มัธยมที่ไม่มัธยม (ต่อ)


ตั้งคำถามกับระบบการศึกษาและทัศนะของผู้สอน

ครั้งก่อนบันทึกไว้ไม่เสร็จ เพราะยังไม่เชี่ยวชาญการใช้ blog  และยังสับสนกับห้องเรียน-ผู้เรียนที่เพิ่งพบกันครั้งแรก 

คราวนี้ จึงขอบันทึกต่อ

ไม่แปลกนักที่เด็กไทยกับการเรียนภาษาอังกฤษ มักเป็นหัวข้อสนทนาของวงการศึกษาเสมอๆ  เพราะปัญหาไม่ได้อยู่ที่การเริ่มต้นเรียนภาษาอังกฤษเมื่อายุเท่าไร? หรือชั้นไหน?   บางคนกว่าจะได้เรียน a-b-c ครบก็ปาเข้าไป 10 กว่าขวบ  และอย่างบางคนที่เขียนเข้ามาให้กำลังใจก็เริ่มเรียนเอาเมื่ออยู่ ป. 5 แล้ว  หรือบางคนเรียนมาตั้งแต่อนุบาลจนปริญญาตรี แต่ก็ยังไม่สามารถใช้ภาษาอังกฤษได้เลย

ปัญหาที่ทำให้ผู้เขียนสับสนและตั้งคำถามมากมายคือ เราใช้กระบวนการเรียนการสอนแบบใดกันแน่ จึงทำให้ผู้เรียน ไม่สามารถเข้าใจบทเรียน หรือไม่สามารถนำความรู้ด้านภาษาไม่ใช้ได้ แม้แต่การทักทาย หรืออ่านหัวข้อสำคัญของสิ่งพิมพ์ หรือเขียนคำง่ายๆ ในภาษาอังกฤษได้

ทั้งนี้ ไม่ได้หมายความว่า ผู้เรียน ไร้ซึ่งศักยภาพ  แต่ต้องตั้งคำถามว่า  ในฐานะผู้สอน  พวกเรายังไม่ได้ดึงศักยภาพของผู้เรียนออกมาใช่หรือไม่  และ ทำไม??? เราจึงไม่สามารถดึงศักยภาพของผู้เรียนออกมาได้  ปัญหาอยู่ตรงไหนกันแน่

หรือถึงที่สุดแล้ว คงต้องตั้งคำถามใหญ่ๆ ไปที่ ระบบการศึกษาของไทย  ไปพร้อมๆ กับ ทัศนะ ในการเป็นผู้สอนของคุณครู  โดยเฉพาะอย่างยิ่ง "ครู" ที่สอนหนังสือให้กับบรรดาเด็กชายขอบทั้งหลาย

หมายเลขบันทึก: 189373เขียนเมื่อ 21 มิถุนายน 2008 13:50 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 00:39 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

เห็นด้วยอย่างยิ่งค่ะ

แล้วคุณครูของเราว่าไงคะ??

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท