พลาสติกในกองขยะ ตอนที่ ๔/๗


ไปไหนมาไหนก็มีคนพูดถึงปัญหาโลกร้อน (Global Warming) ขอตามกระแสด้วยการเขียนเรื่องพลาสติกค่ะ

คุณหมอเจ๊ คนสวย แซ่เฮ สงสัยว่าขวดน้ำเกลือ และสายน้ำเกลือ เป็นพลาสติกประเภทไหน  หาคำตอบได้วันนี้เลยค่ะ

Low density polyethylene (LDPE)

LDPE เป็นพลาสติกตระกูล polyethylene แต่มีความหนาแน่นต่ำ คือ ๐.๙๑๐-๐.๙๒๕ กรัมต่อลูกบาศก์เซนติเมตร  ในขณะที่พี่ชายเบอร์ ๒ HDPE (High density polyethylene) มีความหนาแน่นตั้งแต่ ๐.๙๔๐ กรัมต่อลูกบาศก์เซนติเมตรขึ้นไป

พลาสติกประเภทนี้นิยมนำมาทำถุงเย็น  สายน้ำเกลือ ขวดน้ำเกลือ ฟิล์มห่อรัดรูป ถุงคลุมเสื้อผ้าแบบในรูปข้างล่าง

แต่หากไม่แน่ใจว่าเป็น LDPE  สามารถตรวจดูได้จากสัญลักษณ์นี่ที่ก้นขวด หรือฉลากของผลิตภัณฑ์ค่ะ

สมัยก่อนในระบบจัดการขยะในสหรัฐไม่นิยมนำพลาสติกชนิดนี้กลับมาใช้ใหม่  แต่ปัจจุบันเป็นที่นิยมมากขึ้น  ในขณะที่บ้านเรารับหมดค่ะ   พลาสติกประเภทนี้นำกลับไปทำเป็นวัสดุเพื่อผลิตถังขยะ  ซองส่งของ (ขอโทษที่วันนี้ไม่มีรูปนะคะ)

อ้างอิง

http://www.thedailygreen.com/green-homes/latest/recycling-symbols-plastics-460321

http://amethyst.mtec.or.th/th/labs/mech/tips15.html


บันทึกชุด "พลาสติกในกองขยะ"

ตอนที่ ๑ -  PETE

ตอนที่ ๒ - HDPE

ตอนที่ ๓ - PVC

ตอนที่ ๔ - LDPE

หมายเลขบันทึก: 189037เขียนเมื่อ 19 มิถุนายน 2008 22:19 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 19:11 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)

ขอบคุณครับคุณครู  หมอเจ๊มาสาย  อิอิ

 

คุณหมอตามมาอ่านรวดเร็วมากค่ะ เขียนเสร็จยังไม่ถึงสิบนาทีเลย

ขอบพระคุณที่ให้ความสนใจสม่ำเสมอ

ราตรีสวัสดิ์ค่ะ

ก่อนอื่นต้องขอโทษคุณหมอด้วยไม่ทราบว่าเหมาะหรือไม่ที่มาแสดงความคิดเห็นร่วมด้วย  ถ้าไม่เหมาะก็ต้องขอโทษด้วยน่ะค่ะ เพราะอาจผิดวัตถุประสงค์หลัก

ดิฉันมีความคิดเห็นว่าทุกคนรู้ว่าการแยกขยะเป็นสิ่งที่ดีลดปัญหาโลกร้อนได้ แต่ก็ไม่ยอมแยกขยะในมือคุณก่อนทิ้งลงถังถุงที่มีเศษอาหารปนอยู่ลงไปในถังรวมกับถุงพลาสติกและเศษอื่นอยู๋ในความรู้สึกของดิฉันมันเหมือนกับการทำลายสิ่งแวดล้อมโลกอย่างเห็นได้ชัดเจนเลย เพราะเวลานำถุงขยะที่พวกคุณใส่เศษอาหารไปเผาจะมีควันไฟและกลิ่นลอยตามกระแสลมออกไปรบกวนทำความรำคาญให้คนที่ทิ้งขยะโดยไม่ยอมแยกขยะในมือก่อนทิ้งนั้นเอง แต่เขาไม่ยอมรับความจริง ไม่กล้าทำความดีปฏิวัติตัวเองแยกขยะในมือก่อนทิ้งจึงกลายเป็นวัฒนธรรมที่ต้องสืบต่อทำตามกันมาแม้แต่ขยะในบ้านตัวเองก็ยังไม่กล้าตัดสินใจแยกประเภทแยกจำพวกคิดว่าเป็นเรื่องเล็กน้อยในบ้านแต่พอถุงขยะที่คุณทิ้งมันออกจากบริเวณบ้านคุณไปมันเป็นเรื่องใหญ่ของสังคมบริเวณบ้านคุณและของโลก จำนวนคนที่แยกขยะก่อนทิ้งมีน้อยมากสาเหตุเพราะคิดว่ามีคนใช้เก็บกวาดขยะให้อยู่แล้วจึงไม่ให้ความสำคัญ

เป็นความรู้ที่ต้องกระจายให้รู้กันอย่างกว้างขวางต่อไป

หากทุกครอบครัวแยกพลาสติกได้ขยะจะลดน้อยลงมาก หรือมดไปเลยก็ได้

อะไรที่รีไซเคิลได้ไม่ใช่ขยะนะ อยากบอก

แลกเปลี่ยนเป็นเงินหรือสิ่งอื่นๆ ต่อไปได้ หรือส่งเสริมอาชีพคนเก็บของเก่าก็ได้

ช่วยๆ กันนะ เพื่ออนาคตของทุกคนบนโลกนี้ แหละ เพื่อตัวเองด้วย

  • มาเรียนสายค่ะ เพราะเมื่อวานติดงานจนดึกไม่ได้เข้ามาค่ะ
  • ขอบคุณคุณครูค่ะ
  • วันนี้มาซ่อมการเรียนแล้วนะค่ะ

เป็นข้อมูลที่ทำให้รู้จักพลาสติกมากขึ้นอีกเยอะเลยครับ

เห็นด้วยกับท่านอ.ประถม ความเห็นที่ 4 ที่ว่าอะไรที่รีไซเคิลได้ไม่ใช่ขยะ แต่ถึงจะรีไซเคิลได้ ถ้าใช้ให้น้อยลงหน่อยก็น่าจะดีนะครับ

เดี๋ยวนี้เราจะใช้อะไรก็มักหาเหตุผลมารองรับว่าเป็นวัสดุที่ต้นทุนไม่แพงและนำกลับมาใช้ใหม่ได้ง่าย แต่ถ้ามาดูตัวเลขในภาพรวมก็น่าวิตกเหมือนกันนะ

ข้อมูลจากนิตยสาร สารคดี ฉบับที่ 277 มีนาคม 51 ปีที่ 24 มีนาคม 51 )

มีการประเมินปริมาณการใช้ขวดพลาสติกของประเทศไทย ในปี 2550 โดยคำนวณจากมูลค่าตลาดน้ำดื่มจากนิตยสาร Brand Age เดือนสิงหาคม 2544 และนิตยสาร Positioning เดือนพฤษภาคม 2550ปี พบว่ามีการใช้

ขวด PE (ขาวขุ่น) ปีละประมาณ 2,880 ล้านใบ

ขวด PET (ขวดใส) ปีละประมาณ 975 ล้านใบ

รวมแล้วคนไทยใช้ขวดพลาสติกเหล่านี้ถึงปีละ 3,855 ล้านใบ

ปริมาณเพิ่มขึ้นประมาณ 1,300 ล้านใบ นับจากปี 2544

ขอบคุณมากค่า สำหรับข้อมูล^O^

ขอบคุณมากค่ะเป็นประโยชน์ต่อการศึกษามาก ^^

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท