บันทึกลับ: แผนการทำงาน


 

บทวิเคราะห์การพานิสิตไปดูงาน

 

วิสัยทัศน์ : เพื่อสร้างความคุ้นเคยกันระหว่างผู้เรียนกับผู้เรียน ระหว่างผู้เรียนกับอาจารย์

หลักคิด :  

1. เวลาที่สำคัญที่สุดคือเวลาในปัจจุบัน บุคคลที่สำคัญที่สุดคือบุคคลที่เรากำลังสื่อสารอยู่ 
    และสิ่งที่ควรทำที่สุดคือการภาวนาเจริญสติ 

2. อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา สิ่งปรุงแต่งทั้งปวงไม่เที่ยง เป็นทุกข์ และไม่มีความเป็นตัวเป็นตน

เป้าหมาย :
     1.  ผู้สร้างบรรยากาศ
     2.  ผู้สร้างสายสัมพันธ์
     3.  ผู้ท่องเที่ยวให้สนุก
     4.  ผู้นำการเปลี่ยนแปลงไปสู่สิ่งที่ดี

 

หมายเลขบันทึก: 187435เขียนเมื่อ 11 มิถุนายน 2008 05:55 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 เมษายน 2012 02:10 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

 139156

อ่าน: 231
เต๋า เต็ก เก็ง
ผู้เลิศคุณธรรมไม่เคยยึดมั่นว่าตนมีคุณธรรม ดังนั้นจึงนับว่าเป็นผู้มีคุณธรรม

ผมเพิ่งได้อ่าน "เต๋า เต็ก เก็ง" ฉบับใหม่ที่แปลโดย โชติช่วง นาดอน

น่าแปลกที่ผมรู้สึกซาบซึ้งและได้อะไรมากขึ้นกับการกลับมาอ่าน "เต๋า เต็ก เก็ง" ฉบับใหม่เที่ยวนี้

 

 

 ภาพประกอบจาก http://en.wikipedia.org/wiki/Image:Tao-te-ching.png


อันที่จริงผมเคยอ่าน "เต๋า เต็ก เก็ง" มาก่อนในฉบับ "คัมภีร์คุณธรรม" ของ สมเกียรติ สุขโข / เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ (ฉบับนี้เก่ามาก) แต่ในขณะนั้น จำได้ว่าสมัยยังเรียนอยู่ในมหาวิทยาลัย ยังไม่ค่อยเข้าใจแก่นแท้หลายประการ ยังไม่นับเรื่องการตีความเรื่อง "ทวิลักษณะ" (dualism) นั้นก็ยากเย็นอยู่แล้ว กว่าจะฝ่าด่านมาได้ และความเข้าใจเรื่อง "พุทธภาวะ" และ "ความว่างเปล่า" จากการตีความจากโกอาน โศลกเซ็น และคำอธิบายของท่านพุทธทาส

แต่เมื่อผมกลับมาอ่าน "เต๋า เต็ก เก็ง" ฉบับนี้ใหม่ อาจจะด้วยประสบการณ์ที่มากขึ้น ทั้งความเข้าใจเรื่อง "วัตถุนิยมวิภาษ" ทำให้ผมเริ่มรู้สึกถึงความซับซ้อนและลึกซึ้งกว่าเดิม

ยิ่งไม่ต้องนับว่า โชติช่วง แปลและเรียบเรียง "เต๋า เต็ก เก็ง" ฉบับใหม่นี้ ได้ละเอียด ลึกซึ้ง รัดกุมกว่าเดิมมาก

ปรากฎว่าเต๋าเต็กเก็งฉบับมาตรฐานที่แปลกันทั่วไป (รวมทั้งฉบับของสมเกียรติ / เนาวรัตน์ แม้กระทั่งฉบับเก่าของโชติช่วงเอง) กลับตีความผิดพลาด

เนื่องเพราะมาพบกันภายหลังว่า เต๋าเต็กเก็ง แบ่งออกเป็นสองภาค

เริ่มจากภาคเต็กนั้นถูกเขียนก่อนสมัยพระเจ้าฮั่นโกโจ ส่วนภาคเต๋าถูกเขียนขึ้นภายหลังในสมัยพระเจ้าฮั่นหุ้ยตี้

นักปราชญ์รุ่นหลัง เช่น "หวางปี้" จะด้วยความไม่รู้หรือมีความคิดบางอย่าง กลับเรียงลำดับสลับกัน เอาภาคเต๋าขึ้นแล้วตามด้วยภาคเต็ก และหนังสือรุ่นต่อๆมาก็เรียบเรียงตามแนวทางนี้หมด

ในขณะที่โชติช่วง หันกลับไปเรียบเรียงตามต้นฉบับ คือเอาเต็กขึ้นก่อนแล้วตามด้วยเต๋า

เพียงเท่านี้ก็นับว่ามีความลึกซึ้งแล้ว ผมจะยกตัวอย่างบทหนึ่งเปรียบเทียบการเรียบเรียง/ตีความในฉบับต่างๆ

บทแรกของภาคเต๋า

ฉบับ สมเกียรติ/เนาวรัตน์

1.
เต๋าซึ่งบอกเล่าได้มิใช่เต๋าอันเป็นนิรันดร์
ชื่อที่เรียกขานได้มิใช่ชื่ออันเป็นนิรันดร์
สิ่งที่ไร้ชื่อให้กำเนิดฟ้าดิน
สิ่งมีชื่อเป็นที่มาแห่งสรรพสิ่ง
ยุติความปรารถนาแล้วจะมองเห็นสิ่งที่ลึกซึ้ง
มองด้วยความปรารถนาจะเห็นเพียงสิ่งที่ปรากฎออกมา
ทั้งสองสิ่งนี้มาจากแหล่งกำเนิดเดียวกัน แตกต่างกันแต่เพียงชื่อ
ความแตกต่างเป็นเสมือนความมืด
ความมืดในความมืด
คือทางเข้าสู่ความลึกซึ้ง

ฉบับที่โชติช่วงใช้คำว่า "แบบที่แพร่หลายกันอยู่ทั่วๆไป"

1.
เต๋าทีบอกเล่าได้
มิใช่เต๋าอันเป็นอมตะ
นามที่ขนานนามได้
มิใช่นามอันอมตะ

ความไร้ เรียกว่า รากเหง้าฟ้าดิน
ความมี เรียกว่า มารดาแห่งสรรพสิ่ง
หมั่น (ตรึกตรองถึง) ความไร้
เพื่อจักเห็นเคล็ดอันละเอียดอ่อน
หมั่น (ตรึกตรองถึง) ความมี
เพื่อจักเห็นสัมฤทธิผล (ความกว้างอันไร้ขอบเขต)
ทั้ง 2 ประการนี้ (ไร้กับมี)
มาจากสิ่งเดียวกันแต่เรียกต่างกัน
ความเร้นลับของทั้ง 2 ประการนี้
เป็นความลี้ลับที่ลี้ลับ
เป็นทวารสู่ความลี้ลับทั้งมวล

ฉบับโชติช่วง (ใหม่) แปลจากต้นฉบับหม่าหวางตุ้ย

45.
เต๋าที่บอกเล่าได้
มิใช่เต๋าอันเป็นอมตะ
นามที่ขนานนามได้
มิใช่นามอันอมตะ

"ไร้นาม" คือรากเหง้าแห่งสรรพสิ่ง
"มีนาม" คือมารดาแห่งสรรพสิ่ง
หมั่น "ไร้ความอยาก"
เพื่อจักเห็นถึงเคล็ดอันละเอียดอ่อน [1]
หมั่น "มีความอยาก"
เพื่อจักเห็นสัมฤทธิผล [2]
สองประการนี้
มากจากสิ่งเดียวกัน [3] แต่เรียกต่างกัน
สองประการนี้เป็นความเร้นลับ
เป็นความลับลี้ที่ลี้ลับ
เป็นทวารสู่ความลี้ลับทั้งมวล

[1] ของไร้นาม
[2] ของมีนาม
[3] คือเต๋า

ต่อไปผมจะแสดงการตีความของโชติช่วง และจะเพิ่มการตีความของผมเข้าไป โดยยึดต้นฉบับของโชติช่วงใหม่ ที่เรียบเรียงจากฉบับของหม่าหวางตุ้ย

ประเด็นที่ 1 :
ประเด็นเรื่องของภาษา ใช้ "ไร้" กับ "มี" หรือ "ไร้นาม" กับ "มีนาม"
โชติช่วงเห็นว่า ควรใช้อย่างที่สองเพราะจะเข้าคู่กับ "ไร้ความอยาก" และ "มีความอยาก"
แต่โชติช่วงก็คิดอย่างประนีประนอมว่า "พอใช้แทนกันได้" แต่เขาก็เห็นค่อนไปทางหลังมากกว่า
จึงได้ตัดสินใจใช้ ไร้นาม - มีนาม แทน
 
โดยเขาให้เหตุผลว่า
 
เนื่องเพราะ เต๋า อยู่พ้นขอบข่ายของภาษาและนาม
เป็นภาวะที่เรียกว่า "ความไร้" หรือ "ไร้นาม"
ภาวะนี้เป็นธาตุแท้ของเต๋า
 
และจากไร้รูป ก่อตัวเป็นรูปขึ้น
เมื่อก่อเป็นรูปแล้ว สรรพสิ่งก็กำเนิดตามมาไม่รู้จบ
ภาวะนี้จึงเรียกว่า "ความมี" หรือ "มีนาม"
 
แต่อย่างไรก็ตามโชติช่วงก็ชี้ว่า
อันที่จริงภาวะทั้งสองก็คือ 2 ด้าน 2 ขั้ว ในองค์เอกภาพเดียวกัน
แท้จริงเป็นเพียงกระบวนการเปลี่ยนแปลงหมุนเวียน
เปลี่ยนจากขั้วหนึ่งไปสู่อีกขั้วหนึ่งอยู่ทุกขณะ
 
ประเด็นที่ 2.
ต่อไปนี้เป็นการตีความแบบเก่า :
หมั่น (ตรึกตรอง) ความไร้ เมื่อต้องการจะเห็นเคล็ดลับ (อันละเอียด แยบยลของเต๋า)
หมั่น (ตรึกตรอง) ความมี เมื่อต้องการจะเห็นความกว้างอันไร้ขอบเขต (บทบาทความเคลื่อนไหวของเต๋า)


แต่โชติช่วงเห็นว่า การตีความใหม่ของเขาน่าจะอมความได้มากกว่า :
 หมั่น "ไร้ความอยาก" เพื่อจักเห็นเคล็ดอันละเอียดอ่อน (ของ "ไร้นาม")
หมั่น "มีความอยาก" เพื่อจักเห็นสัมฤทธิผล (บทบาทความเคลื่อนไหวของ "มีนาม")
 
โชติช่วงบอกว่า นี่ดูขัดๆ เพราะปรัชญาสายตะวันออกมักเรียบร้องให้ ไร้ความอยาก แต่ทำไมเต๋าเต็กเก็งจึงเรียกร้องให้ มีความอยาก

ซึ่งถ้าดูดีๆ เต๋าจะให้เราพินิจถึงทั้งสองด้าน เพราะถ้าไม่เข้าใจอิทธิฤทธิ์ของ ความอยาก ก็จะไม่เข้าถึงความไร้
 
ผมจะยกการตีความส่วนตัวของผม
 
ตัวอย่างเช่น พระพุทธเจ้า ถือว่าท่านตรัสรู้ ไร้กิเลส
คำถามที่ผมถามมาตลอดชีวิต แล้วที่ท่านเผยแผ่พุทธศาสนา โปรดสัตว์ สั่งสอนนั้น ถือเป็นกิเลสหรือไม่ (แม้บางคนอาจจะบอกว่าบางเบา)
 
อ่านการตีความเต๋าเต็กเก็งของโชติช่วงข้อนี้แล้วเข้าใจเลย
 
คือไม่ว่า มีความอยาก หรือ ไร้ความอยาก ก็เป็นเพียงภาวะที่หมุนเวียนเปลี่ยนแปลงไป
 
ความสำคัญคือการดำรงจิตใจให้อยู่เหนือ "ทวิภาวะ" นั้น

 

เมื่อผมมีประสบการณ์ทางการเมืองมากขึ้น (รวมถึงได้สัมผัสถึงการบริหารองค์กรหน่อยๆ)
ผมเริ่มรู้สึกตระหนักถึงรูปธรรมของ  แรงกิริยา และปฏิกิริยา
ซึ่งถ้าเป็นภาษาฝ่ายซ้าย หรือแนวคิดแบบวัตถุนิยมวิภาษ จะเรียกว่า เป็น thesis & anti-thesis ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อกันและกันไปมา และลงท้ายจะสรุปรวมกลายเป็น syn-thesis
 
หลักการนี้ก็คล้ายเต๋าอีก
 
บางอย่างเรามุ่งหวังจะทำอย่างหนึ่ง แต่สภาพสังคมที่มีทวิลักษณ์ มันสะท้อนการกระทำของเรา แล้วกลับแปรเปลี่ยนเป็นอีกลักษณะหนึ่ง ไม่ได้เป็นไปตามที่เราคาดหวังไว้เสมอ
 
ลองดูสิ่งที่ ผู้มีบารมีเหนือรัฐธรรมนูญ พยายามรักษาอำนาจตนเองไว้ ทำรัฐประหาร ใช้เครื่องมือทางกฎหมายเพื่อจำกัดขอบเขตการเคลื่อนไหวของฝ่ายตรงข้าม
 
แต่ในขณะนี้กลับทำให้กระแสของการมองว่า ปรัชญาที่แอบอิงแนวคิดแบบจารีต เริ่มล้าหลัง เริ่มมีคนเคลื่อนไหว ชิงชัง เผยแพร่ ข้อมูลเชิงลบออกมามาก (และในที่สุดก็จะเป็นอันตรายกับตัวผู้พยายามรักษาอำนาจเสียเอง)
 
นี่ใช่สอดคล้องกับหลักการของเต๋าหรือไม่?
 
สำหรับตัวอย่างอื่น
 
ผมเห็นการวิวาทะของ สมศักดิ์ เจียมธีระสกุล มักจะพูดถึงตนเองอยู่เสมอว่า เขาเป็นคนขี้ขลาด เขาเป็นคนไม่กล้าทำอะไรๆ ที่เป็นการกระทบต่อขั้วอำนาจนอกรัฐธรรมนูญ ซึ่งต่างจากพวกปัญญาชนสาธารณะ ที่กล้าออกมาอัดผู้นำรัฐบาลชุดก่อน ด่านักการเมือง แต่กลับไม่มีความกล้าที่จะวิพากษ์ขั้วอำนาจนอกรัฐธรรมนูญในลักษณะเดียวกัน
 
อาจารย์สมศักดิ์ บอกว่าตนเองเป็นคนขี้ขลาด กระทบกระเทียบปัญญาชนสาธารณะอาวุโสหลายคน ว่าเป็นผู้มีคุณธรรม มีความกล้าหาญ แต่ไม่มี intrigity ต่อการวิพากษ์ขั้วอำนาจสูงสุดต่างๆอย่างเท่าเทียมกัน
 
ปรากฎว่ามีคนส่วนหนึ่งกลับมองว่า นี่แหละอาจารย์สมศักดิ์ กลายเป็นคนมีความกล้าหาญและมีคุณธรรมอย่างยิ่งยวด
 
38
 
ผู้เลิศคุณธรรม [1] ไม่เคยยึดมั่นว่าตนมีคุณธรรม
ดังนั้นจึงนับว่าเป็นผู้มีคุณธรรม
ผู้ด้อยคุณธรรม ยึดมั่นว่าตนธำรงคุณธรรม
ดังนั้นจึงไร้คุณธรรม
 
ผู้เลิศคุณธรรมถือหลัก "นิรกรรม"
โดยมิได้ผูกมัดบังคับตนว่า
จะต้องประกอบคุณงามความดี
 
ผู้เปี่ยมมนุสสธรรม [2] ถือหลัก "กระทำ"
แต่มิได้ผูกมัดบังคับตนว่า
จะต้องประกอบคุณงามความดี
 
ผู้ธำรงหลักจริยธรรม [3] ถือหลัก "กระทำ"
โดยตั้งใจผูกมัดบังคับตนว่า
จะต้องประกอบคุณงามความดี
 
ผู้เคร่งจารีตพิธีกรรม [4] ถือหลัก "กระทำ"
แลหากมิได้สมดังใจตนก็จะเอื้อมมือไปบังคับชักตึง
 
[1] เต็ก
[2] เหญิน
[3] อี้
[4] หลี
 
ใช่หรือไม่ว่าที่บ้านเมืองเราทุกวันนี้ ถอยจากเต๋า ลงมาสู่ "ผู้เคร่งจารีตพิธีกรรม" ไปแล้ว?

 


พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท