การนิเทศการศึกษา


การนิเทศการศึกษากับคุณภาพการศึกษา

การนิเทศต้องคงอยู่คู่กับคุณภาพการศึกษา
                                                                      
ธเนศ  ขำเกิด
                                                                                                      
                 พอเอ่ยถึงการนิเทศการศึกษาเรามักจะนึกถึงผู้นิเทศก์ซึ่งหมายถึงศึกษานิเทศก์เป็นเป้าหมายใหญ่  และคนในกลุ่มนี้มักจะถูกวิพากษ์จากผู้ใช้บริการหรือจากคนในวงวิชาการด้วยกันทั้งในแง่บวกและแง่ลบเสมอ  แต่ระยะหลังการวิจารณ์จะออกมาในเชิงลบกันมากขึ้น  คนที่ออกมาปกป้องและเรียกร้องความเป็นธรรมก็มักจะมาจากกลุ่มของศึกษานิเทศก์เอง  โดยคนวิจารณ์ต่างก็ยืนอยู่กันคนละขั้วคนละมุม
               ในฐานะที่อยู่ในวิชาชีพนี้มา 25 ปี ทำงานตั้งแต่เป็นศึกษานิเทศก์ปฏิบัติการ  จนเป็น
หัวหน้าหน่วยศึกษานิเทศก์ เขตการศึกษา  และเป็นหัวหน้าหน่วยศึกษานิเทศก์กรมฯคนสุดท้าย  จนถึงเวลาปรับโครงสร้างตามกฎหมาย  ก็ต้องไปอยู่ที่เขตพื้นที่การศึกษาเหมือนกับคนอื่นๆ  พอได้เห็นคนในและคนนอกวงการวิจารณ์วิชาชีพนี้กันหนาหู  ทั้งมีข้อมูลบ้างและใช้ความรู้สึกกันบ้าง ก็รู้สึกอดรนทนไม่ได้   จึงอยากจะพูดในเรื่องนี้บ้าง  แต่จะขอพูดด้วยข้อมูลเชิงประจักษ์มากกว่าความรู้สึก  โดยจะนำเสนอแนวคิดด้วยเหตุด้วยผล และด้วยใจที่เป็นกลางที่สุด  เป็นประเด็นๆไป  กล่าวคือ

การนิเทศการศึกษามีความเป็นมาอย่างไร?
         
การนิเทศมีมานานแล้วในต่างประเทศ  แต่ในเมืองไทยเริ่มเป็นรูปเป็นร่างในสมัยรัชกาลที่ 5 มาพร้อมกับการจัดการศึกษาอย่างมีแบบแผน แต่เป็นลักษณะการควบคุมดูแล และการตรวจตราด้านคุณภาพมากกว่า 
         เราเริ่มมีศึกษานิเทศก์และหน่วยศึกษานิเทศก์ครั้งแรกใน พ..2496 มี ดร.ก่อ  สวัสดิพาณิชย์ เป็นหัวหน้าหน่วยศึกษานิเทศก์ กรมวิสามัญศึกษาคนแรก  ต่อมาได้มีการก่อตั้งกรมใหม่ และมีการยุบรวมกรมกันหลายครั้ง ซึ่งแต่ละกรมก็จะมีหน่วยศึกษานิเทศก์เป็นของตนเองเกือบทั้งสิ้น    รายชื่อหัวหน้าหน่วยศึกษานิเทศก์คนต่อๆมาก็ล้วนมาเป็นผู้บริหารระดับสูงของกระทรวงทั้งสิ้น เช่น หม่อมหลวงบุญเหลือ  กุญชร(เทพยสุวรรณ)  ดร.สาย  ภาณุรัตน์  ศจ.ฐะปะนีย์  นาครทรรพ  นายสมาน  แสงมลิ  นายพะนอม  แก้วกำเนิด   ดร.อาคม  จันทสุนทร  ดร.สุวัฒน์  เงินฉ่ำ  นายมังกร 
กุลวานิช
เป็นต้น
         การกำหนดให้มีการนิเทศการศึกษา และมีศึกษานิเทศก์ขึ้นมา  ก็เพื่อให้คำปรึกษา ช่วยเหลือ  แนะนำครู เพื่อให้การสอนดีขึ้น  จะเห็นว่าการนิเทศการศึกษาจะอยู่คู่กับการจัดการศึกษามาตั้งแต่ต้น  ซึ่งฝ่ายบริหารสมัยนั้นท่านให้ความสำคัญกับศึกษานิเทศก์อย่างมาก  เพราะท่านใช้งานวิชาการเป็นเครื่องมือสำคัญในการจัดการศึกษา 

หมายเลขบันทึก: 188310เขียนเมื่อ 16 มิถุนายน 2008 10:51 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 มิถุนายน 2012 01:33 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

อยากอ่านบทความนี้ต่อให้จบ ช่วยลงต่อให้ด้วย เป็นศึกษานิเทศก์ค่ะ  สนใจข้อความ "คนในและคนนอกวงการวิจารณ์วิชาชีพนี้กันหนาหู ทั้งมีข้อมูลบ้างและใช้ความรู้สึกกันบ้าง ก็รู้สึกอดรนทนไม่ได้ จึงอยากจะพูดในเรื่องนี้บ้าง แต่จะขอพูดด้วยข้อมูลเชิงประจักษ์มากกว่าความรู้สึก โดยจะนำเสนอแนวคิดด้วยเหตุด้วยผล และด้วยใจที่เป็นกลางที่สุด" ขอบคุณคะ

ขณะนี้หน่วยศึกษานิเทศก์ที่เป็นเอกลักษณ์ของการนิเทศการศึกษาได้สูญพันธุ์แล้ว น่าเสียใจและเสียดาย กลายเป็นกลุ่มๆๆๆที่ใครๆ หน่วยงานไหนๆๆก็เป็นได้

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท