บุหรี่+อ้วน ทำเสี่ยงหูตึง+สมองเสื่อม


ทุกวันนี้พวกเรามีโอกาสอายุยืนเพิ่มขึ้น ทว่า... ข่าวดีย่อมมาคู่กับข่าวร้าย ข่าวร้ายที่ว่า คือ คนที่มีอายุยืนมากขึ้นมีโอกาสเป็นโรคหูตึง และสมองเสื่อมมากขึ้นด้วย

 

...

ทุกวันนี้พวกเรามีโอกาสอายุยืนเพิ่มขึ้น ทว่า... ข่าวดีย่อมมาคู่กับข่าวร้าย ข่าวร้ายที่ว่า คือ คนที่มีอายุยืนมากขึ้นมีโอกาสเป็นโรคหูตึง และสมองเสื่อมมากขึ้นด้วย

วันนี้มีผลการศึกษาที่พบว่า ปัญหาหูตึงและสมองเสื่อมในคนสูงอายุนั้นส่วนหนึ่งเกิดจากการสูบบุหรี่มาฝากครับ

...

ท่านอาจารย์ดอกเตอร์อีริค ฟรานเซน (Dr. Eric Fransen) และคณะ แห่งมหาวิทยาลัยแอนท์เวิร์พ เบลเยียม ทำการศึกษากลุ่มตัวอย่างอายุ 53-67 ปี มากกว่า 4,000 คน

ผลการศึกษาพบว่า คนสูงอายุที่มีปัญหาหูตึงมีปัจจัยเสี่ยง หรือปัจจัยที่น่าจะเป็นสาเหตุที่สำคัญได้แก่ การอยู่ในที่ที่มีเสียงดัง โดยเฉพาะเสียงดังในการทำงาน บุหรี่ และความอ้วน

...

กลุ่มตัวอย่างที่มีปัญหาหูตึงสูงได้แก่ กลุ่มตัวอย่างที่มีลักษณะดังต่อไปนี้

  • อยู่ในที่ที่มีเสียงดังมาก หรือดังนาน
  • สูบบุหรี่วันละหลายๆ มวน และสูบนานตั้งแต่ 1 ปีขึ้นไป
  • อ้วนหรือน้ำหนักเกิน

...

เรื่องอ้วนหรือน้ำหนักเกินนั้น... การศึกษานี้ใช้ค่าดัชนีมวลกาย (body mass index / BMI) เป็นหลัก

ค่า BMI หรือดัชนีมวลกายคิดได้จากการนำน้ำหนักเป็นกิโลกรัมมาตั้ง หารด้วยส่วนสูงเป็นเมตร 2 ครั้ง

...

คนไทยหรือคนเอเชียมีโครงสร้างเล็กกว่าฝรั่ง ค่าปกติของดัชนีมวลกาย หรือ BMI = 18.5-22.9 ถ้าเกินช่วงนี้ไปถือว่า น้ำหนักเกินแล้ว

การศึกษาอีกการศึกษาหนึ่งทำโดยคณะนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยปารีส และมหาวิทยาลัยคอลเลจ ลอนดอน ศึกษากลุ่มตัวอย่างข้าราชการพลเรือนมากกว่า 5,000 คน

...

ผลการศึกษาพบว่า การสูบบุหรี่ในวัยกลางคนเพิ่มความเสี่ยง หรือโอกาสเป็นโรคสมองเสื่อม (dementia)

การศึกษาเหล่านี้สนับสนุนแนวคิดที่ว่า ถ้าอยากมีอายุยืนอย่างมีคุณภาพแล้ว การไม่สูบบุหรี่ ไม่หายใจเอาควันบุหรี่ที่คนอื่นสูบเข้าไป การระวังอย่าให้อ้วน (หรือถ้าอ้วนแล้วก็ขออย่าให้น้ำหนักเพิ่มขึ้นอีก) และการหลีกเลี่ยงสถานที่มีเสียงดัง เช่น ไนท์คลับ การแสดงดนตรีที่ใช้เครื่องขยายเสียงกำลังสูง ฯลฯ มีส่วนช่วยให้พวกเรามีอายุยืนอย่างมีคุณภาพได้

...

ถึงตรงนี้... ขอให้พวกเรามีสุขภาพดีไปนานๆ ครับ

...

ที่มา                                                  

  • Thank BBC > Smoking link to hearing loss risk > [ Click ] > June 9, 2008. // source > J of the association for research into Otolaryngology.

 

  • ข้อมูลและการอ้างอิงในบล็อก "บ้านสุขภาพ" เป็นไปเพื่อส่งเสริมสุขภาพ และป้องกันโรค ไม่ใช่รักษาโรค
  • ท่านที่มีโรคประจำตัว หรือมีความเสี่ยงต่อโรคสูง... ควรปรึกษาหมอ พยาบาล เภสัชกร หรืออนามัยที่ดูแลท่านก่อนนำข้อมูลไปใช้
  • ขอขอบคุณอาจารย์ณรงค์ ม่วงตานี + อาจารย์เบนซ์ iT ศูนย์มะเร็งลำปาง > สนับสนุนเทคนิค iT.
  • นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์ ศูนย์แพทย์ชุมชน (CMU) โรงพยาบาลห้างฉัตร ลำปาง > 10 มิถุนายน 2551.
หมายเลขบันทึก: 187345เขียนเมื่อ 10 มิถุนายน 2008 17:29 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 00:29 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท