สรุปสาระวิชากฎหมายนิติกรรมและสัญญาครั้งที่ 4(ตอนที่ 3)


วันที่ ๒๔ มิถุนายน ๒๕๕๑

                อธิบายเอกสารประกอบการบรรยายหน้าที่ ๑๕

                คำว่า เสียค่าตอบแทน เป็นคำที่ใช้ในกรณีที่ได้ทรัพย์อะไรมาแล้วต้องเสียตอบแทน  เช่น  การซื้อรถ  เวลาซื้อต้องจ่ายเงินเพื่อให้ได้รถมา อย่างนี้    ซึ่งมาตรา ๑๕๕ ใช้คำว่า ต้องเสียหาย  ไม่ใช่ เสียค่าตอบแทน  จึงเป็นเรื่องที่มีข้อสังเกตน่าสนใจว่าทำไมเป็นเช่นนั้น 

          มาตรา ๑๓๐๓  ถ้า บุคคลหลายคน เรียกเอา สังหาริมทรัพย์ เดียวกัน โดยอาศัยหลัก กรรมสิทธิ์ ต่างกันไซร้ ท่านว่า ทรัพย์สิน ตกอยู่ในครอบครอง ของ บุคคลใด บุคคลนั้น มีสิทธิยิ่งกว่า บุคคลอื่นๆ แต่ต้องได้ ทรัพย์นั้นมา โดยมีค่าตอบแทน และ ได้การครอบครองโดยสุจริต

          โดยปกติถ้าเสียค่าตอบแทนเป็นกรณีที่ต้องเสียหายทุกกรณี  แต่จากเนื้อหาในตัวบทมาตรา ๑๕๕  สื่อให้เห็นว่า  คำว่า ต้องเสียหาย  บางที่อาจไม่ใช่เป็นเรื่องการเสียค่าตอบแทนก็ได้  เช่น  ถ้า ข.ยกรถให้ ค. (ตามเอกสารหน้า ๑๔)  แต่ถ้าเกิดว่า  ค.ต้องเสียเงิน  ๒ หมื่นเพื่อซ่อมรถยนต์  อย่างนี้ถือว่า  เขาเป็นผู้ต้องเสียหายทันที อย่างนี้  ค.ได้กรรมสิทธิ์ไป (ถ้าศาลใช้ดุลยพินิจในเรื่องของสัดส่วน)

                แต่ถ้ากรณีที่ปัดน้ำฝนเสีย  ค.ซ่อมราคาสี่ร้อยบาท   ต้องเสียหายหรือเปล่า  ตรงนี้กฎหมายยังไม่ชัด  แต่ความเห็นในทางวิชาการเห็นว่า ทรัพย์มีราคาเป็นแสน  จ่ายไปแค่สี่ร้อยอาจไม่จัดเป็นต้องเสียหาย  หากมองในความเป็นสัดส่วน  แต่ว่ากรณีนี้ต้องดูเป็นกรณีและในแง่ของความเป็นธรรมด้วย  ไม่ตายตัวเสมอไป   

                อธิบายเอกสารประกอบการบรรยายหน้าที่ ๑๘

                ตอบ   นิติกรรมในแง่แบบไม่เป็นโมฆะ  เพราะทำตามแบบในเรื่องของการซื้อขายอสังหาริมทรัพย์   แต่เป็นโมฆะเรื่องเจตนาลวงตามมาตรา ๑๕๕ วรรค ๑ 

                เพราะฉะนั้น  แม้ทำตามแบบ แต่อย่าลืมว่าการจดทะเบียน  ไม่ได้เปลี่ยนเจตนาที่สมรู้กันเพื่อหรอกคนอื่น

                อธิบายเอกสารประกอบการบรรยายหน้าที่ ๑๙

                ตอบ  ก.ยังเป็นเจ้าของอยู่  เพราะ ๑) ค.ไม่เป็นผู้ต้องเสียหาย  แม้  ข.จะยกให้โดยการทำตามแบบ   แต่ถ้า ค.ต้องเสียหายเพราะต้องจ่ายค่าจดทะเบียนโอนอย่างนี้ ถือวา ค.เป็นผู้ต้องเสียหาย 

                อธิบายเอกสารประกอบการบรรยายหน้าที่ ๑๙

               มาตรา ๑๕๕    ถ้า การแสดงเจตนาลวง ตามวรรคหนึ่ง ทำขึ้นเพื่อ อำพราง นิติกรรม อื่น ให้นำ บทบัญญัติ ของกฎหมาย อันเกี่ยวกับ นิติกรรม ที่ถูกอำพราง มาใช้บังคับ

       อธิบายเอกสารประกอบการบรรยายหน้าที่ ๒๑

                ตอบ

                นิติกรรมซื้อขายนาฬิกาที่เป็นการอำพราง โดยเปิดเผยว่าเป็นการซื้อขาย  ซึ่งที่จริงเป็นการยกให้   นิติกรรมนี้เป็นโมฆะ  เพราะเป็นการทำนิติกรรมที่มีเจตนาลวง  การขายนาฬิกานี้เป็นโมฆะ

                ระหว่าง  ก.และ ข.บังคับไปตามนิติกรรมยกให้

                สัปดาห์นี้  อาจารย์บรรยายเท่านี้น่ะครับ  สัปดาห์หน้ามาต่อกัน   โดยเฉพาะหน้าที่ ๑๖  เป็นต้นมา ท่านอาจารย์น่าจะอธิบายทบทวนอีกที  เพราะท่านเกริ่นไว้สั้น ๆ เท่านั้น

                สวัสดีครับ

หมายเลขบันทึก: 190670เขียนเมื่อ 26 มิถุนายน 2008 21:07 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 13:34 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท