สุขภาพเป็นเรื่องที่ผู้หญิงควรใส่ใจครับ


PMS

จากการสำรวจของบริษัทผู้ผลิตเวชภัณฑ์ชั้นนำรายหนึ่งของโลก คือ ไบเออร์ เชริง ฟาร์มา พบว่า 50-80% ของผู้หญิงวัยเจริญพันธุ์ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกมีอาการ PMS และ 13-26% ของผู้หญิงวัยนี้มีอาการดังกล่าวในระดับที่ส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวัน

(Premenstrual Syndrome: PMS is a disorder characterized by a set of hormonal changes that trigger disruptive symptoms in a significant number of women for up to two weeks prior to menstruation. Of the estimated 40 million suffers, more than 5 million require medical treatment for marked mood and behavioral changes. Often symptoms tend to taper off with menstruation and women remain symptom-free until the two weeks or so prior to the next menstrual period. These regularly recurring symptoms from ovulation until menses typify PMS, premenstrual syndrome.)

รายงานการสำรวจดังกล่าวได้รับการยืนยันจากศ.ลอเรน เดนเนอร์สไตน์ ผู้อำนวยการสำนักงานเพศศึกษาและสุขภาพ แผนกจิตเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเมลเบิร์น ซึ่งได้ทำการศึกษาเชิงคุณภาพ ในกลุ่มผู้หญิงและแพทย์ในประเทศแถบเอเชียแปซิฟิกสี่ประเทศ อันประกอบด้วย ออสเตรเลีย ฮ่องกง ปากีสถาน และไทย กล่าวในงานสัมมนา “ปลดปล่อยตัวเองจากกลุ่มอาการก่อนมีประจำเดือน” จัดโดย บ.ไบเออร์ เชริง ฟาร์มา ประเทศไทยว่า “จากการศึกษาเชิงปริมาณในประเทศไทย พบว่ากิจกรรมในชีวิตประจำวันที่ได้รับผลกระทบจากอาการ PMSได้แก่ ประสิทธิภาพการทำงาน 66 % ความเป็นระเบียบภายในบ้าน 53 % คู่รักครอบครัว 23% เพื่อนและผู้ร่วมงาน 13% กิจกรรมยามว่าง 12% กิจกรรมทางเพศ 12 % และการเรียน 8% แต่ผู้หญิงจำนวนมากในเอเชียแปซิฟิกที่ประสบภาวะ PMS และ PMDD (Premenstrual Dysphoric Disorder) กลับไม่พยายามหาวิธีรักษา เนื่องจากมีความเชื่อที่ผิดว่าอาการก่อนมีประจำเดือนเหล่านี้เป็นเพียงสัญญาณบอกว่าประจำเดือนกำลังจะมา หรือเห็นว่าเป็นเรื่องปกติที่ผู้หญิงทุกคนต้องประสบอยู่แล้ว โดยที่ไม่ได้ตระหนักเลยว่าอาการเหล่านี้สามารถส่งผลกระทบอย่างมากต่อการใช้ชีวิตประจำวัน”

“ผู้หญิงไทยในวัยเจริญพันธุ์ 95% มีอาการก่อนมีประจำเดือนอย่างน้อยหนึ่งอาการ และหนึ่งในสามของผู้หญิงเหล่านี้ ความรุนแรงของอาการอาจมีมากขึ้นและมีอาการร่วมกันมากกว่า 2 – 3 อย่างขึ้นไป เช่น หงุดหงิด อารมณ์แปรปรวน หดหู่ นอกจากนั้น ยังพบว่า 10% ของผู้หญิงกลุ่มนี้มีอาการอยู่ในขั้นรุนแรง หรือ PMDD ซึ่งอาการเหล่านี้ส่งผลกระทบต่อความสัมพันธ์กับคนรอบข้างทั้งเพื่อนร่วมงาน และครอบครัว และมีผลกระทบต่อประสิทธิภาพในการทำงาน แต่กลับมีผู้หญิงไทยเพียง 10% ที่รู้จักและเข้าใจถึงอาการ PMS และยิ่งถ้าเป็นอาการ PMDD จะยิ่งรู้จักกันน้อยมาก

ปัจจุบันผู้หญิงที่เป็น PMS ไม่ว่าอาการทางกายหรือทางจิตใจ มีทางเลือกในการปลดปล่อยตัวเองจากผลกระทบอันเกิดจากฮอร์โมนในช่วงก่อนมีประจำเดือนได้ด้วยนวัตกรรมเพื่อป้องกันและลดอาการก่อนมีประจำเดือนที่มีประสิทธิภาพ แต่ทั้งนี้ต้องปรึกษากับสูตินรีแพทย์ จากผลการรักษาในต่างประเทศ โดยดร.เดวิด แอล.ไอเซนเบิร์ก ผู้เชี่ยวชาญด้านวางแผนครอบครัว และคุมกำเนิด แผนกสูติศาสตร์ และนรีเวชวิทยา โรงพยาบาลนอร์ธเวสเทิร์นเม็มโมเรียล สหรัฐอเมริกา พบว่าการรักษาคนไข้ที่มีอาการ PMS/PMDD ด้วยสารโปรเจสโตเจนสังเคราะห์ตัวใหม่ที่รับประทาน 24 เม็ดต่อรอบเดือน สามารถลดอัตราการเกิดอาการก่อนมีประจำเดือนได้ถึง 50% และพบว่าหลังการบำบัดด้วยสารดังกล่าว ปัญหาเรื่องประสิทธิภาพในการทำงาน กิจกรรมทางสังคมและความสัมพันธ์

หมายเลขบันทึก: 187914เขียนเมื่อ 13 มิถุนายน 2008 23:09 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 00:32 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

อาการ PMS เป็นอย่างไร อ๋อ!ที่หงุดหงิด ปวดหัว ก่อนวันนั้นของเดือนใช่ไหม

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท