วิกฤตปี 2553 แก้ได้ด้วย "วิสาหกิจชุมชน"


ทางเลือกที่ทุนนิยมไม่เลือก "วิสาหกิจชุมชน"

วิสาหกิจชุมชน เป็นผลสืบเนื่องจากการจัดทำ "ประชาพิจัย(PR&D) และการทำแผนแม่บทชุมชนในระดับตำบลในประเทศไทย เป็นเรื่องสำคัญมากครับ สำหรับยุคปัจจุบัน เพราะแนวโน้มของเศรษฐกิจทุนนิยมซึ่งกำลังแรง และระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยมฐานราก โดยรัฐเองเป็นผู้ให้การสนับสนุนให้เป็นอย่างนั้น ได้ปรับเปลี่ยนยุทธวิธีไปบ้างแล้วในประเทศไทย...เพราะปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของในหลวงของเรา เนื่องจากสื่อฯได้นำมาตีแผและขยายให้เกิดมีมากขึ้นในท้องถิ่น เพราะหลายสำนึกกำลังเข้าใจว่าเศรษฐกิจพอเพียงนั้น มีหลักการชัดเจนว่าต้อง"พึ่งตนเอง"เป็นอันดับแรก หรือภาษาชาวบ้าน เรียกว่า "ทำกิน ทำใช้" ต่อเมื่ออยู่ได้แล้วจึงพัฒนาขั้นต่อไป "พึ่งพากันและกัน" หรือสูงขึ้นไปเป็นการทำธุรกิจ (พัฒนาผลิตภัณฑ์) แต่เรื่องที่องค์กรหลายองค์กรเคยดำเนินการมาแล้ว คือ "แผนแม่บทชุมชน" เป็นเรื่องที่ต้องดำเนินการต่อ เนื่องจากถ้าเรามีข้อมูล มีความรู้ เรื่องปัญหา ,ทรัพยากร,และทุนในชุมชน เราก็ย่อมจะสร้างแนวทางการคิด การปฏิบัติ ในการแก้ปัญหาได้ ไม่ว่า ปัญหาความยากจน หรือปัญหาหนี้สิน  แล้วต่อยอดเป็น"วิสาหกิจชุมชน" ซึ่งมีทั้งระดับพื้นฐาน เพื่อแก้ปัญหาปากท้องก่อนอื่น แก้ปัญหาอาหารที่เพียงพอ สำหรับชุมชน/ตำบล เมื่อพออยู่ พอกินแล้ว ก็พัฒนาต่อไปเป็นการ แลกเปลี่ยน/ค้าขายกันได้......

  แต่ถ้าเราไม่ยืนหยัดเจตนารมณ์ "วิสาหกิจชุมชน" สิ่งที่เกิดก็จะเป็นเหมือนคำทำนาย ของ ดร.นิติภูมิ  นวรัตน์ เรื่อง ..ปี 2553 จุดจบประเทศไทย....

และนี่เป็นบทความหนึ่งในโครงการหนังสือของ กลุ่มเศรษฐศาสตร์การเมือง  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ชื่อหนังสือ "วิสาหกิจชุมชน กลไกเศรษฐกิจฐานราก" ฉบับปรับปรุง  โดย ณรงค์  เพ็ชรประเสริฐ ,พิทยา  ว่องกุล เป็นบรรณาธิการหนังสือเล่มดังกล่าว ...ได้กล่าวไว้ใน บทแรก เรื่อง ระบบเศรษฐกิจทุนนิยมกับความพอดี โดยกลุ่มเศรษฐสยาม เมื่อ ม.ค. 2545 ข้อที่ 7 สรุป   หน้าที่ 38-39 ว่า

ในหลักการทั่วไป เราเห็นว่า  วิสาหกิจชุมชน  พัฒนาขึ้นมาภายใต้ระบบทุนนิยม และโลกาภิวัฒน์  สร้างขึ้นมาเพื่อลดแรงกดดันของทุนนิยมโลกและทุนนิยมภายในประเทศ  แต่ยังคงอยู่กับระบบทุนนิยม  จึงต้องใช้กลไกการผลิต  การค้า  และการเงิน ในระบบเดียวกัน    แต่เป็นการใช้เพื่อการพึ่งตนเองให้ได้มากที่สุด  ลดการครอบงำจากทุนใหญ่ต่าง ๆ และกระแสโลกาภิวัฒน์ของทุนให้มากที่สุด  ดังนั้น วิสาหกิจชุมชนจึงต้องมีลักษณะเท่าทันกระแสโลก และกระแสทุน   มีความฉับไวในการปรับตัวเพื่อการต่อสู้  หลีกเลี่ยงและพิทักษ์ประโยชน์ของชุมชน  .....

การที่จะทำเช่นนี้ได้ต้องทำให้วิสาหกิจชุมชนมีความคล่องตัว  ตัดสินใจได้รวดเร็ว  มีส่วนร่วมของชุมชนสูง  ไม่ล่าช้า  และไม่ถูกฉุดดึงโดยกลไกราชการ  มีความเป็นอิสระจากกลไกราชการสูง     และทำให้ชุมชนมีความรู้สึกเป็นเจ้าของสูง  จะทำอย่างไรให้วิสาหกิจชุมชนมีลักษณะเช่นนี้ได้  คงต้องให้ผู้ชำนาญการแต่ละด้านมาระดมสมองกันและเสนอความคิดเหล่านี้ออกมาเป็นรูปธรรม.....

ท่ามกลางกระแสทุนนิยมใหญ่ ได้ปรับตัวเป็น ทุนนิยมอย่างมีจิตสำนึก.....  แต่ทุนนิยมในประเทศ ซึ่งครอบงำความคิด  ครอบงำรูปแบบการผลิต การบริโภค การใช้ชีวิต การใช้เครื่องมือสื่อสาร(จานดาวเทียม และโทรศัพท์มือถือ)  ของคนเมืองจนถึงชุมชนฐานราก...วิสาหกิจชุมชน เป็นส่วนหนึ่งที่เข้าไปหยุดความต้องการขยายตัวของทุนนิยมในประเทศ แต่เพราะคนที่นำเอาวิสาหกิจชุมชนไปไช้ไม่ตระหนัก ถึง กำลังที่น้อยกว่า นำพาวิสาหกิจชุมชน ไปสู่ทุนใหญ่ ซึ่งเราก็รู้ว่าสู้ได้เฉพาะบางเรื่อง และน้อยเต็มที....

 แทนที่จะส่งเสริมความคล่องตัวของ วิสาหกิจชุมชน กลับไปสร้างองค์กรที่มีโครงสร้างใหญ่ และเป็นภาระสำหรับชุมชน บริหารงานได้ไม่คล่องตัว เพราะขาดสภาพคล่อง ทางการบริหาร ทางการเงิน  เพราะผูกติดกับราชการ ความไม่ชัดเจนเรื่องของอาณาเขตก็เป็นใหญ่ เรื่องของการถือครองทรัพยสิน และกฏหมายเพื่อการจัดการธุรกรรมทางธุรกิจที่ไม่อาศัยการตัดสินใจจาก สหกรณ์อำเภอ หรือ คณะกรรมการวิสาหกิจชุมชนระดับจังหวัด  อำเภอ ซึ่งไม่เอื้อให้หลบได้เมื่อทุนใหญ่ต้องการท้ารบ ...

วิสาหกิจชุมชน เป็นการประกอบการของกลุ่มคน(ชาวบ้าน,เกษตรกร) ที่ไม่เน้นการสร้างกำไร แต่เน้นให้มีกิน มีใช้ เพียงพอเสียก่อน  วิสาหกิจชุมชนจึงไม่ได้สร้างมาเพื่อแข่งขันกัน แต่สร้างขึ้นมาโดยหลักการพึ่งตนเองของชุมชนเป็นหลัก  ความสามารถต่อสู้กับทุนใหญ่โดยตรงนั้น ไม่เน้นครับ  เพราะวิสาหกิจชุมชน เน้นปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เป็นฐานหลัก  ตามพระราชดำรัส ของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เมื่อ วันที่ 4 ธันวาคม 2540  ว่า...ต่อเมื่อมีกิน มีใช้ แต่พอควร แล้วจึงคิดพัฒนาขั้นต่อไป (แลกเปลี่ยน,ซื้อขาย)....

ครับ "วิสาหกิจชุมชน" จึงเป็นแนวทางสำหรับชาวบ้าน/ชุมชน/ตำบล ได้สู้วิกฤตเศรษฐกิจปัจจุบัน  ท่ามกลางกระแสโลกาภิวัฒน์ ทุนนิยมใหญ่ และสังคมนิยมฐานรากครับ 



ความเห็น (1)

วิกฤต ปี 2553 จุดจบประเทศไทย ....ไม่น่าสนใจสำหรับคนทั่วไปหรอกเพราะยังไงก็ไม่เกิด แต่ข้าวยาก น้ำมันแพง..เกิดแล้วปี 2551 ถ้าคิดเรื่องอะไรไว้ ปี 2551 ซึ่งยังไม่ถึงปี 2553 ก็ยังไม่ต้องวิตก ก่อน เพราะยังมาไม่ถึงครับ ไว้เหตุการณ์นั้นมาถึง ...วันนั้นมาถึง ค่อยคิดก็คงไม่สายมั้งครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท