เตรียมพร้อมทีมนักวิจัย PAR อาหารปลอดภัย ( 2 )


มีทั้งการนำโครงการปกติ มาผสมผสานกับแนวคิดและทิศทางการพัฒนาแบบมีส่วนร่วมและยั่งยืน มีกระบวนการสร้างทีมทำงาน(ทีมคุณกิจที่หน้างาน) สร้างเครือข่าย(มหาวิทยาลัยท้องถิ่น/กรมส่งเสริมฯ)ไปพร้อมๆ กัน

          สรุปผลการระดมสมองของนักส่งเสริมการเกษตร(ลิงค์ตอนที่1) ที่เข้าร่วมกระบวนการเรียนรู้ เพื่อนำการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีณส่วนร่วม( PAR) มาใช้ในการส่งเสริมการผลิตสินค้าเกษตรที่ปลอดภัยและได้มาตรฐาน ในวันที่ 14 มีนาคม 2549  ณ ห้องประชุมสำนักงานเกษตรจังหวัดกำแพงเพชร  ในภาคบ่ายได้แบ่งนักส่งเสริมออกเป็น 4 กลุ่มเพื่อช่วยกันคิดและสรุปผลที่ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้กระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม(การผลิตสินค้าเกษตรปลอดภัยฯ)ในวันนี้ และการกำหนดแนวทางที่จะลงไปปฏิบัติงานในพื้นที่ ผมขอนำเสนอข้อสรุปของกลุ่มจากคำถามที่ว่า "สิ่งที่ได้เรียนรู้ท่านคิดว่าเป็นอย่างไร และจะมีวิธีที่จะนำลงไปปฏิบัติในพื้นที่อย่างไร"

     สิ่งที่ได้เรียนรู้ในวันนี้

  • แนวคิดการพัฒนา (เน้นการมีส่วนร่วม,การค้นหาความรู้และใช้ภูมิปัญญาของชาวบ้านฯ)
  • การผลิตอาหารปลอดภัย
  • กระบวนการวิจัย PAR

     วิธี/แนวทางที่จะนำลงไปปฏิบัติในพื้นที่

  • คัดเลือกชนิดพืช
  • คัดเลือกพื้นที่
  • คัดเลือกเกษตรกร
  • ออกแบบวิจัย
  • จัดเก็บข้อมูล
  • เสวนากลุ่ม/จัดเวทีชุมชน
  • สรุปความรู้
  • นำความรู้ไปสู่การปฏิบัติ....ได้/ไม่ได้  .... ปรับปรุงแก้ไข
  • เชื่อมโยงความรู้
  • สรั้งเครือข่าย และการตลาด

            และช่วงท้ายของการประชุมฯ ได้มีข้อสรุปสำหรับนักส่งเสริมการเกษตร ที่จะกลับไปทำ/เตรียมงานอะไรต่อในพื้นที่

  1. นักส่งเสริมการเกษตร ต้องมีระบบข้อมูล คือทุกคนต้องมีการจัดทำแฟ้มสะสมงาน
  2. มีเครื่องมือที่จะสนับสนุนการจัดเก็บข้อมูล เช้น กล้องถ่ายรูป แบบจัดเก็บข้อมูล เป็นต้น
  3. มีผู้ปฏิบัติงานที่ชัดเจนในการทำงานวิจัย เช้น ผู้ปฏิบัติ ผู้จดบันทึก ผู้อำนวยความสะดวก ผู้กำกับและสนับสนุน เป็นต้น
  4. มีแผนการปฏิบัติที่ชัดเจน เช่น ประเด็นการปฏิบัติ  เวลาที่จะทำการพัฒนา เป็นต้น

          นี่ก็เป็นอีกกิจกรรมหนึ่งของการพัฒนาองค์กร พัฒนากระบวนการส่งเสริม โดยทีมงานได้เรียนรู้และนำมาปรับให้เหมาะสมกับองค์กรของเรา จะเห็นได้ว่าเราได้เรียนรู้และดำเนินกิจกรรมที่หลากหลาย มีทั้งการนำโครงการปกติ มาผสมผสานกับแนวคิดและทิศทางการพัฒนาแบบมีส่วนร่วมและยั่งยืน  มีกระบวนการสร้างทีมทำงาน(ทีมคุณกิจที่หน้างาน) สร้างเครือข่าย(มหาวิทยาลัยท้องถิ่น/กรมส่งเสริมฯ)ไปพร้อมๆ กัน   อาจจะยังไม่เห็นภาพชัดๆ แต่จะพอมองเห็นรางๆ และค่อยๆ สดใส เพราะเมื่อเวลาผ่านไปจะเห็นภาพที่ชัดเจนขึ้น พร้อมทั้งมองเห็นความเชื่อมโยงของหลายสิ่งหลายอย่าง  ทีมงานของสำนักงานเกษตรจังหวัดกำแพงเพชรจะต้องเรียนรู้และทำกันต่อไปครับ

วีรยุทธ  สมป่าสัก

คำสำคัญ (Tags): #par#วิจัยชุมชน#rd
หมายเลขบันทึก: 19027เขียนเมื่อ 15 มีนาคม 2006 22:42 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 14:33 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
ไพโรจน์ ลิ้มจำรูญ
แวะมาแล้ว
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท