การบริหารจัดการด้วยระบบประสาท (Neuro Linguistic Program)


ในแวดวงธุรกิจเราก็จะเห็นการใช้ NLP ในการปลุกเร้าเส้นประสาท ขับแรงฮึดสู้ของคนออกมา ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดว่า มีการนำระบบ NLPในการบริหารบุคคลก็เช่นในธุรกิจการขายตรง ที่พยายามจะปลุกกระตุ้นให้คนเชื่อมั่นว่าตนเองทำได้ตลอดเวลา มีการจัดการประชุมเพื่อเสริมแรง

หากมองการบริหารทรัพยากรมนุษย์ขององค์กรต่างๆ จะเห็นได้ว่ามีพัฒนาการปรับตัวไปตามยุคตามสมัย เช่นในสมัยก่อนนั้นการบริหารคนอาจจะมองจากการใช้แรงงานเป็นหลักเนื่องจากเครื่องไม้เครื่องมือนั้นยังไม่ทันสมัย แรงงานจึงเป็นสิ่งสำคัญในการผลิต ต่อมาเมื่อเกิดการปฏิวัติอุตสาหกรรมในช่วงทศวรรษที่ 18 ซึ่งเริ่มมีการนำเครื่องจักรกลมาใช้ทดแทนแรงงานคนมากขึ้น การบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์จึงเริ่มเข้าสู่การผสมผสานของการใช้แรงงานบวกด้วยทักษะมากขึ้น เมื่อการค้าเจริญเติบโตและการผลิตสินค้าเริ่มมีความซับซ้อนมากขึ้น การบริหารงานโดยมองจากการใช้แรงงานและทักษะการทำงานอย่างเดียวจึงไม่เพียงพอต่อการแข่งขัน ในขณะเดียวก็มีกันองค์ความรู้ใหม่ๆ จากประสบการณ์การผลิตสินค้า และการคิดค้นเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่มารองรับการผลิตที่มีมากขึ้น มหาวิทยาลัยเริ่มมีมากขึ้น การบริหารคนในยุคช่วงดังกล่าวจึงเน้นให้ผู้ที่จะจบเข้าสู่ตลาดแรงงานมีความรู้ด้านทฤษฏีในด้านต่างๆ และนำเอาความรู้ไปใช้ทำงานเกิดเป็นทักษะการทำงานใหม่ๆ ซึ่งเราอาจจะเห็นสิ่งเหล่านี้ในกระบวนวิธีการจัดการของการทำงานเช่น ไคเซน JIT TQM

จวบจนในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา ความแตกต่างของคนที่จบจากสถาบันการศึกษาและเดินเข้าสู่ชีวิตการทำงานมากขึ้นเรื่อยๆ ความรู้เช่นในระดับปริญญาตรีจึงการเป็นเหมือนกับว่า ใครๆ ก็ต้องมี และเพื่อจะคัดแยกคนที่ดูเหมือนมีความรู้เหมือนๆ กัน แนวคิดของการนำเอาสมรรถนะหลักของบุคคล (Personal Core Competencies) ซึ่งถูกเริ่มนำมาใช้คัดกรองแยกคนว่าแต่ละมีจะมีความสามารถหรือสมรรถนะในการทำงานที่แตกต่างๆ กันอย่างไร ซึ่งในปัจจุบันระบบราชการไทยในปัจจุบันก็เริ่มหันมาปรับใช้เรื่องสมรรถนะหลักของบุคคลเพื่อพัฒนาบุคคลมากขึ้น แต่ในทศวรรษข้างหน้านั้นแนวคิดในการบริหารนั้นอาจจะเริ่มให้ความสำคัญกับการบริหารงานโดยเน้นการบริหารประสาทการรับรู้ของ การสร้างแรงบันดานใจในจิตใจคน (Neuro Linguistic Program, NPL) เพิ่มมากขึ้นร่วมกันการใช้สมรรถนะหลัก

อันที่การบริหารประสาทการรับรู้ของคน (NPL) นั้นไม่ใช่ของใหม่ครับเพียงแต่การนำมาใช้งานในด้านการบริหารบุคคลกรนั้นยังมีน้อยอยู่ในยุคแรกๆ การบริหารงานในลักษณะนี้คือแทนที่จะให้คนใช้แรงงาน ความรู้และทักษะในการทำงานแต่สิ่งที่บวกเพิ่มเข้าไปคือความเชื่อและวิธีคิด นั่นคือการสร้างเป้าหมายและความเชื่อที่มั่นคงและแน่วแน่ว่า ฉันทำได้ลักษณะการบริหารตนเองดังกล่าวเรามักจะพบเห็นได้อย่างต่อเนื่องในผู้บริหารและบุคคลที่ประสบความสำเร็จ แอนโทนี ร๊อบบินเจ้าพ่อคนหนึ่งของวงการ NPL ได้จัดสัมนานาขึ้นโดยที่วันสุดท้ายของการสัมนานั้น มีภาระกิจหลักทดสอบประสาทการรับรู้ของคนคือ การเดินลุยไฟครับ ไม่น่าเชื่อว่าคนที่เข้าร่วมสัมนาส่วนใหญ่นั้นเมื่อเข้าสู่แบบทดสอบการเดินลุยไฟแล้วปรากฏว่า พวกเขาทำได้จริงๆ เพราะพวกเขามีความเชื่ออย่างมั่นคงว่า ฉันทำได้ ผมได้สอบถามบุคคลที่ผ่านการเดินลุยไฟว่าเขาคิดอย่างไร ในขณะเดิน ผู้ที่ถูกสอบถามตอบผมว่า เขาไม่ได้คิดอะไรมากไปกว่า สิ่งที่เขากทำลังทำอยู่นั้น พวกเขาเชื่อมั่นอย่างไม่มีคำถามเลยว่า พวกเขาทำได้ และก็ปรากฎว่าคนที่คิดอย่างนั้นทำได้จริงๆ แต่คนที่ยังเชื่อครึ่งไม่เชื่อครึ่งนั้นทำไม่ได้ครับ

หันกลับมาดูกรณีศึกษาของผู้ที่ประสบความสำเร็จในหน้าที่การงานและมีชื่อเสียงก็เช่น คุณบัณฑิต อึ้งรังษี ที่มีความตั้งมั่นและเชื่อว่าตนเองจะสามารถเป็นนักวาทยากรระดับได้ ทำให้คุณบัณพิตได้ฝ่าฝันอุปสรรคต่างๆ จนมีโอกาสได้เป็นวาทยากรผู้กำกับวงลอสแอนเจลิสฟิลฮาร์โมนิก ออเคสตราในขณะที่มีอายุเพียง 28 ปี ซึ่งวงลอสแอนเจลิสฟิลฮาร์โมนิก ออเคสตราถือได้ว่าติดอันดับหนึ่งในสิบวงออเคศตราชั้นนำของประเทศสหรัฐอเมริกา และปัจจุบันเป็นวาทยกรระดับโลกที่วงออสเครตราใดได้ที่ได้คุณบัณฑิต มาเป็นวาทยกรให้ก็ถือว่าวงที่ได้รับเกียรติอย่างสูงสุด

อีกท่านที่ผมอยากกล่าวถึงคือ คุณสมคิด ลวางกูร ที่หลายคนให้สมญาเขาว่าขงเบ้งแห่งวงการน้ำหมึกไทย ที่ ผู้เขียนหนังสือขายดีหลายเล่มเช่น 2 ทนายซ่าส์ ฮาสุดขีด” “คิดแบบว่า..ฮาสุดขีด”ขำสุดขีด” เพิ่งให้สัมภาษณ์ในรายการเจาะใจไปไม่นานเกี่ยวกับวิธีคิด ความเชื่อที่ทำให้เขาประสบความสำเร็จทำได้อย่างไร ซึ่งยอดขายหนังสือของคุณสมคิดนั้นเป็นยอดขายที่ผิดปกติ  คือบางเล่มนั้นขายได้มากถึงสองแสนกว่าเล่ม ซึ่งในการทำพ็อคเก็ตบุคส์นั้นหากขายได้ถึงช้าหลักหมื่นเล่มก็ถือว่ามหัศจรรย์พออยู่แล้ว แต่ทำได้มากเป็นแสนเล่มนั้นแทบจะหาไม่ได้เลย วิธีคิดของคุณสมคิดเองคทอต้องเป้าหมายชัดเจนว่าต้องการทำอะไร และเดินทางสู่เป้าหมายนั้นด้วยความเชื่ออย่างลึกซึ้งที่ว่า ฉันทำได้เช่นต้องมีเงิน 10 ล้านบาทให้ได้ หรือได้เดินทางรอบโลก หรือเป็นเป็นผู้บริหารระดับสูงขององค์กร ซึ่งสิ่งเหล่านี้คุณสมคิดก็สามารถทำได้จริงๆ

ในแวดวงธุรกิจเราก็จะเห็นการใช้ NLP ในการปลุกเร้าเส้นประสาท ขับแรงฮึดสู้ของคนออกมา ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดว่า มีการนำระบบ NLPในการบริหารบุคคลก็เช่นในธุรกิจการขายตรง ที่พยายามจะปลุกกระตุ้นให้คนเชื่อมั่นว่าตนเองทำได้ตลอดเวลา มีการจัดการประชุมเพื่อเสริมแรง เสริมความเชื่อของทีมงานอยู่เป็นนิจ แต่จุดอ่อนจุดหนึ่งที่ยังคงอยู่สำหรับบริษัทเหล่านี้คือ แรงเสริม ความเชื่อ นั้นเกิดขึ้นในบุคคลแค่ระยะหนึ่งแล้วก็หายไป ซึ่งหากสามารถทำให้สิ่งเหล่านี้ติดฝังอยู่ในหัวของทีมขายได้ ก็จะเป็นการปฏิบัติครั้งใหญ่ในด้านการบริหารทรัพยากรบุคคลของงานขาย

บุริม โอทกานนท์

18-06-08

หมายเลขบันทึก: 188851เขียนเมื่อ 18 มิถุนายน 2008 23:48 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 00:37 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท