ผลการจัดท่านอนเพื่อส่งเสริมระยะเวลาการหลับของทารกเกิดก่อนกำหนดในหอผู้ป่วยทารกแรกเกิด โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ศูนย์อนามัยที่ 10 เชียงใหม่


ผลการจัดท่านอนเพื่อส่งเสริมระยะเวลาการหลับของทารกเกิดก่อนกำหนดในหอผู้ป่วยทารกแรกเกิด โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ศูนย์อนามัยที่ 10 เชียงใหม่

1 ผลงานที่เป็นผลการดำเนินงานที่ผ่านมา

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

1.

 

ชื่อผลงาน เรื่อง

ผลการจัดท่านอนเพื่อส่งเสริมระยะเวลาการหลับของทารกเกิดก่อนกำหนด

 

10 เชียงใหม่

2.

ระยะเวลาที่ดำเนินการ

เดือน เมษายน 2550 ถึง เดือน พฤษภาคม

2550

3.

สัดส่วนของผลงานในส่วนที่ตนเองปฏิบัติ

100%

4.

ผู้ร่วมจัดทำผลงาน(ถ้ามี)

-

5.

บทคัดย่อ

การนอนหลับเป็นความต้องการขั้นพื้นฐานของมนุษย์เพื่อการดำรงชีวิตและการมีสุขภาพร่างกายที่เป็นปกติ และในทารกเกิดก่อนกำหนดมีความต้องการการหลับมากกว่าวัยอื่นๆ การนอนหลับจะส่งเสริมการเจริญเติบโต พัฒนาการ และการทำหน้าที่ของระบบต่างๆของร่างกายที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วงขวบปีแรก โดยเฉพาะระบบประสาทส่วนกลางที่ควบคุมการหลับตื่นของทารก การจัดให้ทารกเกิดก่อนกำหนดนอนในท่านอนที่ถูกต้องเหมาะสม มีส่วนช่วยส่งเสริมให้ทารกหลับได้นานขึ้น ทารกที่มีระยะการหลับตื่นที่ดีจะแสดงถึงการการเจริญเติบโตและพัฒนาการของระบบประสาทที่ดี ส่งผลต่อพัฒนาการของทารกเมื่อโตขึ้น

การศึกษาครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์ เพื่อเปรียบเทียบผลการจัดท่านอน

 

3 ท่า คือท่านอนหงาย ท่านอนตะแคง และท่านอนคว่ำต่อระยะเวลาการหลับของทารกเกิดก่อนกำหนดที่เข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วย ทารกแรกเกิดโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ เชียงใหม่ ทำการศึกษาระหว่างเดือน เมษายน 2550 ถึง เดือน พฤษภาคม 2550 โดยทารกเกิดก่อนกำหนดที่เป็นกลุ่มตัวอย่างทุกรายได้รับการจัดให้นอนท่าศีรษะสูง 15-30 องศา ศีรษะอยู่แนวกึ่งกลางลำตัว งอแขนให้มืออยู่ใกล้ปาก งอเข่าชิดลำตัว ใช้หมอนรูปตัวยู(U)โอบรอบตัวทารกทำเป็นขอบเขต เท้ายันกับหมอนที่เป็นขอบเขต แต่ละท่านอนใช้เวลาสังเกตรวม 2 ชั่วโมง 30 นาที ติดต่อกันจนครบทั้ง 3

ท่าในวันเดียวกัน จากนั้นนำระยะเวลาที่ได้มาหาค่าเฉลี่ยแต่ละระยะการหลับตื่น และระยะเวลาหลับทั้งหมดของแต่ละท่า โดยใช้แบบบันทึกระยะเวลาการหลับของทารกเกิดก่อนกำหนดของ เพ็ญจิตร์ ธนเจริญพิพัฒน์

6.

บทนำ

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ศูนย์อนามัยที่

 

10 เชียงใหม่ มีการปรับระบบการให้บริการจากโรงพยาบาลแม่และเด็ก เชียงใหม่ สู่การเป็นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ที่ให้บริการผู้รับบริการในทุกกลุ่มอายุ จากสถิติของหอผู้ป่วยทารกแรกเกิดโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ เชียงใหม่ ปี พ.. 2547 , 2548 และ 2549 มีจำนวนทารกเกิดก่อนกำหนดที่นอนรักษาจำนวน171 , 151 และ 115ราย คิดเป็นร้อยละ 8.55 , 8.92 และ 11.9 ตามลำดับ ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีภาวะเสี่ยงสูง จากสภาพร่างกายที่เจริญเติบโตยังไม่สมบูรณ์ การพัฒนาของระบบประสาทส่วนกลางที่ควบคุมการหลับตื่นยังไม่สมบูรณ์ ทำให้ระยะการหลับตื่นเปลี่ยนแปลงง่ายมีรอบการหลับเป็นช่วงสั้นๆ ประกอบกับทารกกลุ่มนี้ยังมีพัฒนาการความตึงตัวของกล้ามเนื้อที่ยังไม่สมบูรณ์อีกด้วยทำให้การควบคุมการเคลื่อนไหวร่างกายในการงอ เหยียดแขนขาและการต้านแรงโน้มถ่วงของโลกทำได้น้อย ส่งผลให้เกิดอาการสะดุ้งผวาและเกิดความเมื่อยล้าได้ และการที่ต้องเผชิญกับสภาพแวดล้อมในหอผู้ป่วย ที่มีการใช้อุปกรณ์การแพทย์หลายชนิดและการทำหัตถการต่างๆ สิ่งต่างๆเหล่านี้มีผลรบกวนต่อระยะการหลับตื่นของทารก ซึ่งทารกเกิดก่อนกำหนดมีความต้องการการหลับมากกว่าวัยอื่นๆ การนอนหลับเป็นช่วงเวลาแห่งการตอบสนองการเจริญเติบโต ส่งเสริม พัฒนาการ และการทำหน้าที่ของระบบต่างๆของร่างกายของทารกอีกด้วย ซึ่งทางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ศูนย์อนามัยที่ 10เชียงใหม่ ได้ให้ความสำคัญการดูแลทารกเกิดก่อนกำหนด โดยเน้นการดูแลให้การพยาบาลเพื่อส่งเสริมพัฒนาการและการเจริญเติบโตในรูปแบบต่างๆเช่นการใช้ผ้าคลุมตู้อบ การทำแกงการูแคร์ การใช้หมอนรูปตัวยู(U)โอบรอบตัวทารก เป็นต้น การส่งเสริมให้ทารกมีระยะการหลับตื่นที่เหมาะสมมีส่วนช่วยส่งเสริมพัฒนาการและการเจริญเติบโตที่ดีของทารกเกิดก่อนกำหนด ในการปฏิบัติพยาบาลผู้ให้การดูแลยังขาดความตระหนักถึงความสำคัญการส่งเสริมให้ทารกเกิดก่อนกำหนดมีระยะการหลับตื่นที่เหมาะสม ซึ่งจะส่งผลต่อการการเจริญเติบโตและพัฒนาการของทารกในช่วงวัยต่อๆไป ผู้ศึกษาจึงมีความสนใจที่จะศึกษาเปรียบเทียบผลการจัดท่านอน 3

ท่า คือท่านอนหงาย ท่านอนตะแคง และท่านอนคว่ำต่อระยะเวลาการนอนหลับของทารกเกิดก่อนกำหนด เพื่อนำผลที่ได้ไปใช้เป็นแนวทางในการจัดท่านอนที่เหมาะแก่ทารกเกิดก่อนกำหนดในหอผู้ป่วยเพื่อส่งเสริมระยะการนอนหลับที่เหมาะสม

7.

วัตถุประสงค์

เพื่อเปรียบเทียบระยะเวลาการหลับของทารกเกิดก่อนกำหนดเมื่อจัดให้อยู่ในท่านอนหงาย ท่านอนตะแคง และท่านอนคว่ำ 3

8.

วิธีการดำเนินงาน/วิธีการศึกษา/ขอบเขตของงาน

การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษา ผลของการจัดท่านอนต่อระยะเวลาการนอนหลับของทารกเกิดก่อนกำหนด โดยกลุ่มตัวอย่างเป็นทารกเกิดก่อนกำหนดที่เข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยทารกแรกเกิดโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ศูนย์อนามัยที่

 

10 เชียงใหม่ ระหว่างเดือนเมษายน 2550 ถึง เดือนพฤษภาคม 2550 ที่มีอายุครรภ์หลังปฏิสนธิระหว่าง 32- 37

สัปดาห์ ประเมินอายุครรภ์โดยแพทย์ผู้รักษาตามแบบประเมินด้วยวิธีบาลลาร์ด โดยกำหนดลักษณะดังนี้

1.

 

เป็นทารกแรกเกิดก่อนกำหนดทั้งเพศหญิงและเพศชายที่ไม่มีอาการแทรกซ้อนดังต่อไปนี้

1.1

 

ไม่มีความพิการแต่กำเนิดของระบบประสาทและโครโมโซม

1.2

 

ไม่มีโรคแทรกซ้อนทางระบบประสาทและสมอง

1.3

 

ไม่มีความผิดปกติของระบบทางเดินหายใจ

1.4

 

ไม่มีความผิดปกติของระบบเผาผลาญอาหาร

1.5

 

ไม่มีความผิดปกติของระบบทางเดินอาหาร

2.

 

ไม่ได้รับยาที่มีผลต่อการหลับและการตื่น เช่น Phenobarbital , Antihistamine , Chloralhydrate

ที่มีผลทำให้ง่วงซึม

3.

 

ทารกไม่มีข้อจำกัดในการจัดท่านอน หรือ ไม่ขัดต่อแผนการรักษาของแพทย์ เช่นการใส่สายสวนทางสะดือ

(Umbilical catheter)

 

บิดาและ/

หรือมารดายินยอมให้บุตรเข้าร่วมทำการศึกษา

เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา

เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้คือประกอบด้วย

 

2

ส่วน ดังนี้

ส่วนที่

1

1

เครื่องมือและอุปกรณ์ที่ใช้ในการจัดท่านอนและจับเวลา ประกอบด้วย

1.

 

เครื่องมือและอุปกรณ์ที่ใช้ในการจัดท่านอนได้แก่ หมอนรูปตัวยู(U)

และม้วนผ้าสำหรับรอง

 

3

ผืน

2.

 

เครื่องมือที่ใช้ในการจับเวลา ได้แก่ นาฬิกาจับเวลาที่แสดงตัวเลขเป็นวินาที

ส่วนที่

2

2

เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย

1.

 

แบบบันทึกข้อมูลทั่วไป

2.

 

แบบบันทึกระยะเวลาการหลับตื่นและคู่มือสังเกตพฤติกรรมการหลับตื่นของทารกแรกเกิดก่อนกำหนด ของเพ็ญจิตร์ ธนาเจริญพิพัฒน์

1.

 

สำรวจรายชื่อทารกแรกเกิดก่อนกำหนด คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างที่มีลักษณะตามเกณฑ์ที่กำหนด

2.

 

ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลกับกลุ่มตัวอย่างด้วยตนเอง ดังนี้

2.1

 

พบมารดา/

บิดาของกลุ่มตัวอย่าง แนะนำตัว อธิบายวัตถุประสงค์ ขั้นตอนในการศึกษา

2.2

 

บันทึกข้อมูลตามแบบข้อมูลทั่วไปจากรายงานของผู้ป่วย

2.3

 

จัดสิ่งแวดล้อมให้ทารกอยู่ในตู้อบปรับอุณหภูมิตู้อบ ให้ทารกมีอุณหภูมิกายระหว่าง 36.5-37.5

องศาเซลเซียส ใช้ผ้าคลุมตู้เพื่อลดแสงและเสียงรบกวน และใส่ผ้าอ้อมสำเร็จรูปเพื่อลดการรบกวนการขับถ่ายปัสสาวะและอุจจาระ

2.4

 

ให้กลุ่มตัวอย่างได้รับนมทางสายยางตามแผนการรักษาของแพทย์

2.5

 

จัดท่านอนทั้ง 3

ท่าตามลำดับตามกลุ่มท่านอนที่เรียงลำดับไว้ โดย

 

(U) ทำเป็นอาณาเขตรอบตัวทารกและจัดให้เท้าของทารกยันกับหมอนทีล้อมรอบทารกไว้ ยกที่นอนให้ตั้งแต่หัวไหล่ถึงระดับศีรษะสูง 15-30

องศา

 

(U) ทำเป็นอาณาเขตรอบตัวทารกและจัดให้เท้าของทารกยันกับหมอนที่ล้อมรอบทารกไว้ ยกที่นอนให้ตั้งแต่หัวไหล่ถึงศีรษะสูง 15-30

องศา

 

(U) ทำเป็นอาณาเขตให้ทารกและจัดให้เท้าของทารกยันกับหมอนที่ล้อมรอบทารกไว้ ยกที่นอนให้ตั้งแต่หัวไหล่ถึงศีรษะสูง 15-30

องศา

 

1 แล้ว เริ่มสังเกตการหลับตื่นของทารกหลังจัดท่านอน 15 วินาที และบันทึกระยะเวลาการหลับตื่นของกลุ่มตัวอย่างเป็นเวลา 12 ชั่วโมง 30 นาที ภายหลังการจัดท่านนอน และในระหว่างการสังเกต ไม่จับต้องและเว้นการทำกิจกรรมการพยาบาลที่ไม่รีบด่วนไปจนครบเวลาหลังจากนั้นทำซ้ำข้อ 2.3 และ 2.4 ก่อนจัดท่านอนท่าถัดไป สังเกตการหลับตื่น และบันทึกระยะเวลาการหลับตื่นของกลุ่มตัวอย่างแต่ละท่าไปจนครบเวลาและครบทั้ง 3

ท่านอน หลังจากนั้นนำระยะเวลาการบันทึกเป็นวินาทีไปหาผลรวมเป็นนาที หาค่าเฉลี่ยของแต่ละระยะเวลาการหลับตื่น ทั้งระยะเวลาการหลับตื้น ระยะเวลาหลับลึก ระยะเวลาหลับรวมทั้งหมด ระยะเวลาการง่วงซึม ระยะเวลาตื่น 5

2.6

 

นำข้อมูลที่ได้ไปวิเคราะห์ตามวิธีทางสถิติ โดยมีรายละเอียดดังนี้

2.6.1

 

ข้อมูลทั่วไปของกลุ่มตัวอย่าง วิเคราะห์ด้วยการแจกแจงความถี่ ร้อยละ พิสัย และค่าเฉลี่ย

2.6.2

 

ข้อมูลระยะเวลาการของกลุ่มตัวอย่างในท่านอนทั้ง 3

ท่า นำมาวิเคราะห์ทางสถิติเพื่อทดสอบ

 

(one-way ANOVA repeated measurements)

9.

ผลการดำเนินงาน/ผลการศึกษา

ผลการศึกษาการจัดท่านอนต่อระยะเวลาการหลับของทารกเกิดก่อนกำหนดที่รับไว้รักษาในหอผู้ป่วยทารกแรกเกิด โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ศูนย์อนามัยที่

 

10 ระหว่างเดือน เมษายน 2550 ถึง เดือน พฤษภาคม 2550

นำเสนอในรูปตารางประกอบด้วย แบ่งเป็นสองส่วนตามลำดับดังนี้

ส่วนที่

1 ข้อมูลทั่วไปของกลุ่มตัวอย่าง

ตารางที่

1

1

 

(คน)

ร้อยละ

n= 10

 

จำนวน ร้อยละ ค่าพิสัย และค่าเฉลี่ยของกลุ่มตัวอย่างจำแนกตามเพศ วิธีเกิด อายุครรภ์หลังการปฏิสนธิและอายุหลังเกิด

เพศ

ชาย

6 60

หญิง

4 40

วิธีเกิด

มารดาคลอดปกติ

8 80

มารดาได้รับการผ่าตัดออกทางหน้าท้อง

2 20

อายุครรภ์หลังการปฏิสนธิ

(สัปดาห์) (พิสัย 32-37สัปดาห์; X =34.5สัปดาห์

)

อายุหลังเกิด

(วัน) (พิสัย 1-9วัน ; X =5.09วัน

)

 

หมายเลขบันทึก: 190261เขียนเมื่อ 25 มิถุนายน 2008 11:16 น. ()แก้ไขเมื่อ 7 มิถุนายน 2012 16:15 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท