมือนกันได้ ถกเถียงกันได้ ทะเลาะกันได้แต่ต้องไม่ทำร้ายกันและกัน ต่างกันได้โดยไม่ใช่ศัตรู

ในมุมมองของหนู  เราอาจมีความต่าง แต่ บนเส้นทาง...ความมีเหตุผลค่ะ

                        

สวัสดีครับคุณครูสายธาร

ระบอบประชาธิปไตยไม่ใช่ไม่ดีเนาะ?

คนในระบอบไม่ค่อยเข้าใจต่างหาก

เมื่อไม่เข้าใจ...อะไร ๆก็ตามมา

แต่พอเข้าใจ...อะไร ๆก็จบ

ต้องเปิดใจที่จะยอมรับและให้เกียรติเสียงส่วนใหญ่ เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นมาจากคนส่วนน้อยใช้ช่องว่างของกฏหมาย มาแสดงบทบาทให้คนอื่นเห็นความสำคัญของตนเอง

( อย่าว่ากันนะครับความเห็นส่วนตัว )

ผมว่า คำว่า " ศัตรู " เขียนอย่างนี้นะครับ

สวัสดีครับ

ผมว่ารัฐสภาไทยก็เป็นตัวอย่างได้นะครับ

น้อยมากที่จะทะเลาะจนขั้นตบตีขณะอยู่ในสภา

ขอบคุณครับผมพิมพิมพ์ผิดบ่อยมาก ๆกับคำนี้ครับ "ศัตรู"

อรุณสวัสดิ์ค่ะคุณหมอกะท้อน

* สบายดีนะคะ บรรยากาศปายช่วงนี้เป็นไงบ้างคะ

* ...  อีกไม่นาน ก็เริ่มล่องแพ ได้แล้ว? คะ

 - -  เห็นด้วยนะคะ กับ - -

ก็ไม่ต้องกลัวความขัดแย้งครับ ขัดแย้งได้แต่ไม่ใช่ศัตรูครับ

...  แบบ  Unity in Diversity  .. ใช่ไหมคะ

... มีความสุขกับ สีสัน แห่งความแตกต่างที่สร้างสรรรค์ค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท